บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนลำดับท 188 ี่ เนื่องในการสัมนา "เครือข่ายการศึกษาทางเลือก" วันที่ 26 พฤษภาคม 2545 จัดโดย โครงการวิจัยการศึกษาทางเลือก ฯ (สกว.)
บทความชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของ การเปิดชั้นเรียนเรื่อง "ทางเลือกอุดมศึกษาเพื่อความเป็นไท" ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นมา เนื่องในโอกาสที่ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ย้ายที่ทำการ และจะมีการเปิดมหาวิทยาลัยฯ วันที่ 22 มิถุนายน 2545 ณ ซอย โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่
release date
110645

คนในภาคเหนือเขาสั่งสมภูมิปัญญามหาศาลทีเดียว
มีสองรูปแบบ อันหนึ่งคือรูปแบบที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
อาจจะเป็นนิทาน นิยาย คำสั่งสอนอะไรก็แล้วแต่ ซึ่งมันไม่ได้
ถูกจดเอาไว้ กับอีกมหึมาเลยจดเอาไว้ในคัมภีร์ใบลาน หรือกระดาษสาอะไรก็ตามแต่ วันหนี่งเราจัดระบบโรงเรียนเราบอกเลิก ไม่ต้องเรียนภาษาที่เขาเรียกว่าตัวเมือง เลิกไม่ต้องเรียน ก็แปลว่าเรากำลังบอกเด็กภาคเหนือทั้งหมด คุณจงลืมภูมิปัญญาของพ่อแม่คุณเสียให้หมด เพราะว่า คุณจะสืบต่อภูมิปัญญาเหล่านั้นได้คุณจะต้องอ่านออก

หรือในภาคใต้ก็เหมือนกัน ที่เรียกเป็นทางการคือตัวยาวี ไม่มีการสอน เขาฝากภูมิปัญญาเขาไว้ในตัวยาวี และก็ตัดขาดจากกันโดยสิ้นเชิง ผมจึงคิดว่านี่เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมชัดเจนว่า ภูมิปัญญาของคนมันไม่ได้สัมพันธ์กับการศึกษาในระบบโรงเรียน

ภาพประกอบดัดแปลง
ผลงานของ Fernando Botero เทคนิคสีน้ำมัน
บนผ้าใบ

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร
บทความนี้ยาวประมาณ 10 หน้ากระดาษ A4
ปาฐกถาเรื่อง
"การศึกษาทางเลือกของภาคประชาชน"

โดย ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์
เนื่องในการสัมนา "เครือข่ายการศึกษาทางเลือก"
วันที่ 26 พฤษภาคม 2545
จัดโดย โครงการวิจัยการศึกษาทางเลือก ฯ (สกว.)

ดังนั้น การดำเนินชีวิตปกติซึ่งมนุษย์ทุกคนก็ต้องเรียนรู้อะไรในการดำเนินชีวิตปกติอยู่แล้ว ไม่ถือเป็นการศึกษาทางเลือก

ทีนี้ในขณะเดียวกันเราปฏิเสธไม่ได้ว่ามันมีกระบวนการบางอย่าง ที่มีเป้าหมายไปอีกอย่างหนึ่งเลย ไม่ได้เกี่ยวกับการเรียนรู้โดยตรง แต่ในกระบวนการนนั้นเองมันเกิดกระบวนการเรียนรู้ขึ้น จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามแต่หรืออย่างน้อยสุดก็คือว่า มันต้องอาศัยการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ผมขอยกตัวอย่างรูปธรรมเช่น

การจัดกลุ่มออมทรัพย์ในบางแห่ง เป้าหมายของการจัดกลุ่มออมทรัพย์อาจจะเพื่อสวัสดิการของชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการในทางเศรษฐกิจ สวัสดิการในทางสังคม วัฒนธรรมอะไรก็ตามแต่ แม้ว่าเป้าหมายมันไม่ใช่การเรียนรู้โดยตรง แต่เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านั้น มันเน้นความสมัครใจ เน้นการมีส่วนร่วม เน้นการตัดสินใจร่วมกัน ฯลฯ ทำให้กระบวนการอันการมีส่วนร่วม ความสมัครใจนั้น ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น เช่นเป็นต้นว่า มีการประชุม ออกระเบียบ ยกเลิกระเบียบต่างๆนานา มีการถกเถียงกัน มีการนำเอาข้อมูลจากที่อื่นๆ มาดูกันเพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า กลุ่มออมทรัพย์จำนวนมากในสังคมไทยเรา ที่สามารถประสบความสำเร็จบรรลุตามเป้าหมายที่ตัวต้องการได้ ต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้เป็นหลัก อย่างนี้ผมก็ถือว่ากลุ่มออมทรัพย์เหล่านี้ก็เป็นการศึกษาทางเลือกในแง่หนึ่ง ถึงไม่ได้มีเจตนารมณ์ในเรื่องการเรียนรู้โดยตรง แต่ว่าใช้การเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการบรรลุเจตนารมย์ของตนเอง

ประเด็นที่สองที่อยากจะพูดถึง นอกจากเจตนารมณ์ของการศึกษาทางเลือกซึ่งอยู่นอกระบบโรงเรียนแล้ว ประเด็นนี้ผมคิดว่ามีความสำคัญก็คือว่า เพราะมันมีกระบวนการในการเรียนรู้นี่เอง จึงทำให้การศึกษาทางเลือกทั้งหลายไม่ว่าจะจัดอย่างหลวมๆยังไงก็ตามแต่ มันมีการจัดองค์กรในระดับใดระดับหนึ่ง ถ้าไม่มีการจัดองค์กรเลยแล้ว มันก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ยาก เพราะฉะนั้นมันจะต้องจัดองค์กร อาจจะจัดอย่างหลวมมากๆเลยก็ได้ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งในทางวิชาการคือว่า มันมีลักษณะเป็นโครงสร้างมากบ้างน้อยบ้างก็ตามแต่ แต่มันต้องมี ถ้ามันไม่มีเลยนี่มันก็จะแยกแยะลำบาก ระหว่างการศึกษาทางเลือกกับการเรียนรู้ในชีวิตปกติธรรมดาของคนเรา

