by Barry Barnes
illustrator : Maurice Sendak
แปลและเรียบเรียงโดย : สมเกียรติ ตั้งนโม
ความยาวประมาณ 17 หน้ากระดาษ A4
หากประสบปัญหา ภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน
โปรดลดขนาด font ลงมา
content page
member page
back to home
webboard
Thomas Kuhn is one of the few historians of science whose work is well known to outsiders. His book, The Structure of Scientific Revolution, published in 1962 has become a classic, a routine point of reference for discussion and debate throughtout western culture generally.
Introduction
2

แปลและเรียบเรียงจาก The Return of Grand Theory in Human Science. edited by Quentin Skinner, Professor of Political Science , University of Cambridge

first published 1985
Chapter 5 : Thomas Kuhn by Barry Barnes, p.83-100

สนใจสมัครเป็นสมาชิก กรุณาคลิกที่ปุ่ม member page เพื่อช่วยกันสร้างสังคมไทย ในกระแสทางเลือก

non-fiction
scientific philosophy

ความไว้วางใจต่อกระบวนทัศน์ของนักวิทยาศาสตร์

โดยไม่ต้องกล่าว, คำอธิบายของ normal science เท่าที่เป็นมาได้นำเสนอ สิ่งซึ่งยังไม่สมบูรณ์มาตั้งแต่ต้น และได้ก่อให้เกิดคำถามหรือข้อสงสัยต่างๆต่อมามากมาย. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเราต้องการรู้ว่า นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ได้มอบความไว้วางใจต่อกระบวนทัศน์ต่างๆของพวกเขากันอย่างไร ? และการมอบความไว้วางใจนั้นได้รับการธำรงรักษาเอาไว้อย่างไร

สิ่งสำคัญคือว่า บรรดานักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในจารีตประเพณีอันหนึ่งของการวิจัย และการวิจัยเป็นกิจกรรมที่มีคุณลักษณะโดยเฉพาะของวัฒนธรรมรองที่นำพาขนบประเพณี. กระบวนทัศน์ต่างๆจึงปรากฏออกมาในฐานะที่เป็นความรู้ที่มีอยู่แต่แรกของนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย: พวกมันถูกยอมรับจากบรรพบุรุษในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการวิจัย, การพัฒนา และการวางแผนอย่างประณีตในแนวทางของการวิจัยอันนั้น, และดำเนินไปในพัฒนาการของตัวมันและรูปแบบต่างๆที่ซับซ้อน ในฐานะที่เป็นความรู้ซึ่งได้รับการยอมรับของคนรุ่นต่อมา

Midnight University / scientific article

ในคำอธิบายนี้, กระบวนทัศน์ต่างๆซึ่งเป็นแกนกลางทางวัฒนธรรมของวิทยาศาสตร์ จึงถูกส่งผ่านและได้รับการค้ำจุนเท่าๆกันกับวัฒนธรรมทั่วๆไป บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายยอมรับมันและมอบความไว้วางใจให้กับมันในฐานะที่เป็นผลลัพธ์ของการฝึกฝนและการทำให้เป็นสังคม และความไว้วางใจดังกล่าวได้รับการธำรงรักษาเอาไว้โดยระบบของการพัฒนาอันหนึ่งเกี่ยวกับการควบคุมทางสังคม

หลายต่อหลายปีที่ยาวนาน ในการที่เราได้เข้าไปเกี่ยวพันกับการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ มันได้ถูกทำให้เป็นเรื่องของความเชี่ยวชาญ โดยสาระสำคัญแล้ว ช่วงเวลาดังกล่าวหากเรายังจำกันได้ พวกเราถูกทำให้เหมือนกับเป็นเด็กฝึกงานหรือผู้ที่จะต้องเรียนรู้. ในช่วงนั้น อำนาจอันใหญ่โตและมีพลังของครูและตำรา, ซึ่งได้รับการหนุนหลังโดยการสาธิตต่างๆในห้องทดลองอย่างระมัดระวัง ได้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อประสิทธิภาพของการเรียนการสอน อันนี้ไม่เพียงสนับสนุนให้ได้มาซึ่งขบวนการอันเป็นยอมรับกันและการตีความต่างๆที่แพร่หลายเท่านั้น แต่ยังเรียกร้องให้มีการเอาใจใส่อย่างใจจดใจจ่อกับคุณสมบัติเฉพาะของมันด้วย

แน่นอน, Kuhn ทราบเป็นอย่างดีว่า คำอธิบายอันนี้เกี่ยวกับการฝึกฝนทางด้านวิทยาศาสตร์ได้ปะทะกันอย่างรุนแรงกับปัญญาหรือความฉลาดรอบคอบที่ได้รับการยอมรับ แต่แทนที่จะค้นหาการประนีประนอมหรือความปรองดองตามที่ควรจะเป็น เขาเลือกที่จะเน้นและเติมความเข้มข้นให้กับจุดสำคัญของการไม่เห็นพ้องต้องกันอันนี้

เป็นที่ชัดเจน เขาได้ล้มเลิกจากการวิเคราะห์อันจืดชืดของเขา ด้วยการอ้างอิงถึงการเข้ายึดครองของ"ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์"(scientific method)ทั่วๆไปอันหนึ่ง, หรืออ้างถึงการบ่มเพาะเกี่ยวกับพลังอำนาจทั่วไปของเหตุผล. และเขาไม่เคยยอมรับว่า ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้ถูกสอนอย่างลังเลและอย่างมีเงื่อนไข, หรือเหลือช่องทางให้กับความสงสัย รวมทั้งการเปิดใจ. สิ่งเหล่านี้ไม่เคยได้รับการบ่มเพาะขึ้นอย่างจริงจังโดยครูบาอาจารย์ทั้งหลายเลย หรือด้วยความตั้งใจที่จะทำให้เกิดความมั่นใจว่า นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายควรจะต้องยืดหยุ่น และสามารถที่จะเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆได้อย่างเต็มที่

เขาอ้างว่า การฝึกฝนนั้นปกติแล้ว มีลักษณะเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จและลักษณะดื้อรั้น ดันทุรังแบบไม่มีข้อพิสูจน์, แน่นอน เพื่อที่จะสร้างความไว้วางใจในระดับสูงสุดต่อกระบวนทัศน์ต่างๆ และความโน้มเอียงที่เป็นไปได้น้อยที่สุดที่จะคิดหรือกระทำอะไรที่นอกเหนือไปจากมัน "แม้กระทั่งการตรวจสอบอย่างคร่าวๆเกี่ยวกับหน้าที่หรืองานของครูสอนวิทยาศาสตร์", เขาได้บอกกับเราด้วยข้อสังเกตุอันดังกระฉ่อนมากของเขาที่ว่า ...

