H

เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่อการศึกษาสำหรับสังคมไทย :

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 359 หัวเรื่อง
บทความเกี่ยวกับแนวภาพยนตร์
สมเกียรติ ตั้งนโม:
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

(บทความนี้ยาวประมาณ 14 หน้า)
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้

บทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สามารถคัดลอกไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ หากนำไปใช้ประโยชน์ กรุณาแจ้งให้ทราบที่

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com

080347
release date
R
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
Wisdom is the ability to use your experience and knowledge to make sensible decision and judgements

บทความเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม
วิเคราะห์แนวภาพยนตร์ในโลกตะวันตก
สมเกียรติ ตั้งนโม
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความนี้ ยาวประมาณ 14 หน้ากระดาษ A4
เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ 8 มีนาคม 2547

บทความชิ้นนี้มาจากหนังสือเรื่อง Media and Society ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 เขียนโดย Michael O' Shaughessy และ Jane Stadler
สำนักพิมพ์ Oxford University Press ปีที่พิมพ์ 2002
(ในส่วนของ Part 3, Chapter 9 เรื่อง Genres, Codes, and conventions หน้า 113-119)


วิเคราะห์แนวภาพยนตร์ในโลกตะวันตก
Dreams give birth to plans and the realising of plans gives birth to further dreams.
ความฝันได้ให้กำเนิดแผนการต่างๆ และการทำให้แผนการต่างๆเป็นจริง ได้ให้กำเนิดความฝันต่างๆต่อมา
Bannister and Fransella 1980, p.80

"เรื่องเพศ, เรื่องเงิน, และความรุนแรง, ทั้งหมดนี้เราเคยเห็นกันมาแล้ว" เหล่านี้คือคำพูดของคนในวัยกลางคนรุ่นเก่าของยุโรปตะวันออกคนหนึ่ง ซึ่งได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพยนตร์ในชั้นเรียนภาคค่ำที่ครั้งหนึ่งผมเป็นผู้สอน ดูเหมือนว่าสำหรับผมแล้ว พวกเขาเหล่านั้นเป็นคนที่ถูกห่อหุ้มอยู่ในแคบซูลที่สมบูรณ์แบบ และได้สะท้อนเกี่ยวกับสิ่งที่ภาพยนตร์ยอดนิยมได้ให้อะไรบางอย่างกับเรา

ถ้าคุณรวมเอาอาชญากรรมไปอยู่ข้างๆกับเรื่องเงินและความรุนแรง นั่นล่ะ ผมจะรู้สึกเห็นด้วยกับเขาทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม น้ำเสียงเกี่ยวกับข้อสังเกตข้างต้น มีลักษณะที่ไม่พอใจนักและรู้สึกขุ่นเคือง เขามองว่าภาพยนตร์เป็นการส่งเสริมสนับสนุนอุดมคติแบบทุนนิยม เป็นเรื่องที่ไม่สมจริง เป็นความเพ้อฝันเพื่อความหลุดพ้นจากพันธะต่างๆ และเป็นความรุนแรงที่ปราศจากศีลธรรม

ในทางตรงข้าม การยอมรับของผมมีลักษณะเป็นไปในเชิงบวกกับมันมากกว่า: ผมกล่าวว่า "ใช่, มันไม่น่าพิศวงหรอกรึ? ขอให้ผมได้ตรวจตราดูอย่างละเอียดมากขึ้นอีกได้ไหม? การขานรับที่เป็นไปในเชิงบวกของผมมีพื้นฐานอยู่บนความพึงพอใจ ความตื่นเต้น และความเพ้อฝันเหล่านี้ซึ่งเป็นสิ่งที่กระตุ้นความรู้สึกเร้าใจสำหรับผมในฐานะผู้ดู แต่มันก็เป็นการขานรับอันหนึ่งด้วย ซึ่งยืนยันว่า ภาพยนตร์ยอดนิยมเป็นสิ่งที่น่าสนใจและมีนัยสำคัญ

