เว็ปไซค์บริการฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรม : บทความลำดับที่ 262 ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๖
ผลงานจิตรกรรมสีน้ำมันของศิลปินชาวฝรั่งเศส Paul Cezanne - 1839-1906 - นำมาใช้ประกอบบทความเรื่อง"คีตนที"

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 262 เดือนเมษายน 2546 หัวเรื่อง "ลำนำแห่งสายน้ำ"
แปลโดย ชัชวาล ปุญปัน
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ครั้งแรก วันที่ 1พฤษภาคม 2546
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปใช้ประโยชน์ เฉพาะทางด้านวิชาการเท่านั้น

H
home
300446
เสียงเสนาะที่เกิดจากน้ำที่ไหลรินลงมากระทบโสตประสาทนั้น คนโบราณถือเป็นเสียงของเทพธิดา นางฟ้า เป็นวิญญาณแห่งสายน้ำ ที่แอบซ่อนตัวอยู่ในถ้ำหินในตอนกลางวัน และพอตกเวลาย่ำค่ำ ก็พากันออกมาเฉลิมฉลองดนตรีกาล ตลอดราตรี

ทำนองเพลงอันเก่าแก่ของมนุษย์นั้น ส่วนใหญ่ได้มาจากการเรียนรู้จากธรรมชาติของบรรพบุรุษของเรา ที่ได้สร้างเพิงพักอยู่ในบริเวณพื้นที่ลาดเหนือลำธารที่เปล่งเสียงดนตรีออกมา
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า มนุษย์รุ่นก่อนได้ซึมซับท่วงทำนองเพลงเหล่านั้น แล้วถ่ายทอดสืบต่อกันมาในชนเผ่า บางครั้งก็ตั้งชื่อแม่น้ำลำธารตามชื่อเทพธิดาเหล่านั้น

แปลจาก Water song ของ Jim Nollman ในคอลัมน์ A sense of place ใน Resurgence No.207 July-August 2001 หน้า 21 : Jim Nollman เขียนหนังสือ 4 เล่ม , เล่มหนึ่ง คือ The Charged Border : Where Whales and Humans Meet (Holt,1999)

คีตนที
ลำนำแห่งสายน้ำ : คุณสมบัติทางดนตรีของกระแสธารและแม่น้ำ
Jim Nollman เขียน
ชัชวาล ปุญปัน แปล

โดยทั่วไปแล้วคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า มนุษย์เท่านั้นที่สามารถร้องเพลงและสร้างเสียงดนตรีขึ้นมาเองได้ แต่ถ้าเราใส่ใจและพยายามฟังให้มากขึ้น ก็จะพบว่าธรรมชาติสรรค์สร้างเสียงดนตรีด้วยตัวของมันเองได้

หลายปีมาแล้ว ขณะที่ข้าพเจ้ากำลังท่องไปในแถบ Sierra Nevada นั้น ข้าพเจ้ามักจะตั้งแค้มป์อยู่ใกล้ ๆ กับลำธาร เพื่อจะศึกษาสุนทรียภาพของเพลงจากกระแสน้ำ ข้าพเจ้าพบว่า เสียงที่ไพเราะ จะปรากฎในตอนย่ำค่ำ ซึ่งเป็นเวลาที่อากาศเย็นลง ไอน้ำที่รวมตัวกันอยู่ที่เบื้องล่างของหุบเขานั้น ทำให้ได้ยินเสียงเบสเพิ่มขึ้น ซึ่งเราไม่สามารถได้ยินโทนเสียงนี้ในเวลากลางวัน เพราะอากาศที่ร้อนและแห้ง จะบดบังเสียงเบสจนหมด

ข้าพเจ้าสังเกตว่า น้ำที่ตกลงบนก้อนหิน จะก่อให้เกิดเสียงโน้ตต่าง ๆ มีจังหวะ ลีลา ที่อาจจะทั้งสอดคล้อง ประสานกลมกลืน หรือ ไม่สอดคล้องกลมกลืน กับเสียงโน้ตของน้ำที่ตกลงบน ก้อนหินใกล้ ๆ นั้นก็ได้

น้ำที่ตกมาไม่สูงนัก ลงไปยังแอ่งน้ำลึก จะให้เสียงดนตรีที่ไพเราะที่สุด เมื่อเราย้ายตำแหน่งการฟังไปเรื่อย ๆ เราจะพบว่า เสียงเพลงจะเปลี่ยนไปอย่างไม่หยุดยั้ง เช่นเดียวกับเมื่อเราชมวิวทิวทัศน์ ทัศนียภาพจะเปลี่ยนไปทุกขณะที่ผู้ชมเคลื่อนตัวไป

ข้าพเจ้าพบชายคนหนึ่ง แถวบริเวณตอนบนของแม่น้ำ King เขายืนยันกับข้าพเจ้าว่า แม่น้ำเป็นแหล่งบรรจุบทเพลงทั้งหมดที่เคยร้องมาทีเดียว แม่น้ำแสดงบทเพลงได้ทุกเพลง กล่าวคือ แม่น้ำทุกสายเป็นคีตนที