"มันเป็นไปได้มากทีเดียวที่การเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ จะเหนี่ยวนำความเข้มงวดเข้ามาในสาขาวิชา มากกว่าการศึกษาในขอบเขตความรู้หรือสาขาวิชาอื่นๆ, เว้นแต่ว่าบางทีที่เป็นไปได้, อาจจะน้อยกว่าวิชาเทววิทยาที่เป็นระบบอยู่บ้างเล็กน้อยเท่านั้น (Thomas Kuhn ใน The Function of Dogma in Scientific Research, in Scientific Change, ed. A.C. Crombie (London) 1963, หน้า 350)

ด้วยเหตุนี้ Kuhn จึงอธิบายถึงความมั่นคงและการมอบความไว้วางใจต่อวิทยาศาสตร์ในเชิงสังคมวิทยา ในเทอมของประสบการณ์เกี่ยวกับลัทธิกลไกอันทรงพลังอำนาจ ที่ได้ทำให้เป็นสังคมและการควบคุมทางสังคม. โดยเหตุนั้น ในความเกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว เขาจึงทำอีกอย่างหนึ่งที่แหลมคมยิ่งกว่า

อันที่จริงเขาได้ตั้งคำถามว่า "ถ้ากระบวนทัศน์เป็นวัฒนธรรมที่ได้รับการสืบทอดมาของวิทยาศาสตร์ และเป็นที่น่าประทับใจ อีกทั้งยังก่อให้เกิดการปฏิบัติการไปตามนั้น, แล้วทำไมพวกมันจึงถูกแทนที่และถูกทิ้งไปในบางครั้งบางคราวได้อย่างไร ? ยกตัวอย่างเช่น ทำไมดาราศาสตร์แบบ Ptolemaic จึงถูกแทนที่โดยระบบของ Copernicus, หรือกลศาสตร์ของ Newton ในท้ายที่สุดจึงหลีกทางให้กับกลศาสตร์ของ Einstein และ Heisenberg อันนี้มันเป็นไปได้อย่างไร ? การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ต่างๆจะถูกทำความเข้าใจและอธิบายได้อย่างไร ?

Kuhn ได้ให้คำอธิบายที่น่าสนใจอย่างมาก เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไปอย่างถึงรากเหล่านี้ของปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร. อีกครั้งที่เขาได้หันไปสู่ความชำนาญและความคุ้นเคยของเขาเกี่ยวกับฉากประวัติศาสตร์โดยเฉพาะ.

เขาเริ่มต้นด้วยข้ออ้างที่ว่า กลุ่มของนักวิยาศาสตร์ที่ผูกพันอยู่ใน normal science คือนักค้นคว้าที่อ่อนไหวมากต่อความผิดปกติเพียงเล็กน้อย. แน่นอน เพราะกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ดังกล่าวได้มอบความไว้วางใจอย่างมากต่อกระบวนทัศน์ดังกล่าวนั่นเอง และมีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับความถูกต้องของมันมาก ผลลัพธ์ใดๆก็ตามและการสังเกตุการณ์ทั้งหลาย ซึ่งต่อต้านหรือขัดกับกระบวนการขั้นตอนของมัน จะกลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษและมีความสำคัญขึ้นมา

ส่วนใหญ่ของผลลัพธ์ต่างๆที่ผิดปกติเหล่านี้ อันที่จริง ได้รับการอธิบายอย่างน่าพอใจในฐานะที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นปกติ นั่นคือ พวกเขาอาจไม่รู้สึกฉงนสนเท่ห์ ในฐานะที่กระบวนทัศน์ต่างๆที่ได้ถูกวางแผนเอาไว้อย่างละเอียดและประณีต และได้ให้การตีความต่างๆออกมาในเชิงพัฒนา

พวกเขาอาจพิสูจน์ว่ามันเป็นปรากฎการณ์ต่างๆที่เป็นปกติในสภาวะแวดล้อมต่างๆที่ไม่เป็นปกติ หรือพวกเขาอาจแสดงผลมันออกมาเป็นสิ่งปลอมปนอย่างง่ายๆ แต่สิ่งที่เหลือรอดต่อมาของความผิดปกติอันนี้ อย่างไรก็ตาม อาจยืนหยัดและสะสมพอกพูนขึ้นไปเรื่อยๆ. สิ่งที่ตกค้างอันนั้น, มันเจริญขึ้นและใหญ่ขึ้นๆข้ามกาลเวลา และเติบโตขึ้นอย่างน่ากลัว ดังที่มันได้มาคัดค้านความพยายาม หลังจากที่ได้พยายามจะดูดซับมันแล้ว และในท้ายที่สุด อาจกระตุ้นความสงสัยของพวกเขาว่า มันมีบางสิ่งบางอย่างผิดพลาดเกี่ยวกับกระบวนทัศน์ที่ยอมรับกันทั่วไป และเริ่มตระหนักถึง"ความตาย"หรือ"การสิ้นสุดลง"ของกระบวนทัศน์ว่า มันได้มาถึงแล้ว

กระบวนทัศน์ ไม่เคยถูกทอดทิ้งเลยในช่วงเวลานั้น เพราะการทอดทิ้งกระบวนทัศน์จะเท่ากับเป็นการละทิ้งการวิจัย เป็นการสลัดละทิ้งเรื่องของเหตุผลและข้อพิสูจน์ของชุมชนวิทยาศาสตร์. แน่นอนทีเดียว ชุมชนดังกล่าวจะกลายเป็นชุมชนที่เป็นการคาดเดามากขึ้นและผันแปรแตกต่างกันไปมากมายในการวิจัยของพวกเขา. พวกเขาอดทนมากขึ้นเกี่ยวกับความผิดปกติ และข้อเสนอต่างๆที่ขาดการเชื่อมต่อกับขนบประเพณี

แต่ในท้ายที่สุด อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อความตายหรือการสิ้นสุดของกระบวนทัศน์หนึ่งเกิดขึ้นมา พวกเขาก็จะแสวงหากระบวนทัศน์อันใหม่อีกอันหนึ่ง มันเป็นสัมฤทธิผลใหม่ทางวิทยาศาสตร์อีกอย่าง ซึ่งสามารถที่จะยอมรับได้เข้ามา. เมื่อเป็นเช่นนั้น เนื้อแท้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับความวิปริตผิดปกติที่พอกพูนสะสมขึ้นมานับแต่บรรพบุรุษ ก็จะยุติลงได้ และกระบวนทัศน์ใหม่ก็จะเข้ามาเป็นแบบจำลองที่เป็นรูปธรรมอันหนึ่งสำหรับงานในอนาคต

โดยการมาถึงของทางเลือกใหม่อันนี้ ความไว้วางใจจะกลายมาเป็นเส้นทางเดียวกันอีกครั้ง, ปฏิบัติการที่กระทำอย่างละเอียดของการวิจัยจะเคลื่อนคล้อยไปตามหนทางดังกล่าว. Normal science (อันใหม่)จะถูกฟื้นฟูและสร้างขึ้นใหม่รายรอบแบบจำลองล่าสุดอีกอันหนึ่ง และกลายเป็นกระบวนทัศน์ดังก่อน, ในท้ายที่สุดมันก็จะไม่ต้องถูกปฏิเสธ หรือต้องยุติลง

มันมีแง่มุมที่มีนัยสำคัญต่างๆมากมายต่อเรื่องราวเกี่ยวกับการปฏิวัติวิทยาศาสตร์อันนี้ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ การไม่มีการอ้างเหตุผลในเชิงตรรกใดๆสำหรับการเปลี่ยนผ่าน. Kuhn ยืนยันว่า การเปลี่ยนแปลงของกระบวนทัศน์ จะเข้าใจได้ในเทอมต่างๆเกี่ยวกับจิตวิทยาสังคมของกลุ่มก้อนทางวิทยาศาสตร์, ไม่ใช่ในเทอมของข้อพิจารณาต่างๆในเชิงตรรกะอันบริสุทธิ์

