บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 193 เรื่อง "ประวัติศาสตร์ชาวนาภาคเหนือ ว่าด้วย คดี และ โซ่ตรวน" : กองเลขานุการสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ 2545

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ การรณรงค์เรียกร้องความเป็นธรรม ให้กับการต่อสู้ของชาวนาในเขตภาคเหนือ ผู้ยากไร้ ซึ่งต้องถอยร่นกลับสู่ผืนแผ่นดิน

ขณะนี้มีชาวนาที่ถูกจับกุม และถูกใส่โซ่ตรวนดุจเดียวกับอาชญากรที่ต้องโทษสูงสุด เพียงเพราะพวกเขาต้องการที่ทำกิน

 

N
home
release date
300645

มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 9 เมษายน 2545 เรื่องการ
ชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ
( สกน.) ลงมติว่า - รับทราบรายงานผลเบื้องต้นของ
การ เจรจากับกลุ่มสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ตาม
ที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ โดยแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้ยึดหลักเมตตาธรรม และนิติธรรมควบคู่กันไป รัฐบาลมีความตั้งใจแก้ไขปัญหาคนจนอย่างแท้จริง แต่ต้องไม่ทำให้กติกาบ้านเมืองเสียหาย ทั้งนี้ เรื่องใดสามารถดำเนินการได้ก็ให้เร่งดำเนินการ เรื่องใดมีปัญหาเรื่องกฎหมายไม่สามารถดำเนินการได้ หรืออาจต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ต้องชี้แจงให้เข้าใจ - อนุมัติให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการแก้ไขปัญหาสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ และเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือทั้ง 8 ประเด็น

ต่อมารัฐบาลได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2545 เรื่อง หลักการและแนวทางการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในการชุมนุมเรียกร้องว่า ด้วยในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2545 นายรัฐมนตรีเสนอว่า... อันเป็นเหตุให้ชาวบ้านถูกจับกุมและใส่โซ่ตรวน (อ่านรายละเอียดในบทความชิ้นนี้...)

ภาพประกอบบทความ 1. ภาพหญิงชาวนา (ภาพถ่ายโดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน) 2. ภาพฉากหลัง มาจากภาพประกอบบทความเรื่อง Fantastic Voyage จากหนังสือ Print : American Graphic Design ฉบับเดือน มค./กพ. 2001 หน้า 44
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่ออุดมศึกษาไท โดยไม่มีปริญญา : ร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกับปัญหาสังคม และร่วมกันค้นหาหนทางแก้ไข เพื่อความเป็นไทของสังคม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

สำหรับผู้สนใจในเนื้อหาข้างต้น กรุณาคลิกไปที่ webboard และอ่านเรื่องนี้ได้ในหัวข้อ
01755, 01754, 01753
ตามลำดับ


ข่าวคราวทางศิลปะ-วัฒนธรรมระดับโลก ที่ไม่ถูกรายงานผ่านสื่อใดๆของสังคมไทย Documenta 11
การประชุมสัมนา(Symposium)ซึ่งจัดให้มีขึ้นของงานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11
จะเป็นไปในลักษณะต่อเนื่อง โดยเปิดเป็นสาธารณะตลอดทั้งปี และเป็นการนำเสนออย่างไม่เป็นทางการใน 6 เมืองหลักทั่วโลก
เจตนาของเวทีต่างๆเหล่านี้ จัดขึ้นมาเพื่อที่จะส่งให้ขอบเขตหรือภาคส่วนทางด้านศิลปะ
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของงานนิทรรศการ Documenta ครั้งที่ 11
ไปสู่การเป็นเรื่องของการพูดคุยกับสาขาความรู้อื่นๆตามเมืองต่างๆอย่างเป็นสหวิชาการ

 

100 นักวิชาการ-เอกชน ร่วมประกันตัวชาวบ้านที่ลำพูน
คำชี้แจงและข้อมูลแสดงความสมัครใจ

ดังที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ขณะนี้เกษตรกรรายย่อยชาวลำพูนถูกจับกุมคุมขัง ๒๕ คน ด้วยข้อหาเกี่ยวกับการบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ อีกทั้งหลายสิบคนถูกออกหมายจับไว้แล้ว และอาจถูกจับกุมได้อีกในอนาคต ปัญหานี้มีความสลับซับซ้อนกว่าการป้องปรามอาชญากรรมตามปรกติ แต่ผูกพันอยู่กับประเด็นปัญหาใหญ่ที่มีอยู่ในสังคมไทยมานาน ฉะนั้นจึงควรเข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาที่เกิดขึ้นที่ลำพูนในขณะนี้ว่า มีสาเหตุหลักมาจาก

ก) เนื่องจากเจ้าหน้าที่รัฐไม่ปฏิบัติตามกฎหมายมาโดยตลอด เช่นที่ดินซึ่งแม้มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้อง แต่ไม่ใช้ประโยชน์เป็นเวลาหลายปีต่อเนื่องกัน กฎหมายกำหนดให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ ก็ไม่ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งเกี่ยวข้องได้ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ดิน ซึ่งมุ่งประสงค์จะให้ที่ดินเป็นทุนของสังคม

