H
home
จากหนังสือ An Introductory Guide to Post-Structuralism and Postmodernism Second Edition : by Madan Sarup (1993) น. 5-10
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 211 ประจำเดือนกันยายน ๒๕๔๕

ผลงานวิชาการ : ปรัชญาหลังสมัยใหม่ ของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร

ประวัติสังเขปของลากอง Lacan, Jacques-Marie Emile, (1901-1981) เป็นนักจิตวิเคราะห์ชาวฝรั่งเศส

Lacan มีคุณวุฒิในฐานะดอกเตอร์ทางด้านการแพทย์ ก่อนที่จะศึกษาต่อในแขนงวิชาจิตแพทย์ภายใต้การควบคุมของ Henri Claude และ Gatian de Clerambaut และทำงานที่คลีนิคพิเศษแห่งหนึ่งซึ่งประจำอยู่ที่ที่ทำการสถานีตำรวจ

Lacan ไม่ได้เป็นสมาชิกเต็มสภาพของ the Societe Psychoanalytique de Paris (สมาคมจิตวิเคราะห์แห่งปารีส) จนกระทั่งปี ค.ศ.1938 และหลังจากนั้นได้ทะเลาะกับสมาคมดังกล่าว ทำให้มีการแยกตัวออกมาเป็นกลุ่ม ซึ่งในท้ายที่สุดได้กลายมาเป็น the Ecole Freudienne de Paris ในปี ค.ศ.1964

การสัมนาต่างๆและการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของ Lacan ณ the Ecole Normale Superieure เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ.1953 อันเป็นจุดโฟกัสสำหรับปัญญาชนที่มีความรู้ทั้งหลายชาวฝรั่งเศส และผลงานต่างๆที่คนเหล่านี้สร้างขึ้นมาได้รับการตีพิมพ์เป็น Ecrits (document - written paper). รายงานสัมนาต่างๆสำหรับปี ค.ศ.1964 ได้รับการพิมพ์ออกมาในภาษาอังกฤษที่ชื่อว่า The Four Fundemental Concepts of Psychoanalysis (1977) [แนวคิดเบื้องต้นสี่ประการเกี่ยวกับจิตวิเคราะห์]

ข้อมูล: ประวัติสังเขปของลากอง มาจาก www.atl.ualberta.ca/po/ scholars.cfm?range=39

ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ภาพถ่ายของ Lacan, Jacques-Marie Emile, (1901-1981) นำมาใช้ประกอบบทความทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยไม่มีการจำหน่าย และไม่มีการค้ากำไรในรูปใดทั้งสิ้น (01-09-45)
สำหรับ Lacan แล้ว มันไม่มีการแบ่งแยกระหว่างตัวตนและสังคม. มนุษย์กลายเป็นสังคมด้วยการผนวกเข้าด้วยกันของภาษา; และมันเป็นเพราะภาษาที่ได้สร้างพวกเราขึ้นมาในฐานะที่เป็นตัวตน(subject). ด้วยเหตุดังนั้น พวกเราไม่ควรที่จะแยกขั้วระหว่างปัจเจกและสังคมออกจากกัน. สังคมดำรงอยู่ในปัจเจกชนแต่ละคน
บ่อยครั้งมันได้รับการพูดว่า Lacan ต้องการถูกทำความเข้าใจเพียงโดยคนเหล่านั้น ผู้ซึ่งต้องการที่จะพยายามทำความเข้าใจเขาเท่านั้น. และสำหรับบทความชิ้นนี้ ผู้เขียนคิดว่า พวกเราควรพยายามทำเช่นนั้น. งานเขียนของ Lacan ซึ่งเป็นตัวอย่างแสดงถึงทัศนะของเขาเกี่ยวกับภาษา มันค่อนข้างมีนัยพาดพิง. ภาษาของเขาเป็นการหลอมรวมเอาลักษณะทางทฤษฎีและกวีนิพนธ์เข้าหากัน (บทความนี้ยาวประมาณ 8 หน้ากระดาษ A4)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : ทางเลือกอุดมศึกษาเพื่อความเป็นไท - หากสมาชิกและนักศึกษาประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

แม้ว่าผลงานของ Lacan อาจถูกมองในฐานะที่เป็นการถกเถียงไปเรื่อยๆอันหนึ่งกับ Sigmund Freud, แต่อันที่จริง มันเป็นการโต้กันอันหนึ่งซึ่งได้ทำให้สว่างขึ้นมาโดยการหยิบยืมของ Lacan เกี่ยวกับ Hegel, ลัทธิเหนือจริง(surrealism), ภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้าง และมานุษยวิทยาของ Levi-Strauss. Levi-Strauss ได้แสดงให้เห็นว่าระเบียบวิธีโครงสร้างนิยมของ Saussure สามารถได้รับการนำไปใช้ทำความเข้าใจความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และปกรณัมหรือมายาคติสมัยบุพกาลได้อย่างไร, และ Lacan, นับจากช่วงต้นทศวรรษ 1950s จนกระทั่งถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1981, พยายามที่จะใช้วิธีการอย่างเดียวกันนี้เพื่อสร้างแผนที่โครงสร้างซึ่งอยู่ข้างใต้เกี่ยวกับกระบวนการทางจิตของมนุษย์

เหมือนกับบรรดานักคิดโครงสร้างนิยมที่ยิ่งใหญ่คนอื่นๆ, Lacan เริ่มต้นด้วยภาษา. ในหลายทาง ผลงานของเขาคือการขยายเกี่ยวกับความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งต่างๆของ Saussure เข้าไปสู่ภาษาเพื่อนำไปปฏิบัติการกับเรื่องของจิตใจ. บางทีถ้อยคำหรือแถลงการณ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเขาก็คือการประกาศว่า จิตไร้สำนึกได้ถูกสร้างขึ้นมาเหมือนภาษา(the unconscious is structured like a language)

