บทความทาง ปรัชญาศาสนา มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ผลงานแปลของ ผ.ศ. สดชื่น วิบูลยเสข
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

เต๋าแห่งฟิสิกส์ : ฟริตจ๊อฟ คาปร้า เขียน : สดชื่น วิบูลยเสข แปล - เนื้อหาว่าด้วยเรื่องปรัชญาศาสนาพุทธนิกายเซน : บทความหมายเลข 140
H
home
03.12.44
release date
CP
MP
WB
Contents P.
Member P
Webboard
Quotation

บทสนทนาเหล่านี้ทำให้มองเห็นอีกด้าน
หนึ่งซึ่งเป็นลักษณะสมบัติของเซ็นชัดขึ้น การรู้แจ้งในความหมายของเซ็น มิได้หมายถึงการปลีกตัวจากภาระกิจของโลก แต่ในทางตรงกันข้ามกลับหมายถึง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน มุมมองนี้สอดคล้องกับสภาพอารมณ์ของจีน ซึ่งให้ความสำคัญอย่างสูงต่อชีวิตที่มีผลผลิตจากการปฏิบัติงาน และต่อแนวคิดการสืบต่อครอบครัววงค์ตระกูล จึงไม่อาจยอมรับพฤติกรรมการบวช เพื่อตัดกิจกรรมทางโลกของลัทธิพุทธอินเดีย

"The Tao of Physics"
Fritjof Capra

English Version (below)

ชื่อภาพ Whose love is real? The love of a grandfather จากหนังสือภาพถ่ายชื่อ What can a Man Believe? ของ Arthur Goodfriend หน้า 24 (ภาพดัดแปลง)
หากภาพ และตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้
His
Midnight's History
The Free Remote Education for students and members : The Midnight University : December 2001

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิกที่ปุ่ม member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ปุ่ม contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
(midnightuniv(at)yahoo.com)

บทความนี้เผยแพร่ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ความยาวของบทความภาษาไทยประมาณ 4 หน้ากระดาษ A4
ต้นฉบับอยู่ที่ http://www.shotokai.cl/otras_artes/165_em_.html

เมื่อจิตวิญญาณจีนได้สัมผัสกับมโนคติของอินเดียในรูปแบบของปรัชญาพุทธ ในราวศตวรรษแรกของคริสตศักราช จึงกำเนิดเป็นสายพัฒนาการสองสายขนานคู่กันนับแต่นั้นเป็นต้นมา ในด้านหนึ่ง การแปลพระสูตรในศาสนาพุทธ กระตุ้นและนำบรรดานักคิดจีนสู่ความพยายามในการตีความคำสอนของพระพุทธ ของชาวอินเดียนออกมาตามมุมมองปรัชญาของตนเอง เกิดการแลกเปลี่ยน แนวความคิดที่ผลิดอกออกผล แตกกิ่งก้านสาขาและปรากฏผลเป็นลัทธิพุทธ Hua-Yen ในประเทศจีน และลัทธิ Kegon ในญี่ปุ่นสืบต่อมา

อีกด้านหนึ่งนั้น จิตใจที่มุ่งสู่ผลปฏิบัติของจีนตอบสนองต่อผลกระทบจากลัทธิพุทธของอินเดีย โดยการมุ่งเน้นสู่การปฏิบัติและพัฒนาขึ้นเป็นการรู้จักควบคุมและบังคับจิตใจภายใต้ชื่อของ ฌาน ซึ่งมักจะแปลว่า การทำสมาธิ ญี่ปุ่นรับเอาปรัชญาฌาณไปเมื่อค.ศ. 1200 และบ่มเพาะจนหยั่งรากเป็นลัทธิเซ็นในปัจจุบัน

เซ็นจึงเป็นการหลอมรวมที่แนบสนิทประดุจเป็นหนึ่งเนื้อเดียวกันของปรัชญา และแนวคิดที่ต่างขั้วกันของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันถึงสามสาย เซ็นเป็นวิถีชีวิตของญี่ปุ่นอย่างจริงแท้ แต่ขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงมนต์เสน่ห์แห่งความลึกลับของอินเดีย รวมทั้งจิตใจที่ผูกพันกับวิถีธรรมชาติที่ดำเนินไปโดยตนเองอย่างแน่นแฟ้น ของสาวกเต๋า และจิตใจที่มุ่งเน้นการปฏิบัติของลัทธิขงจื๊อ ลักษณะการทั้งหมดนี้แทรกประสานเป็นฐานคติของเซ็น

แต่ถึงแม้ จะมีลักษณะพิเศษเช่นนี้ โดยสารัตถะแล้ว ธรรมชาติของเซ็นก็เป็นพุทธบริสุทธิ์นั่นเอง ด้วยจุดมุ่งหมายของเซ็นก็คือจุดมุ่งหมายของพระพุทธ: กล่าวคือการไปถึงซึ่งการรู้แจ้งหรือการบรรลุโสดาบัน ประสบการณ์ซึ่งเรียกว่า ซาโตริ ในคำสอนของเซ็น ประสบการณ์การรู้แจ้งนี้เป็นแก่นกลางของแนวคิดของปรัชญาตะวันออกทุกสาย

แต่เซ็นกลับโดดเด่นกว่าลัทธิอื่นๆในแง่ที่ว่า เซ็นมุ่งเน้นการปฏิบัติสู่จุดหมายนี้เพียงประการเดียวเท่านั้น โดยมิพักที่จะพะวักพะวงถึงการตีความใดๆอีกต่อไป ดังคำกล่าวของซูซูกิที่ว่า "เซ็นคือ วิถีปฏิบัติสู่การรู้แจ้ง" จากจุดยืนของเซ็น การบรรลุโสดาบันของพระพุทธ และคำสอนของพระองค์ที่ว่า ทุกคนล้วนมีศักยภาพที่จะไปถึงการตื่นจากอวิชชาทั้งมวลนี้คือหัวใจและแก่นของปรัชญาพุทธ ส่วนที่เหลือดังปรากฏในเนื้อหามากมายของพระสูตรเป็นเพียงบทเสริมเท่านั้น

ประสบการณ์เซ็นจึงเป็นประสบการณ์ของซาโตริ และเนื่องจากท้ายที่สุดแล้ว ประสบการณ์นี้ก็อยู่เหนือความเข้าใจของลัทธิปรัชญาทุกลัทธิ เซ็นจึงไม่มุ่งเน้นสู่การเป็นนามธรรม หรือการสร้างมโนทัศน์ใดๆทั้งสิ้น เซ็นไม่มีหลักปรัชญาใดเป็นพิเศษ ไม่มีสิทธันต์หรือคำสอนที่ปรากฏเป็นรูปแบบ เซ็นยึดมั่นเพียงว่าอิสรภาพจากการยึดติดในความเชื่อ ทำให้เซ็นเป็นพุทธะทางจิตวิญญาณโดยแท้จริง

เหนือกว่าลัทธิปรัชญาตะวันออกที่ลึกลับใดๆ เซ็นเชื่อมั่นว่าคำพูดหรือภาษาไม่มีวันแสดงถึงความจริงอันติมะได้เป็นอันขาด ความเชื่อนี้เป็นผลพวงจากลัทธิเต๋าซึ่งแสดงท่าทีเดียวกันนี้อย่างไม่ยี่หระต่อคำสอนอื่นๆ "ถ้ามีผู้ถามว่าเต๋าคืออะไร และมีคนตอบคำถามนี้ " จวงจื๊อกล่าว "ทั้งคู่หารู้สิ่งใดเกี่ยวกับเต๋าไม่"

แต่ประสบการณ์เซ็น สามารถถ่ายทอดจากครูสู่ศิษย์ได้ และ ดำเนินมาเช่นนี้หลายศตวรรษแล้วโดยวิธีพิเศษที่เหมาะสมกับเซ็น คำกล่าวเพียงสี่บันทัดสามารถสรุปเรื่องของเซ็นได้อย่างกระชับและงดงามยิ่งดังนี้
การถ่ายทอดด้วยวิธีพิเศษซึ่งอยู่เหนือถ้อยคำจดจาร
เจาะลึกมุ่งสู่จิตใจมนุษย์
มองเพ่งสู่ธรรมชาติของคน
และเข้าสู่สภาวะของพุทธะ

เทคนิค "การมุ่งตรงสู่"นี้ คือรสชาติที่พิเศษแตกต่างของเซ็น นี่คือลักษณะที่ฝังแนบอยู่ในจิตวิญญาณของญี่ปุ่น ผ่านมาจากสัญชาติญาณมากกว่าจากการใช้สมอง และกล่าวถึงข้อเท็จจริงในลักษณะของข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ โดยมิพักต้องมีข้อคิดเห็น ผู้รู้ของเซนไม่ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือและมองเมินการตั้งทฤษฏีหรือการคาดหวังใดๆ เซ็นพัฒนาวิธีการที่พุ่งตรงสู่ความจริง ด้วยคำพูดหรือท่าทีที่เรียบสั้นและง่าย อันนำสู่ปฏิทรรศน์ของมโนทัศน์เชิงความคิด โดยมีจุดประสงค์เพื่อหยุดยั้งกระบวนการความคิดและเครียมผู้เรียนให้พร้อมรับประสบการณ์ที่สัมผัสได้ด้วยจิต ตัวอย่างการสนทนาสั้นๆระหว่างครูเซ็นและศิษย์ เหว่ยล่างแสดงให้เห็นถึงเทคนิคดังกล่าว ในการสนทนาเหล่านี้ซึ่งปรากฏในวรรณกรรมเซ็นส่วนใหญ่ อาจารย์จะพูดน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คำพูดทุกคำที่เปล่งออกมามีจุดมุ่งหมายเพื่อดึงความสนใจของศิษย์จากความคิดเชิงนามธรรมสู่ความเป็นจริงที่เห็นได้ชัดทั้งสิ้น

พระเซ็นรูปหนึ่งต้องการแสวงหาคำสั่งสอน จึงเอ่ยถามโพธิธรรมว่า
"ข้าพเจ้าไร้สิ้นซึ่งความสงบแห่งจิตใจ โปรดช่วยทำให้จิตใจของข้าพเจ้าสงบลงด้วยเถิด"
"จงนำจิตใจของท่านมาวางไว้ตรงหน้าเรา"โพธิธรรมตอบ"แล้วเราจะทำให้จิคใจนั้นสงบลง"
"แต่เมื่อข้าพเจ้าตามหาจิตใจของข้าพเจ้า" พระเซ็นรูปนั้นตอบ"ข้าพเจ้าหาพบมันไม่"
"นั่นไง" โพธิธรรมเน้นเสียง "เราทำสำเร็จแล้ว"

พระเซ็นรูปหนึ่งบอกโจชู "ข้าพเจ้าเพิ่งเข้ามาในอาศรมนี้ โปรดสั่งสอนข้าพเจ้าด้วย"
โจชูถามว่า ท่านกินข้าวต้มของท่านหรือยัง?"
"กินแล้ว" พระเซ็นตอบ
"ล้างจานของท่านเสียซิ" เป็นคำพูดจากโจชู

บทสนทนาเหล่านี้ทำให้มองเห็นอีกด้านหนึ่งซึ่งเป็นลักษณะสมบัติของเซ็นชัดขึ้น การรู้แจ้งในความหมายของเซ็น มิได้หมายถึงการปลีกตัวจากภาระกิจของโลก แต่ในทางตรงกันข้ามกลับหมายถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน มุมมองนี้สอดคล้องกับสภาพอารมณ์ของจีนซึ่งให้ความสำคัญอย่างสูงต่อชีวิตที่มีผลผลิตจากการปฏิบัติงานและต่อแนวคิดการสืบต่อครอบครัววงค์ตระกูล จึงไม่อาจยอมรับพฤติกรรมการบวชเพื่อตัดกิจกรรมทางโลกของลัทธิพุทธอินเดียได้ อาจารย์เซ็นชาวจีนย้ำเสมอว่าฌาณ หรือเซ็นคือประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน "จิตของชีวิตที่ดำเนินอยู่ทุกวัน" ตามคำกล่าวของหม่าซู จุดเน้นของจีนคือ "การตื่น" ในท่ามกลางการใช้ชีวิตประจำวันที่ดำเนินไปตามปกติ เห็นได้ชัดว่าคนเหล่านี้มิได้ให้ความหมายต่อชีวิตประจำวันเพียงแค่เป็นวิถีสู่การรู้แจ้งเท่านั้น แต่เป็นตัวตนของการรู้แจ้งเองอีกด้วย

ในศาสตร์ของเซ็น ซาโตริหมายถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีทันใดในลักษณะธรรมชาติของพระพุทธคือจุดมุ่งหมาย กิจกรรมและผู้คนที่ผ่านเข้ามาในชีวิตประจำวัน ดังนั้น แม้เซ็นจะเน้นการปฏิบัติของชีวิต แต่เซ็นก็เกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณอย่างลึกซึ้ง บุคคลผู้ถึงซึ่งซาโตริย่อมยังชีวิตอยู่ในปัจจุบันและปฏิบัติกิจของตนด้วยความมีสติ พร้อมกับเข้าถึงความปิติแห่งจิตอันเร้นลับภายใต้การกระทำในทุกกรณี

โอ้ ช่างมหัศจรรย์ ช่างลึกลับเสียนี่กระไร
ข้าแบกท่อนฟืน ข้าตักน้ำ

การปฏิบัติเซ็นอย่างสมบูรณ์แบบจึงหมายเป็นการใช้ชีวิตประจำวันตามธรรมชาติ ตามที่เป็นไปเอง เมื่อมีผู้ขอให้ โปเช็งนิยามคำว่าเซ็น เขาตอบว่า "เมื่อหิว กิน เมื่อง่วง นอน" แม้คำพูดนี้จะดูเรียบง่ายและเห็นได้ชัด เช่นเดียวกับคำกล่าวอื่นๆของเซ็น แต่ช่างทำได้ยากยิ่งนัก การกลับสู่ธรรมชาติที่แท้จริงของเรากลับต้องใช้เวลายาวนานในการฝึกและทำจิต พระเซ็นผู้มีชื่อเสียง กล่าวว่า

"ก่อนศึกษาเซ็น ภูเขาก็คือภูเขา และแม่น้ำก็คือแม่น้ำ ขณะกำลังศึกษาเซ็น ภูเขาไม่ใช่ภูเขา และแม่น้ำไม่ใช่แม่น้ำอีกต่อไป แต่เมื่อไปถึงการรู้แจ้งแล้ว ภูเขาก็กลับเป็นภูเขา และแม่น้ำก็ปรากฏเป็นแม่น้ำอีกครั้งหนึ่ง"

จุดเน้นของเซ็นเกี่ยวกับความเป็นธรรมชาติและการปล่อยให้ทุกสิ่งดำเนินไปตามครรลองที่ควรจะเป็นสะท้อนถึงรากฐานที่มาจากเต๋า แต่พื้นฐานของแนวคิดเช่นนี้ย่อมเป็นแนวคิดจากปรัชญาพุทธอย่างแท้จริง มันคือความเชื่อในความสมบูรณ์สูงสุดของธรรมชาติแต่เดิม การตระหนักว่ากระบวนการรู้แจ้งนั้น แท้ที่จริงก็คือการกลับคืนสู่สิ่งที่เรา "เป็น"ตั้งแต่ต้น เมื่อมีผู้ถามอาจารย์เซ็น โปชางว่าจะแสวงหาธรรมชาติพุทธะได้อย่างไร ท่านตอบว่า "ก็คล้ายกับเมื่อเราขี่หลังวัว ตามหาวัวนั่นเอง"

ปัจจุบัน มีสายเซ็นสองสายในญี่ปุ่น ทั้งสองสายแตกต่างกันด้วยวิธีการสอน สาย"รินไซ"ใช้วิธี โกอัน ซึ่งให้ผู้ปฏิบัติเข้าพบและสนทนาปริศนาธรมกับอาจารย์ (ซานเซ็น)อย่างสม่ำเสมอ การแก้ปริศนาธรรมโกอัน ใช้เวลานานในการเพ่งสมาธิซึ่งจะนำไปสู่การมองเห็นจากภายในอย่างทันทีทันใด อาจารย์ผู้มีประสบการณ์จะรู้ว่าเมื่อใดที่ ศิษย์ของตนเข้าใกล้สภาวะการรู้แจ้ง และจะสามารถผลักศิษย์ให้ไปสู่จุดของการรู้แจ้งได้ทันทีทันใด ด้วยการกระทำที่ไม่คาดฝัน เช่น หวดด้วยไม้หรือตะโกนดังๆเป็นต้น

ส่วนสาย "โซโต" หรือ สาย"ค่อยเป็นค่อยไป"นั้นหลีกเลี่ยงวิธี "รุนแรงและรวดเร็ว" ของรินไซ และมีจุดมุ่งหมายที่การบ่มเพาะศิษย์ให้เติบโตชึ้นตามลำดับ "เช่นเดียวกับที่สายลมแผ่วของฤดูใบไม้ผลิโลมไล้ดอกไม้ไว้ในอ้อมกอด รอวันที่จะผลิบานเต็มที่อย่างงดงาม" โซโตใช้วิธี "นั่งนิ่ง" ในความสงบงัน และการประกอบกิจกรรมประจำวันอย่างมีสติทุกย่างก้าว เป็นตัวนำสู่การเข้าฌาณ

ทั้งโซโตและรินไซ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อซาเซ็น หรือการนั่งวิปัสสนา ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่ปฏิบัติในวัดเซ็นทุกวัน วันละหลายชั่วโมง ท่านั่งและการฝึกหายใจที่ถูกต้องคือสิ่งแรกที่ศิษย์รินไซทุกคนต้องเรียนรู้ เซ็นใช้ซาเซ็นเป็นเครื่องเตรียมความพร้อมของสัญชาตญาณจิตเพื่อรอรับโกอัน ขณะเดียวกัน โซโตก็ใช้ท่านั่งและการหายใจนี้เป็นวิธีการสำคัญในการช่วยให้นักเรียนเซ็นเติบโตและค่อยๆเคลื่อนเข้าสู่ซาโตริ นอกจากนี้ซาเซ็นยังถูกมองว่าเป็นการตระหนักถึงธรรมชาติที่แท้จริงของพุทธะ ร่างกายและจิตใจหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวอย่างสอดประสานซึ่งไม่ต้องการการเปลี่ยนแปรอีกต่อไป ดังที่บทกวีเซ็นบทหนึ่งกล่าวไว้

นั่งนิ่งสงบงัน ไม่กระทำ
ฤดูใบไม้ผลิมาถึง หญ้างอกแทงโผล่โดยลำพังตนเอง

เซ็นยึดมั่นว่าการรู้แจ้งแสดงตนอยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างปกติ ดังนั้นวิถีเซ็นจึงมีอิทธิพลสูงต่อวิถีการดำรงชีวิตของชนชาวญี่ปุ่น ไม่แต่เฉพาะเพียง ศิลปะการวาดภาพ การประดิษฐ์ตัวอักษร การออกแบบสวน และลานหัตถกรรมประเภทต่างๆเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมกิจกรรมพิธีการต่างๆ อาทิเช่นพิธีการดื่มน้ำชา การจัดดอกไม้ และศิลปะการป้องกันตัวของนักรบ เช่น การน้าวสายธนู การฟันดาบ และยูโด (รวมทั้งศาสตร์และศิลปของการป้องกันตัวที่ลงท้ายด้วย โด อื่นๆ) อีกด้วย

กิจกรรมต่างๆเหล่านี้ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ โด แท้จริงคือ เต๋าหรือ "วิถี" สู่การรู้แจ้ง ทุกกระบวนการใช้ลักษณะสมบัติต่างๆจากประสบการณ์เซ็น และใช้ในการฝึกจิตให้ก้าวเข้าสัมผัสกับความจริงแท้อันติมะในที่สุด ชาโนยู พิธีกรรมการดื่มชาที่เนิบนาบ มีจังหวะ หรือการเคลื่อนไหวที่ดำเนินไปเองอย่างต่อเนื่องในการประดิษฐ์อักษรและการวาดภาพ จิตวิญญาณของบูชิโด วิถีแห่งนักรบ ศิลปะเหล่านี้ล้วนแต่แสดงออกถึงความเรียบง่ายที่ดำเนินไปด้วยตัวเอง และการดำรงอยู่ของจิตที่ตื่นอยู่เสมอตามลักษณะสมบัติของวิถีชีวิตแห่งเซ็น

แม้ว่าศาสตร์และศิลปะเหล่านี้ต้องการความสมบูรณ์เชิงเทคนิค แต่การเป็นนายเหนือศาสตร์และศิลปจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเทคนิคนั้นเข้าสู่ภาวะที่อยู่เหนือขอบข่ายของโลก และศิลปะกลายเป็น"ศิลปะที่ไร้ศิลป์" ซึ่งถือกำเนิดจากจิตอันไร้สำนึกเท่านั้น การบรรยาย "ศิลปะที่ไร้ศิลป์"นี้พบได้ในหนังสือเซ็นเล่มเล็กของ ยูจีน แฮรริเกล (Eugene Herrigel) ชื่อ"ศิลปะแห่งการยิงธนู" แฮริเกลใช้เวลามากกว่าห้าปีกับอาจารย์ญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียง เพื่อจะเรียนศิลปะที่ลึกลับนี้

ในหนังสือของเขา แฮรริเกลเล่าไว้อย่างละเอียดถึงประสบการณ์ส่วนตัวว่าเขาเข้าถึงเซ็นได้อย่างไรจากการฝึกยิงธนู ศิลปะการยิงธนูแสดงตนต่อแฮรริเกลในรูปลักษณ์ของพิธีกรรมทางศาสนาซึ่งเริงร่ายอย่างต่อเนื่อง ไร้จุดหมายและปราศจากความพยายาม แฮรริเกลใช้เวลาฝึกอย่างหนักนานหลายปี กิจกรรมซึ่งเปลี่ยนภาวะความเป็นเขาอย่างสิ้นเชิง เพื่อเรียนรู้ศิลปะของการน้าวคันธนูด้วย"จิต" โดยไม่ต้องพยายามใช้กำลัง และปล่อยลูกศรจากแหล่ง "อย่างไม่ตั้งใจ" ให้ลูกศรหล่นจากคันธนูเสมือน "ผลไม้สุกปลิดจากขั้วเมื่อถึงเวลา" เมื่อไปถึงจุดที่สมบูรณ์เช่นนี้แล้ว ธนู ลูกศร เป้า และผู้ยิง ทั้งสิ้นทั้งมวลต่างหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว และ เขาไม่ใช่ผู้ยิงอีกต่อไป "มัน" ได้ทำหน้าที่นั้นสำหรับเขาแล้ว

การบรรยายศิลปะการยิงธนูของแฮรริเกลเป็นงานเซ็นบริสุทธิ์ที่สุดชิ้นหนึ่ง เพราะมิได้กล่าวถึงเซ็นเลย

 

"The Tao of Physics"
Fritjof Capra

When the Chinese mind came in contact with Indian thought in the form of Buddhism, around the first century A.D., two parallel developments took place. On the one hand, the translation of the Buddhist sutras stimulated Chinese thinkers and led them to interpret the teachings of the Indian Buddha in the light of their own philosophies. Thus arose an immensely fruitful exchange of ideas which culminated in the Hua-yen (Sanskrit: Avatamsaka) school of Buddhism in China and in the Kegon school in Japan.

On the other hand, the pragmatic side of the Chinese mentality responded to the impact of Indian Buddhism by concentrating on its practical aspects and developing them into a special kind of spiritual discipline which was given the name Ch'an, a word usually translated as "meditation." This Ch'an philosophy was eventually adopted by Japan, around A.D. 1200, and has been cultivated there, under the name of Zen, as a living tradition up to the present day.

Zen is thus a unique blend of the philosophies and idiosyncrasies of three different cultures. It is a way of life which is typically Japanese, and yet it reflects the mysticism of India, the Taoists' love of naturalness and spontaneity and the thorough pragmatism of the Confucian mind.

In spite of its rather special character, Zen is purely Buddhistic in its essence because its aim is no other than that of the Buddha himself: the attainment of enlightenment, an experience known in Zen as satori. The enlightenment experience is the essence of all schools of Eastern philosophy, but Zen is unique in that it concentrates exclusively on this experience and is not interested in any further interpretations. In the words of Suzuki, "Zen is discipline in enlightenment." From the standpoint of Zen, the awakening of the Buddha and the Buddha's teaching that everybody has the potential of attaining this awakening are the essence of Buddhism. The rest of the doctrine, as expounded in the voluminous sutras, is seen as supplementary.

The experience of Zen is thus the experience of satori, and since this experience, ultimately, transcends all categories of thought, Zen is not interested in any abstraction or conceptualization. It has no special doctrine or philosophy, no formal creeds or dogmas, and it asserts that this freedom from all fixed beliefs makes it truly spiritual.

More than any other school of Eastern mysticism, Zen is convinced that words can never express the ultimate truth. it must have inherited this conviction from Taoism, which showed the same uncompromising attitude. "If one asks about the Tao and another answers him," said Chuang Tzu, "neither of them knows it."'

Yet the Zen experience can be passed on from teacher to pupil, and it has, in fact, been transmitted for many centuries by special methods proper to Zen. In a classic summary of four lines, Zen is described as:

A special transmission outside the scriptures, Not founded upon words and letters, Pointing directly to the human mind, Seeing into one's nature and attaining Buddhahood.

This technique of "direct pointing" constitutes the special flavor of Zen. It is typical of the Japanese mind which is more intuitive than intellectual and likes to give out facts as facts without much comment. The Zen masters were not given to verbosity and despised all theorizing and speculation. Thus they developed methods of pointing directly to the truth, with sudden and spontaneous actions or words, which expose the paradoxes of conceptual thinking and, like the koans I have already mentioned, are meant to stop the thought process to make the student ready for the mystical experience. This technique is well illustrated by the following examples of short conversations between master and disciple. In these conversations, which make up most of the Zen literature, the masters talk as little as possible and use their words to shift the disciples' attention from abstract thoughts to the concrete reality.

A monk, asking for instruction, said to Bodhidharma:
"I have no peace of mind. Please pacify my mind."
"Bring your mind here before me," replied Bodhidharma, "and I will pacify it!"
"But when I seek my own mind," said the monk, "I cannot find it."
"There!" snapped Bodhidharma, "I have pacified your mind!"

A monk told Joshu:
"I have just entered the monastery. Please teach me."
Joshu asked: "Have you eaten your rice porridge?"
The monk replied: "I have eaten"
Joshu said "Then you had better wash your bowl"

These dialogues bring out another aspect which is characteristic of Zen. Enlightenment in Zen does not mean withdrawal from the world but means, on the contrary, active participation in everyday affairs. This viewpoint appealed very much to the Chinese mentality which attached great importance to a practical, productive life and to the idea of family perpetuation, and could not accept the monastic character of Indian Buddhism. The Chinese masters always stressed that Ch'an, or Zen, is our daily experience, the 'everyday mind' as Ma-tsu proclaimed. Their emphasis was on awakening in the midst of everyday affairs and they made it clear that they saw everyday life not only as the way to enlightnment but as enlightment itself.

In Zen, satori means the immediate experience of the Buddha nature of all things first and foremost among these things are the objects, affairs and people involved in everyday life, so that while it emphasizes life's practicalities, Zen is nevertheless profoundly mystical. Living entirely in the present and giving full attention to everyday affairs, one who has attained satori, experiences the wonder and mystery of life in every single act.

How wondrous this, how mysterious!
I carry fuel, I draw water.

The perfection of Zen is thus to live one's everyday life naturally and spontaneously. When Po-chang was asked to difine Zen, he said, "When hungry, eat, when tired, sleep." Although this sounds simple and obvious, like so much in Zen, it is in fact quite a difficult task. To regain the naturalness of our original nature requires long training and constitutes a great spritual achievement. In the words of a famous Zen saying,

Before you study Zen, mountains are mountains and rivers are rivers; while you are studying Zen, mountains are no longer mountains and rivers are no longer rivers; but once you have had enlightenment mountains are once again mountains and rivers again rivers.

Zen's emphasis on naturalness and spontaneity certainly shows it Taoist roots but the basis for this emphasis is strictly Buddhistic. It is the belief in the perfection of our original nature, the realization that the process of enlightenment consists merely in becoming what we already are from the beginning. When the Zen master Po-chang was asked about seeking for the Buddha nature, he answered, "It's much like riding an ox in search of the ox."

There are two principal schools of Zen in Japan today which differ in their methods of teaching. The Rinzai or 'sudden' school uses the koan method, and gives emphasis to periodic interviews with the master, called sanzen, during which the student is asked to present his view of the koan he is trying to solve. The solving of a koan involves long periods of intense concentration leading up to the sudden insight of satori. An experienced master knows when the student has reached the verge of sudden enlightenment and is able to shock him or her into the satori experience with unexpected acts such as a blow with a stick or a loud yell.

The Soto or 'gradual school' avoids the shock methods of Rinzai and aims at the gradual maturing of the Zen student, "like the spring breeze which caresses the flower helping it to bloom". It advocates 'quiet sitting' and the use of one's ordinary work as two forms of meditation.

Both the Soto and Rinzai schools attach the greatest importance to zazen, or sitting meditation, which is practiced in the Zen monasteries every day for many hours. The correct posture and breathing involved in this form of meditation is the first thing every student of Zen has to learn In Rinzai Zen, zazen is used to prepare the intuitive mind for the handling of the koan, and the Soto school considers it as the most important means to help the student mature and evolve towards safori. More than that it i seen as the actual realization of one's Buddha nature; body and mind being fused into a harmonious unity which needs no further improvement. As a Zen poem says,

Sitting quietly, doing nothing,
Spring comes, and the grass grows by itself.

Since Zen asserts that enlightenment manifests itself in everyday affairs, it has had an enormous influence on all aspects of the traditional Japanese way of life. These include not only the arts of painting, calligraphy, garden design, etc., and the various crafts, but also ceremonial activities like serving tea or arranging flowers, and the martial arts of archery, swordsmanship, and judo [and many other do Martial Arts]. Each of these activities is known in Japan as a do, that is, a tao or 'way' toward enlightenment. They all explore various characteristics of the Zen experience and can be used to train the mind and to bring it in contact with the ultimate reality.

I have already mentioned the slow, ritualistic activities of cha-no-yu, the Japanese tea ceremony, the spontaneous movement of the hand required for calligraphy and painting, and the spirituality of bushido, the "way of the warrior". All these arts are expressions of the spontaneity, simplicity and total presence of mind characteristic of the Zen life. While they all require a perfection of technique, real mastery is only achieved when technique is transcended and the art becomes an "artless art" growing out of the unconscious. We are fortunate to have a wonderful description of such an "artless art" in Eugen Herrigel's little book Zen in the Art of Archery. Herrigel spent more than five years with a celebrated Japanese master to learn his "mystical" art, and he gives us in his book a personal account of how he experienced Zen through archery. He describes how archery was presented to him as a religious ritual which is "danced" in spontaneous, effortless and purposeless movements. It took him many years of hard practice, which transformed his entire being, to learn how to draw the bow "spiritually," with a kind of effortless strength, and to release the string "without intention," letting the shot "fall from the archer like a ripe fruit." When he reached the height of perfection, bow, arrow, goal, and archer all melted into one another and he did not shoot, but "it" did it for him.

Herrigel's description of archery is one of the purest accounts of Zen because it does not talk about Zen at all.

ข้อมูล http://www.shotokai.cl/otras_artes/165_em_.html

 

ข้อสงสัยหลังการอ่านบทความเรื่อง Tao of Physics

อ่านบทความ Tao of Physics แล้วผมเกิดความ สงสัยขึ้นเป็นกำลังคือ
1. อ่านดูแล้วยังไม่เห็นความเกี่ยวข้องกับ ฟิสิกส์ เลย หัวข้อน่าจะเป็น Fundamental of Zen, Zen 101 หรืออะไรประมาณนี้นะครับ
2. Tao กับ Zen ดูเหมือนจะคล้ายๆกัน ใกล้ๆกัน แต่ลงในรายละเอียดจะเป็นคนละเรื่องกันเลยนะครับ เท่าที่ทราบ และตามที่ศึกษามา

แต่บทความนี้ดีครับ อ่านแล้วนึกถึงช่วงแรกๆที่ผม ศึกษาสนใจเรื่องเซนอยู่
โดย : วิชญ์ [ 3 ธ.ค. 2544 , 11:58:47 น. ]

คำชี้แจงเกี่ยวกับ"เต๋าแห่งฟิสิกส์"บทที่ 16
โดย : อรศรี งามวิทยาพงศ์

วันนี้มีเวลาเข้ามาถึงเวบบอร์ดและพบหัวข้อ"เต๋าแห่งฟิสิกส์"จึงสนใจตามเข้ามาดู และพบของคุณวิชญ์มีข้อสงสัย จึงขออนุญาตพยายามตอบโดยให้ต่อเนื่องไปถึงที่คุณเฉลิมพงศ์ตั้งเรื่องไว้ด้วยค่ะ

บทความภาษาอังกฤษที่นำมาลงและอ.สดชื่นกรุณาแปลนั้น เป็นเนื้อหาบทหนึ่งใน ๑๖ บทของหนังสือเต๋าแห่งฟิสิกส์ ของฟริตจ๊อฟ คาปรา
"เต๋าแห่งฟิสิกส์"เป็นชื่อหนังสือที่คาปราตั้งใจจะสื่อสารถึงปรัชญา กระบวนทัศน์ โลกทัศน์ที่กำลังจะปรากฏขึ้นในศตวรรษใหม่ คือ กระบวนทัศน์ที่วิทยาศาสตร์และศาสนามิใช่เป็นคนละเรื่องกันอีกต่อไป มิใช่เรื่องของขั้วความสมัยใหม่และคร่ำครึ หรือเป็นเรื่องที่ต้องเลือกว่าจะเอาศาสนาหรือเอาวิทยาศาสตร์แบบที่มักเข้าใจกันมานับร้อยปี

คาปราเองก็เล่าว่า ก่อนที่เขาจะมาสนใจเต๋าแห่งฟิสิกส์นั้นเขาพบว่าตนเอง ยิ่งศึกษาวิทยาศาสตร์มากเท่าไร เขาก็ยิ่งหันหลังให้แก่ศาสนามากขึ้นเท่านั้น เพราะทั้งสองเรื่องดูเหมือนจะไปด้วยกันไม่ได้ จนกระทั่งเมื่อเขาได้มีโอกาสมาศึกษา ทดลองปฏิบัติ ปรัชญา ศาสนธรรมและวิถีตะวันออก เขาพบว่าประสบการณ์ที่ได้นั้นช่างมีความละม้ายคล้ายคลึงกับประสบการณ์ของนักวิทยาศาสตร์ในการศึกษาทดลองเกี่ยวกับทฤษฎีควอนตอม ศาสตร์ทั้งสองมีส่วนที่ทับซ้อนกันอยู่ มิได้แยกเป็นศาสตร์สำหรับวัตถุอันหนึ่งและสำหรับจิตอันหนึ่ง แม้ว่าฟิสิกส์จะมุ่งเข้าถึงธรรมชาติทางกายภาพ แต่ในความจริงของกายภาพนั้นมันมีส่วนของการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวแบบจิตที่อธิบายด้วยฟิสิกส์แบบกลศาสตร์ของนิวตันไม่ได้ มันเป็นการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงที่นักทฤษฎีควอนตัมค้นพบ และมีบันทึกว่า นักวิทยาศาสตร์ระดับหัวกะทิที่ร่วมกันศึกษา"จังงัง"กันมาแล้ว เมื่อพบว่าสิ่งที่เข้าใจกันและเรียกกันว่า"วัตถุ"นั้น เมื่อมีเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถศึกษาลึกลงไปเกินระดับของอะตอมจะพบหน่วยเล็กยิ่งกว่า ที่คุณสมบัติของมันไม่สามารถจะอธิบายได้ด้วยกลศาสตร์แบบเดิมอีกต่อไป มันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปจนยากแก่การจะ"ฟันธง"กันแบบง่าย ๆ ตายตัว

ที่สำคัญที่สุดคือ การเคลื่อนไหวของมันมีความผกผันสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสิ่งอื่น ๆ อยู่ตลอดเวลา และทั้ง ๆ ที่มันมีคุณสมบัติแตกต่างกันคนละขั้ว (+ / - ) แต่ความแตกต่างนี้กลับเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน มิใช่อยู่แบบแยกเป็นส่วน ๆ หากแต่สรรพสิ่งล้วนสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยให้แก่กันและกันทั้งภายในของมันเองและกับภายนอก(บริบท) นั่นคือสรรพสิ่งในโลกดำรงอยู่อย่างเป็นองค์รวมนั่นเอง

คาปรา มีความสนใจศึกษาวิทยาศาสตร์ในเชิงปรัชญามานาน (เขาอ่านงานของไฮเซนเบอร์ก Physics and Philosophy ตั้งแต่อายุ ๑๙) เมื่ออ่านปรัชญาตะวันออกเขาพบว่า ปรัชญาตะวันออกอธิบายปรากฏการณ์ของสรรพสิ่งเหมือนที่ฟิสิกส์ใหม่อธิบาย หากแต่ด้วยวิธีการอธิบายและวิธีการเข้าถึงที่แตกต่างกัน ซึ่งเขาให้รายละเอียดไว้ในภาค ๒ ของเต๋าแห่งฟิสิกส์ มีทั้งธรรมาธิษฐาน บุคลาธิษฐาน(มหาภารตยุทธ์ นิทานเซน) เป็นความจริงที่"นอกเหตุเหนือผล" และไปพ้นจากภาษาตามปกติ ดังเช่น ปริศนาธรรมในนิกายเซน(โกอัน) ซึ่งอ่านโดยใช้ภาษาเชิงเหตุผลจะไม่รู้เรื่อง แต่เข้าถึงโดยอาศัยประสบการณ์ทางจิต (ญาณทัศนะ) ดังที่ตัวเขาเองก็มีประสบการณ์ดังกล่าวด้วย และเล่าไว้อย่างน่าสนใจในคำนำของ"เต๋าแห่งฟิสิกส์"

"I was sitting by the ocean one late summer afternoon, watching the waves roll in and feeling the rhythm of my breathing, when I suddenly became aware of my whole environment as being engaged in a gigantic cosmic dance. Being a physicist, I knew that the sand, rocks, water, and air around me were made of vibrating molecules and atoms...All this was familiar to me from my research in high-energy physics, but until that moment I had only experienced it through graphs, diagrams, and mathematical theories. As I sat on the beach my former experiences came to life; I 'saw' cascades of energy coming down from outer space, in which particles were created and destroyed in rhythmic pulses; I 'saw' the atoms of the of the elements and those of my body participating in this cosmic dance of energy; I felt its rhythm and I 'heard' its sound, and at that moment I knew that this was the Dance of Shiva, the Lord of Dancers worshipped by the Hindus."

ประสบการณ์ดังกล่าวคือแรงบันดาลใจสำคัญซึ่งทำให้เขาเขียน"เต๋าแห่งฟิสิกส์" โดยตั้งใจเอาคำสองคำที่คนทั่วไปคิดว่า ตรงข้ามกัน ไปด้วยกันไม่ได้ มาเป็นชื่อหนังสือ เพื่อเสนอผลการศึกษาค้นคว้าของเขา มายืนยันว่า แท้จริงวิทยาศาสตร์และศาสนาเป็นองค์รวมเดียวกัน โดยแบ่งเนื้อหา ภาคแรกเป็นการอธิบายถึงการค้นพบของฟิสิกส์ใหม่ที่หักล้างฟิสิกส์แบบนิวตัน ที่เชื่อว่า"ธรรมชาติ"ถูกออกแบบมาแล้วแบบตายตัว คงที่ วางอยู่เป็นระเบียบ จะหยิบจะแยกส่วนใดออกมาศึกษาก็ได้ ผลจะเหมือนกันตลอด สิ่งใดซึ่งอยู่นอกกฎเกณฑ์เหล่านี้ คือไม่สามารถคำนวณ วัด แสดงผลออกมาแบบแม่นยำ กระจ่างชัดได้ ล้วนเชื่อถือไม่ได้ ซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ชุดนี้ได้ถูกหักล้างด้วยทฤษฎีควอนตอมไปแล้ว (แต่เขาเห็นว่า กระบวนทัศน์แบบฟิสิกส์ของนิวตันและปรัชญาเดคาร์ตซึ่งฝังรากมากว่าสองร้อยปี ยังมีอิทธิพลเหนือวิธีคิดของคนปัจจุบัน ให้คนคิดแบบแยกส่วน ลดทอน ย่อส่วน ทั้ง ๆ ที่ความรู้ทางฟิสิกส์เปลี่ยนแปลงไปมากมายแล้วก็ตาม)

ภาคสอง เนื้อหาพูดถึงปรัชญา ศาสนาตะวันออก คือ ฮินดู พุทธ เต๋า เซน ปรัชญาจีน ซึ่งเขานำเสนอได้อย่างน่าทึ่ง(ในการค้นคว้า) เซน เป็นบทหนึ่งค่ะ แล้วภาคสุดท้ายเขาก็นำทั้งสองภาคมาเปรียบเทียบให้เห็นความสอดคล้องของฟิสิกส์ใหม่และปรัชญาตะวันออกอย่างน่าสนใจมาก หากได้อ่านทั้งสามภาคแล้วคงจะหายสงสัย เสียดายแต่ว่า ฉบับภาษาไทยนั้นพิมพ์มานานมากแล้ว (ประมาณ ๒๕๒๗) และขายไม่ดีนัก จึงไม่มีการพิมพ์ซ้ำ จึงไม่ค่อยมีใครมี (ดิฉันเคยมี แต่ไม่ทราบว่าไปอยู่ไหนเสียแล้ว)

นอกจากเต๋าแห่งฟิสิกส์แล้ว ยังมีหนังสืออีกเล่มคือ"บ่อเกิดเต๋าแห่งฟิสิกส์"ซึ่งดิฉันเองไม่เคยเห็น ทราบแต่ว่าแปลมาจาก Uncommon Wisdom ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์นักฟิสิกส์ชื่อก้องโลกหลายคนของคาปรา ในช่วงที่เขากำลังทำงานเต๋าแห่งฟิสิกส์ ดิฉันได้เคยอ่านบางส่วนที่มีผู้ทำเป็นเวบไซท์ไว้( http://www.westminster.edu/staff/brennie/wisdoms/uncowisd.htm )อ่านแล้วประทับใจกับนักวิทยาศาสตร์ที่เขาเล่าถึง(ไฮเซนเบอร์ก) และได้พบด้วยความอัศจรรย์ใจว่า นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงก้องโลก มีความสนใจเรื่องจิตวิญญาณกันจริงจัง (เคยอ่านพบแต่เรื่องของไอนสไตน์)

ก่อนจบอยากเล่าว่า จากการตามอ่านงานของคาปราทำให้อดที่จะชื่นชมยกย่องเขาด้วยไม่ได้ เพราะเพื่อจะเขียน"เต๋าแห่งฟิสิกส์" เขาลาออกจากงานค่าตอบแทนสูง ๆ ในฐานะนักฟิสิกส์ที่มีฝีมือคนหนึ่ง( สถาบันที่เขาสอน ล้วนเป็นสถาบันระดับแถวหน้า ในอังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา) เพื่อมาศึกษาค้นคว้า พิสูจน์ในสิ่งที่ตนเองเชื่อ และอยากเผยแพร่ให้คนอื่น ได้ร่วมรับรู้ด้วย เต๋าแห่งฟิสิกส์ถูกปฏิเสธจากสำนักพิมพ์สิบกว่าแห่ง กว่าจะได้ตีพิมพ์ ชีวิตช่วงนั้นของเขาค่อนข้างลำบาก หลังงานตีพิมพ์แล้วยังต้องกลายเป็น"นักฟิสิกส์นอกคอก"อยู่พักใหญ่ด้วย

กล่าวได้ว่าคาปราเป็นนักคิดสำคัญคนหนึ่ง ซึ่งบุกเบิกกระแสความสนใจในปรัชญา ศาสนาตะวันออกในโลกตะวันตก และพยายามที่จะทำ"วิทยาศาสตร์ให้มีหัวใจ" เมื่อพุทธศาสนานิกายเซน และวัชรยานเริ่มเผยแพร่เป็นที่ยอมรับและเข้าใจมากขึ้นในโลกตะวันตก เต๋าแห่งฟิสิกส์ก็กลายเป็นงานคลาสิก ตีพิมพ์สี่สิบกว่าครั้ง ใน ๒๔ ภาษา ขอเพิ่มเติมตามเวลาที่มีเท่านี้นะคะ ผิด ตก ยกเว้น ด้วยนะคะ ขอบพระคุณค่ะ

ก่อนจบ ขอถือโอกาสขอขอบพระคุณอาจารย์สดชื่นอย่างสูงค่ะ ที่กรุณาให้เครดิตแก่บทความที่ดิฉันเขียนไว้ รู้สึกเป็นเกียรติมากค่ะ เพราะดิฉันชื่นชมผลงานของอาจารย์ที่นำเสนอในม.เที่ยงคืนมาตลอด และที่จริงบทความของดิฉันดังกล่าวก็ยังไม่สมบูรณ์นัก เพราะตัวเองไม่ได้ประสาเรื่องวิทยาศาสตร์เท่าไร อาศัยตามงานของคาปราซึ่งเป็นผู้มีทักษะเป็นเลิศในการอธิบายเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับชาวบ้าน จึงพอรู้เรื่องกับเขาบ้าง ยังหวังว่าจะได้อ่านงานวิทยาศาสตร์แบบเข้าใจได้จากอาจารย์อยู่เรื่อย ๆ นะคะ และแน่นอนรวมทั้งบทความดี ๆ ที่อาจารย์สมเกียรติขยันเสาะหามาเผื่อแผ่แก่สมาชิกอย่างสม่ำเสมอ ขอบพระคุณผู้สร้างสรรค์งานของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนทุกท่านค่ะ

[ บทวิจารณ์ เต๋าแห่งฟิสิกส์ ]
โดย นักฟิสิกส์คนหนึ่ง

ทำไมต้องเป็นเต๋าแห่งฟิสิกส์ เป็น Sex กับฟิสิกส์ไม่ได้หรือ


ผมเคยได้ยินนิทานเรื่องหนึ่งซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
กาลครั้งหนึ่ง Heinsenberg กับ Pauli คุยกันเรื่องทฤษฎีใหม่ที่ต่อจาก Quantum Mechanics (เดาเอาว่าเป็น Quantum Field Theory) สองคนนี้เพิ่งได้ความคิดใหม่ที่น่าสนใจ แต่ยังไม่ได้ทำการคำนวณตรวจสอบในรายละเอียด Heinsenberg เป็นคนใจร้อน เขาให้ข่าวสื่อมวลชนฉบับหนึ่งว่า "พวกเราได้ค้นพบทฤษฎีใหม่ที่อธิบายฟิสิกส์ได้ทุกอย่าง แต่ยังไม่ได้ลงไปในรายละเอียด" Pauli ไม่พอใจที่ Heinsenberg รีบออกไปพูดอย่างนั้น เขาจึงส่งกระดาษเปล่าแผ่นใหญ่ไปหา บ.ก. สำนักพิมพ์ ในส่วนล่างของกระดาษเขียนว่า "ผมสามารถวาดภาพได้อย่าง Da Vinci (ในเรื่องจริงอาจเป็นศิลปินคนอื่น) แต่ยังไม่ได้ลงไปในรายละเอียด"

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า นักฟิสิกส์ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่แค่ไหน เราไม่ควรถือเอาคำพูดทุกคำของเขามาเป็นจริงเป็นจัง ถ้าย้อนประวัติศาสตร์จริงๆแล้ว Quantum Field Theory ที่ทั้งสองคิดได้ในนิทานนั้น ก็ยังไม่ถูกยังต้องได้รับการแก้ไขจากนักฟิสิกส์ท่านอื่นๆอีกมาก ตราบใดที่เรายังไม่ได้ศึกษาทฤษฎีและแนวคิดของท่านเหล่านั้นเป็นอย่างดี การด่วนสรุปจะนำไปส่วนความเข้าจะผิดเป็นส่วนใหญ่

คำโปรยพูดแสดงความซาบซึ้ง ในหลายครั้งเป็นคำพูดให้เจ้าบ้านตามมารยาทสังคม เช่น เวลาที่ไปเยือนญี่ปุ่นก็จะน่าจะมีคำพูดอะไรที่แสดงความประทับใจเกี่ยวกับพุทธศาสนา แต่ถ้าลองตรวจสอบดูจริงๆแล้ว ท่านเหล่านั้นซาบซึ้งจนหันมานับถือพุทธอย่างจริงจังสักกี่คน

ความพยายามของท่านอาจารย์อรศรี และอาจารย์สดชื่นในบทความที่เขียนก็ยังไม่ได้ให้ความกระจ่างอย่างพอเพียงในประเด็นที่มีคนถามว่า

1. อ่านดูแล้วยังไม่เห็นความเกี่ยวข้องกับ ฟิสิกส์ เลย หัวข้อน่าจะเป็น Fundamental of Zen, Zen 101 หรืออะไรประมาณนี้นะครับ

2. Tao กับ Zen ดูเหมือนจะคล้ายๆกัน ใกล้ๆกัน แต่ลงในรายละเอียดจะเป็นคนละเรื่องกันเลยนะครับ เท่าที่ทราบ และตามที่ศึกษามา

3. นี่คือตัวอย่างข้อความของ Capra ที่นำไปสู่นำความสับสนดังกล่าว
(ตัดมา 1) เหนือกว่าลัทธิปรัชญาตะวันออกที่ลึกลับใดๆ เซ็นเชื่อมั่นว่า พูดหรือภาษาไม่มีวันแสดงถึงความจริงอันติมะได้เป็นอันขาด ความเชื่อนี้เป็นผลพวงจากลัทธิเต๋า ซึ่งแสดงท่าทีเดียวกันนี้อย่างไม่ยี่หระต่อคำสอนอื่นๆ "ถ้ามีผู้ถามว่าเต๋าคืออะไร และมีคนตอบคำถามนี้ " จวงจื๊อกล่าว "ทั้งคู่หารู้สิ่งใดเกี่ยวกับเต๋าไม่"

(ตัดมา2) กิจกรรมต่างๆเหล่านี้ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ โด แท้จริงคือ เต๋าหรือ "วิถี" สู่การรู้แจ้ง ทุกกระบวนการใช้ลักษณะสมบัติต่างๆจากประสบการณ์เซ็น และใช้ในการฝึกจิตให้ก้าวเข้าสัมผัสกับความจริงแท้อันติมะในที่สุด "

เท่าที่อ่าน อย่างคร่าวๆบทความ ก็น่าจะเป็นวิชา Zen 101 มากกว่าเต๋าแห่งฟิสิกส์ และแนวทางที่ Capra เขียนเหมือนกับการเขียนสารคดีตะวันตกมากกว่าจะนำไปสู่หัวใจของ Zen อย่างแท้จริง หนังสือที่ให้ข้อมูลในระดับนี้(อาจให้ความกระจ่างได้มากกว่า)เป็นภาษาไทยก็มีเป็นสิบเล่มอยู่แล้ว เช่นการ์ตูนปรัชญา "ประทีปแห่งเซน" ของสำนักพิมพ์นานมี (ที่แปลมาจากภาษาอังกฤษ) ก็ยังอ่านง่ายและอาจให้ความลึกซึ้งกว่า

จากบทความที่ยกมาเกินคำถามว่าจริงๆแล้ว Capra เห็นอะไร (saw ในส่วนภาษาอังกฤษที่อาจารย์อรศรียกมา ภาษาอังกฤษที่ผมตัดมาอีกที) ในส่วนตัดสองที่ว่า คือ เต๋าหรือ "วิถี" สู่การรู้แจ้ง

คำถามสำคัญคือ "รู้อะไร" ?

Zen ก็มีเพื่อการรู้แจ้ง ,ตันตระ ก็นำไปสู่การรู้แจ้ง แล้วสิ่งที่รู้แจ้งเหล่านี้เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ความจริงอันติมะที่ได้ รู้ได้อย่างไรว่าเป็นสิ่งเดียวกับที่ฟิสิกส์กำลังค้นหา ?

ผมเดินหน้าคำถามโดยเปรียบเทียบภาพกว้างๆระหว่าง Quantum กับ Zen ในกรณีนี้ผมมองเต๋าเหมือนกับคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ใช้คณิตศาสตร์เป็นวิธีคิดเพื่อที่จะเข้าใน Quantum ชาวจีนก็ใช้เต๋าที่เขารู้ดีอยู่แล้วเป็นวิธีคิดเพื่อจะเข้าใจพุทธศาสนานั่นคือ Zen ควอนตัมโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่คณิตศาสตร์ เซ็นโดยเนื้อแท้ก็ไม่ใช่เต๋า ข้อความ Capra ชวนให้ผู้อ่านเข้าในผิดว่าเข้าสู่ความจริงอันติมะเดียวกัน (ยังไม่เห็นส่วนที่แบ่งแยกให้เห็นความต่างอย่างชัดเจน)

ถ้าเต๋าและเซ็นนำไปสู่ความจริงอันติมะเดียวกันแล้ว การมาของพระโพธิธรรมเถระ(ตั๊กม้อ)จะมีความหมายอะไรต่อชาวจีน ตั๊กม้อข้ามน้ำข้ามทะเล เพื่อมาบอกสิ่งที่เหลาจื่อรู้ดีอยู่แล้วกระนั้นหรือ นี่เป็นข้อแรกที่ขอผมฝาก ม. เที่ยงคืนช่วยกันให้กระจ่างแก่ผู้สนใจ

ผมเชื่อว่า Capra ยังไม่ชัดในการ "เห็น" ทั้งศาสนาตะวันออกและฟิสิกส์ ถ้าเขาชัดจริงสิ่งบทที่อาจารย์สดชื่นแปลย่อมจะลึกซึ้งกว่า lecture วิชา Zen 101 ในเมื่อ Capra ยังไม่ชัดเจนสามารถแยกแยะการประจักษ์แจ้งในมรรคาตะวันออกนิกายต่างๆในรายละเอียดได้ เราจะเชื่อได้อย่างไรว่าเขาเห็นถูกต้อง ถ้าเขาเห็นจริง เขายกเพียงโกอันเดียวมาให้ความกระจ่างก็พอ(อย่างหนังสือของท่าน ติช นัท ฮันห์) แล้วชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ที่เป็นหัวใจของสองสิ่งอย่างเรียบง่าย มากกว่าจะยกข้อมูลอย่างมากมายโน้มนำให้เชื่อตามวิถีตะวันตก 000000000 ที่เหลือผมขอแยกเป็นข้อดังนี้

1. แรงโน้มถ่วงแบบนิวตันที่เขายอมรับกัน ก็ยังมีคำถามในแง่ของ Foundation ที่ยังไม่ชัดเจนเช่นเดียวกับ quantum (ดู Mach's Principle เป็นต้น) ซึ่งไม่แปลกอะไร มีนักฟิสิกส์จำนวนมากที่คิดเรื่องพวกนี้อย่างลึกซึ้งอยู่แล้ว Capra ไม่ได้ทำอะไรใหม่ หรือเรียบเรียงความคิดได้ชัด และลึกซึ้งพอ ลองอ่าน Speakable and unspeakable in quantum mechanics ของ J.S. Bell สิจะพบว่า quantum philosophy มีเรื่องที่ลึกซึ้งกว่าที่ Capra ถ่ายทอดมากมายนัก ผมเชื่อว่าCapra ไม่เข้าใจFoundation ของ Quantum พอที่จะ "เห็น"

2. ข้อความที่อาจารย์อรศรียกมาอาจชวนให้เคลิบเคลิ้มแต่ไม่ได้มีความหมายอะไร I 'saw' the atoms of the of the elements and those of my body participating in this cosmic dance of energy; I felt its rhythm and I 'heard' its sound, and at that moment I knew that this was the Dance of Shiva การที่อนุภาคเต้นตามพลังงานนั้นเป็นเพียงภาพๆหนึ่งที่นักฟิสิกส์เข้าใจธรรมชาติ ไม่ใช่ความแท้จริง ถ้า Capra เขียนหนังสือเล่มนี้ช้าสักยี่สิบปีเขาอาจพูดว่า "ผมรู้สึกถึงความสอดคล้องท่วงทำนองการสั่นของ String (ใช้ String Theory) หรือถ้าให้ใหม่หน่อยก็เปลี่ยนเป็นการกระเพื่อมของ Brane"

3. Point particle, String, Brane ก็เป็นแค่สิ่งที่นักฟิสิกส์ represent ธรรมชาติเป็นภาพที่เราสามารถเข้าใจได้ แต่ตัวความแท้จริงเองคืออะไร ? สามารถเป็นภาพให้เห็นได้ไหม ? ใครตอบได้ ดังนั้นผมจึงเรียนฟิสิกส์เพื่อรู้มากขึ้น นั่นสินะ Capra เห็นอะไร แล้วไม่มีคนญี่ปุ่นเห็นความเชื่อมโยงนี้ก่อน Capra หรือ?

4. ในหนังสือเต๋าแห่งฟิสิกส์ภาษาไทย ในบทสัมภาษณ์ Capra บอกว่า "ผมเป็นนักฟิสิกส์คนแรกซึ่งศึกษาความสอดคล้องดังกล่าว......"

คนญี่ปุ่นรู้ Quantum และ Zen ไม่น้อยไปกว่าชาติไหนในโลก คุณสามารถหารูปของนักฟิสิกส์ญี่ปุ่นเก่าๆอย่าง Yoshio Nishina ถ่ายในยุโรป ในช่วงที่ควอนตัมเกิด ว่ากันว่าตำรา Quantum ฉบับแรกๆ(Lecture note) เป็นของคนญี่ปุ่น(อาจเป็น Nishina) คนญี่ปุ่นรู้ควอนตัมดีจน Tomonaga สามารถรวม Quantum เข้ากับแม่เหล็กไฟฟ้าได้ ในขณะเดียวกันก็รู้ Zen ดีกว่าตะวันตก

แล้วไม่มีใครเอะใจเห็นความสัมพันธ์สอดคล้องนี้ก่อน Capra หรือ ผมเชื่อว่ามีคนญี่ปุ่นหลายคนเห็น และหลายคนที่ลึกซึ้งเรื่องนี้มากกว่าCapra แต่มันอาจจะลึกซึ้งมาก และไม่ชัดเจนพอ ที่จะเขียนเป็นหนังสือ อาจมีคนเขียนเป็นบทความภาษาญี่ปุ่นที่ไม่ได้รับความสนใจ อย่างไรก็ตาม Capra ก็ไม่น่าจะเป็นคนแรก อย่างที่เขาคุย

การเชื่อมโยงอย่าง Capra ไม่ได้ให้อะไร ผมอาจสามารถเชื่อมโยง Quantum แบบ Path integration ที่ว่าจะคิดฟิสิกส์ของอนุภาคเราต้องคิดว่ามันวิ่งไปได้ทุกทาง(จำนวนทางเป็นอนันต์)ในเวลาเดียวกัน กับการที่คนในอาณาจักรอวตัมสกะ สามารถอยู่ทุกหนทุกแห่งในเวลาเดียวกัน แล้วมันได้อะไรขึ้นมา การเปรียบเทียบภาพนำไปสู่ความแท้จริงได้หรือ ผมเจอการเปรียบเทียบภาพที่น่าสนใจ และเห็นได้ชัดเจนกว่าที่ Capra ทำ ในบทความที่เปรียบเทียบ Physics กับ Sex ที่จะยกมาแบ่งกันอ่านต่อไป พิมพ์มายาวพอแล้วครับ

บทความที่กล่าวถึงคือ :The Physics of Sex โดย Christoph Schiller (Motion Mountain)

 

กลับไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา

e-mail : midnight2545(at)yahoo.com