เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่อการศึกษาสำหรับสังคมไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรม : ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 (ครบรอบ 3 ปี)

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

What is Visual Culture? Nicholas Mirzoeff อะไรคือวัฒนธรรมทางสายตา? เรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม คณะวิจิตรศิลป์ ม.ช.
R
related topic
release date
280546
ภาพประกอบดัดแปลง ใช้เพื่อประกอบบทความบริการฟรีของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 270 เดือนพฤษภาคม 2546 หัวเรื่อง "what is Visual Culture? Nicholas Mirzoeff อะไรคือวัฒนธรรมทางสายตา?
เรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม
เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ครั้งแรก วันที่ 28 พฤษภาคม 2546
A world picture...does not mean a picture of the world but the world conceived as a picture
บทความวิชาบริการฟรี ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปใช้ประโยชนทางด้านวิชาการ (280546)

อะไรคือวัฒนธรรมทางสายตา?
What is Visual Culture?
Nicholas Mirzoeff
เรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

"การเห็น"เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เหนือกว่า"ความเชื่อ"ในทุกวันนี้ คุณสามารถหาซื้อภาพถ่ายบ้านของคุณเองได้
ซึ่งถ่ายมาจากดาวเทียมโคจรดวงหนึ่ง หรือมีภาพถ่ายอวัยวะภายในของคุณที่ถูกสร้างภาพขึ้นมาจากภาพแถบแม่เหล็ก
และถ้าหากว่าช่วงขณะที่พิเศษอันนั้น ภาพถ่ายของคุณไม่ได้ปรากฎตัวออกมาอย่างที่คุณต้องการ
คุณก็สามารถที่จะจัดการหรือยักย้ายมันได้ด้วยระบบดิจิตอลในเครื่องคอมพิวเตอร์ (คลิกไปอ่านรายละเอียด)


Nicholas Mirzoeff
State University of New York, Stony Brook.

Statement: An eleven-year member of CAA, I am running for the Board of Directors to represent the aims
of those artists and art historians who now describe themselves as working in visual culture. As editor and author of several books on visual culture, an organizer of panels, seminars, and conferences, and a moderator of a listserv on the field, I am well placed to take on this responsibility. Although some have presented visual culture as a threat to art history, I see it as an expansion of the interdisciplinary aims of what was called the New Art History. Further, its appeal to many artists crosses the institutional divide in CAA. As the gap between criticism and practice becomes blurred by new technology, visual culture offers a model to enhance dialogue within and outside CAA. If elected, I would support all initiatives to diversify the organization and to enhance the role of women.

Ph.D., Warwick University, 1990; B.A., Balliol College, Oxford, 1983. Positions: Associate Professor, State University of New York, Stony Brook, 1998 to present; Associate Professor, University of Wisconsin, Madison, 1997-1998; Assistant Professor, University of Wisconsin, Madison, 1992-1997; Assistant Professor, University of Texas at Austin, 1991-1992. Selected Recent Publications: An Introduction to Visual Culture (Routledge, 1999); Silent Poetry: Deafness, Sign and Visual Culture in Modern France (Princeton University Press, 1995); Bodyscape: Art, Modernity and the Ideal Figure (Routledge, 1995); "The Multiple Viewpoint: Diasporic Visual Cultures" and "Pissarro's Passage: Caribbean Jewishness in Diaspora" in Diaspora and Visual Culture: Representing Africans and Jews (Routledge, 2000); "What Is Visual Culture?" in The Visual Culture Reader (Routledge, 1998). Selected Recent Curatorial Projects: Curatorial Committee, "Race and Photography," International Center for Photography, New York (2002-2003); Curator, "Jewish Identity at the Crossroads," University Art Gallery, Staller Center, State University of New York, Stony Brook (2000). Selected Awards and Grants: Visiting Fellow, Humanities Research Center, Australian National University (fall 2001); Touro National Heritage Trust Fellowship, John Carter Brown Library, Providence, RI (1996); Visiting Fellow, Huntington Library, Pasadena, CA (1994); Visiting Fellow, Yale Center for British Art (1993); Post-doctoral Fellow, J. Paul Getty Center (1992-1993). Professional Activities: Member, Association of Art Historians, American Society for Eighteenth Century Studies, American Studies Association, Association of Nineteenth Century Historians. CAA Activities: Conference session chair (1996); conference session participant (1997 and 2000).

