Midnight University : German Philosopher
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ชุดความรู้อ่านเอาเองได้

กลางวัน มองอะไรก็ชัดไปหมด
แต่ขาดจินตนาการ
กลางคืน บรรยากาศสลัวลาง
ทำให้จินตนาการไปไกล
content page
member page
back to home
หากภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน
กรุณาลดขนาด font ลงมา
จะช่วยแก้ปัญหาได้
เดือนมิถุนายน 2544 นี้
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
จะนำเสนอบทความเชิงปรัชญา
ของสกุลความคิด
Frankfurt School
ตลอดทั้งเดือน
สำหรับนักศึกษา สมาชิก
และผู้สนใจทุกท่าน
หากมีข้อมูลดังกล่าว
พร้อมจะร่วมเผยแพร่ใน
website ของ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เรายินดีต้อนรับงานทุกชิ้น

Introduction

Habermas is a relatively
young man for someone
who has attained a widespread international eminence. He is only in his middle fifties, and still at the most creative stage of his career. He is the most prominent latter-day decendant of what has come to be known as the Frankfurt School of Social theory.

Anthony Giddens
The Return of Grand Theory
in Human Science : 1985
2

The Return of Grand Theory In the Human Science
Jurgen Habermas By Anthony Giddens

สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง (ความยาวประมาณ 19 หน้ากระดาษ A4)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ชุดความรู้ใฝ่หาได้ด้วยตนเอง บนระบบเครือข่าย

ยูรเกิน ฮาเบอร์มัส ถือเป็นแบบฉบับของนักคิดในขนบประเพณีเยอรมัน ที่เชื่อมประสานระหว่าง สิ่งที่ได้รับมาจากทฤษฎีทางปรัชญาและสังคมเยอรมัน กับ แนวคิดทางสังคมศาสตร์และปรัชญาของอังกฤษ-อเมริกัน. เขาเป็นหนึ่งในบรรดานักคิดคนสำคัญของแฟรงค์เฟริทสคูล งานเขียนของเขานั้นกว้างขวางมาก นับจากสิ่งที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ไปจนกระทั่งถึงแนวคิดทฤษฎีที่เป็นรูปธรรม. ดังนั้น จึงค่อนข้างยาก ที่จะทำความเข้าใจโดยปราศจากภูมิหลังที่กว้างขวางพอๆกัน

Anthony Giddens ได้นำเสนอบทความชิ้นนี้ขึ้นมาโดยเก็บเอาสาระสำคัญที่ Habermas นำเสนออย่างกว้างขวางจนถึงปี 1985 มารวมไว้ด้วยกัน โดยใช้แนวคิดทฤษฎีของมาร์กซ์มาเป็นแกนเชื่อม แต่อย่างไรก็ตาม งานชิ้นนี้ก็ยังอาจสร้างความสับสนได้อยู่ดีในความรู้สึก ทั้งนี้เพราะ ความเชื่อมโยงดังกล่าว ไม่สามารถที่จะละลายแนวคิดทางปรัชญา ญานวิทยา ปรัชญาภาษา เข้ากับทฤษฎีทางสังคมการเมืองได้อย่างแนบสนิท ดังตัวอย่างหัวข้อสำคัญที่บรรจุอยู่ในโครงสร้างบทความขนาดไม่ยาวนักชิ้นนี้ เช่น Habermas กับ Marxism, Habermas และ ทฤษฎีการตีความ(hermeneutics), Habermas กับวิธีการทางด้านจิตวิเคราะห์, Habermas กับทฤษฎีความรู้, ทฤษฎีความจริงของ Habermas , Habermas กับแนวความคิดเรื่องเหตุผล, Habermas กับทุนนิยมตะวันตกสมัยใหม่.

ด้วยเหตุดังนั้น ผู้แปลและเรียบเรียง จึงได้จัดทำงานชิ้นนี้ขึ้นมาโดยแบ่งออกเป็น 2 เรื่องในชื่อเดียวกัน คือ ยูรเกิน ฮาเบอร์มัส คิดอะไร ? (ฉบับง่าย) และ (ฉบับสมบูรณ์) เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้อ่าน

สำหรับผู้อ่านที่ไม่ชอบเรื่องทางปรัชญา อภิปรัชญา ญานวิทยา รวมถึงปรัชญาภาษาสมัยใหม่ ขอแนะนำให้อ่านฉบับง่าย (หมายเลข 1) ซึ่งได้เก็บเอาสาระสำคัญไว้พอสมควร และได้เน้นในเรื่องปรัชญาสังคมการเมืองเอาไว้. ส่วนผู้ที่ต้องการค้นคว้างานทางปรัชญาโดยตรง ก็อาจจะฝ่าเข้าไปในความซับซ้อนนี้ได้ในฉบับสมบูรณ์ (หมายเลข 2) [เผยแพร่วันที่ 4 มิถุนายน 2544]

จากต้นฉบับ "The Return of Grand Theory in the Human Science"
edited by Quentin Skinner Cambridge University Press, First published 1985,

บทที่ 7 "Jurgen Habermas" by Anthony Giddens

แนะนำ Habermas
สำหรับหลายปีที่ผ่านมา มันมีอ่าวลึกด้านทฤษฎีทางสังคมระหว่างชาวเยอรมัน กับ แองโกล-แซกซันอยู่ระหว่างกลาง. กล่าวคือ บรรดานักคิดชาวเยอรมัน มักจะติดอกติดใจอยู่กับการสร้างระบบปรัชญาอันลึกซึ้งและมีความสลับซับซ้อนที่น่ากลัวซึ่งมีคนเข้าใจกันเพียงไม่กี่คน. [ดังที่ศาสตราจารย์ Skinner ได้ชี้แจงเอาไว้ในคำนำของเขา(อยู่ในหนังสือ The Return of Grand Theory in the Human Science)} จวบจนกระทั่งบรรดานักคิดทางสังคมและนักปรัชญาทั้งหลาย เมื่อไม่นานมานี้ในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษเกิดความสงสัยอย่างมากต่อทฤษฎีอันยิ่งใหญ่ต่างๆ

แต่อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ บรรดานักคิดและนักปรัชญาทางสังคมดังกล่าวยอมรับมันได้มากขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะว่าส่วนหนึ่ง มันเนื่องมาจากผลของงานเขียนต่างๆของ Jurgen Habermas นั่นเอง. Habermas เป็นนักทฤษฎีคนหนึ่งที่ยิ่งใหญ่มากในแบบฉบับของขนบประเพณีเยอรมัน. เขาได้พยายามสร้างความเชื่อมโยงกันระหว่างแนวโน้มต่างๆในทาง"สังคมศาสตร์และปรัชญาของอังกฤษ-อเมริกัน" กับ "สิ่งเหล่านั้นที่ได้รับมาจากทฤษฎีทางสังคมเยอรมัน"อย่างมีสำนึก. ด้วยเหตุนี้ ในหมู่ผู้ที่ได้รับอิทธิพลจากความคิดแบบแองโกลแซกซัน สามารถที่จะค้นพบความเชื่อมโยงดังกล่าวได้ในงานของ Habermas มากมาย และ0kdความช่วยเหลืออันนี้ ทำให้สิ่งที่เขากำลังพยายามทำให้สำเร็จ มันเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น ยิ่งกว่าคนอื่นๆที่เคยทำมา

โดยเปรียบเทียบ Habermas เป็นคนหนุ่มที่โดดเด่น(หมายเหตุ : ต้นฉบับนี้พิมพ์ขึ้นในปี 1985), สำหรับใครบางคนแล้ว, เขาได้บรรลุถึงความมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติอย่างกว้างขวาง. เขามีอายุเพียง 50 กลางๆเท่านั้น และยังคงอยู่บนเวทีแห่งการสร้างสรรค์มากในสาขาอาชีพของตน. เขาคือผู้สืบสกุลหรือทายาทแห่งวันเวลาปัจจุบันที่เด่นสะดุดตาที่สุด ของ สิ่งที่ถูกรู้จักในฐานะกลุ่มทฤษฎีทางสังคมของแฟรงคเฟริทสคูล(the Frankfurt School of Social theory).

Habermas กับ Frankfurt School
แฟรงคเฟริทสคูล คือกลุ่มของบรรดานักปรัชญาที่มีความสัมพันธ์กับสถาบันวิจัยสังคมในแฟรงคเฟริท(the Institute of Social Research in Frankfurt) ก่อตั้งขึ้นมาครั้งแรกในช่วงปลายทศวรรษที่ 1920s. ในท่ามกลางคนเหล่านี้ รวมถึง Max Horkheimer, ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการบริหารอยู่หลายปีของสถาบันดังกล่าว และนักคิดที่ยอดเยี่ยมอีกหลายคน เช่น Theodor Adorno, Walter Benjamin. แต่สมาชิกของกลุ่มซึ่งได้กลายเป็นที่รู้จักมากที่สุด - หรือชื่อเหม็นที่สุด, ตามความคิดเห็นอีกด้านหนึ่ง ก็คือ Herbert Marcuse, ผู้นำซ้ายใหม่ในช่วงปลายของทศวรรษที่ 1960s.

บรรดาสมาชิกของ แฟรงคเฟริทสคูล ต่างเป็นพวกที่นิยมมาร์กซิสท์ หรือนับตนเองในฐานะเช่นนั้น; แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็ได้ไปไกลเกินกว่าบรรดาชาวมาร์กซิสท์ทั้งหลาย ที่เชื่อมั่นในแนวทางแบบจารีต หรือออร์ธอด็อกซ์. พวกเขาถือว่าลัทธิมาร์กซ์เป็นสิ่งที่ยืดหยุ่น และการเข้าถึงการศึกษาทางด้านสังคมที่สำคัญนั้น ไม่ใช่ด้วยวิธีการที่ตายตัวและไม่อาจล่วงละเมิดต่อชุดของคำสอนได้. พวกมันได้รับการปรับปรุงโดยการโยนสิ่งที่ไม่จำเป็นทิ้งไป ซึ่งสำหรับบรรดาชาวมาร์กซิสท์คนอื่นๆส่วนใหญ่ เห็นว่าเป็นสาระสำคัญต่อแนวทางลัทธิมาร์กซ์ ในฐานะที่เป็นเนื้อแท้ทางความคิด และแนวนำทางสู่การปฏิบัติในทางการเมือง.

โดยเหตุที่ พวกเขาถือว่า, ตัวอย่างเช่น ชนชั้นแรงงานทั้งหลายเริ่มรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเข้าสู่สังคมทุนนิยม และไม่ได้เป็นพลังของการปฏิวัติอีกต่อไปแล้ว. ความคิดดังกล่าวดูเหมือนว่าจะไม่มีอะไรชัดเจนและจูงความสนใจเกี่ยวกับลัทธิมาร์กซ์ได้มากเท่านี้ แต่สำหรับบรรดาชาวมาร์กซิสท์ในแบบจารีตจำนวนมาก ถือว่ามันเป็นแนวคิดของพวกนอกรีตที่ถึงกับทำให้ช็อคเลยทีเดียว

แฟรงคเฟริทสคูล ได้ให้เหตุผลว่า ลัทธิทุนนิยมได้เปลี่ยนแปลงไปมาก นับแต่ยุคสมัยของมาร์กซ์เป็นต้นมา ซึ่งแนวคิดของมาร์กซ์จำนวนมากได้ถูกทิ้ง หรืออย่างน้อยที่สุดได้ถูกเปลี่ยนไปแล้วอย่างถึงราก. สิ่งเหล่านี้คือทัศนะต่างๆของ Habermas ด้วยเช่นกัน. เขาถือว่าตัวเองนั้นเป็นมาร์กซิสท์คนหนึ่ง, ถึงแม้ว่า บรรดาผู้กล่าวร้ายต่อเขาที่มาจากฝ่ายซ้ายจะอ้างว่า เขาได้แยกทางจากลัทธิมาร์กซ์ไปไกลมาก และได้สูญสิ้นความเกี่ยวข้องกับมันโดยสิ้นเชิง.

Habermas อ้างว่า เขาผูกพันอยู่กับการรื้อฟื้นเกี่ยวกับลัทธิวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ ที่ได้ผลิตเรื่องราวอันหนึ่งของลัทธิมาร์กซ์ซึ่งสอดคล้องตรงประเด็นกับโลกทุกวันนี้: แม้จะไม่ต้องสงสัยเลยว่า เขาจะไม่พูดเช่นนั้น แต่เขากำลังพยายามที่จะเป็นมาร์กซิสท์คนหนึ่งขึ้นมาสำหรับวันเวลาของพวกเรา. ไอเดียต่างๆที่เขาเสนอได้เป็นที่ถกเถียงกันมากอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้, และไม่ได้ทำให้พวกมันง่ายที่จะสรุป แต่มันก็ไม่สามารถที่จะเกิดข้อกังขาขึ้นมาได้เกี่ยวกับการิเริ่มและความสำคัญต่างๆ.

