Pskull2.jpg (30108 bytes)

วิทยาศาสตร์กำลังเริ่มต้นเดินทางมาสู่มิติแบบองค์รวม / ควันตัม, ความไร้ระเบียบ, ความสลับซับซ้อน, และการสร้างสรรค์ ได้น้อมนำวิทยาศาสตร์ไปสู่พรมแดนใหม่ (Quantum, chaos, complexity and creativity have taken science to new frontiers)

Bscience1.jpg (16756 bytes)

วิทยาศาสตร์เชิงปริมาณ VS วิทยาศาสตร์เชิงคุณภาพ

Quantum, chaos, complexity and creativity have taken science to new frontiers.

from .Resurgence issue 201 <201.htm> www.resurgence.com

 

วิทยาศาสตร์ตะวันตก(Western Science)

วิทยาศาสตร์ตะวันตก ได้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายในการถอดกลอนหรือไขปัญหาความลับของธรรมชาติ   แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน วิทยาศาสตร์ได้ก้าวเข้ามาถึงพรมแดนหรือขอบเขตข้อจำกัดอันหนึ่ง ซึ่งได้ก่อให้เกิดความยุ่งยากนานาประการเกี่ยวกับตัววิทยาศาสตร์เอง ทั้งนี้เพราะ วิทยาศาสตร์ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาต่างๆซึ่งไม่เหมาะสม. วิทยาศาสตร์ได้ถูก ยืดขยายไปสู่เรื่องต่างๆ ที่ตัวมันเองไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติอันเป็นแก่นแท้ เพียงแต่ได้มีการแปรรูปไป เพื่อที่จะทำให้มันมีความเหมาะสมกับการต่อสู้ หรือเข้าไปพัวพันกับประเด็นต่างๆ ซึ่งได้กลายมาเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการดำรงชีวิตอยู่ของเรา: นั่นคือ การดำรงอยู่กับธรรมชาติอย่างรับผิดชอบ, การบรรลุถึงสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ และคุณภาพชีวิตที่ดีภายในชุมชนและองค์กรที่สร้างสรรค์, และรวมไปถึง หลักการต่างๆทางด้านเศรษฐกิจที่มีการเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลังกันใหม่ เป็นต้น.

ในด้านวิทยาศาสตร์โดยตรง หากทำการสำรวจตรวจตราดูแล้วจะเห็นว่า มีการพัฒนาอยู่เป็นจำนวนมากในช่วงระหว่าง 25 ปีหลังของศตวรรษนี้ ซึ่งได้น้อมนำวิทยาศาสตร์ไปสู่พรมแดนใหม่อันหนึ่งที่น่าตกใจ. จากตรงนั้น มันเป็นไปได้ที่จะบอกกับเราว่า การสร้างสรรค์อันน่าทึ่งเกี่ยวกับวัฒนธรรมของเรา สามารถที่จะขยายตัวออกไปโอบรัดการดำรงอยู่ของเราอย่างบริบูรณ์มากขึ้นได้อย่างไร ?

วิทยาศาสตร์เชิงปริมาณ (The Science of Quantities)

เมื่อกาลิเลโอเริ่มต้นการผจญภัยอันยิ่งใหญ่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ด้วยการศึกษาที่เป็นระบบของเขาเกี่ยวกับการแกว่งของลูกตุ้ม, สิ่งของต่างๆที่ตกลงมา, รูปทรงกระบอกที่ไหลลงมาบนพื้นระนาบเอียง, และดวงจันทร์ต่างๆของดาวพฤหัส, การศึกษาทางวิทยาศาสตร์เหล่านี้ เขาได้รับการน้อมนำให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆสามารถที่จะได้รับการอธิบายได้ด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์.

แน่นอน กาลิเลโอไม่ใช่คนแรกที่ทำการสำรวจหลักการของธรรมชาตด้วยวิธีการที่มีระเบียบแบบแผนอันนี้. บรรดานักปรัชญาธรรมชาติชาวอียิปต์, กรีก และอาหรับ ต่างสนับสนุนอย่างหนักแน่นต่อการตระหนักในความจริงที่ว่า กระบวนการดังกล่าวเกี่ยวพันกับปฏิบัติการของเหล็กงัดหรือคันโยก, ช่วงว่างของจังหวะดนตรีและความกลมกลืน, และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเคลื่อนไหวของเรือนร่างแห่งสวรรค์, ซึ่งได้รับการควบคุมด้วยตัวเลข, อัตราส่วน, และเรขาคณิต. ด้วยเหตุนี้ สิ่งต่างๆจึงมีรูปลักษณ์ในเชิงเหตุผลที่ชัดเจน อันเป็นกระบวนการต่างๆของธรรมชาติ.

สิ่งซึ่งกาลิเลโอได้ทำก็คือ การให้นิยามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในเทอมต่างๆของการศึกษาเกี่ยวกับตัวเลขและการวัด. คุณสมบัติต่างๆเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับโลกธรรมชาติ ซึ่งสามารถที่จะถูกนำมาวัดและแสดงออกมาได้ในเทอมของความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งอันนี้ได้ให้นิยามความหมายถึงอาณาจักรของการค้นคว้าและการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ของตะวันตก.

