Midnight's Article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
ส่วนกลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

มีนิทานอยู่ 4 เรื่อง ซึ่ง วอลเดน เบลโล อยากเราให้ฟัง
เกี่ยวกับธนาคารโลก และ ไอเอมเอฟ

นิทานเรื่องที่หนึ่ง ธนาคารโลก และ ไอเอมเอฟ เป็นผู้สนับสนุน
ธรรมาภิบาล หรือธรรมรัฐ
นิทานเรื่องที่สอง ไอเอมเอฟ และ ธนาคารโลก ห่วงไย
ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม
นิทานเรื่องที่สาม ไอเอมเอฟและธนาคารโลกมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับความยากจน
นิทานเรื่องที่สี่ ไอเอมเอฟและธนาคารโลกกำลังร่วมมือกับประชาสังคม

บทความแปลสรุปความ : นิธิ เอียวศรีวงศ์
ในวันที่ ๒๓ ก.ย. ปีนี้ ได้มีการจัดโต้วาทีระหว่างกลุ่มผู้วิพากษ์ธนาคารโลกและไอเอมเอฟ
กับผู้อำนวยการของสองสถาบันนั้นขึ้นที่กรุงปร๊าก ประเทศเชคโกสโลวาเกีย
โดยมีประธานาธิบดีวาคลาฟ ฮาเวลเป็นเจ้าภาพ
ต่อไปนี้เป็นคำกล่าวของวอลเดน เบลโล ผู้อำนวยการองค์กร Focus on the Global South ซึ่งเจ้าตัวเขียนขึ้นจากการสรุปรวมคำกล่าวในที่ประชุมสองครั้ง

 

กล่าวนำ

เบลโลกล่าวขอบคุณ
ท่านประธานาธิบดีฮาเวล

 

 

 

 

 

ธนาคารโลก
สมยอมกับการทุจริตกับ
ระบอบเผด็จการซูฮาร์โต


นิทานโกหก เรื่องที่ 2
เกี่ยวกับการห่วงใย
สิ่งแวดล้อมของโลก

 



นิทานโกหก เรื่องที่ 3
ธนาคารโลกมุ่งมั่น
ต่อสู้กับความยากจน

 

 

 

 

 

 

 

 

นิทานโกหก เรื่องที่ 4
ธนาคารโลกกำลัง
ร่วมมือกับ
ประชาสังคม

 

เบลโลกล่าวขอบคุณท่านประธานาธิบดีฮาเวล ที่จัดให้เกิดการโต้วาทีนี้ขึ้นได้สำเร็จ เพราะทั้งไอเอมเอฟและธนาคารโลก ได้พยายามหลีกเลี่ยงการโต้เถียงกันกับกลุ่มประชาสังคมที่วิพากษ์ตัวมานานแล้ว ในครั้งนี้ตัวแทนของสองสถาบันได้ยอมเข้ามาพูดคุยโต้เถียงกันอย่างเปิดเผย เพราะสองสถาบันนั้นได้ตระหนักแล้วว่า ตัวกำลังเผชิญกับวิกฤตความชอบธรรมที่เลวร้ายที่สุด นับตั้งแต่สองสถาบันดังกล่าวถือกำเนิดขึ้นเป็นต้นมา

ทั้งสองสถาบันได้ตระหนักแล้วว่า การใช้ยุทธวิธีแบบเดิม คือปฏิเสธเสียงแข็ และไม่ยอมเผชิญหน้าใดๆ
กับผู้วิพากษ์ตัว เป็นยุทธวิธีที่ใช้ไม่ได้เสียแล้ว

เบลโลขอสรุปการนำเสนอของเขาด้วยการชำแหละนิทาน ๔ เรื่องที่ธนาคารโลกและไอเอมเอฟสร้างขึ้นหลอกชาวโลก

เบลโลขอสรุปการนำเสนอของเขาด้วยการชำแหละนิทาน ๔ เรื่อง
ที่ธนาคารโลกและไอเอมเอฟสร้างขึ้นหลอกชาวโลก

นิทานเรื่องที่ ๑ ธนาคารโลกและไอเอมเอฟ เป็นผู้สนับสนุนธรรมาภิบาลหรือธรรมรัฐ
(good governance)