อันนี้หมายความว่า จิตไร้สำนึกทำงานด้วยเครื่องมืออย่างเดียวกันกับภาษา และนั่นมันได้สืบทอดดำรงอยู่มาเนื่องมาจากภาษาเพียงเท่านั้น

Saussure ถกว่า มันคือโครงสร้างทั้งหมดของภาษาหนึ่ง, ระบบของความแตกต่าง ที่ทำให้ภาษามีความสามารถสื่อความหมาย. สำหรับ Saussure ความเชื่อมโยงกันระหว่างคำๆหนึ่ง(signifier) และไอเดียอันนั้นที่มันถ่ายทอด(the signified)เป็นไปในลักษณะไร้เหตุผลอย่างบริสุทธิ์; เขาอ้างเหตุผลว่า อย่างไรก็ตาม มันมีเสถียรภาพหรือความมั่นคงที่แน่นอนอันหนึ่งในความสัมพันธ์

Lacan, คล้ายคลึงกับ Jacques Derrida, ได้ท้าทายต่อความสัมพันธ์ที่น่าอุ่นใจอันนั้น. สำหรับ Lacan คำต่างๆมักจะอ้างอิงถึงคำอื่นๆเสมอ: คำต่างๆ(signifiers)ได้สร้างสายโซ่อันหนึ่ง ซึ่งพวกเราได้ลื่นไถลโดยไม่เคยไปถึงความหมายที่กำหนดตายตัวหรือนิยามที่แน่นอนเลยแม้แต่สักครั้งเดียว ประโยคๆหนึ่งมักจะสามารถถูกผนวก, และการผนวกอันนั้นสามารถที่จะผลิกกลับความหมายของมันได้อย่างสมบูรณ์

การอุปมาอุปมัยและการเปรียบเปรย(metaphor and metonymy), คำทั้งสองอย่างนี้ ซึ่งเกี่ยวพันกับการแทนค่าคำๆหนึ่งโดยใช้คำอีกคำหนึ่ง (เช่นคำว่า "คนมีสี" - หมายถึงข้าราชการที่มีอิทธิพล ทหารหรือตำรวจในวัฒนธรรมไทย), ทำให้ความเชื่อมโยงระหว่าง"คำ"(signifier)และ"ไอเดียของคำ"(signified)มีความยุ่งเหยิงมากยิ่งขึ้น

การเน้นในเรื่องภาษาของ Lacan เป็นส่วนหนึ่งเกี่ยวกับปฏิกริยาของเขาที่มีต่อนักคิดคตินิยมลดทอน(reductionist), การอ่านเรื่องราวทางชีววิทยาของ Freud ซึ่งแพร่หลายดกดื่นท่ามกลางสานุศิษย์และผู้ติดตามชาวอเมริกันของ Freud. การหวนกลับไปหา Freud ของ Lacan ในเรื่องความจริง เป็นการหวนคืนไปสู่ผลงานต่างๆในช่วงต้นๆของปรมาจารย์ท่านนี้, อย่างเช่นเรื่อง The Interpretation of Dreams และ the Psychology of Everyday life, ซึ่งการกำเนิดต่างๆทางชีววิทยาเกี่ยวกับความคิดของเรา, อารมณ์ความรู้สึกต่างๆและพฤติกรรม ได้ถูกลดการเน้นย้ำลงมา เพื่อไปให้การสนับสนุนอยู่ข้างเดียวกันกับปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม

Lacan ได้ขยายการมาถึงเกี่ยวกับพลังอำนาจต่างๆที่ไม่ใช่เรื่องชีววิทยา, การตีความ, ยกตัวอย่างเช่น, เรื่องปมออดิปัสในฐานะที่เป็นการติดต่อจัดการทางภาษา: สิ่งต้องห้ามในการร่วมประเวณีในหมู่เครือญาติเป็นปรากฎการณ์อันหนึ่งทางวัฒนธรรม ซึ่งวางความเชื่อมั่นอยู่บนการจำแนกทางภาษาเกี่ยวกับ"พ่อ"กับ"แม่", มันเป็นอิสระออกไปเลยจากสัญชาตญานหรือความต้องการทางชีววิทยา

อันที่จริง สำหรับ Lacan แนวความคิดทางชีววิทยาเกี่ยวกับความต้องการ(need) ส่วนใหญ่ได้ถูกแทนที่โดยแนวความคิดเกี่ยวกับความอยาก-ความปรารถนา(desire). ความต้องการ(need)สามารถถูกทำให้สำเร็จพอใจได้, แต่ความอยาก (desire) เป็นสิ่งที่ไม่สามารถยับยั้งได้. ทารกมีความต้องการนมมารดา ซึ่งสามารถที่จะทำให้สำเร็จพอใจได้ แต่ทารกปรารถนาความรักของมารดา และความอยากความปรารถนาความรักนั้นไม่เคยถูกทำให้พึงพอใจเลย

แบบจำลองเกี่ยวกับพัฒนาการของ Lacan เกี่ยวพันกับความเชื่อมโยงในระเบียบแบบแผนกันและกันคือ - จินตนาการ(imaginary), สัญลักษณ์(symbolic), และ ความจริง(the real)

ขั้นตอนเกี่ยวกับจินตนาการมากับการจำได้หมายรู้ของทารกเกี่ยวกับตัวเองในกระจกเงา เมื่อทารกมองเห็นตัวเองเป็นครั้งแรก ในฐานะที่เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงที่สอดคล้องเชื่อมโยงอันหนึ่ง มากกว่าอะไรที่แตกแยกออกไปบางอย่าง, ความปนเปสับสนที่ไม่เข้ากันเกี่ยวกับความแปลกแตกต่าง. แต่ความเป็นเอกภาพนี้เป็นภาพลวงหรือมายาการ, อุดมคติอันหนึ่งของการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อน