แม้ว่าเขาจะมีความเชื่อมโยงโดยตรงกับ แฟรงคเฟริทสคูล แต่ก็ไม่อาจที่จะมอง Habermas เพียงในฐานะผู้ป้อนอาหารทางความคิดที่ถูกยอมรับเท่านั้น: เขาได้สร้างระบบคิดขึ้นมาอันหนึ่ง - อะไรก็ตาม หรือทุกๆอย่างที่ใครคนหนึ่งอาจจะคิดขึ้นมาได้ - ซึ่งค่อนข้างที่จะโดดเด่นมาก

ระบบอันนี้ได้เคลื่อนคล้อยอยู่ในหลายๆระดับ, และมีลักษณะเป็นขอบเขตความรู้หรือเนื้อหาที่กว้างขวาง อย่างที่เรียกกันว่า Encyclopaedic scope. ข้าพเจ้าจะพยายามจะให้ภาพร่างคร่าวๆเกี่ยวกับแนวคิดหลักบางอย่าง, โดยให้ความเอาใจใส่ต่อสิ่งเหล่านี้ เพื่อขจัดหรือกันเอาเรื่องอื่นๆออกไป ซึ่งจากการประเมินมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน, ไม่ต้องสงสัยเลยว่า มันจะได้รับการการพิจารณาว่ามีความสำคัญเท่าๆกัน.

สายใยที่เป็นตัวนำทางเกี่ยวกับผลงานของ Habermas ทั้งหมด, ตามหลักฐานหรือพยานของตัวเขาเอง, เป็นความพยายามบากบั่นที่จะรวบรวมทฤษฎีและการปฏิบัติในโลกของศตวรรษที่ยี่สิบ.

Habermas กับ Marxism
ในศตวรรษที่สิบเก้า, มาร์กซ์เชื่อว่าทฤษฎีของเขาได้ตระเตรียมหรือเสนอวิธีการในการวิเคราะห์เกี่ยวกับสังคมทุนนิยม และวิธีการเปลี่ยนแปลงมันในเชิงปฏิบัติ โดยผ่านการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ.

แต่การปฏิวัติไม่ได้บังเกิดขึ้น และก็จะไม่เป็นเช่นนั้น. Habermas ยอมรับในวิธีการที่ถูกคาดหมายโดยมาร์กซ์ และเขายังเห็นด้วยกับ แฟรงคเฟริทสคูล ด้วยว่า สหภาพโซเวียต อย่างดีที่สุด ก็เป็นเพียงลักษณะที่ผิดรูปผิดร่างไปของสังคมในแบบสังคมนิยม. พวกเราไม่สามารถที่จะใช้บรรดาประเทศทั้งหลายของยุโรปตะวันออกมาเป็นหุ่นจำลองของรูปแบบอันพึงปรารถนาเกี่ยวกับสังคมได้ ว่าควรที่จะต้องเป็นอย่างนั้น หรือนำมันมาเป็นตัวชี้บ่งถึงทิศทางที่น่าจะเป็นไป ซึ่งบรรดาสังคมทุนนิยมทั้งหลายควรจะเคลื่อนเข้าไปหาในอนาคต.

สำหรับเหตุผลเหล่านี้ แนวความคิดของมาร์กซ์เกี่ยวกับเอกภาพของทฤษฎีและการปฏิบัติ มันไม่พอเพียงเสียแล้วในช่วงปลายของศตวรรษที่ยี่สิบ. มันจะต้องได้รับการคิดขึ้นมาใหม่อีกครั้งในแง่มุมเบื้องต้นต่างๆอย่างหลากหลาย. สิ่งเหล่านี้เกี่ยวพันกับทั้งข้อจำกัดต่างทางปรัชญาเกี่ยวกับความคิดของมาร์กซ์ และ นวัตกรรมที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งต้องได้รับการสร้างขึ้นมาในคุณสมบัติที่มีลักษณะเฉพาะของธรรมชาติเกี่ยวกับลัทธิทุนนิยมสมัยใหม่

ในระดับของปรัชญา, Habermas มองว่า งานเขียนต่างๆของมาร์กซ์ยังบกพร่องอยู่ในหลายๆแง่มุม ซึ่งได้ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆโดยรูปแบบต่างๆของปรัชญาที่ไม่ใช่มาร์กซิสท์จำนวนมาก นับจากศตวรรษที่สิบเก้าผ่านมาถึงทุกวันนี้. ถึงแม้ว่ามันจะมีความคลุมเครือมากมายในงานของมาร์กซ์, ซึ่งส่วนใหญ่ เขาคิดถึงสิ่งที่ได้กระทำในฐานะที่เป็น"วิทยาศาสตร์".

ตามความเห็นของ Habermas, อันนี้ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น สำหรับเหตุผลต่างๆ ซึ่งเมื่อทำความเข้าใจแล้ว มันยินยอมให้เราพัฒนาแนวทางการวิพากษ์อันหนึ่ง เกี่ยวกับความคิดเชิงปรัชญาสมัยใหม่เป็นจำนวนมากขึ้นมา, และเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่กว้างไกลออกไปของสังคมด้วยเช่นกัน.

มันมีอยู่สองสิ่งที่ผิดพลาดเกี่ยวกับการถือว่า "การศึกษาเกี่ยวกับชีวิตทางสังคมของมนุษย์"เป็นเรื่องของ"วิทยาศาสตร์"ในลักษณะที่เท่าเทียมกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติต่างๆ. นั่นคือ มันได้สร้างทัศนะที่ผิดพลาดขึ้นมาเกี่ยวกับมนุษย์เหมือนกับว่าเป็น "มนุษย์เป็นผู้กระทำที่มีเหตุผล ซึ่งรู้ตัวเป็นอย่างดีเกี่ยวกับว่า ทำไมพวกเขาจึงกระทำอย่างที่พวกเขาทำ".

ข้อผิดพลาดอีกประการหนึ่งก็คือ มันได้ไปสนับสนุนต่อแนวโน้มอันหนึ่งซึ่ง Habermas มองว่าเป็นเรื่องทั่วๆไปในวัฒนธรรมทางสติปัญญาสมัยใหม่ซึ่งเชื่อถือกัน, กล่าวคือ วัฒนธรรมสมัยใหม่ ถือว่า"วิทยาศาสตร์คือสิ่งสุดยอด" โดยการประเมินคุณค่าเกี่ยวกับบทบาทของวิทยาศาสตร์เอาไว้สูงเกินไป ในฐานะที่เป็นแหล่งความรู้ที่ใช้ได้หรือเหมาะสมเพียงชนิดเดียว ซึ่งพวกเราสามารถที่จะมีได้เกี่ยวกับโลกธรรมชาติและโลกทางสังคม.

ประเด็นในข้อที่สองนี้นับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับ Habermas, และไปสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับการวิเคราะห์ของเขาเกี่ยวกับอุดมคติวิทยา. ซึ่งข้าพเจ้าจะพูดถึงมันต่อไปตามลำดับ.

การปฏิบัติต่อการศึกษาทางด้าน"สังคม" เหมือนกับ "วิทยาศาสตร์"นั้น, Habermas กล่าวว่า, ได้น้อมนำให้มาร์กซ์และบรรดามาร์กซิสท์ทั้งหลายไปสู่สถานการณ์ที่มีลักษณะเฉพาะอันหนึ่ง ซึ่งยากลำบากขนาดที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเลยทีเดียว. ถ้าหากว่าลัทธิทุนนิยมได้เปลี่ยนแปลงไป - ดั่งที่มาร์กซ์เขียนเอาไว้เอง- ตาม"กฎเหล็ก"(iron laws) ซึ่งมีลักษณะของลัทธินิยัตินิยม(หรือเป็นไปตามเหตุปัจจัย)เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, มันจะมีห้องหับที่ตรงไหน สำหรับปฏิกริยาที่มีต่อกันในเชิงรุกของมนุษย์เกี่ยวกับชะตากรรมของพวกเขา ? เพราะเหตุใดใครๆจึงยุ่งอยู่กับการจะเป็นมาร์กซิสท์ไปทำไม ถ้าเผื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์ได้ถูกควบคุมโดยกฎเกณฑ์ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือต้านทานได้ ? ซึ่งมันก็จะไม่มีอะไรที่พวกเราสามารถทำได้ เกี่ยวกับการสร้างประวัติศาสตร์ของเราเองขึ้นมาให้เป็นรูปเป็นร่าง โดยการเข้าไปแทรกแซงมันอย่างแข็งขัน

เมื่อเข้าใจในฐานะที่เป็นวิทยาศาสตร์อันหนึ่ง, ลัทธิมาร์กซ์จึงเมินเฉยต่อสิ่งซึ่ง Habermas เรียกว่า "การสะท้อนกับของตัวตน"(self-reflection) หรือ"ปฏิกริยาตีกลับโดยปราศจากสำนึก"(reflexivity)ของมนุษย์. นั่นก็คือ, มันไม่สามารถที่จะจัดการกับสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญในการนิยาม ซึ่งทำให้เราเป็นมนุษย์.

อันนี้เป็นข้อเท็จจริงที่ว่า เราคือสิ่งที่สามารถสะท้อนกลับได้กับประวัติศาสตร์ของเราเอง, ในฐานะปัจเจกและในฐานะสมาชิกของสังคมที่ใหญ่กว่า; และเกี่ยวกับการใช้การสะท้อนกลับอันนั้นได้อย่างถูกต้องเพื่อเปลี่ยนเส้นทางของประวัติศาสตร์. ความเข้าใจอย่างถ่องแท้อันนี้ ได้ถูกทำให้สูญเสียไปในทุกๆรูปแบบของปรัชญาและทฤษฎีทางสังคม - ปกติแล้วอ้างถึงในฐานะที่เป็นลัทธิปฏิฐานนิยม(ความรู้ได้มาจากประสาทสัมผัส-วิทยาศาสตร์) - ซึ่งพยายามที่จะขัดเกลาสังคมลงบนวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ.

Habermas และ ทฤษฎีการตีความ(hermeneutics) มาถึงตรงนี้ Habermas ไม่ใช่คนแรกที่ได้วิจารณ์ออกมาเช่นนั้น เกี่ยวกับลัทธิปฏิฐานนิยม(เชื่อในวิทยาศาสตร์ [ดู empiricism, rationalism]). บ่อยครั้ง มันไปสัมพันธ์กับคุณสมบัติที่บรรดานักปรัชญาแห่งภาคพื้นทวีปเรียกว่า"hermeneutic" tradition (ตามรูปศัพท์หมายถึงสาขาของเทววิทยาที่เกี่ยวกับการอธิบายหรือการตีความ). สำหรับ hermeneutics ในที่นี้หมายถึง "ทฤษฎีเกี่ยวกับการตีความ"(the theory of interpretation).

บรรดานักคิดทั้งหลาย ซึ่งได้เขียนเกี่ยวกับ the hermeneutic tradition - อันที่จริง มีบุคคลที่น่าสนใจอยู่หลายคน รวมถึง H.G. Gadamer ด้วย, ซึ่งได้เน้นว่า เพื่อจะเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ พวกเราจะต้องตีความ"ความหมายของมนุษย์" มากกว่าที่จะมองการประพฤติปฏิบัติของมนุษย์ในฐานะที่ถูกควบคุมโดยกฎเกณฑ์ต่างๆ, หรือมีสาเหตุ, เหมือนกับเหตุการณ์ต่างๆในธรรมชาติ, เราจะต้องจับเอาเจตนาหรือความมุ่งหมายต่างๆและเหตุผลเอาไว้ ซึ่งผู้คนมี สำหรับกิจกรรมและการกระทำของพวกเขา.

ตามความคิดของ hermeneutical tradition, การศึกษาเกี่ยวกับความประพฤติของมนุษย์ โดยสาระสำคัญแล้ว เป็นเรื่องที่แตกต่างไปจากการศึกษาเรื่องของเหตุการณ์ต่างๆในธรรมชาติ. ด้วยเหตุนี้, พวกเขาจึงกล่าวว่า - ในความขัดแย้งอย่างสมบูรณ์กับคนเหล่านั้นที่ข้าพเจ้าเพิ่งพูด - วิทยาศาสตร์ธรรมชาติเป็นเรื่องที่ไม่ตรงประเด็นกับหุ่นจำลองอันนี้ สำหรับการที่ว่า เราควรที่จะศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์อย่างไร ?.