ที่นี้สิ่งที่น่าสังเกตในกรณีนี้อย่างหนึ่งที่ผมอยากจะพูดถึงก็คือว่า องค์กรเพื่อการเรียนรู้ในสมัยหนึ่งคงมีมากมาย แต่ว่าในปัจจุบันนี้ความเข้าใจของคนทั่วๆไป เมื่อไรก็ตามที่เราพูดถึงองค์กรซึ่งจัดขึ้นเพื่อการเรียนรู้ เรามักจะนึกถึงระบบโรงเรียนเป็นที่ตั้ง นี่พูดถึงคนทั่วๆไปนะครับ ถ้าจะมีการเรียนรู้นอกองค์กรขึ้นมาก็กลายเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล คนนั้นสนใจเรื่องนั้นก็ไปศึกษาเรื่องนั้น คนนี้สนใจเรื่องนี้ก็ไปศึกษาเรื่องนี้ โดยอยู่นอกระบบโรงเรียนหรือนอกองค์กร อาจจะผ่านสื่อเรียนรู้ประเภทต่างๆนับตั้งแต่ห้องสมุด ไปถึงทีวี วิทยุ อะไรก็ตามแต่ ประเด็นที่ผมอยากจะชี้ให้เห็นก็คือว่า เวลาเราพูดถึงการเรียนรู้นอกองค์กรระบบโรงเรียนในปัจจุบันนี้ เรามักจะนึกถึงปัจเจกบุคคลเป็นที่ตั้ง เราไม่ค่อยนึกถึงเรื่องของการเรียนรู้เป็นกลุ่ม เรานึกถึงการเรียนรู้ที่เป็นปัจเจกบุคคล และผมคิดว่าอันนี้แหละคือ ความคิดที่อยู่เบื้องหลังคำว่าการศึกษาตามอัธยาศัยที่ปรากฏว่าใน พ.ร.บ. การศึกษาที่ออกมา

ฉะนั้น ผมคิดว่าปัญหาที่ค่อนข้างยุ่งสำหรับคนที่ทำการศึกษาทางเลือกก็คือว่า จริงๆในตัว พ.ร.บ. การศึกษา มันไม่มีวิธีคิดเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาทางเลือกอยู่ใน พ.ร.บ. การศึกษาเลย คือเวลาภาคประชาชนพูดถึงการศึกษาทางเลือกเรานึกถึงกลุ่ม เราไม่ได้นึกว่าต่างคนใครสนใจเรื่องแสตมป์ ก็ไปสะสมแสตมป์อะไรทำนองอย่างนี้ เรานึกถึงเรื่องของการจัดองค์กรที่ทำให้เกิดการเรียนรู้เป็นกลุ่ม อันนี้ผมคิดว่ามันไม่มีอยู่ในความคิดของ พ.ร.บ. การศึกษา และเวลาที่เราไปเถียงกับนักการเมือง หรือนักการศึกษาที่ทำ พ.ร.บ.การศึกษาถึงการศึกษาทางเลือก เขาบอกมันก็มีอยู่แล้วไงในการศึกษาตามอัธยาศัยที่ปรากฎในตัว พ.ร.บ. ซึ่งจริงๆแล้วมันไม่ใช่ ผมคิดว่ามันจะมาก่อให้เกิดปัญหาบางอย่างจะพูดถึงข้างหน้า

ที่นี้เราหันมาดูตัวการศึกษาในระบบ หรือการศึกษาระบบโรงเรียนที่เรารู้จักในทุกวันนี้ จริงๆการศึกษาระบบโรงเรียนที่เรารู้จักในทุกวันนี้เป็นของที่ไม่ได้เก่าเท่าไร คือไม่ได้มีมาในโลกเรามานมนานอะไร บางสังคมก็ประมาณ 200 ปีมานี่เอง ก่อนหน้านี้มันไม่มีการศึกษาระบบโรงเรียนที่เรารู้จักอย่างในปัจจุบัน มันอาจจะมีโรงเรียนวัด มันอาจจะมีอะไรก็แล้วแต่ แต่มันไม่ใช่การศึกษาระบบโรงเรียนอย่างที่เรารู้จักในทุกวันนี้

การศึกษาระบบโรงเรียนที่เรารู้จักนี้ มันเกิดขึ้นในระยะประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา เพื่อรับใช้สองอย่างที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วง 200 ปีนี้เหมือนกัน คือรับใช้"ชาติ"หรือ"รัฐประชาชาติ" อันหนึ่ง ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นได้ประมาณ 200 ปีที่ผ่านมากับรับใช้"โรงงานอุตสาหกรรม" ซึ่งก็เพิ่งเกิดขึ้นในระยะประมาณ 200 ปีนี้เหมือนกัน

คือระบบโรงเรียนมีจุดมุ่งหมายคือสอนให้รู้หนังสือ รู้สิทธิหน้าที่พลเมือง คำว่าพลเมืองมันก็ไม่เคยมีมาก่อน สมัยก่อนนี้ เราทุกคนก็เป็นข้าราษฎรของพระเจ้าแผ่นดิน หรือของเจ้านายองค์ใดองค์หนึ่งก็แล้วแต่ แต่ว่าพอมันเกิดรัฐประชาชาติขึ้นมา มันแย่งเอาคนจากเจ้านายทั้งหลายมา ทุกคนไม่ได้เป็นข้าราษฎรของใครอีกแล้วแต่เป็นพลเมืองของรัฐประชาชาติ ก็ต้องสอนให้รู้จักสิทธิหน้าที่ต่างๆของพลเมือง เพราะมันไม่มีวัฒนธรรมของรัฐประชาชาติมาก่อน คุณก็ต้องใช้วิธีสอนมันให้รู้ เสียภาษี ไปเป็นทหาร รักชาติ เอาเลือดทาแผ่นดินอะไรก็แล้วแต่ที่จะสอนๆกันไป

และในขณะเดียวกันก็สอนทักษะเฉพาะด้านบางอย่างมากบ้างน้อยบ้างนอกจากอ่านหนังสือออกแล้ว ก็ทำโน่นเป็นทำนี่เป็น ฟังคำสั่งเป็น มาทำงานได้ตรงเวลา เวลาหวูดโรงงานดังขึ้นมา ก็เหมือนกับเวลาที่โรงเรียนมันเคาะระฆังให้เราเข้าแถว เข้าทำงาน ไม่ใช่ง่ายนะครับการที่จะให้คนซึ่งเคยเป็นเกษตรกรที่ไม่ใช่มีเวลาเป๊ะๆแบบโรงงาน คุณจะเปลี่ยนคนประเภทนี้มาบอกว่า เฮ้ย เอ็งมาเป็นกรรมกรโรงงาน เอ็งคอยฟังหวูดโรงงาน พอหวูดดังขึ้นมาเอ็งก็เริ่มเสียบตัวที่เขาสั่งให้เสียบไปตามสายพานไปเรื่อยๆ พอหวูดดังเอ็งออกไปกินข้าว หวูดดังอีกทีเอ็งกลับมาเสียบต่ออะไรอย่างนี้ จะเปลี่ยนเกษตรกรให้กลายเป็นเครื่องจักรแบบนี้ไม่ใช่ง่าย เพราะฉะนั้นก็ต้องผ่านระบบโรงเรียนเพื่อจะฝึกกรรมกรที่ดีออกไปป้อนในโรงงาน