ในการเปลี่ยนแปลงหรือการย้ายกระบวนทัศน์นั้น ในส่วนของกระบวนทัศน์เองก็มีการแข่งขันกันด้วย ตัวกระบวนทัศน์เองไม่ใช่เรื่องของความบริสุทธิ์หรือเป็นเรื่องเหตุผลล้วนๆ อันที่จริงแล้ว มันเป็นเรื่องที่มีอคติปนอยู่ด้วย และแม้กระทั่งเป็นเรื่องของความบังเอิญในสภาพแวดล้อมที่ทำการทดสอบ ดังนั้น มันจึงไม่ใช่เรื่องของตรรกะอันบริสุทธิ์

สำหรับข้ออ้างซึ่ง Kuhn หวังจะพิสูจน์หรือยืนยัน โดยการอ้างอิงเกี่ยวกับตัวอย่างต่างๆในประวัติศาสตร์ แต่มันก็ไม่ได้โอบเอาทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาต้องการพูดเอาไว้. Kuhn ต้องการที่จะยืนยันว่า มันใช่แค่ทางเลือกระหว่างกระบวนทัศน์ที่แข่งขันกันเท่านั้น และมันไม่ได้ถูกกำหนดหรือตัดสินโดยข้อพิจารณาทางตรรกอันบริสุทธิ์ เท่าๆกับที่ตรรกะไม่สามารถที่จะบีบบังคับการยอมรับเกี่ยวกับกระบวนทัศน์อันใดอันหนึ่งได้

เขาต้องการที่จะถกว่า... ดังนั้น ตรรกะจึงไม่อาจไปบังคับผลักดันการแทนที่ใดๆได้. ในประเด็นนี้, เขาไปเกี่ยวพันอยู่กับการสลัดทิ้งอาณาเขตของประวัติศาสตร์และเอาตัวเองเข้าไปพัวพันงกับข้อถกเถียงต่างๆที่เป็นนามธรรมมากขึ้น

ลักษณะที่สำคัญสองประการของ normal science

Kuhn ได้เน้นประเด็นที่สำคัญทั่วๆไปสองประการเกี่ยวกับ normal science ในฐานะที่เป็นกิจกรรมอันหนึ่ง.

ประการแรก รูปแบบใดก็ตามของ normal science ที่เป็นการวิจัยเข้าไปในคุณลักษณ์โดยเฉพาะต่างๆของโลกที่เรารู้อย่างไม่สมบูรณ์ มันจะไปขุดหรือเปิดให้เห็นถึงปรากฎการณ์ต่างๆที่พอจะอธิบายได้ และปรากฏการณ์ต่างๆที่ไม่อาจอธิบายได้มากนัก และเรื่องนี้เป็นสิ่งซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

มันแทบจะไม่สามารถได้รับการพิจารณาในตัวมันเองอย่างน่าพอใจ และปรากฎการณ์ที่ไม่อาจอธิบายได้เท่าที่เป็นมาในจารีตประเพณีของ normal science ต่างก็เป็นความผิดปกติที่เด่นชัดของมัน

ตลอดเวลาที่ผ่านมา ไม่มีทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ใดๆเคยเผชิญหน้ากับตัวอย่างในทางตรงข้ามของมัน. ด้วยเหตุนี้ normal research ใดก็ตาม, ที่วางพื้นฐานอยู่บนกระบวนทัศน์ใดก็แล้วแต่ ที่เป็นความเห็นสอดคล้องกันอย่างสมบูรณ์กับสิ่งที่ถูกรู้เกี่ยวกับโลกที่เป็นจริง ข้อมูลดังกล่าวมักจะสามารถถูกอธิบายในหนทางหนึ่งซึ่งทำให้มันเข้ากันได้กับการตั้งสมมุติฐานเอาไว้ก่อนนั้นเสมอ ของขนบจารีตของงานวิจัย

ประการที่สอง Kuhn นั้นค่อนข้างที่จะรุนแรงมาก เขาชี้ว่า ตามข้อเท็จจริง มันเป็นสิ่งที่ยุ่งยากที่จะทำการแบ่งแยกกันอย่างเด็ดขาดระหว่าง "กิจกรรมของการวิจัย" กับ "ข้อมูลที่เป็นอิสระ" ซึ่งยืนยันตามข้อสันนิษฐาน หรือคัดค้านต่อข้อสันนิษฐานอันนั้น อันก่อให้เกิดข้อสงสัยในสมมุติฐานต่างๆที่มีมาก่อนของมัน

ข้อมูลคือผลผลิตต่างๆของกิจกรรม สิ่งประดิษฐ์ต่างๆของวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ และสมมุติฐานที่ตั้งเอาไว้ล่วงหน้าของวัฒนธรรมอันนั้น ต่างก็เกี่ยวพันอยู่กับผลผลิตของมันอย่างกระตือรือร้น

กระบวนทัศน์ ที่เป็นหัวใจของ normal science โดยทั่วไปแล้ว ได้ถูกยืนยันรับรอง และมักจะเชื่อกันว่ามันเป็นไปอย่างถูกต้องเสมอ. การได้รับการยืนยันหรือรับรอง โดยการปฏิบัติ ซึ่งทึกทักว่าเป็นความถูกต้องของมัน อันที่จริงมันได้น้อมนำไปสู่การเป็นสิ่งที่เรียกว่า dogma (ความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์เช่นเดียวกับศาสนา) แต่ Normal Science ในขอบเขตที่กว้างขวาง จริงๆแล้ว มันจะต้องมีเหตุผลในตัวของมันเอง หรือเชื่อถือได้ นั่นคือ มันได้สร้างโลกใบหนึ่งขึ้นมาซึ่งมันเป็นจริง

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ใช่อะไรง่ายๆที่ประสบการณ์จะสามารถได้รับการสร้างขึ้นมา โดยปราศจากความยุ่งยากทางตรรกะ ดังที่ลงรอยกันกับสมมุติฐานล่วงหน้าและการปฏิบัติการต่างๆของ Normal science
(หมายเหตุ : ดังที่เคยกล่าวไว้แล้วก่อนหน้า "ความไม่สำเร็จผลของกระบวนทัศน์ เพียงบ่งชี้ถึง การไร้ความสามารถของนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น, หรือความไม่เพียงพอต่างๆเกี่ยวกับเครื่องมือ, หรือสิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่ของต้นตอที่ยังไม่รู้บางประการ ซึ่งได้มามารบกวนเงื่อนไขต่างๆของการสังเกตการณ์หรือการทดลอง")

ในท้ายที่สุด Kuhn ได้เสนอข้อถกเถียงที่กองอยู่ในสำนวนภาษาทางปรัชญาอย่างชัดเจน. แทนที่จะวิเคราะห์การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในฐานะที่เป็นการเปลี่ยนผ่านจากแบบจำลองอันหนึ่งของการกระทำไปสู่แบบจำลองอีกอันหนึ่ง เขาได้ปฏิบัติกับมันในฐานะที่เป็นการโยกย้ายจากทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์อันหนึ่งไปยังอีกอันหนึ่ง. และได้พิจารณาทฤษฎีต่างๆอย่างเป็นทางการ ในฐานะระบบของถ้อยแถลงต่างๆ เท่าๆกับที่บรรดานักญานวิทยาแบบเหตุผลนิยมส่วนใหญ่ทำกันอย่างแพร่หลาย

โดยการยอมรับนี้ Kuhn ดำเนินการต่อไปเพื่อแสดงให้เห็นว่า การประเมินคุณค่าในเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆที่แข่งขันกัน ยังคงเป็นปัญหาที่ยากจะควบคุมได้. ทั้งนี้เพราะ ไม่มีมาตรวัดร่วมกันสำหรับคุณความดีของทฤษฎีต่างๆที่แข่งขันกันเหล่านี้, ไม่มีพื้นฐานที่ชัดเจนและรากฐานที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งจะมาทำให้เกิดทางเลือกที่มีเหตุมีผลอันหนึ่งขึ้นมาในระหว่างพวกมัน

ความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาจึงทำไม่ได้ เพราะนับแต่ที่มนุษย์ที่มีเหตุผลสามารถจะแตกต่างกันได้ในสิ่งที่ถือว่าเป็นปัญหาหนึ่ง. ความสำเร็จในการอธิบายเชิงทฤษฎีจึงทำไม่ได้ เมื่อมนุษย์มักจะไม่เห็นพ้องต้องกัน. อันนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นภายในวิทยาศาสตร์ เช่นเดียวกันกับศาสตร์สาขาวิชาอื่นๆ...