ยิ่งกว่านี้ในหลายกรณียังมีการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบบนที่ดินสาธารณประโยชน์ เฉพาะในกรณีที่เกิดขึ้นที่ลำพูน จากการตรวจสอบของคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐ-ประชาชนและนักวิชาการ ปรากฎว่ามีที่ดินสาธารณประโยชน์ซึ่งถูกครอบครองโดยมิชอบเช่นนี้นับเป็นจำนวนหมื่นไร่ และส่วนใหญ่ของประชาชนที่มีปัญหาทางกฎหมายอยู่ขณะนี้ ล้วนเข้าไปยึดครองที่ดินเหล่านี้เพื่อทำกินทั้งสิ้น

ข) การที่ชาวนาซึ่งไม่มีที่ดินหรือมีที่ดินไม่เพียงพอในการผลิตพากันเข้าไปยึดครองที่ดิน เพื่อทำการผลิตนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิกฤตอย่างหนักของการจัดการทรัพยากรที่ดินในประเทศไทย อันเป็นผลให้การใช้ที่ดินไม่มีประสิทธิภาพและมีผลิตภาพต่ำ ที่ดินเป็นทรัพยากรพื้นฐานของประเทศเกษตรกรรม ส่วนใหญ่ของประชากรไทยไม่อาจทำการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเข้าไม่ถึงทรัพยากรที่ดิน หรือไม่มีแรงจูงใจจะพัฒนาที่ดินซึ่งมีอยู่จำกัด

การกระจุกตัวของที่ดินอย่างหนักในประเทศไทย ทำให้มีความจำเป็นต้องปฏิรูปการจัดการที่ดินในประเทศไทยอย่างถึงรากถึงโคน แต่เราไม่อาจหวังได้ว่าความริเริ่มนี้จะมาจากฝ่ายการเมืองซึ่งมีผลประโยชน์พัวพันอยู่กับเจ้าที่ดินเป็นอันมาก ฉะนั้นจึงจำเป็นที่สังคมต้องเป็นฝ่ายริเริ่มผลักดันเอง และครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญอันหนึ่งที่ท่านควรเข้ามาร่วมเคลื่อนไหวกับชาวบ้าน เพื่อผลักดันไปสู่เป้าหมายปลายทางคือการปฏิรูปการจัดการทรัพยากรที่ดินในประเทศไทย


ในขณะเดียวกัน สถานการณ์การจับกุมในครั้งนี้ ไม่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้ต่อสู้ทางกฎหมายอย่างยุติธรรม เพราะการจับกุมด้วยข้อหาที่มากมายและตั้งหลักทรัพย์การประกันตัวสูงเกินกว่าที่ชาวบ้านจะช่วยตัวเองได้ เช่นบางคนถูกจับด้วยข้อหา 22 คดี ใช้วงเงินไม่ต่ำกว่า 7 ล้านบาท เป็นการกระทำที่ผิดปรกติ นอกจากนี้ ยังมีความพยายามที่จะคัดค้านการประกันตัว ซึ่งยิ่งปิดโอกาสชาวบ้านในการต่อสู้ตามกระบวนการกฎหมายที่มีมนุษยธรรม

ารเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้สู้คดีอย่างเป็นธรรม จะทำให้ข้อมูลข่าวสารออกสู่สาธารณะมากขึ้น และจะนำมาซึ่งการเรียนรู้ของสังคมในการที่จะแก้ไขปัญหาสำคัญของสังคมไทยเช่นนี้

เราจึงใคร่ขอความช่วยเหลือจากท่านในการช่วยประกันตัวชาวบ้าน เพื่อที่จะทำให้กระบวนการยุติธรรมดำเนินไปอย่างถูกต้องและเที่ยงธรรม ในการนี้ เราทราบว่าการขอความช่วยเหลือในการประกันตัวชาวบ้านนั้นมีภาระความเสี่ยงที่เราท่านทุกคนต้องรับร่วมกัน เราจึงมีข้อเสนอเพื่อความสะดวกใจและสบายใจดังนี้

๑. ในทุกกรณี จะมีญาติของผู้ต้องหาเป็นผู้ประกันร่วมกับท่าน

๒. ท่านสามารถที่จะจำกัดความช่วยเหลือตามความสมัครใจของท่าน โดยไม่จำเป็นต้องวางประกันเต็มตามสิทธิของตำแหน่งของท่าน

๓.ในกระบวนการประกันตัว เราต้องขอรบกวนท่านให้เดินทางมายังลำพูนสองครั้ง ดังนั้นเราขออนุญาติในการจัดลำดับโดยจะให้ผู้ที่อยู่ใกล้พื้นที่ไปประกันก่อนเพื่อที่จะรบกวนท่านน้อยที่สุด

๔. ในการณ์นี้ เราขอความช่วยเหลือท่านกรอกความประสงค์และที่อยู่ที่จะติดต่อได้สะดวกที่สุด ตามแบบฟอร์มซึ่งแนบมาพร้อมกันนี้