ทั้งนี้เพราะ มันเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาต่างๆที่มีศูนย์กลางอยู่ที่สังคมทุนนิยมสมัยใหม่. โดยการเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ, เงิน, อาชญากรรม, ความตาย, และความรุนแรง ภาพยนตร์ยอดนิยมได้สำรวจถึงความขัดแย้งต่างๆซึ่งวางอยู่กลางหัวใจของวิถีชีวิตที่เราดำรงอยู่

ภาพยนตร์แนวป๊อปเหล่านี้ ไม่เพียงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนค่านิยมของสังคมตะวันตกเท่านั้น; พวกมันไม่เป็นเพียงแค่การหนีให้พ้นไปจากตัวเองที่ไร้สาระและไม่เข้าท่า อันที่จริงแล้ว พวกมันคือสถานที่หนึ่งซึ่งเราสามารถที่จะคิดหาทางออกเกี่ยวกับประเด็นปัญหาสำคัญต่างๆที่เราสนใจได้

ภาษาของภาพยนตร์และโทรทัศน์ เป็นตัวอย่างอันหลากหลายของเทคนิคเกี่ยวกับการจัดฉาก(mise en scene), การถ่ายทำภาพยนตร์(cinematography), การตัดต่อ(editing), และการบันทึกเสียง(sound)[Bordwell and Thompson 2001) - มันเป็นปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่งในการที่เรื่องราวต่างๆได้ผลิตความหมายและส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกออกมา

มันถูกนำไปเกี่ยวข้องกับความเรียงซึ่งเป็นแบบจำลองอันหนึ่งในการวิเคราะห์ชิ้นส่วนสั้นๆอันหนึ่งของภาพยนตร์ - ฉากเปิดตัวต่างๆของเรื่อง Blue Velvet ความเรียงชิ้นนี้มจุดมุ่งหมายที่จะนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างใกล้ชิดอันหนึ่ง ซึ่งได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษลงไปที่เทคนิคต่างๆของภาษาภาพยนตร์ มันจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการที่จะดูภาพยนตร์เรื่อง Blue Velvet โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลำดับฉากเกี่ยวกับการเปิดตัว ก่อนที่จะอ่านความเรียงชิ้นนี้

ความเรียงชิ้นที่กล่าวถึงนี้ยังรวมเอาเชิงอรรถ การอ้างอิง และบรรณานุกรมเข้าไปด้วย ดังที่มันควรจะเป็นกับความเรียงชิ้นอื่นๆในการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสื่อ. นอกจากนี้ มันยังรวบรวมเอาความล้มเหลวเกี่ยวกับการถ่ายทำภาพยนตร์เข้ามาด้วย ซึ่งอันนี้เป็นเครื่องมืออันหาค่ามิได้อันหนึ่งสำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ซึ่งจะช่วยคุณให้เห็นถึงแก่นแท้ต่างๆในการพิจารณาเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์

ในที่นี้ เพราะภาพยนตร์และโทรทัศน์ทำงานอย่างโดดเด่นโดยการนำเสนอเรื่องราวต่างๆ หรือเล่าเรื่องให้เราดูในแบบต่างๆที่เราคุ้นเคย เราจะสาธิตให้เห็นถึงว่า จะใช้โครงสร้างการเล่าเรื่อง, จะใช้ความตรงข้ามคู่ขนาน(binary oppositions), และขนบประเพณีทั่วๆไปในฐานะที่เป็นเครื่องมือต่างๆของการวิเคราะห์ภาพยนตร์และโทรทัศน์อย่างไร. ผลงานอันนี้มีพื้นฐานอยู่บนวิธีการเชิงโครงสร้างนิยมในการเข้าถึงสื่อ ซึ่งในตอนสุดท้าย เราได้เสนอวิธีการเล่าเรื่องที่แตกต่างกันอันหนึ่ง ซึ่งรับมาจากผลงานของ Joseph Campbell และ Carl Jung