จากขั้นตอนจินตนาการ ทารกจะพัฒนาไปสู่ขั้นตอนสัญลักษณ์ - โลกเกี่ยวกับวัฒนธรรม, เกี่ยวกับภาษา, และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกของคำต่างๆ(signifiers). มันคือขอบเขตของวัฒนธรรมซึ่งตัวตนมนุษย์(human subject)สืบทอดมรดกการมีอยู่ โลกใบหนึ่งที่ถูกปกครองโดย"นามของพ่อ"(name of the Father)ในเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งกระทำการในฐานะที่เป็นผู้บีบบังคับเพื่อความมั่นคงมีเสถียรภาพ เช่น คำที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ในขั้นตอนความจริง ความจริงไม่ได้มีอยู่ในความหมายของ"โลกความจริง"(the "real world") แต่เป็นสิ่งซึ่งหลบหลีกภาพต่างๆและสัญลักษณ์, การไม่มีอยู่ในลักษณะคุกคามอันหนึ่งที่ซุ่มซ่อนแอบแฝงอยู่เบื้องหลังอาการเกี่ยวกับโรคประสาท

Lacan เป็นผู้ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อการศึกษาทางด้านอักษรศาสตร์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทฤษฎีสิทธิสตรี(feminist theory) บรรดานักสิทธิสตรีทั้งหลายได้ให้คุณค่าการเน้นย้ำของ Lacan ในเรื่องต้นตอกำเนิดทางวัฒนธรรมและภาษาเกี่ยวกับการแบ่งแยกความแตกต่างทางเพศ ซึ่งดูเหมือนว่าได้ให้ทางรอดอันหนึ่งจากทฤษฎีต่างๆทางชีววิทยาอันป่าเถื่อนรุนแรงเกี่ยวกับความแตกต่างทางเพศ. แต่อย่างไรก็ตาม บรรดานักสิทธิสตรีก็ได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างแหลมคมเกี่ยวกับข้อสันนิษฐานในเชิงปิตาธิปไตย(patriarchal assumption)อย่างลึกซึ้ง ซึ่งได้รับการฝังตรึงอยู่ในการอธิบายของ Lacan (1)

ลากองและจิตวิเคราะห์ (Lacan and Psychoanalysis)
สามารถกล่าวได้ว่า การสนทนาของนักคิดมาร์กซิสท์เกี่ยวกับเรื่องจิตวิเคราะห์ เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ.1963 เมื่อ Louis Althusser, นักปรัชญาคอมมิวนิสท์ชั้นนำในฝรั่งเศส ได้เชื้อเชิญ Jacques Lacan มาช่วยสอนในกระบวนวิชาสัมมนาของเขา ณ the Ecole Normal

ช่วงระหว่างเวลานี้ เป็นช่วงที่กิจกรรมในแบบสหวิทยาการค่อนข้างเฟื่องฟู; อย่างน้อยอีก 1 ปีต่อมา Althusser ได้ตีพิมพ์บทความที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่งขึ้นมา นั่นคือ Freud and Lacan เขาได้อ้างเหตุผลว่า ทั้ง Marx และ Freud ได้คิดค้นศาสตร์ใหม่ๆขึ้นมา

Marx และ Freud แต่ละคนได้ค้นพบเรื่องราวใหม่อันหนึ่งของความรู้ พวกเขาทั้งคู่ได้เสนอนิยามอันเป็นหนทางใหม่ของความรู้อันหนึ่งเกี่ยวกับสังคมขึ้น ซึ่งนั่นไม่น่าประหลาดใจเท่าใดนัก แต่ที่สำคัญ พวกเขารู้สึกท้อใจและถูกกดทับให้เปลี้ยลงด้วยกระเป๋าทางวัฒนธรรมของยุคสมัยของพวกเขา

ในส่วน"ความคิด"Freud การค้นพบของเขาในแนวคิดต่างๆได้หยิบยืมมาจากชีววิทยา, กลศาสตร์, และจิตวิทยาในช่วงวันเวลาของเขา. ส่วน"ความคิด"ของ Marx การค้นพบของเขาได้นำเอาแนวคิดของ Hegelian เกี่ยวกับเรื่อง"ตัวตน"(subject)มาใช้

มันเป็นเรื่องที่มีเสน่ห์ชวนหลงใหลที่จะอ่านว่า Althusser มอง Lacan ซึ่งเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนวิชาสัมมนาของเขาอย่างไร. เทียบกับการที่ Althusser กำลังพยายามคิดใหม่เกี่ยวกับลัทธิมาร์กซิสม์อีกครั้ง โดยไม่มีการอ้างอิงถึงตัวตนสมบูรณ์(absolute subject)ของ Hegel, เขามอง Lacan ในฐานะที่กำลังพยายามคิดถึงเรื่องทฤษฎีจิตวิเคราะห์ โดยปราศจากการอ้างอิงใดๆถึงแนวคิดที่เป็นหนึ่งเดียวของตัวตน(self)และอีโก้(ego)

ไม่กี่ปีต่อมา ช่วงระหว่างการจลาจลในเดือนพฤษภาคม 1968, มันถูกรู้สึกโดยนักศึกษาและคนงานจำนวนมากว่า การเมืองที่เป็นอิสระ จะสามารถเกิดขึ้นได้แต่เพียงจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นอิสระเท่านั้น และมันเป็นการระเบิดเกี่ยวกับความสนใจในจิตวิเคราะห์แบบลากองเนียน - ขบวนการอันหนึ่งซึ่งดูเหมือนเป็นการไกล่เกลี่ยประนีประนอมระหว่างลัทธิอัตถิภาวะนิยมกับลัทธิมาร์กซิสม์(existentialism and Marxism)