ประสบการณ์ต่างๆเชิงคุณภาพที่พวกเรามีกัน, อย่างเช่นกลิ่นหอมและพื้นผิวของผลไม้หรือดอกไม้, ประสบการณ์ของเราเกี่ยวกับสีสรรของธรรมชาติ หรือความเพลิดเพลินเจริญใจที่เราอาจรู้สึกได้เกี่ยวกับความงามของทิวทัศน์หรือภาพของพระอาทิตย์ยามเย็นที่ใกล้จะตกดิน สิ่งเหล่านี้ล้วนอยู่นอกอาณาเขตอันชอบธรรมของการไต่สวนทางวิทยาศาสตร์ เว้นแต่ว่า หากเราสามารถดึงหรือสกัดข้อมูลในเชิงปริมาณ และสามารถอธิบายมันด้วยภาษาทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับปรากฎการณ์ต่างๆเหล่านี้ได้เท่านั้น.

ยกตัวอย่างเช่น แผนการณ์อันหนึ่งในการสำรวจรูปลักษณ์เกี่ยวกับความจริง – เกี่ยวกับจำนวนและคณิตศาสตร์ – ข้อจำกัดของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ต่อเรื่องทางปริมาณ เป็นสิ่งที่มีเหตุผลอย่างสมบูรณ์ และปรากฏว่ามันประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่งด้วย. ความหลากหลายของรูปลักษณ์ของโลกธรรมชาติที่อยู่ภายใต้การนำมาแจงได้ด้วยตัวเลขและคณิตศาสตร์ เป็นเรื่องที่น่าทึ่งและน่าประหลาดใจมากทีเดียว, เรียงลำดับจากแสงและแม่เหล็ก และปฏิกริยาทางเคมีสู่กฎเกณฑ์ต่างๆของการสืบทอดทางชีวิวิทยา. แต่ใครกันล่ะ ที่จะเชื่อว่า คณิตศาสตร์สามารถนำเราไปพ้นจากพฤติกรรมอันเป็น”สามัญสำนึก”ของนาฬิกาและแม่เหล็ก และกระบวนการทางเคมีสู่โลกที่แปลกประหลาด แต่ก็เป็นโลกที่มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงของกลศาสตร์ควันตัม ?

ในทางตรงข้ามกับการที่เราสามารถจะจับความสัมพันธ์กันระหว่างการเคลื่อนที่ของลูกตุ้ม และการหมุนรอบของเข็มนาฬิกาตามซี่ล้อฟันเฟืองและคันโยก และจินตนาการถึงถึงโมเลกุลต่างๆที่ปะทะกันกับโมเลกุลอีกโมเลกุลหนึ่ง และปฏิกริยาซึ่งเป็นไปตามโครงสร้างพลังของพวกมัน แบบฉบับของเหตุผลอันนี้ ดูเหมือนว่าจะล้มเหลว เมื่อเราก้าวเข้ามาสู่อาณาจักรของควันตัม. ความเป็นเหตุเป็นผลในที่นี้มีบทบาทเปลี่ยนไป และความสัมพันธ์ต่างๆเป็นเรื่องของทั้งหมด มากกว่าที่จะแยกทอนหรือลดลงมาสู่พฤติกรรมของอนุภาพต่างๆที่เป็นอิสระ. อาณาจักรของควันตัม ถูกควบคุมโดยหลักการต่างๆของการพัวพันกันอย่างลึกซึ้ง(intimate entanglement) และ การประสานกัน(co-ordination) ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งอันนี้ได้ก่อให้เกิดระเบียบการเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงซึ่งขยายไปถึงระยะห่างอื่นๆ.

อีกครั้ง ที่ใครล่ะจะสามารถคาดเดาหรือทำนายได้ว่า คณิตศาสตร์สามารถให้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อตรรกะที่ผิดธรรมดาของเรื่องบรรยากาศหรืออุณหภูมิ – ซึ่งเรื่องของบรรยากาศและอุณหภูมินี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาได้ แต่สามารถเข้าใจได้ ? มันได้รับการเชื่อว่า แบบแผนการพยากรณ์อากาศ ขึ้นอยู่กับว่า แบบจำลองที่ดีของเราเกี่ยวกับกระบวนการของบรรยากาศ เป็นอย่างไร และมันให้รายละเอียดทางด้านข้อมูลอย่างไร ต่อแบบแผนบรรยากาศที่แผ่ไปทั่วที่ได้ป้อนเข้าไปสู่แบบจำลองของการพยากรณ์นั้น. แต่อย่างไรก็ตาม, ปรากฏว่า ไม่มีอะไรที่กล่าวมานี้ที่จะพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำเที่ยงตรงได้ยาวนานเกี่ยวกับเรื่องของบรรยากาศเลย

ทั้งนี้เนื่องมาจากคุณสมบัติต่างๆภายในของแบบอันนี้เกี่ยวกับกระบวนการทางธรรมชาติ ซึ่งได้รับการขนานนามในเชิงปฏิทรรศน์(paradoxical name) หรือฟังดูแย้งกับความคิดของคนทั่วไปว่า ความสับสนอลหม่านในลำดับก่อนหน้า(deterministic chaos – หมายถึง สิ่งซึ่ง แม้จะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นเป็นลำดับๆแต่ก็ยังสับสน เพราะมันไม่เป็นไปตามหลักตรรกะปกติ). การอุปมาอุปมัยดังกล่าว อธิบายถึง ลักษณะอันหนึ่งซึ่งเป็นแก่นแท้ของมัน ที่ต้องการความรู้สึกอันฉับไวต่อเงื่อนไขต่างๆที่เริ่มต้นขึ้น, อย่างเช่น การขยับปีกของผีเสื้อในอเมซอน, เป็นมูลเหตุให้เกิดลมไต้ฝุ่นในอินโดนีเซีย.

