Mahatma Gandhi understood that grand schemes do not usually offer permanent solutions to problems. He recognized that human or societal perfection, in the short term, is impossible to attain. Some questions are always left unresolved and people soon discover that their "permanent solutions" or "final solutions"are only temporary ones that sometimes create more problems than they solve.
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความต่อจากหน้าที่แล้ว
content page
member page
back home
2
Young Gandhi, a lawyer in South Africa, gave up law to lead South Africa Indians' civil right struggle.

 

 

Mahatma Gandhi
and the Twenty-first Century
by Harold David Parks
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
Midnight University : May
2001
มหาตมะ คานธี และ คริสตศตวรรษที่ 21
(ตอนที่ 2)
ประกอบด้วยเนื้อหาหลักๆดังนี้

5. Deconstruction of Large Institutions, Governments and Enterprises
การรื้อโครงสร้างของสถาบันต่างๆ, รัฐบาล และอุตสาหกิจขนาดใหญ่

6. Work In Home-based Industries
การทำงานในอุตสาหกรรมที่มีรากฐานอยู่ที่บ้าน

7. Gandhian Philosophy and The Idea of a "Global Village"
ปรัชญาคานเธี่ยนและความคิดเกี่ยวกับ"หมู่บ้านโลก"

8. Concluding Remarks
ข้อสังเกตุต่างๆโดยสรุป

(ต่อจากหน้าที่แล้ว)

5. Deconstruction of Large Institutions, Governments and Enterprises
การรื้อโครงสร้างของสถาบันต่างๆ, รัฐบาล และอุตสาหกิจขนาดใหญ่

เป้าหมายที่อยู่ข้างใต้อีกอันหนึ่งของปรัชญาแบบคานเธี่ยนก็คือ"การรื้อโครงสร้าง" ขององค์กรขนาดใหญ่, รัฐบาลส่วนกลางที่กดขี่ และไม่ตอบสนอง, สถาบันทั้งหลายและบริษัทหรืออุตสาหกิจต่างๆ เพื่อที่จะนำมาสู่การควบคุม ที่ลงมาสู่ระดับต่างๆของชุมชน หรือ, ในศัพท์ของคานเธี่ยนเรียกคือ, ระดับ"หมู่บ้าน"(village levels) ที่ที่ฝ่ายการปกครอง สามารถถูกทำให้รับผิดชอบและตอบสนองมากยิ่งขึ้นต่อความต้องการของผู้คนธรรมดา.

เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังแนวความคิดนี้, ซึ่งตั้งใจที่จะให้อำนาจกับผู้คนธรรมดา เป็นเจตนาที่ดี. แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลและสถาบันต่างๆ ที่มีการกระจายอำนาจจากศูนย์กลาง โดยรากแล้ว ในความพยายามที่จะ"นำเอาการปกครองกลับลงมาสู่ผู้คน" มันเป็นอันตรายค่อนข้างมากสำหรับสังคมร่วมสมัย. การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางได้ส่งให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทางด้านวัตถ ุอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนให้กับโลกตะวันตก และก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางสังคมอย่างมากมาย. กล่าวโดยสรุป เป็นไปได้ที่มันได้ทำให้เกิดผลดีมากยิ่งกว่าผลเสีย หรือภัยอันตรายในความสัมพันธ์กับการทำให้ทั้งวัตถุและความต้องการของมนุษย์บรรลุผล.

หากพบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาด font ลงมา

ในความเป็นจริง ในโลกร่วมสมัย รวมถึงการพึ่งพาอาศัยกันและกันระหว่างประชาชาติและกลุ่มคนต่างๆเพิ่มขึ้น, การเพิ่มขึ้นของประชากรกับความต้องการทางวัตถุอย่างเร่งด่วน และความต้องการอันหนึ่งที่จะรักษาพื้นฐานเอาไว้, โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ อย่างเช่น ถนน ท่าเรือ การกระจายน้ำปะปา ทรัพยากรด้านพลังงาน เครือข่ายการสื่อสาร การศึกษาที่จัดให้กับสาธารณชน การดูแลสุขภาพ งานวิจัยเพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ และระบบป้องกันประเทศต่างๆ. อย่างไรก็ตาม จำนวนมากที่เรามีความต้องการในสิ่งต่างๆ อาจถูกทำให้ง่ายอีกครั้ง, โลกร่วมสมัยเป็นโลกที่มีผู้คนอยู่กันอย่างแออัด เต็มไปด้วยการแข่งขัน และสถานที่ที่มีอันตราย และความรุนแรง, ผู้คนต้องการรัฐบาลกลาง สถาบันต่างๆ และอุตสาหกิจทั้งหลายเพื่อมาช่วยให้พวกเขาได้รับการสนองความต้องการที่เร่งด่วนมากมาย.

ภารกิจที่มากมายเหล่านี้ มันใหญ่เกินไปที่จะถูกทำให้สำเร็จลุล่วงลงได้ในระดับต่างๆของท้องถิ่น โดยรัฐบาลท้องถิ่น. ความเป็นท้องถิ่นจำนวนมาก ขาดเสียซึ่งทรัพยากรต่างๆ และควบคุมความมั่งคั่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น, ซึ่งอันนี้บางครั้ง จึงทำให้มันถูกควบคุมโดยบริษัทหรืออุตสาหกิจต่างๆของนายทุนที่อยู่ห่างไกล, ระบบศูนย์กลางที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี และการกระจายความมั่งคั่งส่วนเกิน เพื่อที่จะส่งเสริมโอกาสต่างๆสำหรับทุกๆคนและท้องถิ่น. ความยุ่งยากอื่นๆที่สัมพันธ์กับการนำเอารัฐบาลกลับมาสู่ระดับท้องถิ่น ได้รับการสืบทอดมาจากแนวโน้มต่างๆของมนุษย์ ที่มีต่อลัทธิท้องถิ่นนิยมอันคับแคบ(parochialism) ซึ่งบางครั้งเป็นสาเหตุแห่งการกีดกันอันหนึ่ง โลกทัศนะแบบศูนย์กลางอยู่ที่ตนเอง(หรือเห็นแก่ตัว).

แต่อย่างไรก็ตาม ความยุ่งยากต่างๆเหล่านี้ที่สัมพันธ์กับการนำเอาการควบคุมกลับมาสู่ระดับหมู่บ้าน ไม่ใช่ปรัชญาแบบคานเธี่ยนอันไร้ผลอย่างสมบูรณ์ หรือความคิดเกี่ยวกับการนำเอาแง่มุมที่เลือกสรรแล้วบางอย่างของการควบคุม กลับมาอยู่ในมือของผู้คนธรรมดาในระดับท้องถิ่น เพื่อว่า ชีวิตอาจจะเป็นสิ่งที่มีความหมายมากขึ้นสำหรับพวกเขา.

คานธีเชื่อว่า การกระจายอำนาจจากศูนย์กลาง โดยนำมาสู่การควบคุมในระดับหมู่บ้าน เป็นสิ่งที่น่าปรารถนาในเรื่องราวและกิจกรรมต่างๆของมนุษย์. ในบางกรณีเกี่ยวกับรัฐบาล, นี่อาจเป็นแนวคิดที่ยอมรับกันอันหนึ่ง, แต่ดังที่กล่าวเอาไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว โครงสร้างพื้นฐานระดับชาติ และบริการสาธารณะ จำเป็นต้องรวมศูนย์เกี่ยวกับทรัพยากรต่างๆอย่างกว้างขวางในโลกร่วมสมัย และมันออกจะบ้าบิ่นไปหน่อยที่จะคิดว่า รัฐบาลศูนย์กลางสามารถที่จะถูกปลดเปลื้องจากสิ่งเหล่านั้นได้ แม้แต่ในระดับกลางๆก็ตาม.

ในโลกร่วมสมัย, การทำให้ความต้องการต่างๆทางด้านวัตถุของผู้คนบรรลุผล มันขึ้นอยู่กับรัฐบาลศูนย์กลางและบรรษัทขนาดใหญ่ต่างๆ. การบริการมนุษย์ในด้านต่างๆก็เป็นสาระอีกอันหนึ่ง. รากฐานที่วางอยู่บนการขาดเสียซึ่งความหมาย และการแตกออกเป็นส่วนๆค่อนข้างมากในความเป็นอยู่ของผู้คนร่วมสมัย, มันสามารถได้รับการยืนยันได้ว่า ผู้คนส่วนใหญ่ต้องการความรู้สึกอันหนึ่งเกี่ยวกับ"ชุมชน" หรือ"ความเป็นหมู่บ้าน-บ้าน"(community or a "home village")[คำนี้ตรงกันข้ามกับหมู่บ้านโลก global village] ที่ซึ่งพวกเขารู้จักกันและกัน และสามารถที่จะมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในหนทางที่เต็มไปด้วยความหมาย.

ในยุคข้อมูลข่าวสารและการปฏิวัติทางด้านคอมพิวเตอร์, ไซเบอร์สเปซ อาจนำมาซึ่งความเป็นไปได้อันน่าตื่นเต้นใหม่ๆบางอย่าง สำหรับผู้คนจำนวนมากที่จะทำงานที่บ้านในชุมชนท้องถิ่น มากกว่าที่จะต้องเดินทางไปทำงานในที่ห่างไกล. ข้อมูลข่าวสารเกือบจะทุกๆเรื่อง ในไม่ช้าก็จะสามารถที่จะใช้ได้สำหรับผู้คนในชุมชนท้องถิ่นโดยผ่านไซเบอร์สเปซ. ถึงแม้ว่าอาจต้องกินเวลาอีกบ้างสำหรับศักยภาพอย่างเต็มที่ของไซเบอร์สเปซ ที่จะทำให้มันเป็นจริงขึ้นมา, มันจะมีผลตามมาที่สำคัญสำหรับอนาคตและสำหรับชุมชนทั้งหลาย.

ในบริบทเชิงนิเสธหรือตรงกันข้าม, การแตกออกเป็นส่วนๆที่เพิ่มมากขึ้นของสังคมและความเป็นอยู่ของผู้คน อาจเป็นผลเนื่องมาจากไซเบอร์เสปซก็ได้ ถ้าหากว่าผู้คนถูกทำให้โดดเดี่ยวในบ้านของพวกเขากับคอมพิวเตอร์ส่วนตัว, และมิโอกาสที่จะพบปะหน้าค่าตากับคนอื่นๆน้อยลง. อุดมคติของคานธีเกี่ยวกับการเพิ่มอำนาจให้หมู่บ้าน, อย่างน้อยที่สุด ในขอบเขตที่จำกัดหนึ่ง, อาจช่วยได้เกี่ยวกับเรื่องนี้.