ฉะนั้นการศึกษาระบบโรงเรียนไม่ว่าของไทยหรือของฝรั่ง จริงอยู่คุณอาจจะมีนายบิลล์เกต ที่ออกไปจ้างตนเองเป็นคนเขียนซอฟแวร์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วก็กลายเป็นเศรษฐีขึ้นมา ซึ่งมีจำนวนน้อยนิด ส่วนใหญ่ของระบบโรงเรียน ตั้งแต่ชั้นอนุบาลขึ้นไปถึงมหาวิทยาลัย มุ่งสู่ตลาดงานจ้าง เพราะตัวหัวใจของระบบโรงเรียนมันเกิดขึ้นเพื่อที่จะผลิตคนไปป้อนตลาดงานจ้าง กับป้อนความเป็นพลเมืองให้กับรัฐประชาชาติ

ฉะนั้นระบบโรงเรียนไม่ว่าเราจะลอกใครมาก็แล้วแต่เถอะ โดยสาระสำคัญของระบบโรงเรียนนั้นมันมุ่งตลาดงานจ้างเป็นสำคัญ ซึ่งมันไม่เหมาะสมกับสังคมไทย ด้วยเหตุ 2 ประการด้วยกัน

อันที่หนึ่ง มันไม่เหมาะกับตัวสังคมไทยด้วยเหตุที่ว่า ประการแรกสุดก็คือ ส่วนใหญ่ของสังคมไทยไม่ได้อยู่ในตลาดงานจ้าง ซึ่งอันนี้ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมก็ตามมักจะลืมๆเสมอว่า ส่วนใหญ่ของคนไทยนั้นจ้างตัวเองทำงาน ไม่ว่าจะจ้างตัวเองเป็นชาวนา จ้างตัวเองเป็นอะไรก็แล้วแต่ ไม่ได้ไปเป็นลูกจ้างคนอื่น แต่เราไม่ได้จัดการศึกษาให้กับคนที่ไม่ได้อยู่ในตลาดงานจ้างซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ เรากลับพยายามที่จะไปดึงเอาคนที่อยู่นอกตลาดงานจ้างมากล่อมเกลาให้เขาทำอะไรไม่เป็น เพื่อที่เขาจะได้กลายเป็นแรงงานของตลาดงานจ้าง โดยผ่านตัวระบบโรงเรียน เพราะฉะนั้นตัวระบบโรงเรียนจึงไม่ได้ตอบปัญหาให้สังคมไทย ไม่ได้ให้การศึกษาแก่คนตามสถานภาพที่เขาเป็น ตามสิ่งแวดล้อมของเขา ตามเงื่อนไขในชีวิตของเขาจริงๆ แต่ว่ามุ่งจะเอาคนมาเหลา มากล่อมเกลาเพื่อที่จะเอาไปป้อนให้แก่ตลาดงานจ้างเป็นหลัก

อันที่สอง ที่ผมคิดว่ามันไม่เหมาะกับสังคมไทยเท่าไรนักก็คือว่า ทุนทางสังคมของคนไทย อยู่ที่ความสัมพันธ์ที่แต่ละคนสร้างขึ้นเอง อาจจะสร้างขึ้นตามประเพณี ตามวัฒนธรรม ตามระเบียบแบบแผนที่มีมาก็ตามแต่ ไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่รัฐหรือองค์กรสมัยใหม่จัดตั้งขึ้น คืออย่างนี้ ฝรั่งมันเกิดมาเป็นคนคนเดียว มันไม่สัมพันธ์กับใครเลย เมื่อไรที่จะไปสัมพันธ์กับใคร มันจะไปสัมพันธ์โดยผ่านกฎหมาย สัมพันธ์โดยผ่านองค์กรสมัยใหม่ เช่น เป็นสมาชิกของสมาคม เป็นสมาชิกของสหกรณ์ เป็นต้น และขอให้สังเกต ไม่ว่าสมาคมไม่ว่าสหกรณ์ในประเทศไทย มันไม่มีกิจกรรมอื่น คนที่เป็นสมาชิกก็ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับสมาคม ไม่ว่าสมาคมศิษย์เก่าทุกมหาวิทยาลัย ก็จะมีคนที่ไปทำงานไม่เกินร้อยคน ที่เหลือก็ไม่ให้ความสำคัญกับศิษย์เก่าแห่งนั้นเลย เป็นต้น

ฉะนั้นเราจะพบว่าองค์กรสมัยใหม่ทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับการมาเป็นสมาชิกชององค์กร หรือผ่านทางกฎหมายมันไม่ได้สำคัญกับชีวิตของคนไทย เพราะคนไทยสร้างกลุ่มความสัมพันธ์ที่มีวัฒนธรรมเป็นระบบเครือญาติและอื่น ๆ สังคมของคนไทยจึงไม่ได้มากับองค์กรเหล่านั้น

ทีนี้ ขอให้สังเกตว่าการศึกษาที่เราจัดอยู่ในโรงเรียนไม่ได้ให้การเรียนรู้การใช้ทุนทางสังคมที่เป็นจริง หมายความว่าอย่างไร หมายความว่าถ้าสมมุติคนไทยอยากจะทำอะไรในลักษณะสหกรณ์ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ ตัวอย่างที่ชัดเจนระหว่างสหกรณ์ กับกลุ่มออมทรัพย์ หรือกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ทำอยู่ จะเห็นว่ามันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

กลุ่มออมทรัพย์หรือกลุ่มสัจจะที่ทำอยู่นั้น จะใช้ฐานความสัมพันธ์เดิมในวัฒนธรรมเป็นหลักในการทำให้คนมาร่วมมือกันในการออมทรัพย์ของชุมชนหรือของกลุ่มคนที่ใหญ่กว่าชุมชน ในขณะที่สหกรณ์ทั้งหลายมันเกิดขึ้นจากการมีระเบียบตรงตามที่กระทรวงกระเกษตรและสหกรณ์วางไว้ คือต้องไปจดทะเบียน สมาชิกเข้ามาแล้วปรากฏว่าไม่มีกิจกรรมอะไร หรือประสบความล้มเหลวอยู่ตลอดเวลา

คำถามที่อยากให้พวกเราคิดกันในที่นี้คือ ในโรงเรียนเขาสอนสหกรณ์หรือสอนเรื่องกลุ่มออมทรัพย์ โรงเรียนที่สอนเรื่องสหกรณ์มีระเบียบของสหกรณ์มาสอนเด็ก มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์มาสอนเด็ก แต่ไม่เคยสอนถึงเรื่องของการพัฒนาความสัมพันธ์ตามวัฒนธรรมประเพณีเดิม เพื่อเอาไปใช้ประโยชน์ในโลกสมัยใหม่นั้น เพราะฉะนั้นทุนทางสังคมของคนไทยจึงเกือบจะพูดได้ว่าสูญเปล่า เมื่อคุณเข้าโรงเรียนคุณไม่ได้มีโอกาสที่จะเข้าใจจริงจัง และไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อเอาไปปรับใช้ในโลกสมัยใหม่อีกเลย