หนึ่งในงานเขียนที่น่าสนใจมากที่สุดของ Habermas เกี่ยวกับงานทางปรัชญาคือ ความพยายามของเขาที่จะไกล่เกลี่ยระหว่าง hermeneutics(ทฤษฎีการตีความ) กับ positivism (ลัทธิปฏิฐานนิยม-เชื่อในความรู้วิทยาศาสตร์). และด้วยความมุ่งมั่นอันนั้น ได้เอาชนะการแบ่งแยกอันนี้ระหว่างความเชื่อทั้งสอง. มันเป็นสถานการณ์ต่างๆซึ่งชีวิตทางสังคมของมนุษย์ ได้ถูกวางเงื่อนไขโดยปัจจัยต่างๆซึ่งคนเหล่านั้นที่พัวพันอยู่ในท่ามกลาง รู้น้อยมาก - ซึ่งพลังทางสังคมคล้ายคลึงกับพลังของธรรมชาติ. ในระดับนั้น, ผู้ให้การสนับสนุนต่อหุ่นจำลองของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติต่างถูกต้อง. แต่พวกเขาก็ผิดพลาดในการคาดคะเนที่ว่า พลังอำนาจทางสังคมเป็นสิ่งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เหมือนกับกฎของธรรมชาติ.

Habermas กับวิธีการทางด้านจิตวิเคราะห์
เพื่อที่จะแสดงให้เห็นเป็นภาพขึ้นมานี้, Habermas ได้ทำในสิ่งซึ่งกลายมาเป็นการเปรียบเทียบที่ได้รับการยกย่อง ระหว่าง "จิตวิเคราะห์" กับ "ทฤษฎีทางสังคม"(psychoanalysis and social theory). จิตวิเคราะห์เป็นเรื่องซึ่งเกี่ยวพันกับแก่นแท้ของ hermeneutics หรือทฤษฎีการตีความและการอธิบาย. ท้ายที่สุด ภารกิจของการวิเคราะห์จะต้องตีความความหมายเกี่ยวกับสิ่งที่คนป่วยคิดและรู้สึกต่างๆ.

การตีความเกี่ยวกับความหมาย (- ในขณะที่ทำการถอดระหัสเนื้อหาความฝัน -) เป็นสิ่งที่มีอยู่มาแต่แรกในวิธีการบำบัดทางจิตวิเคราะห์. แต่การวิเคราะห์ก็มีข้อจำกัดของการตีความ เนื่องจากการแยกเอาบางสิ่งออก หมายถึงสิ่งซึ่งจะมากีดขวางการเข้าถึงจิตไร้สำนึกออกไปนั่นเอง. ดังนั้น ภาษาจิตวิเคราะห์จึงมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปสู่การพูดถึง"อำนาจจิตไร้สำนึก"(unconscious force), หรือ"การบีบบังคับของจิตไร้สำนึก"(unconscious constraints), และอื่นๆ.

มันโน้มเอียงกลายไปเป็นคล้ายๆกับภาษาของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาก. ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ? ก็เพราะว่า การวิเคราะห์ดังกล่าว ได้ไปเกี่ยวโยงกับสิ่งต่างๆซึ่งเกิดขึ้นกับปัจเจกบุคคล, มากกว่าสิ่งซึ่งปัจเจกบุคคลสามารถควบคุมได้อย่างอิสระ. ในสถานการณ์เช่นนั้น และเพียงในสถานการณ์อย่างนั้น, Habermas ให้เหตุผล, แนวความคิดดังกล่าวคล้ายคลึงกับเรื่องของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับคำอธิบายเกี่ยวกับความประพฤติของมนุษย์.

ขบวนการหรือวิธีการทางจิตวิเคราะห์ ได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก, อย่างน้อย แนวความคิดต่างๆเหล่านี้มันมีความเหมาะสม เพราะว่า ปัจเจกบุคคลสามารถที่จะแผ่ขยายขอบเขตเกี่ยวกับการควบคุมโดยการอาศัยความมีเหตุมีผลให้อยู่เหนือพฤติกรรมของตนเองได้. วิธีการบำบัดด้วยจิตวิเคราะห์มีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม, โดยกระบวนการดังกล่าวเกี่ยวกับการเปลี่ยนรูป"สิ่งที่เกิดขึ้นกับปัจเจก" ไปสู่ "สิ่งที่ปัจเจกทำให้เกิดขึ้น". Habermas เสนอว่า นี่คือบทบาทอย่างเดียวกันกับสิ่งซึ่งเป็นทฤษฎีสำคัญทางสังคมที่ควรจะบรรลุถึงหรือทำให้สมบูรณ์.

ลัทธิมาร์กซ์ไม่สมบูรณ์พอในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้บรรลุผลสำเร็จ, ภายใต้ขอบเขตดังที่มันผูกพันกับ"กฎเหล็ก" หรือ "แนวโน้มที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้" แต่โดยลำพัง, ฯลฯ. ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นวิทยาศาสตร์แห่งการไร้อิสรภาพของมนุษย์(science of human unfreedom).

ทฤษฎีในเชิงปรัชญาและช่ำชองกว่า จะต้องยอมรับว่า สังคมที่ปลดเปลื้องเป็นอิสระจะต้องเป็นสังคมที่มนุษย์สามารถควบคุมชะตากรรมของพวกเขาเองได้ในเชิงรุก, โดยผ่านความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆที่พวกเขาดำรงอยู่.

Habermas กับทฤษฎีความรู้
มันเป็นสิ่งที่สำคัญมากบนจุดยืนนี้ ซึ่งมองว่า มันไม่มีแม่พิมพ์หรือแบบหนึ่งแบบใดที่ความรู้ทั้งมวลสามารถที่จะยัดลงไปได้. ความรู้สามารถที่จะหยิบมาได้สามรูปแบบที่แตกต่างกัน, ตามสิทธิประโยชน์ที่ต่างกัน ซึ่งซ่อนอยู่ข้างใต้หลักการดังกล่าว. สิทธิประโยชน์ที่ความรู้ได้สถาปนาขึ้นมาทั้งสามเหล่านี้ แต่ละอย่าง สอดคล้องกับแง่มุมเกี่ยวกับสังคมของมนุษย์.

หนึ่ง, ทุกๆสังคมดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมทางวัตถุ และผูกมัดอยู่กับการแลกเปลี่ยนกันและกันกับธรรมชาติ - ความสัมพันธ์กันนี้เกี่ยวพันกับสิ่งซึ่ง Habermas เรียกรวมๆว่า"แรงงาน"(labour). การแลกเปลี่ยนกันนั้นสนับสนุนสิทธิประโยชน์อันหนึ่งในการทำนายและควบคุมเหตุการณ์ต่างๆ. เป็นที่แน่ชัดว่า สิทธิประโยชน์อันนี้ได้รับการวางหลักทั่วๆไปโดยลัทธิปฏิฐานนิยม(ความเชื่อในวิยาศาสตร์)ต่อความรู้ทั้งหมด.

ภายใต้ขอบเขตนี้ ลัทธิมาร์กซ์ได้กลับคืนสู่ลัทธิปฏิฐานนิยม, มันเข้าใจว่าชีวิตทางสังคมได้ถูกควบคุมโดยพัฒนาการต่างๆใน"อำนาจบีบคั้นต่างๆทางการผลิต"(forces of production), ซึ่งปฏิบัติการในลักษณะกลไก โดยมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. แต่ทุกๆสังคมยังเกี่ยวพันกับ"การปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์"(symbolic interaction)ด้วย หรือ การสื่อสารของปัจเจกชนกับอีกคนหนึ่ง.

สอง, การศึกษาเกี่ยวกับ"การปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์"ได้สร้างสิทธิประโยชน์อันหนึ่งขึ้นมาในความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย - มักจะเป็นฉันทาคติหลักของ hermeneutics (ทฤษฎีการตีความ), ที่แสวงหาอย่างผิดๆเพื่อทำให้อันนี้มีลักษณะทั่วๆไปต่อการกระทำหรือกิจกรรมของมนุษย์ทั้งหมด. ในท้ายที่สุด, ทุกๆสังคมจึงไปเกี่ยวพันกับรูปแบบต่างๆของอำนาจ หรือ การครอบงำ(power or domination).

สาม, สิทธิประโยชน์ที่ความรู้ได้สร้างขึ้นมาอันที่สาม, ในการปลดเปลื้องให้เป็นอิสระนั้น, ได้รับการสืบทอดมาจากความผูกพันอันหนึ่งกับการบรรลุถึงความเป็นอิสระเชิงเหตุผลของการกระทำ, เป็นอิสระจากการครอบงำ - ไม่ว่าจะเป็นการครอบงำของธรรมชาติเหนือชีวิตมนุษย์ หรือ การครอบงำของปัจเจกชนบางคน หรือกลุ่ม เหนือคนอื่นๆ. สิทธิประโยชน์ทางความรู้ที่สร้างขึ้นแต่ละอย่างนี้ถูกเชื่อมโยงกับแบบฉบับเฉพาะอันหนึ่งของสาขาวิชา

ไอเดียที่มีมาก่อนต่างๆ ถูกนำเสนอในงานสำคัญของ Habermas และได้รับการแปลออกมาภายใต้ชื่อว่า Knowledge and Human Interests. นับตั้งแต่ช่วงเวลาที่ตีพิมพ์ออกมาเป็นครั้งแรกในปี 1968, Habermas ได้มีการแก้ไขอย่างมาก และได้ขยายไอเดียหรือความคิดต่างๆที่มีอยู่ในนั้นเพิ่มเติม.

ในการเผชิญกับกระบวนการของจิตวิเคราะห์, การสื่อสารระหว่างผู้ให้การบำบัดและผู้ได้รับการบำบัด(คนป่วย)ได้ถูกบิดเบือนไปอย่างเป็นระบบ: นั่นคือ มีการกันหรือแยกบางสิ่งบางอย่างออก และทำให้ผิดรูปผิดร่างไปเกี่ยวกับสิ่งที่คนป่วยพูดกับนักวิเคราะห์. แต่คำถามคือว่า...

อะไรคือเป้าหมายในเชิงบวกของวิธีการทางจิตวิเคราะห์ที่มองเห็นในที่นี้ ? การสื่อสารที่ไม่มีการบิดเบือนจะเหมือนกับอะไร และอันนี้มันไปโยงใยกับความทะเยอทะยานหรือความปรารถนาอันแรงกล้าของทฤษฎีวิพากษ์อย่างไร ?

ในงานเมื่อไม่นานมานี้ของเขา, Habermas ได้อุทิศความสนใจอย่างมากไปในการค้นหาคำตอบซึ่งเป็นไปได้ต่างๆสำหรับคำถามข้างต้น, และได้เขียนถึงปัญหาอันหลากหลายเกี่ยวกับการสื่อสาร และภาษาโดยทั่วๆไปอย่างกว้างขวาง. โดยเฉพาะ มีความคิดสองประการที่สำคัญ ในการทำความเข้าใจทัศนะต่างๆของเขาในสารัตถะเหล่านี้.

ความคิดแรกคือ, ความคิดที่ว่า การสื่อสารทางด้านภาษาของมนุษย์ทั้งหมดเกี่ยวพันกับ"ข้ออ้างต่างๆที่มีเหตุมีผล"(validity-claims), ได้รับการสร้างขึ้นอย่างมีนัยะโดยผู้พูดทั้งหมด.

ความคิดที่สองคือ, การถกเถียง ซึ่งเป็น"สถานการณ์ในการพูดเชิงอุดมคติ"(ideal speech situation), ได้รับการสันนิษฐานในการใช้ภาษา.

ตามความคิดของ Habermas, เมื่อคนๆหนึ่งพูดอะไรบางอย่างกับอีกคนหนึ่ง คนๆนั้นจะอ้างถึงบางสิ่งในเชิงนัยยะ ดังต่อไปนี้
(1) สิ่งที่พูดออกมานั้นเป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้ - นั่นคือ, มันเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของรูปแบบหรือโครงสร้างของลำดับคำในประโยค และกฎของความหมายที่แตกต่างกันของคำ(syntactical and semantic rules) ด้วยเหตุนี้ มันจึงมีความหมายที่สามารถทำความเข้าใจได้โดยคนอื่น.
(2) เนื้อหาที่นำเสนอนั้น ไม่ว่าอะไรก็ตามที่ถูกพูดออกมา มันเป็นจริง. เนื้อหาที่นำเสนออ้างอิงถึงการยืนยันเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ซึ่งผู้พูดสร้างขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่คนๆนั้นพูด.
(3) ผู้พูดนั้นได้ให้เหตุผลในการพูดถึงอะไรก็ตามที่พูดออกมา. กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ, สิทธิทางสังคมบางประการ หรือ"มาตรฐาน"ได้ถูกปลุกในการใช้คำพูด ในบริบทที่ระบุใดๆก็ตามของการใช้ภาษา
(4) ผู้พูดนั้นมีความจริงใจในอะไรก็ตามที่พูด - ซึ่งเขามิได้ตั้งใจที่จะหลอกลวงผู้ฟัง

ข้ออ้างดังกล่าวข้างต้น ฟังดูค่อนข้างเป็นนามธรรมมาก แต่สิ่งที่ Habermas มีอยู่ในใจ สามารถที่จะให้ภาพประกอบอย่างง่ายโดยอาศัยตัวอย่างอันหนึ่งดังต่อไปนี้.