การสร้าง"หมู่บ้าน"บ้านขึ้นมาใหม่อีกครั้ง, ในระดับที่เล็กลงมา เพื่อพวกเขาสามารถที่จะตระเตรียมความรู้สึกอันหนึ่ง เกี่ยวกับแบบแผนและชุมชนขึ้นมาสำหรับบรรดาผู้อยู่อาศัย, อาจได้รับการมองว่า เป็นสิ่งที่น่าปรารถนาในอนาคต. สถาบันต่างๆที่ให้บริการมนุษย์บางอย่างอาจได้รับการกระจายออกมาจากศูนย์กลาง และส่งกลับไประดับหมู่บ้าน. นอกจากบริการมนุษย์ที่ได้รับการจัดหาหรือเตรียมขึ้นในระดับเขต หรือปริมณฑลต่างๆ, พวกมันอาจได้รับการขยายไปสู่เขตเมืองและตำบลต่างๆในเขตเมือง. ใครสักคนอาจนึกเห็นศูนย์กลางการพักผ่อนหย่อนใจของชุมชนต่างๆ, สถานที่ดูแลเด็กๆในช่วงเวลาวันทำงาน, โรงเรียน, สถานรักษาพยาบาล, คลีนิค, สถานดูแลคนชรา, การบังคับใช้กฎหมาย และแม้กระทั่งคุก ที่ได้รับการส่งต่อลงมาถึงระดับท้องถิ่นต่างๆ. ธุรกิจขนาดเล็ก อย่างเช่น ร้านกาแฟ, ภัตตาคาร และห้างสรรพสินค้าขนาดเล็ก อาจได้รับการนำมาสู่ระดับท้องถิ่น.

โดยยุคข้อมูลข่าวสาร, การปฏิวัติทางด้านคอมพิวเตอร์และไซเบอร์สเปซ, อันนี้คือลักษณะที่เป็นไปได้ทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายใดๆที่มากจนเกินไป เพราะการบริการจำนวนมากสามารถที่จะถูกย้ายจากที่ตั้งในเขตเมืองหรือปริมณฑลไปสู่ชุมชนต่างๆได้. ยกตัวอย่างเช่น ระบบโรงเรียนในเขตเมืองอาจใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารทางไกลเพื่อสอนนักเรียนในโรงเรียนชุมชนขนาดเล็กต่างๆทางอีเล็กทรอนิค จากที่ตั้งซึ่งอยู่ที่ส่วนกลาง โดยมีครูท้องถิ่นเพียงไม่กี่คน และอาสาสมัครของชุมชนอยู่ในสังกัดของโรงเรียนพวกนั้น เพื่อสนทนากันถึงบทเรียนต่างๆ, คอยตอบคำถามและกระตุ้นบรรดานักเรียนทั้งหลายเพื่อให้ทำการบ้านที่ได้รับมอบหมาย. สำหรับครูบาอาจารย์ที่มีคุณวุฒิสูงเพียงไม่กี่คน, ครูพิเศษอาจที่จะได้รับการจ้างเพื่อสอนกระบวนวิชาที่ลึกซึ้งมากๆ ถ้าเผื่อว่าบรรดาครูเหล่านั้นเป็นที่ต้องการในเขตเมือง.

ระบบอันนั้นยังยอมให้มีการยืดหยุ่นในการวางแผน ซึ่งเป็นสิ่งที่ลงรอยสอดคล้องกับความต้องการต่างๆ. โปรแกรมการเรียนรู้ตลอดชีพ อาจทำให้ความต้องการของผู้คนสมปรารถนาได้ เพื่อค้นพบความหมายทางสติปัญและจิตวิญญานอันยิ่งใหญ่ในการดำรงอยู่ของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง.

ศูนย์พักผ่อนหย่อนใจของท้องถิ่น อาจเตรียมหรือจัดหาสถานที่ที่ให้บรรยาการของการมารวมตัวกันของชุมชน เพื่อเป็นที่พบปะของคนหนุ่มสาวและคนแก่. สถานดูแลสุขภาพขนาดเล็กต่างๆ, ซึ่งตั้งอยู่ในบ้านหรือในคลีนิคขนาดเล็ก ทำให้บรรจบกับความต้องการทางการแพทย์ของชุมชน เพียงมีหมอสักคนและพยาบาลคู่หนึ่งที่เป็นสต๊าฟทำงาน ผู้ซึ่งจะค่อยเชื่อมต่อกับผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายได้ตลอเวลา ณ ศูนย์การแพทย์ต่างๆระดับภูมิภาค.

สถานที่ทำการเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย อาจได้รับการตระเตรียมขึ้นมาได้โดยมีตำรวจสักสองสามคน หรือตำรวจที่อยู่ในตู้ยาม ผู้ที่รู้จักกับคนทุกคนในชุมชน และยังได้ทำงานร่วมกับคนหนุ่มสาวอย่างต่อเนื่อง. ส่วนพวกที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ผู้กระทำความผิดเล็กๆน้อยๆ อาจถูกสอบสวนหรือพิจารณาความผิดในศาลที่อยู่ในชุมชนและถูกจำคุกในสถานที่คุมขังของท้องถิ่น. อันนี้อาจทำให้เกิดความอดกลั้นและระบบจัดการที่มีมนุษยธรรมเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม และมีผลในการฟื้นฟูบางอย่างต่อผู้กระทำผิดกฎหมาย. ถ้าหากว่าคนหนุ่งสาวกำลังจะเดินไปสู่หนทางที่ผิดๆ ชุมชน ในฐานะทั้งหมด อาจช่วยกันทำให้คนหนุ่มสาวเหล่านั้นเอาชนะความยุ่งยากต่างๆได้.

การควบคุมในระดับหมู่บ้านนั้น, ควรปล่อยให้อยู่ในมือของผู้นำต่างๆที่ได้รับการเลือกขึ้นมาในท้องถิ่น ผู้ซึ่งได้รับการมอบอำนาจให้ปกครองในเรื่องเกี่ยวกับการจัดหาบริการสาธารณะต่างๆ การพัฒนาทางด้านธุรกิจ, ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม และสิ่งอื่นๆที่มีผลกระทบโดยตรงกับความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชน. ผู้นำเหล่านี้จะต้องมีปฏิสัมพันธ์บนพื้นฐานส่วนตัวกับพลเมืองอยู่เสมอ. อันนี้อาจมีการเตรียมฝึกพื้นฐานสำหรับผู้นำในระดับเขต, รัฐ และนโยบายระดับชาติขึ้นมาได้.

อย่างที่ยอมรับกัน, แนวความคิดเรื่อง"หมู่บ้าน"เป็นอุดมคติของสถานการณ์ที่จะพัฒนาไปสู่, และผู้คนก็มีความรู้สึกว่า"ความเป็นหมู่บ้าน"จะกลายเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในอนาคตอันใกล้. ในประเทศต่างๆที่พัฒนาแล้ว อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา คู่สามีภรรยาร่วมสมัยส่วนใหญ่จะมีลูกกันแค่เพียงสองคนเท่านั้น. ครอบครัวร่วมสมัยทั้งหลาย ซึ่ง 50 เปอร์เซนท์ที่ยังคงอยู่ด้วยกัน มีขนาดเล็กมาก. หลังจากที่พ่อแม่ได้ถึงแก่กรรมลง ผู้คนหลังสมัยใหม่จำนวนมาก จะพบว่าพวกเขาเองนั้นค่อนข้างเดียวดาย ไม่มีครอบครัวเพิ่มขึ้น และมีเพียงสองสามคนเท่านั้นที่ใกล้ชิดกับพวกเขา.

ดังที่เราเห็นมาแต่ต้น สถาบันขนาดใหญ่ต่างๆ ไม่ได้เหมาะสมหรือเข้ากันได้กับพวกเขานักในทางความต้องการทางจิตวิญญานและอารมณ์ความรู้สึก. สิ่งที่น่าพิจารณาคือว่า ผู้คนในอนาคตจำนวนมากจะต้องการความเชื่อมโยงของมนุษย์อย่างใกล้ชิด และความสัมพันธ์กับผู้คนซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกันกับพวกเขามาแต่เกิด, แนวความคิดเกี่ยวกับ"หมู่บ้าน"ของคานเธี่ยน ที่ได้รับการปรับปรุงแล้วอาจได้รับการมองว่าเป็นทางเลือกหนึ่งอันน่าปรารถนา ซึ่งจะเติมเต็มความต้องการต่างๆของความเป็นมนุษย์ และอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนในอนาคต.

การดำเนินต่อไปบนแนวทางแบบปัจจุบัน เกี่ยวกับการยอมให้ความสัมพันธ์ที่แตกออกเป็นส่วนในท่ามกลางผู้คนทั้งหลาย ซึ่งมีคนอยู่เพียงแค่สองสามคนที่สนับสนุนและกังวลใจเกี่ยวกับพวกเขาเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จะทำให้ประเทศชาติเต็มไปด้วยปัจเจกชนที่เดียวดาย, และอันนี้ อาจนำไปสู่ปัญหาทางอารมณ์ชุดใหม่ของผู้คนอย่างหนึ่ง และความเสื่อมทรามลงของสังคมเพิ่มขึ้น ถ้าหากว่าเรายินยอมที่จะให้เป็นเช่นนั้นต่อไปโดยไม่มีการตรวจสอบ.

นายพลเกษียณอายุของสหรัฐ พลเอก Colin Powell ได้จัดให้มีการประชุมระดับชาติขึ้นมาครั้งหนึ่ง โดยเชิญบรรดาอดีตประธานบริษัท, ผู้นำสหภาพ, และผู้นำรัฐมาพิจารณากันถึงไอเดียใหม่ๆเกี่ยวกับการสนับสนุนความรู้สึกที่ฟื้นคืนขึ้นมาใหม่เกี่ยวกับความหมาย และวัตถุประสงค์ในคนหนุ่มสาวร่วมสมัย โดยผ่านอาสาสมัคร ซึ่งมีเจตนาที่จะสอนเรื่องการทำงานเป็นทีม และการบรรลุเป้าหมาย ต่อคนหนุ่มสาวในเมือง. แนวคิดอาสาสมัครของ Powell ได้รับการเรียกว่า ""America's Providence: Alliance for Youth."(การปกป้องของอเมริกา: พันธมิตรสำหรับคนหนุ่มสาว).