เราหวังว่าความร่วมมือกันของท่านในครั้งนี้ นอกเหนือจากจะช่วยเหลือชาวบ้านให้ออกมาสู้คดีทางกฎหมายอย่างเสมอภาคและยุติธรรม ยังจะเอื้ออำนวยให้สังคมได้เรียนรู้ร่วมกันในการแก้ปัญหาที่บั่นทอนความเข้มแข็งของสังคมอย่างถึงที่สุดนี้ได้ต่อไป

 

ชื่อ-สกุล............. หน่วยงานสังกัด............ เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้............ที่อยู่ซึ่งติดต่อทางไปรษณีย์ได้............
วงเงินมูลค่าการประกันตามความสมัครใจ............
ท่านประสงค์จะใช้หลักทรัพย์ประเภทใดประกันตัว 1.เงินสด 2. หลักทรัพย์ 3. บัญชีธนาคาร 4. ตำแหน่ง(ราชการ-พนักงงานของรัฐ)

ลงลายมือชื่อ............................................
(กรุณาแจ้งความสมัครใจมายัง midnight2545(at)yahoo.com เพื่อเราจะได้ส่งรายละเอียดในรูปเอกสารให้)

 

รายละเอียดเกี่ยวกับการยื่นคำร้องขอประกันตัว


ในการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว นายประกันจะต้องนำหลักฐานของผู้ขอประกัน และเขียนคำร้องลงในแบบฟอร์มของศาล เพื่อใช้ประกอบกันในการยื่นเอกสารต่อศาล โดยหลักฐานที่ต้องนำมาใช้เพื่อยื่นคำร้องมี 3 กรณี ดังนี้

1. ใช้หลักทรัพย์ในการยื่นคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย
2. ใช้เงินสดในการยื่นคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย
3. ใช้ตำแหน่งในการยื่นคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย

คำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยใช้หลักทรัพย์ประกัน หลักฐานของผู้ขอประกัน

1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ หรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ พร้อมสำเนา 1 ชุด
2. สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา 1 ชุด
3. ผู้ขอประกันที่สมรสแล้ว แม้มิได้จดทะเบียนสมรส ต้องให้สามีหรือภรรยาให้ความยินยอม พร้อมทั้งนำหลักฐานต่อไปนี้มาแสดง

- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ พร้อมสำเนา 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา 1 ชุด

4. กรณีผู้ขอประกันเป็นหม้าย ต้องนำหลักฐานมาแสดง เช่น

- ใบสำคัญการหย่า หรือ
- ใบมรณบัตรของคู่สมรส พร้อมสำเนา 1 ชุด

5. หลักทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน, น.ส. 3, น.ส. 3ก, สมุดบัญชีเงินฝากประจำธนาคาร หรือพันธบัตรรัฐบาล

6. ที่ดินที่ใช้เป็นหลักประกัน ต้องนำใบประเมินราคาที่ดินของทางราชการ ที่ออกให้ไม่เกิน 90 วันไปแสดง

7. กรณีที่ใช้สมุดบัญชีเงินฝากประจำของธนาคารเป็นหลักประกัน ต้องนำสมุดบัญชีเงินฝากประจำ และใบรับรองยอดเงินฝากของธนาคารไปแสดงด้วย

8. กรณีที่เจ้าของที่ดินไม่สามารถไปดำเนินการที่ศาลได้ด้วยตนเอง ต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่นายอำเภอรับรอง พร้อมกับหลักฐานตามข้อ 3 ไปแสดงด้วย

9. การเขียนคำร้องขอประกันตัวโดยใช้โฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3

- ตัวอย่าง การเขียนคำร้อง การเขียนบัญชีทรัพย์ และการเขียนสัญญาประกัน

10. การเขียนคำร้องขอประกันโดยใช้สมุดเงินฝากประจำ

- ตัวอย่าง การเขียนคำร้อง การเขียนบัญชีทรัพย์ และ การเขียนสัญญาประกัน

เมื่อศาลอนุญาตให้ประกันแล้ว

1. จะออกใบรับหลักทรัพย์ไว้เป็นหลักฐาน พร้อมใบนัด
2. ผู้ขอประกันต้องทำสัญญาประกันไว้ต่อศาลว่า จะนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาลตามนัด ถ้านายประกันผิดสัญญาประกัน ศาลจะสั่งปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาประกัน

การขอถอนคืนหลักประกัน ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว

1. ศาลจะสั่งคืนหลักประกัน ในวันที่อ่านคำพิพากษา โดยผู้ประกันไม่ต้องยื่นคำร้องขออีก
2. ให้นำใบรับหลักทรัพย์ ที่เจ้าหน้าที่ออกไว้เป็นหลักฐาน ในวันยื่นประกัน และบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดง หลังจากวันตัดสินแล้วสามวันทำการ ติดต่อขอรับได้ที่งานประชาสัมพันธ์

คำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยใช้เงินสดประกัน
หลักฐานของผู้ขอประกัน

1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ หรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ พร้อมสำเนา 1 ชุด
2. สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา 1 ชุด
3. เงินสดเท่าจำนวนหลักทรัพย์