ส่วนหนึ่งของความดึงดูดใจของผู้คนในลัทธิอัตถิภาวนิยม อาจเนื่องมาจาก มันได้จัดหาหนทางอันหนึ่งในการคิด โดยผ่านประเด็นปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการเลือก และความรับผิดชอบของปัจเจกชน. แต่ในฐานะที่เป็นทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องตัวตนทำให้ลัทธิอัตถิภาวะนิยมยังคงอยู่ใน Cartesianism (หรือในปรัชญาของ Decartes)

จิตวิทยาของลัทธิอัตถิภาวนิยมมีแนวโน้มที่จะวาดหรือพรรณาให้ปัจเจกชนเป็นผู้กระทำที่มีเหตุผล มีความสำนึก ซึ่งสามารถเข้าใจพื้นฐานสำหรับการกระทำของตัวเอง. มันยังคงมีรากอย่างเหนียวแน่นอยู่ในปรัชญาเกี่ยวกับความเป็นอิสระของปัจเจก(individual autonomy) และการเลือกที่มีเหตุผล(rational choice)

ณ ช่วงเวลาของเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 1968 ผู้คนทั้งหลายต่างให้ความเอาใจใส่ต่อคำถามต่างๆเกี่ยวกับการแสดงออกของตัวตน ความปรารถนา และเรื่องทางเพศ และทฤษฎีของ Lacan ได้เสนอหนทางอันหนึ่งที่คิดถึงเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคม และโครงสร้างทางภาษาซึ่งเกี่ยวข้องกับตัวตน, และเกี่ยวกับความคิดที่ผ่านปัญหาของปัจเจกและสังคม

สำหรับ Lacan แล้ว มันไม่มีการแบ่งแยกระหว่างตัวตนและสังคม. มนุษย์กลายเป็นสังคมด้วยการผนวกเข้าด้วยกันของภาษา; และมันเป็นเพราะภาษาที่ได้สร้างพวกเราขึ้นมาในฐานะที่เป็นตัวตน(subject). ด้วยเหตุดังนั้น พวกเราไม่ควรที่จะแยกขั้วระหว่างปัจเจกและสังคมออกจากกัน. สังคมดำรงอยู่ในปัจเจกชนแต่ละคน

บ่อยครั้งมันได้รับการพูดว่า Lacan ต้องการถูกทำความเข้าใจเพียงโดยคนเหล่านั้น ผู้ซึ่งต้องการที่จะพยายามทำความเข้าใจเขาเท่านั้น และสำหรับบทความชิ้นนี้ ผู้เขียนคิดว่า พวกเราควรพยายามทำเช่นนั้น งานเขียนของ Lacan ซึ่งเป็นตัวอย่างแสดงถึงทัศนะของเขาเกี่ยวกับภาษา มันค่อนข้างมีนัยพาดพิง ภาษาของเขาเป็นการหลอมรวมเอาลักษณะทางทฤษฎีและกวีนิพนธ์เข้าหากัน

สไตล์ที่ร่วมกันของเขามีเจตนาที่จะทำให้ผู้อ่านช้าลง

หนังสือของเขาไม่ใช่เพื่อต้องการที่จะสร้างความเชื่อมั่น แต่มันกระทำบางสิ่งบางอย่างกับผู้อ่าน. เขาให้ความไว้วางใจอย่างหนักแน่นต่อเกมส์ต่างๆทางภาษาและการเล่นคำ และเขาได้นำเอาสัญลักษณ์ และเครื่องหมายต่างๆมาใช้ ฯลฯ., เพื่อแสดงตัวของเขาเองโดยไม่มีการอ้างอิงถึงภาษาธรรมดา. เขาต้องการที่จะต่อต้านการทำให้มันดูง่ายจนเกินไปของงานเขียนทางจิตวิเคราะห์จำนวนมาก. เขายังต้องการที่จะล้มล้างการทำให้เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ภาษาในชีวิตประจำวันกำหนดด้วย

ผู้เขียนเชื่อว่า การบรรลุผลสำเร็จที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษของ Lacan ก็คือเขาได้หลอมรวมปรากฎการณ์วิทยา(phenomenology)และลัทธิโครงสร้างนิยม(structuralism)เข้าหากัน. งานช่วงต้นๆของเขาสอดคล้องต้องกันกับการเจริญเติบโตของปรากฎการณ์วิทยาฝรั่งเศส และเขาได้รับอิทธิพลมาจากความคิดของ Hegel และ Heidegger

ลัทธิโครงสร้างนิยมได้ให้แนวทางอันหนึ่งกับ Lacan ในการพูดถึง"ระบบต่างๆ"เกี่ยวกับการตีความ. งานของเขามีเสน่ห์เป็นที่น่าหลงใหล กล่าวคือ มันยังคงเลื่อนไหลระหว่างปรากฎการณ์วิทยาและลัทธิโครงสร้างนิยม. ปรากฎการณ์วิทยาเน้นในเรื่องของตัวตนที่เป็นอิสระ(free self)(the subject); ส่วนลัทธิโครงสร้างนิยมเน้นเรื่องนิยัตินิยม(determinism - ลัทธิที่ถือว่า เหตุการณ์ทั้งหลายเกิดขึ้นตามกฏบังคับตายตัวที่มีสาเหตุนำหน้าแล้วมีผลตามมา ลัทธินี้ปฏิเสธในเจตจำนงเสรี). Lacan ได้นำเอาลัทธิโครงสร้างนิยมมาใช้ แต่ไม่เคยปฏิเสธเรื่องตัวตนเสรี(subject)