ในวันที่ 11 เมษายน 1997 จากการสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์โดย Barbara Walters ในรายการของ ABC Television's news, การสนทนาของ Powell ชี้ว่า เป้าหมายของเขาบางอย่าง มีความคล้ายคลึงกับงานเขียนชิ้นนี้. แต่อย่างไรก็ตาม ในความคิดเห็นของข้าพเจ้า นอกจากการสร้างชุมชนหมู่บ้านท้องถิ่นขึ้นมาใหม่แล้ว, เป้าประสงค์ต่างๆอันทรงคุณค่าของ Powell อาจไม่ได้รับความสนใจอย่างจริงจังโดยผู้คนจำนวนมากที่เขาต้องการจะช่วย. ยิ่งไปกว่านั้น การส่งเสริมเกี่ยวกับความสำเร็จทางด้านวัตถุ, ความสำเร็จที่ปรับเข้ากับเป้าหมายและจริยธรรมในการทำงานในหมู่คนหนุ่มสาว ไม่อาจที่จะกล่าวได้อย่างเต็มที่ว่าเป็น ประเด็นพื้นฐานที่สำคัญเกี่ยวกับการเตรียมความรู้สึกแบบองค์รวมอันหนึ่งของความหมาย, คุณค่า และความยุติธรรมในการดำรงอยู่ของพวกเขา.

จากการพูดคุยกับบรรดาคนหนุ่มสาวร่วมสมัย ที่โรงเรียนมัธยมปลายแห่งหนึ่ง ที่ที่ข้าพเจ้าทำงานเป็นครูอยู่ที่นั่น ชี้ว่า คนหนุ่มสาวต้องการความรู้สึกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกันที่ใกล้ชิด และพวกเขาต้องการอยู่รายรอบผู้คนซึ่ง สนใจในความต้องการความเป็นมนุษย์ของพวกเขา. พวกเขาปรารถนาการปฏิสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วยความหมายกับ พ่อแม่, เพื่อฝูง, เพื่อนบ้าน, ครูอาจารย์ และคนอื่นๆ ผู้ซึ่งเอาใจใส่และเป็นกังวลอย่างแท้จริงเกี่ยวกับพวกเขา, มากกว่าสถาบันต่างๆ หรือกลุ่มต่างๆซึ่งเพียงต้องการให้พวกเขาปรับตัวให้เข้ากับอุดมคติของความฝันแบบอเมริกัน ที่ประสบความสำเร็จทางด้านวัตถุของคนรุ่นก่อนหน้าเขา.

คนหนุ่มสาวจำนวนมากมองดูพ่อแม่ทำงานในชั่วโมงที่ยาวนาน, ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อทำเป้าให้บรรจบกับความมั่งคั่งทางวัตถุมากขึ้นอีกเล็กน้อย, บางครั้งด้วยการจ่ายเพื่อให้ได้สิ่งเหล่านี้มาด้วยการขาดความสัมพันธ์กับพวกเขา. ในโรงเรียนและบนท้องถนน, การเพิ่มขึ้นของแก๊งอันธพาลที่เที่ยวพ่นสีตามผนังอาคารและสิ่งก่อสร้าง และลัทธิชอบทำลาย สามารถถูกพบเห็นได้เสมอ, และมันสามารถที่จะแสดงให้เห็นว่า อันนี้คือปฏิกริยาโดยสัญชาตญานที่สวนกลับผลกระทบที่ทำให้ไม่เป็นคน ของสถาบันต่างๆและลัทธิวัตถุนิยมที่สุดขั้วเกินไป.

6. Work In Home-based Industries
การทำงานในอุตสาหกรรมที่มีรากฐานอยู่ที่บ้าน
อุดมคติอันหนึ่งของปรัชญาแบบคานเธี่ยน ซึ่งปรากฎว่ามีการประยุกต์ใช้ค่อนข้างมากในโลกหลังสมัยใหม่ก็คือ การทำงานอุตสาหกรรมซึ่งมีฐานอยู่ที่บ้าน. อุดมคติอันนี้อาจนำไปปรับใช้ได้ในหลายๆพื้นที่ของชีวิตหลังสมัยใหม่.

คานธีเชื่อว่า ผู้คนควรจะทำงานที่มีความหมายบางอย่างด้วยมือของพวกเขาทุกๆวัน เพื่อที่จะพัฒนาความเชื่อมั่นและวางใจในตนเอง. กงล้อปั่นด้ายของท่านเป็นสัญลักษณ์ที่มีชื่อเสียงระบือไปไกลมาก และท่านได้ใช้เวลาวันละสองถึงสามชั่วโมงเพื่อปั่นฝ้ายไปเป็นเส้นด้าย เพื่อที่จะได้รับการนำไปถักทอเป็นผ้าที่ท่านนำมาพันกาย. ท่านส่งเสริมไอเดียอันนี้ไปทั่วทั้งประเทศอินเดีย ในฐานะที่เป็นวิธีการอันหนึ่งของการสร้างพลังอำนาจให้กับผู้คน และต่อต้านการพึ่งพาอาศัยสิ่งทอต่างๆจากอังกฤษ.

ผู้คนร่วมสมัยอาจใช้ความผันแปรบางอย่างเกี่ยวกับแนวความคิดนี้ เพื่อทำให้ความเป็นอยู่ของพวกเขามีคุณภาพมากขึ้น. การสร้างสรรค์งานฝีมือ หรือผลงานต่างๆทางด้านศิลปะหรือสิ่งธรรมดาๆเพื่อการใช้ประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อขาย อาจทำให้การมีชีวิตอยู่ของผู้คนมีความหมายบริบูรณ์ขึ้น.

บ่อยเหลือเกิน ที่ผู้คนทำงานในอาชีพซึ่งเป็นเรื่องของความเชี่ยวชาญต่างๆ และไม่ได้ยืดขยายความสามารถต่างๆของพวกเขาให้กว้างออกไป ในไม่ช้าจะรู้สึกว่า พวกเขากลายเป็น"ทาสของงาน" และมองเห็นทางเลือกแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้นในการปรับปรุงชีวิตของพวกเขา.

ถ้าหากว่าผู้คนร่วมสมัยลงเรียนวิชาต่างๆในมหาวิทยาลัย, ปลูกพืชผัก, ซ่อมรถของตนเอง, ปรับปรุงเฟอร์นิเจอร์, ซ่อมบ้าน, เป็นช่างไม้, ทำงานหัตถกรรมบางอย่าง, เย็บปักถักร้อย, ทำงานฝีมือหรือสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์อื่นๆ เขาหรือเธอ ในความหมายของคานเธี่ยน กำลังต่อต้านการต้องพึ่งพาอาศัยบริษัทขนาดใหญ่ และสถาบันต่างๆที่ควบคุมในทางเศรษฐกิจ และถอดถอนความหมายจากความเป็นอยู่ต่างๆของผู้คน.

ในความคิดของ John Ruskin, ถ้าเผื่อว่าผู้คนกระทำสิ่งนี้ พวกเขาก็กำลังเพิ่มพลังเศรษฐกิจการเมืองของประเทศชาติ. คนในยุคร่วมสมัยอาจถูกบีบบังคับให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในงานที่ได้รับเงินเดือนหรือค่าแรงบางอย่าง, แต่พวกเขาควรเพิ่มอำนาจให้กับตัวของพวกเขาเองอย่างต่อเนื่อง โดยการเรียนรู้ที่จะกระทำภารกิจต่างๆอันมีความหมายที่หลากหลาย ที่จะทำให้ตัวเขาควบคุมชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาเองได้มากขึ้น. ในยุคของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและความผันแปรเกี่ยวกับเงื่อนไขธุริกจ, มันสามารถได้รับการยืนยันว่า การกระทำอันนี้ จะเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าไปตลอด บางครั้ง อาชีพใหม่ๆที่มีความหมายมากกว่าจะเริ่มต้นขึ้นด้วยหนทางอันนี้นี่เอง.

ไซเบอร์สเปซได้สร้างความเป็นไปได้ที่น่าตื่นเต้นต่างๆสำหรับผู้คนซึ่งทำงานอยู่ที่บ้านได้ และเป็นการต่อต้านไปในตัว กับการที่ต้องพึ่งพาอาศัยสถาบันต่างๆที่ไม่สนใจความเป็นคน และอุตสาหกิจขนาดใหญ่ทั้งหลายของนายทุน. ถ้าหากว่าไซเบอร์สเปซได้มีการพัฒนาไปอย่างเหมาะสม และยอมเปิดให้มีการสื่อสารต่างๆระหว่างผู้คนมากมายทั่วไปทั้งโลก เป็นไปได้ที่มันจะมีนัยสำคัญที่ลึกซึ้งบางอย่าง สำหรับธรรมชาติของชีวิตในคริสตศตวรรษที่ 21.

บริษัทขนาดเล็ก บริษัทที่มีรากการทำงานอยู่ที่บ้าน อาจกระทำบางสิ่งตามใบสั่งซื้อโดยตรงจากผู้ผลิตทั่วโลก และชุมชนผู้ผลิตรายเล็กๆเหล่านี้ อาจสามารถที่จะทำตลาดสินค้าของพวกเขาออกวางตลาดได้ทั่วโลก. ในบางระดับ อันนี้อาจกระตุ้นชีวิตชีวาให้กับชุมชนธุรกิจขนาดเล็ก และนำพา"นวัตกรรมทางความคิดใหม่ๆ"และสินค้าผลิตภัณฑ์ต่างๆเข้าสู่ตลาด ซึ่งนานมาแล้วมันได้ถูกครอบงำโดยบรรษัทหรืออุตสาหกิจขนาดใหญ่ต่างๆ.

ไซเบอร์สเปซอาจทำให้ผู้คนกลุ่มต่างๆในโลกกว้าง สามารถที่สร้างความเป็นหุ้นส่วนร่วมสมัยขึ้นมาได้ ซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถที่จะบรรลุถึงเป้าหมายที่มีลักษณะเฉพาะบางอย่าง. ยกตัวอย่างเช่น นักบริหารการค้าอาจติดต่อกับตัวแทนจัดหาหรือตระเตรียมสินค้าที่อยู่ห่างไกล และรวบรวมปัจจัยที่ต้องการเพื่อมารวมเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์บางอย่างขึ้นมาได้. ปัจจัยต่างๆเหล่านี้อาจถูกส่งไปยังธุรกิจที่ทำกันตามบ้านในหลายๆท้องที่ ซึ่งพวกมันจะถูกนำมารวมกัน และต่อจากนั้นก็ขนส่งโดยตรงไปสู่ลูกค้า ผู้ซึ่งมีที่อยู่ตามใบสั่งซื้ออเล็คทรอนิค.