ความแตกต่างของมนุษย์จึงเป็นที่มาของความไม่เห็นพ้องต้องกัน ดังนั้นการคัดค้านต่อคำโต้แย้งจึงทำไม่ได้และยังมีประเด็นต่อมาคือ มนุษย์ที่มีเหตุผล ต่างไม่เห็นพ้องต้องกันในความสำคัญเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับความสำเร็จในการแก้ปัญหา, ความสำเร็จในการอธิบาย. ด้วยเหตุนี้ ข้อสรุปที่ไม่อาจโต้เถียงได้ จึงไม่ใช่ทฤษฎีต่างๆทางวิทยาศาสตร์

นอกจากนี้ ความสำเร็จเป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถที่จะได้รับการนำไปเปรียบเทียบและเรียงลำดับได้ ทั้งนี้เพราะมันไม่มีสเกลตามธรรมชาติสำหรับการเรียงลำดับนั่นเอง มันไม่มีมาตรวัดร่วมกันซึ่งมนุษย์ที่มีเหตุผลทุกคนเห็นพ้องกันที่จะใช้และมีความเห็นลงรอยกันว่าจะใช้มันอย่างไร ? อันนี้เป็นข้อเสนอหรือการวินิจฉัยอันโด่งดังของ Kuhn เกี่ยวกับการไม่สามารถที่จะนำมาวัดหรือเปรียบเทียบกันได้ เกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆทางวิทยาศาสตร์ (incommensurability of scientific theories)

ดังที่เขาชี้แจงกับตัวเอง มันเป็นข้อสรุปอันหนึ่งซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากขึ้นมาที่จะจัดหาคำอธิบายที่น่าพึงใจในเชิงตรรกเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ หรือเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการปฏิวัติในปริมณฑลทาง"วิทยาศาสตร์" กับ ปริมณฑลทาง"การเมือง"

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นโดยการเปลี่ยนผ่านจากทฤษฎีหนึ่งไปยังอีกทฤษฎีหนึ่งที่เหนือกว่า. อันนี้ คล้ายกับทางเลือกระหว่างสถาบันต่างๆทางการเมืองที่แข่งขันกัน หรือระหว่างกระบวนทัศน์ที่แข่งขันกัน ซึ่งได้พิสูจน์ว่าเป็นทางเลือกหนึ่งระหว่าง แบบหรือวิธีการที่ตรงข้ามกันของชีวิตชุมชน (kuhn 1970: 94)

เป็นที่ชัดเจนในปัจจุบันที่ผลงานของ Kuhn ได้ไปขุดเซาะอย่างไม่ประนีประนอมและอย่างกว้างขวางต่อคำอธิบายในลัทธิเหตุผลของวิทยาศาสตร์. มันเป็นการบอกปัดอำนาจเกี่ยวกับเหตุผลของปัจเจกที่เป็นอิสระ; กล่าวคือ มันปฏิเสธคำอธิบายในลักษณะส่วนตัวของการวิจัย และไม่ยอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์เป็นความก้าวหน้าที่วิวัฒนาการขึ้นมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ในการให้การยอมรับทั่วๆไปเกี่ยวกับแบบจำลองหรือวิธีการทางความคิดในลัทธิเหตุผลแบบเสรีภายในสังคมเรา เราไม่ได้รู้สึกประหลาดใจแต่อย่างใดเลยต่องานของ Kuhn ที่ได้รับการตีความในบางครั้งคราว ในฐานะที่เป็นการโต้เถียงที่คัดค้านต่อต้านวิทยาศาสตร์ และนั่นมันได้ทำให้เขาบรรลุถึงความโด่งดังและความมีชื่อเสียงขึ้นมาท่ามกลางนักวิจารณ์ที่รุนแรงทั้งหลายทางวิทยาศาสตร์ เมื่อคำวิจารณ์ของเขาได้ปรากฏตัวขึ้นมาเป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 1960s

แน่นอน ในข้อเท็จจริง Kuhn เพียงสำรวจตรวจตราสิ่งที่เขาถือว่าเป็นความสำเร็จในทางสติปัญญาที่เยี่ยมยอดที่สุดของมนุษย์เท่านั้น. มันไกลห่างจากการโจมตีวิทยาศาสตร์สำหรับความล้มเหลวของมัน เพื่อเผชิญกับมาตรฐานของลัทธิเหตุผลนิยม เขาได้ทำลายความเชื่อถือหรือความเลื่อมใสต่อมายาคติของลัทธิเหตุผลนิยมโดยการเผยให้เห็นความไม่สอดคล้องกันของมันกับวิทยาศาสตร์: นั่นคือ วิทยาศาสตร์ ตัวของมันเองนั้นยังคงรักษาฐานหรือเสาหลักของมันเอาไว้อย่างมั่นคง

ความคิดเชิงอนุรักษ์นิยมของ Kuhn

ได้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่า Kuhn อาจเข้าใจผิด เพราะจุดยืนทั่วๆไปซึ่งเขาเขียนขึ้นมานั้น เป็นสิ่งที่ไม่คุ้นเคยกับเรา แง่มุมต่างๆมากมายเกี่ยวกับวิธีการศึกษาของ Kuhn มีลักษณะไม่น่าดมหรือน่าสัมผัส เพราะมันมีลักษณะของความคิดอนุรักษ์นิยม กล่าวคือ พวกมันนำเสนอถึงความเชื่อมโยงกันอันหนึ่งกับขนบธรรมเนียมอันยาวนานของลักษณะที่เป็นองค์รวม ลัทธิอนุรักษ์นิยมแบบหยั่งรู้หรือสหัชญาน(intuitive conservatism) ซึ่งตัวมันได้ดำเนินรอยตามวิธีการในศตวรรษที่ 19 อย่างดีเยี่ยม

แต่สิ่งนี้ได้ถูกนำมาใช้ในศตวรรษนี้โดยบรรดานักเขียน อย่างเช่น Michael Oakeshott หรือ หากระบุลงไปชัดๆคือ ในบริบททางวิทยาศาสตร์ของ Michael Polanyi ที่ซึ่งมายาคติของ"ลัทธิเหตุผลนิยม"ได้พูดถึงเหตุผลและปัจเจกบุคคล และมันได้พูดถึงขนบธรรมเนียมและชุมชน ซึ่งไม่ได้เป็นไปเพื่อขุดเซาะทำลายและประณาม แต่เป็นไปเพื่อการสนับสนุนและการยกย่อง