เมื่อศาลอนุญาตให้ประกันแล้ว

1. จะออกใบรับเงินไว้เป็นหลักฐาน พร้อมใบนัด
2. ผู้ขอประกันต้องทำสัญญาประกันไว้ต่อศาลว่า จะนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาลตามนัด ถ้านายประกันผิดสัญญาประกัน ศาลจะสั่งปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาประกัน

การขอถอนคืนหลักประกัน ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว

1. ศาลจะสั่งคืนหลักประกัน ในวันที่อ่านคำพิพากษา โดยผู้ประกันไม่ต้องยื่นคำร้องขออีก
2. ให้นำใบรับเงิน, บัตรประจำตัวประชาชน ไปติดต่อขอรับเงินคืน กับเจ้าหน้าที่การเงินได้ในวันที่ศาลมีคำพิพากษา เพื่อนัดวันรับเงินต่อไป
3. หากไม่มารับเงินด้วยตนเอง อาจทำคำร้องขอให้โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้ประกันได้ โดยทำคำร้องยื่นที่เจ้าหน้าที่การเงิน

คำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยใช้ตำแหน่งประกัน
หลักฐานของผู้ขอประกัน

1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ หรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ พร้อมสำเนา 1 ชุด
2. สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา 1 ชุด
3. ผู้ขอประกันที่สมรสแล้ว แม้มิได้จดทะเบียนสมรส ต้องให้สามีหรือภรรยาให้ความยินยอม พร้อมทั้งนำหลักฐานต่อไปนี้มาแสดง

- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ พร้อมสำเนา 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา 1 ชุด

4. กรณีผู้ขอประกันเป็นหม้าย ต้องนำหลักฐานมาแสดง เช่น

- ใบสำคัญการหย่า หรือ
- ใบมรณบัตรของคู่สมรส พร้อมสำเนา 1 ชุด

5. ใบรับรองฐานะของผู้ประกัน ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่และเงินเดือนในปัจจุบัน ขณะยื่นประกันออกโดยต้นสังกัดของผู้ประกัน ต้องทำเป็นหนังสือราชการ ระบุที่หนังสือออกและวันที่ออกหนังสืออย่างชัดเจนถึงผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดลำพูน

6. ผู้ขอประกันเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ นอกจากหลักฐานข้อ 1-5 แล้ว ต้องมีหนังสือเทียบตำแหน่งกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาแสดงด้วย

7. ผู้ขอประกันโดยใช้ตำแหน่ง ต้องมาศาลด้วยตนเองทุกครั้งตามที่ศาลนัด ไม่สามารถมอบอำนาจได้

อัตราประกันโดยใช้ตำแหน่งเป็นประกัน ในการปล่อยชั่วคราว ข้าราชการพลเรือน

- ระดับ 3-5 หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่าวงเงินไม่เกินหกหมื่นบาทถ้วน
- ระดับ 6-8 หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่าวงเงินไม่เกินสองแสนบาท
- ระดับ 9-10 หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่าวงเงินไม่เกินห้าแสนบาท
- ระดับ 11 หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่าวงเงินไม่เกินแปดแสนบาท

ข้าราชการตำรวจและทหาร

- ให้ทำสัญญาประกันตามระดับที่เทียบเท่าข้าราชการพลเรือน

พนักงานรัฐวิสาหกิจ

- ให้ทำสัญญาประกันตามระดับที่เทียบเท่ากับข้าราชการพลเรือน

สมาชิกรัฐสภาและข้าราชการการเมือง

- สมาชิกรัฐสภาและข้าราชการการเมืองวงเงินไม่เกินแปดแสนบาท

ข้าราชการการเมืองส่วนท้องถิ่น

- สมาชิกสภาจังหวัด (ส.จ.) วงเงินไม่เกินหกหมื่นบาท

- สมาชิกสภาเทศบาล (ส.ท.) วงเงินไม่เกินหกหมื่นบาท

หมายเหตุ

- ในกรณีที่ใช้บุคคลเป็นประกันหรือประกันตามวงเงิน แล้วยังไม่เพียงพอ ให้ใช้บุคคลตามตำแหน่งอื่น หรือหลักทรัพย์เป็นหลักประกันเพิ่มเติมได้

หลังจากศาลอนุญาตให้ประกันแล้ว ผู้ขอประกันต้องทำสัญญาประกันไว้ต่อศาลว่า จะนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาลตามนัด ถ้านายประกันผิดสัญญาประกัน ศาลจะสั่งปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาประกัน

 

 

...บทความประกอบเกี่ยวกับเรื่องที่ดิน...