สมมุติว่า ในการตอบข้อซักถามต่อนักท่องเที่ยวคนหนึ่ง, พนักงานขายตั๋วที่สถานีรถไฟพูดว่า "นั่นเป็นตั๋วราคา 10 ปอนด์ สำหรับตั๋วราคาถูกที่เดินทางไปกลับภายในวันเดียว". ผู้โดยสารอาจไม่รู้มาเลยว่าอะไรคือ"ตั๋วราคาถูกที่เดินทางไปกลับภายในวันเดียว", และถ้าหากว่าเป็นเช่นนั้น เขาก็อาจแสดงอาการงงๆ. ในการอธิบายนั้น อะไรคือความหมายของวลีที่ว่า"ตั๋วราคาถูกที่เดินทางไปกลับไปภายในวันเดียว", พนักงานขายตั๋วกำลังให้เหตุผลตรงตามข้ออ้างข้อที่หนึ่ง คือ - สิ่งที่เขาพูดเป็นที่เข้าใจและมีความหมาย, แม้ว่าผู้เดินทาง แรกสุดเลยนั้น อาจจะรู้สึกงงงวยต่อคำพูดนี้ก็ตาม.

มันเป็นการแสดงนัยะในสิ่งที่พนักงานขายตั๋วพูดว่า เนื้อหาข้อเท็จจริงของข้อความดังกล่าวเป็นจริง - นั่นมันตั๋วราคา 10 ปอนด์จริงๆ (ข้ออ้างข้อที่สอง). เป็นไปได้ที่ผู้โดยสารจะทึกทักเอาด้วยว่า พนักงานขายตั๋วมีสิทธิ์ที่จะพูดหรือแจ้งให้ทราบตามอำนาจหน้าที่ดังกล่าวเกี่ยวกับค่าโดยสารของสถานี (ข้ออ้าง-เหตุผลข้อที่สาม); และพนักงานขายตั๋วคนนั้นเชื่ออย่างจริงใจในสิ่งที่เขาพูด(ข้ออ้างเหตุผลข้อที่สี่).

หมายเหตุ, อย่างไรก็ตาม นั่นอาจเป็นสถานการณ์ที่สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดของข้ออ้างเหตุผลทั้งสามข้อหลัง อาจถูกโต้แย้งโดยผู้โดยสารก็ได้ - ในกรณีซึ่ง พนักงานขายตั๋วจะได้รับการคาดหวังต่อการให้เหตุผล หรือการหนุนหลังถ้อยคำที่ได้รับการสร้างขึ้นมา.

สมมุติตัวอย่างเช่น ผู้โดยสารสงสัยว่า คนที่ยืนอยู่อีกด้านหนึ่งของเคาเตอร์คือใครคนหนึ่ง ที่เป็นผู้รักษาการแทนชั่วคราวพนักงานขายตั๋วประจำ, เพราะพนักงานขายตั๋วตัวจริงไม่อยู่. ผู้โดยสารอาจโน้มเอียงที่จะตรวจสอบเหตุผลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำพูดดังกล่าว และบางที อาจตั้งคำถามสิทธิของปัจเจกที่กำลังจำหน่ายตั๋ว เมื่อไม่ได้ถูกให้อำนาจโดยสถานีให้กระทำเช่นนั้น.

การสื่อสารที่ไม่เบี่ยงเบนคือการใช้ภาษาซึ่งผู้พูดทั้งหลาย สามารถปกป้องข้ออ้างเหตุผลทั้งสี่ข้อได้ - ที่ซึ่งสิ่งที่ถูกพูดออกมานั้น สามารถแสดงออกถึงความหมาย, เป็นจริง, มีเหตุผล และจริงใจ.

เปรียบเทียบการสื่อสารระหว่าง"ผู้วิเคราะห์"กับ"คนไข้", ซึ่งอาจถูกเบี่ยงเบนไปอย่างเป็นระบบในหลายๆทาง. สิ่งซึ่งคนป่วยพูดในความสัมพันธ์ที่เป็นอิสระอาจไม่ได้รับการเข้าใจ, ทั้งต่อตัวคนไข้หรือต่อตัวผู้วิเคราะห์ มาแต่ต้น. เนื้อหาข้อเท็จจริงของมันอาจเป็นข้อผิดพลาดบางประการ(อย่างเช่น ในภาวะจินตนาการเพ้อฝัน). คนป่วยอาจสร้างข้ออ้างในหนทางที่ไร้เหตุผลหรือไม่มีข้อพิสูจน์. ท้ายสุด, คนป่วยอาจพยายาม, จะโดยสำนึกหรือไม่ก็ตาม, ที่จะหลอกลวงผู้ทำการวิเคราะห์ เพื่อจะต่อต้านหรือหลบเลี่ยงการเกี่ยวข้องกับกระบวนการของการวิเคราะห์ที่กำลังชักจูงไป.

ด้วยเหตุนี้ วัตถุประสงค์ของวิธีการบำบัดทางจิตวิเคราะห์สามารถที่จะถูกอธิบายว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำให้เป็นไปได้ สำหรับคนไข้จะหลุดพ้นจากข้อจำกัดหรือการติดตรึงอยู่ในที่คุมขังต่างๆทางจิตวิทยา อะไรก็ตามที่ขัดขวางการบรรลุถึงความมีเหตุมีผลของข้ออ้างเหตุผลต่างๆ(validity-claims)ในการอธิบาย

Habermas ได้อรรถาธิบายเกี่ยวกับข้ออ้างเหตุผลทั้งสี่ว่า, เพียงในข้อที่สองและสามเท่านั้น ซึ่งจริงๆแล้ว สามารถได้รับการปกป้องในการอธิบาย - กล่าวคือ, โดยการที่ผู้พูด กระทำการสื่อคำพูดอย่างประณีตในอะไรก็ตาม ที่เขาพูด. สาระความหมายของคำพูด สามารถได้รับการพิสูจน์ได้โดยการที่ผู้พูด ได้แสดงให้เห็นจริงๆว่า สิ่งที่เปล่งออกมาเป็นคำพูดเป็นที่เข้าใจได้ - ปกติแล้ว ถูกทำโดยอาศัยการแสดงออก ซึ่งเปล่งเป็นคำพูดออกมาในหนทางที่แตกต่างกันอันหนึ่ง.

ผู้พูดสามารถแสดงให้เห็นว่า ตัวเขามีความจริงใจ โดยความจริงใจนั้นได้แสดงออกมาในการกระทำ (คำสัญญาที่ทำให้พอใจ, การสื่อสารที่ให้เกียรติ และอื่นๆ). อย่างไรก็ตาม ความจริงและข้อพิสูจน์ สามารถได้รับการกอบกู้มาได้ในเชิงเหตุผล(discursively redeemed): ผู้พูดสามารถบรรจงให้รายละเอียดต่อเหตุผลที่ว่าทำไมข้ออ้างอันหนึ่งนั้นเป็นจริง, หรือได้รับการพิสูจน์เชิงเหตุผลตามหลักไวยากรณ์.

ทฤษฎีของ Habermas เกี่ยวกับความจริงมีอิทธิพลแผ่ออกไปกว้างขวางทีเดียวในงานเขียนทางปรัชญา, และได้โน้มนำโดยตรงไปสู่แนวความคิดของเขาเกี่ยวกับสถานการณ์ของคำพูดในเชิงอุดมคติ(ideal speech situation), ด้วยเหตุนี้มันจึงมีคุณค่าต่อการที่จะเสนอภาพสิ่งที่มันเกี่ยวข้องนี้ออกมา.

ทฤษฎีความจริงของ Habermas
สำหรับ Habermas "ความจริง"(truth) คือคุณสมบัติอันหนึ่งของการยืนยันในลักษณะของข้อเสนอ ที่บรรจุอยู่ในการใช้ภาษา. ความจริง คือข้ออ้างเหตุผลอันหนึ่ง(a validity-claim)ซึ่งเราไปผูกมัดกับเนื้อหาข้อเท็จจริงของถ้อยคำ.

หนทางง่ายที่สุดเพื่อเข้าใจว่า Habermas ได้พัฒนาทัศนะอันนี้ขึ้นมาอย่างไร จะต้องเริ่มต้นจาก อะไรคือบางสิ่งบางอย่างที่เรียกว่า"ทฤษฎีความซ้ำซากหรือมากเกินไป"ของความจริง(redundancy theory of truth).

ตามทฤษฎีความซ้ำซาก, ศัพท์คำว่า"ความจริง"เป็นสิ่งที่มากเกินพอ(ฟุ่มเฟือย)(superfluous)อันหนึ่ง, มันเป็นสิ่งที่ว่างเปล่าเกี่ยวกับนัยสำคัญใดๆ ซึ่งไม่ได้ลำเลียงหรือนำพาการยืนยันเกี่ยวกับข้อเสนอข้อเท็จจริงอีกต่อไป.

ดังตัวอย่างเช่น, ข้าพเจ้าอาจพูดว่า "โต๊ะตัวนี้ยาวสามฟุต". ถ้าข้าพเจ้าพูดประโยคนี้แทน "มันเป็นความจริงที่ว่า โต๊ะตัวนี้ยาวสามฟุต", คำว่า "มันเป็นความจริง"ดูเหมือนจะเพิ่มเข้ามาโดยไม่มีความหมายต่อคำพูดที่ว่า โต๊ะนั้นวัดได้สามฟุต. "มันเป็นความจริง"เป็นสิ่งซึ่งมากเกินไป(redundant). มาถึงตรงนี้ ในแง่หนึ่ง Habermas เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว.

ในการสนทนากันตามปกติ เราจะพูด, (ในการตอบคำถามอันหนึ่งเกี่ยวกับความยาวของโต๊ะ), "โต๊ะตัวนี้ยาวสามฟุต", ไม่ใช่พูดว่า "มันเป็นความจริงว่า โต๊ะตัวนี้ยาวสามฟุต". แต่ในทัศนะของ Habermas อันนี้ไม่ใช่เพราะ แนวความคิดเกี่ยวกับความจริงเป็นสิ่งที่มากเกินไป(redundant) หรือไม่จำเป็นอันหนึ่ง(unnecessary). มันเป็นเพราะว่า ในบริบทส่วนใหญ่ของการสื่อสาร ข้ออ้างที่มีต่อความจริง เป็นสิ่งที่บอกเป็นนัยในสิ่งซึ่งผู้พูดพูด. เป็นเพียงตอนที่ข้ออ้างอันนั้นได้ถูกตั้งคำถามโดยคนอีกคนหนึ่ง ซึ่งผู้พูด เป็นไปได้ที่จะปลุก"ความจริง"และเทอมต่างๆที่มีรากเดียวกันขึ้นมา.

"ความจริง", ในอีกด้านหนึ่ง, เป็นศัพท์ซึ่งมีอิทธิพลหรือพลังในการโต้เถียงเกี่ยวกับข้อเท็จจริง หรือการอภิปรายโต้แย้งกัน, และแนวความคิดเกี่ยวกับความจริง สามารถที่จะถูกทำความเข้าใจได้อย่างเหมาะสม เพียงในความสัมพันธ์กับกระบวนการอันนั้นของการถกเถียงหรือให้เหตุผล(argumentation).

เมื่อเรากล่าวว่า บางสิ่งบางอย่างเป็นจริง, เราหมายความว่าเราสามารถมีสิ่งที่มาหนุนหลังสิ่งที่เราพูดด้วยพยานหลักฐานข้อเท็จจริง และการถกเถียงหรือให้เหตุผลเชิงตรรก - ซึ่งข้ออ้างอันหนึ่งสามารถที่จะได้รับการยืนยันรับรอง ดังที่ Habermas พูด.

"ความจริงเป็นการอ้างอิงถึงข้อตกลงที่เห็นพ้องกัน หรือ ความสอดคล้องลงรอยกันที่น้อมนำมาโดยการยืนยันรับรอง".

ถ้อยคำหรือข้อความอันหนึ่งเป็น"จริง" ถ้าหากว่าผู้โต้แย้ง เผชิญกับการยืนยันรับรองเหล่านั้นที่ยอมให้กับความมีเหตุมีผล(validity - มีมูลหรือมีหลักฐาน). ความจริงเป็นคำมั่นสัญญาอันหนึ่งเกี่ยวกับความลงรอยกันทางด้านเหตุผล(Truth is the promise of a rational consensus).

มันดำเนินรอยตามมาจากอันนี้ที่ว่า ความจริงไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่าง"ปัจเจกชนคนหนึ่งที่รับรู้"กับ"โลก" - แม้ว่ามันจะขึ้นอยู่กับหลักฐานที่มีพื้นฐานอยู่บนการสังเกตุการณ์ต่างๆ. ความจริงเป็นการตกลงหรือความเห็นพ้อง บรรลุถึงโดยผ่านการพูดคุยในลักษณะวิพากษ์.

