ภาพผลงานการสร้างภาพโดยฝ่ายศิลปกรรม เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(ภาพประกอบทุกภาพที่ปรากฏบนเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน ยินยอมให้นำไปใช้ได้ตามบทบัญญัติลิขซ้าย copyleft)

BsocialR.jpg (13788 bytes)

บทความลำดับที่ ๒๒
สังคมวิทยาศิลปะ

เพียงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา การสำรวจเกี่ยวกับเรื่องทางด้าน”สังคมวิทยาศิลปะ” ได้กำเนิดขึ้นมาและจบลงด้วยข้อเสนอที่โต้แย้งกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ต่างๆของศิลปะกับสังคม. นักวิชาการเป็นจำนวนมากยืนยันว่า ศิลปะเป็นกระจกเงาที่สะท้อนสังคม, แต่ทว่าความคิดเห็นส่วนใหญ่นั้นได้จบลงไปแล้ว ในทางตรงข้าม นักวิชาการบางคนยืนยันว่า ศิลปะได้สะท้อนถึงความสัมพันธ์ต่างๆในทางการผลิตของสังคม ซึ่งมันเป็นเครื่องมือทางอุดมการณ์อันหนึ่งที่สนับสนุนกลุ่มที่มีอิทธิพลต่างว่า”ศิลป”เป็นอาณาเขตที่มีอิสระของมันเอง มีความสามารถเกี่ยวกับการเอาชนะแรงบีบบังคับของเนื้อหา และสิ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งมีคุณค่าสูงกว่า บางคนถึงกลับบอกว่า”ศิลป”คือคำพยากรณ์ต่างๆเกี่ยวกับแนวโน้มทางวัฒนธรรมและสังคม

สืบเนื่องมาจากการกำหนดทิศทางของนักวัตถุนิยม อย่าง Karl Marx (อันที่จริง เขาเขียนเกี่ยวกับเรื่องศิลปะเอาไว้น้อยมาก) เขาได้วางรากฐานการวิเคราะห์จำนวนมากเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ทางศิลปะของ Arnold Hauser ตลอดยุคสมัย อย่างหนังสือที่ชื่อว่า The Social History of Art เป็นต้น. ส่วนพวกที่ Anti-Marxist มากพอๆกัน ได้แปรไอเดียที่ว่า ศิลปะเป็นกระจกเงาสะท้อนสังคมไปเป็นอย่างอื่น กล่าวคือ หนึ่งในนั้นที่บรรยายเอาไว้อย่างละเอียดโดย Pitirim Sorokin ในงานที่หนาเท่าๆกันชิ้นหนึ่งที่มองว่า art as representative of the spirit of its age หรือ”ศิลปะเป็นตัวแทนของจิตวิญญานในยุคสมัยของมัน”

บรรดานักทฤษฎีทางสังคมอื่นๆ อย่าง Emile Durkheim คิดถึงศิลปะในฐานะที่เป็นตัวแทนศาสนาอย่างหนึ่ง ศิลปะเป็นจิตวิญญานทางโลกที่เป็นเรื่องของการสนับสนุนทางด้านอารมณ์ความรู้สึก หรือมันทำหน้าที่บังคับควบคุมปัจเจกบุคคล และช่วยประคองสังคมให้ไปด้วยกันได้ ส่วนสำหรับ Max Weber เห็นว่า ในโลกสมัยใหม่อันโลกแห่งเหตุผลเพิ่มขึ้น อาณาจักรของสุนทรียศาสตร์(ภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง) อาจช่วยค้ำจุนหรือให้การสนับสนุนวาทกรรมอันหนึ่งที่แข่งขันชิงชัยกับอาณาจักรทางจริยศาสตร์ของสังคม

แม้ว่านักสังคมวิทยาจะมีความคิดที่แตกต่างกัน แต่การตีความเหล่านี้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของศิลปะต่างๆกับสังคม มีเป้าหมายที่จะเปิดเผยหรือขุดคุ้ยหลักฐานที่ซ่อนเร้นต่างๆของศิลปะออกมาในความสัมพันธ์ต่อกระบวนการต่างๆทางโครงสร้างทางสังคมอย่างกว้างๆ ไม่ว่าจะจากจุดยืนของการวิเคราะห์โครงสร้างในเชิงกว้าง(macrostructural analysis) ของ Marxist หรือมุมมองต่างๆทางอุดมคติของพวก anti-Marxist หรือพวกที่มองว่าศิลปะเป็นประหนึ่งกับศาสนาๆหนึ่ง แนวความคิดที่เป็นไปในลักษณะสากลเหล่านี้เกี่ยวกับศิลปะเป็นตัวแทนของความคิดแบบยุโรปตะวันตกอันหนึ่ง ซึ่งมีการแบ่งลำดับชั้นในลักษระสูงต่ำและการจัดหมวดหมู่ทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทึกทักเอาเองเกี่ยวกับอาณาจักรทางสุนทรีย์ในเชิงวิเคราะห์ที่แตกแยกจากสังคม เป็นสิ่งซึ่งยังเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดข้อสงสัย และในหลายๆกรณีเกี่ยวกับอัตลักษณ์เฉพาะตัว(idiosyncratic)

ส่วนในทางมานุษยวิทยา จากผลงานต่างๆของนักวิชาการทางด้านนี้ของพวกเขาเห็นว่า”ศิลป”เป็นระบบทางสังคมอันหนึ่ง ซึ่งต้องการการทำความเข้าใจไปตามบริบททางวัฒนธรรมของมัน

แม้ว่าทัศนเหล่านี้ยังคงค้ำจุนการวิเคราะห์ทางด้านศิลปะบางอย่างอยู่อย่างแพร่หลายและต่อเนื่อง แต่ในทางปฏิบัติ มันก็ได้ให้แนวทางต่อความเอาใจใส่และการตั้งคำถามที่ต่างออกไปด้วย. Sorokin ได้ทำการรวบรวมอารยธรรม 2,500 ปีเอาไว้ และการศึกษาของ Hauser ได้เริ่มต้นจากจุดเริ่มต้นเกี่ยวกับงานจิตรกรรมบนผนังถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทั้งคู่ได้ขยายข้อสนทนาของพวกเขาไปถึงการรวมเอาบรรดาศิลปินเข้ามาไว้ด้วย

การวิเคราะห์ทางสังคมของทุกวันนี้ ไม่ค่อยจะตีวงไปโอบรัดถึงความกว้างขวางเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่อันนั้น อันนี้ไม่จำเป็นต้องนำมาซึ่งความคับแคบเกี่ยวกับเรื่องวิสัยทัศน์ ทั้ง Hauser และ Sorokin ไม่ได้ให้ความสนใจแต่อย่างใดต่ออารยธรรมต่างๆที่ไม่ใช่ตะวันตก รวมทั้งศิลปะในยุคดึกดำบรรพ์และศิลปะพื้นบ้านทั้งหมด เขาทั้งสองก็ให้ความสนใจค่อนข้างน้อยมาก เว้นแต่ในเชิงดูถูก นอกจากนี้ ยังไม่พูดถึงเลยเกี่ยวกับการไม่มีศิลปินหญิงในฐานะที่เป็นคำถามอันหนึ่งที่น่าจะสำรวจว่าทำไมมันจึงเป็นเช่นนั้น แม้แต่ภายในอาณาจักรของวิจิตรศิลป์เอง ทั้งคู่ต่างก็ไม่ได้สำรวจเสียเป็นส่วนใหญ่ และโดยทั่วไปไม่ได้ชื่นชอบ ความคิดเห็นเกี่ยวกับศิลปะแนวหน้าหรือ avant-garde art แต่อย่างใด

ในท้ายที่สุด ก็คล้ายๆกันกับเพื่อนที่สนใจในสุนทรียศาสตร์ส่วนใหญ่ แม้ว่าพวกเขาจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปแบบหรือสไตล์ที่เฉพาะของศิลปะ พวกเขายอมรับการจัดจำแนกหมวดหมู่ของศิลปะที่มีอยู่ในฐานะที่เป็นสิ่งที่ไม่สร้างปัญหาใดๆ โดยไม่พิจารณาถึงรูปแบบอื่นๆของการแสดงออกซึ่งอาจจะเป็นคู่แข่งขันอื่นๆสำหรับการรวบอยู่ในขอบเขตทางสุนทรีย์. กระนั้นก็ตาม สิ่งซึ่งสังเกตุเห็นได้เกี่ยวกับการศึกษาของ Hauser และ Sorokin ก็คือ พวกเขาต่างเป็นคนที่พิเศษ เพราะบรรดานักวิทยาศาสตร์ทางสังคมหรือนักสังคมศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างเมินเฉยหรือไม่สนใจต่อหัวข้อเกี่ยวกับศิลปะเลย

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้ วัฒนธรรมและศิลปะต่างๆได้กลายเป็นสิ่งที่พบเห็นกันได้มากขึ้นในงานพิมพ์ทางสังคมวิทยา ทั้งในสหรัฐอเมริกาและที่อื่นๆ. สำหรับบทความนี้จะพิจารณาถึงขอบเขตอันนี้ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในสังคมวิทยา และให้ภาพเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ จะมีการพูดถึงพัฒนาการภายในตัวของสังคมวิทยาเอง, และแนวโน้มการสืบทอดกันมา รวมกระทั่งถึงพัฒนาการจากภายนอกซึ่งมีผลกระทบต่อองค์ประกอบของมัน

ปัจจุบัน งานด้านสังคมวิทยาศิลปะได้รับการวางเอกลักษณ์โดยแนวโน้ม 4 ประการคือ

ประการแรก บรรดานักสังคมวิทยาทั้งหลายได้มีการพูดถึงบทบาทต่างๆของสถาบัน และกระบวนการต่างๆที่ทำให้เกิดการปรากฏตัวขึ้นมาของผลงานศิลปะเอาไว้อย่างละเอียด.

ประการที่สอง ได้มีการวิเคราะห์ถึงการทำงานทางด้านศิลปะของบรรดานักสร้างสรรค์ทั้งหลาย รวมไปถึงแบบแผนต่างๆของการทำความเข้าใจอย่างซาบซึ้ง และการได้มาซึ่งผลงานทางศิลปะ ของผู้ให้การอุปถัมภ์และนักสะสมทั้งหลาย.