บรรยากาศหรือสภาพอากาศ เป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาได้อย่างแม่นยำหรือถาวร, และไม่อาจใช้หลักการหรือเหตุผลต่างๆทางคณิตศาสตร์อย่างเดียวมาทำความเข้าใจได้ ! ความสับสนอลหม่านในลำดับก่อนหน้า(deterministic chaos), หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ พฤติกรรมที่ไม่อาจคาดเดาได้, ปัจจุบัน จากการค้นคว้าและสำรวจพบว่า มันได้ปรากฏอยู่ในรูปการณ์ของกิจกรรมต่างๆทางสรีรวิทยาของร่างกายและสมองของพวกเราด้วย รวมไปถึงกระบวนการทางนิเวศวิทยาและวิวัฒนาการ และเรื่องทางเศรษฐศาสตร์.

ดังที่เรามักทราบกันดีอยู่แล้วว่า ชีวิตเป็นสิ่งที่สับสน(ไร้ระเบียบ)[life is chaostic]; แต่มาถึงตอนนี้ เราสามารถเข้าใจได้ว่า ทำไมสิ่งเหล่านี้จึงเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นอันหนึ่งของโลกธรรมชาติ   ที่ที่มันเริ่มต้นขึ้นและดำเนินมาจากจุดนั้น, และอันนี้ได้มาสนับสนุนเรื่องของสุขภาพและการสร้างสรรค์ของระบบต่างๆที่สลับซับซ้อนอย่างไร นอกจากนี้การดำรงอยู่ของชีวิตเราต้องขึ้นอยู่กับมัน, รวมไปถึงเรือนร่างและจิตใจของพวกเราด้วย.

การสร้างสรรค์ของธรรมชาติ (The Creativity of Nature)

ยังมีต้นตอกำเนิดอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของธรรมชาติ. ซึ่งได้รับการเรียกขานว่าวิทยาศาสตร์ของความสลับซับซ้อน(the science of complexity). ในที่นี้ ปัญหาดังกล่าวจะต้องเข้าใจว่า คุณสมบัติที่ไม่อาจคาดเดาได้ มันเกิดขึ้นมาจากปฏิกริยาต่างๆของปัจจัยแวดล้อมที่เป็นองค์ประกอบของระบบที่ซับซ้อน, ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องของฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา หรือเกี่ยวกับสังคม. สิ่งเหล่านี้ได้รับการเรียกว่าคุณสมบัติต่างๆที่อุบัติขึ้นแบบไม่ได้คาดหวัง(emergent properties), ทั้งนี้เพราะระบบดังกล่าวในฐานะที่เป็นองค์รวมทั้งหมด ได้แสดงพฤติกรรมออกมาซึ่งไม่อาจคาดเดาหรือพยากรณ์ได้ด้วยการสังเกตุการณ์อันใดอันหนึ่งเกี่ยวกับปฏิกริยาของส่วนต่างๆที่มาประกอบกันของมัน.

ยกตัวอย่างเช่น, อาณาจักรของแมลงที่รวมกันเป็นสังคม(social insects) อย่างเช่น ผึ้ง, ตัวต่อ, ปลวก และมด แมลงเหล่านี้ต่างๆประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่งเกี่ยวกับการจัดองค์กรหรือการรวมตัวกัน และประสานงานกันได้เป็นอย่างดี ซึ่งผลสำเร็จอันนี้มันไปไกลเกินกว่าความสามารถต่างๆของแมลงแต่ละตัวที่จะทำได้. อาณาจักรดังกล่าวนี้ บ่อยครั้ง ได้รับการอธิบายในฐานะที่เป็นองค์กรหรือระบบที่มีลักษณะพิเศษ(superorganism), นั่นคือ การอุบัติขึ้นมาเป็นทั้งหมดอันหนึ่งด้วยคุณสมบัติหรือคุรภาพของตัวของมันเอง.

บรรดาปลวกทั้งหลายได้สร้างอาณาจักรที่งดงามของพวกมันขึ้นมาให้เป็นที่อยู่อาศัยซึ่งสลับซับซ้อนโดยผ่านกระบวนการที่มองทุกสิ่งและเป็นระบบ. กระนั้นก็ตาม นอกไปจากกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับการจัดกลุ่มโครงสร้างต่างๆของปลวก ที่ได้ก่อรูปและกระจายออกไป ในแบบแผนต่างๆที่ดูสับสนอลหม่านอย่างชัดเจน มันได้ปรากฏห้องหับต่างๆ ที่เชื่อมโยงเกาะเกี่ยวกันในเชิงโครงสร้างขึ้นมา, สมบูรณ์แบบด้วยสภาพอากาศ ซึ่งบรรยากาศเหมาะสมกับการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่มีกันเป็นเรือนพันเรือนหมื่น. สิ่งเหล่านี้ทำให้เราเห็นว่า ธรรมชาตินั้นเต็มไปด้วยความสมบูรณ์ของการสร้างสรรค์ที่น่าประหลาดใจ.