 

กระบองที่ตีหัวชาวบ้านไม่ใช่คำตอบ
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

มีปัญหาเกี่ยวกับโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลย์ ซึ่งรัฐบาลไม่เคยตอบ ทั้งรัฐบาลนี้และรัฐบาลชุดก่อน ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวกับคนที่จะนะเท่านั้น แต่เกี่ยวกับคนไทยทั้งประเทศ และตราบเท่าที่ยังไม่ได้ตอบชี้แจงให้กระจ่าง ปัญหาก็จะยังค้างคาอยู่อย่างนั้น ไม่ว่าจะตีหัวชาวบ้านหัวร้างข้างแตกไปสักเท่าไร

1) ปัญหาความคุ้มทุนของโครงการ
โครงการนี้นับตั้งแต่ถือกำเนิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ใน พ.ศ.2522 สืบมาจน พ.ศ.2540 กำหนดว่าไทยจะต่อท่อจากหลุมขึ้นไปมาบตาพุด เพื่อใช้ส่วนแบ่ง 50% ของไทย ส่วนมาเลเซียก็จะต่อท่อก๊าซจากหลุมเข้าไปใช้ในประเทศของตนเอง ต่างคนต่างออกค่าก่อสร้างท่อเอาเอง

ใน พ.ศ.2539-40 โครงการถูกเปลี่ยนแปลง ก๊าซจากหลุมที่ไทยจะเอาไปใช้ที่มาบตาพุดถูกลดลงมาเหลือเพียง 40% ส่วนอีก 10% ที่เหลือ ไทยจะต่อท่อส่งเข้ามาสู่สงขลา ร่วมกันไปกับส่วนของมาเลเซียอีก 50% เป็น 60%

ฉะนั้นก๊าซที่จะขึ้นที่จะนะนั้นจึงเป็นก๊าซที่ไทยจะเอามาใช้ได้เพียง 20% ของทั้งหมด ที่เหลืออีก 80% ต้องส่งต่อไปให้มาเลย์

สำหรับก๊าซจำนวนน้อยที่ไทยจะได้ใช้นี้ ไทยต้องออกเงินค่าก่อสร้างครึ่งหนึ่ง ในขณะเดียวกันก็ควรตราไว้ด้วยว่า ส่วนโครงการที่ไทยจะส่งก๊าซของไทยเองอีก 40% จากหลุมไปยังมาบตาพุดก็ยังมีอยู่ ซึ่งไทยต้องออกเงินสร้างเองทั้งหมด

ผู้ที่ได้ประโยชน์จากสัญญาอัปลักษณ์นี้คือ บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน (พูดอีกอย่างหนึ่งคือผู้ถือหุ้นของบริษัทนี้) แต่ประโยชน์หรือกำไรที่จะได้ก็ไม่สู้จะสูงมากนัก ปตท.ต้องลงทุนสร้างท่อครึ่งหนึ่งเป็นเงิน 21,500 ล้านบาท ยังไม่รวมดอกเบี้ยซึ่งคาดว่าอยู่ที่ประมาณ 8% ต้องใช้เชื้อเพลิง 8% ของก๊าซทั้งหมดสำหรับโรงแยกก๊าซ ส่วนการขายบริการคือค่าผ่านท่อ(อัตรา 7.68 เหรียญต่อ 1,000 ลบ.ฟุต) นั้น ปตท.จะได้รับเงิน 75,000 ล้านบาท แต่เงินจำนวนนี้ทยอยจ่ายใน 20 ปี ส่วนค่าภาคหลวง 5% ที่รัฐจะได้รับจากการนี้มีมูลค่าเพียง 230 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น

ลองคิดดูเถิดว่าคุ้มหรือไม่ในแง่ธุรกิจ ยิ่งคิดทางการเมืองก็ต้องรวมเอาวิถีชีวิตของชาวบ้าน และระบบนิเวศชายฝั่งอันอุดมสมบูรณ์แต่เปราะบางของแถบนั้นด้วยแล้ว ก็อาจถือได้ว่าเป็นโครงการที่ขาดทุน แม้บริษัทมหาชนแห่งหนึ่งอาจเก็บเกี่ยวกำไรไปปันผลกันได้บ้างก็ตาม