ประการที่สาม ได้มีการค้นคว้าเกี่ยวกับระดับการเข้าถึงงานศิลปะของสาธารณชนทั้งหลาย รวมถึงบทบาทของศิลปะที่มีต่อสาธารณชน

ประการที่สี่ ซึ่งค่อนข้างจะสุดขั้ว นักวิชาการบางคนได้มีการทักท้วงถึงธรรมชาติที่แท้ของศิลปกรรมต่างๆ มีการถกเถียงกันถึงนิยามความหมาย ในฐานะที่ศิลปะต้องการการทำความเข้าใจไม่ใช่เพียงแค่ความแน่ชัดในตัวมันเองเฉยๆเท่านั้น แต่ในฐานะที่เป็นการก่อตัวทางสังคมอันหนึ่ง ที่ต้องการการวิเคราะห์.

ศิลป: ในขอบเขตของสังคมวิทยา(Art: In the Periphery of Sociology)

นอกเหนือจากนักวิชาการทางสุนทรียศาสตร์และวรรณคดี ผู้ซึ่งสังผัสจับต้องเบาๆในบริบทต่างๆทางสังคมหรือประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ซึ่งรายรอบศิลปกรรมทั้งหลายอยู่แล้ว ในช่วงครึ่งแรกของคริสตศตวรรษที่ 20 สังคมวิทยาศิลปะ ได้เป็นที่เอาใจใส่ของชาวยุโรปเพียงไม่กี่คน และแม้กระทั่งนักวิชาการชาวอเมริกันเพียงบางคนซึ่งเป็นส่วนน้อยเท่านั้น.

ท่ามกลางนักวิชาการชาวยุโรป ผลงานหลักชิ้นหนึ่งโดย Weber (1958) เกี่ยวข้องโดยตรงกับรูปแบบงานศิลปะโดยเฉพาะประเภทหนึ่ง นั่นคืองานศิลปะทางด้านดนตรี ในฐานะที่เป็นกรณีหนึ่งเกี่ยวกับทฤษฎีของเขา ซึ่งผูกพันหรือเอาใจใส่ต่อการทำให้วัฒนธรรมเป็นเหตุเป็นผลขึ้นมาในโลกตะวันตก. ส่วน Durkheim ได้วางสิ่งซึ่งเขาเรียกว่า”สังคมวิทยาสุนทรียศาสตร์”(aesthetic sociology)ในมดลูกของสังคมวิทยา ซึ่งเขากำลังพยายามที่จะสถาปนามันขึ้นมา แต่ภายใต้เครื่องหมายสีแดงในส่วนที่ตกค้างอันหลากหลาย และไม่ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับมันด้วยตัวของเขาเอง. อีกคนหนึ่งคือ Georg Simmel เท่านั้นที่เขียนอยู่บ่อยๆถึงเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปะ แม้ว่าน้อยมาก ในฐานะที่เป็นนักวิทยาาสตร์ทางสังคมยิ่งกว่าในฐานะที่เป็นนักวิจารณ์ทางด้านวรรณคดีและศิลปะ นักปรัชญา หรือในแบบนักเขียนบทความ.

แม้ว่านักสังคมวิทยาชาวอเมริกันจะมีกำเนิดของพวกเขาใน, และต่อเนื่องซึ่งมองไปยัง, รากฐานต่างๆทางทฤษฎีของชาวยุโรป, โดยในช่วงสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2, ด้วยการทำลายล้างหรือค่อยๆถูกกัดเซาะเกี่ยวกับความเป็นนักวิชาการของชาวยุโรปเป็นจำนวนมากโดยระบบการปกครองต่างๆของเผด็จการ, หรือภายใต้การยึดครองของพวกทหารของพวกเขา, สังคมวิทยาอเมริกัน, พร้อมด้วยวิทยาศาสตร์อเมริกันโดยทั่วไปมากๆ, ได้กลายมาเป็นพลวัตรและขยายตัวออกไปส่วนใหญ่ในโลกของเรา. การเจริญเติบโตอันนี้เป็นสิ่งที่เสริมหรือคู่กับความโดดเด่นออกมาของสหรัฐอเมริกาบนฉากของนานาชาติ ในฐานะที่เป็นผู้ชนะเลิศของคุณค่าต่างๆทางมนุษย์นิยมตะวันตกในช่วงระหว่างสงคราม และผู้ปกป้องเกี่ยวกับอิสรภาพในช่วงระหว่างสงครามเย็น.

แต่อย่างไรก็ตาม นักวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์ของอเมริกันเกือบจะไม่ยอมรับศิลปกรรมทั้งหลาย ในฐานะที่เป็นเป้าหมายทางการศึกษาที่ถูกต้องตามขนบธรรมเนียม. ทัศนคติอันนี้เกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับความคิดในทางตรงข้าม และมีท่าทีที่ไม่ประนีประนอม ในส่วนของนักวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์ รวมทั้งวรรณคดี สุนทรียศาสตร์ ทฤษฎีศิลปะ ดุริยางคศาสตร์ ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ต่อสิ่งที่ดูเหมือนเป็นการคุกคามของสังคมศาสตร์ต่างๆ รากฐานสำหรับความเป็นปรปักษ์กันนี้ได้รับการวางอยู่ อย่างน้อยที่สุดก็ในยุทธศาสตร์ทางวิชาการ และสถาบัน รวมทั้งในอาณาเขตทางการเมืองต่างๆมากเท่ากันกับข้อพิจารณาทางด้านสติปัญญา

ความเหนือกว่าที่เพิ่มขึ้นของวิทยาศาสตร์ซึ่งมีความถูกต้องแม่นยำในช่วงระหว่างและภายหลังสงคราม ได้ชักนำให้บรรดานักวิทยาศาสตร์สังคมจำนวนมากรับเอาข้อสมมุติฐานล่วงหน้า เทคนิคต่างๆ และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสาขาวิชาเหล่านี้มาใช้ มันเป็นการปรับตัวอันหนึ่งที่ทอดเงาลงบนเรื่องราวหรือหัวข้อต่างๆของนักมนุษยศาสตร์และวิธีการตีความในเชิงคุณภาพด้วย นอกจากนี้ การที่การศึกษาขั้นสูงได้มีการขยายตัวออกไป และได้มีการเน้นอย่างเป็นทางการบนวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องแม่นยำ วิชาทางด้านวิทยาศาสตร์สังคมและมนุษยศาสตร์ก็ได้มีการขยายตัวออกไปด้วย ซึ่งไกลห่างจากการดำรงอยู่เพียงปรากฎการณ์อเมริกันเท่านั้น บรรดามหาวิทยาลัยทั้งหลายในประเทศยุโรปส่วนใหญ่ก็ได้มีการขยายตัวขึ้นด้วย ซึ่งได้เป็นเงื่อนไขเชิงโครงสร้างต่างๆที่ทำให้ขอบเขตทางวิทยาศาสตร์สังคมและมนุษยศาสตร์เฟื่องฟูขึ้น แม้ว่ามรดกตกทอดเกี่ยวกับความสงสัยไม่ไว้วางใจในช่วงต้นๆยังคงยืนหยัดฝังแน่นอยู่ แต่มันก็ได้ค่อยๆเงียบลงไปค่อนข้างมาก เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงในสาขาวิชาทั้งคู่ที่ได้สร้างการปรับตัวของมันให้มาบรรจบกันนั่นเอง

ในสหรัฐอเมริกา, ศิลปกรรมต่างๆนั้นได้ถูกศึกษากันเป็นส่วนใหญ่ อันนี้เป็นผลเนื่องมาจากบรรดานักวิชาการที่อพยพเข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาสมาชิกทั้งหลายของนักวิชาการกลุ่ม Frankfurt School อย่างเช่น Theodor Adorno (1976) มันเป็นการคร่อมกันบนถนนสองสายของมนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สังคม คนที่พลัดบ้านพลัดเมืองมาเหล่านี้ยังคงอยู่ชายขอบของกระแสหลัก ซึ่งได้รับการปฏิบัติในฐานะที่เป็นคนนอก.

ความเป็นชายขอบอันนี้ได้รับการยกระดับขึ้นมาโดยการปรับตัวของพวก Marxist ซึ่งบางคนก็ยังเกาะติดหรือยึดมั่นกับแนวทางนี้อยู่ ผนวกกับลักษณะทั่วๆไปเกี่ยวกับทัศนะในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของพวกเขาต่อประสบการณ์นิยมทางวิทยาศาสตร์ ของสังคมวิทยาอเมริกัน และ ในกรณีอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก บรรดา Marxist เหล่านี้ดูถูกต่อสิ่งที่พวกเขาถือว่าเป็นสติปัญญาในแบบตื้นๆ พวกเขาเสียใจมากและไม่เห็นด้วยกับพัฒนาการของสังคมและวัฒนธรรม และผลกระทบของมันที่มีต่อปัจเจกบุคคลและชีวิตทางสติปัญญา การยืนหยัดของพวกเขาบนท่าทีในเชิงคุณค่าอย่างเต็มที่ และการปฏิเสธเกี่ยวกับสิ่งซึ่งพวกเขาเห็นว่ามันเป็นความเป็นเรื่องของวัตถุวิสัยทางวิทยาศาสตร์แบบจินตนาการ(fictive scientific objectivity)ได้มาเสริมพลังการแยกตัวออกไปของพวกเขาจากกระแสหลักทางวิชาการของสังคมวิทยา. แต่อย่างไรก็ตาม, บางคนในหมู่พวกเขาก็เป็นที่ดึงดูดใจให้นักวิชาการอเมริกันบางคนดำเนินรอยตาม ในขอบเขตของทั้งวัฒนธรรมชั้นสูงและวัฒนธรรมในเชิงพาณิชย์.