ข้อเท็จจริง ตลอดเวลาส่วนใหญ่ของ ๓๐ ปีที่ผ่านมา ทั้งไอเอมเอฟและธนาคารโลก ได้เข้าไปเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลที่ทุจริตอย่างยิ่ง และผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน เผด็จการทหารบราซิล, เฟอร์ดินานด์ มาร์โกส, นายพลออกุสโต ปิโนเชต์, พรรค PRI ของเมกซิโก และระบอบซุฮาร์โตมีอะไรที่เหมือนกัน ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเป็นรัฐบาลหรือหัวหน้ารัฐบาลที่ธนาคารโลกจัดว่าเป็นประเทศที่ต้องเน้นความช่วยเหลือเป็นพิเศษ นั่นก็คือ เป็นประเทศที่ทรัพยากรของธนาคารไหลเข้าไปมากกว่าประเทศอื่นที่มีขนาดหรือรายได้เท่าๆ กัน

ตลอด ๓๐ ปีที่ผ่านมา เงินของธนาคารโลกกว่า ๓๐ พันล้านเหรียญสหรัฐไหลเข้าไปสู่ระบอบเผด็จการของซุฮาร์โต จากรายงานหลายชิ้น รวมทั้งรายงานภายในของธนาคารโลกในพ.ศ.๒๕๔๒ เอง กล่าวว่า ธนาคารสมยอมกับการทุจริต ยอมรับสถิติจอมปลอมของรัฐบาลอินโดนีเซียว่าเป็นข้อเท็จจริง ให้ความชอบธรรมแก่ระบอบเผด็จการนี้โดยประกาศว่าเป็นตัวแบบให้แก่ประเทศอื่นๆ และพอใจกับสภาวะสิทธิมนุษยชนและเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ทั้งนี้เกิดขึ้นภายใต้การจับตาดูของคุณ - คุณวูลฟ์เฟนซัน - ประชาชนอินโดนีเซียจะไม่มีวันให้อภัยธนาคารโลกเลย

นิทานเรื่องที่ ๒ ไอเอมเอฟและธนาคารโลกห่วงไยความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม

ข้อเท็จจริง การศึกษาครั้งแล้วครั้งเล่าเกี่ยวกับโปรแกรมปรับโครงสร้างของไอเอมเอฟ-ธนาคารโลกได้แสดงให้เห็นว่า โดยการทำให้ภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจและความยากจนในระดับสูงกลายเป็นสภาพปรกติธรรมดา ภาวะชะงักงันและความยากจนนี้เองที่มีส่วนอย่างสำคัญในการทำให้สภาพแวดล้อมในประเทศกำลังพัฒนาเสื่อมโทรมลง

เป็นต้นว่า ในประเทศฟิลิปปินส์ของผม วิกฤตซึ่งเกิดจากการปรับโครงสร้างในกลางทศวรรษ ๑๙๘๐ กระทบทั้งต่อภาคเมืองและชนบทอย่างไพศาล จนกระทั่งการไหลของประชากรกลับข้าง คือไหลออกจากเมืองไปสู่พื้นที้ลุ่มน้ำ, ป่า และการประมง อันเป็นเหตุให้เกิดความไม่มั่นคงในพื้นที่เหล่านี้

งานศึกษาชี้ให้เห็นว่าในต้นทศวรรษ ๑๙๙๐ ประเทศลูกหนี้อันดับต้นๆ ๑๕ ประเทศ (ซึ่งล้วนต้องถูกบังคับให้ปรับโครงสร้างทั้งสิ้น) ได้ทำลายป่าของตนเองไปมากกว่าอัตราในปลายทศวรรษ ๑๙๗๐ ถึงสามเท่า นี่ก็คือปรากฏการณ์ที่เกิดจากโปรแกรมปรับโครงสร้างซึ่งผลักดันให้ประเทศเหล่านี้เพิ่มรายได้จากการส่งออกเพื่อชดใช้หนี้ต่างประเทศนั่นเอง

โครงการที่ธนาคารโลกสนับสนุนอย่างแข็งขัน เช่น โครงการวางท่อระหว่างประเทศชาด-แคมเมอรูน จะทำภยันตรายให้เกิดแก่ป่าดิบชื้นในแคมเมอรูน ส่วนโครงการความยากจนตะวันตกของจีนซึ่งได้รับการอุดหนุนจากธนาคารโลก ก็กลับละเมิดกฎของธนาคารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเอง เช่น มีการบังคับอพยพประชาชนพื้นเมืองออกจากพื้นที่ เพื่อเปลี่ยนระบบนิเวศน์แบบแห้งแล้งซึ่งคนเลี้ยงแกะชาวมองโกลและทิเบตใช้ประโยชน์อยู่ ให้กลายเป็นที่ดินเพื่อการเกษตรสำหรับรองรับคนจีนอพยพ