ประเด็นที่สาม ผมคิดว่าระบบโรงเรียนมันไม่เหมาะกับสังคมไทยเท่าไรนัก ก็คือว่าทุนทางภูมิปัญญาชองคนไทย ซึ่งก็มีอยู่ในโลกนี้เหมือนคนกลุ่มอื่น ๆ เหมือนกับม้งเหมือนกับกะเหรี่ยง ซึ่งภูมิทางปัญญาเหล่านี้มีอยู่นอกโรงเรียน คือโรงเรียนไม่เคยเอาทุนทางภูมิปัญญาเหล่านี้เข้ามาสอนนักเรียนหรือนักศึกษาของตัวเอง เพื่อจะทำให้เขามีฐานบางอย่างในการที่จะปรับใช้ทุนเหล่านี้ออกไป ตัวอย่างที่เห็นเป็นรูปธรรม เช่น

คนในภาคเหนือเขาสั่งสมภูมิปัญญามหาศาลทีเดียว มีสองรูปแบบ อันหนึ่งคือรูปแบบที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรอาจจะเป็นนิทาน นิยาย คำสั่งสอนอะไรก็แล้วแต่ซึ่งมันไม่ได้ถูกจดเอาไว้ กับอีกมหึมาเลยจดเอาไว้ในคัมภีร์ใบลาน หรือกระดาษสาอะไรก็ตามแต่ วันหนี่งเราจัดระบบโรงเรียนเราบอกเลิก ไม่ต้องเรียนภาษาที่เขาเรียกว่าตัวเมือง เลิกไม่ต้องเรียน ก็แปลว่าเรากำลังบอกเด็กภาคเหนือทั้งหมด คุณจงลืมภูมิปัญญาของพ่อแม่คุณเสียให้หมด เพราะว่าคุณจะสืบต่อภูมิปัญญาเหล่านั้นได้คุณจะต้องอ่านออก เผอิญวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่ไม่ถึงขนาดเป็นสมัยหิน ยังมีตัวอักษรใช้และเขาก็ฝากสติปัญญาของเขาเอาไว้ในตัวอักษรเหล่านั้น วันหนึ่งเราบอกว่าไม่ต้องอ่าน

หรือในภาคใต้ก็เหมือนกัน ที่เรียกเป็นทางการคือตัวยาวี ไม่มีการสอน เขาฝากภูมิปัญญาเขาไว้ในตัวยาวี และก็ตัดขาดจากกันโดยสิ้นเชิง ผมจึงคิดว่านี่เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมชัดเจนว่า ภูมิปัญญาของคนมันไม่ได้สัมพันธ์กับการศึกษาในระบบโรงเรียน

ระบบโรงเรียนไปเอาภูมิปัญญาที่เป็นของแปลกแยกโดยสิ้นเชิง ซึ่งของแปลกแยกไม่ใช่ว่าไม่ดีนะ ดี ของต่างชาติก็ไม่เป็นไรเราก็เรียนรู้ได้ แต่มันต้องเรียนรู้โดยมีฐานเดิม เอาของสมัยใหม่ทั้งหลายที่รับมาจากตะวันตกมาต่อยอด ซึ่งอยู่ ๆ คุณเอาสิ่งที่เป็นของแปลกปลอมมาฝังลงไปในดินที่มันไม่มีเชื้อของสิ่งเหล่านั้นเลย มันก็งอกไม่ขึ้น แต่ถ้าคุณมาต่อยอดกับของเก่ามันก็จะงอกงามขึ้นมาได้อีกมากมาย เพราะว่าไม่มีภูมิปัญญาของชาติไหนในโลกนี้ที่บริสุทธิ์เป็นของตัวเองหมดก็ไม่ใช่ ไปค้นในเอกสารใบลานก็เอาของแขกของมอญมาเยอะแยะไปหมด แต่ก็ไม่เป็นไร เอามาแล้วก็ขอให้มันค่อย ๆ ต่อยอดขึ้นมา

เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมคิดว่าตัวระบบโรงเรียนมันค่อนข้างจะแปลกแยกออกจากระบบการเรียนรู้ที่น่าจะเป็นไปตามธรรมชาติของสังคมไทยอย่างมาก ผมจึงสรุปว่า ด้วยเหตุดังนั้น ถ้าเรามองจากเรื่องภูมิปัญญามองจากทุนทางสังคมไทยที่มีอยู่ ยิ่งคุณเข้าโรงเรียนมากขึ้นคุณก็จะสิ้นเนื้อประดาตัว คือภูมิปัญญาก็หมดไปทุนทางสังคมที่มีอยู่ก็หมดต่าง ๆ นานามากขึ้น

นอกเรื่องนิดหน่อย โดยส่วนตัวเนื่องจากผมเรียนหนังสือมาก ผมสารภาพอย่างหนึ่ง ผมพูดกับชาวบ้านไม่เป็น คือคุณไปพูดกับชาวบ้านว่าคุณ ชาวบ้านคงว่าไอ้นี่มาจากดาวอังคารหรือไง มันไม่ใช่ ชาวบ้านเขาจะพูดสรรพนามเครือญาติ เขาไม่พูดคุณ เช่น พี่ ป้า น้า อา ก็แล้วแต่ มันไม่ถนัดสำหรับปากผม ซึ่งมันถูกแปลกแยกไปแล้วจากการเรียนหนังสือนาน คือรู้จักแต่สรรพนามแบบฝรั่งคือ ผม คุณ ซึ่งคุณพูดแบบนี้ชาวบ้านรู้สึกว่า แล้วจะนั่งอย่างไรถึงจะเรียบร้อยสำหรับคนที่มาจากดาวอังคาร มันไปด้วยกันไม่ได้ ผมว่าทุนทางสังคมที่มีอยู่มันก็หมด

ครั้งหนึ่งคุณเคยมีทุนทางสังคมที่คุณจะไปประสานร่วมมือกันทำโน่นทำนี้ทั้งเพื่อตนเองและส่วนรวม แต่เดี๋ยวนี้มันสิ้นเนื้อประดาตัว หมายความว่าอย่างนี้ นอกจากมันไม่เหมาะกับสังคมไทยเท่าไรแล้วนั้น ผมคิดว่ามันไม่เหมาะกับยุคสมัยเท่าไรด้วย เวลานี้เราชอบพูดถึงเรื่องความเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้น จะเป็นคลื่นลูกที่สาม โลกาภิวัฒน์อะไรก็แล้วแต่ แต่ผมคิดว่าเราเข้าใจสิ่งเหล่านี้กันค่อนข้างผิวเผิน เช่น เข้าใจว่าโลกาภิวัฒน์เป็นแค่เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นต้น จริง ๆ แล้วผมคิดว่ามันมีความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 2-3 อย่างด้วยกันที่ควรจะนึกให้ดี ๆ ก็คือว่า