ในบางส่วน Lacan ยังสังกัดอยู่กับขนบจารีต hermeneutic (การอธิบายหรือการตีความ)ด้วย ซึ่งกล่าวว่า ปรากฎการณ์ต่างในทางสังคมมักจะมีความหมายเสมอ และนั่นคือภารกิจของสังคมศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์สังคมที่ไม่ได้อธิบาย (เช่นดังที่จิตเวชศาสตร์ตามขนบประเพณีแสวงหาที่จะทำ) สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์กระทำแต่เพียงทำความเข้าใจเท่านั้น. จิตวิเคราะห์เป็นระเบียบวิธีอันหนึ่งของการตีความ. แต่อย่างไรก็ตาม Lacan ทราบว่า ในการตีความ บ่อยครั้ง พวกเรายัดเยียดข้อสมมุติฐานให้กับตัวของพวกเราเอง

ผลงานวิทยานิพนธ์ในระดับดอกเตอร์ของเขาเรื่อง "On Paranoid Psychosis and its Relation to the Personality"[ในภาวะจิตบกพร่องผิดปกติและความสัมพันธ์ของภาวะดังกล่าวกับบุคลิกภาพ] เป็นที่น่าสนใจยิ่ง เพราะเขาได้เขียนงานวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ขึ้นมาก่อนงานของ Saussure ในเรื่องภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้าง. ณ ช่วงเวลานั้น เขายังไม่ได้เป็นนักจิตวิเคราะห์แต่อย่างใด; เขายังคงเป็นจิตแพทย์เท่านั้น. สิ่งที่เปิดเผยออกมาก็คือมุมมองหนึ่งจากสิ่งซึ่งเขาเข้าหา Freud และวิธีการที่เขาปฏิเสธคตินิยมลดทอนของสรีรวิทยา(physiological reductionism)

หนึ่งในรูปลักษณ์หลักๆเกี่ยวกับงานของ Lacan นั่นคือมันเป็นการต่อต้านชีววิทยาอย่างไม่โอนอ่อน. ทัศนะซึ่งเป็นที่ยอมรับในช่วงทศวรรษที่ 1930s เป็นตัวอย่าง ที่ว่า "ความบ้า"มีมูลเหตุมาจากสาเหตุทางชีววิทยา. Lacan ถกว่าเรื่องราวต่างๆของ organicist (ความเชื่อในเรื่องอวัยวะ[ชีววิทยา])ไม่สามารถอธิบายความบ้าได้

"ความบ้า"เป็น"วาทกรรม"(discourse)อันหนึ่ง, เป็นความพยายามอันหนึ่งของการสื่อสาร, ซึ่งจักต้องได้รับการตีความ. พวกเราต้องทำความเข้าใจมากกว่าให้คำอธิบายเกี่ยวกับมูลเหตุ. เขาเน้นว่าบุคลิกภาพไม่ใช่"จิตใจ"(the mind) แต่เป็นทั้งหมดของการเป็นอยู่(whole being). พวกเราไม่สามารถแยกจิตวิทยาของบุคคลคนหนึ่งออกมาจากประวัติส่วนตัวของคนๆนั้นได้

เมื่อ Lacan กลายเป็นนักจิตเคราะห์ เขาได้วิจารณ์เกี่ยวกับ Freud ในท่าทีที่ลังเลเล็กน้อย. ข้อวิจารณ์หลักอันหนึ่งของเขาก็คือ Freud ได้ใช้สมมุติฐานเกี่ยวกับเรื่องทางชีววิทยาเป็นจำนวนมาก. ทัศนะของ Lacan ก็คือ ชีววิทยามักจะได้รับการตีความโดยตัวตนของมนุษย์, และมันหักเหหรือเบี่ยงเบนไปโดยผ่านภาษา; มันไม่มีสิ่งนั้นในฐานะ"ร่างกาย"ก่อนภาษา

อาจได้รับการกล่าวว่า โดยการเปลี่ยนคำอธิบายต่างๆทั้งหมดจากระดับกายวิภาค-ชีววิทยา ไปสู่สัญลักษณ์อันหนึ่ง เขาได้แสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมได้กำหนดยัดเยียดความหมายลงบนส่วนต่างๆของกายวิภาคอย่างไร

Lacan ไม่เพียงทำให้บรรดานักจิตวิทยาพฤติกรรมเสื่อมเสียชื่อเสียงลงเท่านั้น อย่างเช่น Pavlov และ Skinner แต่ยังรวมถึงนักจิตวิทยาอีโก้(อเมริกัน) อย่างเช่น Fromm และ Horney ก็ต้องพลอยเสื่อมเสียไปด้วย. การเน้นในช่วงหลังๆ เป็นการให้ความสำคัญถึงการปรับตัวของปัจเจกกับสภาพแวดล้อมของสังคม

Lacan ถกว่า พวกเขาได้อ่อนกำลังลงและทำให้ไอเดียต่างๆของ Freud เกี่ยวกับจิตไร้สำนึกและเรื่องเพศของทารกบรรเทาลงไปได้. สำหรับจิตวิทยาอีโก้(ego psychology)ยืนยันว่า "การปรับปรุงตนเอง"เป็นสิ่งซึ่งเป็นไปได้โดยไม่ต้องทักท้วงต่อสังคม

Lacan มักจะยืนยันบ่อยๆว่า เขาได้หวนกลับไปสู่ Freud แต่อันนี้ไม่ควรจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเนื้อหาสาระเท่าใดนัก. เขายังคงสงวนรักษาแนวความคิดหลักๆเอาไว้ แต่ได้เล่นกลแสดงการตบตาและออกลวดลายกับแนวความคิดดังกล่าว เพื่อสรรสร้างระบบความคิดใหม่อันหนึ่งขึ้นมา

ในฐานะนักคิดที่เฉียบแหลม เขาได้นำเสนอสูตรสำเร็จของ Freud ใหม่อีกครั้งซึ่งออกจะเข้มงวดกว่าเก่าแก่พวกเรา. เขาค้นหาความเป็นภววิสัย แต่ไม่ใช่ความเป็นภววิสัยของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ. เขาสนใจในตรรกทางคณิตศาสตร์และกวีนิพนธ์มาก และในงานเขียนของเขาเองพยายามที่จะหลอมรวมมันเข้าหากัน