ข้าพเจ้าใช้เวลาหลายปีพิสูจน์ข้อความนี้ และสรุปได้ว่า เขาพูดเกินเลยความจริง สายน้ำที่ใหญ่ มีเสียงดัง อาจจะรวมเอาบทเพลงไว้หลายเพลง แต่ก็มีลักษณะพิเศษคือ การสร้างเสียงรบกวนไปกลบทับเสียงดนตรีที่เป็น pure tones ไปหมด การกล่าวว่าแม่น้ำใหญ่รวมหลายบทเพลงไว้ด้วยกัน คล้ายกับการกล่าวว่า สัญญาณรบกวนจากวิทยุ เป็นที่รวมบทเพลงของทุกเพลง ซึ่งไม่ใช่

ความกว้างและความลึกของสายน้ำ,อัตราการไหล,มุมของการตกกระทบ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดศักยภาพของความเป็นคีตนทีของกระแสน้ำนั้น

กระแสน้ำที่ใหญ่ส่งเสียงดังอึกทึกครึกโครมนั้น หนวกหูเกินไปกว่าที่จะถือเป็นคีตนที คือให้เสียงดนตรีออกมาได้ กระแสน้ำที่ไหลช้าและเอื่อย ก็เงียบและเบาเกินกว่าจะเปล่งเสียงดนตรีเช่นกัน จะมีน้ำที่ไหลรินเป็นหยดจากชั้นหินลงในสระลึกเท่านั้น ที่มักจะให้เสียงที่ไพเราะ

อย่างไรก็ตามสายน้ำที่ให้เสียงดนตรีจะมีความกว้างอยู่ระหว่าง 2 ถึง 6 ฟุต ส่วนใหญ่อยู่บริเวณด้านเหนือหรือใต้ของทุ่งหญ้าบนที่สูง (alpine meadow) คือเป็นบริเวณที่มีความลาดเอียง พอเหมาะที่จะทำให้เกิดน้ำตกเล็ก ๆ ได้

ลำน้ำ Wright ที่อยู่ห่างไปไม่กี่ไมล์ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ California's Mount Whitney นั้น เป็นลำธารแห่งดนตรีมากที่สุด เท่าที่ข้าพเจ้าได้พบมา

ข้าพเจ้าตั้งแค้มป์บริเวณชั้นหินที่อยู่ใต้ทุ่งหญ้าลงมา และอยู่เหนือหุบเขาสูงชันที่ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ ในคืนแรกข้าพเจ้าได้ยินเสียง บาริโทน เสียงทุ้มลึกกังวาน เป็นทำนองเพลง El toreador (เพลงนักสู้วัวกระทิง)นานเกือบครึ่งชั่วโมง

ข้าพเจ้าตกตะลึงกับการแสดงของลำธารนี้ และตัดสินใจที่จะพักค้างอีกคืนหนึ่ง ในเย็นวันถัดมา เสียงจากลำธารคล้ายกับเสียงของเอลวิส กำลังครวญเพลง เป็นเพลงที่ข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินมาก่อน

ข้าพเจ้าสรุปว่า ทำนองเพลงอันเก่าแก่ของมนุษย์นั้น ส่วนใหญ่ได้มาจากการเรียนรู้จากธรรมชาติของบรรพบุรุษของเรา ที่ได้สร้างเพิงพักอยู่ในบริเวณพื้นที่ลาดเหนือลำธารที่เปล่งเสียงดนตรีออกมา

เสียงเสนาะที่เกิดจากน้ำที่ไหลรินลงมากระทบโสตประสาทนั้น คนโบราณถือเป็นเสียงของเทพธิดา นางฟ้า เป็นวิญญาณแห่งสายน้ำ ที่แอบซ่อนตัวอยู่ในถ้ำหินในตอนกลางวัน และพอตกเวลาย่ำค่ำ ก็พากันออกมาเฉลิมฉลองดนตรีกาล ตลอดราตรี

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า มนุษย์รุ่นก่อนได้ซึมซับท่วงทำนองเพลงเหล่านั้น แล้วถ่ายทอดสืบต่อกันมาในชนเผ่า บางครั้งก็ตั้งชื่อแม่น้ำลำธารตามชื่อเทพธิดาเหล่านั้น

แม้กาลเวลาจะผ่านไปนับร้อยปี เมื่อคนรุ่นหลังของชนเผ่า เดินทางกลับไปยังสายน้ำเดิมนั้นอีกครั้ง คีตนทีจากขุนเขาและสายน้ำนั้น จะทำหน้าที่ประหนึ่ง วิถีดนตรีแห่งภูผาของชนเผ่า กระตุ้นให้พวกเขาได้ยินเสียงเทพธิดา ขับกล่อมด้วยบทเพลง เพลงเดียวกับที่พวกเขาคุ้นเคย และจดจำได้อยู่แล้ว อย่างขึ้นใจนั่นเอง

แปลจาก Water song ของ Jim Nollman ในคอลัมน์ A sense of place ใน Resurgence No.207 July/August 2001 หน้า 21 (บทความนี้ยาวประมาณ 2 หน้ากระดาษ A4)
Jim Nollman เขียนหนังสือ 4 เล่ม , เล่มหนึ่ง คือ The Charged Border : Where Whales and Humans Meet (Holt,1999)

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)