วิทยาศาสตร์ของความสลับซับซ้อน(science of complexity) จะทำการสำรวจด้วยการใช้วิธีการสังเกตุ มีการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วย และนำเอาการลอกเลียนทางคอมพิวเตอร์(computer simulation)เข้ามาประกอบ. ด้วยวิธีการอันหลายหลากเหล่านี้มาผสมผสานกัน ทำให้การสร้างสรรค์ดังกล่าวของกระบวนการทางธรรมชาติสามารถเป็นที่เข้าใจได้ แม้ว่ามันจะไม่อาจคาดเดาได้หรือควบคุมได้ก็ตาม. แต่อย่างไรก็ตาม มันเป็นรูปการณ์อันหนึ่งที่สำคัญของคุณสมบัติต่างๆที่อุบัติขึ้นมาโดยไม่คาดฝัน(emergent properties): กล่าวคือ มันมักจะมีความมั่นคงถาวรด้วยคุณสมบัติต่างๆของส่วนประกอบทั้งหลายของระบบ. กระนั้นก็ตาม ธรรมชาติก็ไม่ได้สร้างบางสิ่งบางอย่างขึ้นมาอย่างฉับพลัน จากการไม่มีอะไรเลย.

ถึงตรงนี้ วิทยาศาสตร์แบบตะวันตกได้มาถึงจุดเปลี่ยนที่น่าตื่นเต้นมากอันหนึ่ง. กล่าวคือ แม้ว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะมีความตั้งใจที่จะเผยถึงกฎเกณฑ์ต่างๆทางธรรมชาติ ซึ่งเราสามารถนำไปใช้เพื่อการคาดการณ์และควบคุมกระบวนการทางธรรมชาติได้ และความรู้อันนี้ ได้ให้เทคโนโลยีอันเป็นประโยชน์ต่อเราอย่างยิ่งและน่าทึ่งมาก ซึ่งกระบวนการนี้ยังคงดำเนินต่อไป   แต่สิ่งที่ได้รับการเปิดเผยโดยวิทยาศาสตร์ในตัวของมันเองก็คือ เป็นไปได้ที่ว่าส่วนใหญ่แล้ว เรื่องราวที่ เกี่ยวกับธรรมชาตินั้น เป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดการณ์และควบคุมได้. ทั้งนี้เพราะธรรมชาติเต็มไปด้วยลำดับการที่สับสนไร้ระเบียบ(deterministic chaos) และคุณสมบัติที่อุบัติขึ้นมาอย่างไม่คาดฝัน(emergent properties)นั่นเอง.

กลศาสตร์ควันตัม, ซึ่งศึกษาเรื่องของสภาวะของรูปแบบขั้นพื้นฐานต่างๆ(หรืออนุภาค)ในธรรมชาติ, ตัวมันเองกำลังประสบกับการตีความใหม่ๆในเทอมต่างๆของลำดับการณ์อันสับสนไร้ระเบียบ และการอุบัติขึ้นมาอย่างไม่คาดฝัน, ทั้งสองอย่างนี้ได้ให้ภาพๆหนึ่งแก่เราเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของธรรมชาติบนขอบของความสับสนไร้ระเบียบ, ที่ซึ่งการสร้างสรรค์ได้ถือกำเนิดขึ้นมา.

ปัจจุบัน เราได้มาถึงข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อควบคุมธรรมชาติ โดยผ่านเทคโนโลยีที่สามารถคาดเดาได้. ทั้งนี้เพราะ สิ่งที่ได้รับการเปิดเผยออกมาไม่นานนี้ก็คือ ทำไมระบบต่างๆที่มีความสลับซับซ้อนอันเกี่ยวกับคุณภาพของการดำรงชีวิตของเรา, อย่างเช่น บรรยากาศ, ระบบนิเวศวิทยา, ชุมชนต่างๆ, เศรษฐกิจและสุขภาพ, จึงอยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา เว้นแต่ในหนทางที่จำกัดมากๆ. ยิ่งไปกว่านั้น ความพยายามต่างๆที่จะจัดการ ยักย้าย หรือเปลี่ยนแปลงพวกมันเพื่อผลประโยชน์ของเรา กลับให้ผลลัพธ์ที่นำมาซึ่งปัญหาต่างๆอย่างมากมาย แทนที่จะควบคุมมันได้: เช่น ปัญหาประชากร, การกัดเซาะและการพังทะลายของหน้าดิน, โรคเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม, ความเครียดและสุขภาพที่เจ็บป่วยของแต่ละคน, ชุมชนต่างๆและองค์กร, ความไม่มั่นคงหรือมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และความไม่ปลอดภัยในชีวิต. คำถามมีว่า ทุกวันนี้เราได้ก้าวมาถึงข้อจำกัดต่างๆของวิทยาศาสตร์เชิงปริมาณ, วิทยาศาสตร์ที่ใช้การคาดเดาและพยายามควบคุมแล้วล่ะหรือ ? เราจะฟื้นฟูคุณภาพต่างๆของการดำรงชีวิตอยู่ของเราได้อย่างไร ? และอะไรคือความสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับธรรมชาติในตอนนี้ ซึ่งเราสามารถเข้าใจได้ว่า ทำไมเราจึงมีความสามารถที่มีขีดจำกัดมากๆ ในการควบคุมกระบวนการอันสลับซับซ้อนของธรรมชาติเหล่านี้ล่ะ ?

