ปาฐกาถาพิเศษปิดงาน โครงการศิลปะเพื่อสันติภาพ : โดย สุลักษณ์ ศิวรักษ์ / หัวข้อ "การจัดการความขัดแย้งในวิถีทางของชาวพุทธ" ณ วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่
N
Next
ภาพประกอบดัดแปลง ผลงานของ Willian De Kooning ชื่อภาพ Women 1 เทคนิคสีน้ำมัน (จากหนังสือ Treasures of American Museum หน้า 49 )

นางออล์ไบรท์ เมื่อเป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศบอกเลยครับ ตอนที่นายโคฟี่ อันนันเลขาธิการสหประชาชาติ ไปเจรจากับอิรัก ถ้าผลการเจรจานั้น สหประชาชาติตกลงกับอิรักได้ แต่ถ้าสหรัฐฯไม่พอใจ จะไม่รับข้อตกลงอันนั้น นี่คือ Double satndard ครับ

สหรัฐฯประกาศห้ามทุกประเทศขายสินค้าให้อิรัก เด็กอย่างเดียวนะครับ ปีหนึ่งเด็กตายถึง 5 แสนคนในอิรัก เพราะอาหารไม่พอ ยาไม่พอ. นางออล์ไบรท์ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศในตอนนั้นไม่ได้ปฏิเสธความข้อนี้ครับว่า สหรัฐฯเป็นต้นตอให้เด็กตายปีละ 5 แสนคน แต่เราไม่มีทางเลี่ยงเพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ชอบธรรมซึ่งเราต้องทำ. นี่ Double Standard

 

ภาพประกอบจากนิคยสาร Newsweek ฉบับ March 29, 1999 หน้า 25
..

ฉะนั้นผมจึงบอกว่า สิ่งที่ เกิดขึ้นมาสหรัฐฯนั้น
เป็นความรุนแรง เป็นความขัดแย้ง แต่นายบุชไม่ได้หาทางแก้ไขความขัดแย้ง ไม่จำต้องใช้วิธีการของชาวพุทธครับ วิธีของศาสนาคริสต์ที่นายบุชอ้างว่านับถือนั่นน่ะ แก้ไขด้วยวิธีนั้นนะครับ ผมพูดตลอดเวลาเลยว่าสหรัฐฯจะคงความเป็นผู้นำในโลกนี้ได้สำหรับสหัสวรรษนี้ ทำอย่างไรครับ ก็ทำตามที่พระเยซูสอนซิครับว่า ใครมาตบแก้มซ้ายเราก็เอียงแก้มขวาให้ นายบุชก็พูดว่า ใครมาทำร้ายเรา ตึกที่ทันสมัยที่สุดของเรา ฆ่าคนไปกว่า 2-3 พันคน เราเศร้าเสียใจมากเลย แต่เราเชื่อในพระเยซูเจ้าว่า เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร พระเยซูพูดคล้ายๆพระพุทธเจ้านะครับในเรื่องนี้
ต้องให้อภัย แล้วมาจับเข่าคุยกัน หาทางแก้ไข

เพียงเท่านี้ครับ นายบุชจะได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพ และคนอเมริกันทั้งหมดจะไม่สดุ้งหวาดกลัวอะไรเลย อย่าลืมนะครับ คนในเอมริกาเวลานี้
สะดุ้งหวาดกลัวตลอดเวลา...
คนที่เขามาทำลาย World Trade Center ก็ดี ตึก Pentagon ก็ดี เขาไม่มีวิธีสู้อย่างอื่นครับ เขาจะเอาระเบิดไปทิ้งอย่างที่สหรัฐฯทำ เขาทำไม่ได้ เขาจะมีแสนยานุภาพอย่างสหรัฐฯเขาทำไม่ได้ เขาจะมี ซี.ไอ.เอ.ไปทั่วโลก เขาทำไม่ได้. แต่เขาจะทำในสิ่งซึ่งสหรัฐฯไม่มีทางจะสู้เขาครับ เพราะฉะนั้นคนในสหรัฐฯเวลานี้นี่ ตั้งแต่วันที่ 11 กันยามานะครับ ยังไม่ครบปีเลยครับ ผมหงอกกันเป็นแถวเลย ...