"กรรมสิทธิ์ที่ดินเอกชน ในสังคมประชาธิปไตย"
โดย เกษียร เตชะพีระ

"ในฐานะที่ผมเป็นชาวนาชาวไร่ ผมก็อยากมีที่ดินของผมพอสมควรสำหรับทำมาหากิน มีช่องทางได้กู้ยืมเงินมาขยายงาน มีโอกาสรู้วิธีทำกินแบบใหม่ๆ มีตลาดดีและขายสินค้าได้ราคายุติธรรม"

"เมื่อตายแล้ว ยังมีทรัพย์สมบัติเหลืออยู่ เก็บไว้ให้เมียผมพอใช้ในชีวิตของเธอ ถ้าลูกยังเล็กอยู่ก็เก็บไว้เลี้ยงให้โต แต่ลูกที่โตแล้วไม่ให้ นอกนั้นรัฐบาลควรเก็บไปหมด จะได้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงชีวิตของคนอื่นๆ บ้าง

"ตายแล้ว เผาผมเถิด อย่าฝัง คนอื่นจะได้มีที่ดินอาศัยและทำกิน และอย่าทำพิธีรีตองในงานศพให้วุ่นวายไป"

"นี่แหละคือความหมายแห่งชีวิต นี่แหละคือการพัฒนาที่จะควรให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของทุกคน"

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ( "คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง : จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน" 2516)

ในวงสนทนาของชาวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และกลุ่มชาวบ้านต่อต้านโรงไฟฟ้าหินกรูดเรื่องข้อพิพาทที่ดินระหว่างกลุ่มเกษตรกรยากจนกับนายทุนเจ้าของที่ดินฟองสบู่ ในจังหวัดลำพูน พอถึงประเด็นการปฏิรูปที่ดิน เพื่อนอาจารย์ท่านหนึ่งก็ถามขึ้นว่าสมมุติท่านซื้อที่ดินผืนหนึ่งและได้โฉนดมาครอบครองถูกต้องตามกฎหมาย ท่านย่อมมีสิทธิขาดเป็นเอกเทศเหนือที่ดินผืนนั้นโดยที่คนอื่นหรือสังคมมิอาจมาแทรกแซงยุ่มย่ามแล้วมิใช่หรือ? ไฉนจึงจะกล่าวอ้างได้ว่า ที่ดินเป็นทุนทางสังคมซึ่งรัฐมีสิทธิชอบธรรมที่จะเอาของเอกชนไปปฏิรูปจัดสรรให้เกษตรกรยากไร้ทำกินเลี้ยงชีพอีกเล่า?

คำถามนี้กระตุ้นให้ผมนึกถึงอะไรบางอย่าง จึงแลกเปลี่ยนความเห็นกับอาจารย์ไปว่า : - มันก็ไม่เชิงครับ เพราะในสังคมประชาธิปไตยอาจกล่าวได้ว่า ทันทีที่อาจารย์จ่ายเงินซื้อและถือโฉนดแสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินผืนนั้นในมือ อาจารย์ก็พลอยได้รับพันธกรณีหรือข้อผูกพันต่อสังคมที่พ่วงติดกับทรัพย์สินชิ้นนั้นๆ มาด้วยในเวลาเดียวกัน...

อันที่จริง คำถามข้างต้นตีเปรี้ยงตรงปมปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดินเอกชนในสังคมประชาธิปไตยพอดี ซึ่งมีความยอกย้อนซ่อนเงื่อนและสำคัญยิ่งต่อการเข้าใจและหาทางแก้ไขวิกฤตที่ดินในสังคมไทยปัจจุบัน น่าจะนำมาพิเคราะห์พิจารณาดู

จะว่ากันไป ในบรรดาแนวคิดหลักๆ เกี่ยวกับการจัดระเบียบสังคมเศรษฐกิจการเมืองในโลกสมัยใหม่ นอกจากแนวคิดอิสรเสรีนิยมหรือเสรีนิยมใหม่(Libertarianism or Neo-liberalism) ของศาสตราจารย์ Robert Nozick(พ.ศ.2481-2545) นักปรัชญาการเมืองเลื่องชื่อแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดผู้เพิ่งวายชนม์ไปเมื่อวันที่ 23 มกราคมศกนี้ ด้วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารแล้ว ก็ไม่มีสำนักคิดอื่นใดยืนกรานหลักกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเอกชนอย่างเด็ดขาดสัมบูรณ์โดยปราศจากข้อแม้เงื่อนไขเลย

แม้แต่สำนักเสรีนิยม(Liberalism) คลาสสิคแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 17 บิดาของเสรีนิยมใหม่ปัจจุบันก็ไม่ได้ไปไกลขนาดนั้น แน่นอน ด้านหนึ่งเสรีนิยมยืนยันเหมือนเสรีนิยมใหม่ว่าทรัพย์สินเอกชน(private property) เป็นสิทธิเด็ดขาดสัมบูรณ์ของปัจเจกบุคคลผู้เป็นเจ้าของ มันเป็นสิทธิโดยธรรมชาติที่เกิดมาก่อนบุคคลจะมารวมตัวกันเป็นสังคมและก่อตั้งรัฐขึ้น(pre-social, pre-state natural right) สิทธิในทรัพย์สินเอกชนจึงศักดิ์สิทธิ์ชอบธรรมกว่าอำนาจของสังคมและรัฐ บุคคลอื่นรวมทั้งสังคมและรัฐจะไปจำกัดหรือล่วงละเมิดกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินเอกชนมิได้ยกเว้นเจ้าของยินยอม(consent)