และในที่สุด เราก็ต้องลงทุนต่อท่อจากหลุมเพื่อนำก๊าซมาใช้ที่ใดที่หนึ่งในเมืองไทยจนได้ เพราะจะปล่อยก๊าซอีก 40% ของเราไปเปล่าๆ ย่อมเป็นไปไม่ได้ และส่วนนี้แหละที่เราต้องลงทุนเองทั้งหมด

2) ไม่มีโครงการใช้ก๊าซในภาคใต้
โครงการนี้เป็นการนำก๊าซขึ้นมาส่งผ่านไปยังมาเลเซียเกือบจะล้วนๆ เพราะก๊าซ 10% ของไทยที่จะนำขึ้นฝั่งพร้อมกันนี้(เท่ากับ 94.16 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน) ไม่มีแผนรองรับว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร ได้แต่อ้างว่านำมาพัฒนาภาคใต้

นายกรัฐมนตรีเองพูดว่า "การทำโครงการนี้ไม่ใช่เพื่อต้องการก๊าซไปใช้ในอุตสาหกรรม เพราะไม่ได้ทำอุตสาหกรรมต่อเนื่องในพื้นที่ดังกล่าว เป็นการนำมาใช้ป้อนให้กับโรงงานที่ใช้ก๊าซเป็นพลังงาน (ท่านนายกฯไม่ได้ระบุว่าโรงงานอะไร) โรงไฟฟ้า และส่งให้ประเทศมาเลเซีย" (มติชน 27 พ.ย. 2545)

คำถามว่าจะเอาก๊าซเพียง 10% นี้ไปใช้ทำอะไรจึงเป็นคำถามที่ตอบไม่ได้ และไม่เคยตอบ ไม่ว่าจะถามในวุฒิสภาหรือในหมู่สาธารณชนก็ตาม

จนถึงปี 2546 กฟผ.ไม่เคยมีแผนที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าโดยใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคใต้ตอนล่างเลย (ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า PDP 2001 ซึ่งวางแผนกำลังผลิตไฟฟ้าไปจนถึง พ.ศ.2559) จนถึงวันที่ 1 เมษายนของปีนี้เอง กฟผ.จึงได้บรรจุแผนการสร้างโรงไฟฟ้าด้วยพลังก๊าซธรรมชาติขนาด 700 เมกะวัตต์ไว้ในโครงการ (แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า PDP 2003)

โดยให้เหตุผลตรงไปตรงมาไว้อย่างน่าอัศจรรย์ว่า "เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในเรื่องการวางท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย"

ทำไมจึงต้องเป็นโรงไฟฟ้า? เพราะโรงไฟฟ้าในแผนการดังกล่าวจะใช้ก๊าซถึงวันละ 84.8 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน ทำให้ก๊าซส่วนที่เป็นของไทยเหลือเพียง 9.37 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน แม้จำนวนที่น้อยลงนี้ก็นับเป็นปริมาณก๊าซที่ล้นเกินความต้องการของภาคใต้ตอนล่างอยู่ดี

แปลว่าจะเกิดโรงไฟฟ้าขึ้นอีกโรงหนึ่งเพื่อรองรับโครงการท่อก๊าซ ในขณะที่นายกรัฐมนตรีคุยกับประชาชนว่าไฟฟ้าในประเทศนั้นเหลือ 9,000 ถึง 10,000 เมกะวัตต์ คิดเป็นเงิน 4 แสนล้านบาท (บทสนทนาในวันที่ 15 มีนาคม 2546)

