มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรมสำหรับสังคมไทย
บทความมหาวิทยาเที่ยงคืนชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซค์ วันพฤหัสที่ 3 เมษายน 2546
R
relate
release date
030446

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 253 เดือนเมษายน 2546
หัวเรื่อง "การแนะนำหนังสือ ธิดาแห่งไอซิส" โดย วารุณี ภูริสินสิทธิ์
ภาควิชา สังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

สังคมให้ผู้หญิงรักษาพรหมจรรย์กันอย่างออกหน้าออกตาในช่วงวันวาเลนไทน์ที่ผ่านมาก็มีความหมายที่ไม่ต่างกันนัก ประหนึ่งว่าถ้าสูญเสียพรหมจารีไปแล้ว ชีวิตของผู้หญิงก็จะไม่มีคุณค่าใดเหลืออยู่อีกแล้ว ซึ่งแตกต่างจากชีวิตของผู้ชายอย่างสิ้นเชิง

เรื่องประจำเดือนคือราคี ก็ดูจะเป็นความเชื่อที่แพร่หลายในหลายวัฒนธรรม และจากราคีนี้เองทำให้ผู้หญิงถูกกีดกั้นจากการเข้าใกล้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ผู้หญิงอียิปต์ในช่วงมีประจำเดือนจะถูกห้ามไม่ให้ยืนเบื้องพระพักตร์พระเจ้าและไม่ควรกล่าววจนะในอันกุรอาน ดังเช่นผู้หญิงจีนไม่ควรไหว้เจ้าในช่วงนี้เช่นกัน

อีกทั้งโลกของผู้หญิงอียิปต์ส่วนใหญ่ก็ไม่ต่างจากโลกของผู้หญิงในสังคมอื่น ๆ นัก คือ โลกแคบ ๆ ของกิจกรรมภายในบ้าน และข้ออ้างที่เก็บผู้หญิงไว้ในโลกแคบ ๆ นี้ก็ไม่ต่างเช่นกัน คือ เพื่อทำหน้าที่ (ที่ทรงเกียรติ ?) ของเมียและแม่ และเพื่อความปลอดภัยของผู้หญิงเอง เพราะโลกภายนอกล้วนเต็มไปด้วยผู้ชายที่ชั่วร้าย ผู้เขียนจึงได้สรุปถึงชีวิตของเธอซึ่งก็คือชีวิตของผู้หญิงอียิปต์ส่วนใหญ่ว่า

"โลกของพ่อ ของแผ่นดิน ของประเทศชาติ ศาสนา ภาษาและหลักศีลธรรม มันกลายเป็นโลกที่อยู่รอบตัวฉัน โลกที่สร้างขึ้นจากร่างของเพศชายโดยมี ร่างเพศหญิงของฉันอาศัยอยู่" (หน้า 76)

เรื่องราวของผู้หญิงอียิปต์ล้วนดูคล้ายคลึงกับผู้หญิงอีกจำนวนมากในหลายวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามมีเรื่องหนึ่งที่มักไม่ค่อยพบในงานเขียนของนักสตรีนิยมตะวันตกมากนัก แต่ผู้เขียนกลับให้ความสำคัญอย่างมากและสามารถทำให้ผู้อ่านน้ำตาซึมอย่างไม่รู้ตัว คือการกล่าวถึงความผูกพันอย่างลึกซึ้งระหว่างแม่กับลูกสาว นักสตรีนิยมตะวันตกบางส่วนจะมองว่าแม่คือผู้ถ่ายทอดหลักของความเชื่อที่กดขี่ผู้หญิง และมักเสนอถึงความขัดแย้งระหว่างแม่และลูกสาวมากกว่าจะเสนอด้านที่เป็นบวกของความสัมพันธ์