แต่กระนั้น เสรีนิยมคลาสสิคก็ยังตั้งข้อแม้เงื่อนไขไว้ว่าในกรณีเจ้าทรัพย์มีทรัพย์สินเอกชนส่วนเกินเหลือเฟือ ขณะที่คนอื่นขัดสนจนยากอดอยากยากไร้ไม่มีสิ่งใดพอยาไส้ยังชีพต่อไปได้นั้น ฝ่ายหลังย่อมมีสิทธิ(Right or Title)ในส่วนเกินของฝ่ายแรก - นี่ไม่ใช่การขอทานซึ่งอาจจะขอได้หรือไม่ได้แล้วแต่เจ้าทรัพย์จะเมตตาปรานีโดยไม่มีใครบังคับ หากเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของคนยากไร้เหลือแสน ที่จะเอื้อมหยิบส่วนเกินจากเจ้าทรัพย์มาประทังยังชีพตนในยามความจำเป็นบีบคั้น - ตามหลักที่เรียกว่า Charity หรือการกุศล(John Locke, Two Treatises of Government, Book 1, Chapter IV, Passage 42, ค.ศ.1689)

ในทางตรงข้ามสุดขั้ว ลัทธิสหชีพ(ศัพท์บัญญัติของอัศนี พลจันทร) หรือลัทธินิยมมวลชน หรือลัทธิสรรพสาธารณนิยม(ศัพท์บัญญัติของพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์) หรือคอมมิวนิสต์(ทับศัพท์ ง่ายดี และทำให้คำนี้กลายเป็น "คนต่างด้าว" ถาวรในภาษาไทย) ถือว่าทรัพย์สินเอกชนเป็นของโจร แรกเริ่มเดิมทีก็สะสมด้วยการปล้นชิงมาจากเมืองขึ้น ในระบบทุนนิยมก็งอกงามงอกเงยด้วยการขูดรีดมูลค่าส่วนเกินจากแรงงานรับจ้างในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม ฉะนั้น ลัทธิสหชีพจึงปฏิเสธว่าทรัพย์สินเอกชนไม่ใช่สิทธิชอบธรรมใดๆ หากเป็นสถาบันค้ำยันอำนาจชนชั้นนายทุนและอุปสรรคขัดขวางการพัฒนาขั้นต่อไปของสังคมต่างหาก ต้องยกเลิกเสียแล้วแทนที่ด้วยกรรมสิทธิ์ส่วนรวมของสังคม

สำหรับประเด็นนี้ พึงแยกแยะให้ชัดเจนว่าลัทธิสหชีพมุ่งล้มล้างทรัพย์สินเอกชน(private property) เหนือปัจจัยการผลิตหลักทางเศรษฐกิจเช่นที่ดิน โรงงาน สื่อมวลชน ฯลฯ เป็นสำคัญ ไม่ได้รวมถึงทรัพย์สินส่วนตัว(personal property) เช่น แปรงสีฟัน ผ้าถุง กางเกงใน ฯลฯ ดังที่นักศึกษาปัญญาชนฝ่ายซ้ายจากในเมืองนำไปประพฤติปฏิบัติในเขตป่าเขาบางแห่งหลัง 6 ตุลา...

หากจัดวางเสรีนิยมใหม่กับสหชีพเป็นแนวคิดสองขั้วตรงข้ามกันในเรื่องกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินเอกชน โดยขั้วหนึ่งยึดมั่นว่ามันสัมบูรณ์ศักดิ์สิทธิ์ ส่วนอีกขั้วมุ่งปฏิเสธล้มล้างแล้ว ก็อาจกล่าวได้ว่าแนวคิดประชาธิปไตยมีท่าทีในเรื่องนี้อยู่กลางๆ กล่าวคือไม่ปฏิเสธล้มล้างทรัพย์สินเอกชน แต่ขณะเดียวกัน ก็มุ่งจำกัดและกำกับขอบ เขตของมันด้วยสิทธิอำนาจของสังคมที่ทับซ้อนลงไป

ถ้าพูดด้วยภาษาวัฒนธรรมชุมชนของอาจารย์อานันท์ กาญจนพันธุ์ แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็คือสังคมประชาธิปไตยถือว่าทรัพย์สินเอกชนนั้นเป็น "สิทธิเชิงซ้อน" หมายความว่า ในภาวะธรรมชาติ บุคคลย่อมถือครองสมบัติ(possession)ใดๆ ที่ตนมีโดยลำพัง ต้องคอยปกป้องมันจากการแย่งชิงของผู้อื่นด้วยกำลังตนเอง การถือครองสมบัติของเอกชนในลักษณะดังกล่าวย่อมหาความมั่นคงยั่งยืนใดๆ มิได้ เพราะถ้าเจอปรปักษ์ที่ล่ำสันแข็งแรงหรือฉลาดเจ้าเล่ห์กว่าเข้ามาแย่งชิงเมื่อใด ก็ย่อมต้องสูญเสียไป มันจึงไม่แน่นอนมั่นคงพอจะนับเป็นทรัพย์สิน(property)ในกรรมสิทธิ์ของบุคคลได้