3) ความล้นเกินของไฟฟ้าในภาคใต้
ตามตัวเลขของ กฟผ.เอง ในปี 2545 ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในภาคใต้มีค่า 1,356 เมกะวัตต์ ในปัจจุบันมีกำลังผลิตไฟฟ้า 1,381 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ กฟผ.ได้ลงทุนหลายพันล้านบาทสร้างระบบที่อาจเชื่อมไฟฟ้าจากภาคกลางและมาเลเซียมาใช้ในช่วงความต้องการสูงสุดอีก 650 เมกะวัตต์ โครงการเชื่อมไฟฟ้าเพื่อแลกเปลี่ยนกันนี้มีเหตุผล เพราะช่วงสูงสุดของความต้องการไฟฟ้าระหว่างภาคใต้กับมาเลเซียและภาคกลาง(ซึ่งมีไฟฟ้าล้นเกินจำนวนมากอยู่แล้ว) นั้นไม่ตรงกัน จึงสมควรดึงมาแลกเปลี่ยนกันในต่างช่วงเวลาได้ดี คุณพงศ์เทพ เทพกาญจนา เคยกล่าวว่าเป็นวิธีปกติธรรมดาที่ใช้กันในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย

ฉะนั้นในปีนี้และอีกสองสามปีข้างหน้า เห็นได้ชัดว่ามีความมั่นคงด้านไฟฟ้าในภาคใต้อย่างแน่นอน

ปัญหาอยู่ที่ว่าในอนาคตความต้องการไฟฟ้าในภาคใต้ต้องเพิ่มขึ้น (แต่จะเพิ่มในอัตราที่สูงเท่ากับ 135 เมกะวัตต์ต่อปี อย่างที่คาดการณ์หรือไม่ เถียงกันได้และน่าเถียงอย่างยิ่งด้วย) ปัญหานี้จะตอบได้ต้องกลับไปดูงานศึกษาที่ กฟผ.ทำไว้ ว่ากำลังผลิตไฟฟ้าในภาคใต้จนถึงปี 2559 จะมีถึง 5,106.3 เมกะวัตต์ โดยไม่รวมโรงไฟฟ้าพลังก๊าซที่กำลังจะเกิดขึ้นเพื่อสนองนโยบายนี้

ในแผนนี้ได้รวมเอาไฟฟ้าที่จะผลิตจากบ่อนอก-บ้านกรูดไว้ด้วยจำนวนมาก (ในโครงการเปลี่ยนระบบสายส่งบางสะพาน-สุราษฎร์ธานี) ในขณะที่ปัจจุบันคาดกันว่าโรงไฟฟ้าทั้งสองจะเปลี่ยนเชื้อเพลิงและย้ายไปสถานที่ใหม่ ไม่ว่าจะย้ายไปอยู่ที่ใดก็ตาม ปริมาณไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นก็ยังคงเดิม กระทบต่อแผนของ กฟผ.เพียงการเปลี่ยนจุดที่จะปรับปรุงสายส่งเท่านั้น ฉะนั้นปริมาณไฟฟ้าที่ภาคใต้จะมีใน พ.ศ.2559 จึงยังคงเดิม

แม้ยอมรับการคาดการณ์ความต้องการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในภาคใต้อย่างเกินจริง ใน พ.ศ.2559 ภาคใต้ก็ต้องการไฟฟ้าเพียง 3,761 เมกะวัตต์ เท่านั้น

ด้วยเหตุดังนั้น โรงไฟฟ้า 700 เมกะวัตต์ ที่จะเกิดขึ้นเพื่อใช้ก๊าซส่วนของไทยนี้ จึงไม่มีความจำเป็นต้องสร้างแต่อย่างใด สอดคล้องกับงานศึกษาของ รศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ซึ่งสรุปเรื่องไฟฟ้าไว้ว่า "ผลจากโครงการก่อสร้างโรงแยกก๊าซและท่อก๊าซนี้จะยังไม่เข้ามาตอบสนองต่อความต้องการไฟฟ้าในภาคใต้ภายในระยะ 15 ปีข้างหน้าโดยตรง" (ความต้องการพลังงานไฟฟ้าสำรอง โครงการก่อสร้างโรงงานแยกก๊าซและท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งร่วมลงทุนไทย-มาเลเซีย, น.23)

4) ใครจ่าย
ความล้นเกินความต้องการของก๊าซและไฟฟ้า รวมทั้งการลงทุนที่ไม่จำเป็นเหล่านี้ ในที่สุดคนไทยทุกคนเป็นผู้จ่าย และจ่ายในหลายลักษณะด้วย นับตั้งแต่เงินงบประมาณ ไปจนถึงค่าพลังงานที่แพงเกินจริง รวมถึงการลดถอยลงของความสามารถในการแข่งขันของการผลิตในประเทศไทย