รากฐานสำหรับการศึกษาชนิดใหม่ทางด้านสังคมเกี่ยวกับศิลปะ (Foundations for a New Social Study of the Arts)

ถึงแม้ว่าในหลายๆประเทศ เนื้อหาทางวิชาการจะถูกอุทิศให้กับเรื่องของสุนทรียศาสตร์ แต่พอมาถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขอบเขตอันเป็นอิสระอันหนึ่งของสังคมวิทยาเกี่ยวกับศิลปะได้แยกออกมาจากปรัชญา ประวัติาสตร์ หรือเนื้อหาการวิจารณ์. อันนี้เป็นกรณีของฝรั่งเศส อย่าง Raymonde Moulin (1986) ที่ได้ทำการสำรวจ โดยผ่านความพยายามต่างๆของ Pierre Bourdieu และพรรคพวกของเขา (1999, 1984) และของ Moulin ตัวของเธอเอง (1986, 1992) ความเป็นผู้นำทางด้านสติปัญญา และการสนับสนุนของสถาบันได้โน้มนำไปสู่การพัฒนาเกี่ยวกับทัศนใหม่ๆ

แต่อย่างไรก็ตาม นักวิชาการทางด้านปรัชญา ดุริยางคศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะเยอรมันยังคงยืนคร่อมอาณาเขตทางด้านสังคมกันต่อไป ในฐานะที่เป็นผู้สืบทอดมรดกของขนบประเพณีแบบ Frankfurt School ทางด้านศิลปะ ทั้งงานวิจิตรศิลป์และพาณิชยศิลป์ ต่างก็เป็นจุดสนใจของการศึกษา

นักวิชาการวรรณคดีอังกฤษและประวัติศาสตร์ได้ซึมซาบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางสังคมของ Raymond Williams ในสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นบทบาทซึ่งมีอิทธิพลเหนือกว่า(hegemonic role)ในทางด้านศิลปะ และได้สร้างฐานล่างของพัฒนาการเกี่ยวกับการศึกษาทางวัฒนธรรมของสหราชอาณาจักรขึ้นมา

ในสหรัฐอเมริกา มีการท้าทายหลากหลายแง่มุมหรือในหลายๆด้านต่อมหาวิทยาลัย การท้าทายนี้เป็นตัวแทนเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สงครามเวียดนาม และสังคมวิทยา”ปกติ”หรือมาตรฐานในทางปฏิบัติ ได้ท้าทายต่อสิ่งที่ได้รับการมองว่าเป็นอคติหรือความโน้มเอียงทางวิทยาศาสตร์ของวิทยาศาสตร์สังคม.

ในขณะเดียวกันนั้น โลกของศิลปะในตัวมันเองได้ประสบกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆซึ่งรวมทั้งการเพิ่มขึ้นมาอย่างมากมายของจำนวนของศิลปิน การเปลี่ยนแปลงอันนี้มีผลทำให้นิวยอร์คกลายเป็นศูนย์กลางของโลกศิลปะหรือตลาดศิลปะนานาชาติ ทั้งนี้เริ่มขึ้นมาจากการที่รัฐบาลชาติได้ให้การอุดหนุนทางการเงินต่อศิลปะนั่นเอง รวมถึงการงอกงามขึ้นมาของมูลนิธิเอกชนที่ให้การสนับสนุนในเรื่องนี้ ส่วนศิลปกรรมทั้งหลายในตัวของมันเอง ได้ปะทุขึ้นมาในขอบเขตต่างๆของแวดวงของมันเอง อย่างเช่น บรรดาศิลปินทั้งหลายได้นำเสนอสื่อใหม่ๆออกมา อันนี้ได้ทำลายอุปสรรคกีดขวางต่างๆออกไป และได้พลิกกลับการจัดจำแนกงานศิลปะในลักษณะสูงต่ำตามขนบประเพณีไปในทางตรงข้าม

กระบวนการอันนี้ ได้เริ่มต้นขึ้นมาราวช่วงต้นๆของศตวรรษที่ 20 เมื่อ Marcel Duchamp ได้รวบรวม (หรือประดิษฐ์) ”found object” ขึ้นมา – อย่างเช่น โถปัสสาวะเซอรามิค, พลั่วตักหิมะ, ล้อรถจักรยาน มาใช้เป็นผลงานศิลปะ เป็นต้น – ทั้งนี้โดยช่วยสงเคราะห์ให้มันมีสถานะของศิลปะ ด้วยการจัดหาชื่อหรือ titles ให้กับพวกมัน และยังได้มีการเซ็นชื่อของศิลปินลงไปบนวัตถุเหล่านั้นด้วย(เพื่อเป็นการยืนยันถึงสถานะความเป็นศิลปะ เข้ามาแทนความเป็นเพียงแค่วัตถุ) การกระทำเช่นนี้ ได้สั่นสะเทือนแนวความคิดเกี่ยวกับมาตรฐานต่างๆของศิลปะอย่างมาก

ด้วยความสนใจในนวัตกรรมต่างๆของเขา(และของศิลปินลัทธิ Dada คนอื่นๆ), บรรดาศิลปินและนักประพันธ์ทางด้านดนตรีเริ่มที่จะทำโทษหรือแก้แค้นความโกลาหลกันตามปกติด้วยขนบประเพณีของศิลปะ John Cage ได้เป็นแม่แบบของการฟื้นฟูอันนี้ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2. John Cage ได้ประพันธ์ดนตรีขึ้นมาบนรากฐานของการโยนไม้อี้จิง(ไม้อี้จิง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเสี่ยงทายชนิดหนึ่งของจีน) ซึ่งได้สร้างสรรค์ดนตรีที่เป็นไปตามดวงขึ้นมา(aleatory music – ดนตรีตามยถากรรมหรือตามความบังเอิญ) เขาได้จัดงานคอนเสริทกลางแจ้งขึ้น ซึ่งผู้ฟังได้รับการเชื้อเชิญให้นำเอาวิทยุทรานซิสเตอร์มา และให้เปิดมันดังที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ไม่ว่าจะสถานีใดก็ตามที่ผู้ฟังต้องการ เพื่อให้มันสร้างเสียงดนตรีขึ้นมา.

ยังมีวิธีการทางวรรณกรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งได้เป็นการขยายสื่อใหม่ๆออกไปอันถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ของวรรณคดี. Dadist Tristan Tzara, ผู้ซึ่งเขียนบทกวีโดยการโยนคำที่ได้ตัดมาจากหนังสือพิมพ์ต่างๆขึ้นไปบนอากาศแล้วปล่อยให้มันตกลงมา จากนั้นเขาก็จะแปะตัวพิมพ์คำเหล่านั้นเข้าด้วยกันตามที่มันล่วงหล่นลงมา (โดยไม่คำนึงถึงไวยกรณ์)(Zolberg, 1990).

มันอาจได้รับการให้เหตุผลว่า สิ่งที่กระทำข้างต้นในนามของศิลปะถือว่าเป็นการประทุษร้าย ซึ่งการประทุษร้ายอันนี้พัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นการตอบโต้กับลัทธิบริโภคนิยมที่เพิ่มขึ้นมาของสังคมทุนนิยมในช่วงหลังนั่นเอง. นี่ไม่ใช่ไอเดียหรือความคิดที่ไม่สลักสำคัญแต่อย่างใด แต่ทว่า มันไม่ได้อธิบายทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างเช่นสังคมวิทยาหรือศิลปะ การเพิ่มขึ้นมาของจำนวนที่มีอย่างมากมายมหาศาลของบรรดาศิลปินที่มีความทะเยอทะยาน สู่งานศิลปะแนวหน้าหรือ avant-garde art และความเจริญงอกงามของมูลนิธิต่างๆ หมู่คณะหรือสมาคม และการสนับสนุนของรัฐบาลในด้านศิลปะ ทั้งหมดนี้จะต้องได้รับการรวมเอาไว้อยู่ในการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจด้วย.

สหรัฐอเมริการะหว่างช่วงเวลานี้ได้เสนอสภาพแวดล้อมอันมีมิตรไมตรีอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน สำหรับบรรดานักวิทยาศาสตร์สังคมซึ่งสนใจในวัฒนธรรมและศิลปะ – ในความสัมพันธ์กับลัทธิบริโภคนิยม, ในฐานะที่เป็นสิทธิอันหนึ่งของพลเมือง และในนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์. ก่อนหน้าปี ค.ศ.1950 นอกจากบทความสองสามบทที่ไม่มากนัก ก็ไม่มีผลงานต่างๆทางด้านสังคมวิทยาหลักๆเพิ่มขึ้นมาบนชั้นหนังสือเล็กๆ บนพื้นฐานของสิ่งที่เป็น”สังคมวิทยาตามปกติ” ในช่วงทศวรรษดังกล่าว มันเป็นความยากที่จะทำนายว่า การเบ่งบานที่ค่อยๆพัฒนาขึ้นมาอันหนึ่งในสังคมวิทยาเกี่ยวกับศิลปะ ยังอยู่ไกลลิบลับมาก

การบ่งชี้เกี่ยวกับแนวโน้มอันนี้ปรากฎตัวอยู่ในผลงานค้นคว้าของ Robert Wilson เรื่อง The Arts in Society (1964) เขาได้เขียนและรวบรวมบทความจำนวนหนึ่งขึ้นมาบนแง่มุมของศิลปะกับสังคม เพื่อเป็นการพิสูจน์ถึงความถูกต้องเกี่ยวกับทางเลือกต่างๆของเขาโดยการยึดถือว่าเป็นประเด็นของตัวเขาเอง เกี่ยวกับความเบี่ยงเบนไอเดียแบบเก่าๆอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งบรรดาศิลปินทั้งหลาย “บ่อยครั้งมองเห็นถึงสิ่งที่กำลังดำเนินไปในสังคม หรือในจิตใจก่อนเล็กน้อยกว่าที่คนอื่นๆ” และอย่างไม่สะท้กสะท้าน “เกี่ยวพันกับผลผลิตต่างๆและผู้ผลิตทั้งหลายของวัฒนธรรมชั้นสูง” อันนี้ได้ทำขึ้นมาโดยการคัดเลือกของตัว Wilson เอง ซึ่งได้วิเคราะห์ถึงบทบาทของศิลปิน, นักกวี, คีตกวี, และนักเต้นรำ. บทความต่างๆโดยคนอื่นๆซึ่งรวมอยู่ในหนังสือเล่มนี้ได้เล็งลงไปที่ผลงานต่างๆทางด้านศิลปะ, นักเขียนต่างๆ, และบุคคลสำคัญทางวรรณกรรม ในฐานะที่เป็นแบบอย่างของภาวะแวดล้อมทางสังคมของพวกเขา อย่างไรก็ตาม คนอื่นๆนั้นได้วิเคราะห์ถึงผลหรืออิทธิพลต่างๆเกี่ยวกับการจัดการของสถาบันบนการปฏิบัติการทางศิลปะ