ภาวะล่อแหลมสุ่มเสี่ยงไร้หลักประกันในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินเช่นนี้ ทำให้บุคคลทั้งหลายโหยหาที่จะเข้าร่วมกับบุคคลอื่นๆ ผูกสัมพันธ์กันตั้งเป็นสังคมขึ้นเพื่อยังความมั่นคงยั่งยืนแน่นอนให้แก่ตนเอง ซึ่งในกระบวนการตั้งสังคมประชาธิปไตยนั้น บรรดาบุคคลที่เข้ามาร่วมรวมกันต่างก็ตกลงยกบรรดาสมบัติทั้งหมดที่ทุกคนมี(possessions)ให้สังคม ซึ่งก็คือยกให้ตัวเอง เพราะตัวเองก็กลายเป็นสมาชิกผู้หนึ่งของสังคมที่ตั้งขึ้นใหม่นั้นด้วย อย่างไรก็ตาม ปมเงื่อนอยู่ตรงสถานภาพที่เปลี่ยนไปของบุคคลในกระบวนการก่อตั้งสังคม กล่าวคือ นาย ก. ที่ยกสมบัติของตนให้สังคมนั้นเป็นปัจเจกบุคคล แต่นาย ก. ที่ร่วมรับทรัพย์สินของตัวเองมานั้นได้กลายสภาพไปเป็นสมาชิกหน่วยหนึ่งของสังคมที่ไม่อาจแยกออกจากสังคมนั้นได้เสียแล้ว

เมื่อสังคมประชาธิปไตยได้รับสมบัตินั้นมาจากบุคคล ก็จัดการ "ฝาก" กลับมาให้บุคคลคนเดียวกันนั้นถือครองช่วงใช้ในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของสังคม, โดยใช้พลังอำนาจส่วนรวมของสังคมตีตราการันตีรับรองค้ำประกันความมั่นคงให้แก่การถือครองสมบัติของบุคคลนั้น ว่าเขามีกรรมสิทธิ์เอกชนในทรัพย์สินนั้นโดยชอบธรรม(possession กลายเป็น ---> property) ใครจะบังอาจมาล่วงล้ำละเมิดปล้นชิงทรัพย์สินดังกล่าวจากเขาไม่ได้ ขืนใครทำ ก็ต้องเจอกับสหบาทาของสังคมทั้งสังคมที่จะช่วยกันปกป้องคุ้มครองเขาในฐานะเพื่อนสมาชิก

ใครขโมยรถส่วนตัวของเรา ตำรวจจึงต้องช่วยตามให้ในนามของสังคม ในทางกลับกัน หากมีโจรปล้นควายเพื่อนบ้าน ชาวบ้านจึงระดมกำลังออกช่วยกันตามควายทั้งหมู่บ้าน เพราะถือว่าชุมชนมีพันธกรณีต่อเจ้าของควายด้วยในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของชุมชน

ด้วยหลักดังกล่าว สิทธิของสังคมจึงทับซ้อนอยู่เหนือทรัพย์สินเอกชนในสังคมประชาธิปไตย สังคมช่วยค้ำประกันรับรอง ปกป้องคุ้มครอง และขณะเดียวกัน ก็จำกัดกำกับกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินเอกชนด้วยในเวลาเดียวกัน บุคคลเจ้าทรัพย์ในฐานะผู้ได้ประโยชน์จากการร่วมด้วยช่วยกันค้ำประกันรับรองและปกป้องคุ้มครองของสังคมดังกล่าว ก็ย่อมเป็นหนี้ต่อสังคม, มีพันธกรณีหรือข้อผูกพันต่อสังคมเกี่ยวเนื่องกับทรัพย์สินของตนนั้นด้วย

สิทธิสังคมที่ทับซ้อนอยู่เหนือทรัพย์สินเอกชนในสังคมประชาธิปไตยจะถูกใช้ออกมาจำกัดกำกับกรรมสิทธิ์ของเจ้าทรัพย์ใน 2 กรณี คือ 1)เพื่อประกันสายใยสังคม และ 2)เพื่อประกันอำนาจอธิปไตยของรัฐ