120145
release date
CP
Contents P.
MP
Member P.
WB
Webboard
หากประสบปัญหา ภาพและตัวหนังสือ ซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้
บทความลำดับที่ 151 ถอดเทปจาก การปาฐกถาปิดโครงการ ศิลปะเพื่อสันติภาพ โดย ส.ศิวรักษ์ ณ ลานเจดีย์ วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่ วันที่ 23 ธันวาคม 2545 เวลา 14.00 น.
M.N.U.

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิกที่ปุ่ม member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ปุ่ม contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
(midnightuniv(at)yahoo.com)

โครงการศิลปะเพื่อสันติภาพ : Art Against War
วันอังคารที่ 18 - วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2544

หลักการและความเป็นมา สันติภาพหาใช่เป็นสันติภาพที่แท้จริงไม่ หากเป็นเพียงการถ่วงดุลอำนาจของประเทศมหาอำนาจทั้งหลาย อำนาจที่เคยสมดุลกลับกระทบกระเทือน โดยขบวนการก่อการร้ายที่เป็นสงครามไร้รูปแบบหรือไร้พรมแดน สงครามที่ปะทุขึ้นครั้งนี้กำลังเตือนเราว่า เราได้มาถึงทางตันของทุนนิยม และอาจเป็นการสิ้นสุดของโลกาภิวัตน์

ภาวะวิกฤตของความรู้สึกไม่มั่นคงจากการถูกคุกคาม เป็นแรงกระตุ้นเร้าให้มนุษย์ปกป้องตนเอง และในขณะเดียวกันก็ตอบโต้กันไปมาไม่รู้จบสิ้น และขยายวงกว้างชักชวนผู้ใกล้ชิดให้มาเป็นพวกพ้อง ซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างเผ่าพันธุ์และศาสนาด้วย ความเข้าใจผิด ผลที่ได้รับก็มักตกอยู่กับผู้ไม่ได้ก่อ

สันติภาพของโลกกำลังถูกคุกคาม เราที่เป็นคนไทยได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม กลุ่มศิลปินและนักวิชาการจึงได้รวมตัวกันเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์โลกเหล่านี้ และร่วมกันจัดกิจกรรม "ศิลปะเพื่อสันติภาพ" โดยคาดหวังว่าจะสามารถสื่อและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของสงคราม ต่อประชาชนชาวไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมไปถึงการเข้าใจวิกฤตผ่านมุมมองของชาวพุทธ และภูมิปัญญาของชาวล้านนา ระลึกถึงสันติภาพที่แท้ อันกอรปไปด้วยความรัก ความเมตตา เสรีภาพ และภารดรภาพ รวมไปถึงการคำนึงถึงอนาคตของสันติภาพด้วย

วัตถุประสงค์
1. เพื่อร่วมกันแสดงจิตสำนึกทางสังคม และความรับผิดชอบของศิลปินต่อสถานการณ์โลก อันเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างงานศิลปะ ที่มีพื้นฐานอยู่บนเสรีภาพ และภารดรภาพในสหัสวรรษใหม่
2. เพื่อสร้างเวทีการแสดงออกทางวิชาการและทางศิลปะต่อภาววิกฤตโลกที่ส่งผลกระทบต่อชาวไทยและชาวล้านนา
3. เพื่อสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ประชาชนชาวเชียงใหม่ได้มีส่วนร่วมการกระทำ ที่เป็นไปเพื่อการนำสันติภาพและความสมัครสมานสามัคคีมาสู่ชุมชนโลกผ่านงานศิลปะ

องค์กรที่ร่วมจัดงาน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, อุโมงค์ศิลปธรรม, สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม,่ โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา, หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปาฐกถาพิเศษ"โครงการศิลปะเพื่อสันติภาพ"
โดย อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์
สถานที่ บริเวณลานเจดีย์วัดอุโมงค์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
วันที่ 23 ธันวาคม 2544 เวลา 14.00 น.

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

สมชาย ปรีชาศิลปกุล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แปลและเรียบเรียงจากคดี Adong bin Kuwau & Ors V. Kerajaan Negeri Johor & Anor คำพิพากษาของ High Court Nov 21, 1996 ใน Malayan Law Journal <1997>1,pp. 418-436.
หมายเหตุ งานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานที่ผู้เขียนได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการ API Fellowship (Asian Public Intellectuals) ไปศึกษาวิจัยในประเด็นชนพื้นเมืองและระบบกฎหมายในการจัดการทรัพยากร ณ ประเทศมาเลเซียและฟิลิปปินส์ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ๒๐๐๑-เมษายน ๒๐๐๒
HOST@THAIIS