บรรดานักเขียนบทความที่มีอยู่ในหนังสือเล่มนี้ได้ให้ความสนใจเพียงเล็กน้อยต่อวัฒนธรรมมวลชนหรือวัฒนธรรมป๊อปปูล่าร์ แต่ได้เลือกและพูดถึงวัฒนธรรมชั้นสูง. ในเรื่องนั้นจักต้องได้รับการมองในฐานะที่เป็นการสรรเสริญหรือสดุดีต่อพหุนิยมประชาธิปไตย, และการโต้ตอบกลับอย่างฉับพลันอันหนึ่งต่อ the Frankfurt school ที่โจมตีต่อสังคมมวลชน ความเรียงของ Edward Shils ในเรื่อง “The High Culture of the Age” ให้เหตุผลว่า ไกลห่างจากความเสื่อมสลาย, วัฒนธรรมชั้นสูงได้ถูกเพิ่มคุณค่าความสำคัญโดยการศึกษาที่ขยายตัวออกไปซึ่งได้ทำให้สาธารณชนมีความเป็นคนเมืองหรือผู้ช่ำชองมากขึ้น ซึ่งนั่นได้เพิ่มขยายตลาดต่างๆทางศิลปะ โดยปลดปล่อยศิลปินให้เป็นอิสระจากอุปสรรคหรือสิ่งกีดขวางเกี่ยวกับผู้อุปถัมภ์ส่วนตัว

เพียงไม่กี่ปีหลังมานี้ การรวบรวมบทความขึ้นมาเป็นหนังสืออีกเล่มได้ทำให้ทราบถึงวิธีการของสถาบันอันหนึ่ง ซึ่งได้สำรวจถึงบทบาทหน้าที่ของศิลปะในการเผชิญหน้ากับความต้องการต่างๆของมนุษย์ และธำรงรักษาความมั่นคงทางสังคม(Albrecht, Bernett, and Griff, 1970). บรรณาธิการหนังสือเล่มนี้ได้รวมเอาการศึกษาต่างๆในเรื่องความสัมพันธ์ของรูปแบบและสไตล์ที่มีต่อสถาบันทางสังคมอย่างหลากหลายเข้ามาไว้ อาชีพของศิลปิน และปฏิกริยาของพวกเขาในความหลากหลายเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมทางศิลปะ การเผยแพร่และระบบการให้รางวัล บทบาทต่างๆของบรรดานักวิจารณ์ทั้งหลาย, นักธุรกิจศิลปะ, และสาธารณชนในการยอมรับศิลปินและผลงาน. แม้ว่าในการปรับตัวในเรื่องบทบาทเชิงโครงสร้างของมันจะได้รับการครอบงำโดยความคิดเกี่ยวกับศิลปะที่ว่า มันเป็นพลังอำนาจของการรวมตัวเพื่อรักษาระบบสังคมเอาไว้ และบรรจบกับความต้องการทางอารมณ์ความรู้สึก แต่บรรณาธิการหนังสือเล่มนี้ก็ได้เปิดพื้นที่ให้กับทัศนะที่ไม่เห็นด้วยหรือแตกต่างอื่นๆอย่างกว้างขวาง ซึ่งยอมรับแม้แต่การวิเคราะห์ในเชิง Marxian เอาไว้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น Lucien Goldmann เป็นต้น

กระนั้นก็ตาม, ความเรียงเหล่านี้ยังได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นทารกเกี่ยวกับขอบเขตทางด้านสังคมวิทยาศิลปะ เพราะนักเขียนทั้งหลายที่มีอยู่ในหนังสือเล่มนี้ มีเพียงหนึ่งในสี่เท่านั้นที่เป็นนักสังคมวิทยาจริงๆ ในทางตรงข้าม ส่วนที่เหลือต่างเป็นนักเขียนทางด้านมานุษยวิทยา, วรรณคดีเปรียบเทียบ, ประวัติศาสตร์, และประวัติศาสตร์ศิลป์, หรือบรรดาศิลปินจริงๆ, เช่น จิตรกร, นักเต้นรำ, และนักเขียน. ผลลัพธ์เกี่ยวกับความหลากหลายหรือจับฉ่าย(omnium gatherum)อันนี้ก็คือ Albrecht และบรรดานักเขียนที่ร่วมกันกับเขาได้สร้างขอบเขตของอเมริกันอันหนึ่งขึ้นมา ซึ่งได้รวมเอางานเขียนต่างๆของยุโรปเข้ามาไว้ และมันเป็นการข้ามสาขาอย่างเข้มแข็ง เรียงลำดับจาก งานทางด้านวิจิตรศิลป์, งานคลาสสิคและร่วมสมัย, เช่นเดียวกับงานศิลปกรรมพื้นบ้าน, ดนตรี, การร่ายรำ, และวรรณคดี, และพื้นฐานทางสถาบันที่สอดคล้องลงรอยกัน.

พื้นที่ทางสังคมวิทยาสำหรับแนวโน้มศิลปะที่แพร่หลาย(A Sociological Space for Art-Current Trends)

ความแตกต่างหลากหลายได้กลายมาเป็นเครื่องหมายหรือลักษณะเด่นของการศึกษาทางด้านสังคมวิทยาเกี่ยวกับวัฒนธรรมและศิลปกรรมต่างๆในทุกวันนี้ วิธีการเกี่ยวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่จัดลำดับจากประสบการณ์นิยม(empiricism)ซึ่งวางใจและเชื่อมั่นในเครื่องมือต่างๆเชิงปริมาณ ต่อการวิเคราะห์ข้อมูลที่นำมาใช้ได้เป็นจำนวนมาก อย่างเช่น ระดับของการเข้าถึงแหล่งต้นตอทางวัฒนธรรม เพื่อสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติการในโลกศิลปะและการศึกษาเกี่ยวกับผู้ชมงาน เท่าๆกันกับวิธีการแบบประสบการณ์นิยม แต่มีพื้นฐานอยู่บนการสังเกตุลงไปในขอบเขตที่เล็กกว่า และการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณเกี่ยวกับปฏิบัติการทั้งหลายทางวัฒนธรรม อันนี้เป็นงานวิชาการทางด้านชาติพันธุ์วรรณาของ Howard S. Becker ในเรื่อง Art Worlds (1982).

ทัศนะทางประวัติศาสตร์และสัญลักษณ์ศาสตร์(semiotic)[หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับเครื่องหมายและสัญลักษณ์รวมทั้งความหมายของมัน] ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางวรรณกรรมสู่การศึกษาต่างๆทางสังคม. ยิ่งกว่านั้น สิ่งซึ่งน่าประทับใจยิ่งกว่าก็คือ ลำดับการณ์ของผลงานต่างๆและรูปแบบทางศิลปะทั้งหลายที่มีการสำรวจได้ผลิดอกออกผลและรวมเอาขอบเขตในเชิงพาณิชย์เข้ามาด้วย. แต่อย่างไรก็ตาม บรรดานักสังคมวิทยาต่างยอมรับในคุณค่าที่ว่า ศิลปกรรมต่างๆอาจจะเป็นวิธีการอันหนึ่ง ที่จะกันหรือแยกชนชั้นบางชนชั้นของศิลปินออกไป อย่างเช่น ผู้หญิง และพวกชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติ จากสิ่งที่ได้รับการนิยามในฐานะที่เป็นความโดดเด่นส่วนใหญ่ ในรูปแบบทางศิลปะต่างๆที่ผิดแผกออกไป

สิ่งที่แตกต่างมากสุดเกี่ยวกับสังคมวิทยาสกุลอเมริกันก็คือ การสังเคราะห์หรือการรวมตัวกันอันหนึ่งเกี่ยวกับวิธีการอันหลากหลาย เพื่อศึกษาทางด้านสังคม เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์, ศาสนา, และผลงาน, มารวมตัวกันภายใต้หัวเรื่องสีแดงของ”ผลิตผลทางวัฒนธรรม”. การนิยามวัฒนธรรมในความหมายกว้างๆ ซึ่งผูกพันมันกับมานุษยวิทยา – ศิลปะในลักษณะเชิงประกอบ, วัฒนธรรมป๊อปปูล่าร์, วิทยาศาสตร์, ศาสนา, และสัญลักษณ์ต่างๆ, Richard Peterson ปลุกเร้าว่า “คำถามหรือปัญหาต่างๆดังกล่าวที่ทะลุทะลวง ควรจะตัดสินในตัวของพวกมันเองถึงประโยชน์เกี่ยวกับวิธีการที่ผูกพันอยู่กับเหตุการณ์ที่ดำรงอยู่ในช่วงเวลาที่จำกัดหนึ่ง หรือเกินกว่าช่วงเวลาหนึ่ง อันเป็นไปตามความเหมาะสมของพวกมัน”.

ผู้ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับวิธีการอันนี้พิจารณาว่าผลิตผลทางวัฒนรรม ได้รับการสร้างตัวขึ้นมาอย่างไร มีการเน้นหนักถึงผลกระทบเกี่ยวกับการจัดการเชิงสถาบันและโครงสร้าง ทั้งคู่มีส่วนในการให้ความสะดวกหรือเป็นตัวขัดขวางหน่วงเหนี่ยวต่อการสร้างสรรค์.