จริงๆ ระบบการผลิตของโลกเรากำลังเปลี่ยน หมายความว่าสมัยหนึ่งเราคิดถึงระบบการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม เช่น คนนี้เป็นนักบัญชี คนนี้เป็นนักจิตวิทยา คนนี้เป็นนักประวัติศาสตร์อะไรก็แล้วแต่ ซึ่งภาพรวมที่เรานึกถึงคือภาพโรงงานที่มีสายพาน และมีคนแต่ละคนที่มีความชำนาญเฉพาะด้านแตกต่างกันยืนอยู่ข้าง ๆ สายพาน เช่นไอ้คนนี้เป็นคนเสียบกระเบื้องไอ้คนนี้เป็นคนเสียบไม้ คนนั้นเสียบตะปู และสายพานก็ไหล ๆ ไป ในที่สุดก็จะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นมาอันหนึ่งหรือเป็นบริการอันหนึ่ง ก็แล้วแต่

แต่ระบบการผลิตแบบนี้ซึ่งครอบงำโลกเรามาสองร้อยปีนั้นกำลังสิ้นสุดลง คนที่ทำงานเฉพาะด้านเหล่านี้ เราสามารถมีหุ่นยนต์และก็มีคอมพิวเตอร์ทำงานแทนได้ และได้ดีกว่าคนเสียด้วย ลองนึกดูว่าบริษัทจำนวนมากยุบพนักงานบัญชีทั้งหลายไปได้เลย เพราะมันมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์บัญชี คุณแค่คีย์ข้อมูลลงไปมันทำออกมาให้เองหมด หรือแม้กระทั้งว่าคุณแค่เป็นบริษัทขนาดกลาง ๆ คุณไปจ้างโปรแกรมเมอร์ สำหรับทำบัญชีสองระบบก็ได้ คือของหนีภาษีที่คุณแอบซื้อมาแล้วยัดลงไปในสินค้าของคุณ คุณจะโชว์อย่างไรให้สรรพากรเห็น คุณก็ต้องทำบัญชีสองระบบ หรือสามระบบ กลืนกันไปกลืนกันมา กรมสรรพากรตรวจไม่เจอ ไม่ได้ทำโดยคน แต่ทำโดยโปรแกรมเมอร์คนเดียว คุณสามารถโปรแกรมให้บัญชีทำอย่างนั้นได้ ที่ผมพูดตรงนี้เพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่า ที่ว่าเรียกว่าสมองกลมันไม่ใช่จะมาแทนแค่แรงงานไร้ฝีมือ แต่มันแทนแม้แต่แรงงานที่มีฝีมือจำนวนมาก คำถามที่เราน่าจะถามโดยทันที ถ้าบริษัทใหญ่ๆ เช่น ธนาคารไปจ้างโปรแกรมเมอร์ทำโปรแกรมขนาดใหญ่มาวางระบบทั้งระบบเลย คำถามที่น่าจะถามกันก็คือว่าแล้วเราจะผลิตนักบัญชีประเภทไหน ที่จะออกไปในช่องของการงาน มันต้องคิดกันใหม่หมดแล้ว

ในเมืองไทยเราคิดถึงระบบการศึกษาที่จะตอบสนองการเปลี่ยนแปลงตรงนี้น้อยมาก เราไม่ได้คิดเลยว่าแม้แต่จะผลิตคนเข้าตลาดงานจ้าง ตลาดงานจ้างมันก็เปลี่ยนแล้ว เพราะระบบการผลิตมันเปลี่ยน มันกลายเป็นว่าคุณต้องผลิตคนที่ต้องเรียนรู้ตลอดเวลาต้องปรับตัวได้ตลอดเวลา ไม่ใช่คนที่มีทักษะเฉพาะด้าน แล้วออกไปยืนอยู่ข้างสายพาน ตั้งแต่วันจบการศึกษาอย่างแต่ก่อนนี้อีกแล้ว ทำอย่างไรจะผลิตคนที่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา คำถามที่ตามมาก็คือว่า ถ้าอย่างนั้นที่ว่าจัดตั้งเป็นคณะโน้นคณะนี้ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ นั้นมันก็ไม่ได้เรื่อง ก็ถ้าเอ็งเรียนรู้อยู่แล้วเอ็งจะมาเรียนอะไรเป็นอย่างเดียวทำไม มันก็น่าจะมีอะไรที่สามารถให้เขาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าวิชาฟิสิกส์ ที่ต้องไปเรียนถึงปริญญาเอกปริญญาโทมันก็น่าจะเรียนเองได้ ต้องคิดถึงระบบการศึกษาที่สามารถทำให้คนสนใจเรียนรู้ต่อไป มีแล็ปให้เขาเข้า โดยไม่ต้องไปเข้ามหาวิทยาลัย แล็ปเทศบาลก็แล้วแต่

ผมคิดว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากระบบการผลิตมันท้าทายให้เราคิดถึงระบบการศึกษาแม้แต่ระบบโรงเรียนก็ตามใหม่ทั้งหมด ไม่เพียงแต่ที่เขาคิด ๆ กันอยู่ อันนี้อาจเป็นอคติของผม ผมคิดว่าคนที่คิดถึงเรื่องการปฏิรูปการศึกษานั้น คิดเฉพาะว่าเราจำเป็นจะต้องแข่งขันกับโลกภายนอกในทางเศรษฐกิจ เพราะเราไม่สามารถจะมีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบในแง่ของแรงงานราคาถูก ๆ อีกแล้ว มันมีเวียดนาม อินโดนีเซีย จีน ที่อย่างไร ๆ เราก็ไม่มีทางจะสู้ราคาแรงงานที่ต่ำของเขาได้ ฉะนั้นเราจะขายของไม่ออก จำเป็นที่เราจะต้องปฏิรูปการศึกษา

ผมอยากจะเตือนด้วยว่าเสียงเรียกร้องให้การปฏิรูปการศึกษาดังขึ้นครั้งแรก โดยนักวิจัย TDRI เมื่อยี่สิบกว่าปีมาแล้ว ที่ออกมาพูดตรง ๆ เลยว่าเราแข่งต่อไปไม่ได้แล้ว จนกว่าคุณจะปฏิรูปทางการศึกษาเพื่อจะผลิตแรงงานที่มีคุณภาพมากขึ้น ผมว่าคุณคิดแบบนี้คุณตาย ในทัศนะผมโลกมันเปลี่ยนแปลงมากกว่าที่คุณคิด ไม่ใช่เพียงเอาตัวรอดในการที่จะไปแข่งขันกับเวียดนาม หรือกับจีนเท่านั้น แต่ว่าระบบการผลิตทั้งหมดมันเปลี่ยน คุณคิดเพียงแค่ว่าจะผลิตแรงงานเพื่อเข้าสู่การแข่งขันระดับนานาชาติให้ดีกว่าเก่าแค่นั้นไม่พอ นั่นคือประเด็นที่หนึ่ง