จุดยืนของ Habermas ในที่นี้ ดูเหมือนจะเผชิญหน้ากับความยุ่งยากที่สำคัญอันหนึ่ง. จริงๆแล้ว เราจะจำแนกความแตกต่าง "ความลงรอยกันทางเหตุผล"( a rational consensus)) - ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนการถกเถียงกันเชิงเหตุผล - จากความลงรอยที่มีพื้นฐานอยู่บนขนบธรรมเนียม หรืออำนาจได้อย่างไร ? เราอาจจะประเมินความเอาจริงเอาจังเกี่ยวกับความยุ่งยากนี้ โดยการพิจารณาถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาจากการใช้แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนทรรศน์ต่างๆของ KUHN ใน THE STRUCTURE OF SCIENTIFIC REVOLUTIONS.

KUHN ได้เสนอขอบเขตเกี่ยวกับการศึกษาอันหนึ่ง ซึ่งได้กลายมาเป็นวิทยาศาสตร์ เมื่อมันได้เรียนรู้กระบวนทรรศน์อันหนึ่ง - เมื่อมันเป็นความลงรอยกันในท่ามกลางผู้ปฏิบัติการทั้งหลาย เกี่ยวกับหลักฐานสนับสนุนขั้นพื้นฐาน และวิธีการที่เกี่ยวกับกิจกรรมของพวกเขา. แต่ก็อย่างที่ผู้วิจารณ์เกี่ยวกับ KUHN ทั้งหลาย ซึ่งต่างชี้แจงกันอย่างรีบร้อนที่ว่า, การดำรงอยู่ของวิทยาศาสตร์ ไม่สามารถเพียงขึ้นอยู่กับ การบรรลุถึงความลงรอยกันเท่านั้น, หรือสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์อื่นใดก็ตาม หากว่ามันเป็นเช่นนั้น มันก็จะไม่ต่างๆอะไรกันเลยสักนิดเดียวกับรูปแบบอันหนึ่งเกี่ยวกับ"กฎของฝูงชน"(MOB RULE).

ถึงแม้ว่า Habermas จะไม่ได้วิเคราะห์การโต้เถียงรายรอบงานเขียนของ KUHN โดยตรง, แต่การขานรับต่อความยุ่งยากดังกล่าว เป็นสิ่งที่เข้ากันหรือสัมพันธ์กันกับสิ่งเหล่านั้น. ความลงรอยกันทางเหตุผล(A RATIONAL CONSENSUS) - ในพื้นที่ใดๆของการพูดคุยเกี่ยวกับข้อเท็จจริง(FACTUAL DISCUSSION), ได้เข้ามารวมโดยไม่มีข้อจำกัดต่อวิทยาศาสตร์ - มันเป็นสิ่งหนึ่งที่บรรลุถึงได้อย่างบริสุทธิ์โดยอำนาจบีบบังคับของข้อถกเถียงที่ดีกว่า(THE FORCE OF THE BETTER ARGUMENT - อำนาจอธิบายที่เหนือกว่า).

การอ้างถึงความจริง, ในอีกด้านหนึ่ง, เป็นการยืนยันซึ่งคนอื่นๆสามารถที่จะชั่งตวงพยานหลักฐานได้ และจะบรรลุถึงข้อสรุปอย่างเดียวกัน ดังที่ปัจเจกคนหนึ่งได้สร้างข้ออ้างนั้นขึ้นมา. ในลำดับนี้หมายความว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับความจริงได้ถูกผูกกับข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นไปได้สำหรับข้อถกเถียงต่างๆ ซึ่งได้รับการประเมินในหนทางนั้นคือ

(1) หลักฐานที่เกี่ยวข้อง สามารถที่จะมีพลังอิทธิพลหรือส่งผลกระทบ และ

(2) ไม่มีอะไรนอกจากตรรกะ, ข้อถกเถียงในเชิงเหตุผลที่ถูกนำเข้ามาเกี่ยวพันในความลงรอยที่ทำให้แน่ใจอันหนึ่ง.

มันคือสถานการณ์ต่างๆเหล่านี้ที่ HABERMAS เรียกว่า AN IDEAL SPEECH SITUATION (สถานการณ์ของคำพูดที่เป็นอุดมคติ). สถานการณ์ของคำพูดที่เป็นอุดมคติ มันไม่มีการคุมขังหรือข้อจำกัดภายนอกมาขัดขวางผู้มีส่วนร่วมทั้งหลาย จากการประเมินหลักฐานและข้อถกเถียง, และในสิ่งที่ผู้มีส่วนร่วมแต่ละคนมีความเสมอภาคกันอันหนึ่ง และเปิดโอกาสเกี่ยวกับการเข้าไปสู่การสนทนา.

อย่างชัดแจ้ง เงื่อนไขต่างๆที่เป็นจริงส่วนใหญ่เกี่ยวกับปฏิสัมพัทธ์ของสังคมและการสื่อสาร ไม่ได้เหมือนกับอย่างนี้. ดังนั้น อะไรคือประเด็นเกี่ยวกับการผูกมัดที่มีความสำคัญมากต่อสถานการณ์ที่เป็นอุดมคติของคำพูดอันหนึ่ง ? คำตอบต่อคำถามดังกล่าวมีอยู่สองส่วน.

ส่วนแรก, สำหรับ HABERMAS สถานการณ์ของคำพูดที่เป็นอุดมคติ ไม่ใช่อุดมคติที่สร้างขึ้นมาตามอำเภอใจ. มันเป็นสิ่งที่มีอยู่แต่แรกหรือถาวรในธรรมชาติของภาษา. ใครก็ตามที่ใช้ภาษาจะสันนิษฐานว่า พวกเขาสามารถพิสูจน์ถึงแบบฉบับทั้งสี่เกี่ยวกับข้ออ้างเหตุผล(VALIDITY-CLAIM)ซึ่งกล่าวมาแล้วนั้นได้, รวมถึงนั่นที่เกี่ยวกับความจริง. การเปล่งวาจาโดดๆคำหนึ่งออกมา เป็นการเสนอความเป็นไปได้เกี่ยวกับการมีอยู่ของรูปแบบหนึ่งของชีวิตทางสังคม ซึ่งปัจเจกชนทั้งหลายจะดำรงอยู่ในความอิสระ, การสื่อสารที่เสมอภาคกัน และเปิดเผยกับอีกคนหนึ่ง.

ส่วนที่สอง, เมื่ออันนี้คือข้อเท็จจริง, มันจึงตามมาด้วย สถานการณ์ของคำพูดที่เป็นอุดมคติ ซึ่งจะเตรียมมาตรวัดเชิงวิพากษ์อันหนึ่งเกี่ยวกับความไม่เพียงพอของรูปแบบที่มีอยู่แพร่หลายของการปฏิสัมพันธ์และสถาบันต่างๆทางสังคม.

ความลงรอยใดๆก็ตาม ที่มีพื้นฐานอยู่บนน้ำหนักที่เต็มเพรียบของจารีตประเพณี, หรือ บนการใช้อำนาจ หรือการครอบงำ, จะถูกเปิดเผยในฐานะการเบี่ยงเบนจากการลงรอยกันทางด้านเหตุผล. ดังนั้น โดยอนุมาน สถานการณ์ของคำพูดที่เป็นอุดมคติ จึงเป็นการเตรียมพื้นฐานทางวัตถุวิสัยอันหนึ่งสำหรับทฤษฎีการวิพากษ์.

HABERMAS กับแนวความคิดเรื่องเหตุผล
สำหรับ HABERMAS แนวความคิดเกี่ยวกับความมีเหตุผล(THE CONCEPT OF RATIONALITY) เกี่ยวข้องกันกับรากฐานของความรู้ น้อยกว่าวิธีการที่ความรู้ได้ถูกนำมาใช้. การกล่าวว่า ถ้อยคำอันนั้น หรือการกระทำอย่างนั้นเป็นสิ่งที่มีเหตุผล เป็นการอ้างว่า ถ้อยคำหรือการกระทำ ในหลักการ สามารถได้รับการพิสูจน์ได้ในขบวนการขั้นตอนของการถกเถียงเชิงเหตุผล(ARGUMENTATION)

การถกเถียงเชิงเหตุผล, ในเทอมของ Habermas คือ"สนามของความดึงดูดใจ"(court of appeal)เกี่ยวกับความมีเหตุผล ซึ่งมีอยู่มาแต่เดิมในการสื่อสาร, ทำให้ความต่อเนื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในการสื่อสารมีความเป็นไปได้ เมื่อการโต้เถียงเกิดขึ้น, โดยไม่ต้องหันไปพึ่งพาต่อการขู่บังคับหรือการทำให้เสียอิสรภาพ. มันตั้งอยู่บนพื้นฐานของความนึกคิดเกี่ยวกับความมีเหตุผลในการสื่อสาร ที่ Habermas พยายามที่จะตอบโต้ต่อลัทธิสัมพัทธนิยม(relativism), และในเทอมนั้นๆของสิ่งซึ่งเขาแสวงหา ก็เพื่อตีความวิวัฒนาการทั้งหมดของสังคมมนุษย์. มันอาจจะไม่มีรากฐานที่ใช้ได้อย่างเป็นสากลเกี่ยวกับความรู้

ในประเด็นนี้, ดังในประเด็นอื่นๆอย่างหลากหลาย, สิ่งที่ Habermas ต้องการพูด เป็นทัศนะที่ขนานกันไปแง่คิดต่างๆของ Popper. แต่เป็นไปตามขั้นตอน หลักการหรือมาตรการต่างๆของความมีเหตุผล - นั่นคือ, วิธีการต่างๆของการมาถึงข้อสรุปอันเป็นที่รับรองหรือยอมรับกัน - มันเป็นอย่างเดียวกันในทุกๆที่.

ตามความเห็นของ Habermas, โดยเหตุนี้ เราจึงสามารถที่ลำดับ ทั้งในระดับของปัจเจกชนและวัฒนธรรมทั้งหมดไปลงบนสเกลของวิวัฒนาการแห่งการพัฒนา ซึ่งบรรทัดฐานของความก้าวหน้าในลักษณะวิวัฒนาการ เป็นสิ่งที่เรียกว่า"cognitive adequacy"(ความเพียงพอเกี่ยวกับการรับรู้). โดยความเพียงพอเกี่ยวกับการรับรู้ Habermas หมายถึง ลำดับการและความลึกของข้ออ้างเหตุผลในเชิงปกป้อง(the defensible validity-claims) ที่มันรวมเข้าด้วยกัน.

ในการวางหลักการเกี่ยวกับไอเดียต่างๆเหล่านี้, Habermas บรรยายเอาไว้อย่างมากมายโดยได้นำมาจากงานเขียนต่างๆของ Piaget (นักจิตวิทยาชาวสวิสซ์ 1896-1980). Piaget ได้จำแนกในเรื่องของพัฒนาการเกี่ยวกับการรับรู้ของเด็กๆเอาไว้สามขั้นตอน, ซึ่งเป็นความก้าวหน้าที่เพิ่มขึ้นมา จากความสามารถในการเรียนรู้ของพวกเด็กๆ. Habermas บอกเป็นนัยว่า, สิ่งเหล่านี้ลงรอยกับขั้นตอนของวิวัฒนาการทางสังคมที่มีอยู่ด้วยกันสามขั้นตอนหลักๆ: กล่าวคือ

(1) ขั้นตอนของปกรณัมโบราณ(mythical)
(2) ขั้นตอนอภิปรัชญา-ศาสนา(religious - metaphysical), และ
(3) ขั้นตอนสมัยใหม่(modern).

สำหรับ Piaget, พัฒนาการเกี่ยวกับการรับรู้ได้ถูกทำให้สัมพันธ์กับกระบวนการกระจายจากศูนย์กลางอันหนึ่ง(de-centering process), ซึ่งเด็กๆจะค่อยๆเคลื่อนคล้อยจากการเพ่งพินิจเบื้องต้น บนความเอาใจใส่และความต้องการของตนเองโดยตรง ไปสู่ความรู้ความเข้าใจที่ขยายกว้างออกไปเกี่ยวกับโลก และเกี่ยวกับความต้องการของผู้อื่น. บางสิ่งมันดูคล้ายคลึงกับกรณีของวิวัฒนาการทางสังคม.