Peterson ยังได้สนับสนุนทัศนแนวพันธุศาสตร์(genetic perspective)ด้วย ซึ่งปฏิบัติกับวัฒนธรรมในฐานะที่เป็น”รหัส”(code)ทางพันธุกรรม โดยที่โครงสร้างทางสังคมได้ผลิตซ้ำตัวของมันเองขึ้นมา อันเป็นรากฐานของการทำความเข้าใจว่า วัฒนธรรมได้ถูกรับมาโดยคนแต่ละคนซึ่งแสดงอัตลักษณะทางสังคมอันแตกต่างอย่างไร อันนี้เกี่ยวพันกันกับการสนใจลงไปในบทบาทของครอบครัว, การศึกษา, สื่อ, และสถาบันที่บ่มเพาะอื่นๆ และตัวแทนต่างๆ ที่ไม่ได้รับการตามติดอย่างกระตือรือร้นโดยบรรดานักสังคมวิทยาชาวอเมริกันในความสัมพันธ์กับศิลปะต่างๆ วิธีการของพวกเขาได้รับการขยายกว้างออกไปค่อนข้างมาก ผ่านการผสมผสานเข้าด้วยกันของพวกเขากับชาวยุโรปและนักวิชาการที่ไม่ใช่ชาวตะวันตก

สถาบันและขบวนการต่างๆ(Institutions and Processes)

บทบาทของสถาบันต่างๆ อย่างเช่น สถาบันทางวิชาการที่เป็นทางการ และตัวแทนรัฐบาลหรือกระทรวงต่างๆ ในการจัดหาหรือเตรียมให้การสนับสนุนกับการสร้างสรรค์ทางศิลปะหรือในทางกลับกัน เป็นตัวสกัดกั้นหรือทำลาย ได้รับการอธิบายโดยบรรดานักวิจารณ์และศิลปินนับตั้งแต่ที่สถาบันเหล่านี้ได้มีการก่อตัวขึ้นมาเลยทีเดียว. แต่อย่างไรก็ตาม การบุกเบิกในทางการศึกษาด้านสังคมวิทยาโดย Harrison White และ Cynthia White เกี่ยวกับโลกจิตรกรรมฝรั่งเศสในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19 เป็นหนึ่งในช่วงแรกๆที่วิเคราะห์อย่างเป็นระบบถึงการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของโอกาสที่ว่า สถาบันวิชาการฝรั่งเศสหรือ French Academy ได้ตระเตรียมขึ้นมาเพื่อบรรดาศิลปินทั้งหลาย. Whites ได้สร้างข้อมูลเชิงปริมาณขึ้นมาใหม่เพื่อแสดงให้เห็นว่า การรับสมาชิกใหม่ของสถาบันวิชาการหรืออคาเดมี บทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษา การตลาด ประสบความสำเร็จในการดึงดูดผู้สมัครต่างๆเพิ่มมากขึ้นอย่างไร ต่อสิ่งซึ่งเป็นอาชีพอันมีเกียรติและได้กำไรงาม.

แต่ความสำเร็จจริงๆของสถาบันหรืออคาเดมีนี้ ได้ทำให้มันถูกครอบงำโดยผู้ทะยานอยากต่างๆ, สู่จุดที่ทั้งศิลปินและนักวิชาการที่ประสบความสำเร็จแล้ว ได้แปรผันไปสู่ความเป็นนักธุรกิจศิลปะ ผู้ซึ่งได้บ่มเพาะลูกค้ารวมๆที่เป็นชนชั้นกลางใหม่ขึ้นมาเพื่อที่จะขายผลงานศิลปะต่างๆของพวกเขา. ในขณะที่ตลาดศิลปะอันนี้ได้ขยายตัวออกไป ศิลปะสไตล์ใหม่ๆ อย่างเช่น ลัทธิ Impressionism ได้โดดเด่นขึ้นมา ซึ่งพวกอนุรักษ์นิยมของ Academy ต่างก็อิจฉาริษยาและต่อว่าลัทธินี้อย่างรุนแรง.

การศึกษาเมื่อเร็วๆนี้เกี่ยวกับว่าสถาบันวิชาการหรืออคาเดมีต่างๆ มีการคัดเลือกผลงานและโดยยอมให้เข้ามาได้อย่างไร และความเกี่ยวพันต่างๆกับบรรดาศิลปินทั้งหลาย. การศึกษานี้ได้ทำขึ้นมาโดย Gladys Engel Lang และ Kurt Lang . การเพ่งเล็งลงไปที่การฟื้นฟูเกี่ยวกับงาน etching(งานภาพพิมพ์บนแม่พิมพ์โลหะ) ในฐานะที่เป็นรูปแบบศิลปะอย่างหนึ่งในคริสตศตวรรษที่ 19 พวกเขาได้แสดงให้เห็นว่ามีการกีดกัน หรือสร้างข้อจำกัดขึ้นมาที่เข้มงวดมากอย่างไร นอกจากนี้ในเรื่องที่เกี่ยวกับผู้หญิง-ในฐานะที่เป็นนักศึกษาและสมาชิกโดยบรรดาสถาบันวิชาการของยุโรปต่างๆ ก็ได้มีการขัดขวางการเข้ามาของพวกเธอสู่โลกที่ถือว่าเป็นโลกชั้นสูงของงานจิตรกรรมสีน้ำมัน.

เมื่อหันเหไปยังเรื่องอื่นๆ อย่างเช่น งานภาพพิมพ์ประเภท etching และ งานจิตรกรรมสีน้ำ องค์กรอาชีพของงานเหล่านี้ที่ใหม่กว่าและมีข้อจำกัดน้อยกว่า บรรดาศิลปินหญิงที่มีความทะเยอทะยาน สามารถที่จะเข้าไปในแวดวงเหล่านี้ได้สำเร็จ และบรรลุถึงมาตรการอันหนึ่งเกี่ยวกับสถานะและการเป็นที่ยอมรับ

การวิจัยในเรื่องสถาบันต่างๆทางศิลปะของฝรั่งเศสยังคงเจริญเฟื่องฟูต่อไปด้วยผลงานของ Moulin ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ท่ามกลางพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะทั้งหลาย ตลาดศิลปะ, และนโยบายของรัฐบาลในการจัดหาความยอมรับที่เป็นทางการขึ้นมา สำหรับนวัตกรรมใหม่ๆทางศิลปะ. ในสหรัฐอเมริกา ระบบอันหนึ่งซึ่งการสนับสนุนของรัฐบาลกลาง(ชาติ)ได้ให้การส่งเสริมงานทางศิลปะต่างๆไปไกลเกินกว่าจะถูกจำกัด และเสื่อมถอยลงไปได้

ตามข้อเท็จจริง ด้วยความเจริญเติบโตขึ้นมาภายหลังสงครามของรัฐบาลซึ่งได้ให้เงินช่วยเหลือในประเทศต่างๆมากมาย ผลหรืออิทธิพลดังกล่าวเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลจึงได้ถูกสำรวจและทำการตรวจสอบในประเทศอื่นๆด้วย. ตามมาด้วยการนำของ Bourdieu และผู้ซึ่งคบค้าสมาคมกับเขา บรรดานักวิจัยอังกฤษได้สำรวจถึงการเปลี่ยนแปลงของสถาบันทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในการเป็นตัวแทนทางศิลปะที่มีต่อสาธารณชนใหม่ ขณะเดียวกันก็มีนักวิจัยสังคมวิทยาชาว Dutch หลายคนด้วยเช่นกันที่ศึกษาเรื่องนี้

ปฏิบัติการต่างๆทางศิลปะ และโลกต่างๆของศิลปะ(Artistic Practices and Worlds of Art)

ภายในกระบวนการสร้างสรรค์เอง งานเขียนหลักชิ้นหนึ่งได้พยายามศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ศิลปกรรมต่างๆว่า ศิลปกรรมทั้งหลายได้รับการก่อตัวขึ้นมาอย่างไร อันนี้เป็นงานเขียนของ Becker ในเรื่อง Art Worlds (1982). โดยการปรับหรือดัดแปลง”สังคมวิทยาเกี่ยวกับผลงาน” ซึ่งเป็นวิธีการทางการศึกษาอันหนึ่งถึงสิ่งที่ได้รับการมองในเชิงขนบประเพณี ในฐานะที่เป็นการสร้างสรรค์ที่มีลักษณะเฉพาะต่างๆ เกี่ยกับอัจฉริยภาพของปัจเจก.

Becker เริ่มต้นจากหลักฐานสนับสนุนที่ว่าการสร้างงานศิลปะ มิได้มีความแตกต่างในเชิงคุณภาพจากกิจกรรมทางสังคมอื่นๆ. เขาได้เริ่มงานโดยการถกเถียงด้วยความเชื่อมั่นว่า ไกลห่างไปจากการกระทำในลักษณะโดดๆอย่างหนึ่ง การสร้างงานศิลปะต้องการถูกทำความเข้าใจในฐานะที่เป็นกระบวนการที่มารวมกัน ซึ่งเป็นปฏิกริยาต่างๆท่ามกลางการมีส่วนร่วมอื่นๆ ของผู้ที่ถูกเรียกว่าศิลปินเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ในผลลัพธ์ในการผลิตของ”งานศิลปะต่าง”. การมีส่วนร่วมอย่างอื่นๆ – ที่สนับสนุนคนทำงาน – อาจเรียงลำดับจากคนที่ช่วยเหลือไปจนกระทั่งถึงคนรับใช้ หรือจากผู้จัดการจนกระทั่งถึงตัวแทนต่างๆ, นักวิจารณ์ทั้งหลาย, ผู้ซื้อ, และองค์กรที่เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งหลาย.

เมื่อพิจารณาถึงขนาดและความซับซ้อนของสังคมสมัยใหม่ต่างๆ Becker ไม่ได้ลดศิลปกรรมต่างๆลงไปให้เหลือเพียงโลกของศิลปะอย่างโดดๆ. เขาได้ให้เหตุผลว่าการสร้างงานศิลปะได้รับการก่อตัวขึ้นมาในโลกศิลปะจากโครงร่างสำคัญ 4 ประการ, แต่ละอย่างนั้นถูกทำให้มีอัตลักษณ์โดยสไตล์อันหนึ่งโดยเฉพาะของการทำงาน ดังที่มันได้วางรากฐานอยู่บนขนบธรรมเนียมของตัวมันเอง. ดังนั้น, ศิลปินที่รวมตัวกันโดยอาชีพจึงได้รับการฝึกฝนไปตามขนบประเพณีของรูปแบบงานศิลปะแต่ละประเภท, อย่างเช่น ดนตรี, จิตรกรรม, และการร่ายรำ, ภายในอาณาจักรของวัฒนธรรมชั้นสูงหรือพาณิชย์ศิลป์อย่างใดอย่างหนึ่ง.