ประเด็นที่สองคือการไม่สมสมัยของระบบการศึกษาที่เราใช้อยู่ปัจจุบันนี้ ถ้าเราคิดว่าคนเราต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา อะไรจะเข้ามาตอบสนองการเรียนรู้ตลอดเวลาการปรับตัวตลอดเวลาได้ ผมคิดว่าการศึกษาทางเลือก ซึ่งการศึกษาทางเลือกไม่ใช่เรื่องของเด็กอย่างเดียวเป็นเรื่องของทุกคนเข้าไปมีส่วนร่วมในการศึกษาทางเลือก เป็นครั้งเป็นคราหรือตลอดเวลาก็ตามแต่อยู่เสมอในชีวิต คุณไม่สามารถสร้างโรงเรียนเพื่อจะเก็บเงินให้คนมาเรียนคอมพิวเตอร์ เรียนภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่นที่เป็นอยู่ในเวลานี้ได้ เพราะว่ามันไม่พอและมันไม่ทัน เวลานี้ภาษาจีนกำลังฮิตอยู่ ใคร ๆ ก็ต้องไปเสียเงินเรียนภาษาจีน แต่บอกไว้เลยว่ามันไม่ทัน ลองคิดถึงว่ามันมีระบบการศึกษาทางเลือกที่เคียงคู่กันไป มันจะมีคนเรียนรู้ภาษาจีนได้เร็วกว่าที่ให้เปิดทางพาณิชย์ เพื่อหากำไร และภาษาจีนไม่ใช่ของที่หาเรียนได้ยากจนเกินไป คุณไม่ต้องไปสั่งด๊อกเตอร์มาจากทางไหน เพราะคนจีนที่อยู่ในเมืองไทยที่รู้ภาษาจีนพอจะสอนเราได้เยอะมาก สำคัญเพียงแต่คุณอยากจะเรียนหรือไม่อยากเรียน สำคัญว่าคุณจะจัดองค์กรให้ภูมิปัญญาเหล่านี้มันไหลเข้ามาสู่ส่วนรวมได้อย่างไร มากกว่าที่จะไปคิดว่าไปเช่าตึกและเปิดสอนเพื่อจะหาเงิน

ประเด็นที่สองต่อมาที่ผมอยากจะพูดถึงคือว่า ที่เราเคยจัดระบบโรงเรียนเอาไว้สำหรับที่จะผลิตพลเมืองให้ชาติ จริง ๆ ชาติเองก็กำลังเปลี่ยน เปลี่ยนเพราะสิ่งที่เรียกว่าโลกาภิวัฒน์ ชาติต้องมองบทบาทใหม่ หมดแล้ว ไม่เหมือนเก่าอีกแล้ว พรมแดนที่เราใช้อยู่อย่างเก่า ๆ มันเป็นไปไม่ได้อีกแล้ว เวลานี้เราก็ยังทำอะไรกับพรมแดนที่มันไร้ความหมายอีก เช่น พรมแดนเป็นตัวกันไม่ให้มีการอพยพข้ามพรมแดน ไม่มีประเทศไหนในโลกนี้ที่ใช้พรมแดนกันการอพยพได้สักประเทศ ยกเว้นประเทศจนๆเพราะมีแต่คนไหลออกไม่มีคนไหลเข้า ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา ยุโรป ประเทศไทยเราเองก็มีพม่ามีเขมรไหลเข้ามาประเทศไทยเยอะแยะไปหมด เนเธอร์แลนด์ก็มี ฝรั่งเศสก็มี เป็นต้น

เพราะฉะนั้นพรมแดนของชาติ ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นกำแพงที่กั้นการอพยพเข้าออกของคนมันไร้ความหมาย เรากำลังจะเป็นโลกที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกันอย่างยิ่ง และมันมีการไหลเข้าแรงงานหรือคนจนตลอดเวลา เหมือนกับเรากลับไปสู่ยุคสมัยหิน ทุกคนเดินไปหาอาหาร เวลานี้คนทั้งโลกไหลกันไปไหลกันมาเพียงเพื่อไปหาอาหาร คำว่าอาหารมีความหมายถึงสวัสดิการอื่น ๆ ด้วย เป็นปกติและไม่มีประเทศไหนกั้นไว้อยู่ ฉะนั้นผมคิดว่าสิ่งที่เราเรียกพลเมืองของชาติมันจะไร้ความหมายมากขึ้น

เฉพาะประชากรเชื้อสายเอเซียที่อยู่ในอเมริกาในระยะสามสิบปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นมโหฬารเลยเพราะมีคนที่เกิดนอกประเทศอเมริกากลายเป็นพลเมืองอเมริกาเยอะแยะไปหมด และความคิดของเราเกี่ยวกับพลเมืองที่อยู่กับชาติ มันเปลี่ยนไปหมดกับโลกาภิวัฒน์ ถามว่าระบบการศึกษาของเราหรือว่าการศึกษาทั้งโลกก็ว่าได้ คิดถึงแค่เรื่องพวกนี้ มีการปรับตนเองให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในชาติหรือไม่ ผมว่าไม่ได้คิด ยิ่งในเมืองไทยยิ่งไม่ได้คิด จนทุกวันนี้เด็กที่เกิดในเมืองไทยเผอิญเป็นลูกชาวเขา เรียนหนังสือไม่ได้เลยเพราะว่าเขาห้ามไม่ให้เดินทางเกินกว่าด่านที่เขากำหนดเอาไว้ให้ เช่นที่อำเภอเชียงดาว คุณลงมาต่ำกว่าเชียงดาวไม่ได้แล้วมันจะไปเรียนหนังสือได้อย่างไร ก็มีทางเลือกอยู่สองอย่าง อันที่หนึ่งคือขายของในไนท์บาร์ซา อันที่สองคือขายตัวในไนท์บาร์ซา เพราะเราไปกั้นคนแบบนี้ ความคิดเกี่ยวกับพลเมืองมันยังฝังอยู่อย่างเก่าอย่างนี้ตลอดมา

ประเด็นที่สาม ความไม่สมสมัยเท่าไรของระบบการศึกษาที่เราจัดอยู่ ผมไม่ปฏิเสธระบบโรงเรียนมันอาจจะล้าสมัยหลายเรื่องเหมือนกัน แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือว่ามันสามารถปรับตัวของมันเองได้ ผมคิดว่าระบบโรงเรียนก็เป็นระบบหนึ่งในการศึกษาที่ควรจะมีอยู่ เพียงแต่ระบบการศึกษามันไม่ควรที่จะมีระบบเดียวโดด ๆ เช่นระบบการศึกษาที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เอาระบบโรงเรียนไปครอบงำระบบการเรียนรู้ทั้งหมดอย่างนี้ผมไม่เห็นด้วย แต่ไม่ได้แปลว่าระบบโรงเรียนไม่สำคัญหรือว่าไม่ดี ระบบโรงเรียนก็เป็นหนึ่งหลาย ๆ ระบบได้ไหม และก็ปรับตัวระบบโรงเรียนให้เข้ากับสมัย เข้ากันกับสังคมไทยให้มากขึ้น เพราะว่าในคนบางหมู่บางเหล่านี้ ระบบโรงเรียนยังให้การศึกษาแก่เขาได้เหมาะสมที่สุดดีที่สุด เพราะว่าเงื่อนไขชีวิตของเขาเหมาะสมที่จะไปรับการศึกษาในระบบโรงเรียน อันนี้ก็ไม่ประหลาดอะไร เพียงแต่ปรับมันให้มันทันสมัยมากขึ้น แต่ไม่ใช่ทันสมัยเพียงเพื่อจะผลิตคนไปแข่งขันกับเวียดนาม ต้องทันสมัยในความหมายที่กว้างกว่านั้นแยะ