5) วาระซ่อนเร้น
ดูเฉพาะโครงการท่อก๊าซซึ่งถูกเปลี่ยนให้นำมาขึ้นที่จะนะนั้น ไม่มีเหตุผลความชอบธรรมใดๆ เลย ดังที่กล่าวแล้ว แต่ในความเป็นจริง รัฐบาล(ทั้งชุดที่แล้วและชุดนี้) มีวาระซ่อนเร้นเบื้องหลังโครงการนี้หรือไม่

เช่นมีโครงการขนาดใหญ่ในการเปิดพื้นที่ภาคใต้เป็นเขตอุตสาหกรรม เป็นต้น หากมีอะไรเป็นวาระซ่อนเร้นเช่นนี้ ชอบที่จะเปิดเผยโครงการทั้งหมดให้สังคมไทยได้รับรู้ เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมและตรวจสอบอย่างจริงจัง

6) หัวชาวบ้าน
หัวชาวบ้านจะแตกอีกเท่าไร ก่อนที่โครงการท่อก๊าซไทย-มาเลย์จะโปร่งใส เพื่อให้ประชาชนทั้งประเทศ ไม่เฉพาะแต่ชาวจะนะเท่านั้นได้เข้ามาตรวจสอบได้จริง
(อาศัยข้อมูลจากประสาท มีแต้ม, ภาระที่ไม่จำเป็นด้านพลังงาน : วิเคราะห์ปัญหาโรงไฟฟ้าและท่อก๊าซไทย-พม่า-มาเลเซีย)


ท่อแก๊สภาคใต้อาจจะระเบิดก่อนเริ่มโครงการ
วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ / 3 มิถุนายน 2546

บริษัททรานส์ไทย-มาเลเซียกำลังเจาะสำรวจดินแล้ว เวลาของความรุนแรงจากความขัดแย้งเรื่องท่อแก๊สกำลังใกล้เข้ามา เรามีทางเลือกไหม?

ความรุนแรงเป็นสาเหตุของการตายการพิการและการสูญเสียเชิงสุขภาพที่สำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการทางมันสมองทำให้มนุษย์สามารถอยู่เป็นครอบครัว ชุมชน เมือง และรัฐ ซึ่งมีประสิทธิภาพในสร้างความสะดวกสบายอย่างที่สัตว์อื่นไม่สามารถทำได้ แต่วิวัฒนาการส่วนนี้ก็ไม่ได้ลดทอนสัญชาติญาณแห่งความรุนแรงที่ติดมาจากสัตว์ให้หมดสิ้น

ในระดับนานาชาติ ชุมชนและรัฐชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกใช้ความรุนแรงกำจัดผู้ปกครองของอีกรัฐหนึ่งที่มีวิธีคิดที่แตกต่างกัน ภายในเอเซียด้วย การเจรจาสันติภาพระหว่างสิงหลและทมิฬหยุดชะงัก รัฐบาลกลางอินโดนีเซียทุบโต๊ะยุติการเจรจากับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนอาเจะห์ส่งทหารเข้าไปสองหมื่น โรงเรียนถูกเผาวันเดียวสองร้อยโรงพร้อมกัน ทำนองเดียวกับรัฐบาลฟิลิปปินส์ประกาศสงครามกับกบฎมุสลิมมินดาเนาภายใต้ความช่วยเหลือทางการทหารของสหรัฐอเมริกา

ความรุนแรงในประเทศไทยในอดีตเกิดจากกระแสการต่อสู้ในเมืองเกิดขึ้นระหว่างอำนาจเผด็จการทหารกับอำนาจประชาธิปไตยของปัญญาชน ระหว่างเจ้าหน้าที่บ้านเมืองกับราษฎรที่ถูกข่มเหงรังแก ความรุนแรงในสังคมไทยที่กำลังก่อตัวใหม่ คือ ความรุนแรงจากปัญหาการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