พวกที่เป็นอิสระก็ได้รับการฝึกฝนไปตามขนบธรรมเนียมเหล่านั้นด้วย แต่ปฏิเสธที่จะยึดติดกับสิ่งดังกล่าว พวกนี้ชอบเสี่ยงที่จะโดดเดี่ยวออกมาและล้มเหลวในการที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และดำเนินไปตามวิถีทางของตน. ส่วนบรรดาศิลปินพื้นบ้านทั้งหลายก็ทำงานภายใต้ขนบประเพณีที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติอยู่ในชุมชนของตนหรือตามนิยายพื้นบ้านต่างๆ. ท้ายที่สุด ซึ่งอยู่พ้นไปจากโลกศิลปะที่สร้างขึ้นในความเป็นจริง และมีการรวมตัวกันน้อยที่สุดก็คือ”บรรดาศิลปินไร้เดียงสา” หรือ Na?ve artist, ซึ่งมิได้ร่ำเรียนหรือฝึกฝนมาในทางศิลปะโดยตรง แต่ได้ทำงานไปตามแรงกระตุ้นหรือผลักดันภายในอันหนึ่ง ผลงานของศิลปินเหล่านี้เป็นตัวแทนของประสบการณ์ซึ่งมีลักษณะที่เฉพาะตัว นั่นอาจหมายรวมถึงสัญลักษณ์นิยมทางศาสนา, การเป็นตัวแทนของความทรงจำส่วนตัว, หรือแม้กระทั่งการเบี่ยงเบนไปจากปกติและความบ้าๆบอๆ. ในทางตรงข้าม โลกศิลปะอื่นๆก็ได้ผูกพันกับสถาบันหรือนักปฏิบัติการต่างๆของโลกศิลปะที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ปกติ หรือสร้างมันขึ้นมาให้เป็นไปตามเป้าหมายเพื่อพัฒนาความผูกพันไปกับสิ่งเหล่านั้น ศิลปิน Na?ve ทั้งหลายจะต้องได้รับการค้นพบโดยคนอื่นๆ หรือถ้าไม่เช่นนั้น ก็ยังคงไม่เป็นที่รู้จัก.

โครงสร้างต่างๆภายในท่ามกลางกลุ่มที่เป็นทางการของบรรดาศิลปินแนวสร้างสรรค์ รวมไปถึงความผูกพันต่างๆของพวกเขาที่มีต่อบริบททางสังคม สิ่งเหล่านี้ได้รับการวิเคราะห์โดย Charles Kadushin. เค้าโครงการวิเคราะห์ของเขาเน้นเรื่องวงการภายใน และเครือข่ายต่างๆเกี่ยวกับ การสื่อสารสู่ผู้ให้การสนับสนุนทั้งหลายภายนอก. ในการไต่ถามของเขาในเรื่องการถือกำเนิดขึ้นมาของ the New York school เกี่ยวกับผลงานศิลปะ Abstract Expressionism ได้แสดงให้เห็นว่า วงการที่เดินไปตามแนวทางดังกล่าว ได้ส่งเสริมการสร้างสรรค์ซึ่งสวนทางกันกลับรูปแบบต่างๆตามขนบประเพณี และศิลปินกลุ่มนี้ได้แสวงหาการสนับสนุนร่วมกันในการเผชิญหน้ากับการปฏิเสธโดยผู้เฝ้าประตูโลกศิลปะที่ได้รับการสถาปนาขึ้นมาก่อนหน้านี้.

การขาดเสียซึ่งช่องทางที่จะนำเข้าไปสู่แกลอรี่แสดงภาพต่างๆ หรือสถาบันอันมีชื่อเสียงทั้งหลาย อิสระชนเหล่านี้และผู้ให้การสนับสนุนทั้งปวงได้ริเริ่มเครือข่ายความสัมพันธ์ขึ้นมากับตัวแทนภายนอกที่มีความสำคัญ อาทิเช่น สื่อ และองค์กรต่างๆ โดยผ่านสิ่งซึ่งพวกเขายอมรับได้ และได้เป็นที่รู้จักในที่สุด. อย่างไรก็ตาม ในการพลิกผันของพวกเขา พวกเขาเริ่มเก็บรักษาหรือสะสมบุคคลที่มาใหม่ซึ่งเป็นที่ยอมรับเพิ่มมากขึ้นเข้ามาสู่แก่นกลางของพวกเขา ด้วยเหตุนี้มันจึงปลุกเร้าการสร้างสรรค์เกี่ยวกับวงการที่แข่งขันกันต่างๆขึ้นมา.

ศิลปะและสาธารณชน : การจำลองทางสถานภาพและเรื่องรสนิยม (Art and its Publics : Status Reproduction and Taste)

หนึ่งในคติพจน์ที่เข้าใจกันผิดๆมากที่สุดมาทุกยุคทุกสมัยก็คือ สุภาษิตที่ว่า “การประเมินคุณค่าหรือความซาบซึ้ง จะต้องเป็นการลิ้มชิมรส ไม่ใช่การโต้แย้ง”. ในความเป็นจริง เรื่องรสนิยมนั้น มักจะถูกนำมาโต้เถียงกันเสมอ. Thorstein Veblen เป็นหนึ่งในนักวิชาการคนแรกๆทางสังคมศาสตร์ที่ได้ตีความเกี่ยวกับความหมายต่างๆทางสัญลักษณ์ของรสนิยม ที่แสดงออกมาในงานวิเคราะห์ของเขาเกี่ยวกับพฤติกรรมในเวลาว่างทางชนชั้นในช่วงระหว่างยุคที่เรียกว่า Gilded Age (ยุคเคลือบทอง). ราวๆใกล้เคียงกันกับครึ่งศตวรรษต่อมาภายหลัง Russell Lynes ได้พิมพ์งานที่จัดเป็นหมวดหมู่เกี่ยวกับ ความชื่นชอบทางรสนิยมของชนชั้นสูง, ชนชั้นกลาง, และชนที่ไม่มีความรู้หรือวัฒนธรรม(lowbrow) ซึ่งผลงานทางศิลปะและแฟชั่นได้ถูกนำมาใช้ในฐานะที่เป็นเครื่องหมายต่างๆทางสถานภาพ.

บนพื้นฐานของงานเขียนต่างๆโดยผู้สังเกตุการณ์เหล่านี้และนักสังสังเกตุการณ์ที่ฉลาดคนอื่นๆ บรรดานักสังคมวิทยาเป็นจำนวนมากได้บันทึกเอาไว้ว่า รสนิยมในงานศิลปะ งานออกแบบ และแฟชั่น อาจกำลังเปิดเผยให้เห็นถึงจุดยืนทางสังคมของคนๆหนึ่ง. ไกลห่างไปจากการมองรสนิยมว่าเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญหรือหยุมหยิม เป็นเรื่องส่วนตัวอย่างบริสุทธิ์ และยากแก่การหยั่งลึงลงไป(ทั้งนี้เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุผล) นักสังคมวิทยาหลายคน เช่น Bourdieu โต้แย้งว่า รสนิยมนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสังคมในการสร้างตัวของมันขึ้นมา สัญลักษณ์ในการแสดงออกของมัน และมีผลที่ตามมาทางสังคมสำหรับปัจเจกบุคคลทั้งหลายและสถาบันทางสังคมต่างๆ.

ในผลงานบุกเบิกของ Herbert Gans ในเรื่องวัฒนธรรมต่างๆทางรสนิยมของผู้บริโภคชาวอเมริกัน ได้มีการพิจารณาถึงศิลปกรรมต่างๆในฐานะที่เป็นสิทธิอันชอบธรรมอันหนึ่งของทางเลือกที่เป็นประชาธิปไตย. ตรงกันข้ามกับการเยาะเย้ยหรือการดูถูก (ซึ่งสั่งสมอยู่บนระดับการศึกษาน้อย หรือเกี่ยวกับการอยู่อาศัยในพื้นที่ชนบทต่างๆ(บ้านนอก) หรือในความยากจนมากๆ) สำหรับความชื่นชมในรูปแบบงานศิลปะแบบป๊อปปูล่าร์, และรูปงานศิลปะเชิงพาณิชยศิลป์ (เช่น เพลงหรือดนตรีแนวป๊อป, คำสอน ความเชื่อแบบชนบทหรือตะวันตก), Gans ได้ท้าทายทั้งสื่อของรัฐบาล และสื่อทางการพาณิชย์เพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชนในการเข้าใจหรือซาบซึ้งกับรูปแบบวัฒนธรรมชั้นสูง และทำให้มันสามารถเข้าถึงได้ ทั้งทางตรงหรือโดยผ่านวิทยุหรือสื่ออื่นๆ. ถ้าหากว่าสถาบันต่างๆเหล่านี้ หรือตัวแทนทั้งหลาย และบริษัทห้างร้านต่างๆมิได้จัดหารูปแบบทางวัฒนธรรมเหล่านี้เอาไว้ให้แล้ว พวกเขาก็จะถูกละทิ้งท่าทีในการตัดสิน ซึ่งจะเปลี่ยนรสนิยมที่ผิดพลาดไปสู่การเป็นอาวุธอันหนึ่งของการดูถูกหรือสบประมาท ต่อ การถูกถอนสิทธิทางวัฒนธรรม.

พ้นไปจากความคิดเรื่องรสนิยม ในฐานะที่เป็นสิทธิอันชอบธรรมของลัทธิบริโภคนิยม, Bourdieu ได้มีการสังเกตุเกี่ยวกับความแตกต่างกันทางสังคมต่างๆในรสนิยมของบรรดาศิลปินทั้งหลาย สู่ระดับซึ่งมีความซับซ้อนมากเกี่ยวกับการวิเคราะห์. เขาได้แสดงให้เห็นความเชื่อมประสานกันท่ามกลางรสนิยม สถานะทางสัญลักษณ์ และลัทธิกลไกซึ่งมันมีแนวโน้มที่จะจำลองถานภาพที่สูงต่ำซึ่งดำรงอยู่ขึ้นมาใหม่ในสังคมวงกว้าง จากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง.