ทฤษฎีของ Lacan เกี่ยวกับเรื่องภาษาคืออันนั้น ซึ่งเขาไม่อาจที่จะหวนคืนกลับไปสู่ Freud ได้: หนังสือต่างๆไม่สามารถที่จะปราศจากความคลุมเครือ, หรือมีความหมายที่บริสุทธิ์. ในทัศนะของ Lacan การวิเคราะห์ต่างๆจักต้องสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงโดยตรงกับจิตไร้สำนึก และอันนี้หมายความว่า พวกเขาจะต้องเป็นนักปฏิบัติการต่างๆเกี่ยวกับภาษาของจิตไร้สำนึก - เกี่ยวกับกวีนิพนธ์, การเล่นคำ, จังหวะต่างๆที่มีอยู่ภายใน. ในการเล่นคำ ความเชื่อมโยงเหตุปัจจัยต่างๆได้ละลายหายไป และมันทำให้ความสัมพันธ์ต่างๆเป็นไปได้มากขึ้น

การสำรวจอย่างกว้างๆ (overview)
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ Lacan บางส่วนได้รับการวางพื้นฐานอยู่บนการค้นพบเกี่ยวกับมานุษยวิทยาเชิงโครงสร้างและภาษาศาสตร์. หนึ่งในความเชื่อหลักของเขาก็คือ จิตไร้สำนึกเป็นโครงสร้างที่ซ่อนเร้นอันหนึ่ง ซึ่งคล้ายคลึงกับเรื่องของภาษา. ความรู้เกี่ยวกับคำ เกี่ยวกับคนอื่น และเกี่ยวกับตัวตนได้รับการกำหนดโดยภาษา

ภาษาเป็นเงื่อนไขที่ต้องมีมาก่อนสำหรับการรับรู้รับทราบตัวของตัวเองในฐานะที่เป็นแก่นแท้ที่ชัดเจนอันหนึ่ง. มันคือวิภาษวิธีของ I - Thou (ฉัน-เธอ), การนิยามตัวตนต่างๆ(subjects)โดยความตรงข้ามกันของพวกเขา ทำให้ได้ค้นพบความเป็นอัตวิสัย. แต่ภาษาเป็นพาหะของสังคมที่กำหนดให้ด้วย, วัฒนธรรมอันหนึ่ง, ข้อห้ามต่างๆและกฎหมาย. เด็กๆได้รับการวางรูปแบบ และจะได้รับการทำเครื่องหมายที่ลบไม่ได้โดยมัน และไม่รับรู้รับทราบอะไรเกี่ยวกับมัน

ขอให้เรามองไปที่ขั้นตอนหลักบางประการในทฤษฎีของ Lacan

ในเรื่อง Beyond the Pleasure Principle นั้น Freud ได้อธิบายเกมของเด็กทารกเกมหนึ่ง. เด็กทารกจะมีหลอดด้ายหลอดหนึ่งผูกกับเชือกเส้นหนึ่งเอาไว้. โดยการยึดจับกับเชือกเส้นนั้น เขาจะขว้างหลอดด้ายดังกล่าวออกไปนอกขอบของเปลที่นอนอยู่ และเปล่งเสียงออกมาซึ่ง Freud ตีความมันในฐานะที่เป็นความพยายามอันหนึ่งที่เป็นภาษาเยอรมันว่า"fort", หมายถึง"ไป"หรือ"ไปเสีย"(gone or away). ต่อจากนั้นทารกจะดึงเอาหลอดด้ายกลับมาสู่ขอบเขตสายตาของเขาอีกครั้ง ทักทายกับการที่มันปรากฏตัวขึ้นมาใหม่ด้วยความสนุกสนานด้วยคำว่า "da"(there)

เกมนี้อนุญาตให้เด็กอายุ 18 เดือนอดทนโดยไม่กระจองงองแงต่อประสบการณ์อันเป็นทุกข์ของการที่แม่ของเขาไม่อยู่, เป็นการจัดการกับการหายตัวไปของเธอและการปรากฏตัวให้เห็นอีกครั้ง

มันเป็นภาพประกอบเกี่ยวกับการกำเนิดขึ้นมาของภาษา ในความเป็นอิสระของมันจากความเป็นจริง และยินยอมให้เกิดความเข้าใจได้มากขึ้นเกี่ยวกับการที่ภาษา ได้ทิ้งพวกเราให้มีระยะห่างจากประสบการณ์ของความจริงอย่างไร. ระยะห่างดังกล่าวจากประสบการณ์นั้นได้ส่งผลในสองขั้นตอน :

ขั้นตอนแรกเด็กทารกเคลื่อนจากแม่ของตนไปสู่หลอดด้าย และ
ขั้นที่สอง ได้เคลื่อนไปสู่ภาษา

ความสามารถพูดได้ชัดเจนเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับ"ตัวฉัน"( I ) เกิดขึ้นในขั้นตอนที่ Lacan เรียกว่า "ขั้นตอนภาพสะท้อนในกระจกเงา"(mirror stage). บ่อยครั้ง Lacan อ้างถึงขั้นตอนภาพสะท้อนในกระจกเงาในฐานะที่เป็นภาพจำลองทั้งหมดในลักษณะวิภาษวิธีระหว่างความแปลกแยกและความเป็นอัตวิสัย

การรู้จักตัวตนในกระจกเงาได้ส่งผล(ในช่วงระหว่าง 6 เดือนถึง 18 เดือน)ออกมาเป็น 3 ขั้นตอนที่ต่อเนื่องกัน