แต่สำหรับเธอนาวัล เอ็ล ซัดดาวี แม่เป็นพลังแฝงที่อยู่ภายในตัวเธอ "กลิ่นกายของแม่เป็นส่วนหนึ่งของตัวฉัน ส่วนหนึ่งของร่างกายของวิญญาณ" (หน้า 18) แม่เป็นคนยืนยันให้เธอเรียนต่อในระดับสูง เมื่อพ่อต้องการให้เธอซึ่งเป็นลูกผู้หญิงคนโตออกจากโรงเรียนเพื่อมาช่วยงานบ้านและเลี้ยงน้องซึ่งมีอีกหลายคน แม่เป็นคนยืนยันให้เธอได้เรียนต่อในระดับสูง เมื่อมีคนพยายามจะให้เธอเลิกเรียนโดยอ้างว่าไม่ปลอดภัยเพราะเธอต้องไปใช้ชีวิตห่างจากครอบครัวในเมืองใหญ่ หรือการเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยทำให้ต้องเรียนปะปนกับผู้ชาย แม่เธอจะบอกว่า

"ถ้าคุณโยนแกเข้ากองไฟ แกจะสามารถรอดออกมาได้โดยไม่เป็นอันตรายใด ๆ สักนิดเดียว" (หน้า 194)

และด้วยการยืนยันอย่างหนักแน่นของแม่ตลอดมา ทำให้เธอสามารถเรียนจนจบแพทย์ ชีวิตของเธอคงเป็นเสมือนความใฝ่ฝันของแม่ ความใฝ่ฝันที่ไม่เคยเป็นจริงในชีวิตของแม่แต่มันสามารถถูกถ่ายทอดผ่านทางเธอ แม่จะเรียกเธอว่า "คุณหมอนาวัล" ตั้งแต่วันแรกที่เธอได้เข้าเรียนแพทย์ และในวันที่เธอเรียนจบ "แม่ดูเหมือนดอกไม้ที่กำลังเบ่งบาน เสียงหัวเราะแบบเด็ก ๆ ประกายระยิบในดวงตาสีน้ำผึ้งของแม่หวนคืนมา" (หน้า 189)

ความเข้มแข็งของแม่รวมทั้งความสามารถที่จะปกป้องลูกและมีอำนาจต่อรองกับสามีได้ในระดับหนึ่ง ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะแม่ผู้เขียนเป็นลูกสาวข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีฐานะดี มาจากตระกูลสูง ส่วนบิดาเป็นเพียงลูกชาวนาแต่สามารถเรียนจนจบเป็นข้าราชการครู ด้วยชีวิตที่หลากหลายประสบการณ์ของผู้เขียน การมีเครือญาติที่เป็นทั้งผู้ดีและชาวนา การได้ใช้ชีวิตทั้งในชนบทและเมืองใหญ่ทำให้หนังสือเล่มนี้มีสีสันเพิ่มขึ้น เพราะหนังสือไม่เพียงแต่จะเสนอภาพชีวิตของผู้หญิงมุสลิมซึ่งไม่ค่อยเป็นที่รับรู้มากนัก แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างทางชนชั้นของสังคมอียิปต์ วิถีชีวิตและความเชื่อที่ต่างกันของคนในเมืองและคนในชนบท รวมทั้งสภาพการเมืองและความรู้สึกของผู้คนภายใต้การเป็นอาณานิคมของอังกฤษผ่านทางชีวิตที่ผันแปรไปของผู้เขียน

ดังนั้น ใครที่สนใจเรื่องผู้หญิง สังคมอิสลาม วัฒนธรรมที่หลากหลายของผู้คนในสังคมอื่น ไม่ควรมองข้ามหนังสือที่น่าอ่านเล่มนี้ "ธิดาแห่งไอซิส" แปลเป็นภาษาไทยโดยประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล คบไฟเป็นผู้ดำเนินการจัดพิมพ์

(บทความนี้ยาวประมาณ 2.5 หน้ากระดาษ A4)

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

 

"ธิดาแห่งไอซิส" เป็นหนังสืออัตชีวประวัติของนาวัล เอ็ด ซัดดาวี แพทย์หญิงชาวอียิปต์ผู้ซึ่งเกิด เติบโตและใช้เวลาตลอดชีวิตในประเทศอียิปต์ เธอเป็นนักต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของผู้หญิงชาวอียิปต์ ส่งผลให้ในปี ค.ศ. 1992 ชื่อของเธอได้ปรากฏในบัญชีมรณะของกลุ่มหัวรุนแรง ทำให้ต้องอพยพไปอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและเป็นช่วงเวลาที่เธอใช้เขียนงานชิ้นนี้

สตรีชาวมุสลิมมักถูกกล่าวถึงในฐานะเป็นกลุ่มผู้หญิงที่ถูกเอารัดเอาเปรียบทางเพศอยู่เสมอ แต่คำกล่าวนี้ก็จะได้รับการโต้แย้งว่าเป็นการมองจากบุคคลนอกวัฒนธรรมที่ไม่มีความเข้าใจที่แท้จริงต่อสังคมอิสลาม หนังสือเล่มนี้จึงมีความน่าสนใจเพราะผู้เขียนเป็นสตรีชาวมุสลิมซึ่งเปรียบเสมือน "คนใน"

 

วารุณี ภูริสินสิทธิ์

เรื่องราวความเหลื่อมล้ำทางเพศของหญิงและชายในประทศอียิปต์ได้ถูกสะท้อนผ่านทางชีวิตที่ดำเนินไปของผู้เขียนและผู้หญิงที่อยู่รอบตัวเธออย่างเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีคำด่าว่าหรือประชดประชันใด ๆ แต่เรื่องราวเหล่านั้นกลับสร้างความสะเทือนใจต่อผู้อ่าน ไม่ว่าจะเป็นการถูกเฉือนคลิตอริสทิ้งในวัยเพียง 6 ขวบด้วยประสงค์ของพระเจ้า หรือความใฝ่ฝันอันยิ่งใหญ่ของเด็กสาวคนแล้วคนเล่าที่ต้องจบลงด้วยการแต่งงานด้วยวัยเพียง 11-12 ปี

ในขณะที่แนวคิดสตรีนิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เริ่มหันหลังให้กับแนวคิดเรื่อง "ความเป็นพี่น้อง" ของผู้หญิงที่ถูกกดขี่เหมือนกันทั้งโลก หนังสือเล่มนี้ ชีวิตของผู้หญิงในดินแดนที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก กลับสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้หญิงที่คล้ายคลึงกับสังคมอื่น ๆ โดยเฉพาะสังคมจีนและอินเดียอย่างไม่น่าเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อที่ว่าผู้หญิงเกิดมาเพื่อแต่งงาน ผู้หญิงคือสมบัติของครอบครัวผู้ชายเมื่อแต่งงานไปแล้ว

"เด็กผู้ชายคือผู้ดำรงตระกูล แต่เด็กผู้หญิงต้องแต่งงานแล้วก็ออกจากบ้านพ่อไป และลูก ๆ ของนางก็ต้องใช้ชื่อของผู้ชายที่นางแต่งงานด้วย" (หน้า 66) เพราะฉะนั้น "เด็กผู้ชายคนหนึ่งมีค่าเท่ากับผู้หญิงสิบห้าคนเป็นอย่างน้อย" (หน้า 66) และสำหรับผู้ชายส่วนแบ่งของเขาจะเป็นสองเท่าของผู้หญิง

นอกจากนี้การพิสูจน์และการแสดงความยินดีต่อการได้เห็นเลือดจากการฉีกขาดของเหยื่อพรหมจรรย์หลังการส่งตัวเจ้าสาวก็เป็นเรื่องที่หลายวัฒนธรรมให้ความสำคัญคล้าย ๆ กัน ในประเทศไทยแม้จะไม่มีประเพณีพิสูจน์เลือดพรหมจรรย์อย่างจะจะตา แต่การรณรงค์ทาง