การพิจารณา”รสนิยม”ในฐานะที่เป็นแง่มุมอันหนึ่งของ”กระเป๋าทางวัฒนธรรม”ของปัจเจกบุคคล การกำหนดทิศทางโครงสร้างพฤติกรรมอันมั่นคงยั่งยืนอันหนึ่ง ซึ่งต้นตอกำเนิดของมันถือกำเนิดขึ้นมาจากชีวิตในช่วงวัยเด็กและชีวิตในโรงเรียน. Bourdieu ได้ใช้วิธีการอันหลากหลาย ทั้งในเชิงปริมาณและลักษณะทางชาติพันธุ์วรรณา เพื่อแสดงให้เห็นว่า รสนิยมมีบทบาทหน้าที่ในฐานะที่เป็นรูปแบบหนึ่งของพื้นฐานที่ตกผลึก ซึ่งไม่เท่ากันบนพื้นฐานทางเศรษฐกิจและความได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางสังคมอย่างไร. ในหนทางนี้ รสนิยมจึงกลายเป็นเหรียญ หรือเข็มเหน็บ หรือกระดุมที่ใช้ประดับของเกียรติยศศักดิ์ศรีทางสังคมหรือการถูกสบประมาทหรือถูกดูหมิ่นทางสังคม มันเป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องแสดงต่อกลุ่มอิทธิพลต่างๆที่ใครบางคนได้ให้การยอมรับมากกว่าคนอื่นๆ.

บรรดานักสังคมวิทยาชาวอังกฤษทางด้านวัฒนธรรมหลายคน กำลังดำเนินรอยตามการจำลองทางวัฒนธรรม จากจุดยืนในเชิงเปรียบเทียบอันหนึ่ง. ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการสังเกตุส่วนใหญ่เกี่ยวกับรสนิยมก็ตาม, แต่หลายคนมากได้วิเคราะห์ถึงเนื้อหาอันนี้และใช้ประโยชน์เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสุนทรียภาพ ทั้งวัฒนธรรมสุนทรียภาพของชนชั้นสูงและประชาชนทั่วไป.

Williams ได้เริ่มต้นจากมุมมองหรือทัศนวิสัยแบบ Marxian คนหนึ่ง และมีการเคลื่อนไหวระหว่างการวิจารณ์ภาพยนตร์หรือวรรณกรรมและชีวิตทางวิชาการ ซึ่งได้เป็นอิทธิพลหลักที่สำคัญอันหนึ่งบนสิ่งซึ่งได้กลายเป็นขอบเขตหรือสนามของการศึกษาต่างๆทางวัฒนธรรม พ้นไปจากความลงรอยสอดคล้องเกี่ยวกับพื้นฐานโครงสร้างส่วนบนที่ง่ายๆธรรมดาของลัทธิ Marxism, ที่ซึ่งวัฒนธรรมได้รับการเข้าใจในฐานะที่เป็นเพียงปรากฏการณ์ที่ตามมาต่อความสัมพันธ์ทางการผลิตที่ดำรงอยู่ Williams และบรรดาผู้ติดตามเขา รวมไปถึง Stuart Hall และ Janet Wolff, ท่ามกลางคนอื่นๆอีกจำนวนมาก ต่างเข้าใจว่า วัฒนธรรมเป็นปฏิบัติการซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอันหนึ่งในการสร้างความหมายต่างๆทางสังคมขึ้นมา.

มันเป็นความพยายามที่จะเอาชนะลักษณะทั่วๆไป ทำให้เป็นการศึกษาหรือพิจารณาโดยการแยกออกจากบริบท(decontextualized), แบบหรือวิธีการวิพากษ์ทางวรรณกรรมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ โดยการอธิบายอย่างชัดเจนถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ด้านหนึ่ง, ภาพลักษณ์ต่างๆทางวัฒนธรรม, วัตถุสิ่งของต่างๆ, และการปฏิบัติการ, กับอีกด้านหนึ่ง สถาบันทั้งหลายทางสังคมและกระบวนการต่างๆ. บรรดานักวิชาการที่สัมพันธ์กันกับ the Bermingham Centre for Contemporary Cutural Studies (ศูนย์กลางการศึกษาวัฒนธรรมร่วมสมัยแห่งเบอร์มิงแฮม) ได้ทำการวิเคราะห์แง่มุมต่างๆมากมายเกี่ยวกับวัฒนธรรมรองของคนหนุ่มสาวแห่งสหราชอาณาจักร และความสัมพันธ์ของพวกเขาต่อสไตล์ทางศิลปะใหม่ๆ.

เรื่องของรสนิยมเป็นกิ่งก้านสาขาหนึ่งของสถานภาพทางสังคมวิทยาเศรษฐศาสตร์ หรือเป็นกลไกอันหนึ่งของการจำลองสถานภาพทางสังคมใช่ไหม ? หรือความเชื่อมโยงที่สลับซับซ้อนมากใช่หรือไม่ ? มันอาจจะเข้าใจผิดกันก็ได้ที่จะเสนอว่า มันเป็นที่ยอมรับกันอย่างสมบูรณ์ในท่ามกลางนักสังคมวิทยาทั้งหลายเกี่ยวกับว่า ทำไมรสนิยมและสถานภาพจึงถูกนำมาเกี่ยวข้องกับ และได้ส่งผลให้เกิดอะไรขึ้นตามมา.

ผู้คนจำนวนมากพบว่า มันจำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงที่มองเห็นได้ในแบบแผนทางสังคมที่แบ่งออกเป็นชั้นๆ และเงื่อนไขต่างๆเกี่ยวกับการแสดงออกของผู้คนเหล่านี้. ในทางตรงข้าม Bourdieu ให้เหตุผลถึงความชำนาญในการจัดการทางสัญลักษณ์ที่สำคัญโดยผ่านหลักเกณฑ์ต่างๆที่สลับซับซ้อนที่นำมาใช้ในการสั่งสอนของชนชั้นที่มีอิทธิพล, David Halle, ผู้ซึ่งศึกษาเรื่องของการสะสมและการแสดงทางด้านศิลปะภายในบ้านเรือนของผู้คน ซึ่งได้ให้เหตุผลที่ต่างออกไป.

การสัมภาษณ์ของ David Halle ต่อบรรดานักสะสมที่เป็นพวกชนชั้นสูงเกี่ยวกับศิลปะนามธรรมได้แสดงให้เห็นว่า คนเหล่านี้มีความเข้าใจศิลปะนามธรรมเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่มีอยู่ในบ้านของพวกเขา ซึ่งมันเกือบๆจะเป็นเรื่องลึกลับ(ที่รู้กับเฉพาะเพียงไม่กี่คน – esoteric) สำหรับพวกเขาเท่าๆกันกับพวกที่ไม่ใช่พวกชนชั้นสูง. ตามข้อเท็จจริง, Halle พบว่า การมีส่วนร่วมปันที่แผ่ออกไปของรสนิยม มันข้ามเส้นสถานภาพต่างๆไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันบ่งชี้ถึงอะไรที่ใกล้ๆกับความเป็นสากล และมันปรากฎว่า คล้ายคลึงกับความซาบซึ้งเกี่ยวกับภาพประเภททิวทัศน์. ยิ่งไปกว่านั้น, แม้ระดับการศึกษาจะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มีความสามารถเกี่ยวกับรสนิยมทางวัฒนธรรมชั้นสูง แต่ชนกลุ่มน้อยและเชื้อชาติได้แสดงบทบาทต่างๆที่สำคัญในสิ่งที่ว่า ทำไมผู้คนจึงเลือกผลงานต่างๆสำหรับบ้านของตนเอง ซึ่งขัดแย้งกับการโต้ตอบของพวกเขาต่อแบบสอบถามต่างๆ ที่จัดการอยู่ในพื้นที่สาธารณะ.

พ้นไปจากความเชื่อมโยงกันที่ได้รับการสร้างขึ้นมาโดย Bourdieu, Gans, Lynes, และผู้ค้นคว้าทั้งหลายระหว่างสถานภาพทางสังคม และ ชนชั้นทางสังคม, หรือความสำเร็จทางการศึกษา, คนอื่นๆพบว่า แนวความคิดของพวกเราเกี่ยวกับสถานภาพทางสังคมต้องการที่จะรวมเอาเรื่องเพศ, เชื้อชาติ, และการเป็นชนกลุ่มน้อยเข้าไปด้วย.

ในการศึกษาต่างๆเกี่ยวกับรสนิยมทางด้านดนตรีได้รับการนำไปเชื่อมโยงกับสถานภาพที่ครอบครองอยู่ว่ามันมีความสัมพันธ์กันอย่างไร, Peterson และ Simkus เสนอว่า ถึงแม้ว่าดนตรีคลาสสิคยังคงมีสถานภาพอันหนึ่งอยู่ในกลุ่มคนที่ครอบครองสถานภาพที่สูง แต่สิ่งซึ่งเด่นชัดยิ่งกว่าก็คือความกว้างมากๆเกี่ยวกับความชอบของกลุ่มคนเหล่านี้สำหรับความหลากหลายอันหนึ่งเกี่ยวกับดนตรีต่างๆ. ด้วยเหตุนี้ น้อยกว่าหนึ่งในสามของผู้ซึ่งครอบครองความมีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพกล่าวว่า ดนตรีคลาสสิคดีที่สุด แต่ที่น่าประหลาดใจก็คือ สัดส่วนที่ค่อนข้างมากกว่าของกลุ่มคนชนชั้นสูง ให้การตอบรับว่าชื่นชอบกับดนตรีลูกทุ่งและดนตรีแนวตะวันตกมากกว่าเมื่อเทียบกับดนตรีโอเปร่าอันยิ่งใหญ่. สิ่งที่เป็นความแตกต่างมากก็คือ คนแต่ละคนซึ่งมีสถานภาพสูงมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางวัฒนธรรม และเพลิดเพลินกับลำดับการที่กว้างขวางเกี่ยวกับดนตรีมากกว่าผู้คนเหล่านั้นซึ่งมีสถานภาพที่น้อยหรือต่ำกว่า. ดังที่ Peterson และ Simkus เสนอว่า พวกชนชั้นสูงที่มีอยู่ไม่มากนัก พวกนี้คือพวกที่เรียกว่า”omnivore”(กินทุกอย่าง-สวาปามทุกอย่าง). ในทางตรงข้าม ชนชั้นล่างที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก มีลำดับการที่จำกัดมากสำหรับพวกเขาเกี่ยวกับรสนิยมในด้านดนตรี ทำให้พวกเขาเป็นพวกที่เรียกว่า”univore”(กินหรือชื่นชอบเพียงอย่างเดียว).