ในขนาดหรือสเกลที่เล็กลงมา, วัฒนธรรมในลักษณะจารีตประเพณี ได้ถูกครอบงำโดยปกรณัมโบราณ(myth). ปกรณัมโบราณต่างๆคือหุ่นจำลองที่มีตัวตนเป็นรูปธรรม(บุคลาธิษฐาน) และมีลักษณะเฉพาะของความคิด, เป็นแนวโน้มที่มองเรื่องของวัฒนธรรมอื่นๆ และโลกทางวัตถุจากมุมมองที่ได้เปรียบของสังคมที่กำลังกล่าวถึง. ปกรณัมโบราณเหล่านี้ คือลักษณะเฉพาะของสังคมต่างๆ ซึ่งไม่ได้พัฒนาเวทีทางสติปัญญาที่ชัดเจนภายในสิ่งซึ่ง การถกเถียงกันในเชิงเหตุผลสามารถที่จะได้รับการพาไป. การแพร่กระจายของขนบประเพณี หมายความว่า กิจกรรมทางสังคมส่วนใหญ่ ได้ถูกรวบรวมขึ้นเป็นระบบไปตามหลักการต่างๆที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยกาลเวลา, ซึ่งไม่ได้พัฒนามาบนฐานของการสนทนากันในเชิงเหตุผลและความเข้าใจ.

ในทัศนะของ Habermas, พัฒนาการของศาสนาต่างๆที่ครอบคลุมมากกว่า, กว้างขวางมากกว่าปกรณัมโบราณ, เป็นการบ่งชี้ถึงความเคลื่อนไหวอันหนึ่งที่นำไปสู่การขยายขอบเขตของความมีเหตุผล. การก่อตัวขึ้นมาของศาสนาหลักๆของโลก - อย่างเช่น พุทธ, คริสต์ อิสลาม และฮินดู - มีแนวโน้มที่จะไปเชื่อมสัมพันธ์กับความแตกต่างของวิทยาศาสตร์, กฎหมาย และศิลปะ ในฐานะที่เป็นปริมณฑลบางส่วนของกิจกรรม.

Habermas กับทุนนิยมตะวันตกสมัยใหม่
โดยไม่เคยรังเกียจที่จะใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางความรู้สติปัญาที่หลากหลายและกว้างขวาง, ณ จุดเชื่อมต่อนี้ Habermas ได้สร้างความดึงดูดใจต่องานเขียนต่างๆของ Max Weber. และเขาได้ทำเช่นนั้นด้วยสายตาที่วิพากษ์. Weber ได้วางจุดเน้นที่แข็งแรงอันหนึ่ง ลงไปบนสิ่งที่เขาเรียกว่า"การทำให้เป็นเหตุผลของวัฒนธรรม"(rationalization of culture), และได้ถูกขยายออกไปถึงศาสนาต่างๆของโลก, และเขาได้ค้นพบพัฒนาการในลัทธิทุนนิยมสมัยใหม่ของตะวันตก.

อย่างแน่วแน่ Weber ปฏิเสธที่จะแยกแยะการแสดงออกเกี่ยวกับการทำให้เป็นเหตุผล(rationalization) ที่มีกันอยู่หลายระดับออกจากกัน; กล่าวคือ เขาไม่รู้สึกว่า รูปแบบที่ถูกทำให้มีเหตุผลมากกว่าอันหนึ่งของชีวิตทางสังคม มันมีอะไรที่น่ายกย่องสรรเสริญ ยิ่งไปกว่า หรือเหนือกว่ารูปแบบที่ถูกทำให้มีเหตุผลน้อยกว่าอันหนึ่ง.

สำหรับ Habermas, แน่นอน อันนี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้. ที่ซึ่ง"การทำให้มีเหตุผล"(rationalization)หมายถึง การขยายออกไปเกี่ยวกับขบวนการและโอกาสต่างๆ สำหรับการถกเถียงกันด้วยเหตุผล(argumentation), พัฒนาการของมันมีลักษณะที่เบนเข้าหากันหรือมาบรรจบกันกับความเจริญเติบโตของความมีเหตุมีผล. Weber ไม่ได้บ่งชี้ให้ชัดเจนพอ ถึงหนทางที่ การทำให้เป็นเหตุผลของตะวันตกสมัยใหม่แตกต่างไปจากคุณลักษณะเฉพาะของอารยธรรมก่อนหน้านั้นอย่างไร ?

ความเป็นสมัยใหม่ - post-conventional (หลังขนบธรรมเนียม)
ตามความคิดของ Habermas, ตะวันตก, โดยลำพังแล้ว, ได้ถูกทำให้ปรากฏชัดขึ้นมาโดยความโดดเด่นของมันที่มีเหนือกว่าอารยธรรมที่มีมาก่อน. ตะวันตกได้ล่วงเข้าสู่"อาณาเขตต่างๆเกี่ยวกับการรับรู้แบบหลังขนบธรรมเนียม"(post-conventional cognitive domains). รูปแบบต่างๆของหลังขนบธรรมเนียมเกี่ยวกับแบบแผนสถาบัน(institutional order) คือสิ่งเหล่านั้น ซึ่งตัวของมันเอง จริงๆแล้วก็ไม่ได้เป็นอิสระจากการครอบงำของหลักเกณฑ์จารีตเกี่ยวกับความประพฤติ, แต่ได้ถูกนำมารวบรวมเข้าไว้ให้เป็นไปตามหลักการต่างๆที่ได้รับการยอมรับ. ส่วนต่างๆของสถาบันที่โดดเด่นมากที่สุด ที่ซึ่งกระบวนการอันนี้ได้เข้ามาอยู่แถวหน้าก็คือ "วิทยาศาสตร์"และ"กฎหมาย"นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้สำหรับ Habermas มันจึงเป็นความรู้สึกที่แท้จริงอันหนึ่งที่ว่า ตะวันตกคือสิ่งสุดยอด. ในการสนับสนุนทัศนะอันนั้น, เขายืนอยู่อย่างมีสำนึกในด้านตรงข้าม ไม่เพียงต่อลัทธิสัมพัทธนิยมเท่านั้น - ในความหมายใดก็ตามที่อาจถูกอ้างหรือให้เหตุผลในเทอมนั้น - แต่ยังอยู่ฝั่งตรงข้ามกับสกุลความคิดทางสังคม ซึ่งยึดถือว่าพัฒนาการของลัทธิทุนนิยมตะวันตก เป็นปรากฏการณ์ที่มีอันตรายหรือพิษภัยมาแต่ต้นเลยทีเดียว.

ไม่เลย, เขาไม่เคยมีความเห็นสอดคล้องคลุมๆเครือๆกับสังคมตะวันตก. ในทางตรงข้าม, ลัทธิทุนนิยมสมัยใหม่ดังที่เขาแสดงให้เห็น มันเป็นรูปแบบหนึ่งของสังคมที่ได้รับการฉีกหรือผ่าออกโดยความตึงเครียดและความขัดแย้งต่างๆ.

ตามที่ปรากฎ Habermas ยังคงต้องการที่จะรักษาปัจจัยที่เป็นแก่นแท้ของความคิดแบบมาร์กซิสท์เอาไว้ที่ว่า ลัทธิทุนนิยมเป็นแบบฉบับอันหนึ่งของสังคม. ความเหนือกว่าของมัน ได้สนับสนุนความเป็นไปได้เกี่ยวกับการบรรลุถึงแบบฉบับที่สูงกว่าอันหนึ่งของแบบแผนทางสังคม. แต่การวิเคราะห์ของเขาเกี่ยวกับธรรมชาติของลัทธิทุนนิยมสมัยใหม่ และถนนสายใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมซึ่งมันน้อมนำไป, แตกต่างอย่างถึงแก่นจากแนวความคิดแบบคลาสสิคของมาร์กซิสท์.

ทฤษฎีวิพากษ์ที่ทันสมัย, Habermas เสนอ, เกี่ยวพันกับการมองบทบาทที่กว้างขวางซึ่งวิทยาศาสตร์ได้แสดงในการพัฒนานับตั้งแต่ช่วงเวลาของมาร์กซ์ - ความหมายของวิทยาศาสตร์ในที่นี้คือ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ. พวกเราดำรงอยู่ในสังคมหนึ่งซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้หลอมละลายอยู่อย่างแยกกันไม่ออก, ซึ่งวิทยาศาสตร์ได้มาเรียงอยู่หน้าสุดท่ามกลางสิ่งที่มาร์กซ์เรียกว่าอำนาจการผลิต(force of production). แต่วิทยาศาสตร์ ในด้านหนึ่งนั้น มันยังแผ่ขยายไปสู่อาณาเขตทางการเมืองด้วย.

ในสังคมทุนนิยมทั้งหลาย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ถูกใส่บังเหียน หรือถูกบังคับ-ควบคุมให้พุ่งไปสู่เป้าของการสร้างความมั่นคงและความเติบโตทางเศรษฐกิจที่แผ่กว้างออกไป. ขอบเขตทางการเมือง โดยพื้นฐานแล้ว กลายมาลดทอนคำถามหนึ่งลง ที่ว่าใครสามารถที่จะทำให้เศรษฐกิจเคลื่อนตัวไปได้ดีที่สุด - สาระอันหนึ่งของการตัดสินในเชิงเทคนิค.

เราจะเห็นกันอีกครั้งว่า ลัทธิมาร์กซ์แบบเดิมๆ ไม่ได้ให้ทางเลือกในเชิงวิพากษ์แต่อย่างใดในประเด็นนี้. สำหรับเป้าหมายนำที่สำคัญของสหภาพโซเวียตในเวลานั้น ต้องการที่จะก้าวทัน, และล้ำหน้าตะวันตกในเทอมต่างๆของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ. สิ่งที่ Habermas เรียกว่า (ซึ่งค่อนข้างขาดความประณีตในการใช้คำ) "การเมืองที่มีการทำให้เป็นวิทยาศาสตร์"(scientisation of politics) ได้ดำเนินไปไกลในสังคมต่างๆของยุโรปตะวันออก เท่าๆกันกับในยุโรปตะวันตก.

ในทัศนะของ Habermas, ข้อเท็จจริงที่ว่า การเมืองได้กลายเป็นชนิดหนึ่งของเทคโนโลยีเหมือนกันกับเรื่องอื่นๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปลักษณ์ทางอุดมการณ์หลักต่างๆของลัทธทุนนิยมสมัยใหม่. สิ่งที่บรรดานักเขียนคนอื่นๆเห็นในฐานะจุดจบของอุดมการณ์ - การระบายออกของคุณค่าและอุดมคติทุกๆด้านในการเห็นด้วยหรือสนับสนุนรัฐบาลที่ยึดถือแนวทางที่เน้นการปฏิบัติ, เทคโนแครตแครทหรือผู้เชี่ยวชาญ(pragmatic, technocratic government) - Habermas ถือว่าเป็นแกนสำคัญของสิ่งที่อุดมการณ์เป็น. สำหรับการเมืองควรเกี่ยวพันกับการต่อสู้เหนือคุณค่าและอุดมคติเหล่านั้น ซึ่งสามารถทำให้ชีวิตเปี่ยมไปด้วยความหมายสำหรับเรา. การสะกดหรือควบคุมความหมายในปฏิฐานนิยม(ความเชื่อแบบวิทยาศาสตร์), ในปริมณฑลทางเทคนิคมากๆของทฤษฎีทางปรัชญาและสังคม, มันเป็นของคู่กันกับการสะกดควบคุมความหมายในปริมณฑลมากมายหลายหลากของชีวิตสมัยใหม่.

อันนี้เป็นใจกลางสาระสำคัญต่อการวิเคราะห์ของ Habermas เกี่ยวกับความตึงเครียดและความขัดแย้งซึ่งเกี่ยวข้องกับสังคมทุนนิยมในทุกวันนี้. Habermas ได้รักษาทัศนะของมาร์กซิสท์เอาไว้พอสมควรที่จะถือว่า ลัทธิทุนนิยมยังคงเป็นสังคมชนชั้นอันหนึ่ง, ได้รับการแบ่งแยกระหว่าง"ชนชั้นที่มีอิทธิพลครอบงำ" กับ ชนชั้นที่เป็นรอง"ออกจากกัน. แต่อย่างไรก็ตาม เขามีความเห็นว่า"ชนชั้นกรรมาชีพ" ไม่ได้เป็นกองหน้าของการปฏิวัติอีกต่อไปแล้ว, ความขัดแย้งทางชนชั้นมิได้เป็นต้นตอหลักของความตึงเครียดที่คุกคามเสถียรภาพของลัทธิทุนนิยมอีกต่อไป, หรือเป็นแหล่งที่มาที่เป็นไปได้มากที่สุดของการเปลี่ยนแปลงของสังคม.

ทัศนะของมาร์กซ์เกี่ยวกับความขัดแย้งทางชนชั้น, ในสายตาของ Habermas, เป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือใช้ได้กับลัทธิทุนนิยมในศตวรรษที่ 19. ในศตวรรษที่ 19 นั้น, ชีวิตทางเศรษฐกิจยังคงไม่มีลักษณะที่เป็นโครงสร้างมากขนาดนี้, และได้ถูกครอบงำโดยความผันแปรอย่างกว้างขวางของความเจริญรุ่งเรืองและถลำลึก; บรรดานายทุนและคนงานทั้งหลายเผชิญหน้ากันและกันในตลาด ในฐานะคู่ปรปักษ์ที่รุนแรงในเชิงศักยภาพ.