อันที่จริง Kuhn ได้อธิบายวิทยาศาสตร์ในฐานะที่เป็นประเพณีอันหนึ่ง และปฏิบัติการของมันเป็นกิจกรรมในเชิงขนบประเพณีต่างๆ. จริงๆแล้ว เขายืนยันว่า ความรู้วิทยาศาสตร์จะต้องได้รับการวางอยู่บนพื้นฐานของหน้าที่ ที่ได้สืบทอดมาจากฉันทามติหรือความเห็นสอดคล้องกันของชุมชน. แต่คำอธิบายนี้ไม่ได้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นว่า วิทยาศาสตร์ได้ขาดเสียซึ่งการดำรงอยู่หรือภาวะความรู้ที่แท้มากเพียงใด. ในทางตรงข้าม, มันได้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นว่า วิทยาศาสตร์ได้บรรลุถึงสถานะอันนั้นอย่างไร. หนังสือเรื่อง The Structure of Scientific Revolutions เป็นหนังสือที่พูดถึงเรื่องนี้โดยตรงเลยทีเดียว

ไม่ว่าเหตุผลข้อพิสูจน์ของ Kuhn เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์จะได้รับการวางพื้นเอาไว้และสร้างความมั่นใจได้เป็นอย่างด ี(ในฐานะที่เป็นประเด็นหนึ่งที่ใหญ่มากและค่อนข้างมีความแน่ชัดที่ไปผูกมัดกับประเด็นนี้), แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สามารถนำมาพูดได้ในที่นี้ก็คือ วิธีการศึกษาของเขามีความเป็นไปได้และเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ อันที่จริง คำอธิบายของเขาไม่มีสิ่งใดแตกต่างจาก "การวิจารณ์สถานภาพของความรู้วิทยาศาสตร์"

แต่แน่นอน Kuhn เป็นนักวิจารณ์คนหนึ่งของมาตรฐานแบบลัทธิเหตุผลนิยมในตัวมันเอง เขาค้นหาเพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่า ไม่มีใครที่มีความรู้ตามคำเล่าลือ ซึ่งเป็นไปได้ที่จะไปบรรจบกับมาตรฐานอันนั้นและวิวัฒนาการต่างๆทางญานวิทยา ที่ได้รับการวางพื้นฐานอยู่บนข้อพิจารณาดังกล่าว

เขาเสนอว่า การเห็นพ้องต้องกันของชุมชนที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างเหมาะสม ตัวมันเอง อาจมารับใช้ในฐานะที่เป็นบรรทัดฐานอันหนึ่งของสิ่งที่ได้รับการเรียกขานว่า"ความรู้อย่างถูกต้อง". มันคือหลักฐานหรือพยานอันหนึ่งของการยึดที่มั่นเอาไว้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับวิธีการคิดแบบเหตุผลนิยม ซึ่งแง่มุมอันนี้เกี่ยวกับข้อถกเถียงของ Kuhn บ่อยครั้ง ได้ถูกมองข้ามไป หรือไม่ก็เข้าใจกันอย่างผิดๆ

ความเชื่อได้รับการสร้างขึ้นจากขนบธรรมเนียม

Kuhn เสนอว่า ระบบของความเชื่อต่างๆอาจได้รับการสร้างขึ้น โดยคำนึงถึงขนบธรรมเนียม

ยกตัวอย่างเช่น ลองมาพิจารณากันถึงความเข้าใจกันจนชินชาของเราเกี่ยวกับ"การรับรู้ทางสายตา" กล่าวคือ การรับรู้ทางสายตาของเรานั้น โดยทั่วไป มันได้รับการยอมรับว่า "การรับรู้ต่างๆได้ทำหน้าที่ตระเตรียมหรือจัดหาข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ซึ่งแท้จริงแล้ว พวกมันคือตัวแทนของธรรมชาติ"

ปัจจุบัน การศึกษาในรายละเอียดเกี่ยวกับการรับรู้ได้เผยให้เห็นถึงกลไกในการทำงานอันหนึ่งที่ประณีตซับซ้อน เมื่อเราเห็น"แมวตัวหนึ่งนอนอยู่บนพรม" มันมีอะไรที่มากไปกว่าเรื่องของแมวเฉยๆ. นั่นคือ, แสงสว่างจากแมว และสำนึกรู้ธรรมดาของเราเกี่ยวกับแสงสว่าง เลนส์แก้วตาที่ทำหน้าที่โฟกัสแสงดังกล่าว: มันเป็นเลนส์ที่มีการเปลี่ยนรูปร่างได้ ภายใต้การควบคุมของกล้ามเนื้อและความสามารถเกี่ยวกับลำดับการณ์อันหนึ่งของผลของการโฟกัสให้เป็นไปตามที่มันถูกควบคุม

ยิ่งไปกว่านั้น เลนส์ดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่งของระบบสายตา ซึ่งแปรเปลี่ยนจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งในผลหรืออิทธิพลของมัน. มันเป็นระบบสายตาที่ควบคุมแสง มิใช่เพียงด้วยม่านกระจกสำหรับการมองดูโดยประสาทตาเท่านั้น แต่โดยกรวยหรือกระบอกของเรตินา ที่ซึ่งแสงได้ถูกแปรเปลี่ยนไปสู่แรงกระตุ้นต่อระบบประสาทที่ถูกส่งผ่าน หลังจากกระบวนการอันประณีตซับซ้อน สู่ด้านหลังของสมอง

ระหว่างเลนส์ของดวงตาและด้านหลังของสมอง บรรดานักจิตวิทยาและนักสรีรวิทยาบอกกับเราว่า ข้อมูลแรกสุดที่เราได้รับ จะทำหน้าที่ดัดแปรงและแปรเปลี่ยนไปอย่างสลับซับซ้อน; ข้อมูลเป็นจำนวนมากได้สูญหายไปและข้อมูลเป็นจำนวนมากได้รับการเพิ่มเติมเข้ามา มันเป็นไปโดยผ่านปฏิบัติการของทั้งกระบวนการภายในและการเรียนรู้หรือกระบวนการที่ได้รับการเรียนรู้จากภายนอก ท้ายที่สุด สมองได้ทำหน้าที่ปรับปรุงแก้ไขโดยตัวของมันเอง มีการกำหนดเงื่อนไขโดยความทรงจำและแบบแผนที่รับมาก่อนหน้านั้น และในที่สุด เราก็มองเห็นแมว

ดังนั้น เมื่อมองไปที่พื้นพรม, โดยทั่วไป เราเชื่อว่า อันที่จริง แมวอยู่ตรงนั้น. เราคิดว่ามันมีเหตุผลที่ปัจเจกชนควรจะเชื่อว่าอย่างนั้น บนพื้นฐานเกี่ยวกับการรับรู้. และเราคิดว่ามันสมควรที่จะเรียกการรับรู้ดังกล่าวว่าเป็นพื้นฐานของ"ความเชื่อ", ในบางความหมาย มันคือตัวแทนอันหนึ่งของ"ความจริง"(reality)

สำนึกรู้ของเราเกี่ยวกับกลไกอันประณีตซับซ้อนของการรับรู้นี้ มันไม่ใช่เพียงแค่ "แมว" ที่เป็นมูลเหตุการรับรู้เกี่ยวกับแมวตัวนั้น, กระนั้นก็ตาม สิ่งที่ถูกรับรู้ก็คือ"แมว"ตัวนั้นนั่นเอง(ข้อมูลจำนวนมากได้ถูกตัดทิ้งหรือหลงลืมไป). มันไม่ใช่เพียงแมวที่อยู่บนพรม ซึ่งได้มาปลุกหรือกระตุ้นความเชื่อว่ามันอยู่บนพรม, กระนั้นก็ตาม นั่นคือสิ่งเดียวเพียงลำพังที่ถูกเชื่อ และเชื่อกันอย่างนั้นจริงๆ