วิทยาศาสตร์เชิงคุณภาพ (A Science of Qualities)

ภายในขนบประเพณีของวิทยาศาสตร์แบบตะวันตก มีบุคคลที่โดดเด่นขึ้นมาคนหนึ่ง ผลงานของเขาได้นำเสนอเรื่องพื้นฐานของการพัฒนาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แบบองค์รวมของคุณภาพ. ปัจเจกชนคนที่ได้รับการกล่าวถึงนี้คือ Johann Wolfgang von Goethe: ซึ่งเป็นทั้งกวี, รัฐบุรุษและนักวิทยาศาสตร์. ผลงานด้านวิทยาศาสตร์ของเขาซึ่งได้รับการจดจำได้เป็นอย่างดีที่สุด เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีววิทยา, สำหรับงานชิ้นนี้ ตัว Goethe ได้นำเสนอศัพท์คำว่า morphology ขึ้นมา ในฐานะที่เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของระบบอินทรีย์ต่างๆ.

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานของเขาในเรื่องเกี่ยวกับรูปแบบของพืชได้ถูกจำแนกเพื่อความเข้าใจว่า ส่วนต่างๆที่มองเห็นได้ของพืชจำพวกดอก – ใบ, กลีบเลี้ยง, กลีบดอก, น้ำหวาน, เกสรตัวผู้ และ โพรงเกสรตัวเมีย – คือการเปลี่ยนแปลงหรือแปรรูปทั้งหมดของอีกอันหนึ่ง. ความเข้าใจอันนี้เป็นแบบฉบับเกี่ยวกับวิธีการอันเป็นพลวัตรของ Goethe ที่มีต่อ morphology (ศาสตร์ที่ว่าด้วยรูปแบบและโครงสร้าง) ซึ่งโดยสาระแล้ว เขามองว่า มันเป็นผลลัพธ์ของการแปรรูปอย่างต่อเนื่องของการเจริญเติบโต, องค์ระบบดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นมาจากเมล็ดสู่รูปลักษณ์ที่โตเต็มที่. Goethe เข้าใจถึงกระบวนการอันนี้ที่เป็นการคลี่คลายอย่างสอดคล้องเชื่อมโยงของระเบียบแบบแผนที่เป็นพลวัตรภายใน, ความจำเป็นภายในและความจริง ซึ่งได้ถูกเผยต่อประสบการณ์ของเรา เกี่ยวกับคุณสมบัติที่เด่นชัดต่างๆของชนิดพันธุ์พืช: ไม่ว่าจะเป็นลิลลี่ กุหลาบ หรือ delphinium. ประสบการณ์อันนี้ได้รวมไปถึงคุณภาพต่างๆ: นั่นคือ ความรู้สึกของใบและกลีบดอก, รสชาติของน้ำหล่อเลี้ยง, กลิ่นและสีของดอกไม้. สิ่งเหล่านี้, รวมกับรายละเอียดในการสำรวจในเชิงคุณภาพและรูปทรง อย่างเช่น จำนวน, รูปร่าง และการจัดการของใบ, กลีบเลี้ยงของดอกและกลีบดอก, มันทำให้เราเข้าใจแบบหยั่งรู้(intuition)ต่อธรรมชาติขององค์ระบบทั้งหมด. ทั้งหมดมีคุณสมบัติของการอุบัติขึ้นมาแบบไม่คาดฝัน(emergent properties). มันได้ถูกแสดงออกมาในเทอมของคุณภาพต่างๆ เช่นเดียวกับเชิงปริมาณ.

ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของสุขภาพอนามัยที่ดี เป็นคุณสมบัติของการอุบัติขึ้นมาอันหนึ่งขององค์ระบบต่างๆของการดำรงชีวิต ซึ่งไม่สามารถที่จะได้รับการนิยามในเทอมต่างๆทางด้านปริมาณชุดหนึ่ง อย่างเช่น แรงดันโลหิต, อุณหภูมิในร่างกาย, จำนวนของเซลล์เม็ดเลือด, เป็นต้น. สุขภาพ ได้ถูกแสดงออกมาในความหลากหลายของคุณสมบัติต่างๆ อย่างเช่น สภาวะ, คุณภาพเกี่ยวกับความสลับซับซ้อน, โทนสีของผิวหนังและกล้ามเนื้อ, ความรู้สึกดี, ความฉับไว,และอื่นๆ.

ขนบประเพณีที่แตกต่างออกไปเกี่ยวกับการรักษาหรือการบำบัด จะมีการใช้บรรทัดฐานที่ผิดแผกไปในเรื่องการวินิจฉัยเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยที่ดี, แต่ผู้ปฏิบัติการโดยรวม ทั้งหมดจะพูดถึงวิธีการในการอ่านรวมๆทั้งหมดเหล่านี้ จากการตรวจสอบเกี่ยวกับส่วนต่างๆของร่างกาย โดยประเมินมันในเชิงคุณภาพ เช่นเดียวกับการประเมินในเชิงปริมาณ. กระบวนการเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคและการตัดสินบนการรักษาที่เหมาะสม บ่อยครั้ง ได้รับการอธิบายในขนบประเพณีเหล่านี้ในฐานะที่เป็นศิลปะอันหนึ่ง เช่นเดียวกับที่มันเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์.