ขั้นตอนแรก เด็กทารกพร้อมด้วยผู้ใหญ่คนหนึ่งที่อยู่ตรงหน้ากระจกเงา เขาจะสับสนกับภาพสะท้อนของตัวเองกับผู้ใหญ่อีกคนหนึ่ง
ในระยะที่สอง เด็กทารกได้เรียนรู้ความคิดเกี่ยวกับภาพดังกล่าวและเริ่มเข้าใจว่า ภาพสะท้อนอันนั้นไม่ใช่ของจริง
ในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สาม เป็นสำนึกความจริงไม่เพียงว่า ภาพสะท้อนดังกล่าวเป็นภาพๆหนึ่งเท่านั้น แต่ภาพๆนั้นคือภาพของตัวเขาเอง และมันแตกต่างไปจากภาพของคนอื่นๆด้วย

Lacan มองเห็นในหนทางที่คล้ายคลึงกันกับ Levi-Strauss ที่ว่าปมออดิปัส(Oedipus complex)เป็นหัวใจสำคัญของความเป็นมนุษยนิยม เป็นขนบจารีตอันหนึ่งจากบันทึกธรรมชาติเกี่ยวกับชีวิต ถึงบันทึกทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับกลุ่มการแลกเปลี่ยนและผลที่ตามมาของกฎหมาย, ภาษาและการทำให้เป็นองค์กร

Lacan ยืนยันว่า

แรกสุด ทารกไม่เพียงปรารถนาที่จะสัมผัสติดต่อกับมารดาและการเอาใจใส่ของเธอเท่านั้น; ทารกยังปรารถนา, บางทีโดยไร้สำนึก, ที่จะเป็นการเติมเต็มในสิ่งซึ่งขาดไปของเธอด้วย: นั่นคือองคชาติ(phallus). ณ ขั้นตอนนี้ ทารกยังไม่ใช่ตัวตนหนึ่ง(subject)แต่เป็นส่วนที่ขาดหายไป(lack), การไม่มีอยู่.

ในขั้นตอนที่สอง พ่อได้เข้ามาแทรกแซง; เขาจะเข้ามากีดกันทารกเกี่ยวกับวัตถุของความปรารถนา และเขาจะกีดกันมารดาเกี่ยวกับวัตถุทางเพศ. ทารกต้องเผชิญหน้ากับกฎของพ่อ.

ขั้นตอนที่สาม คือเกี่ยวกับการค้นหาเอกลักษณ์กับผู้เป็นพ่อ. พ่อจะคืนองคชาติให้ในฐานะที่เป็นวัตถุของความปรารถนาของมารดา และมันไม่ได้เป็นไปในฐานะการเติมเต็มของทารกต่อสิ่งที่ขาดหายไปในเธอ. ดังนั้น มันจึงเป็นการตอน(castration - การตัดอัณฑะ)ในเชิงสัญลักษณ์อันหนึ่ง: พ่อได้ทำการตอนทารกโดยการแยกทารกออกจากแม่. อันนี้คือหนี้ซึ่งจะต้องจ่ายคืน ถ้าหากว่าคนๆหนึ่งต้องการที่จะกลายเป็นตัวตนของตนเองอย่างสมบูรณ์

อันนี้ต้องการที่จะเน้นว่า ปมออดิปัสสำหรับ Lacan ไม่ใช่ขั้นตอนหนึ่งเหมือนกับคนอื่นๆในจิตวิทยาเกี่ยวกับการกำเนิด: มันเป็นช่วงเวลาหนึ่งซึ่งทารกกลายสภาพตัวของเขาเป็นมนุษย์ โดยการรับรู้รับทราบเกี่ยวกับตัวตน, เกี่ยวกับโลกและคนอื่นๆ. การแก้ปัญหาเกี่ยวกับปมออดิปัสจะปลดปล่อยตัวตนให้เป็นอิสระโดยการให้เขามีชื่อ, ให้สถานที่ที่หนึ่งในครอบครัว, ให้การแสดงออกอันหนึ่งเกี่ยวกับตัวตนและความเป็นอัตวิสัย. มันส่งเสริมให้เขาเกิดความสำนึกเกี่ยวกับตัวตน โดยผ่านการมีส่วนร่วมในโลกของวัฒนธรรม ภาษาและอารยธรรม

ดังที่ได้กล่าวมาแต่ต้น, Lacan ได้คิดใหม่อีกครั้งเกี่ยวกับ Freud ในกรอบที่กว้างกว่าที่ได้รับการให้มาโดยภาษาศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงโครงสร้าง. ในทัศนะของเขา จิตไร้สำนึกได้แสดงตัวของมันเองให้เห็นได้ในความฝันต่างๆ, เรื่องตลก, การเผลอพูดผิด, และอื่นๆ จิตไร้สำนึกเป็นสิ่งที่เปรียบเทียบกันได้ในทางโครงสร้างกับภาษาๆหนึ่ง

ตามข้อเท็จจริง, Lacan อ้างเหตุผลว่าภาษาคือเงื่อนไขสำหรับจิตไร้สำนึก ซึ่งมันสรรสร้างและก่อให้เกิดจิตไร้สำนึก. คล้ายๆกับคำอธิบายจิตสำนึก, การสร้างตัวของจิตไร้สำนึก(ความฝัน, ฯลฯ) กำลังพูดถึงบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างไปจากสิ่งที่พวกมันปรากฎในคำพูด

การสร้างตัวเหล่านี้ถูกควบคุมโดยกลไกอย่างเดียวกันกับภาษา, กล่าวคือ การอุปมาอุปมัยและการเปรียบเปรย(metaphor and metonymy)[metonymy - การเรียกชื่อสิ่งหนึ่งโดยใช้อีกสิ่งหนึ่งแทน เช่น "เขารักเก้าอี้ของเขามากกว่าศักดิ์ศรี" โดยใช้เก้าอี้แทนตำแหน่ง เป็นต้น]. ณ จุดที่พิเศษบางอย่าง อย่างเช่น การเผลอพูดผิด(slips of the tongue) และในเรื่องตลกบางเรื่อง ภาษาดูเหมือนว่าจะถูกฉีกทึ้ง

คำอธิบายจิตสำนึกค่อนข้างคล้ายกับต้นฉบับต่างๆ ที่ต้นร่างครั้งแรกจะถูกขูดลบขีดฆ่า และถูกคลุมด้วยร่างที่สอง. ในต้นฉบับเหล่านั้น ต้นร่างแรกสามารถได้รับการกวาดตาแวบหนึ่งโดยผ่านช่องว่างต่างๆในร่างที่สอง. คำพูดที่แท้จริง - จิตไร้สำนึก - ได้พัฒนาไปอย่างมากมาย ปกติแล้วในรูปแบบที่ถูกคลุมและยากที่จะเข้าใจ Lacan ชักชวนว่า, ขอบคุณต่อความสามารถในการอุปมาอุปมัยของมนุษย์, คำต่างๆที่ถ่ายทอดความหมายต่างๆอันหลากหลายออกมา และพวกเราใช้มันเพื่อบ่งชี้บางสิ่งบางอย่างที่ต่างออกไปเลยทีเดียวจากความหมายในเชิงรูปธรรมของมัน. ความสามารถอันนี้เกี่ยวกับการบ่งชี้ถึงบางสิ่งบางอย่างซึ่งต่างๆไปจากสิ่งที่กำลังพูดถึง ได้กำหนดให้ภาษามีความเป็นอิสระไปจากความหมาย

Lacan ยืนยันในความอิสระอันนี้ของตัวบ่งชี้. เขาได้ย่อยซึมกระบวนการอุปมาอุปมัยและการเปรียบเปรย(metaphoric and metonomic process)ของภาษาไปสู่ความเข้มข้นและการเคลื่อนที่โดยลำดับ. ทั้งหมดของการก่อตัวขึ้นมาเป็นรูปร่างเกี่ยวกับจิตไร้สำนึก ได้ใช้การประดิษฐ์ต่างๆในสไตล์เหล่านี้เพื่อลวงหลอกการตรวจตราหรือการเซ็นเซอร์

ตลอดทั้งผลงานของเขา Lacan พยายามมุ่งมั่นที่จะประณามกล่าวโทษมายาการร่วมดังกล่าว ซึ่งชี้หรือพิสูจน์อีโก้ด้วยตัวตน. ในทางที่ขัดแย้งกันกับผู้คนเหล่านั้นซึ่งกล่าวว่า "ฉันคิด ดังนั้นฉันจึงมีอยู่"(I think, therefore I am)

Lacan ยืนยันว่า "ฉันคิด ณ ที่ฉันไม่มีอยู่, ดังนั้น ฉันจึงอยู่ ณ ที่ฉันไม่ได้คิด"(I think where I am not, therefore I am where I do not think). หรือ "ฉันคิด ณ ที่ฉันไม่สามารถกล่าวได้ว่าฉันมีอยู่"(I think where I cannot say that I am)

แปลและเรียบเรียงจาก
(1) The Routledge : Critical Dictionary of Postmodern Though Edited by Stuart Sim / 1999
(2) An Introductory Guide to Post-Structuralism and Postmodernism Second Edition : by Madan Sarup (1993)

เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อความ กรุณาอ่านต่อเรื่อง"ความคิดจิตวิเคราะห์ของลากอง" บทความลำดับที่ 217 คลิกอ่านได้จากที่นี่

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม word)

 

 

บทนำทางปรัชญา : ลากองและจิตวิเคราะห์
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
(สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

ลากอง : นักจิตวิเคราะห์ (1901-81)
Lacan, Jacques: Psychoanalyst (1901 - 81)
พร้อมด้วย Levi Strauss, Michel Foucault และ Raland Barthes, นักจิตวิเคราะห์และนักปรัชญา Jacques Lacan เป็นหนึ่งในบุคคลที่เป็นแกนกลางของลัทธิโครงสร้างนิยมชาวฝรั่งเศส. คล้ายๆกันกับ Foucault และ Barthes, ผลงานของเขาได้พิสูจน์ว่ามีการปรับตัวและอุดมสมบูรณ์เพียงพอ ซึ่งได้ส่งอิทธิพลต่อไปถึงบรรดานักคิดหลังโครงสร้างนิยมและนักคิดหลังสมัยใหม่อย่างต่อเนื่อง

อันที่จริง Lacan เป็นหนึ่งในบิดาผู้ก่อตั้งเกี่ยวกับลัทธิหลังสมัยใหม่ - ความหนัก, ความยาก และความสลับซับซ้อนในงานร้อยแก้วของเขา, สลับตัดกับการล่นคำ, มากไปด้วยการพาดพิงและมีนัยะ; การโบยบินไปกับความฝันและจินตนาการอันน่าวิงเวียนของเขา; บ่อยครั้งเป็นสไตล์หรือแบบฉบับของการเปิดเผยสิ่งที่ซ่อนเร้นของเขา ซึ่งได้ส่งอิทธิพลถึงคำอธิบายและวาทกรรมของนักคิดหลังสมัยใหม่ทั้งหมด

Lacan กลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงด้วยการตีพิมพ์ผลงานรวมบทความและงานชิ้นต่างๆ, Ecrits, ในปี ค.ศ.1966. บันทึกสำเนาต่างๆเกี่ยวกับสัมมนาต่างๆประจำสัปดาห์ของเขา, ซึ่งได้รวบรวมขึ้นมาสำหรับการฝึกฝนของบรรดานักจิตวิเคราะห์ ได้ปรากฏออกมาอย่างต่อเนื่อง

R