ในการจัดประชาพิจารณ์โดยรัฐบาลที่เทศบาลเมืองหาดใหญ่ เกิดความรุนแรงทำให้ข้าวของเสียหายไประดับหนึ่ง กลุ่มผู้คัดค้านส่งสัญญาณให้เห็นว่าไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากวิธีที่รุนแรง ในทางกลับกัน เมื่อต้นปีนี้ อำนาจรัฐใช้ยกกองกำลังตำรวจที่เหนือกว่าทำลายการชุมนุมอย่างสันติของกลุ่มคัดค้านบริเวณใกล้โรงแรมเจบี สร้างความเสียหายต่อรถยนต์และข้าวของของฝ่ายคัดค้าน บิดเบือนและปิดข่าวสื่อมวลชน จับกลุ่มผู้นำการเคลื่อนไหว หลังจากนั้นจึงติดตามด้วยการทำลายขวัญจับกุมชาวบ้านเพิ่มเติมตั้งข้อหาต่าง ๆ สร้างความเดือดร้อนในการทำมาหากินไปตาม ๆ กัน

"อันวิสัยในพิภพแม้นรบกัน ย่อมหมายมั่นที่จะได้ชัยชนะ" ความขัดแย้งที่ดำรงอยู่จะทวีความรุนแรงไปในรูปแบบใดยากที่จะคาดการณ์ได้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือ มอ. เป็นมหาวิทยาลัยอยู่ในพื้นที่แห่งความขัดแย้ง เป็นแหล่งรวมของผู้ที่มีความรู้และสติปัญญามากที่สุด อาจจะไม่เหมาะสมที่จะอยู่นิ่งเฉยเป็นทองไม่รู้ร้อน แต่ก็ยากอีกเช่นกันที่จะระงับกระแสความรุนแรงที่สั่งสม อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยน่าจะมีกิจกรรมในเชิงบวกมากกว่าการอยู่เฉย ๆ และรอผลกระทบ

เมื่อบริษัทท่อแก๊สติดต่อให้ มอ. ไปทำ EIA หรือการประเมินผลทางสิ่งแวดล้อม อาจารย์กลุ่มหนึ่งได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัย ซึ่งต่อมาเป็นทุกข์ลาภของอาจารย์เหล่านั้น เนื่องจากการทำ EIA ในประเทศไทยนั้นโดยพื้นฐานเป็นกระบวนการช่วยให้เจ้าของโครงการปรับปรุงโครงการให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดถ้าจะต้องดำเนินโครงการนั้น แต่โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ดูเสมือนเป็นการสร้างความชอบธรรมให้โครงการนั้นดำเนินไปได้อย่างถูกกฎหมาย ทำให้ฝ่ายคัดค้านโกรธเคืองอาจารย์ผู้เคราะห์ร้ายทางการเมืองเหล่านั้น

อีกด้านหนึ่งของมหาวิทยาลัยก็มีอาจารย์ผู้เห็นใจประชาชนที่เดือดร้อน ศึกษาปัญหาต่าง ๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วน เดินทางไปพบรัฐบาลหลายรอบเพื่อให้ข้อมูล แต่ในที่สุดรัฐบาลก็ตัดสินใจเดินหน้าต่อ เปลี่ยนปฏิบัติการจากสายพิราบเป็นสายเหยี่ยว คราวนี้อาจารย์ฝ่ายเห็นใจชาวบ้านอาจจะเดือดร้อนจากสายเหยี่ยวของรัฐบาลมองว่า "การจัดเลี้ยงน้ำชาเพื่อระดมหาเงินบริเวณตลาดเขียว ถนนปุณณกัณฑ์ ข้างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สามารถเรี่ยไรเงินได้ประมาณ 400,000 บาท สำหรับจ่ายให้กับเจ้าของรถยนต์ที่ถูกยึดไว้เป็นของกลางในคดีก่อเหตุจลาจล" ซึ่งอาจารย์ของเราส่วนหนึ่งไปร่วมด้วยเป็นส่วนหนึ่งของความ "…พยายามดำรงและแสดงให้เห็นว่ากลุ่มคัดค้านยังคงรวมกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น…" อาจารย์ มอ. หลายคนเข้าร่วมในงานเลี้ยงน้ำชาดังกล่าวด้วย เหยี่ยวคงจะไม่ค่อยพอใจอาจารย์กลุ่มนี้