แต่อย่างไรก็ตาม, บรรดานักวิทยาศาสตร์แบบจารีต มีแนวโน้มที่จะขัดขวางการวิธีการวินิจฉัยเช่นนี้ และตั้งคำถามหรือข้อสงสัยต่อความถูกต้องชอบธรรมของมันในฐานะที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่แท้จริงหรือไม่. แต่มันมีเหตุผลภายในไม่ใช่หรือว่า ทำไม มันไม่ควรที่จะเป็นระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์,เพราะ แง่มุมอันนั้น มันเพ่งเล็งหรือให้ความสนใจต่อรูปการณ์ทั้งหลายของโลก ซึ่งได้รับการเชื่อมโยงกับคุณภาพต่างๆ ?

มันมีเหตุผลใช่ไหมที่ว่า ทำไมคุณภาพต่างๆจึงจะไม่เป็นตัวชี้วัดที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับภาวะที่เป็นวัตถุวิสัย ? แต่อย่างไรก็ตาม จากกรณีตัวอย่างข้างล่างนี้ เป็นบทพิสูจน์อันหนึ่งซึ่งจะบอกกับเราว่า นี่คือตัวอย่างที่บ่งชี้ว่า ทำไมเราจึงสามารถดำเนินการต่อไปได้ด้วยคำถามที่ยากอันนี้ ซึ่งรูปการณ์ต่างๆโดยสาระแล้วเกี่ยวกับระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ยังคงได้รับการรักษาเอาไว้ ขณะที่ได้มีการขยายคำถามไปสู่การศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพ.

กรณีตัวอย่างที่จะยกมานี้ เป็นผลงานของ Franoise Wemelsfelder และเพื่อนร่วมงานวิจัยของเธอที่ the Scottish Agricultural College ใน Edinburgh. ความสนใจอย่างแรกของเธอเป็นเรื่องเกี่ยวกับสวัสดิภาพของสัตว์, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริบททางด้านเกษตรกรรม. ข้อเสนอพื้นฐานของเธอก็คือว่า มนุษย์สามารถที่จะประเมินคุณภาพเกี่ยวกับชีวิตได้แม่นยำ ซึ่งได้รับประสบการณ์จากสัตว์ตัวหนึ่ง ด้วยการสังเกตุถึงพฤติกรรมของมันได้ไหม ?  กล่าวคือ, ประสบการณ์ที่เป็นส่วนตัวของสัตว์ตัวหนึ่งเป็นสิ่งที่เปิดเผยตรงไปตรงมา และสามารถได้รับการประเมินอย่างเชื่อถือได้โดยการสังเกตุได้หรือไม่. นี่คือสมมุติฐานอันหนึ่งซึ่งพวกเราส่วนใหญ่รู้ด้วยตัวเอง, และในประสบการณ์ทั้งหมดของเรายืนยันเรื่องอันนี้.

แต่อย่างไรก็ตาม, วิทยาศาสตร์ได้วางการประเมินคุณค่าๆต่างๆอันนั้นเอาไว้ภายใต้ข้อสงสัย, โดยอ้างว่า คุณภาพต่างๆเป็นเรื่องของภาวะอัตวิสัย (มันไม่ใช่ความจริงเชิงภววิสัย) ซึ่งข้ออ้างนี้ได้ถูกเสนอขึ้นมา, วิทยาศาสตร์มองว่า แต่ละคนต่างก็มีความรู้สึกที่แตกต่างกัน มีประวัติและประสบการณ์ส่วนตัวของพวกเขาเองในชีวิต. เพราะฉะนั้น การประเมินคุณค่าต่างๆเชิงคุณภาพ จึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจวางใจได้และไม่เป็นวิทยาศาสตร์โดยธรรมชาติของตัวมันเอง. อันนี้คือความคิดของกาลิเลโอ, และได้ถูกปันทัศนะดังกล่าวไปสู่บรรดานักวิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมาก. ส่วนสำหรับ Wemelsfelder และทีมงานของเธอ ได้แสดงให้เห็นถึงการทำการตรวจสอบประเด็นนี้อย่างเป็นระบบ, และได้มีการเสนอหลักฐานว่ามันผิดอย่างไร.