หันไปดูตัวเลขสถิติของธนาคารเองก็จะเห็นความเป็นจริงที่อยู่เบื้องหลังโวหารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ จำนวนเงินกู้สำหรับสิ่งแวดล้อม ในจำนวนเงินกู้ทั้งหมดของธนาคารลดลงจากเดิมใน ๒๕๓๗ ซึ่งมี ๓.๖๕% เหลือเพียง ๑.๐๒% ใน ๒๕๔๑ เงินที่ใช้สำหรับอุดหนุนโครงการสิ่งแวดล้อมลดลงระหว่าง ๒๕๔๑-๒๕๔๒ ถึง ๓๒.๗% และใน ๒๕๔๑ มากกว่าครึ่งของเงินกู้ที่ให้แก่ภาคเอกชน ล้วนให้แก่โครงการที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมทั้งนั้น เช่นทำเหมือง, ทำถนน และพลังงาน

อันที่จริง เจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมของธนาคารก็มีความสำคัญน้อยเสียจนกระทั่งนักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่มีชื่อบางคนลาออก เนื่องจากเห็นว่าเขาและแผนกสิ่งแวดล้อมไม่สามารถส่งผลกระทบต่อนโยบายของธนาคารได้เลย

นิทานเรื่องที่ ๓ ไอเอมเอฟและธนาคารโลกมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับความยากจน

ข้อเท็จจริง ความจริงเป็นตรงกันข้ามต่างหาก ไอเอมเอฟและธนาคารโลกนั่นแหละ เป็นแกนกลางของการสร้างความยากจนให้เกิดขึ้นทีเดียว

โปรแกรมปรับโครงสร้างซึ่งบังคับให้ประเทศกำลังพัฒนากว่า ๙๐ ประเทศต้องยอมรับในระยะ ๒๐ ปีที่ผ่านมา ทำให้การชะงักงันทางเศรษฐกิจกลายเป็นภาวะปรกติธรรมดา ทำให้ความยากจนเพิ่มขึ้น และทำให้ความไม่เท่าเทียมกันยิ่งเลวร้ายลงไปในดินแดนเหล่านั้น

อันที่จริงแล้ว งานศึกษาของธนาคารโลกเองยอมรับว่า ความยากจนในช่วงทศวรรษ ๑๙๙๐ เลวร้ายลงไป ในยุโรปตะวันออก, แอฟริกาใต้ซาฮารา, ละตินอเมริกา, หมู่เกาะในแคริบเบียน, และในเอเชียใต้ - ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นภูมิภาคที่ตกอยู่ใต้อำนาจโปรแกรมปรับโครงสร้างของธนาคารโลก-ไอเอมเอฟ การปรับโครงสร้างไม่มีความสำเร็จอะไรเลยจนกระทั่ง แลรีซัมเมอร์ ร.ม.ต.คลังสหรัฐ ซึ่งเป็นหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารในช่วงต้นทศวรรษ ๑๙๙๐ ซึ่งเป็นฝ่ายที่สนับสนุนให้ปรับโครงสร้างเอง ก็ยอมรับแก่สภาผู้แทนของสหรัฐเมื่อปีที่แล้วว่า ถึงเวลาที่ต้องเอาวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจมหภาคที่เอาไอเอมเอฟเป็นศูนย์กลางขึ้นหิ้งได้แล้ว เพราะมันใช้ไม่ได้เลย

ไม่นานมานี้ ไอเอมเอฟก็กำลังตั้งหน้าตั้งตาสร้างความยากจนในเอเชียตะวันออกอีก หลังจากเกิดวิกฤตทางการคลังในเอเชีย

บัดนี้เป็นที่ยอมรับกันทั่วหน้าแล้วว่า โปรแกรมที่เข้มงวดในการตั้งอัตราดอกเบี้ยสูงและตัดงบประมาณซึ่งไอเอมเอฟได้บังคับใช้ ได้เปลี่ยนวิกฤตเศรษฐกิจไปเป็นการถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบ จนทำให้ความเติบโตทางเศรษฐกิจถดถอยลงในประเทศไทย, อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ ตามมาด้วยการเพิ่มขึ้นอย่างมากของคนตกงานและอัตราคนยากจน อย่างน้อยคนประมาณ ๑ ล้านคนกลายเป็นคนยากจนในประเทศไทย และ ๒๑ ล้านคนในอินโดนีเซีย ในเกาหลีแนวโน้มที่คนจนลดลงระหว่าง ๒๕๑๘-๒๕๓๘ กลับพลิกกลับใน ๒๕๔๑ สถิติฆ่าตัวตายในปีนั้นเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนหน้าถึง ๕๙.๔%