ปัจจุบัน เราอาศัยอยู่ในยุคของลัทธินิยมที่ถูกควบคุมโดยเทคโนโลยี. มันยังคงเป็นวัฏจักรต่างๆทางเศรษฐกิจ แต่มันได้รับการทำให้ลดน้อยลงอย่างถึงแก่น โดยการแทรกแซงของรัฐบาลในการดำเนินการทางเศรษฐกิจ. ความตึงเครียดที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยการแบ่งแยกทางชนชั้น ได้ถูกทำให้บรรเทาเบางบางลงอย่างสอดคล้องโดยการนำเสนอเกี่ยวกับแบบหรือวิธีการต่างๆที่ทำให้ได้มาตรฐานของสินค้าราคาถูกทางด้านอุตสาหกรรม และการตัดสินชี้ขาด.

มาร์กซ์อาศัยอยู่และได้เขียนหนังสือขึ้นมาในช่วงเวลาของ"ทุนนิยมแบบเสรี"(liberal capitalism) - ซึ่งบทบาทของรัฐในชีวิตทางเศรษฐกิจได้ถูกจำกัด, และตลาดการแข่งขันถูกครอบงำ. ลัทธิทุนนิยมในทุกวันนี้เป็นทุนนิยมแบบจัดตั้ง(organized capitalism). เงื่อนไขหรือปัจจัยต่างๆอันหลากหลายได้ถูกนำเข้ามาเกี่ยวพันในการเปลี่ยนผ่านจากอันหนึ่งไปสู่อีกอีกอันหนึ่ง, โดยเฉพาะรวมถึงส่วนที่ถูกทำให้แผ่ขยายออกไปที่ได้รับการปฏิบัติโดยรัฐในกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีการวางระเบียบ(regulating economic activity), และเสถียรภาพเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางชนชั้น ซึ่งเป็นผลลัพธ์เนื่องมาจากการมีอยู่ของวิธีการที่ทำให้มีมาตรฐานเกี่ยวกับการตัดสินทางด้านอุตสาหกรรม.

ตลาดการแข่งขันต่างๆถูกตัดราคาโดยการครอบงำที่เพิ่มขึ้นของบรรษัทขนาดใหญ่ต่างๆ, และโดยการประสานกันกับแผนการของรัฐที่ยินยอมให้กับเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์อย่างมากๆ. โดยอาศัยการประกันราคา, การให้ความช่วยเหลือ, งบดุลยและรูปแบบของการควบคุมเรื่องการเงิน, พร้อมด้วยการเป็นเจ้าของอุตสาหกรรมโดยตรงในรูปต่างๆของการทำให้เป็นส่วนหรือเซคเตอร์ระดับชาติ, รัฐได้ช่วยสนับสนุนเงื่อนไขต่างๆสำหรับการสะสมความมั่นคงของทุน.

รัฐได้เข้าไปแทรกแซงในการดำเนินไปทางเศรษฐกิจ, เมื่อเชื่อมประสานกับการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, หมายความว่า ทฤษฎีของมาร์กซ์เกี่ยวกับมูลค่าส่วนเกินจึงไม่อาจนำมาใช้ได้ในเงื่อนไขปัจจุบัน. มาร์กซ์ได้วางแกนเกี่ยวกับการวิเคราะห์ของเขาในเรื่องลัทธิทุนนิยมลงบนทฤษฎีที่ว่า พลังแรงงานเท่านั้นที่สร้างมูลค่า, และผลกำไรอันนั้นที่ได้มาจากส่วนเกินของมูลค่า บรรดานายทุนทั้งหลายสามารถยื้อแย่งจากบรรดาคนงานไปได้.

แต่รัฐสมัยใหม่ได้มาควบคุมในด้านการศึกษา, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, รัฐได้สอดแทรกอิทธิพลอันใหม่เข้าไป, ทำให้มันเป็นไปได้ที่จะส่งผลกระทบต่อมูลค่าของสินค้า ในหนทางที่ไม่สามารถถูกนำมาวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสมไปตามทฤษฎีบท หรือหลักเกณฑ์ต่างๆของลัทธิมาร์กซ์แบบคลาสสิค.

ในยุคของมาร์กซ์, Habermas ยอมรับว่า การขัดแย้งทางชนชั้นเป็นต้นตอหลักที่สำคัญของความตึงเครียดทางสังคม และมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงสังคม. แต่ตลอดช่วงเวลาหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา, ผลของความยุ่งยากที่ตามมาเกี่ยวกับการแบ่งแยกทางชนชั้นกลายเป็นสิ่งที่เพลาลงไป ไม่รุนแรงเท่าไรนัก. มันได้มีบางสิ่งเกิดขึ้นในประเทศต่างๆทางตะวันตก ซึ่งเขาเรียกว่า"การประนีประนอมทางชนชั้น"(a class compromise), การรวมกันอันหนึ่งระหว่างขบวนการเคลื่อนไหวทางด้านแรงงาน, ธุรกิจขนาดใหญ่ และรัฐบาล.

บรรดาผู้นำสหภาพแรงงานและผู้นำทางธุรกิจมีแนวโน้มที่จะเจรจากันในเรื่องค่าจ้างมากขึ้น และเจรจาเกี่ยวกับเงื่อนไขสัญญาต่างๆกันโดยตรง ค่อนข้างมากกว่าปล่อยมันไปในลักษณะที่เปิดให้เป็นการตัดสินใจหรือกำหนดโดยตลาด. มันไม่มีสิ่งใดที่เหมือนกับตลาดแรงงานที่แข่งขันกันอย่างเต็มที่, มากไปกว่าตลาดของการแข่งขันกันด้านสินค้า.

แรงงานจัดตั้ง, ในรูปของพรรคสังคมนิยมต่างๆ, ได้มามีบทบาทสำคัญในรัฐสมัยใหม่ด้วย.บางส่วนเป็นผลเนื่องมาจาก, ลัทธิทุนนิยมจัดตั้งที่เรียกอย่างเหมาะสมว่า "ลัทธิทุนนิยมสวัสดิการ"(welfare capitalism). ขอบเขตอันหนึ่งของแผนการด้านสวัสดิการ จะปกป้องคนเล็กคนน้อยจากความไม่แน่นอนของตลาด - ความเจ็บป่วย และผลประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรม, การจ่ายเงินให้กับผู้ที่ไม่ได้รับการจ้างงาน และอื่นๆ.

ด้วยเหตุนี้ ขอบเขตความสัมพันธ์ทางชนชั้นจึงไม่ปะทะกันอย่างแหลมคมดังที่มันเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19; ดังนั้นขบวนการแรงงานในทุกวันนี้ไม่ใช่ตัวแทนหลักของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. ในการมาสู่ข้อสรุปอันนี้, ทัศนะต่างๆของ Habermas ได้คล้องจองกับบรรดานักคิดที่สังกัดอยู่กับสกุลแฟรงค์เฟริท, ที่พูดถึงมาแล้วอย่างสั้นๆในช่วงต้น.

แต่อย่างไรก็ตาม, ไอเดียต่างๆของ Habermas ในที่นี้ได้บิดผันไปในลักษณะที่น่าสนใจอันหนึ่ง. ความตึงเครียดต่างๆซึ่งเกี่ยวกันกับการแบ่งแยกทางชนชั้นไม่ได้หายไปเฉยๆ, เขาเสนอ, มันได้รับการแทนที่ในส่วนอื่น, และได้ปรากฏขึ้นมาใหม่อีกครั้งในรูปโฉมภายนอกที่แตกต่าง, ที่ได้สร้างรูปแบบใหม่ๆของขบวนการที่เป็นไปในทางตรงข้ามขึ้นมา.

สังคมทุนนิยมทั้งหลายยังคงมีส่วนรับผิดชอบต่อวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ แต่ความขัดแย้งต่างๆในระดับเศรษฐกิจโดยตรงมันมีความสำคัญน้อยลงกว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสถาบันต่างๆ. เพราะว่าในทุกวันนี้ การดำเนินการทางเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่แล้วได้รับการจัดการหรือหล่อเลี้ยงโดยรัฐบาล, ในการร่วมกันกับบรรษัทขนาดใหญ่ต่างๆ. โดยเหตุนี้ วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจจึงมีมีแนวโน้มหรือศักยภาพที่จะเป็นวิกฤตการณ์ทางการเมืองได้อย่างรวดเร็ว.

ในทัศนะของ Habermas สิ่งเหล่านี้กำลังคุกคามต่อระบบมากยิ่งกว่าปัญหาต่างๆทางเศรษฐกิจเสียอีก เพราะว่า บทบาทของเทคโนแครททางการเมืองสมัยใหม่ ไม่สามารถที่จะสร้างความจงรักภักดีที่ลึกซึ้งหรือเหนียวแน่นต่อระเบียบแบบแผนทางการเมืองขึ้นมาได้.

การเมืองกลายเป็นเรื่องของการยึดถือทางด้านการปฏิบัติส่วนใหญ่, มวลชนซึ่งเป็นประชากรรู้สึกว่า ไม่มีคำมั่นสัญญาหรือความผูกพันที่แท้จริงต่อระบบการเมือง และพรักพร้อมจะกลายเป็นสิ่งแปลกแยกจากมัน ถ้าหากว่าระบบอันนั้นล้มเหลวที่จะธำรงรักษาข้อสรุปแคบๆของมันเอาไว้ได้ - ยกตัวอย่างเช่น คำแนะนำเกี่ยวกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน. ในสถานการณ์ต่างๆเช่นนั้น, ซึ่ง Habermas เชื่อว่า มันได้แผ่ขยายกว้างออกไปมากขึ้นๆ ระบบการเมืองได้เผชิญหน้ากับสิ่งที่เขาเรียกว่า "วิกฤตการณ์เกี่ยวกับความเชื่อฟังกฎหมาย"(crises of Legitimation). กล่าวคือ, เนื่องจากข้อจำกัดของมัน, บทบาทของเทคโนแครท, ระเบียบแบบแผนทางการเมือง การร่วมมือกับบรรษัทขนาดใหญ่ จึงขาดเสียซึ่งอำนาจอันชอบธรรมทางกฎหมาย ซึ่งมันเป็นที่ต้องการของรัฐบาล.

มากไปกว่าความขัดแย้งกันทางเศรษฐกิจ, แนวโน้มในเรื่องวิกฤตความเชื่อฟังทางกฎหมาย สำหรับ Habermas เป็นความขัดแย้งที่นอนเนื่องหรือฝังอยู่ลึกที่สุดในลัทธิทุนนิยมสมัยใหม่. เทียบกันระหว่างการแบ่งแยกทางชนชั้น กับ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดขบวนการด้านแรงงานในศตวรรษที่ 19, ดังนั้น ความขัดแย้งที่ปรากฏตัวขึ้นมานี้ จึงมีแนวโน้มที่จะคลอดหรือให้กำเนิดขบวนการทางสังคมใหม่ๆขึ้นมาในศตวรรษที่ 20.

สิ่งเหล่านี้คือขบวนการต่างๆซึ่งพยายามที่จะแทรกกลับเข้าไปสู่ชีวิตทางการเมือง คุณค่าต่างๆที่มันได้สูญหายไป - ยกตัวอย่างเช่น เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับโลกธรรมชาติ, และมนุษย์ในฐานะปัจเจก กับ คนอีกคนหนึ่ง. ความสัมพันธ์อันนั้นเกี่ยวพันถึงคุณค่าต่างๆทางด้านศีลธรรมโดยพื้นฐาน, และมันคือข้อจำกัดต่างๆต่อระดับดังกล่าว ซึ่งมันสามารถถูกทำให้เป็นรองลงมาสู่กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับของเทคโนแครท.

ณ ข้อจำกัดอันนั้น, ขบวนการต่างๆในด้านตรงข้ามได้เกิดขึ้นมาซึ่งได้ทำการตีกลับ, เพื่อฟื้นคืนคุณค่าต่างๆที่สูญเสียไป หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงการดำรงอยู่อันหนึ่ง. ขบวนการฟื้นฟูทางด้านนิเวศวิทยาและศาสนาได้รับการนำเสนอโดย Habermas ดังตัวอย่างต่างๆ, เช่นที่ปรากฎอยู่ในบางส่วนของขบวนการเคลื่อนไหวของบรรดานักเรียกร้องสิทธิสตรีทั้งหลาย.

สรุปงานเขียนของ Habermas
ขอบเขตงานเขียนต่างๆของ Habermas เป็นสิ่งที่ไม่ธรรมดาเลย, มันเรียงลำดับมาจากปัญหาซึ่งเป็นนามธรรมมากที่สุดทางด้านปรัชญา จนมาถึงการวิเคราะห์ที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับประเด็นปัญหาสังคมและการเมือง. มันเกินเลยไปกว่าคำถามที่พยายามจะประเมินได้ทั้งหมดเกี่ยวกับงานเขียนเหล่านี้ในลักษณะสั้นกระทัดรัด เช่นเดียวกับที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้.