คำอธิบายของ Kuhn เกี่ยวกับการสร้างหรือการผลิตความรู้ อาจจะดูคล้ายคลึงกับคำอธิบายของการสร้างความเชื่อของปัจเจกชนขึ้นมา. กลไกของร่างกาย ดังที่บรรดานักจิตวิทยาและนักสรีรวิทยาทั้งหลายพูด ถูกนำไปพัวพันอย่างลึกซึ้งกับสิ่งอื่นๆมากมาย ในการผลิตความเชื่อต่างๆขึ้นมา ดังนั้น ความเชื่อต่างๆที่ได้รับการสร้างขึ้น มันจึงเป็นเรื่องที่ไปเกี่ยวพันกับธรรมชาติภายนอกด้วย

"ชุมชน" ดังที่ Kuhn กล่าว, ได้ถูกนำเข้าไปเกี่ยวพันอย่างลึกล้ำกับ"การผลิตความรู้" กระนั้นก็ตาม ความรู้อาจได้รับการกล่าวว่าเป็นความรู้ทางธรรมชาติเช่นกัน

มโนคติของเราเกี่ยวกับความเชื่อที่มีน้ำหนักหรือมีหลักฐานอย่างดี มันยินยอมให้กับประสาทสัมผัสอันมากมายซึ่งเป็นความนึกคิดหรือสิ่งสร้างของปัจเจกชนคนหนึ่ง. ในหนทางเดียวกัน มโนคติของเราเกี่ยวกับความรู้ ก็สามารถยอมให้กับประสาทสัมผัสอันมากมาย ซึ่งมันเป็นความนึกคิดหรือสิ่งสร้างของชุมชนหนึ่ง. "ความรู้ทางวิทยาศาสตร์, ก็คล้ายๆกับภาษา, อันเป็นสมบัติร่วมกันภายในของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง..."(Kuhn 1970: 210)

อาจกล่าวได้ว่า โดยเหตุนี้ ความคล้ายคลึงกันดังกล่าวจึงช่วยให้ความสว่างกับวิธีการศึกษาของ Kuhn ต่อปัญหาเกี่ยวกับความรู้ และในเวลาเดียวกันมันยังเผยให้เห็นสิ่งซึ่งเป็นความผิดพลาดเกี่ยวกับวิธีการศึกษานั้นด้วย

ถ้าปัจเจกชนครอบครองเครื่องไม้เครื่องมืออันประณีตซับซ้อน สำหรับข้อมูลในลักษณะที่เป็นกระบวนการและการรับรู้ที่เกิดขึ้นมา ถ้าเช่นนั้น มีเครื่องมืออะไรที่ควรจะเพิ่มเข้ามาสำหรับความต้องการที่เป็นไปได้ดังล่าวไหม ? ทำไมชุมชนหนึ่งควรจะกลั่นกรองข้อมูลบางส่วนออกไปเป็นประจำ, และยัดเยียดแบบแผนและโครงสร้างตามขนบประเพณีของมันเองเข้ามาในสิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่ ?

คำตอบในที่นี้คือว่า ความรู้เป็นสมบัติสาธารณะ เป็นสิ่งซึ่งครอบครองโดยสาธารณชน และจะต้องมีรูปแบบทั่วๆไปในลักษณะเดียวกัน สำหรับผู้ใช้มันทั้งหมด กล่าวคือ มันจะต้องมาบริการในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการสื่อสารต่างๆท่ามคนเหล่านั้นผู้มีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์จากมัน ทำให้สะดวกง่ายขึ้นต่อการปฏิสัมพันธ์ของพวกเขา ทำให้เป็นไปได้ที่จะกระทำในลักษณะร่วมไม้ร่วมมือกัน ในสภาพแวดล้อมทางกายภาพของชุมชนและสังคม

Kuhn เยี่ยมยอดมากในปฏิบัติการเกี่ยวกับประเด็นต่างๆเหล่านี้. อีกครั้งที่เขาได้เน้นว่า ไม่ใช่เหตุผลเชิงตรรก และไม่ใช่ปัจเจกชน ที่จะสร้างความสอดคล้องต้องกันและทำให้เป็นมาตรฐานที่จำเป็นให้กับความรู้ขึ้นมา. อันที่จริง เขาได้รุกเร้าประเด็นปัญหานี้มากยิ่งขึ้นไป และชี้แจงว่า อะไรคือสิ่งที่มีอยู่มาแต่กำเนิดในปัจเจกชน นั่นคือสิ่งที่ไม่เพียงพอที่จะสร้างเครื่องไม้เครื่องมือ ที่จะผลิตการรับรู้และความเชื่อขึ้นมา

สำหรับนักวิทยาศาสตร์ซึ่งมีความชำนาญหรือประสบการณ์, เขากล่าว, การสร้างเครื่องมืออันนี้ ได้รับการวางเงื่อนไขเอาไว้อย่างลึกซึ้งโดยการฝึกฝนทางด้านวิทยาศาสตร์ ดังนั้น ปฏิบัติการที่เป็นสาธารณะมันจึงซึมแทรกผ่านประสบการณ์ส่วนตัว และปัจเจกชนมีแนวโน้มที่จะเห็น หรือไม่เห็น, จดจำได้หรือหลงลืมไป, เชื่อหรือถอนความเชื่อ, ในความกลมกลืนกับสมาชิกคนอื่นๆของชุมชนของเขา

สรุป

คำอธิบายเกี่ยวกับความรู้ของ Kuhn เดิมทีเดียว มันปรากฏออกมาในลักษณะที่นอกลู่นอกทางและออกจะดันทุรังอยู่บ่อยๆ แต่ในข้อเท็จจริง คำอธิบายเกี่ยวกับความรู้นั้นไม่ได้วางข้อเรียกร้องในใจที่เกินเลยไป เท่าๆกับความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีหรือหลักการพื้นฐานของมันที่เกี่ยวข้อง: อันที่จริง, เมื่อสิ่งเหล่านี้ได้ถูกสำรวจอย่างถี่ถ้วน ดูเหมือนว่า พวกมันก็คือ"ความเป็นปกติอย่างสมบูรณ์"และ"พุ่งตรง"

เมื่อลองมาพิจารณากันถึงทางเลือกในเชิงยุทธศาสตร์หลักๆเหล่านั้น หากว่าวิทยาศาสตร์ต้องการที่จะเจริญก้าวหน้าและรุ่งเรืองต่อไป, Kuhn ตั้งคำถามว่า : "อะไรคือบรรทัดฐานที่ดีกว่าการตัดสินใจของกลุ่มวิทยาศาสตร์ที่เป็นอยู่ ?". ข้อคิดเห็นที่บรรจุเอาไว้อย่างเรียบร้อยในญานวิทยาของ Kuhn, ญานวิทยาที่เราได้อ้างถึงมาแล้วข้างต้น, สมควรได้รับการสะท้อนด้วยความจริงจังอย่างเต็มที่

ในเวลาเดียวกัน, ข้อสังเกตดังกล่าวได้ชี้ว่า ทำไมทัศนะทางญานวิทยาของ Kuhn บ่อยทีเดียวกลับไม่ได้รับการยอมรับ ? ทั้งนี้เพราะ มันได้แสดงให้เห็นนัยะที่ว่า ชุมชนทางวิทยาศาสตร์หนึ่งใดก็ตาม ต่างก็มีจินตนาการความนึกฝัน เพื่อยืนยันโดยข้อเท็จจริงในตัวของมันเอง ว่าจะต้องได้รับการยอมรับ, และดังที่เป็นมา บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายสามารถหยิบและเลือกว่า อะไรที่นับว่าเป็นความรู้