ในส่วนธนาคารโลก การต่อสู้กับความยากจนของคุณวูล์ฟเฟนซันได้รับการเปิดเผยจากคณะกรรมาธิการเมลท์เซอร์ ซึ่งสภาผู้แทนสหรัฐได้ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาสถิติต่างๆ ของสถาบันซึ่งเกิดจากข้อตกลงที่เบรตตันวูดส์ (ธนาคารโลก-ไอเอมเอฟ) ปรากฎว่า ๗๐% ของเงินกู้ที่ไม่ใช่ความช่วยเหลือของธนาคารมุ่งให้แก่ประเทศเพียง ๑๑ ประเทศเท่านั้น ส่วนประเทศสมาชิกอีก ๑๔๕ ประเทศต้องแย่งชิงกันกู้เงินจากส่วนที่เหลือ ๓๐% นอกจากนี้ ๘๐% ของทรัพยากรของธนาคาร ไม่ได้จ่ายไปแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนที่สุด แต่กลับจ่ายไปยังประเทศที่พอมีฐานะดีกว่า ซึ่งมีอัตราความน่าเชื่อถือในเรื่องหนี้สินสูงกว่า อันทำให้สามารถระดมทุนจากตลาดทุนเอกชนได้อยู่แล้ว อัตราความล้มเหลวของธนาคารในประเทศที่ยากจนที่สุดสูงถึง ๖๕-๗๐% ส่วนในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมดก็สูงถึง ๕๕-๖๐%

เหตุใดธนาคารจึงยังคุยโม้เกี่ยวกับภาระอันสูงส่งในการยุติความยากจนอยู่อีก? เหตุผลก็เพราะธนาคารได้เรียนรู้จากโจเซฟ เกิบเบิลส์ (รัฐมนตรีโฆษณาการของฮิตเลอร์) ว่า คำโกหกที่พูดซ้ำๆ หลายครั้งพอแล้วก็จะบรรลุสถานะของความจริงในที่สุด

นิทานเรื่องที่ ๔ ไอเอมเอฟและธนาคารโลกกำลังร่วมมือกับประชาสังคม

ข้อเท็จจริง ความจริงก็คือธนาคารโลกและไอเอมเอฟสนใจแต่จะใช้กลุ่มประชาสังคม เพื่อให้ความชอบธรรมแก่วิธีการแบบเดิมของตนเอง โดยอาศัยการปรึกษาหารือซึ่งที่จริงแล้ว เป็นการพูดฝ่ายเดียว ธนาคารและกองทุนฯ สนใจที่จะทำความแตกแยกให้แก่กลุ่มประชาสังคม โดยเรียกกลุ่มประชาสังคมบางกลุ่มว่าเป็นเอนจีโอที่มีเหตุผล และเรียกกลุ่มที่ต่อต้านอย่างรุนแรงว่ากลุ่มเอนจีโอที่ไม่มีเหตุผล คุณวูล์ฟเฟนซันไม่ยอมถกเถียงกับกลุ่มที่ต่อต้านการวางท่อชาด-แคมเมอรูน แต่กลับประณามกลุ่มที่ต่อต้านแทน

ขอให้ผมจบวาทะของผมด้วยคำถามว่า ทั้งธนาคารโลกและไอเอมเอฟจะสามารถปฏิรูปตัวเองได้หรือไม่? เราจะรู้ได้ก็จากคำตอบของผู้อำนวยการไอเอมเอฟและประธานธนาคารโลกต่อคำถามต่อไปนี้

คุณคูห์เลอร์ (ผอ.ไอเอมเอฟ) คุณจะให้อำนาจตัดสินใจของคณะกรรมการกองทุนแก่ประเทศกำลังพัฒนาหรือไม่ คุณจะให้อำนาจเช่นนี้ได้โดยการทำให้อำนาจการลงมติของสหรัฐและสหภาพยุโรป ซึ่งปัจจุบันครอบงำคณะกรรมการ เบาบางลงหรือไม่

คุณคูห์เลอร์ คุณจะเสนอให้เลิกแบบปฏิบัติล้าสมัยและไม่โปร่งใสของไอเอมเอฟ ซึ่งทำให้ชาวยุโรปเท่านั้นที่จะเป็นผอ.ได้หรือไม่ คุณวูล์ฟเฟนซัน คุณจะสนับสนุนให้ยกเลิกประเพณีที่ล้าสมัยและไม่โปร่งใสพอๆ กัน ที่ต้องให้ประธานธนาคารโลกต้องเป็นอเมริกันเสมอหรือไม่?

(เก็บความจาก Agencies have a lot to answer for" BKK Post, October 18, 2000)