และที่สำคัญขอให้การศึกษามีระบบที่หลากหลาย อย่าเป็นระบบเดียวโดด ๆ หรือเป็นระบบเดียวที่ครอบงำระบบอื่นทั้งหมด ซึ่งการศึกษาทางเลือกก็เป็นอีกหนึ่งในระบบที่หลากหลายในระบบการศึกษาของบ้านเมือง เป็นไปได้ไหม

ที่สำคัญกว่านั้นก็คือผมอยากจะเห็นการเชื่อมต่อของระบบที่หลากหลายด้วย โดยระบบโรงเรียนนี้เชื่อมต่อกับระบบการศึกษาทางเลือกได้ไหม เชื่อมต่อในที่นี้มันมีสองความหมาย ความหมายหนึ่งคนที่เรียนในระบบโรงเรียนออกมาสู่ระบบการศึกษาทางเลือกช่วงระยะเวลาหนึ่งที่เหมาะสมกับชีวิตเขา กลับเข้าไปสู่ระบบโรงเรียนใหม่ที่เหมาะกับชีวิตเขา หรือกลับไปสู่ระบบการศึกษาทางเลือกใหม่ สามารถที่จะย้ายกันไปย้ายกันมาได้โดยสะดวก มีความสามารถในการประเมินคนได้ว่าเขาผ่านการศึกษาระบบทางเลือกแบบนี้ เราควรจะเข้าสู่ระบบการศึกษาระบบโรงเรียนได้ในระดับไหน ต้องมีการประเมินที่มีประสิทธิภาพประกอบด้วยความรู้ ไม่ใช่ไปเคร่งครัดตายตัวว่าเอ็งเรียนหน้าที่พลเมืองฉบับ สปช.4021 มาแล้วหรือยัง อย่างนี้มันก็ตายด้าน การศึกษาแบบนี้ก็ตายด้านหมด นี่เป็นประเด็นที่หนึ่ง

ประเด็นที่สอง คือว่าไม่พูดถึงการย้ายกันไปย้ายกันมาระหว่างการศึกษาระบบโรงเรียนกับระบบทางเลือก ผมอยากเห็นการเชื่อมต่อในความหมายที่ว่า เอาการศึกษาทางเลือกไปเสริมการศึกษาระบบโรงเรียนได้ไหม การศึกษาระบบโรงเรียน อย่าเป็นการศึกษาในห้องเรียนอย่างเดียวได้ไหม เป็นการศึกษาที่สามารถเชื่อมต่อกันได้กับการศึกษาระบบทางเลือก เช่นลูกสาวอาจารย์ชัชวาลอาจจะออกมาศึกษาที่บ้าน แต่เผอิญมันมีวิชาหนึ่ง เช่น สมมติว่าเป็นวิชาดนตรี ซึ่งเด็กบอกว่าอยากเรียนดนตรี เรียนตามลำดับแบบโรงเรียน ฉะนั้นก็เข้าโรงเรียนเพื่อจะเรียนแค่วิชาดนตรีวิชาเดียวได้ไหม ให้มันมีลักษณะเชื่อมต่อกันแบบนี้ อย่าเป็นปฏิปักษ์แก่กันและกันอย่างที่เป็นอยู่ ผมรู้สึกว่าคนที่อยู่ในระบบโรงเรียนก็ค่อนข้างจะหวาดระแวงการศึกษาระบบทางเลือก คนที่เรียนระบบการศึกษาทางเลือกก็ค่อนข้างที่จะเกลียดชังระบบโรงเรียน ซึ่งในทัศนะส่วนตัวผมก็น่าเกลียดจริง ๆ แต่อย่างไรก็ตามทำอย่างไรเราจึงจะเชื่อมต่อกันได้

ผมขอออกนอกเรื่องนิดหน่อย ผมคิดว่ามันมีทางเป็นไปได้เหมือนกัน ผมเคยไปพูดกับครูใหญ่โรงเรียนปริ๊นซ์ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นโรงเรียนชื่อดังที่มีนักเรียนเยอะ เคยคุยกับเขาไว้ว่ามหาลัยเที่ยงคืนเราจะจัดการศึกษาครอบครัว จะขอแบ่งเวลาเด็กของโรงเรียนปริ๊นซ์ คือแทนที่จะไปโรงเรียนห้าวัน ไปโรงเรียนสักสามวันได้ไหม วิชานั้นผมสอนเองได้ไหม ผมนึกว่าอาจารย์ใหญ่จะคัดค้านเสียอีก แต่กลับบอกว่าเอาไปเลย เพราะเด็กมันเยอะเกินไปในทัศนะของท่าน เห็นด้วยเลยจะพูดกับครูให้มีการเชื่อมโยงกัน แต่ทั้งนี้ทางมหาลัยเที่ยงคืนกลับเจอความล้มเหลวเองในการจัดเพราะว่ามันยากมาก เราไม่มีคนเพียงพอไปจัดให้มันเกิดโฮมสกูลขึ้นมาได้ ซึ่งเป็นสัญญาณให้เห็นว่าครูที่เข้าใจก็มี ครูที่ไม่เข้าใจก็มี ทำอย่างไรเราจะสามารถร่วมมือกันเชื่อมต่อการศึกษาในระบบโรงเรียนกับการศึกษาในระบบทางเลือกเข้าหากันได้ ไม่จำเป็นต้องไปเป็นปฏิปักษ์กัน

ทีนี้มาถึงเรื่องของการศึกษาระบบทางเลือกที่จัดในเมืองไทย ผมมีข้อสังเกตบางอย่าง ประการแรกก็คือว่าเมื่อตอนที่เราเริ่มทำโครงการวิจัยอันนี้ เราพบด้วยความแปลกใจว่า จำนวนมันไม่ใช่น้อยมันเป็นพันเลย ตรงตามนิยามที่เรากำหนดว่าอะไรคือการศึกษาทางเลือก และพบว่าคนไทยจัดการศึกษาทางเลือกเยอะแยะไปหมด เป็นจำนวนเป็นพัน แสดงว่าคนไทยไม่ใช่แค่นักการเมืองนักการศึกษาที่มาเรียกร้องปฏิรูปการศึกษาทุกวันนี้ แต่คนไทยเข้าใจเลยว่าไอ้การศึกษาเรียนรู้มีความสำคัญอย่างไร และได้จัดด้วยตัวของเขาเองโดยไม่ต้องรอเรื่องตัวบทกฎหมาย เพื่อจะตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในโลกและในบ้านเมืองของตนเองเยอะแยะมาก นี่คือข้อสังเกต ปริมาณมากว่าที่คนหัวก้าวหน้าเพียงไม่กี่คนจัดขึ้น ชาวบ้านและใคร ๆ จัดแยะมาก