โดยไม่จำเป็นต้องกล่าว, อันนี้ไม่ใช่ทัศนะของ Kuhn เลย. Kuhn ไม่ได้กำลังเสนอแนะว่า บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายได้ถูกให้อำนาจในกระบวนการรับรู้เพื่อปฏิบัติการได้เท่าๆกันกับที่เขาตั้งใจ. แต่อันที่จริง เขากำลังพูดว่า เป็นเพราะชุมชนทางวิทยาศาสตร์ได้รับการฝึกฝนและได้ถูกตระเตรียมในหนทางที่พิเศษอันหนึ่ง และแนวโน้มต่างๆโดยคุณความดีเกี่ยวกับสิ่งที่มันได้รับการสถาปนาเพื่อปฏิบัติการในหนทางนั้น การตัดสินต่างๆของมันคือบรรทัดฐานที่ใช้ได้และดีที่สุดของพวกเราในการยึดถือ ในฐานะที่เป็นสิ่งซึ่งนับว่าเป็นความรู้

อันนี้อาจดูแล้วเป็นการใส่ความหรือกล่าวร้ายความน่าไว้วางใจที่ถูกทำให้เป็นหลักทั่วๆไปต่อชุมชนทางวิทยาศาสตร์ หรือต่อเครื่องมือที่ทำหน้าที่ในทางวิทยาศาสตร์

มันควรที่จะถูกบันทึกลงไปด้วยว่า ในการนำเสนอญานวิทยาเชิงสังคมของเขา Kuhn ไม่ได้แสร้งว่ากำลังให้ทางออกต่อปัญหาเกี่ยวกับพื้นฐานของความรู้ของพวกเราเลย. เขาเพียงเสนอวิธีการเริ่มต้นขึ้นมาอันหนึ่ง, มันเป็นจุดสต๊าร์ทสำหรับความคิด. ด้วยเหตุนี้ เขาจึงไม่ได้แสวงหาหนทางเพื่อที่จะขัดขวางคำถามเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของโลกธรรมชาติ: กล่าวคือ "ไม่ใช่ว่าชุมชนวิทยาศาสตร์นั้นจะต้องเป็นสิ่งพิเศษเท่านั้น. โลกของสิ่งซึ่งชุมชนดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่ง จะต้องครอบครองลักษณะเฉพาะพิเศษต่างๆด้วย

และชัดเจน เขายอมรับว่า มันเป็นไปได้มากทีเดียวที่จะกล่าวถึงลักษณะเฉพาะพิเศษของชุมชนต่างๆทางวิทยาศาสตร์ และพูดถึงนัยสำคัญทางญานวิทยาของมัน. แน่นอน อันนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง. แม้ว่ากรณีที่ มันไม่มีบรรทัดฐานทางญานวิทยาที่อยู่เหนือกว่าขึ้นไปอันนั้น เกี่ยวกับการตัดสินที่ปรากฏเป็นจริงของกลุ่มวิทยาศาสตร์

อย่างชัดเจน บรรทัดฐานอันนี้มันไม่เพียงพอในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการประเมินคุณค่าของบรรดานักวิทยาศาสตร์โดยตัวของมันเอง ดังที่พวกเขา(หมายถึงนักวิทยาศาสตร์)เริ่มไปเกี่ยวข้องกับการสถาปนาหลักฐานรับรองต่างๆซึ่งเกี่ยวกับข้ออ้างความรู้. ชุมชนการวิจัย ที่ซึ่งบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายได้ใช้สิ่งนี้ และเพียงบรรทัดฐานนี้ของการประเมิน จะเป็นเหมือนกับตลาดหุ้น ที่ที่ผู้มีส่วนร่วมทั้งหมดต่างก็เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่มีการประนีประนอมกัน: อันนี้คือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

มันเป็นการสูญเสียในทางปรัชญาและในเวลาเดียวกันก็เป็นการได้มาในทางประวัติศาสตร์ไปพร้อมๆกัน ซึ่งเพียงแค่เมื่อทศวรรษที่ 1960s เท่านั้น Kuhn ได้หวนกลับไปสู่คำถามต่างๆทางญานวิทยาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาโดยงานของเขา. แต่สำหรับสเกลทั้งหมดและความล้ำลึกเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของเขา kuhn มักจะรู้สึกกระสับกระส่ายบางครั้ง ในบทบาทเกี่ยวกับนักคาดการณ์คนหนึ่ง, และรังเกียจมากต่อท่าทีในเชิงอภิปรัชญา

เขาได้ถูกทำให้ซาบซึ้งเอามากๆกับคำเตือนทางญานวิทยาซึ่งเจาะทะลุจารีตทางปรัชญาของ Anglo-Saxon และบรรลุถึงระดับที่สูงสุดของเขาเกี่ยวกับความเข้าใจอย่างถ่องแท้และความเฉียบแหลม เมื่อเขาได้วิเคราะห์เรื่องราวต่างๆที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะ ในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์

อันที่จริง ในหลายๆทาง มันมีลักษณะที่บูดเบี้ยวและบิดงอที่ว่า การสนทนากันเกี่ยวกับงานของ Kuhn ควรที่จะปรากฏออกมาในฐานะที่เป็นหัวข้อเรื่องๆหนึ่งของหนังสือ The Return of Grand Theory. จิตใจที่เป็นสากลของเขาอาจไม่ค่อยไกลห่างจาก Althuser, หรือกระทั่ง Habermas. แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ชัดเจนว่า อันนี้คือเหตุผลที่ว่าทำไม Kuhn จึงสมควรได้มีพื้นที่ของเขาในหนังสือเล่มนี้

เขาได้เปิดโปงข้อบกพร่องของ"ลัทธิเหตุผลนิยมในส่วนที่ยอมรับกันถึงบุคคลเหล่านั้น ผู้ซึ่งยึดถือมัน หรือปกป้องมัน. และด้วยเหตุนี้ ในสังคมต่างๆอย่างสังคมของเรา, ที่ซึ่ง"มายาคติของลัทธิเหตุผลนิยม"ได้ซึมแทรกอย่างถ้วนทั่วเข้ามาในนิสัยหรือความเคยชินเกี่ยวกับความคิดในทุกๆวัน งานของเขาได้มีส่วนอย่างสำคัญในการปัดกวาดเส้นทางสำหรับแนวทางต่างๆอันเต็มไปด้วยความหวังทางความคิดของเราให้สะอาดขึ้น

ในด้านขนบประเพณี เราแสวงหาเพื่อความเข้าใจในความก้าวหน้าเกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างบริสุทธิ์ ในเทอมต่างๆของเหตุผลและประสบการณ์ - ในเทอมต่างๆของปฏิบัติทางตรรกทั่วๆไป ซึ่งใครก็ได้อาจดำเนินการ และการสังเกตการณ์ในเชิงประจักษ์เช่นนั้น

มาถึงตอนนี้ เราได้มาอยู่บนเส้นทางที่นำไปสู่การสลัดหรือละทิ้งทัศนะอันคับแคบอันสุดที่จะทนนี้ลงเสีย และตระหนักว่า เพื่อเข้าใจความรู้ของพวกเรา และอคติต่างๆ เราจะต้องบรรลุถึงความเข้าใจในตนเองให้กว้างขวางครอบคลุมมากขึ้น. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราต้องการเพื่อจะเข้าใจตัวเราเอง มิใช่ในฐานะสิ่งที่มีชีวิต แต่ในฐานะที่เป็นชุมชน