กล่าวคือ หากเมื่อใดกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินเอกชนถูกใช้ หรือเปลี่ยนไปในทางที่คุกคามความผูกพันของเพื่อนสมาชิกร่วมสังคมเดียวกันให้สั่นคลอนเสื่อมคลาย หรือน่ากลัวอันตรายว่าจะขาดสะบั้นลง, หรือทำให้พื้นที่กิจกรรมสำคัญทางเศรษฐกิจสังคมหลุดไปจากอำนาจอธิปไตยของรัฐ เช่น เกิดช่องว่างระหว่างคนรวย-คนจนแยกชนชั้นแตกต่างเหลื่อมล้ำกันเกินไป, หรือใช้ที่ดินเอกชนไปในกิจการที่ก่อปัญหามลภาวะร้ายแรงแก่วิถีชีวิต การยังชีพและทรัพยากรของชุมชนแวดล้อม, หรือกักตุนที่ดินโดยไม่ใช้ประโยชน์ เอาไปปั่นราคาเก็งกำไร วางค้ำไว้กับธนาคาร กู้แหลกมาลงทุนซี้ซั้วในธุรกิจฟองสบู่ จนฟองสบู่แตก เจ๊งกะบ๊งกันทั้งชาติแล้วยังอมที่ดินฟองสบู่ไว้ไม่ยอมคายออกมาให้เกษตรกรไร้ที่ดินได้เพาะปลูกทำมาหากิน, หรือที่ดินที่เคยเป็นของรัฐวิสาหกิจหรือติดจำนองอยู่กับธนาคารพาณิชย์ไทย แล้วทุนใหญ่ต่างชาติเข้าเทกโอเวอร์กิจการธนาคารนั้นๆ หรือเข้าซื้อหุ้นรัฐวิสาหกิจที่กำลังถูก privatized ในตลาดหลักทรัพย์ จนทำให้ที่ดินดังกล่าวกลายเป็นทรัพย์สินของเอกชนต่างชาติ หากแม้นทุนต่างชาติสั่งรื้อไล่สลัม รัฐก็ไม่อาจใช้อำนาจอธิปไตยเข้าไปกำกับดูแลได้ถนัดถนี่....

หรือนัยหนึ่งเกิดสถานการณ์ประหลาดที่อาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล นิยามว่า "ปัญหาประชาธิปไตย ที่ไม่มีอธิปไตย" และ "ปัญหาหนึ่งรัฐสองสังคม" ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในบ้านเมืองเราขณะนี้แล้ว

สังคมประชาธิปไตยย่อมมีความชอบธรรมที่จะเรียกใช้สิทธิเชิงซ้อนของตนจำกัดและกำกับเหนือกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินเอกชน - รวมทั้งที่ดิน - เพื่อแก้วิกฤตสายใยสังคมและฟื้นฟูบูรณะอธิปไตยของรัฐ

 

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด หรือ Ctrl + A
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งยอหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ

 

ประวัติศาสตร์ชาวนาภาคเหนือ ว่าด้วย คดี และ โซ่ตรวน
เมตตาธรรม นิติธรรม - โซ่ตรวน และหัวใจ
กองเลขานุการสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ

ภาคปัจจุบัน พลันที่ผมยกหูโทรศัพท์หน้าห้องขังในศาลจังหวัดลำพูนเพื่อพูดคุยกับลุงสองเมือง โปธาพันธ์ สิ่งแรกที่ผมพบเห็นคือ ร่างผอมๆ สูงโปร่งของลุงค่อย ๆ พยุงตัวมือหยิบโซ่ตรวนที่ผูกข้อเท้าทั้งสองข้าง เดินมารับโทรศัพท์คู่สายเยี่ยมผู้ต้องหาด้วยท่าทางอิดโรยบ่งบอกว่ามีอารป่วย เพราะถูกขังในเรือนจำเกือบแรมเดือนแต่สายตากลับฉายความเด็ดเดี่ยวมิหวาดกลัวพร้อมกล่าวคำแรกบอกผม

"อาจารย์ผมสู้ไหว ไม่ต้องไปร้องขอใครให้นำผมไปรักษาตัวกับหมอของเรือนจำ ผมไม่มีซองขาว มันรักษาผมเหมือนหมูเหมือนหมา ผมกินยาจากโรงพยาบาลสวนดอกแล้ว ผมทนไหว ถ้าจะช่วย เอาพวกเราออกไปทั้งหมด เอาผมไปรักษาที่โรงพยาบาลสวนดอก"

นี่คือ คำพูดที่ผมสะเทือนที่สุดและไม่มีอะไรพูดไปมากกว่า ให้กำลังใจและจะช่วยเต็มที่
ลุงสองเมือง โปธาพันธ์ อายุ 56 ปี อยู่บ้านหนองล่อง กิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน ถูกตำรวจ สภอ.กิ่ง อ.เวียงหนองล่อง ประมาณ 300 นายในชุดหน่วยปฏิบัติการพิเศษพร้อมสุนัขตำรวจ 4 ตัว บุกจับกุมอ้างข้อหา "ร่วมกันบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น" โดยหามมาจากเตียงที่บ้านเมื่อเช้าตรู่ของวันที่ 21 พฤษภาคม 2545 อ้างหมายจับของศาลจังหวัดลำพูนในคดีอาญารวม 4 คดี พร้อมชาวนาอีก 6 คน คือนายสุแก้ว ฟุงฟู, นายทองวัน โปธาพันธ์ ,นายบุญสืบ ภูดอนตอง ,นายบุญผาย ชางเลง , นางคำ ชางเลง และนายพิภพ หาธุคำจา ซึ่งเป็นสมาชิกแนวร่วมกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือจังหวัดลำพูน เครือข่ายสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือที่อยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหากับรัฐบาล (รายละเอียด)

บทความนี้ยาวประมาณ 16 หน้ากระดาษ A4