ประเด็นที่สองต่อมาก็คือว่า ส่วนใหญ่ของการศึกษาทางเลือกที่จัดๆกันนั้น ชาวบ้านหรือคนชั้นกลางจัดเอง ไม่ได้ผ่านระบบตลาด ซึ่งระบบตลาดคืออย่างนี้ ถามว่าโรงเรียนกวดวิชาโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นแถวสยามสแควร์ เป็นการศึกษาทางเลือกไหมก็อาจจะเป็นแต่ในที่นี้ตัดออกไป จำนวนเป็นพันที่ผมพูดถึงชาวบ้านจัดเองโดยไม่ได้ผ่านระบบตลาด หมายความว่าไม่ได้เก็บเงิน เพื่อมุ่งกำไร และหลายแห่งมากประสบความสำเร็จ

ประเด็นที่สามต่อมาก็คือว่าปรัชญา หลักสูตร วิธีการ เป้าหมายล้วนเป็นอิสระ หมายความว่าเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะกลุ่ม หรือเฉพาะท้องถิ่นของเขา ไม่ได้เข้ามาผูกพันกับตัวปรัชญาหลักสูตร วิธีการของรัฐอีกต่อไปแล้ว ไม่เหมือนกับโรงเรียนกวดวิชาทั้งหลายคือจัดหลัดสูตร จัดวิชาเป้าหมายเพื่อจะได้สามารถตอบสนองสิ่งที่รัฐเป็นคนกำหนดขึ้น คือการสอบเข้ามหาวิทยาลัยอย่างนี้เป็นต้น แต่ที่เขาจัดอยู่นี้ไม่ได้ตอบสนองอะไรเพื่อรัฐเลย

ประเด็นต่อมา เท่าที่สังเกตเห็นไม่ค่อยมีช่องทางที่จะเชื่อมต่อกับระบบโรงเรียนได้ง่าย ๆ ผมยังไม่รู้ว่าคนที่ประสบความสำเร็จในการจัดกลุ่มออมทรัพย์ จริง ๆ แล้วถ้าอยากจะไปเรียนต่อ จะไปเรียนต่ออะไร ผมยังนึกไม่ออกเหมือนกัน เพราะโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยเขาไม่ได้คิดถึงเรื่องของประสบการณ์ความรู้ สิ่งที่คนได้เรียนรู้มาในการจัดกิจกรรมของเขา เทียบได้กับอะไรเป็นต้น และมันก็ไม่ได้เชื่อมต่อกับอะไรในระบบโรงเรียนหรือมหาวิยาลัย

และประเด็นสุดท้ายก็คือว่า ส่วนใหญ่เลยไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐอะไรทั้งสิ้น และในขณะเดียวกันก็น่าประหลาดว่าไม่ได้เกิดขึ้นในระบบอุตสาหกรรม ในขณะที่นักการเมือง นักการศึกษาเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการศึกษา จัดการปัญหาการศึกษาต่าง ๆ นานา ทั้งนักการศึกษาและนักการเมืองเรียกร้องการปฏิรูปการศึกษาเพื่อจะช่วยระบบอุตสาหกรรม หันกลับไปมองตัวระบบอุตสาหกรรมบ้างว่า แล้วเขาทำอะไรเพื่อจะช่วยให้เกิดการศึกษาขึ้นบ้างหรือเปล่า เพราะว่าแทบจะไม่มีโรงงานใดที่จัดให้เกิดการฝึกอบรมเพิ่มพูนทักษะของแรงงานตนเอง ตัวอย่างอย่างนี้เป็นต้น ไม่ค่อยมี ไม่ใช่ไม่มีเลย มีแต่น้อยมาก ๆ จนแทบจะไม่มีเลย อุตสาหกรรมเป็นฝ่ายรอรับบริการของฝ่ายอื่นตลอดเวลา เพราะอย่างนั้นการศึกษาทางเลือกที่จัดอยู่ในเวลานี้ รัฐก็ไม่ได้ช่วย อุตสาหกรรมก็ไม่ได้เข้ามาประสานต่อกัน เพื่อที่จะพัฒนาสิ่งเหล่านี้ต่อไป

ทั้งหมดเหล่านี้เป็นข้อสังเกตที่ผมมีอยู่ ผมคงมีเพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด หรือ Ctrl + A
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งยอหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ

 

 

นมัสการพระคุณเจ้าสวัสดีครับท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ช่วงนี้อาจจะเสียเวลาเปล่า คือผมเองก็มีประสบการณ์เกี่ยวกับการศึกษาทางเลือกไม่มาก ร่วมกับเพื่อนฝูงทำมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนก็ตั้งหน้าตั้งตาทำ ความสนใจเกี่ยวกับการศึกษาทางเลือกโดยกว้างขวางนี้ก็ไม่พอ รู้สึกว่าในโครงการวิจัยอันนี้ ผมได้รับประโยชน์มากกว่าที่จะเป็นผู้ให้ประโยชน์แก่โครงการวิจัยฯ

ขอเริ่มต้นโดยการพยายามจะนิยามก่อนว่าอะไรคือการศึกษาทางเลือก ผมคิดว่า การศึกษาทางเลือกนี้คือ กระบวนการที่ประกอบด้วยเจตนารมณ์ ในการทำให้เกิดการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้อะไรก็ได้ นับตั้งแต่งานฝีมือ ทำขนม อะไรก็แล้วแต่ ไปจนกระทั่งถึงเรียนรู้หลักสูตรตามที่กระทรวงศึกษาธิการหรือทบวงมหาลัยกำหนดเอาไว้ก็ได้ ไม่ว่าจะมีการเรียนรู้อะไรก็แล้วแต่

ประเด็นสำคัญที่ผมอยากจะชี้ให้เห็นก็คือว่าอย่างนี้ จริงๆมนุษย์เราในการใช้ชีวิตปกติประจำวัน เราก็ได้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเหมือนกัน ฉะนั้นถามว่าคนมีชีวิตปกติ ก็ทำการศึกษาทางเลือกอยู่หรือ ผมว่าไม่ใช่ ผมถึงเน้นในคำว่าเจตนารมณ์ อย่างน้อยสุดคุณต้องมีเจตนารมณ์ในการที่จะทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ขึ้นในสิ่งที่คุณทำ