อะไรคือศิลปะ ? (But what is art?)

เมื่อไม่นานมานี้ นักสังคมวิทยาบางคนได้หันความสนใจของพวกเขาไปยัง การจำแนกงานศิลปะที่ได้รับการสร้างขึ้นมาว่า มันเป็นอย่างไรและทำไม ? บางคนได้ตั้งคำถามว่าหลักการต่างๆทางศิลปะได้ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไรหรือว่าทำไม. ศิลปะคือเสาหลักต้นหนึ่งในสังเวียนของการแข่งขัน ซึ่งแพร่หลายไปทั่วชีวิตสังคมวงกว้าง ดังที่ Bourdieu ยืนยัน ไม่ใช่เพียงแค่ศิลปินเองเท่านั้นที่เป็นผู้สร้างโลกศิลปะขึ้นมา แต่สำหรับผู้ให้การสนับสนุนพวกเขา, ผู้อุปการะ(ลูกค้า), นักสะสม, และผู้ค้าขายงานศิลปะ, และเพื่อนนักเขียนต่างๆและนักวิชาการ คนเหล่านี้โดยรวมได้สร้างโลกศิลปะขึ้นมาในโลกที่พวกเขาอาศัยอยู่.

ภายใต้แรงกดดันจากสาธารณชนที่มีศักยภาพ พลังอำนาจของตลาด รวมไปถึงบรรดานักสะสมงานศิลปะทั้งหลาย และปฏิบัติการทางการเมือง รวมทั้งการเปิดกว้างของงานวิจิตรศิลป์สู่สื่อใหม่ๆ สถาบันทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ อย่างเช่น พิพิธภัณฑ์ทางศิลปะ กำลังแสดงนิทรรศการผลงานศิลปะต่างๆอย่างหลากหลาย.

ในทางตรงข้าม ก่อนหน้านั้น ยกตัวอย่างเช่น งานแกะสลักของแอฟริกันไม่ได้ถูกจัดให้เป็นผลงานทางศิลปะ งานแกะสลักเหล่านี้เมื่อถูกค้นพบหรือหามาได้ จะถูกส่งมอบให้กับสถานที่สะสมงานทางด้านชาติพันธุ์วิทยา(ethnological collections)เป็นส่วนใหญ่ มันไม่ได้ถูกจัดให้เป็นงานศิลปะ แต่ปัจจุบัน ทัศนะดังกล่าวเริ่มเปลี่ยนไป. เช่นเดียวกันกับบรรดาศิลปินหญิงซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับการปฏิเสธมาโดยตลอด แต่ปัจจุบันก็ได้รับการยอมรับในระดับหนึ่ง.

ในโลกของอุตสาหกรรมวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน รูปแบบทางดนตรีใหม่ๆ อย่างเช่น rock and roll และ rap ได้ปรากฎตัวขึ้นมาพร้อมกับความเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาทางด้านธุรกิจ ประดิษฐกรรมทางด้านเทคโนโลยี และกฎระเบียบข้อบังคับในขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งได้เป็นปัจจัยหรือตัวกำหนดสำหรับผลงานต่างๆที่จะมาสู่ความสนใจของสาธารณชน.

อนาคตข้างหน้า (prospects)

มาถึงปัจจุบัน การศึกษาทางด้านวัฒนธรรมและศิลปะได้กลายมาเป็นเวทีที่มีชีวิตชีวาทางสังคมวิทยา(โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา) ดังที่มันเป็นเช่นนั้นมาแล้วในประเทศยุโรปจำนวนมาก. ศิลปะ มันไม่ใช่อยู่ในฐานะลูกเลี้ยงของบรรดานักสังคมวิทยาที่เอาธุระจริงจังอีกต่อไป ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นศูนย์กลางของความสนใจก็ตาม แต่อย่างน้อยที่สุดก็เป็นสิ่งที่ชอบธรรมและมีการยอมรับมากขึ้น แทนที่จะเป็นเพียงหัวข้อที่ให้ความสนใจกันเพียงแค่เหลาะแหละ.

แต่อย่างไรก็ตาม ฐานะตำแหน่งของศิลปะต่างๆในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ เป็นไปได้ที่ยังคงบอบบางหรือไม่ได้ถูกให้ความสำคัญมากมายเท่าไรนัก และต้องการการให้เหตุผลใหม่ๆในฐานะที่เป็นกิจกรรมทางด้านสติปัญญาอันหนึ่ง. เหตุผลทั้งหลายสำหรับอันนี้เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับทัศนียภาพทางสติปัญญา ซึ่งได้กลายมาเป็นความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะและโครงสร้างทางสังคมเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ของศิลปะต่างๆ.

นับตั้งแต่สมัย Renaissance เป็นต้นมา ศิลปินมีฐานะเป็นปัจเจกชนคนหนึ่ง ขนบประเพณีในหลายๆศตวรรษที่ผ่านมาได้เน้นถึงลักษณะเฉพาะพิเศษของนักแสดงและผลงานที่ศิลปินได้สร้างสรรค์ขึ้นมา. แม้ว่าความนึกคิดเกี่ยวกับตัวแทนปัจเจกชนคนหนึ่งนั้นค่อนข้างจะเข้ากันได้กับสาขาวิชาทางจิตวิทยา แต่มันก็ไม่ง่ายที่จะประนีประนอมกับความเข้าใจโดยรวมๆเกี่ยวกับพฤติกรรมโดยสาขาสังคมวิทยา. การรับรู้อันนี้อยู่ภายใต้ทัศนะเกี่ยวกับศิลปะในฐานะที่เป็นกระบวนการรวมๆอันหนึ่ง และการเน้นของบรรดานักสังคมวิทยาในเรื่องของผลิตผล ค่อนข้างมากกว่าการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม.

มีผู้กล่าวว่า ขนบประเพณีเกี่ยวกับเรื่องนี้ ล้อมรอบไปด้วยการตัดสินทางสุนทรีย์. อันนี้เป็นอุปสรรคกีดขวางอันยากลำบากสำหรับบรรดานักสังคมวิทยาทั้งหลาย เพราะความเป็นวัตถุวิสัยทางวิทยาศาสตร์ของสังคมวิทยานั่นเอง …บรรดานักสังคมวิทยา รู้ว่าอะไรที่เจือปนกับการตัดสินของเราเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ และความนึกคิดที่แผ่ไปทั่วเกี่ยวกับศิลปะในทุกวันนี้ มันไม่ใช้สิ่งที่จะประเมินคุณค่าได้อย่างง่ายๆ.

ในท้ายที่สุด การเปลี่ยนแปลงอันพิเศษของพื้นที่หรือขอบเขตนานาชาติในไม่กี่ปีมานี้เรียกร้องว่า ความรู้วิชาการควรย้ายตัวออกมาอย่างเปิดเผยจากโลกทางวิชาการ และเข้าไปสู่อาณาจักรของศิลปินทั้งหลายและผู้สร้างนโยบายต่างๆ. ความรู้ที่มีบทบาทของพวกเขาเป็นสิ่งจำเป็นสำคัญ ถ้าหากว่าเราจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ในอนาคตของศิลปะและสังคมในโลกของเรา อันเป็นเรื่องที่ควรเอาใจใส่กันในระดับประเทศอย่างกว้างขวาง. ศิลปะต่างๆจะไม่ใช่เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ในเทอมต่างๆของสังคมหนึ่งโดยลำพัง(ถ้าเผื่อว่านั่นเคยเป็นมาก่อน) เพราะมีสังคมเพียงไม่กี่สังคมที่มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน หรือปิดผนึกจากสภาพภูมิศาสตร์อื่น, ประเทศอื่น หรือ หน่วยอื่นๆของสังคม.

ด้วยเหตุนี้, ในทางตรงข้าม มันเป็นไปได้ที่จะศึกษาประเด็นเหล่านั้นในฐานะการตรวจสอบหรือการเซ็นเซอร์งานศิลปะต่างๆในบริบทของสังคมเดี่ยวสังคมหนึ่ง เพราะมันเป็นไปได้มากที่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้เปิดประตูไปสู่ความขัดแย้งใหม่ๆ ในฐานะปรากฎการณ์ของโลกปรากฏการณ์หนึ่ง.

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโลกาภิวัตน์ นวัตกรรมทางเทคโนโลยี อย่างเช่น พัฒนาการในเรื่องของไซเบอร์สเพส และ คอมพิวเตอร์เทคโนโลยี. ไม่เพียงทำให้มีการแสดงออกทางศิลปะด้วยรูปแบบใหม่ๆออกมาเท่านั้น แต่มันยังยกระดับความพยายามที่จะหลบหลีกการควบคุมเนื้อหาทางศิลปะด้วย. การมีเส้นทางใหม่สำหรับการเผยแพร่งานศิลปะ ผู้คนมีโอกาสที่จะติดต่อได้โดยตรงกับคลังงานศิลปะ พิพิธภัณฑ์ต่างๆได้โดยตรง(ซึ่งยากแก่การควบคุมหรือตรวจสอบ). พัฒนาการเหล่านี้เสนอว่า การแปรรูปในบริบทนี้(contextual metamorphosis)จะเป็นตัวแปรในการกำหนดขั้นตอนต่อไปเกี่ยวกับการศึกษาต่างๆในสังคมวิทยาเกี่ยวกับศิลปะ.

Vera Zolberg

 

  Back to midnight's home email : midnightuniv(at)yahoo.com