งานวิจัยของ   Wemelsfelde ทำขึ้นโดยอาศัยกลุ่มคน 18 คนที่ทำงานร่วมกันกับหมู 20 ตัว. คนทั้ง 18 คนที่คัดมานี้ ทุกคนไม่มีประสบการณ์อะไรโดยเฉพาะเกี่ยวกับฟาร์มเลี้ยงสัตว์เลย พวกเขาได้รับการแสดงเรื่องราวต่างๆให้เห็นโดยผ่านวิดีโอต่างๆเกี่ยวกับหมู 20 ตัวที่มีปฏิกริยากับสิ่งๆหนึ่งภายใต้เงื่อนไขมาตรฐานต่างๆ (ตัวอย่างการทดลองก็คือ นำเอาปากกาด้ามหนึ่งไปวางกับฟางข้าว และ Wemelsfelder เสนอสิ่งนี้ต่อพวกมันเพื่อให้มันมีปฏิกริยาต่อสิ่งดังกล่าว). และหลังจากที่ได้เห็นปฏิกริยาของหมูกับเงื่อนไขนี้แล้ว แต่ละคนก็ประเมินพฤติกรรมของหมูอย่างอิสระ คนทั้ง 18 คนได้ มีการใช้คำอธิบายต่างๆที่พวกเขารู้สึกว่า ได้แสดงออกถึงคุณภาพของพฤติกรรมที่ได้รับการสังเกตุ. คำที่นำมาใช้ มีทั้ง “ชอบสังคม”(sociable), “อยากรู้อยากเห็น”(inquisitive), “สนใจ”(interested), “ชอบเล่น”(playful), ชอบพักผ่อน(relaxed), ไม่ค่อยสงบ(agitated), “ชอบพักผ่อน”(relaxed), และอื่นๆ.

ต่อมา ข้อมูลอันนี้ได้ถูกนำมาใช้อ่านเพื่อดูว่า ถ้าหากมันมีความสอดคล้องต้องกันระหว่างปัจเจกชนแต่ละคน ในการประเมินปฏิกริยาของหมูกับเงื่อนไขการทดลอง ก็แสดงว่าการประเมินในเชิงคุณภาพ สามารถที่จะนำไปสูการเผยให้เห็นการประเมินในเชิงปริมาณได้ (โดยพวกหมู ผ่านพฤติกรรมต่างๆของพวกมัน). ปฏิบัติการอันนี้, เรียกว่า”การเลือกบรรยายอย่างอิสระ”(free choice profiling), ซึ่งตามปกติได้ถูกนำมาใช้ในการประเมินหรือกำหนดคุณภาพของอาหารหรือเครื่องดื่ม.

ในการศึกษาหมู มันมีความสอดคล้องต้องกันในระดับที่สูงมากในการประเมินต่างๆของปัจเจกชนทั้งหลายที่มีเบื้องหลังประสบการณ์ที่ต่างกัน, ถึงแม้ว่า จะมีคนบางคนซึ่งบรรยายต่างออกไป และมีความเห็นที่ไม่สอดคล้องกับคนอื่นก็ตาม. จะเห็นได้ว่า การดำเนินการนี้ได้รักษาสาระสำคัญอันหนึ่งของระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์เอาไว้: นั่นคือ ความรู้ที่เชื่อถือได้ซึ่งขึ้นอยู่กับความเห็นสอดคล้องกันระหว่างปัจเจกแต่ละคน ผู้ซึ่งยอมรับหรือมีความเห็นลงรอยกันเกี่ยวกับการสังเกตุ.

มันไม่มีอำนาจต่างๆในทางวิทยาศาสตร์. แต่ละคนมีสิทธิที่จะไม่เห็นด้วยกับมติส่วนใหญ่, และพวกเขาสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงมันได้โดยการทำให้คนอื่นๆเชื่อว่า การประเมินของพวกเขามันลงรอยกันมากกับหลักฐานเท่าที่จะหาได้. การศึกษาเรื่องหมูได้แสดงให้เห็นว่า การตัดสินของคนนั้น ในเรื่องเกี่ยวกับคุณภาพต่างๆของประสบการณ์ที่เป็นอัตวิสัยในเรื่องสัตว์เป็นสิ่งที่เชื่อถือได้. มันได้บ่งชี้ว่า สิ่งที่เราทำตลอดเวลาในชีวิตความเป็นอยู่ของเรานั้น ในเรื่องของการประเมินเกี่ยวกับคุณภาพต่างๆ มิได้เป็นไปตามอำเภอใจ และมีลักษณะเฉพาะตัว แต่โดยพื้นฐานแล้วมันเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้. ความสามารถอันนี้เป็นบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งสามารถที่จะได้รับการบ่มเพาะขึ้นมาอย่างเป็นระบบได้ในทางวิทยาศาสตร์, สร้างดุลยภาพขึ้นมาบนวิธีการเชิงปริมาณและการวิเคราะห์. ดังนั้น เราจึงมาถึงวิทยาศาสตร์อันหนึ่งที่ได้รวมเอาเรื่องของคุณภาพเข้ามาด้วย เช่นเดียวกับเรื่องของปริมาณ.

การมีส่วนร่วม(Participation)

ปัจจุบัน เราได้เรียนรู้ถึงธรรมชาติอันละเอียดอ่อน ซึ่งดำรงอยู่ภายในหลักการต่างๆเกี่ยวกับการอุบัติขึ้นมาในเชิงสร้างสรรค์, มันเป็นแบบแผนที่มีเหตุผลอันหนึ่งที่จะต้องเรียนรู้อย่างเท่าเทียมในความเกี่ยวโยงของเรากับกระบวนการทางธรรมชาติ. อันนี้มีนัยะว่า เราได้บ่มเพาะ ไม่เพียงสติปัญญาในเชิงวิเคราะห์ของเราขึ้นมาเท่านั้น ในความเข้าใจถึงรูปการณ์ต่างๆซึ่งเข้าใจได้ของธรรมชาติ, แต่ยังหมายรวมถึงการหยั่งรู้(intuition)ของเราในฐานะที่เป็นพาหนะของความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ที่อุบัติขึ้นมาของกระบวนการทางธรรมชาติ ซึ่งรวมไปถึงการสร้างสรรค์ของพวกเราเองด้วย.