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า Habermas ได้เปลี่ยนแปลงภูมิหลังทางด้านสติปัญญาจากแนวทางในอาชีพของเขาไปทั้งหมด, และอันนี้ได้ทำให้บรรดาผู้วิจารณ์งานของเขาทั้งหลายต้องประสบกับความยุ่งยากค่อนข้างมาก. เขายอมรับว่าได้ละทิ้งความคิดเห็นบางประการที่เกี่ยวกับเรื่อง Knowledge and Human Interests ไป, แต่ความไม่ลงรอยกันระหว่างทฤษฎีบทต่างๆที่ได้รับการสนับสนุนในเรื่องนั้น กับ การตีความต่างๆในช่วงหลังของเขาเกี่ยวกับพัฒนาการของกระบวนการรับรู้ และวิวัฒนาการทางสังคม, ดูเหมือนว่ามันจะยิ่งใหญ่กว่าที่เขายอมรับ

นับตั้งแต่ที่งานของเขาได้เขียนออกมาอย่างกว้างขวาง, บ่อยครั้ง Habermas จึงกระทำในลักษณะเพียงแค่อธิบายในแบบคร่าวๆในลักษณะยั่วยุ ในประเด็นที่ผู้อ่าน เป็นไปได้ว่าจะต้องการความมั่นใจมากขึ้นเกี่ยวกับความมีเหตุมีผลเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้พูด.

ทำไมมันจึงมีแง่มุมอยู่ 3 ประการเกี่ยวกับชีวิตทางสังคม ที่ได้ให้กำเนิดสิทธิประโยชน์ของความรู้ที่มีการรับรู้ ? ไอเดียเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่างๆของความรู้ที่มีการรับรู้ ในข้อเท็จจริง เข้ากันได้กับการปรับเปลี่ยนเกี่ยวกับงานในช่วงหลังของ Habermas ในเรื่องข้ออ้างที่มีเหตุผลหรือไม่, ซึ่งดูเหมือนว่ามันจะไม่ถูกผูกมัดอยู่กับสิทธิประโยชน์ต่างๆอันนั้น ?

ทำไม Habermas จึงอ้างถึงแบบจำลองทางด้านจิตวิเคราะห์เอาไว้เพียงเล็กน้อยมากเกี่ยวกับทฤษฎีวิพากษ์ในงานเขียนของเขาเมื่อไม่นานมานี้ ? เขาได้พึ่งพาอาศัยงานเขียนต่างๆเป็นจำนวนมากของ Piaget อย่างไร ในการพัฒนาทฤษฎีอันหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางสังคม, เมื่อพื้นฐานในเชิงประจักษ์เกี่ยวกับงานเขียนเหล่านั้นเป็นสิ่งที่น่าสงสัย ยังไม่อาจเชื่อถือได้ดังที่รู้กันทั่วไป ? ไม่มีคำถามเหล่านี้, หรือความสำคัญหนึ่งใดเทียบเท่าคำถามพวกนี้ที่ถูกนำมาเสนอ, ซึ่งสำหรับข้าพเจ้าแล้ว ที่ได้พูดถึงงานของ Habermas รู้สึกพึงพอใจ.

แต่มากไปกว่าที่จะไล่ตามคำถามเหล่านี้, ขอให้ข้าพเจ้าสรุปอย่างสั้นๆอีกครั้งถึงความสัมพันธ์ระหว่าง Habermas กับ Marxism, ซึ่งข้าพเจ้าได้ใช้เป็นสายโซ่หลักในการรวบรวมเกี่ยวกับความเรียงชิ้นนี้.

ไอเดียของ Habermas โดยหลักฐานแล้ว ยืนอยู่ ณ จุดที่ห่างไกลออกไปอย่างถึงแก่นจากลัทธิมาร์กซ์ในรูปแบบดั้งเดิมของมัน. มันไกลแค่ไหนที่เขาประสบผลสำเร็จในการรวบรวมทฤษฎีและวิธีการปฏิบัติขึ้นมาใหม่ ในหนทางที่สอดคล้องกับข้อเรียกร้องต่างๆเกี่ยวกับยุคสมัยของเรา ? และอันที่จริงแล้ว เรายังต้องการมาร์กซ์สำหรับยุคสมัยของเราอยู่อีกหรือไม่ ? บางที ลัทธิมาร์กซ์ได้ถูกลืมไปแล้วทั้งหมด, ในฐานะที่เป็นทฤษฎีหนึ่งซึ่งในทุกวันนี้เป็นเรื่องที่โบร่ำโบราณมากใช่ไหม ?

สำหรับคำถามข้างต้น, มันดูเหมือนว่ามีข้อสงสัยค่อนข้างมากในแบบแผนอันนี้. ความเกี่ยวพันกันต่างๆในเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับงานเขียนต่างๆของ Habermas ตามข้อเท็จจริง ไม่ได้ง่ายเลยที่จะเข้าใจ - ถึงแม้จะเป็นไปได้ว่า พวกมันจะเกี่ยวพันกับการสนับสนุนในลักษณะที่มีการปรับให้เข้ากับขบวนการทางสังคมต่างๆ ซึ่งข้าพเจ้าเพิ่งจะอ้างถึง. แต่ดูเหมือนว่ามันค่อนข้างเป็นที่น่าสงสัยหรือไม่ ที่ขบวนการต่างๆอันนั้นจะสามารถจะเล่นกับบทบาทประวัติศาสตร์โลกที่มาร์กซ์จ้องมองไปที่ชนชั้นกรรมาชีพ.

ยิ่งไปกว่านั้น, Habermas ไม่เคยบอกให้เรารู้เลย - หรืออย่างน้อย จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ที่จะทำให้เรารู้ - ว่า ทัศนะของเขาสัมพันธ์กับแนวความคิดแบบจารีตของลัทธิสังคมนิยม. แม้ว่ามันจะเป็นที่ชัดเจนว่า บรรดาสังคมยุโรปตะวันออก ไม่ได้ถูกถือว่าเป็นแบบอย่างสำหรับสังคมอื่นๆที่จะดำเนินรอยตาม, มันไม่ปรากฏว่า Habermas ปรารถนาที่จะธำรงรักษาวิสัยทัศน์เกี่ยวกับสังคมนิยมเอาไว้ ซึ่งเปรียบเทียบกับที่ได้รับการยึดถือโดยมาร์กซ์.

ทฤษฎีวิพากษ์ดังที่ Habermas ได้ร่างภาพ แน่นอน มันได้ขาดความโยงใยโดยตรงกับสิ่งที่มาร์กซ์เห็นในระหว่างการเกิดขึ้นมาของชนชั้นกรรมาชีพ และความสิ้นสุดซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ของลัทธิทุนนิยม. ในงานต่างๆของ Habermas มันเป็นที่ชัดเจนว่า อำนาจทางสังคมจะไม่สามารถโค่นล้มลัทธิทุนนิยมลงไปได้, และจะไม่มีสังคมแบบไหนเลยที่จะเข้ามาแทนที่มัน.

แต่อย่างไรก็ตาม ในความคิดเห็นของข้าพเจ้า มันจะเป็นการผิดพลาดที่มองว่า อันนี้คือข้อบกพร่องทั้งหมดในสิ่งที่ Habermas พูด. ตรงกันข้าม, มันควรได้รับการพิจาณาในฐานะสัญญานเกี่ยวกับความล้มเหลวของมาร์กซ์และในลัทธิมาร์กซ์. สำหรับมาร์กซ์ สิ่งที่เรียกว่า "การรวมกันของทฤษฎีและปฏิบัติ"ได้ถูกหนุนค้ำโดยการรับรองทางประวัติศาสตร์พอสมควรทีเดียว. ชัยชนะของชนชั้นกรรมาชีพ, ในอีกคำพูดหนึ่งนั้น, ได้ถูกอนุมานว่าเป็นการบรรลุถึงจุดสุดยอดอย่างสำคัญของการปัดกวาดประวัติศาสตร์โลกทั้งมวล, ซึ่งได้เตรียมลู่ทางไปสู่สังคมนิยม.

ถ้าหากว่ามาร์กซ์มุ่งหมายที่จะสร้างความเชื่อมั่นในลักษณะดันทุรังหรือไม่มีข้อพิสูน์ในแนวทางที่แท้จริงของประวัติศาสตร์, สิ่งสุดท้ายที่พวกเราต้องการก็คือมาร์กซ์สำหรับยุคสมัยของเรา ในรูปของลัทธิสตาลิน, ภาคหนึ่งของคำสอนนี้ ที่ได้สร้างผลกระทบที่น่ากลัวมากในศตวรรษที่ 20 มาแล้ว.

งานของ Habermas, ได้ให้ข้อมูล โดยการปกป้องอย่างถึงรากเกี่ยวกับอิสรภาพของมนุษย์, และเป็นความพยายามอันหนึ่งที่จะเผชิญหน้ากับความยุ่งเหยิงของโลกสมัยใหม่อย่างซื่อสัตย

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

งานเขียนต่างๆของ Habermas ไม่ใช่หนังสืออ่านง่าย และจะเป็นการดีที่สุดด้วยการเริ่มต้นจากการพูดคุยหรือเริ่มด้วยข้อมูลขั้นที่สอง(หมายถึงไม่ใช่งานต้นฉบับ แต่เป็นงานเขียนอธิบายโดยคนอื่น)อันหลากหลายเกี่ยวกับงานของเขาซึ่งปัจจุบันมีอยู่จำนวนหนึ่ง.

หนึ่งในงานที่เข้าใจง่ายและเป็นไปอย่างถูกต้องมากที่สุด จะหาอ่านได้ใน Introduction to Critical Theory : Horkheimer to Harbermas (London) ในภาคที่สองของ Held 1980. หนังสือเล่มนี้ได้บรรจุเรื่องราวทั่วไปที่เป็นประโยชน์มากที่สุดเกี่ยวกับงานก่อนๆของ Habermas ในฐานะนักคิดแฟรงค์เฟริทสคูล.

งานอีกชิ้นหนึ่งที่ค่อนข้างยากมาก, แต่เป็นการพูดถึงได้น่าสนใจและให้ความสว่างได้ดี ปรากฎอยู่ใน Marxism and Totality (Cambridge), Jay, M.1984 (บทที่ 9).

ส่วนเรื่องราวที่ทำความเข้าใจได้มากที่สุดเกี่ยวกับไอเดียของ Habermas มีอยู่ในงานเรื่อง The Critical Theory of Jurgen Habermas ของ McChathy, T.1984. ส่วนหนังสือต่างๆของ Habermas เอง, ซึ่งน่าจะสำคัญที่สุดคือ Knowledge and Human Interests (1971), Legitimation Crisis (1973) และ The Theory of Communicative action (2 vols., Vol. I 1984, Vol.II).

ผลงานต่างๆเหล่านี้ควรได้รับการอ่านตามลำดับที่ให้รายชื่อหนังสือไว้ เพื่อทำความเข้าใจความก้าวหน้าเกี่ยวกับความคิดหรือทัศนะต่างๆของ Habermas. ส่วนงานเขียนที่ในเชิงวิพากษ์สำคัญขนาดใหญ่มากๆเกี่ยวกับ Habermas มีอยู่หลายหลาก และผู้อ่านควรจะหยิบมันขึ้นมาด้วยความเอาใจใส่. มีการวิเคราะห์วิจารณ์มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงต้น, ซึ่งได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับขอบเขตงานของ Habermas เอาไว้ไม่ค่อยดีนัก.

งานเขียนหลักๆบางชิ้นของ Habermas ยังคงไม่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ, และอันนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงความสมบูรณ์และถูกต้องได้เพียงครึ่งๆกลางๆ, หากจะโจมตีและวิพากษ์วิจารณ์ต่อสิ่งที่เขานำเสนอ. การวิจารณ์เกี่ยวกับ Habermas ที่ง่ายๆ เข้าใจได้มาก และทะลุทะลวง คือ งานเหล่านั้นของ Thompson and Held 1982, ในเรื่อง Habermas: Critical debates (London).

ในท่ามกลางงานเขียนที่ดีที่สุดดังที่กล่าวไว้แล้ว ยังมีอีกหลายเล่ม เช่น Habermas 's Consensus Theory In Truth ของ Hesse, M. 1979; Paul Ricoeur "Hermenuetics and the Critique of Ideology", เรื่อง Hermeneutics and the Human Science ของ Ricoeur 1981; และ On Tools and Language: Habermas on Work and Interaction, New German Critique 6, 82-100.

ส่วนงานของ Geuss 1981 ในเรื่อง The Idea of the Critical Theory (Cambridge) น่าสนใจ, แต่การตีความของผู้เขียนเกี่ยวกับทัศนะต่างๆ เป็นการวิจารณ์ที่มองมันในลักษณะที่ต้องคำถามเอาไว้มากๆ.

 

กลับไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com