ด้วยการสื่อสารในยุคโลกาภิวัตน์ที่เป็นไปได้อย่างรวดเร็วเพิ่มขึ้น ทำให้เห็นขึ้นมาทันตาว่า ธุรกิจและเศรษฐกิจ กลายมาเป็นสิ่งที่เลื่อนไหลไปได้มากมายยิ่งกว่าในอดีต และธุรกิจขนาดเล็กและปัจเจกบุคคลนั้นสามารถที่จะเข้ามาควบคุมพื้นที่ทางการตลาดได้มากขึ้น. การแข่งขันที่เพิ่มข้นนี้ อาจไปบีบบังคับให้บริษัทขนาดใหญ่ทั้งหลายมีความรับผิดชอบต่อความต้องการต่างๆของผู้คนมากขึ้น. อุตสาหกรรมพีซีคอมพิวเตอร์ เป็นตัวอย่างอันหนึ่งของผลประโยชน์ของผู้บริหารจัดการขนาดเล็ก ซึ่งสามารถเอาชนะบริษัทขนาดใหญ่ๆได้. บริษัท IBM ที่เคยครอบงำหรือมีอิทธิพลในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์มาโดยตลอด แต่ต่อมาภายหลัง ผู้บริหารจัดการขนาดเล็กได้ค้นพบว่า พวกเขาสามารถที่จะประกอบเครื่องพีซีคอมพิวเตอร์ขึ้นมาได้ จากอะไหล่ที่มีราคาถูกต่างๆ ซึ่งผลิตขึ้นมาจากโรงงานในประเทศโลกที่สามทั้งหลาย.

มาถึงทุกวันนี้ ตลาดคอมพิวเตอร์แบบพีซีเป็นจำนวนมากได้ถูกครอบงำโดยธุรกิจขนาดเล็กที่ได้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซีที่มีคุณภาพสูง ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง. บริษัทไมโครซอฟท์เริ่มต้นจากการเป็นธุรกิจที่ทำกันในบ้าน และบริษัทซอฟท์แวร์ขนาดเล็กต่างๆยังคงแข่งขันกับบริษัทไมโครซอฟท์อยู่จนทุกวันนี้.

จากจุดนี้ ภาพของความต้องการบางอย่างสำหรับคริสตศตวรรษที่ ๒๑ จึงเริ่มปรากฎตัวขึ้นมา. ความต้องการเหล่านี้ เป็นเรื่องของมนุษย์และเรื่องทางด้านเศรษฐกิจ. หุ้นส่วนต่างๆทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น ที่ได้รับการสร้างขึ้นมาโดย ทั้งธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เป็นไปได้ที่จะมีความต้องการรวมศูนย์มากขึ้น, เจริญเติบโต และมีการประสานงานกันเกี่ยวกับการขนส่งและความสะดวกในการสื่อสารต่างๆ, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถนนหนทาง, ท่าเรือ, และระบบการสื่อสารอีเล็คทรอนิค.

ระบบใหม่ต่างๆของรัฐบาล และการจัดเก็บภาษีระหว่างรัฐบาล เป็นไปได้ที่จะมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ ความมั่งคั่งที่มีมากจนเกินไปหรือรายได้ส่วนเกินสามารถที่จะได้รับการกระจายใหม่อีกครั้ง ไปสู่ประชากร และความเคลื่อนไหวทางด้านข้อมูลข่าวสารที่ไปได้ทั่วโลก และสินค้าก็สามารถที่จะถูกทำให้ง่ายขึ้น. ผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหารหลักๆ เป็นไปได้ที่จะยังคงอยู่ในมือของอุตสาหกรรม และผู้จัดส่งสินค้าขนาดใหญ่ และอยู่ในอำนาจและควบคุมโดยรัฐบาลกลางต่างๆ เพื่อว่า ประชากรส่วนใหญ่สามารถที่จะได้รับปัจจัยเหล่านี้อย่างเพียงพอ.

การเพิ่มขึ้นในเรื่องของอำนาจของรัฐบาลกลางต่างๆ ในพื้นที่เหล่านี้ อาจทำให้พวกเขามีความรับผิดชอบน้อยลงต่อความต้องการของมนุษย์ในฐานะปัจเจกบุคคล เมื่อพวกเขา(รัฐบาล)มีความจำเป็นที่จะต้องเอาใจใส่มากขึ้นต่อการธำรงรักษาความเจริญเติบโตของประเทศชาติ และโครงสร้างพื้นฐานในระดับนานาชาติยิ่งกว่าในอดีตที่ผ่านมา. ในอีกด้านหนึ่งนั้น, ถ้าหากว่าปัจเจกชนทั้งหลายและกลุ่มคนต่างๆจากทั่วโลก จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันมากขึ้นสำหรับการดำเนินชีวิตทางด้านเศรษฐกิจของพวกเขา, รัฐบาลต่างๆอาจพบว่าตัวของพวกเขาเองนั้นได้ไปผูกพันกับการแยกสลายหรือแก้ปัญหาการโต้แย้งกันต่างๆระหว่างผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจ และเอกชนทั้งหลายจากที่ทางซึ่งอยู่ต่างกันทั่วโลก.

ถ้าหากว่าผู้คนจากทั่วโลกจะทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป็าหมายส่วนตัวต่างๆ หรือธุรกิจร่วมกัน, ระดับของความไว้วางใจที่สูงขึ้นระหว่างประเทศต่างๆ และเอกชนทั้งหลาย จะต้องถูกทำให้บรรลุผลในอนาคต. โลกกว้าง ที่เป็นโลกของผู้คนซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กันเสมอๆ และทำธุรกิจร่วมกัน จะต้องปล่อยวางความแตกต่างทางจารีตประเพณีลง และมองตัวของพวกเขาเองอย่างอดกลั้น มีใจกว้าง ในฐานะที่เป็นปัจจัยที่สำคัญของความเป็นมนุษยชาติร่วมกัน, และทำงานด้วยกันเพื่อความดีงามโดยรวม.

7. Gandhian Philosophy and The Idea of a "Global Village"
ปรัชญาคานเธี่ยนและความคิดเกี่ยวกับ"หมู่บ้านโลก"

จากภาพฉากในอนาคตที่จะตามมาในทางทฤษฎีข้างต้น, แนวความคิดประชากรร่วมสมัยเกี่ยวกับ"หมู่บ้านโลก" หรือ global village ดูเหมือนว่าจะสร้างความหมายบางอย่างขึ้นมาในระดับของมนุษย์, แต่การสทนาที่น่าพิจารณาในบทความชิ้นนี้ จะไม่สร้างความหมายมากมายเช่นนั้นได้เลย หากว่าใครบางคนจะคิดถึงรัฐบาลโลกที่เป็นหนึ่งเดียว

ตราบเท่าที่รัฐบาลกลางที่เจริญเติบโตเต็มที่เพื่อ"หมู่บ้านโลก"ถูกนำเข้ามาเกี่ยวข้อง, ถ้าหากว่าใครคนหนึ่งพิจารณาถึงปริมาณอันมากมายของการรวมศูนย์ของทรัพยากรต่างๆ ซึ่งจะเป็นที่ต้องการ เพื่อสร้างและดำเนินระบบของการจัดเก็บภาษีทั่วโลก และกระจายความมั่งคั่งส่วนเกินใหม่อีกครั้ง, และมองว่าการแข่งขันและความจงเกลียดจงชังต่างๆในปัจจุบัที่แพร่หลายอยู่ ระหว่าง"ประเทศที่ด้อยพัฒนา"กับ"ประเทศที่ได้รับการพัฒนาแล้ว", รัฐบาลโลกที่ทรงพลังอำนาจ จะไม่ทำให้เกิดความรู้สึกเช่นนั้นเลย.

แม้ว่า"หมู่บ้านโลก"ที่เป็นหนึ่งเดียวในบริบทนี้จะไม่เข้าท่า หรือได้เรื่องได้ราว. ความพยายามที่จะสร้างรัฐบาลโลก และสถาบันที่กระจายความมั่งคั่งของโลกใหม่อีกครั้ง, เช่น ประเทศด้อยพัฒนาต่างๆบางประเทศ เป็นไปได้ที่จะเรียกร้องเกี่ยวกับรัฐบาลเช่นนั้น, ซึ่งอาจจะสร้างปัญหาต่างๆขึ้นมามากมายในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและท่ามกลางผู้คนทั้งหลาย.

ถ้าหากว่าใครสักคนพิจารณาถึงความเชื่อแบบคานเธี่ยนที่ว่า รัฐบาลกลางต่างๆและสถาบันขนาดใหญ่นั้นจะลดทอนการแสวงหาของมนุษย์สำหรับความหมาย, คุณค่า และความยุติธรรมในการดำรงอยู่ของปัจเจกชนทั้งหลาย, มันสามารถที่จะได้รับการคาดหวังได้ว่า ความสำคัญของปัจเจกชนแต่ละคน จะเป็นเรื่องที่เล็กมากในระบบรัฐบาลโลก. ถ้าเผื่อว่าการแตกออกเป็นส่วนๆในปัจจุบันในวัฒนธรรมของเราเองได้ถูกนำมาพิจารณา, ที่ซึ่งคนบางคนกำลังพยายามที่จะสร้างระบบต่างๆทางสังคมและวัฒนธรรมในอีกทางเลือกหนึ่ง ในระดับต่างๆของท้องถิ่น, ภาพฉากอนาคตที่ตามมาซึ่งใหญ่กว่า, ผลลัพธ์เกี่ยวกับการทำให้ขาดจากความเป็นมนุษย์(dehumanizeing effects)ของรัฐบาลขนาดใหญ่, รัฐบาลที่อยู่ห่างไกลมาก เป็นไปได้ที่จะเพิ่มความไม่เป็นมนุษย์มากขึ้น และอาจก่อให้เกิดความสับสนไร้ระเบียบในระดับท้องถิ่นต่างๆอย่างมีสัดส่วนสัมพัทธ์กัน.

ถ้าหากว่ารัฐบาลเช่นว่านั้น ปกครองโดยการใช้อำนาจบีบบังคับ, การใช้อำนาจบังคับต่อกลุ่มต่างๆของผู้คน โดยผู้กดขี่ที่อยู่ไกลและไร้ตัวตน จะเชื้อเชิญความเป็นอนาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง และความรุนแรงมากมาย และการต่อต้านโดยไม่ใช้ความรุนแรงในระดับท้องถิ่นต่างๆ. ขั้นตอนนั้นจะได้รับการเตรียมขึ้นมาเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับวงจรแห่งการกดขี่และความรุนแรงเรื่อยไป. อันหนึ่งที่จะต้องจำไว้คือ การแผดร้องเกี่ยวกับ"จักรวรรดิ์นิยมตะวันตก"จากบรรดาประเทศโลกที่สาม ในช่วงระหว่างสงครามเย็น เพื่อนึกภาพถึงสิ่งที่ท้องถิ่นขานรับหรือโต้ตอบกับรัฐบาลอันนั้นที่อาจจะเป็นไป. ในช่วงเวลานี้ รัฐบาลโลกที่เข้มแข็งเป็นสิ่งซึ่งไม่สอดคล้องกับอุดมคติต่างๆแบบคานเธี่ยนเกี่ยวกับการกระจายอำนาจจากศูนย์กลาง ในความสัมพันธ์กับการทำให้การแสวงหาของมนุษย์เพื่อความหมาย, คุณค่า และความยุติธรรมที่เพิ่มขึ้น และบรรลุความสมปรารถนา.