Genres, Codes, and Conventions
แนวภาพยนตร์, ระหัส, และขนบธรรมเนียมต่างๆ

แนวภาพยนตร์(Genres)
การวิเคราะห์ภาพยนตร์เรื่อง Blue Velvet ได้อ้างอิงอย่างหลากหลายถึงภาพยนตร์และโทรทัศน์ประเภทต่างๆ สำหรับคำว่า Genre หมายถึงแบบฉบับ(type)อันหนึ่งของภาพยนตร์หรือโปรแกรมรายการ. การกล่าวว่าภาพยนตร์หรือโปรแกรมรายการหนึ่ง อยู่ในแบบฉบับที่มีลักษณะเฉพาะอันหนึ่ง(a particular genre) ก็คือการกล่าวว่า มันได้มีส่วนร่วมในคุณลักษณะเฉพาะชุดหนึ่ง อย่างเช่น แบบฉบับของเรื่องราวและสไตล์ที่มองเห็น(story type and visual style) กับกลุ่มของภาพยนตร์หรือโปรแกรมรายการอื่นๆกลุ่มหนึ่ง

ในทำนองเดียวกัน หมายความว่า เราสามารถที่จะแยกแยะประเภทของภาพยนตร์หรือโปรแกรมรายการต่างๆได้อย่างรวดเร็วว่า มันเป็นประเภทหนึ่งประเภทใดโดยเฉพาะ(a particular genre) - เช่น เรื่องขนพองสยองเกล้า, เกี่ยวกับเพลง, ละครน้ำเน่า, ตลกเบาสมอง, และอื่นๆ โดยจดจำได้ถึงระหัสและขนบธรรมเนียมต่างๆของมันที่เราคุ้นเคย

การจัดประเภท เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อ :

1. การจัดประเภทเป็นประโยชน์ต่อบรรดาผู้ผลิตทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้สร้างและผู้จำหน่ายผลผลิตของพวกเขา โดยการแยกแยะมันในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของผลสำเร็จที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงซื้อขายกันในตลาดอันเป็นหลักการทั่วๆไป

2. การจัดประเภทยังเป็นประโยชน์ต่อบรรดาผู้สร้างภาพยนตร์ ผู้ซึ่งสามารถที่จะสื่อสารได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว โดยผ่านสูตรสำเร็จเหล่านี้ และสามารถที่จะทำงานอย่างสร้างสรรค์ภายในรูปแบบดังกล่าวได้ด้วย

3. นอกจากนี้การจัดประเภทยังให้ประโยชน์ต่อบรรดาผู้ดูทั้งหลาย ซึ่งได้ใช้การแยกแยะประเภทในฐานะที่เป็นพื้นฐานอันหนึ่งสำหรับทางเลือกของพวกเขา เกี่ยวกับภาพยนตร์ต่างๆ และใช้ประโยชน์มันในฐานะที่เป็นกุญแจสำคัญดอกหนึ่ง ในการทำความเข้าใจภาพยนตร์เหล่านั้น

ภาพประกอบ : เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากการแยกประเภท. บรรดาผู้ที่ใช้การจัดแบ่งประเภทในแผนภาพนี้ประกอบด้วย(อุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์ ผู้สร้างภาพยนตร์ และบรรดาผู้ดูทั้งหลาย) ซึ่งได้ใช้สูตรสำเร็จทั่วๆไปในการจัดแยกประเภทมาเป็นประโยชน์

เราอาจตั้งคำถามว่า ทำไมผู้คนยังคงดูภาพยนตร์ประเภทต่างๆอยู่อีก ในเมื่อธรรมชาติของพล็อตเรื่องมันมีสูตรสำเร็จอยู่แล้ว คำตอบก็คือ

โดยทั่วไปแล้วภาพยนตร์ประเภทต่างๆ มันง่ายและตรงไปตรงมาที่จะคาดเดาได้ว่า เรื่องราวของภาพยนตร์จะเป็นไปอย่างไรและจบลงที่ตรงไหน แต่อย่างไรก็ตาม สำนึกเกี่ยวกับความรู้นี้มันได้ให้ความพึงพอใจในตัวของมันเอง คนเหล่านั้นที่ดูภาพยนตร์ประเภทต่างๆ บ่อยครั้งจะพบกับความรู้สึกพึงพอใจอันหนึ่ง ในภาวะที่พวกเขาสามารถจะคาดเดาได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป และพวกเขายังมีความพึงพอใจด้วยในการมีความคาดหวังเหล่านี้ได้ถูกหักมุม ถูกเปลี่ยนแปลงไป หรือยืนยัน