อันนี้เพราะว่าความรู้ ในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของมัน เป็นการสร้างสรรค์ร่วมกัน มันไม่ได้สร้างขึ้นมาบนการตัดสินเพียงลำพังโดดเดี่ยว แต่มันสร้างขึ้นมาบนการประเมินต่างๆ ซึ่งเราต่างทำร่วมกันในสถานการณ์ต่างๆทางสังคม เป็นไปตามขนบประเพณีและสิ่งที่มีมาก่อน และในความสัมพันธ์กับเป้าหมายต่างๆเกี่ยวกับชุมชนของเรา

แม้แต่ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ ก็จะต้องถูกมองในฐานะตัวอย่างต่างๆของพฤติกรรมที่เป็นไปตามขนบธรรมเนียม และจะไม่ถูกพิจารณาหรือปฏิบัติอย่างบริสุทธิ์ในฐานะการแสดงออกเกี่ยวกับเหตุผลอันเป็นสากลของปัจเจกบุคคล

มันไม่ใช่เช่นกันที่ว่า ขนบประเพณีจะต้องเข้ามาแทนที่เหตุผลในความคิดของเรา, ดังที่เหตุผลในตัวของมันเองนั้น จะต้องถูกมองในฐานะที่เป็นกิจกรรมตามประเพณีอันลึกซึ่งอย่างหนึ่ง. ตราบกระทั่งมาถึงตรงนี้ แนวความคิดที่มี"คุณภาพเลว"ของเราเกี่ยวกับเหตุผลจะต้องได้รับการขยายหรือเพิ่มเติมให้เห็นชัดกันมากขึ้น

ถูกต้องทีเดียว อันนี้คือเป้าหมายแม้ว่าจะไม่บรรลุผลสมบูรณ์ก็ตาม เกี่ยวกับทฤษฎีอันยิ่งใหญ่ของบรรดานักปรัชญาภาคพื้นทวีปยุโรป. มันจะเป็นการดี หากว่าจะหมายเหตุลงไปถึงความสนใจที่เพิ่มมากขึ้นอันหนึ่งในบรรดานักเขียนเหล่านี้ ในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษ และความเข้าใจที่งอกงามขึ้นเกี่ยวกับเป้าหมายต่างๆของพวกเขา

ทั้งหมดของผลลัพธ์ดังกล่าวจะต้องเป็นความอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาอันหนึ่งเกี่ยวกับความคิดของพวกเราเอง...

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

ความคิดในทางปรัชญาและสังคมวิทยาทั่วๆไปส่วนใหญ่ของ Kuhn จะค้นพบได้ใน The Structure of Scientific Revolution (1970) และใน The Essential Tension (1977), เป็นการรวบรวมบทความต่างๆในช่วงระยะเวลาหนึ่งเกือบๆสองทศวรรษ

ส่วนผลงานในเชิงประวัติศาสตร์ที่ทำขึ้นมาอย่างละเอียด ซึ่งสัมพันธ์กันกับเนื้อหาอันนี้ ควรจะได้รับการนำมาพิจารณาและประเมิน ซึ่งรวมอยู่ในหนังสือขนาดยาวสองเล่มในเชิงการศึกษาที่มีพร้อมแล้วคือ The Copernican Revolution (1957) และ Black Body Theory (1978)

สำหรับงานของ Kuhn ในเรื่องประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ thermodynamics ก็เป็นเรื่องที่ควรสนใจและน่าจะได้รับการใคร่ครวญเช่นกัน แม้ว่าเป็นไปได้ที่ว่า มันจะยากมากในการเข้าถึง และในปัจจุบันมีการอ้างถึงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น: อันนี้อาจจะศึกษาได้โดยผ่าน "Sadi Carnot and the Cagnard Engine, Isis,52,367-74 (kuhn -1961), หรือ T.S.Kuhn and Social Science (Barnes - 1982) (London)

ยังมีเนื้อหาที่กว้างขวางเกี่ยวกับข้อคิดเห็นและคำวิจารณ์ที่เกี่ยวข้องกับไอเดียทั่วๆไปต่างๆของ Kuhn. บางทีข้อเขียนซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดของงานประเภทนี้คืองานที่ได้รับการรวมรวมขึ้นมาของ Lakatos and Musgrave (1970) ในเรื่อง Criticism and the Growth of Knowledge (Cambridge). ส่วนเรื่อง Paradigm and Revolution: Appraisals and Application of Thomas Kuhn 's Philosophy of Science ของ Gutting, G.1980 งานชิ้นนี้เป็นการรวบรวมข้อคิดเห็นต่างๆเมื่อไม่นานมานี้

และหากเราต้องการที่จะทำความเข้าใจอย่างซาบซึ้งมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับนัยสำคัญในงานของ Kuhn ขอแนะนำให้อ่าน Stegmuller 1976 ในเรื่อง The Structure and Dynamics of Theories และงานของ Barnes 1982 ใน T.S.Kuhn and Social Science. สำหรับ Stegmuller ได้ประเมินความสำคัญทางปรัชญาของ Kuhn ในหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งแม้ว่าจะอ่านยาก แต่ก็ให้ผลตอบแทนที่มากมายทีเดียว; ส่วนงานของ Barnes จะเอาใจใส่อยู่กับประเด็นต่างๆทางสังคมวิทยา

งานทบทวน แสดงความคิดเห็น และบทวิจารณ์ที่กว้างขวางและน่ารับรู้เกี่ยวกับต้นตอต่างๆมากมายเกี่ยวกับแรงบันดาลใจของ Kuhn, อิทธิพลต่างๆต่อความคิดของเขา เราอาจจะต้องกล่าวถึงงานของ Cadarbaum 1983 เรื่อง "Paradigm", Studies in the History and Philosophy of Science 14:3, 173-213 ซึ่งควรจะได้รับการอ้างอิงถึง

งานของ Fleck 1979 เรื่อง Entstehung und Entwicklung einer Wissenschaftliche Tatsache (1935) trans. F.Bradley and T.J. Trenn as Genesis and Development of Scientific Fact (Chicago 1979) ได้เสนอสิ่งที่ในปัจจุบัน เป็น แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจมากที่สุด; ซึ่งได้พิมพ์ขึ้นนานมาแล้วเป็นต้นฉบับภาษาเยอรมัน, งานชิ้นนี้ปัจจุบันได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และยังคงเป็นงานเขียนอันโดดเด่นชิ้นหนึ่ง. Fleck ได้พูดถึงความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างงานของ Kuhn กับ สังคมวิทยายูโรเปียนเกี่ยวกับขนบประเพณีของความรู้

เพื่อที่จะประเมินข้อเสนอที่ผลงานของ Kuhn ที่อาจพูดถึงขนบประเพณีอันหนึ่งเกี่ยวกับความคิดอนุรักษ์นิยม โดยแก่นๆแล้ว จะต้องอ้างถึงงานของ Mannheim 1953 ในเรื่อง Conservative Thought, in Essay on Sociology and Social Psychology (London)

ทั้งหมดนี้ หากเราสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ ก็จะทำให้เราเข้า kuhn และความคิดอันซับซ้อนของเขามากยิ่งขึ้น

 

คลิกไปหน้าเริ่มต้น

กลับไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com