ความต่อเนื่องและการปฏิรูปขององค์การสหประชาชาติ, ที่เป็นไปในลักษณะแนวทางประชาธิปไตยมากขึ้น ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ สิ่งที่ดีที่สุดคือ ควรจะกระทำในความสัมพันธ์กับการตระเตรียมหรือจัดหาระเบียบทั่วๆไปบางอย่างในโลกขึ้นมา, อย่างน้อยที่สุดสำหรับอนาคตอันใกล้. ดังที่ผู้คนทั่วโลกที่มีความเป็นเนื้อเดียวกันหรือคล้ายกันมากขึ้นในทางความคิดของพวกเขา และมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นในเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของพวกเขา (ถ้าเผื่อว่านี่เป็นสิ่งที่เป็นไปได้), พวกเขาอาจมองเห็นความต้องการอันหนึ่งสำหรับรัฐบาลโลกบางชนิดขึ้นมา.

การก่อตัวขึ้นมาของรัฐบาลโลกในอนาคต จะต้องเป็นความคิดหนึ่งซึ่งได้รับการมองในฐานที่เป็นความต้องการโดยผู้คนธรรมดาส่วนใหญ่ ก่อนที่มันจะกลายเป็นจริงและใช้การได้. ประชาชาติต่างๆ อันดับแรกจะต้องค้นพบทางออกต่างๆที่ดีกว่าให้กับปัญหานานาประการของพวกเขาเอง ก่อนที่รัฐบาลโลกจะมาเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้อีกทางหนึ่ง.

ในรัฐบาลโลกนั้น ความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยในตัวของมันเอง อาจเกือบเป็นสิ่งซึ่งไร้ความหมายต่อพลเมืองในฐานะเอกชน เมื่อคะแนนเสียงๆเดียว เป็นไปได้ที่มันมีผลน้อยมากต่อการตัดสินหรือการมีชัยชนะ ใระบบรัฐบาลที่อยู่ห่างไกลและมีขนาดใหญ่โตมโหฬารเช่นนั้น. ผลต่างๆในเชิงจิตวิทยาซึ่งมีต่อปัจเจกบุคคลทั้งหลาย อาจเชื้อเชิญความสับสนอลหม่านขึ้นมาในระดับท้องถิ่น และความสับสนวุ่นวายนี้ อาจแผ่ขยายขึ้นไปในระดับสูงของโครงสร้างในระดับชาติ โดยการรับสินบน, การทุจริตคอรัปชั่น, ความรุนแรง และการโกง ซึ่งกลายมาเป็นวิถีชีวิตสำหรับส่วนใหญ่ของผู้คน(majority of people) ดังที่พวกเขาพยายามที่จะเพิ่มอำนาจตัวของพวกเขาเองในวิธีการต่างๆในเชิงลบ.

แม้ว่ามันจะไม่ใช่สิ่งที่เหมือนกันเลยเสียทีเดียว, แต่เราก็จะต้องพิจารณาถึงตัวอย่างต่างๆในประวัติศาสตร์ที่ว่า จักรวรรดิ์โรมัน หรือจักรวรรดิ์อังกฤษ ทำไมจึงปฏิบัติการอย่างเลวร้ายและกดขี่อย่างรุนแรงเหี้ยมโหดต่อผู้คนที่อยู่ห่างไกล ที่ยกเรื่องนี้ขึ้นมาก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า มันเป็นอันตรายอย่างมากในการเกี่ยวเนื่องกับการสร้างรัฐบาลโลกที่ทรงอำนาจขึ้นมา.

ในระดับของผู้คน ไอเดียเกี่ยวกับ"หมู่บ้านโลก"ค่อนข้างเป็นที่น่าไว้วางใจและน่าเชื่อถือ และการแก้ไขเพื่อหาทางออกให้กับปัญหาระหว่างชาติบางอย่าง โดยธรรมชาติแล้ว อาจมาจากปฏิกริยาต่างๆของผู้คนธรรมดาในสัดส่วนโลก. ถ้าหากว่าในท้ายที่สุด เศรษฐกิจระดับชาติจำต้องพึ่งพิงการค้าโลก ระหว่างเอกชนและอุตสาหกิจขนาดใหญ่ต่างๆ, รัฐบาลชาติอาจมองถึงความต้องการอันหนึ่งเพื่อการร่วมมือกันมากขึ้น และทำงานหนักเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆที่เกิดมีขึ้น. ขณะที่ประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลายมีความสามารถทางด้านตลาดและการส่งออกสินค้าไปทั่วโลก ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจต่างๆ อาจถูกทำให้น้อยลง และอันนี้อาจทำให้มูลเหตุแห่งความขัดแย้งน้อยลงไปด้วย.

ขณะที่ผู้คนและกลุ่มต่างๆต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันมากขึ้น สำหรับความเจริญและความสำเร็จร่วมกัน, พวกเขาอาจจะมองตัวเองในฐานะที่เป็นหุ้นส่วน แทนที่จะเป็นฝ่ายตรงกันข้าม และพวกเขาจะต้องสำนึกว่า ความขัดแย้งและการแข่งขัน มันสามารถที่จะนำมาสลายความรุนแรงได้น้อยกว่าในอดีตที่ผ่านมา. มันสามารถที่จะแสดงให้เห็นว่า ฉากอนาคตที่มาถึงมีความจำเป็นที่จะเรียกร้องว่า อุดมคติต่างๆของมนุษย์เกี่ยวกับการแข่งขัน มีความก้าวร้าว และการตักตวงผลประโยชน์น้อยลงกว่าในอดีต และการแก้ปัญหาด้วยการบีบบังคับต่อปัญหาในระยะยาว มักจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดเสมอไป.

8. Concluding Remarks
ข้อสังเกตุต่างๆโดยสรุป

จนกระทั่งเมื่อไม่นานมนี้เอง ชาวตะวันตกได้เป็นทาสต่อความคิดสติปัญญา"ไม่อันนี้ก็อันนั้น"ที่ ได้ให้ทางออกของปัญหาแต่เพียงด้านเดียวเท่านั้น. ผู้คนค่อยๆไม่ไว้วางใจต่อทัศนะอันนี้อย่างช้าๆ ดังหลักฐานที่แสดงให้เห็นโดยการลงคะแนนเสียงที่แกว่งไป ไม่เป็นไปในทางเดียวกันมากขึ้น ในการเลือกตั้งทางการเมืองต่างๆ, แต่พวกเขายังคงมีความยุ่งยากบางอย่าง ในการสร้างทางเลือกอีกทางหนึ่งของความคิดอยู่.

มันมีการทดลองเมื่อเร็วๆนี้บางอย่าง ด้วยความคิดเชิงสัมพัทธ์ที่มีรากฐานของเหตุผล, แต่, ถ้าหากว่าใครคนหนึ่งพิจารณาว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีความเกี่ยวข้องกันจากมุมองหรือทัศนวิสัยของตรรกะอันหนึ่ง, ทัศนะอันนี้จะไม่นำไปสู่ที่ใดเลย เพราะว่ามันง่ายเกินไปที่จะให้เหตุผลว่า อีกทางเลือกหนึ่ง มันใช้ได้หรือฟังขึ้นเท่าๆกับอีกอันหนึ่ง และการตัดสินใจต่างๆก็จะต้องประสบกับความยุ่งยาก.

ทัศนะที่มีพื้นฐานอยู่บนความจริงแบบคานเธี่ยนสร้างความน่าเชื่อถือและน่าไว้วางใจมากกว่า. ขณะเดียวกัน ทัศนะแบบคานเธี่ยนยังเป็นแนวคิดเชิงสัมพัทธ์ด้วย(relativist view คำสอนที่ว่าความรู้ ความจริง และความดี ฯลฯ เป็นลักษณะสัมพัทธ ไม่ใช่เบ็ดเสร็จ.) มันมีรากฐานอยู่บนอุดมคติที่ว่า เราจะต้องไว้วางใจในพระผู้เป็นเจ้า หรือความคิดความเข้าใจภายในของฐานรากแห่งจิตวิญญานที่แสดงให้เห็นว่า ทางเลือกเหล่านั้นคือความชอบธรรม.

อันนี้มีนัยะว่า ผู้คนมีประสาทสัมผัสอันหนึ่งของความเข้าใจของจิตวิญญาน เกี่ยวกับการทำความดีและความถูกต้อง. ผู้คนเป็นจำนวนมากจะยอมรับอย่างมีเหตุผลว่า คนปกติ, คนที่ซื่อสัตย์, เมื่อสนับสนุน และยอมรับที่จะดำเนินรอยตามธรรมชาติที่ดีของพวกเขานั้น, จะมีความรู้สึกบางอย่างของความถูกต้องชอบธรรม, สะอาดซื่อตรง และเที่ยงธรรม, และความรู้สึกอันนี้นั้น มันปรากฎขึ้นมาโดยธรรมชาติมาจากภายในของพวกเขา.

มันดูเหมือนว่า เมื่อการตัดสินใจได้วางอยู่บนรากฐานสิ่งที่เป็นไปทางด้านเหตุผล และอย่างมีสำนึก ดูเหมือนว่า ความถูกต้องชอบธรรม ความซื่อสัตย์ และความเที่ยงธรรม จะสัมพันธ์กับความต้องการที่เป็นองค์รวม ความต้องการดำรงอยู่ของมนุษย์, รวมไปถึงการหล่อเลี้ยงจิตวิญญานต่างๆของผู้คนด้วยความรักและห่วงกังวล, ผลลัพธ์ต่างๆ อาจเป็นที่น่าพอใจมากกว่าผลลัพธ์ต่างๆที่วางอยู่บนรากฐานของการตัดสินใจที่ทำขึ้นมาจากมุมมอง หรือทัศนะที่ไร้จริยกรรม หรือวางอยู่บนฐานของวัตถุ.

ความคิดอันนี้เป็นจริงด้วย เมื่อผู้คนพิจารณาว่า พวกเขามีพระเจ้าองค์หนึ่ง ซึ่งมีพันธะต่อการถนอมรักษาสิ่งที่มีชีวิตและธรรมชาติที่เล็กกว่า เพื่อให้มันดำรงอยู่และอยู่ได้อย่างดี เพื่อว่าสรรพชีวิตและสรรพสิ่งบนโลกจะได้สามารถเจริญงอกงามต่อไปได้ ในวิถีแห่งองค์รวมและเต็มไปด้วยความหมาย ซึ่งจะมาเพิ่มพูนคุณค่าและความงดงามต่อการมีอยู่ของมนุษย์เรา.

มหาตมะ คานธี สนับสนุนอุดมคติที่เป็นองค์รวมของท่านเกี่ยวกับความจริง, นั่นคือ หลัก"อหิงสา"และ"สัตยเคราะห์"ในระดับรากหญ้า, ท่านเดินทางจากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง, พูดคุยกับชาวบ้านและสร้างมวลชนขึ้นมา เพื่อให้การสนับสนุนก่อนที่จะมีกระทำการสำคัญๆต่างๆ. ขณะเดียวกันก็จูงใจผู้คนทั้งหลายให้เชื่อมั่นว่า พวกเขาต้องการฟื้นคืนทัศนะแบบองค์รวมของความหมาย คุณค่า และความยุติธรรมให้คืนกลับมา ซึ่งเป็นอุดมคติอันหนึ่งอันทรงคุณค่า ในการสนับสนุนมาสู่วิถีทางอันกว้างใหญ่ต่างๆของการสื่อสารร่วมสมัยในปัจจุบัน, ทัศนะอันนั้นควรจะได้รับการสนับสนุนส่งเสริมอย่างระมัดระวัง และอย่างค่อยเป็นค่อยไป ช้าๆ ในระดับของท้องถิ่นต่างๆ.

ดังที่ประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วซ้ำๆ, บรรดาผู้ที่มีความกระตือรือร้นมากเกินไปในพลังอำนาจแห่งจริยธรรม, ซึ่งยัดเยียดอุดมคติต่างๆของพวกเขาเกี่ยวกับศีลธรรมลงไปในมวลชน, สามารถที่จะเป็นเหตุให้เกิดปฏิกริยาที่รุนแรงอย่างสุดขั้วขึ้นมาได้, มันจะก่อให้เกิดความทุกข์ยากอย่างมาก และการยักย้ายถ่ายเทเกี่ยวกับอุดมการทางศีลธรรมสำหรับวัตถุประสงค์ต่างๆไปที่ความเห็นแก่ตัว.

มันสามารถได้รับการยืนยันว่า ผู้คนทั้งหลายเรียนรู้อุดมการณ์ทางจริยธรรมได้ดีที่สุด โดยผ่านการดำรงชีวิต และการทำงานร่วมกันในสภาพแวดล้อมทางศีลธรรม ที่ซึ่งผู้คนต่างพึ่งพาอาศัยกันและกัน และต่อสู้ดิ้นรนด้วยกันเพื่อวัตถุประสงค์ร่วมกันต่างๆ. เมื่อผู้คนรวมเป็นหนึ่งเดียวในการต่อสู้เพื่อความดีร่วมกัน, อย่างเช่นในภาวะสงคราม หรือช่วงระหว่างความยุ่งยากทางเศรษฐกิจ, ความมีศีลธรรมและความรู้สึกทางจิตวิญญาน ปกติแล้ว จะกลายเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อพวกเขา. การพิจารณเรื่องนี้, อุดมคติทางศีลธรรม ควรจะถูกนำเสนออย่างอ่อนโยนและช้าๆในระดับรากหญ้า, และควรจะดูแลด้วยความระมัดระวังภายในขอบเขตของเหตุผลและความอดกลั้น ความมีใจกว้าง. อันนี้คือ ที่ที่การช่วยพัฒนาศีลธรรมจรรยาในเชิงอุดมคติร่วมกันขึ้นมาในระดับซึ่งเล็กที่สุด เป็นเรื่องที่สำคัญมาก.

ปรัชญาคานเธี่ยนยืนยันว่า ความอดกลั้น ความมีใจกว้าง และกฎของความรัก ที่มันได้รับการสอนโดยศาสนากระแสหลักของโลกส่วนใหญ่ คือสิ่งจำเป็นสำหรับผู้คนเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติ, และมีชีวิตที่มีความหมาย. ในโลกร่วมสมัย ที่ซึ่งผู้คนต่างศาสนา ต่างศรัทธา และมีปรัชญาไม่เหมือนกันจากตะวันออกและตะวันตกมารวมกันอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน, ผู้คนมีทัศนะที่เกี่ยวกับตัวของพวกเขาเองในฐานะที่เป็นสมาชิกสำคัญของชุมชนทางจิตวิญญานของมนุษย์น้อยมาก ซึ่งความจริงแล้ว มันเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และเพิ่มขึ้นโดยลำดับ.

ตามจารีตแล้ว ในตะวันตก, ประเด็นทางศีลธรรมากมายได้รับการนิยามโดยศาสนาต่างๆของตะวันตก, และอุดมคติเกี่ยวกับศีลธรรมร่วมกัน เป็นสิ่งที่ค่อนข้างสอดคล้องพ้องกัน. อันนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปบางส่วนในโลกร่วมสมัย. เนื่องจากการปฏิวัติทางด้านการสื่อสาร และการอพยพไปทั่วโลกที่เพิ่มมากขึ้น, มันมีการผสมผสานกันมาก และมีการคลุกเคล้ากันบางอย่างของตะวันออก และวัฒนธรรมอื่นๆ กับสิ่งเหล่านั้นที่มีอยู่แล้วในสังคมตะวันตก, รวมไปถึงทัศนะใหม่ๆต่างๆ ที่ก่อตัวขึ้นมาโดยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์.

ในอนาคต ศาสนาทั้งหมด เป็นไปได้ที่จะต้องมีลักษณะรวมๆมากขึ้น และมีใจกว้าง อดกลั้น เพื่อว่า มันจะได้นำพาผู้คนทั้งหลายมาร่วมกันในศรัทธา, มีความรัก และการร่วมมือกัน. ชุมชนศาสนาโลกควรจะมีความพยายามอย่างจริงจัง ที่จะทำงานร่วมกันในการสร้างและให้การสนับสนุนอุดมคติเล็กๆของศีลธรรมจรรยาต่างๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับต่อหลักการพื้นฐานต่างๆเกี่ยวกับศรัทธาส่วนใหญ่. อันนี้สอดคล้องลงรอยกับอุดมคติแบบคานเธี่ยนเกี่ยวกับการร่วมมือกัน"ระหว่างศรัทธา" หรือ interfaith cooperation เพื่อที่จะสนับสนุนความดีงามร่วมกัน.

ในหลายๆกรณี, การสอนอุดมคติเกี่ยวกับความรัก, การไม่ใช้ความรุนแรง และการรับใช้คนอื่นในระดับรากหญ้า เป็นไปได้ที่จะต้องเกิดขึ้นก่อน ก่อนการที่ผู้คนจำนวนมากจะตระหนักและรับรู้ถึงทัศนะแบบองค์รวม, ทัศนะที่ได้รับแรงดลใจเกี่ยวกับความหมาย, คุณค่า และความยุติธรรมว่ามันเป็นไปได้ และนั่น มันจะทำให้ผู้คนแก้ไขหรือหาทางออกที่น่าปรารถนาได้มากขึ้น กับปัญหาต่างๆที่มีอยู่ของพวกเขา.

กระบวนวิชาศาสนาเปรียบเทียบในโรงเรียนต่างๆ อาจช่วยให้ผู้คนเรียนรู้ว่า ผู้คนส่วนใหญ่ต่างแสวงหาความหมายทางจิตวิญญานในการมีชีวิตอยู่ของพวกเขา ไม่ว่าเขาจะเป็นคริสเตียน, เป็นยิว, มุสลิม ฮินดู ชาวพุทธ หรือเป็นสมาชิกของศรัทธาอื่นๆ ที่ได้พร่ำสอนคุณความดีของความรักในคนอื่น. การสอนเช่นนั้นจะช่วยให้สำนึกว่า มันมีความต้องการที่จะทำความเข้าใจทางจิตวิญญานโดยธรรมชาติ ในตัวของพวกเขาเอง ซึ่งจักต้องทำให้บรรลุผลก่อนที่ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาจะสมบูรณ์, และความต้องการอันนี้นั้น เป็นรากฐานในกฎความเข้าใจทางจิตวิญญานเกี่ยวกับความรัก. อันนี้สอดคล้องกับอุดมคติของคานเธี่ยนเกี่ยวกับการสนับสนุนให้มีความอดกลั้น มีใจกว้าง และการไม่ใช้ความรุนแรงกับคนอื่นๆ

เมื่อดำเนินการได้อย่างเหมาะสม, การเปลี่ยนแปลงต่างๆในสังคมและวัฒนธรรม ควรจะเกิดขึ้นมาอย่างระมัดระวัง, และในขั้นตอนต่างๆ, ต้องใช้เวลานานพอสมควร. การบีบบังคับให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้คน, จากบนลงล่าง, จะเป็นการเชื้อเชิญความขุ่นเคืองและการปฏิเสธขึ้นมา, เพราะผู้คนที่ได้รับการบังคับ บ่อยครั้ง จะมองการเปลี่ยนแปลงด้วยอำนาจกดบีบเป็นภาระอันยุ่งยาก มากกว่าจะเป็นประโยชน์อันหนึ่ง.

เป็นไปได้ที่ คานธี ถูกต้องแล้วในความเชื่อที่ว่า การเปลี่ยนแปลงที่ถาวร และมีความหมาย จะต้องมีพื้นฐานการยอมรับของมันมาจากส่วนล่างสุดของสังคม และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะต้องกระทำขึ้นจากล่างขึ้นไปข้างบน, และรัฐบาลและสถาบันต่างๆ ควรที่จะพลิกแพลงหรือปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้. อุดมคติอันนี้มีลักษณะปฏิวัติในธรรมชาติ, แต่ก็เป็นสิ่งซึ่งสอดคล้องกับเจตนาที่แท้จริงของประชาธิปไตย.

การแพร่กระจายเกี่ยวกับอุดมการณ์ที่เป็นสไตล์หรือแบบฉบับของคานธี เกี่ยวกับการไม่ใช้ความรุนแรงและการรับใช้ผู้อื่น, รวมถึงหลักการ"สัตยเคราะห์" เป็นวิธีการอันหนึ่งซึ่งผู้คนอาจได้กอบกู้ การควบคุมบางอย่างเหนือชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาเองคืนมา, เป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นมาเป็นอันดับแรกในสถาบันการศึกษาที่มีความเป็นอิสระ และผ่านช่องทางของประชาชนในการสื่อสารทั่วไป อย่างเช่น ไซเบอร์สเปซ.

การเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างสันติและอย่างเหมาะสม โดยผ่านการศึกษาต้องใช้เวลา เพราะคนรุ่นเก่าจะต้องค่อยๆจางไปก่อน นักศึกษาที่มีแนวคิดใหม่จึงสามารถที่จะเข้ามาควบคุมและทำให้แนวความคิดเหล่านั้นเป็นผลสัมฤทธิ์ขึ้นมาได้. อันนี้สอดคล้องต้องกันกับคานเธี่ยนที่ยอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความหมาย การไม่ใช้ความรุนแรง ต้องใช้เวลา และมันเป็นกระบวนการที่ไม่มีจุดจบหรือสิ้นสุด.

ในระบอบประชาธิปไตย, ประชาชนโดยทั่วไปจะต้องมีความมุ่งมาดปรารถนาการเปลี่ยนแปลง ก่อนที่การเปลี่ยนแปลงจะพร้อมและได้รับการยอมรับโดยปราศจากการต่อต้าน. ผู้คนร่วมสมัยเป็นจำนวนมากมีความปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลง แต่ไม่รู้สึกทันทีว่า อีกทางเลือกหนึ่งที่น่าพอใจกำลังถูกนำไปให้กับพวกเขา. อันนี้คือ ที่ที่การส่งเสริมที่เหมาะสม, การแก้ปัญหาต่างๆที่ใช้การได้และความมีใจกว้างคือสิ่งจำเป็น.

ในความสัมพันธ์กับผู้คนดังกล่าว ความรู้สึกเชื่อมโยงอันยิ่งใหญ่เกี่ยวกับ ความหมาย, คุณค่า และความยุติธรรม(meaning, value and justice)ในความเป็นอยู่ของพวกเขา, อุดมการณ์ทั้งสามนั้น เป็นสิ่งที่สอดคล้องต้องกันกับปรัชญาคานเธี่ยน ซึ่งต้องการที่จะได้รับการส่งเสริม สนับสนุนในสถาบันการศึกษา และโดยผ่านสื่อกลางการสื่อสื่อสารที่เป็นไปได้ต่างๆ. ประการแรกคือ ความปรารถนาของผู้คนที่จะดำเนินรอยตามความเข้าใจทางจิตวิญญานเกี่ยวกับ ความหมาย, คุณค่า และความยุติธรรม ในความเกี่ยวข้องกับความต้องการต่างๆที่มีอยู่ของผู้อื่น มีรากฐานต่างๆอยู่บนกฎของความรัก ซึ่งองค์พระเยซูได้สั่งสอนใน The Sermon on The Mount (คำเทศนาบนภูเขา) และเทศนาดังกล่าวนั้น ได้รับการสรรเสริญยกย่อง ในฐานะที่เป็นรากฐานความเชื่ออันหนึ่งในศาสนาส่วนใหญ่ของโลก.

อันนี้มีนัยะว่าผู้คนควรที่จะเรียนรู้ที่จะอดกลั้น มีใจกว้างมากขึ้น เกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ และธรรมชาติของจิตวิญญานของคนอื่นๆ และควรพยายามที่จะดลใจคนอื่นๆด้วยความรัก มากกว่าด้วยการบีบบังคับและความรุนแรง. มันสามารถที่จะแสดงให้เห็นว่า มันไม่มีแสงอันเจิดจ้าของอุดมคติเกี่ยวกับแรงดลใจผู้อื่นด้วยความรักในประวัติศาสตร์ตะวันตกเมื่อไม่นานมานี้.

อุดมคติอันที่สองก็คือ การให้การศึกษากับผู้คน ในการพิจารณาเชิงจริยธรรมถึงผลกระทบเกี่ยวกับการกระทำของพวกเขาต่อคนอื่นๆ ในความเกี่ยวพันกับเรื่องของธุรกิจ, รัฐบาลและสังคมในฐานะที่เป็นทั้งหมด เพื่อว่าพวกเขาอาจจะเพิ่มพูนความหมาย, คุณค่า และความยุติธรรมให้กับบริษัทหรืออุตสาหกิจขนาดใหญ่ และทำให้ตัวของพวกเขาเองสามารถที่จะวางรากฐานการตัดสินใจ และการกระทำต่างๆลงบนบรรทัดฐานที่มีความหมายมากกว่าเพียงเพื่อผลกำไร และประสิทธิภาพอย่างเดียวเท่านั้น.

อันนี้จะทำให้บริษัท อุตสาหกรรมทั้งหลาย มีความหมายมากขึ้นในความสัมพันธ์กับความเป็นอยู่ของผู้คน ทั้งต่อตัวเองและต่อคนอื่นๆ, และอาจสนับสนุนการต่อต้านทั่วๆไปบางอย่าง อย่างต่อเนื่อง ต่อการปฏิบัติการต่างๆในเชิงวัตถุที่ไม่สนใจในเรื่องศีลธรรม ซึ่งบ่อยครั้ง เมินเฉยต่อความหมายของมนุษย์, คุณค่า และความยุติธรรม ในการเกี่ยวข้องกับกลุ่มของผู้คนขนาดใหญ่.

อุดมคติอันที่สาม ก็คือการนำมาซึ่งการควบคุมเกี่ยวกับแง่มุมของชีวิตมนุษย์บางอย่าง และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ให้กลับลงมาสู่ระดับ"หมู่บ้าน"ท้องถิ่น ที่ซึ่งผู้คนต่างรับผิดชอบโดยตรงต่อกันและกัน เพื่อจัดหาบริการหรือการรับใช้มนุษย์บางอย่าง, และเพื่อธำรงรักษาระบบระเบียบ, ความมั่งคั่งรุ่งเรืองและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ในระดับชุมชนหรือระดับหมู่บ้านโดยตรง. สิ่งเหล่านี้คือทัศนะทางศีลธรรมที่อาจได้รับการยินยอมหรืออนุญาตให้มาจากภายในของแต่ปัจเจกชน.

ความคาดหวังอันหนึ่งที่ว่า ผู้คนควรจะกระทำสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมทางด้านศีลธรรม ในความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับการเอาใจใส่เกี่ยวกับความต้องการทางอารมณ์และจิตวิญญานของผู้อื่น ควรจะได้รับการกระตุ้นตลอดทั่วทั้งสังคม, เพราะว่าการทำอีกอย่าง มันไปสนับสนุนความแตกแยกออกเป็นส่วนๆ และทำลายความหมายของความเป็นมนุษย์ และความดีงามของมนุษยทางด้านสุขภาพจิต ซึ่งมาจากความเอาใจใส่เกี่ยวกับคนอื่นมากกว่าตัวเอง.

เพื่อทำความเข้าใจว่า อะไรคือสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมทางศีลธรรม, อันดับแรก ผู้คนควรเรียนรู้เกี่ยวกับทัศนะโดยรวมและมีความอดกลั้น ใจกว้างต่อปัจจัยหรือแก่นแท้ความหลากหลายแตกต่างของความเป็นมนุษย์. อันนี้ต้องการ การส่งเสริมสนับสนุนของกระบวนวิชาที่เกี่ยวกับพหุวัฒนธรรมอันหลากหลาย ภายในโรงเรียนและสถาบันต่างๆทางการเรียนรู้ที่สูงขึ้นไป. ผู้คนจะต้องมองว่า ตัวของพวกเขาเองนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ภายในความเป็นมนุษย์ที่ยิ่งใหญ่อันนี้ ถ้าหากว่า พวกเขาจะพัฒนาท่าทีหรือทัศนคติเกี่ยวกับความอดกลั้น และความมีใจกว้างต่อคนอื่น.

คนหนุ่มสาวควรจะผ่านกระบวนวิชาทางด้านจริยศาสตร์ในโรงเรียนมัธยม และในสถาบันต่างๆของการเรียนรู้ระดับสูงก่อน จึงจะได้รับการยินยอมให้รับปริญญาจากสถาบันเหล่านั้น. กระบวนวิชาทั้งหลายเกี่ยวกับการศึกษาที่เกี่ยวพันกับศิลปะต่างๆ, วิทยาศาสตร์ แพทยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ธุรกิจ รัฐศาสตร์ และกฎหมาย ควรที่จะเน้นให้เรียน หลังจากได้ศึกษากระบวนวิชาทางด้านจริยธรรมการบริการคนอื่นทั้งหมดแล้ว และทำในสิ่งที่ถูกต้องหรือซื่อตรงในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำต่อคนอื่นๆ. อีกครั้งที่ผู้คนจะต้องได้รับอนุญาตที่จะทำการตัดสินคุณค่าบางอย่างด้วยตัวของพวกเขาเอง มากกว่าที่จะวางใจเกือบจะสมบูรณ์ในสถาบันต่างๆที่กระทำสิ่งนี้สำหรับพวกเขา. ในท้ายที่สุด ถ้าผู้คนจำนวนมากตระหนักหรือสำนึกว่า พวกเขาควรจะทำงานเพื่อความหมายที่เป็นองค์รวมอันยิ่งใหญ่กว่าในความเป็นอยู่ของพวกเขาเอง และในการดำรงชีวิตของคนอื่น, สังคมโดยรวมก็อาจจะดีขึ้น มีความอดทน และใจกว้างมากขึ้น และเอาเปรียบ ตักตวง และขูดรีดจากคนอื่นน้อยลง.

คานธีได้เสนอโลกขึ้นมา ในฐานะที่เป็นวิธีการอันหนึ่งสำหรับการค้นหาทางออกบางประการต่อปัญหาต่างๆของมัน. ทัศนะทางศีลธรรมอันหนึ่ง ซึ่งวางรากฐานอยู่บนความเข้าใจทางจิตวิญญาน เป็นที่ต้องการเพื่อนำไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมและมีเหตุผล. ทัศนะทางศีลธรรมอันนั้นจะต้องพัฒนาไปตามธรรมชาติ, ตามกาลเวลา, ตามที่ผู้คนดิ้นรนต่อสู้กับคำถามต่างๆ และปัญหาอันหลากหลายเท่าๆกับที่มันเกิดขึ้นมา.

ความพยายามที่จะบีบคั้นทางออกต่อปัญหาต่างๆ จะไม่เกิดขึ้นเลย เว้นแต่จะเป็นสิ่งที่โง่เง่า. การเสนอเหตุผลหรือข้อถกเถียงสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่สมบูรณ์อันหนึ่ง ในความคิดของมนุษย์และในสังคม ก็เป็นเรื่องที่โง่เง่าด้วยเช่นกัน, และเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับปรัชญาคานเธี่ยน ที่ซึ่ง หนทางที่นำไปสู่ความจริงที่ยิ่งใหญ่ จะต้องถูกขับเคลื่อนอย่างมีขั้นตอน (แต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลา).

ณ ปัจจุบัน อันนี้ไม่สอดคล้องต้องกันกับอุดมการณ์ตะวันตกต่างๆ ที่ที่ความเป็นจริง บ่อยครั้ง ถูกมองว่าเป็นสิ่งหยุดนิ่งหรือสถิตย์ และยังได้รับความเชื่อว่า ปัญหาต่างๆสามารถที่จะได้รับการแก้ไขได้อย่างถาวรด้วยแผนการที่ยิ่งใหญ่ และโดยการบีบเค้นทางออกหรือการแก้ปัญหาต่อผู้คนทั่วทั้งโลก. ดังที่เราเคยพบเห็นกันมาแล้วก่อนหน้านี้, นอกเสียจากว่า การแก้ปัญหาต่างๆเหล่านั้นจะสานกันกับความต้องการที่แท้จริงของผู้คนธรรมดา, การบีบบังคับหรือยัดเยียดด้วยการแก้ปัญหาอย่างนั้น กำลังก่อให้เกิดความสูญเสียหรือสิ้นเปลืองไปเปล่าๆ เกี่ยวกับความพยายามของพวกเขา

ในปรัชญาคานเธี่ยน, สิ่งที่สำคัญก็คือ เส้นทางที่ได้รับการเดินผ่านมา. คานธีรู้สึกว่าผู้คนควรจะต่อสู้ดิ้นรนต่อไป เพื่อค้นหาทางออกที่ครอบคลุมต่างๆต่อปัญหาที่มากดอัดส่วนใหญ่ในยุคสมัยของพวกเขา. การแก้ปัญหาหรือค้นหาทางออกเหล่านี้, ส่วนใหญ่แล้ว, จะต้องไม่ใช้ความรุนแรงและยอมรับกันได้ทั้งหมด. มันเป็นการบ่งชี้บางอย่างว่า ผู้คนกำลังเรียนรู้ที่จะดำเนินไปอย่างช้าๆ ในความเกี่ยวพันกันกับการกำหนดทางออกต่างๆทั่วทั้งโลก. โดยการยกเว้นเกี่ยวกับความรุนแรงอย่างสุดขั้วในประชาชาติเก่าของยูโกสลาเวีย และความรุนแรงที่น้อยกว่าในประชาชาติต่างๆภายใต้กรอบของโซเวียตก่อนหน้านี้, ความสงบสันติในเชิงสัมพันธ์, การรื้อถอนโครงสร้างที่ไม่ใช้ความรุนแรงของสหภาพโซเวียตเก่า, รัฐบาลที่กดขี่ในยุโรปตะวันออก และแอฟริกา ควรจะเป็นมูลเหตุสำหรับความหวังที่ว่า ผู้คนได้เรียนรู้จากอดีตที่ผิดพลาด และอย่างน้อยที่สุด กำลังพยายามที่จะเปลี่ยนแปลง โดยไม่ไปทำลายล้างกันและกันในกระบวนการอันนี้.

ความไร้ระเบียบและสับสนทางเศรษฐกิจในสหภาพโซเวียตเก่า ควรจะมารับใช้ในฐานะที่เป็นคำเตือนที่แข็งขันเกี่ยวกับ การขับเคลื่อนที่รวดเร็วเกินไป โดยการรื้อทำลายอย่างถึงราก. ในประเด็นเกี่ยวกับโลกที่สันติสงบมากกว่า และอดทนอดกลั้นยิ่งกว่า, Jonvir Burgas ได้กล่าวเอาไว้ว่า

"ข้าพเจ้าเชื่อในความสำนึกเกี่ยวกับการไม่ใช้ความรุนแรง ในฐานะที่เป็นหลักการอันหนึ่ง และเป็นวิถีทางอันหนึ่งของชีวิตในการฝ่าฟันอุปสรรค... ปฏิบัติการชีวิตธรรมดาดังที่ก่อเกิดขึ้นมาในกระบวนความคิด(มีรากฐานมาจากคานเธี่ยน) อาจมีนัยสำคัญที่ยิ่งใหญ่อันหนึ่ง ในความพยายามที่จะสร้างโลกและชีวิตที่มีความหมายอย่างเต็มเปี่ยมขึ้นมาใหม่ จากชีวิตอุตสาหกรรมที่แตกออกเป็นส่วนเสี้ยว...

ยิ่งไปกว่านั้น, ความหลากหลายของกระบวนการทางความคิด กำลังงอกงามขึ้นในตะวันตกในช่วงสิ้นสุดศตวรรษที่แล้ว, ทั้งทางด้านปรัชญา และในด้านอุดมการณ์เกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชน ยกตัวอย่างเช่น ขบวนการเรียกร้องสันติภาพ, ขบวนการเรียกร้องสิทธิสตรี และขบวนการสีเขียวที่รณรงค์และเรียกร้องในเรื่องของสิ่งแวดล้อม. การค้นพบทางด้านวิทยาศาสตร์บางอย่างได้กระตุ้นมัน, และเป็นไปได้ด้วยการประจักษ์ชัดในตนเองที่ตรงไปตรงมา รวมเข้ากับการฟื้นฟูเกี่ยวกับความรู้สึกอันหนึ่งในการอ่อนน้อมถ่อมตน."

ถ้อยแถลงของ Burgas ได้ฟื้นความหวังขึ้นมาใหม่. ความหวังเป็นกุญแจดอกหนึ่งที่ไขไปสู่ความต่อเนื่องในการต่อสู้ดิ้นรน เกี่ยวกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่ออนาคตคือสิ่งที่ไม่แน่นอน. จากการที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ขณะที่เขียนงานชิ้นนี้ขึ้นมา มันเป็นความเชื่อส่วนตัวว่า กฎของความรักที่องค์รพะเยซู มูฮัมหมัด, โคตมะ, คัมภีร์ภัควัดคีตา, มหาตมะคานธี, ลีโอ ตอลสตอย และบุคคลอีกนับไม่ถ้วนที่ผู้คนอาจรู้จักน้อยลงไป ตลอดทั้งประวัติศาสตร์ ได้พร่ำสอนและพยายามที่จะดำรงชีวิตอยู่เช่นนั้น ยังคงใช้การได้ตลอดไป และควรจะเป็นอุดมการณ์นำอันเป็นหลักสำคัญต่อไปสำหรับการกระทำของมนุษย์.

แน่นอน, ความรุนแรงเป็นสิ่งจำเป็นในบางครั้งคราว และตามที่ปรากฎนั้น มันมีชัยหรือเป็นต่อในบางครั้ง แต่ดูเหมือนว่า เรา ในฐานะมนุษย์ได้ต่อสู้อย่างต่อเนื่องที่จะหวนกลับไปสู่ และฟื้นฟูมันขึ้นมาใหม่โดยกฎอันศักดิ์สิทธิ์ของความรัก. ไอเดียของคานเธี่ยนที่ว่า ทางออกต่างๆต่อปัญหาร่วมสมัยมากมายและในอนาคต จะถูกค้นพบได้ในมือของคนธรรมดาๆ, มันทำงานและต่อสู้ในระดับที่ธรรมดา, ซึ่งจะปรากฎตัวขึ้นมาอย่างเหมาะสมและใช้การได้สำหรับคริสตศตวรรษที่ 21.

รัฐบาลต่างๆได้ตั้งขึ้นมาและล้มลงไปในอดีต และจะไปๆมาๆอย่างนี้อีกในอนาคต ถ้าหากว่ามนุษย์ยังคงอยู่รอดบนโลก. ผู้คนธรรมดา สำหรับทั้งหมดของการคำนวณที่ผิดพลาดของพวกเขาและความพลาดพลั้งอันโง่เง่า, ยังคงต่อสู้ และพวกเขายังคงอดทน และดูเหมือนว่าจะค้นพบความหวังใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง ที่จะยกตัวของพวกเขาเองขึ้นมา และเคลื่อนไปข้างหน้า. คานธีคิดถูกต้องทีเดียว เมื่อท่านเชื่อว่า "ผู้คนไม่สามารถที่จะแยกระหว่างวิธีการและเป้าหมายออกจากกันได้". คานธีกล่าวว่า, "หนทางก็คือเป้าหมาย - เป้าหมายก็คือหนทาง"( The way is the goal--the goal is a way). ความรู้ที่ต้องทนทุกข์เพื่อความจริง เป็นไปได้ที่มันจะให้พลังทางจิตวิญญานแก่ผู้คนอย่างมหาศาล ซึ่งเหนือกว่าพลังอำนาจที่ไร้ศีลธรรม ที่บ่อยครั้ง ได้อยู่รายรอบและมากดขี่บีฑาพวกเขา. ความทุกข์ทรมานที่จะทำในสิ่งที่เป็นความจริง, มีความหมาย และเที่ยงธรรม จึงเป็นเป้าหมายอันหนึ่งในตัวของมันเอง และอันนี้คือสิ่งที่ทำให้การต่อสู้เพื่อการดำรงอยู่ของมนุษย์คุ้มค่าต่อผู้คนส่วนใหญ่. ไอเดียอันนี้จะต้องได้รับการถนอมรักษาและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง. ผู้คนจะต้องต่อสู้เพื่อค้นหาทางออกต่อปัญหาต่างๆดังที่มันเกิดขึ้นมา.

หนังสือและเว็ปไซค์ที่หาอ่านเพิ่มเติมได้สำหรับเรื่องน

1. Burgas, Living In The Midst of It All. Excerpts for Burgas's doctoral thesis published on the worldwide Internet. (URL:Http//www.ph.ed.ac.uk/~jonvir/burgas91.html.) 1.

2. Malik, Gandhian Satyagraha and Contemporary World 182.

3. Windsor Chorlton, "The Daily Grind We Just Can't Do Without" in Focus Magazine, (June 1995) 72-75. Replicated in SIRS CD-ROM. Ed. Eleanor Goldstein, Boca Raton Fl: Social Issues Resources Series, Inc., 1995, Art 111.

รู้จักผู้เขียน

HAROLD DAVID PARKS

Harold David Parks was born, March 2, 1945 in Lexington, North Carolina. He earned a Bachelor of Arts in Social Sciences from the University of Alabama at Tuscaloosa in 1992 where he was on the Presidents List. Academic awards at The University of Alabama included the Ronald P. Shankles Faculty Award for Academic Excellence, the Samuel J. Senter Scholarship, Faculty scholarship award for Outstanding Independent Study of The U.S.Vietnam War, and an invitation to compete for the Rhodes Scholarship.

Harold David Parks is a U.S. Army veteran (Vietnam 1967-68), and since 1978 has been employed as a high school teacher at Central Davidson Sr. High School in Lexington, North Carolina, USA. He has co-authored papers on the effects of war stress in WWII veterans that have been presented at the Southern Gerontological Society. He enjoys writing and has completed an as yet unpublished historical novel. His writings on Mahatma Gandhi are the culmination of his thesis efforts at Wake Forest University where he recently earned a Master of Arts Degree.

กลับไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com