ภาพยนตร์ที่หลอกให้เรารู้สึกหวาดผวา ร้องกรี๊ด นับว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง เพราะว่ามันทำให้คุณลักษณะเฉพาะต่างๆของภาพยนตร์ประเภทนี้เผยตัวออกมาอย่างชัดเจน และทำมันใหม่อีกครั้งได้อย่างสนุกสนาน. บรรดาผู้บริโภคที่หิวกระหายในภาพยนตร์ประเภทนี้ ชอบความน่าขนพองสยองเกล้าและนวนิยายวิทยาศาสตร์ พวกเขายังเป็นผู้เชี่ยวชาญและช่ำชองการอ้างอิงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลกับภาพยนตร์แนวอื่นๆด้วย และจดจำได้ถึงภาพที่คุ้นเคยและแบบแผนต่างๆซึ่งแสดงคุณสมบัติของภาพยนตร์แนวนี้ และพวกเขารู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลินกับความรู้ความชำนาญดังกล่าวด้วย

การศึกษาเกี่ยวกับการแบ่งประเภทหรือแยกแนวภาพยนตร์(Genre study) วิวัฒน์ขึ้นมาในฐานะที่เป็นวิธีการหนึ่งของการศึกษาภาพยนตร์ฮอลีวูด มันแสดงให้เห็นหลายสิ่งหลายอย่างดังต่อไปนี้

1. การแบ่งประเภทส่วนใหญ่ เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ในทันที โดยผ่านภาพลักษณ์ที่คุ้นเคยของพวกมัน การใช้ประโยชน์บ่อยๆของพวกมันเกี่ยวกับภาพที่ปรากฏกับตา: ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์แนวตะวันตก(Western genre - หนังคาวบอย) ที่เต็มไปด้วยคาวบอย, หมวก, ปืน, ม้า, ฝูงวัว, รถไฟ, ร้านเหล้า, ฉากของเมืองชายแดน, และอื่นๆ

2. แนวเรื่อง[ภาพยนตร์](Genre Stories) ทำงานโดยผ่านพล็อตเรื่องซึ่งเราคุ้นเคยและซ้ำๆ และบรรดาผู้กำกับเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น John Ford, Howard Hawks, และ Sam Peckinpah, จะทำงานอยู่ภายใต้พล็อตเรื่องทั่วๆไปเหล่านี้ (ในกรณีของผู้กำกับทั้งหลายที่กล่าวถึงข้างต้น มักสร้างภาพยนตร์แนวตะวันตก) พวกเขาจะผลิตภาพของสังคมอเมริกันต่างๆที่บ่อยครั้งค่อนข้างสลับซับซ้อน และเต็มไปด้วยความช่ำชองอย่างลึกซึ้งออกมา

3. การแบ่งประเภทจะค่อยปรากฏขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เคียงข้างไปกับการผลิตซ้ำของระหัสต่างๆรวมถึงจารีตที่เราคุ้นเคย การแปรผันไปต่างๆในแนวเรื่องดังกล่าวจะถูกนำเสนอออกมา ซึ่งจะให้ความผันแปรใหม่ๆ และบ่อยครั้ง จะให้ทิศทางใหม่ๆต่อแนวเรื่องนั้นๆ ดังตัวอย่างเช่น

ภาพยนตร์แนวตะวันตก ที่ได้รับการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาใหม่โดยผู้กำกับอย่าง Sam Peckinpah ซึ่งได้นำเสนอความเงียบเหงา และเป็นตัวแทนต่างๆของความรุนแรงยิ่งกว่า โดยมันเป็นภาพยนตร์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกรู้จักกันในฐานะ Spaghetti Western (ภาพยนตร์แนวตะวันตกแบบสปาเก็ตตี้) (หมายถึงภาพยนตร์แนวตะวันตกที่ได้รับการสร้างขึ้นมาโดย ผู้สร้างภาพยนตร์ชาวอิตาเลียน และบ่อยครั้งครั้งถ่ายทำกันในประเทศสเปน - ที่เด่นสะดุดตามากที่สุดคือการร่วมมือกันทำงานของ Sergio Leone - Clint Eastwood)