ต่อหน้าความรุนแรงที่เกิดขึ้นแล้วและกำลังจะทวีมากขึ้น มอ. ควรวางท่าทีอย่างไร? เราควรเอาหัวซุกทรายเหมือนนกกระจอกเทศหลบพายุหรือไม่

จุดยืนที่สำคัญของ มอ. ในกรณีนี้ ควรจะอยู่ที่วิชาการ, มนุษยธรรม และการเมือง

ในทางวิชาการ
- ประการแรก มอ. ควรรวบรวมหลักฐานทางวิชาการทั้งหมดที่อาจารย์แต่ละฝ่ายได้ศึกษาไว้ทั้งด้านสนับสนุนและด้านคัดค้าน ตรวจสอบกลั่นกรองภายในจนเป็นที่ยอมรับแล้วเผยแพร่ให้สาธารณชนรับทราบ

- ประการที่สอง มอ. ควรเก็บบันทึกข้อเท็จจริงเหตุการณ์และหลักฐานต่าง ๆ ไว้เป็นประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา ไม่ว่าจะเป็นข่าวต่าง ๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์ เทปวิดีโอความวุ่นวายและความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากฝ่ายค้านในการจัดประชาพิจารณ์ที่เทศบาลหาดใหญ่ บันทึกวิดีโอความรุนแรงที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติใช้การสลายการชุมนุมอย่างสันติของฝ่ายคัดค้าน ความเดือดร้อนของชาวบ้านที่เกิดจากการติดตามจับกุมหลังจากสลายกำลังฝ่ายคัดค้านไปแล้ว รวมทั้งเรื่องต่าง ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นและกำลังจะเกิดขึ้น เพื่อผู้สนใจจะได้ศึกษาหลักฐานเหล่านี้ด้วยใจเป็นธรรม และหาทางหลีกเลี่ยงความรุนแรงเหล่านี้ในอนาคต

- ประการที่สาม มอ. อาจจะส่งเสริมการวิจัยเพื่อรวบรวมประสบการณ์ของนักวิชาการทั่วโลกในการลดความรุนแรงและความสูญเสียจากการประท้วงและการปราบจลาจล เผยแพร่วิธีการเหล่านั้นให้ทุกฝ่ายทราบเพื่อใช้เป็นทางเลือกในการดำเนินงาน

- ประการที่สี่ อุดมการนิติรัฐความถูกต้องและเป็นภาควิชาการ ความไม่เชื่อในระบบนิติรัฐเป็นความล้มเหลวทางวิชาการ ถ้าทุกคนถือสัมฤทธิผลเป็นหลัก ซึ่งก็คือวิธีที่รุนแรง สังคมจะไร้ระเบียบ ถ้าอำนาจรัฐซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายไม่ปฎิบัติการตามหลักแห่งนิติรัฐจะไปบังคับให้ประชาชนปฏิบัติได้อย่างไร อุดมการณ์นี้ควรปลูกฝังในสังคมระยะยาวผ่านระบบการศึกษา เพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรงในอนาคต การชี้นำสังคมซึ่งเป็นปณิธานของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ต้องมุ่งสู่ความเป็นนิติรัฐ

- ประการที่ห้า การติดตามผลกระทบต่อชาวบ้านในระยะต่าง ๆ เป็นหน้าที่ของ มอ. ซึ่งทั้งฝ่ายอำนาจรัฐและฝ่ายชาวบ้านน่าจะรับได้ มอ. ควรเตรียมโครงการวิจัยนี้แบบติดตามระยะยาว ทั้งนี้ผู้สนับสนุนทางการเงินควรเป็นหน่วยงานที่เป็นกลาง เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) ไม่ใช่เป็นบริษัทผู้ได้กำไรจากการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมดังเช่นที่ได้ปฏิบัติมาเมื่อครั้งจัดทำ EIA

ในทางมนุษยธรรม
ชาวบ้านที่เป็นจำเลยส่วนใหญ่ไม่มีทั้งเงินและไม่มีความรู้ด้านกฎหมาย การหวังพึ่งสมาคมทนายความและคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนในระยะแรกพิสูจน์แล้วว่าไร้ผล ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเองก็ยังโดนคุกคาม ดังนั้น

- ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนโดยไม่มีความผิดเหล่านี้ สมควรได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือตามสมควรทั้งด้านกำลังใจและกำลังทรัพย์ตามสมควรโดยเฉพาะจากคนในพื้นที่ด้วยกัน

- ถ้า มอ. มีนักกฎหมาย โดยเฉพาะการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์ใหม่ มอ. ควรเตรียมให้ปรึกษาทางกฎหมายแก่ผู้เสียเปรียบในสังคม ในกรณีคือจำเลย เพื่อผดุงความเป็นธรรมตามปณิธานของสมเด็จพระราชบิดา

ในทางการเมือง
มอ. เป็นสถานการศึกษาชั้นสูงที่ประชาชนยอมรับและข้าราชการในพื้นที่รู้สึกเกรงใจ หลักสูตรปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์ของ มอ. เป็นที่นิยมของข้าราชการพอ ๆ กับหลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจซึ่งเป็นที่นิยมของนักธุรกิจในพื้นที่

- มอ. ควรอาศัยจุดแข็งนี้ นำปัญหาเรื่องความรุนแรงจากท่อแก๊สมาเป็นบทเรียนในภาคบริหารราชการและภาคธุรกิจ ขจัดภัยแห่งความความขลาดกลัวด้วยความเข้มแข็งแห่งข้อเท็จจริงและหลักวิชาการ

- มอ. อาจจะเป็นเวทีให้ทั้งสองฝ่ายเปลี่ยนจากการดำเนินการสงครามใต้ดินและสงครามจิตวิทยาของทั้งฝ่ายมาเป็นเวทีแห่งการเจรจา เพื่อให้ได้ทางเลือกที่ไม่ต้องอาศัยความรุนแรง

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

"การเห็น"เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เหนือกว่า"ความเชื่อ"ในทุกวันนี้ คุณสามารถหาซื้อภาพถ่ายบ้านของคุณเองได้ ซึ่งถ่ายมาจากดาวเทียมโคจรดวงหนึ่ง หรือมีภาพถ่ายอวัยวะภายในของคุณที่ถูกสร้างภาพขึ้นมาจากภาพแถบแม่เหล็ก และถ้าหากว่าช่วงขณะที่พิเศษอันนั้น ภาพถ่ายของคุณไม่ได้ปรากฎตัวออกมาอย่างที่คุณต้องการ คุณก็สามารถที่จะจัดการหรือยักย้ายมันได้ด้วยระบบดิจิตอลในเครื่องคอมพิวเตอร์
ภาพในแบบจารีตเชื่อฟังกฎเกณฑ์ของตัวเองที่ว่า มันมีความเป็นอิสระไปจากความจริงภายนอก. เช่น ภาพที่เกิดขึ้นจากระบบทัศนียวิทยา(perspective ) ขึ้นอยู่กับผู้ดูที่ตรวจสอบภาพจากจุดใดจุดหนึ่งเพียงจุดเดียวเท่านั้น, และใช้ลูกตาเพียงข้างเดียว. จริงๆแล้วไม่มีใครกระทำเช่นนั้นได้ แต่ภาพดังกล่าวสอดคล้องกับเหตุผลภายใน และด้วยเหตุดังนั้นมันจึงน่าเชื่อถือ

หมายเหตุ : บทความที่สมาชิกและผู้สนใจกำลังจะอ่านต่อไปนี้ เป็นคำนำของหนังสือ The Visual Culture Reader ซึ่ง Nicholas Mirzoeff เป็นบรรณาธิการ และเขียนคำนำ โดยที่เขาได้ให้ภาพกว้างเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้อย่างสังเขป
ซึ่งเหมาะสำหรับการช่วยให้ความกระจ่างเกี่ยวกับศาสตร์ใหม่ร่วมสมัย
ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจศึกษากันตามมหาวิทยาลัยในโลกตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา
(บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ชุดฐานข้อมูลความรู้เบื้องต้นทางด้านสังคมวิทยาศิลปะ และสหวิทยาการ)
(ความยาวประมาณ 15 หน้ากระดาษ A4)
ต้นฉบับหนังสือ The Visual Culture Reader Edited, with introductions by Nicholas Mirzoeff First published in 1998 by Routledge London and New York. Reprinted in 1999

N
next page