การบ่มเพาะการหยั่งรู้(intuition)ขึ้นมา เป็นวิธีการเชิงปฏิบัติที่รอบคอบสุขุม ในการค้นคว้าสืบสวน ซึ่งได้ให้ความสนใจต่อความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นมาในการเผชิญหน้าอย่างเป็นระบบด้วยกระบวนการทางธรรมชาติ, เช่นเดียวกับการสำรวจอย่างละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติเฉพาะต่างๆในด้านจำนวน ซึ่งได้นำไปสู่ประสบการณ์อันหนึ่งของทั้งหมด และคุณภาพต่างๆของพวกมัน. ความเป็นทั้งหมดอันนั้นเป็นองค์ระบบหนึ่ง ซึ่งคุณสมบัติที่เด่นชัดของมัน เราต้องการทำความเข้าใจ เพื่อที่จะบอกเล่าถึงมันได้อย่างเหมาะสม. เช่นดังตัวอย่างที่ผ่านมาข้างต้น, เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคที่สอดคล้องต้องกันซึ่งปรากฎขึ้นมาจากอาการต่างๆชุดหนึ่ง จากคุณภาพต่างๆของสุขภาพ ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อการบำบัดรักษาที่เหมาะสม. โดยการให้ความสนใจกับความรู้สึกและการหยั่งรู้(intuition) และการบ่มเพาะมันขึ้นมา ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวิถีแห่งความรู้ซึ่งได้มาและเชื่อถือได้เกี่ยวกับโลก, เราสามารถเรียนรู้เพื่อการมีส่วนร่วมอย่างละเอียดอ่อน แทนที่จะควบคุมหรือจัดการ.

นัยะต่างๆของโลกทัศน์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง. ส่วนกระบวนทัศน์เกี่ยวกับการควบคุมของวิทยาศาสตร์ เกิดขึ้นมาจากการแยกส่วนกันอันหนึ่งระหว่างผู้ควบคุม กับสิ่งที่ถูกควบคุม, การแยกตัวของตัวเองจากวัตถุ, การแยกตัวของมนุษย์จากธรรมชาติ. อันนี้พัฒนาขึ้นมาจากการแบ่งแยกแบบ Cartesian (หมายถึงพวกที่ยึดถือตามความคิดของ Decartes) ซึ่งแยกจิตออกจากสสาร. แต่อย่างไรก็ตาม การฟื้นฟูเรื่องของคุณภาพต่างๆในฐานะที่เป็นรูปการณ์ของวัตถุวิสัยที่สังเกตุการณ์ได้เกี่ยวกับโลก เรียกร้องว่า เราจะต้องคิดกันใหม่ถึงนิยามความหมายเกี่ยวกับสสาร.

พวกเราและสิ่งที่มีชีวิตอย่างอื่นๆได้ปรากฎตัวขึ้นมาโดยผ่านกระบวนการวิวัฒนาการ ซึ่งโดยทั่วไปได้รับการพิจารณาว่าเริ่มต้นขึ้นมาจากสสารที่ไม่มีชีวิต. แต่ต่อมา คุณภาพต่างๆและประสบการณ์มันมาจากที่แห่งใดกันล่ะ ? อันที่จริงถ้าหากว่า มันคือคุณสมบัติต่างๆที่อุบัติขึ้นของสิ่งมีชีวิตที่สลับซับซ้อน, มันก็จะต้องมีศักยภาพในสสาร สำหรับการอุบัติขึ้นมาของมันเช่นกัน. ความสอดคล้องลงรอยกันเรียกร้องว่า สสารมันมีรูปลักษณ์พื้นฐานบางอย่างของความรู้สึกในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งเกี่ยวกับธรรมชาติของมัน; อีกอย่างหนึ่ง เรามีสิ่งมหัศจรรย์ของการได้มาซึ่งบางสิ่งจากการไม่มีอะไรเลย.

นี่เป็นบทเรียนที่ยากมากสำหรับวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้เห็นร่วมกันหรือยอมรับได้ แต่มันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปฏิวัติบางอย่างในความคิดของพวกเราที่จะให้เกิดขึ้น ถ้าหากว่า ปมหรือเงื่อนไขแนวคิดแบบ Decartes ่จะไม่รู้สึกโกรธเคืองหรือคำรามเข้าใสเสียก่อน. ในเวลาเดียวกัน มันเป็นไปได้ที่ศาสตร์ทั้งสองจะมาร่วมกันอีกครั้งระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์ในระบบการศึกษาของเรา   เพื่อบ่มเพาะความละเอียดอ่อนในเรื่องคุณภาพขึ้นมาสำหรับการมีชีวิตอยู่อย่างมีส่วนร่วมโดยไม่ต้องถูกกระทำในลักษณะของการแบ่งแยก.

Brain Goodwin

(Brian Goodwin will teach a course at Schumacher College in January 2001. For further information ring 01803 865934.)

 

  Back to midnight's home email : midnightuniv(at)yahoo.com