ตัวอย่างอีกอันหนึ่งเกี่ยวกับความสามารถในการกลายพันธุ์ของแนวภาพยนตร์ก็คือ การวิวัฒนาการของภาพยนตร์ที่เรียกว่า film noir - ซึ่งภาพยนตร์เหล่านี้จะเต็มไปด้วยความตื่นเต้นเร้าใจ มืดๆดำๆ และมีความสลับซับซ้อน ส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นมาเป็นภาพยนตร์ขาวดำในช่วงทศวรรษที่ 1940s -1950s - ซึ่งหวนกลับมาสู่ภาพยนตร์สีในช่วงทศวรรษที่ 1970s, 1980s, และ 1990s. ด้วยเหตุนี้ ประเภทของภาพยนตร์จึงสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง โดยรวมเอาปัจจัยใหม่ๆเข้าไปและผลิตความหมายใหม่ๆขึ้นมา

4. ในท้ายที่สุด Steven Neale เสนอว่า ภาพยนตร์บางประเภทจะโฟกัสลงบน"แก่นแกนของปัญหาอันหนึ่ง", ประเด็นปัญหาที่มีความสำคัญทางสังคม ซึ่งประเภทภาพยนตร์ได้ทำการสำรวจ ยกตัวอย่างเช่น แก่นแกนของปัญหาสังคมตะวันตก คือความขัดแย้งกันระหว่าง, ในด้านหนึ่ง"ระเบียบและกฎเกณฑ์", และอีกด้านหนึ่ง "เสรีภาพที่อยู่เหนือกฎเกณฑ์ต่างๆ" อันนี้คือความขัดแย้งกันอันหนึ่งที่เป็นประเด็นปัญหาหลักสำหรับสังคมอเมริกัน

ภาพยนตร์แนวตะวันตก คือพื้นที่ว่างอันหนึ่งสำหรับทางออกของปัญหาทุกๆชนิดเกี่ยวกับฉากของเรื่องราวต่างๆรายรอบประเด็นปัญหาเหล่านี้ และการศึกษาภาพยนตร์แนวตะวันตก จะให้โอกาสอันหนึ่งที่ทำให้มองเห็นว่า ประเด็นปัญหาสังคมนี้เป็นไปอย่างไร และมันยังคงอยู่ และจะเกี่ยวข้องกับมันอย่างไร

ทฤษฎีเกี่ยวกับการแบ่งประเภทภาพยนตร์ ได้รับการสร้างขึ้นมาสำหรับภาพยนตร์ยอดนิยมหรือป๊อปปิวล่าร์ ในช่วงที่ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ได้ถูกจัดวางอย่างง่ายๆในการแบ่งประเภทที่สำคัญๆไม่กี่อย่าง นับจากนั้นเป็นต้นมา สิ่งต่างๆจำนวนมากได้บังเกิดขึ้น

อันดับแรก, เป็นการมาถึงของโทรทัศน์ ที่ได้ขยับขยายขอบเขตของวัฒนธรรมภาพยนตร์ให้กว้างขวางออกไปมากยิ่งขึ้น และได้สร้างรูปแบบต่างๆของรายการโทรทัศน์ขึ้นมาใหม่ชุดหนึ่งหรือประเภทหนึ่ง - เช่น รายการเกมโชว์ต่างๆ, รายการที่เกี่ยวกับเรื่องราวในปัจจุบัน, ละครตลกเบาสมองที่เรียกว่า(situation comedies - หมายถึงการแสดงที่ใช้ตัวละครชุดเดิม ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่างๆที่เป็นเรื่องของความตลกขบขัน), ละครน้ำเน่า(soap opera), รายการทีวีที่ถ่ายทอดเหตุการณ์จริง(reality TV) และอื่นๆ

อันดับที่สอง, เคียงข้างกับภาพยนตร์ โทรทัศน์ได้บุริมสิทธิ์ในการหมุนเวียนเอาภาพยนตร์เก่าๆมาเสนอซ้ำ ภาพยนตร์เหล่านี้โดยทั่วไป หลังจากที่มันออกฉายแล้วก็ได้หายไปจากสายตาของสาธารณชน แต่โทรทัศน์ได้นำมันกลับมาใหม่ ดังนั้น โทรทัศน์จึงช่วยบ่มเพาะบรรดานักดูสื่อรุ่นใหม่ขึ้นมา ซึ่งเป็นผู้รอบรู้อย่างไม่น่าเชื่อและมีความช่ำชองในฐานะผู้ดูทั้งหลาย

บรรดาผู้ดูสื่อรุ่นใหม่นี้ได้มีโอกาสดูภาพยนตร์ยอดนิยมจำนวนมาก และโทรทัศน์ได้เป็นตัวที่มาช่วยยืดขยายหรือทอดข้ามยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อย่างสำคัญ. ขณะที่พวกเขาอาจไม่ได้ศึกษาเรื่องสื่อ แต่พวกเขาก็รู้อะไรมากมายเกี่ยวกับข้อมูลสื่อต่างๆ รู้ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับเทคนิค และเทคโนโลยี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขารู้เกี่ยวกับการแบ่งแยกประเภทภาพยนตร์ต่างๆ

บรรดานักสร้างโปรแกรมรายการทั้งหลาย ต้องมีความรู้เกี่ยวกับทักษะความชำนาญต่างๆของคนที่ติดตามงานของพวกเขา: พวกเขาจะต้องเสนอเรื่องราวที่แปลกใหม่ ที่จะจับคว้าหรือทำให้คนดูทั้งหลายตกเป็นทาสของความบันเทิง แต่พวกเขาก็จะต้องให้ความไว้วางใจต่อผู้ดูด้วยว่า พวกเขาเหล่านั้นสามารถที่จะรู้สึกซาบซึ้งไปกับมันได้ แม้ว่าจะไม่สามารถวิเคราะห์ถึงความแปรผันที่สลับซับซ้อนเกี่ยวกับประเภทของภาพยนตร์ได้จริงๆจังๆก็ตาม

อันดับที่สาม, ผลที่ตามมาเกี่ยวกับอันนี้คือ สิ่งที่ได้รับการเรียกขานว่า"การทำให้เป็นลูกผสม"(hybridisation) หรือการผสมผสานกันระหว่างภาพยนตร์แนวต่างๆ หรือ การตัดข้ามกันไปมา อย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่อง Blue Velvet ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของการผสมผสานกัน คือ การที่ปัจจัยต่างๆของภาพยนตร์แนวต่างๆจำนวนหนึ่ง ปรากฎขึ้นมารวมอยู่ในภาพยนตร์เพียงเรื่องเดียว

ประเด็นคือว่าบรรดานักสร้างโปรแกรมรายการต่างๆ สามารถที่จะให้ความไว้วางใจในความเข้าใจของผู้ดูเกี่ยวกับระหัสที่มากมายต่างๆเหล่านี้ การผสมผสานกันของภาพยนตร์หลายๆแนว ได้ให้ความพออกพอใจกับผู้ดูได้มากกว่า และทำให้ผู้สร้างโปรแกรมรายการต่างๆมีความเป็นไปได้มากขึ้น และทำให้มีส่วนแบ่งในตลาดกว้างขวางขึ้น ยกตัวอย่างเช่น

การผสมผสานกันไปหมดของ Jackie Chan ในภาพยนตร์เรื่อง Shanghai Noon ซึ่งเป็นที่ดึงดูดใจแฟนๆเกี่ยวกับภาพยนตร์แนวตะวันตก, ภาพยนตร์เกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้, ละครย้อนยุค และเรื่องตลกเข้าด้วยกัน (สไตล์หลังสมัยใหม่นี้จะได้มีการพูดถึงต่อไปในโอกาสหน้า)

สำหรับตัวอย่างที่สำคัญทางโทรทัศน์ รวมถึงเรื่อง Twin Peaks (กำกับโดย David Lynch), Ally McBeal, และ South Park ซึ่งทั้งหมดของภาพยนตร์โทรทัศน์เหล่านี้ เป็นการบุกเบิกในเทอมต่างๆของวิธีการที่พวกมันตัดข้ามแนวภาพยนตร์ต่างๆ

Thelma and Louise: ภาพยนตร์แนวตะวันตก, แนวฉากบนท้องถนน, และแนวเพื่อนคู่หู
(Thelma and Louise: The Western, the road movie, and the buddy movie)

เราสามารถที่จะเห็นถึงความรุ่มรวยและอุดมสมบูรณ์ เกี่ยวกับลักษณะลูกผสมอันนี้ที่เผยตัวอยู่ในภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise, ซึ่งนับเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดตัวอย่างหนึ่งของการผสมผสานกัน ทั้งนี้เพราะมันได้บรรจุปัจจัยต่างๆเกี่ยวกับแนวภาพยนตร์ที่หลายหลากเอาไว้ อย่างน้อยที่สุดคือ มันได้รวมเอาภาพยนตร์สามแนวเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ ภาพยนตร์แนวตะวันตก, แนวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนท้องถนน, และแนวเพื่อนคู่หู รวมอยู่ในเรื่องเดียวกัน

สิ่งที่ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นที่น่าสนใจ ในเทอมต่างๆเกี่ยวกับแนวเรื่องก็คือ วิธีการที่มันได้หยิบเอาภาพยนตร์แนวผู้ชาย(male genre)ในแบบจารีต และสร้างความหมายใหม่โดยการสร้างให้ผู้หญิงเป็นตัวละครเอกในเรื่อง มันเป็นการวางผู้หญิงลงในขนบจารีตเกี่ยวกับบทภาพยนตร์ของผู้ชาย

ภาพยนตร์แนวตะวันตก(The Western)
แกนกลางของเรื่องราวภาพยนตร์แนวตะวันตกคือ การสำรวจถึงขอบเขตและความแตกต่างระหว่างสังคมที่เจริญแล้ว, ซึ่งธำรงรักษาสังคมได้โดยผ่านการสร้าง"ระเบียบและกฎเกณฑ์"ขึ้นมา, กับ"อิสรภาพหรือความไร้ระเบียบ" ซึ่งมีรากฐานอยู่ในสังคมที่ยังไม่เจริญหรืออนารยะ (ความป่าเถื่อน หรือสวนสวรรค์ที่อยู่พ้นชายแดน)

เรื่องราวของภาพยนตร์แนวนี้ บ่อยครั้ง จะเป็นเรื่องของการสถาปนาระเบียบและกฎเกณฑ์ต่างๆขึ้นมาของพระเอกท่ามกลางความป่าเถื่อน (มันเป็นการนำเอาอารยธรรมมาสู่ดินแดนตะวันตก) หรือไม่ก็เป็นเรื่องของพระเอก ที่พยายามหนีห่างจากความเจริญหรือการคุมขังของอารยธรรมไปสู่การดำรงชีวิตที่อยู่เหนือกฎหมายและสังคมอย่างสมบูรณ์แบบ (บ่อยครั้ง อันนี้เป็นการเดินทางอันหนึ่งของการค้นพบตัวเองสำหรับการเป็นวีรบุรุษ)

ความคิดเกี่ยวกับการข้ามชายแดน, เกี่ยวกับการมุ่งตะวันตกสู่จุดหมายที่ชัดเจน(manifest destiny)[คำนี้หมายถึง ความเชื่อในเรื่องการแผ่ขยายของสหรัฐอเมริกาไปทั่วทั้งทวีป เป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลและเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้] ซึ่งคือแกนกลางของวัฒนธรรมอเมริกัน อันนี้ได้ย้อนกลับไปสู่การก่อตัวขึ้นมาอย่างแท้จริงของอเมริกา โดยบรรดาผู้ก่อตั้งอาณานิคมชาวยุโรป ผู้ซึ่งแสวงหาอิสรภาพเพื่อหลุดพ้นจากการคุมขังทางการเมืองและศาสนา บนดินแดนทวีปยุโรป
(สำหรับภาพยนตร์แนวนวนิยายวิทยาศาสตร์ ก็ได้พรรณาภาพอวกาศหรือไซเบอร์สเปซ ในฐานะที่เป็น"ปลายทางขอบเขต"(final frontier) ซึ่งยังคงเป็นการธำรงขนบจารีตอันนี้เอาไว้อย่างต่อเนื่องนั่นเอง)

อุดมคติของอเมริกาคือ"ดินแดนแห่งเสรีภาพและโอกาส" ซึ่งถูกหุ้มห่ออยู่ในแคปซูลในการแสวงหาอย่างต่อเนื่องสำหรับดินแดนใหม่ และเสรีภาพใหม่ ภาพยนตร์แนวตะวันตกจะทำการสำรวจถึงยุคสมัยในประวัติศาสตร์ ซึ่งอเมริกาได้สถาปนาอารยธรรมใหม่ของตัวเองขึ้นมาและพ้นไปจากความเป็นชายแดน

แต่อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์แนวตะวันตกแทบจะนำเสนอเรื่องราวนี้ในฐานะที่เป็นบทละครของผู้ชายเสมอ: ส่วนผู้หญิงนั้นเพียงถูกนำเสนอในฐานะตัวประกอบห้อยท้ายของตัวละครเอกเท่านั้น

ภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise ได้แสดงถึงขนบจารีตทั่วๆไปของภาพยนตร์แนวตะวันตก แม้ว่ามันจะได้รับการสร้างขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1980s ก็ตาม แต่มันได้ดึงเอาภาพลักษณ์ของภาพยนตร์แนวตะวันตกมาใช้อย่างมากมาย: มีฉากที่ได้รับการถ่ายทำเกี่ยวกับฝูงปศุสัตว์จำนวนมาก, ม้า, วัว, คาวบอย, ทั้งหมดนี้ไม่ค่อยจะสอดคล้องหรือเกี่ยวข้องกับพล็อตเรื่องเท่าใดนัก แต่มันเป็นรูปแบบของฉากหลังหรือ background เกี่ยวกับการเดินทางท่องไปของผู้หญิงโดยตลอด

เสื้อผ้าในสไตล์คาวบอยได้รับการสวมใส่โดยตัวละครต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Louise ซึ่งได้หนีไปยังเม็กซิโก อันนี้เป็นพล็อตเรื่องของภาพยนตร์แนวตะวันตกที่คุ้นเคยอันหนึ่ง เพราะเม็กซิโก ถือเป็นภาพตัวแทนของชายแดนและเสรีภาพ ที่พ้นไปจากการบีบบังคับของกฎหมาย

ภาพยนตร์ยังเกิดขึ้นในท่ามกลางทิวทัศน์ดินแดนตะวันตกด้วย ตัวอย่างที่ชัดเจนมากที่สุดต่างๆเกี่ยวกับเรื่องก็คือ ฉากทั้งหลายที่ได้รับการถ่ายทำใน Monument Valley, อันเป็นสถานที่หนึ่งที่คุ้นเคยกันสำหรับคนไปดูภาพยนตร์ เพราะมันมันได้ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องอื่นๆด้วยเป็นจำนวนมาก

Monument Valley ถือเป็นหนึ่งในภาพลักษณ์ที่สำคัญของวัฒนธรรมอเมริกัน มันเป็นภาพที่สำคัญของศิลปะซึ่งหวนกลับมาบ่อยๆในภาพยนตร์ที่กำกับโดย John Ford ซึ่งได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็น"ลายเซ็น"อันหนึ่งของเขาเลยทีเดียว ความหมายอันมากมายในฉากต่างๆของภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise ได้รับมาจากข้อเท็จจริงที่พวกมันได้อ้างอิงย้อนกลับไปยังขนบธรรมเนียมต่างๆของภาพยนตร์เหล่านี้ และได้มีการพัฒนาต่อมา

ฉากบางฉากเกี่ยวกับทิวทัศน์ Monument Valley ได้รับการถ่ายทำในยามค่ำคืน และอันนี้ได้แตกหักกับวิถีทางแบบขนบประเพณีของการถ่ายทำภาพยนตร์ ณ สถานที่แห่งนี้ การถ่ายทำในตอนกลางคืนทำให้ฉากที่ปรากฎกับตาเป็นสิ่งที่ไม่คุ้นชิน เป็นการแสดงถึงสถานที่ดังกล่าวในสภาพแสงที่แปลกใหม่ สิ่งที่ทำให้มันต่างไปจากขนบจารีตทั่วