The Frankfurt School :
Its History, Theories, and Political Significance

[To] set up, along with my associates..., a regime of planned work on the juxtaposition of philosophical construct and empiricism in social theory....[To] organize inquiries, on the basis of current philosophical questions, in which philosophers, sociologists, economists, historians and psychologists can unite in lasting co-operation.
(Max Horkheimer's speech)
H
หากภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาด font ลงมา
Midnight University
introduction to Frankfurt School
บทความใหม่ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : มิถุนายน
content page
member page
webboard

นักศึกษา สมาชิกใหม่ และผู้สนใจทุกท่าน หากสนใจดูสารบัญบทความ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาคลิกที่ปุ่ม
content page

ส่วนผู้ที่ประสงค์สมัครเป็นสมาชิก กรุณาคลิกที่ปุ่ม member page

หากต้องการแสดงความคิดเห็น หรือบอกข่าว กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard ไปที่กระดานข่าว
สมเกียรติ ตั้งนโม : ความยาวประมาณ 8 หน้ากระดาษ A4 : มิถุนายน 2544
ภาพประกอบโดย
ศิลปิน Jacob Jordaens
เทคนิคสีน้ำมัน 1625

แฟรงค์เฟริทสคูล : ประวัติศาสตร์, ทฤษฎี, และ นัยสำคัญทางการเมือง

1. บทนำเกี่ยวกับ แฟรงค์เฟริทสคูล (จากบทวิจารณ์หนังสือของ Rolf Wiggershaus ในเรื่อง "The Frankfurt School: Its History, Theories, and Political Significance"

ใน The Boston Book Review, David Weininger ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับ แฟรงค์เฟริทสคูล ดังต่อไปนี้ : ประมาณช่วงต้นของศตวรรษ 20, กลุ่มที่มารวมตัวกันอย่างหลวมๆของปัญญาชนซึ่งรู้จักกันในนาม แฟรงค์เฟริทสคูล ได้ผลิตผลงานที่ได้รับการประทับชื่อดังกล่าวนี้ขึ้นมา. ส่วนใหญ่ของปัญญาชนที่มารวมตัวกันนั้น ปัจจุบันได้เป็นที่คุ้นเคยต่อชุมชนทางวิชาการหลายๆคนคือ: Theodor W. Adorno, Max Horkheimer, Herbert Marcuse, Walter Benjamin, Erich Fromm.

ขณะเดียวกัน พวกเขาก็ผูกพันอยู่กับกลุ่มที่สนใจในเรื่องทางด้านสติปัญญาในสาขาวิชาต่างๆ และข้อเสนอทางทฤษฎีอื่นๆอย่างหลากหลายพร่าพรายไปหมด. แนวทางที่เป็นความคิดนำ เกี่ยวกับการวิเคราะห์อันหลายหลากของปัญญาชนเหล่านี้คือ การวินิจฉัยเกี่ยวกับความหายนะของโลกสมัยใหม่ โลกที่เต็มไปด้วยพยาธิวิทยาของต้นศตวรรษที่ 20. ภายใต้เงาแห่งชัยชนะที่เป็นคู่แฝดของ"ลัทธิทุนนิยมอุตสาหกรรม"ที่ขยายตัวหรือสุกงอมอย่างเต็มที่ และ"ลัทธิสังคมนิยมแห่งชาติ". กลุ่มนักคิดแฟรงค์เฟริทสคูลได้ตั้งคำถามที่คุ้นเคยกันขึ้นมาสองคำถามต่อความพินาศนี้คือ :

 

1. เราได้มาถึง ณ ที่นี่กันได้อย่างไร ? และ
2. ทางรอดของเรามันอยู่ที่ไหน ?

สิ่งที่เป็นต้นฉบับอันมากมายก่ายกองเกี่ยวกับการขานรับในกลุ่มของพวกเขา ซึ่งได้ตอบคำถามข้างต้นไม่ได้วางอยู่บนกิจกรรมทางการเมือง หรือในขบวนการปฏิวัติแรงงาน แต่มันวางอยู่ในปรากฎการณ์ที่ซ่อนเร้น อย่างเช่น ศิลปะแนว avant-garde art (หมายถึงแนวทางศิลปะที่ก้าวหน้า), ศาสตร์ทางด้านจิตวิเคราะห์, ปรัชญาวิภาษวิธี, และศรัทธาทางศาสนา messianic (เม็ซไซอะนิค หมายถึงลักษณะความเชื่อเรื่องที่จะมีพระเจ้ามาโปรด).

การศึกษาของพวกเขา - ดำเนินไปภายใต้ชื่อที่รู้จักกันทั่วไปว่า "Critical Theory" (ทฤษฎีวิพากษ์) - ที่ดำรงอยู่ในท่ามกลางสิ่งซึ่งสามารถที่จะปิดป้ายฉลากได้อย่างเหมาะสมว่า interdisciplinary (สหวิทยการ), มันเป็นความเข้าใจอย่างถ่องแท้ที่ได้โอบรัดและรวมเอาพื้นที่ทางการศึกษาในหลายๆสาขาวิชาเข้ามาอยู่ด้วยกัน. โดยในช่วงเวลานั้น ผลงานต่างๆที่สุกงอมอย่างเต็มที่ของพวกเขา ซึ่งโดดเด่นมากก็คือผลงานของ Horkheimer และ Adorno ในเรื่อง Dialectic of Enlightenment.

บรรดาสมาชิกของแฟรงค์เฟริทสคูล ซึ่งผลิตผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก ไม่ได้อ้างอิงงานของพวกเขาว่าเป็นปรัชญา, สังคมวิทยา, สุนทรียศาสตร์ หรือจิตวิทยา; แต่มันเป็นชื่อเรียกง่ายๆว่า "ทฤษฎี"(Theory)

2. About Wiggerhaus' book: เกี่ยวกับหนังสือของ Wiggerhaus
(ในเรื่อง The Frankfurt School: Its History, Theories, and Political Significance)

การศึกษาอันควรได้รับการสรรเสริญและจดจำของ Rolf Wiggershaus ในเรื่องเกี่ยวกับ แฟรงค์เฟริทสคูล ได้เตรียมและจัดหาภาพทั้งหมดเกี่ยวกับเส้นทางเดินของสถาบันทางความคิดนี้ออกมาเผยแพร่ได้อย่างดีเยี่ยม... มันเป็นหนังสือที่สมบูรณ์ที่สุดเล่มหนึ่ง สำหรับคนที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎีทางสังคมและการเมืองร่วมสมัย. (Douglas Kellner ผู้ซึ่งสนใจงานทางด้านนี้ถือว่า หนังสือเล่มดังกล่าวเป็นหนังสือที่บังคับอ่าน(compusory reading)สำหรับใครก็ตามที่ต้องการศึกษาหรือเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับ "แฟรงค์เฟริทสคูล")

Frankfurter Allgemeine Zeitung อันนี้เป็นการศึกษาที่น่าเชื่อถือและน่าไว้วางใจได้มากที่สุด เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการประสบความสำเร็จของ แฟรงค์เฟริทสคูล. มันได้ให้ภาพตัวบุคคลที่เขียนถึงอย่างงดงาม และเป็นคนสำคัญๆในประวัติศาสตร์ของ แฟรงค์เฟริทสคูล เช่นเดียวกับการสำรวจทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพและทิศทางอันหลากหลาย ที่พวกเขาได้พัฒนาขึ้นมาจากปีแห่งการก่อตั้ง ประมาณหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จนกระทั่งมาถึงแก่กรรมของ Theodor Adorno ในปี 1969.

หนังสือเล่มนี้ได้วางพื้นฐานอยู่บนเนื้อหาด้านเอกสารและชีวประวัติที่หาอ่านได้เมื่อเร็วๆนี้ มันเป็นการบรรยายไปเรื่อยๆ โดยการตามรอยสถาบันวิจัยสังคมแห่งนี้จาก Frankfurt ไปยัง Geneva แล้วไปที่ New York, และ Los Angeles สุดท้ายได้วกกลับมายัง Frankfurt อีกครั้ง. Wiggershaus ยังได้ไปโยงถึงวิวัฒนาการของแฟรงค์เฟริทสคูลนี้กับความเปลี่ยนแปลงในบริบริบทต่างๆทางด้านสติปัญญา และบริบททางการเมืองซึ่งมันปฏิบัติการอยู่. นอกจากนี้ เขายังทำการคลุกเคล้าเรื่องราวต่างๆข้างต้นเข้าด้วยกันกับบทสรุปที่แหลมคมในส่วนที่เกี่ยวกับผลงานสำคัญๆซึ่งเขียนขึ้นมาโดย Horkheimer, Adorno, Benjamin, Fromm, Kirchheimer, Lowenthal, Marcuse, Neumann, Pollock, and Habermas. กล่าวได้ว่า หนังสือเล่มนี้มีความพรักพร้อมในตัวเองและสามารถมาทำหน้าที่รับใช้ในฐานะที่เป็นการแนะนำหรือการเริ่มต้นเกี่ยวกับการทำความรู้จักกับ แฟรงค์เฟริทสคูล ได้เป็นอย่างดี

โดยทั่วๆไป หนังสือเล่มนี้ ได้มีการน้อมนำผู้อ่านทั้งหลายเข้าไปทำความรู้จักกับ"ทฤษฎีวิพากษ์"(critical theory), แต่อย่างไรก็ตาม มันยังมีคุณค่าอื่นด้วย ในฐานะที่ได้ให้ข้อมูลใหม่ๆแก่คนเหล่านั้นซึ่งคุ้นเคยกับขนบประเพณีนี้อยู่แล้ว แต่ต้องการที่จะเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการศึกษาเชิงบริบทของมันเกี่ยวกับความคิดทางสังคมของเยอรมันร่วมสมัย

ผลกระทบของ"แฟรงค์เฟริทสคูล"ที่มีต่อความคิดทางสังคมวิทยา, การเมือง, และวัฒนธรรม ต่อคริสตศตวรรษที่ 20 นั้นเป็นไปอย่างลึกซึ้ง. ความคิดในลักษณะวิภาษวิธี เป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญอันหนึ่งของโครงการทางวัฒนธรรมและทางปัญญาที่โดดเด่น ซึ่งได้บันทึกอยู่ในความทรงจำในช่วงระหว่างปีแรกของมันในประเทศเยอรมันนีและในสหรัฐอเมริกา.

ในส่วนของบทนำนั้น, Martin Jay (ศาสตราจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์, อยู่ที่มหาวิทยาลัย California, Berkeley) ได้เสนอบทนำใหม่ที่เต็มไปด้วยแก่นสารสำหรับการจัดพิมพ์ขึ้นมาครั้งนี้ ซึ่งเขาได้สะท้อนให้เห็นถึงความสอดคล้องต่อเนื่องกันเกี่ยวกับผลงานของแฟรงค์เฟริทสคูลเอาไว้อย่างน่าสนใจ. จัดได้ว่า The Frankfurt School: Its History, Theories, and Political Significance เป็นหนังสือที่สำคัญเล่มหนึ่งอันเต็มไปด้วยเนื้อหา และมีลักษณะของความไตร่ตรองในการพินิจพิจารณาของมัน ซึ่งมันได้ทำเช่นนั้นเอาไว้อย่างมากมาย. และผลของการนี้ ไม่เพียงทำให้เกิดความเป็นไปได้ในการดูดซับผลงานของ"แฟรงค์เฟริทสคูล"โดยสาธารณชนที่มีสติปัญญาเท่านั้น แต่มันยังทำให้ประเด็นปัญหาที่ผลงานของกลุ่มนักคิดแฟรงค์เฟริทสคูลนำเสนอต่อสาธารณชน มีความชัดเจนมากขึ้นด้วย. 000000000 3.

ทำความรู้จักกับ แฟรงค์เฟริทสคูล
แฟรงค์เฟริทสคูล เป็นชุมชนทางวิชาการชุมชนหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยนักคิดคนสำคัญหลายคน. ในท่ามกลางกลุ่มนักคิดของสถาบันแห่งนี้ ที่โดดเด่นมากๆก็คือ Theodor W. Adorno, Max Horkheimer, Herbert Marcuse, และ Walter Benjamin.

ให้เราจินตนาการถึงห้องๆหนึ่ง เมื่อมองเข้าไปภายในห้องซึ่งเต็มไปด้วยควันบุหรี่ของศตวรรษที่ 19. ห้องๆนั้นจะเป็นสถานที่ซึ่งมีการสนทนากันอย่างกว้างขวางและขยายวงออกไปมากมาย. มันเป็นการสนทนากันในลักษณะเดิมๆที่ซึ่งกลุ่มคนแก่ๆจะมาตั้งคำถามต่างๆขึ้น และมีการปรับน้ำเสียงของการสนทนากันตลอดเวลา. ทุกๆคนในห้องนั้น, ด้วยมารยาทบางอย่าง กำลังแสดงปฏิกริยาขานรับกับไอเดียหรือความคิดต่างๆของคนแก่เหล่านั้น. ความลึกซึ้งอย่างแท้จริง, เป็นเรื่องที่มีความแปลกใหม่, และบางครั้งก็ออกจะดูที่พิกลและรู้สึกประหลาดๆ นั่นคือภาพที่ได้เห็นและได้ยิน และบางครั้งก็มีคนพยายามที่จะแทรกเข้าไปในการสนทนากับกลุ่มชายชราเหล่านั้น. ผู้คนมากมายต่างทยอยเข้าและทยอยออกจากห้อง. บางคนก็มารวมกันอยู่กับคนที่กำลังพูดถึงเรื่องซึ่งตนมีความรู้สึกชื่นชอบ, และบางคนก็ถูกดึงไปสู่กลุ่มบางกลุ่มโดยเฉพาะ เนื่องมาจากความสนใจร่วมกันบางเรื่องที่คล้ายกัน.

ห้องดังกล่าวคือทั้งหมดของปรัชญาตะวันตก. ชายชราคนนั้นก็คือ บรรดานักปรัชญาคลาสสิค อย่างเช่น โสกราตีส และ เพลโต. ความลึกซึ้ง, ความแปลใหม่ และความรู้สึกพิกลประหลาดๆ ก็คือบรรดานักคิดสมัยใหม่กว่า อย่างเช่น เฮเกล และ มาร์กซ์. ในท้ายที่สุด, บรรดาสมาชิกของแฟรงค์เฟริทสคูล ที่เหมาะกับประเภทของคนเหล่านั้นซึ่งมารายรอบคนพูดที่พวกเขาชื่นชอบ. แฟรงค์เฟริทสคูลไม่ใช่สถานที่ แต่เป็นสกุลทางความคิดกลุ่มหนึ่งของทฤษฎีต่างๆที่คล้ายๆกัน ซึ่งได้โฟกัสลงไปยังหัวข้อหรือหัวเรื่องเดียวกัน.

4. The Frankfurt School: Its History, Theories, and Political Significance
จากมุมมองของ David Weininger

[หมายเหตุ: สำหรับหนังสือเรื่อง The Frankfurt School: Its History, Theories, and Political Significance ของ Rolf Wiggershaus ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย Michael Robertson ความยาวของหนังสือ 787 หน้า]

สำหรับบุคคลทั้งหลายที่ได้เข้ามาสู่เวทีทางสติปัญญา ซึ่งมีเป้าหมายที่จะวิเคราะห์โลกและสังคม - ไม่ว่าพวกเขาจะทำเช่นนั้นโดยความช่วยเหลือของวรรณคดี, สังคมวิทยา, ปรัชญา, เศรษฐศาสตร์ หรือ จิตวิทยาก็ตาม - บุคคลเหล่านั้นจะต้องประสบกับปัญหาหนึ่งซึ่งเป็นคำถามต่างๆที่มาครอบงำ และยังไปเกี่ยวพันกับความสัมพันธ์ระหว่าง ทฤษฎีและการปฏิบัติด้วย. คำถามนั้นก็คือ

- อะไรคือความหมายที่งานทางสติปัญญาได้ไปผูกมัด ?
- ความคิดและการกระทำคือสิ่งที่มีอิสระในตัวมันเองใช่ไหม, หรือมันเคยเป็นอย่างนั้นใช่หรือไม่ ?
- ถ้าเผื่อว่าทฤษฎีมันมีนัยสำคัญในทางปฏิบัติ หากเป็นเช่นนั้น ถามว่า มันคืออะไร ?

Rolf Wiggershaus ค่อนข้างระมัดระวังในการบันทึกถึงรายละเอียดอย่างถี่ถ้วนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแฟรงค์เฟริทสคูล นับจากเริ่มต้นไล่เลียงขึ้นมาจนถึงมรดกตกทอดของมันในบรรดานักวิชาการทั้งหลาย ผู้ซึ่งยังคงกระฉับกระเฉงอยู่ อย่างเช่น Jurgen Habermas นับว่ามีความโดดเด่นที่สุด.

หนังสือเรื่อง The Frankfurt School: Its History, Theories, and Political Significance ล้ำหน้าไปไกลกว่าเรื่อง The Dialectical Imagination ของ Martin Jay - ซึ่งเป็นหนังสือที่พูดถึงประวัติศาสตร์ของแฟรงค์เฟริทสคูลอีกเล่มหนึ่ง - ในรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมาและการมีเจตนาที่จะผูกมัดกับเนื้อหาที่กำลังพูดถึงอยู่นี้อย่างสำคัญ. สถาบันวิจัยสังคมได้รับการก่อตั้งในเมือง แฟรงค์เฟริท ในปี ค.ศ. 1924 ในฐานะที่เป็นสถาบันที่อุทิศให้กับการศึกษาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับลัทธิมาร์กซิสม์. ผู้ที่ให้การอุปถัมภ์และบริจาคเงินให้กับสถาบันนี้คือ Felix Weil นักวิชาการครึ่งตัวผู้มีความมั่งคั่งผู้ซึ่งเล็งเห็นว่า การมีสถาปนาสถาบันแห่งนี้ขึ้นมานั้น มันจะเป็นการประนีประนอมกันระหว่าง"สถานภาพทางชนชั้นของเขา" กับ "ความเห็นอกเห็นใจของเขาที่มีต่อผู้นิยมซ้าย".

สถาบันดังกล่าว - ได้มีความสัมพันธ์กันอย่างหลวมๆกับ the University of Frankfurt มาตั้งแต่ต้น - ซึ่งได้กลายมาเป็น(เมือง)เม็กกะสำหรับชาวเยอรมันที่นิยมซ้าย. เพราะสถาบันดังกล่าวได้เปิดให้มีการศึกษาเกี่ยวกับ"เศรษฐศาสตร์การเมืองแบบมาร์กซิสท์" และ"ประวัติศาสตร์ของขบวนการแรงงาน" ในระดับมหาวิทยาลัยขึ้นมาเป็นครั้งแรก.

แต่กระนั้นก็ตาม มันก็ยังไม่ได้สุกงอมอย่างเต็มที่ในทางการศึกษา จนกระทั่งได้มีการแต่งตั้ง Max Horkheimer ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันในปี ค.ศ.1930. Horkheimer, ซึ่งได้ศึกษามาทางด้านปรัชญา เขาเป็นผู้ที่โชกโชนและเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกับขนบประเพณีแบบเยอรมันทั้งหมดจนมาถึง Hegel, และเขาได้อ้าแขนรับลัทธิมาร์กซิสม์อย่างไม่ค่อยเต็มใจนัก.

กระนั้นก็ตาม ในการบรรยายตอนที่เขาเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในฐานะผู้อำนวยการของสถาบันแห่งนี้ เขาได้ชี้ว่า "ชนชั้นผู้ใช้แรงงาน เป็นจุดเริ่มต้นของการแสวงหาความรู้". เขากล่าวต่อไปโดยนิยามถึงภารกิจของสถาบันแห่งนี้ในลักษณะที่คลุมเครือ แต่ก็เป็นหนทางที่เป็นการตั้งต้นและการริเริ่มที่ดีทีเดียวว่า :

"ตามการเข้ามามีส่วนร่วมของข้าพเจ้า..., ข้าพเจ้าจะเริ่มต้นตระเตรียมระบบกฎเกณฑ์เกี่ยวกับงานที่มีการวางแผนเอาไว้บน"ความคิดทางปรัชญา" และ "ประสบการณ์นิยมในทฤษฎีทางสังคม"เคียงข้างกัน... เพื่อรวบรวมการค้นคว้าต่างๆเอาไว้ บนพื้นฐานเกี่ยวกับคำถามต่างๆทางปรัชญาที่แพร่หลายอยู่ทั่วไป ซึ่งบรรดานักปรัชญาทั้งปวง นักสังคมวิทยา นักเศรษฐศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ และนักจิตวิทยาทั้งหลายสามารถมารวมตัวกันได้ ในการทำงานร่วมกันไปโดยตลอด".
([T]o set up, along with my associates..., a regime of planned work on the juxtaposition of philosophical construct and empiricism in social theory....[To] organize inquiries, on the basis of current philosophical questions, in which philosophers, sociologists, economists, historians and psychologists can unite in lasting co-operation. )

ด้วยเป้าหมายดังกล่าว เขาจึงได้รวบรวมนักวิชาการกลุ่มต่างๆรายรอบเขา เพื่อมาสร้างระบบวิธีการศึกษาในแบบสหวิทยาการขึ้นมา: อย่างเช่น Erich Fromm, นักวิเคราะห์ในแนวแบบฟรอยเดียนและผู้นำฝ่ายซ้ายที่เข้มแข็ง; Friedrich Pollock จัดว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์แนวมาร์กซิสท์แบบออร์ธอด็อกซ์; Adorno เขาจบปริญญาเอกทางด้านปรัชญา แต่ในเวลานั้นได้ถูกจ้างให้ทำงานในฐานะนักวิจารณ์ทางด้านดนตรี; Marcuse, นักปรัชญาและอดีตเคยเป็นนักศึกษาของ Martin Heidegger. Benjamin ผู้ซึ่งไม่เคยเป็นสมาชิกถาวรของสถาบันแห่งนี้เลย บางทีจะเป็นคนที่ยุ่งยากมากที่สุดในการจะจำแนกงานของเขา ซึ่งได้โอบล้อมและไปใกล้เคียงกับสาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์.

ที่จริง เป้าหมายของ Horkheimer, การศึกษาอันแรกภายใต้ชื่อของสถาบันแห่งนี้ - เกี่ยวกับอิทธิพลของอำนาจหน้าที่ในชนชั้นผู้ใช้แรงงานชาวเยอรมัน - ได้รับการถ่วงดุลย์อย่างเท่าเทียมกันระหว่าง "การคาดการณ์ทางทฤษฎี" กับ "การสนับสนุนของลัทธิประสบการณ์นิยม". แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนที่สถาบันแห่งนี้จะพัฒนาวิธีการศึกษาของพวกเขาขึ้นมาจริงๆ พวกเขาก็ถูกบีบบังคับให้ต้องลี้ภัยออกจากประเทศไป โดยการขึ้นมามีอำนาจของพรรคนาซีที่เถลิงอำนาจใน ค.ศ.1933.

แฟรงค์เฟริทสคูล ได้ถูกประณามเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ซึ่งไม่เพียงเรื่องของลักษณะความรุนแรงของฝ่ายซ้ายเท่านั้น แต่ยังเรื่องเกี่ยวข้องกับยิวที่ต้องถีบกระเด็นออกไป. อันเป็นการเริ่มต้นที่ทำให้นักวิชาการกลุ่มนี้กระจัดกระจายออกไปจนทั่วยุโรปและอเริกาในฐานะบุคคลที่ถูกเนรเทศ

รากฐานที่มั่นคงต่อมาของพวกเขาก็คือ"มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย"ในกรุงนิวยอร์ค โดยการที่พวกเขาได้ก่อตั้งสมาคมๆหนึ่งขึ้นมา ปลายๆกรกฎาคม 1934 ซึ่งอยู่มาจนกระทั่งถึงช่วงต้นๆปี ค.ศ. 1943 (สิ้นสุดลงในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง). การสนับสนุนทางการเงินของพวกเขา ยังคงต้องอาศัยการบริจาคและการสนับสนุนด้านเงินทุนจาก Weil อยู่, ด้วยเหตุนี้ ทำให้พวกเขาสามารถที่จะยังคงความเป็นอิสระและมีเสรีภาพอยู่ค่อนข้างมาก ที่จะดำเนินงานวิชาการของพวกเขาเองไปจนบรรลุผลสำเร็จ

การเนรเทศกลุ่มทางความคิด แฟรงค์เฟริทสคูล ค่อนข้างจะไม่ใช่สาระสำคัญแต่ประการใด เพราะมันดูเหมือนว่าจะไม่ไปกดดันหรือส่งผลกระทบกับทิศทางต่องานวิชาการของกลุ่มนักคิดนี้แต่อย่างใด. ขณะที่การศึกษาในช่วงแรกๆของพวกเขานั้น อันที่จริงมีเป้าหมายที่จะรวบรวม"งานทางทฤษฎี"และ"งานทางประสบการณ์นิยม"เข้าด้วยกัน. โดยในช่วงปลายทศวรรษที่ 30s ผลงานของพวกเขาได้ประสบกับการเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้ง 2 ประการ...

ประการแรก, ลักษณะทางทฤษฎี(theoretical) ได้มาบดบังหรือข่มรัศมีของความคิดประสบการณ์นิยม(empirical)อย่างชัดเจน. ไม่มีการใช้เอกสารที่บรรจุคำถาม(หรือที่เราเรียกกันว่า questionnires)ที่จะแจกจ่ายออกไปเพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูล, และไม่มีการนำเอาเรื่องของสถิติต่างๆมาร่วมพิจารณาหรือปรึกษาด้วย - แฟรงค์เฟริทสคูล กำลังล่องลอยหรือระเหเร่ร่อนอย่างรุนแรงไปสู่ลักษณะทางปรัชญา. ดังนั้น โดยมูลเหตุนี้ และผลที่ตามมาของการเคลื่อนไหวดังกล่าว, Horkheimer, Adorno และ Marcuse จึงกลายเป็นกลุ่มบุคคลที่เป็นศูนย์กลางผู้ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับผลงานของสถาบัน.

ในทางกลับกัน มุมองทางทฤษฎีของพวกเขามันค่อนข้างมืดมัวเอามากๆ. การปรับทิศทางของมาร์กซิสท์ได้ยอมให้กับ(และแผ่ไปถึง)การรวมเอาบุคคลต่างๆอย่าง Nietzsche และ Freud เข้ามาด้วย. การเคลื่อนไปสู่นักคิดเหล่านี้ แสดงออกถึงข้อสงสัยอันหนึ่งที่อยู่ข้างใต้"ผลสะท้อนของปัจเจกชน ซึ่งมีพลังอำนาจซ่อนเร็นที่อันตรายแฝงอยู่ ซึ่งเป็นเงื่อนไขหรือปัจจัยของแรงกระตุ้นที่สำคัญที่สุดในการกระทำของพวกเขา".

บรรดานักคิดทฤษฎีวิพากษ์(The Critical Theorist)ทั้งหลาย ได้ขยายข้อเสนออันนี้ออกไป และให้เหตุผลว่า ขบวนการเคลื่อนไหวดังกล่าวซึ่งมนุษยชาติพยายามที่จะปลดปล่อยตัวของตัวเองให้เป็นอิสระนั้น มันเป็นสิ่งที่เน่าเปื่อยผุพังต่อแก่นแกนอันนี้ และได้บรรจุเอาเมล็ดพันธุ์ของความหายนะในตัวของพวกมันเองเอาไว้.

ข้อคิดเห็นดังกล่าวได้ถูกให้คำอธิบายอันทรงพลังมากที่สุดของมันในวิภาษวิธีเกี่ยวกับยุค Enlightenment. การนำเสนอของมันเป็นแบบจำลองขนาดเล็ก(micro-model)ของน้ำเสียงและสไตล์เกี่ยวกับความรู้สึกขมขื่นของกลุ่ม. มันได้สะท้อนถึงความคิดที่อยู่ภายใต้อิทธิพลครอบงำอันปราศจากการดิ้นรนใดๆ.

"ในความรู้สึกทั่วๆไปส่วนใหญ่เกี่ยวกับความคิดที่ก้าวหน้า, ยุคสมัย Enlightenment มักจะมีเป้าหมายอยู่ที่การปลดปล่อยมนุษย์ให้เป็นอิสระจากความหวาดกลัวและได้สถาปนาอำนาจอธิปไตยของพวกเขาขึ้นมา. กระนั้นก็ตาม โลกที่ถูกทำให้สว่างหรือตื่นขึ้นมาอย่างเต็มที่(fully enlightened earth) จะแผ่รังสีความหายนะออกมาในลักษณะของผู้มีชัยชนะ... สิ่งที่มนุษย์ต้องการเรียนรู้จากธรรมชาติก็คือ จะใช้มันอย่างไร เพื่อที่จะครอบงำธรรมชาติและมนุษย์คนอื่นๆเอาไว้ได้ทั้งหมด...โดยปราศจากความเมตตาหรือสงสาร, ถึงแม้ว่าในตัวมันเอง, ยุคสว่างหรือ Enlightenment จะทำให้ร่องรอยใดๆเกี่ยวกับความประหม่าและขวยอายในตนเองสิ้นสุดลงก็ตาม"

(In the most general sense of progressive thought, the Enlightenment has always aimed at liberating men from fear and establishing their sovereignty. Yet the fully enlightened earth radiates disaster triumphant....What men want to learn from nature is how to use it in order wholly to dominate it and other men....Ruthlessly, in despite of itself, the Enlightenment has extinguished any trace of its own self-consciousness.)

หนังสือเล่มนี้ดำเนินต่อไปเพื่อแสดงให้เห็นถึงความล่มสลายของตัวมันเองของยุค Enlightenment ในบท the Odyssey, Sade's Juliette, Cuture Industry, และอย่างเจ็บปวดที่สุด นั่นคือ การต่อต้านชาวยิวสมัยใหม่ (modern anti-semitism). มันเป็นความแปลกประหลาดอันหนึ่ง, เป็นหนังสือที่ยากและมีลักษณะเฉพาะที่รวมเอาวิธีการเข้าหาหรือศึกษาอย่างหลากหลายมาก. วิธีการหนึ่งที่ถูกนำมายั่วน้ำลายของผู้คนก็คือ สิ่งซึ่งพวกเราในทุกวันนี้เรียกขานมันว่า "การศึกษาทางด้านวัฒนธรรม"(Cutural Studies). [หมายเหตุ: semitism หมายถึงคนที่อาศัยอยู่ในดินแดนตะวันออกกลาง(ยิวและอาหรับ) ในที่นี้หมายถึงชาวยิวสมัยใหม่]

Wiggershaus ได้ให้ภาพอย่างดีเยี่ยม เป็นแนวทางที่รอบด้านสำหรับหนังสือที่ท้าทายเล่มหนึ่ง และในแง่มุมดังกล่าวโดยลำพัง หนังสือเล่มนี้ได้บรรจุเอาเนื้อหาที่ใหญ่มากในงานเขียนระดับทุติยภูมิ. ยิ่งไปกว่านั้น เขายังแสดงให้เห็นว่า แนวเรื่องของหนังสือดังกล่าว มันได้ก่อให้เกิดผลงานและความเอาใจใส่ในช่วงแรกของกลุ่มนักคิดแฟรงค์เฟริทสคูลขึ้นมาได้อย่างไร ? ยกตัวอย่างเช่น ในความสัมพันธ์กันระหว่าง การต่อต้านคนยิว(anti-Semitism) กับ ลัทธิทุนนิยม(capitalism)

Wiggershaus ได้ชี้ถึงความเรียงในช่วงแรกของ Horkheimer ในเรื่อง "The Jews and Europe,"(ชาวยิวกับยุโรป), ประโยคแรกๆที่เป็นการเปิดตัวของความเรียงนี้ของเขา นับว่าเป็นคู่แข่งของประโยคเปิดเหล่านั้นในเรื่อง Dialectic of Enlightenment ในลักษณะที่ตื่นเต้นเหมือนกับละครและเต็มไปด้วยความเชื่อมั่น:

"ไม่มีใครสามารถที่จะขอร้องให้ผู้อพยพ(ชาวยิว)ทั้งหลายยกกระจกเงาบานหนึ่งขึ้น เพื่อส่องดูโลกที่ได้สร้างระบบเผด็จการฟาสซิสม์บนดาวเคราะห์ดวงนี้ขึ้นมา ซึ่งพวกเขาถูกต้อนให้เข้าไปอยู่ในสถานที่สำหรับผู้ลี้ภัย. และคนเหล่านี้ผู้ซึ่งไม่ปรารถนาที่จะพูดถึงลัทธิทุนนิยม ควรจะเงียบๆเสียเกี่ยวกับระบบเผด็จาการฟาสซิสม์."

สำหรับทฤษฎีวิพากษ์(Critical Theory)จวบจนถึงปัจจุบัน, ได้ผละออกมามานานแล้วและค่อนข้างไกลห่างจาก"การรวมกันของเรื่องทาง"ทฤษฎี"กับ"วิทยาศาสตร์ต่างๆในเชิงประจักษ์(empirical sciences)]" ซึ่งครั้งหนึ่ง Horkheimer ได้ให้การสนับสนุน. และดังที่ใครๆมีความหวังเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพ, ใครสักคนอาจจะเชื่อว่า บรรดานักเขียนทั้งหลายจะยืนหยัดต่อไปกับความไม่มีตัวตนอันนั้น

ภายหลังสงคราม, มีเพียง Horkheimer และ Adorno เท่านั้นที่ได้หวนกลับมายังแฟรงค์เฟริท ส่วนคนอื่นๆยังคงชอบที่จะพำนักอยู่ในอเมริกา. (น่าเศร้าที่ Walter Benjamin ไม่เคยหลบหนีออกจากยุโรปเลยในช่วงระหว่างสงคราม และในที่สุดได้กระทำอัตวินิบาตกรรมตนเองในประเทศสเปนในช่วงปี 1940). น้ำเสียงเกี่ยวกับผลงานต่างๆของพวกเขา แม้จะแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วค่อนข้างที่จะหดหู่และเศร้าสร้อย ดังที่พววกเขาตระหนักว่า วัฒนธรรมของปัญญาชน German-Jewish ซึ่งได้ปรากฏออกมา มันได้สูญสลายและมลายไปอย่างสิ้นเชิง. แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาทั้งคู่ก็ได้รับตำแหน่งทางวิชาการที่แฟรงค์เฟริท และยังคงทำงานทางทฤษฎีของพวกเขากันต่อไป, ซึ่ง -โดยเฉพาอย่างยิ่ง Adorno- ค่อนข้างปรับตัวมากไปสู่ความทรงจำและการไตร่ตรองในอดีตที่ผ่านมา มากกว่าที่จะปรับไปสู่การวินิจฉัยหรือตรวจตราเกี่ยวกับภาวการณ์ปัจจุบัน.

อันนี้มีหลักฐานอยู่ในหัวข้อรองของหนังสือเล่มหนึ่งในหนังสือช่วงหลังๆของ Adorno: Minima Moralia: ภาพสะท้อนต่างๆจากชีวิตที่ถูกทำลายให้เสียหาย. ในหนังสือเล่มดังกล่าว เขารู้สึกโศกเศร้าถึงวัฒนธรรมที่ได้ถูกทำลายโดยเผด็จการฟาสซิสท์ ขณะที่พยายามจะขับไล่มลทินความผิดของตัวเขาเองออกไปเพื่อความอยู่รอดในสงคราม. ทั้งหมดนี้ เขาได้ทำการสรุปสาระสำคัญได้อย่างงดงามในประโยคหนึ่งดังนี้ : "การเขียนบทกวีขึ้นมาภายหลังจาก Auschwitz (ค่ายกักกันชาวยิวของนาซีในโปแลนด์) กลายเป็นสิ่งที่ป่าเถื่อน" ...ใครสักคนอาจทอดสายตาไปมอง"แฟรงค์เฟริทสคูล"ด้วยความสงสัย และโต้กับประโยคดังกล่าวว่า "การเขียนทฤษฎีขึ้นมาในช่วง Auschwitz เป็นเรื่องที่เหลวไหลสิ้นดี".

ไม่กี่เดือนก่อนที่เขาจะถึงแก่กรรม, Adorno กำลังบรรยายอยู่ที่มหาวิทยาลัยแฟรงค์เฟริท ขณะนั้นมีนักศึกษาหญิงกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นสมาชิกหัวรุนแรงซึ่งเรียกว่า Separatist (พวกที่แยกตัวออกไปจากความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่)ได้พรวดพราดขึ้นมาที่โพเดียม(แท่นที่ใช้สำหรับยืนพูดในห้องประชุม), พวกเธอต่างเปลือยอก, และเข้าจู่โจมเขาด้วยการเข้ามาลูบไล้กอดจูบในลักษณะส่อเค้าทางกามารมณ์. เขาได้ผละจากเวทีด้วยความโกรธและรู้สึกขายหน้ามาก.

นักศึกษาหญิงกลุ่มนั้นได้ประกาศว่า "ในฐานะสถาบันแห่งนี้, Adorno ได้ตายไปแล้ว". เรื่องราวอันนี้ได้นำไปสู่ภาวะคลายตัวอย่างเต็มที่ ระหว่างความแตกต่างของทฤษฎี/ปฏิบัติ ซึ่งมักจะได้รับการปลุกเร้าขึ้นมา ไม่ว่าจะในการสนทนาหรือการพูดคุยใดๆของแฟรงค์เฟริทสคูล. ขบวนการนักศึกษาชาวเยอรมันในช่วงทศวรรษที่ 1960s ได้ปฏิเสธทฤษฎีวิพากษ์(Critical Theory)อย่างโต้งๆ เพราะเนื่องมาจากการไม่สามารถใช้งานได้ของมันนั่นเอง. อะไรคือคุณค่าที่ทฤษฎีวิพากษ์ที่เกี่ยวกับสังคมมี ถ้าเผื่อว่ามันไม่ได้บรรจุเอาสิ่งซึ่งเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เป็นการปฏิวัติโดยทันทีเอาไว้ ?

Critical Theory จะบอกกับเราว่า "ความคิดในตัวมันเอง"นั้น มีความสำคัญมากยิ่งกว่าสิ่งที่ถือว่าเป็น"การปฏิบัติที่ไม่สำคัญ". Wiggershaus ชี้แจงว่า Habermas และบรรดานักทฤษฎี Critical Theorists รุ่นเยาว์ทั้งหลาย ค่อนข้างที่จะมีการปรับไปสู่การกระทำทางสังคมยิ่งกว่าสมาชิกของแฟรงค์เฟริทสคูลอื่นๆ, นั่นคือ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับ"นัยสำคัญทางการเมือง"( political significance) ของ Horkheimer and Adorno. มันยังคงเน้นและยืนยันอีกครั้งถึงสิ่งที่พวกเขาทำ: นั่นคือ ทฤษฎี(Theory).

เกี่ยวกับตัวผู้เขียน
David Weininger, a graduate of Oberlin College, has previously reviewed Edmund White's biography of Genet for the Boston Book Review. He lives in Cambridge, MA. As for the variants and alterations to "the theory" in the course of this history, the scope of these is so large, and they are so unsynchronized, that a division into phases for the 'Frankfurt School' is virtually impossible. The best we can do is to speak of various tendencies to drift apart: the drifting apart of theory and praxis, of philosophy and science, of the critique of reason and the rescuing of reason, of theoretical work and the work of the Institute, of the refusal to be reconciled and the refusal to be discouraged.

From The Frankfurt School ©1995. Boston Book Review. All rights reserved. (แปลและเรียบเรียงเพื่อบริการทางการศึกษา โดยไม่จำหน่าย) มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

 

กลับไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com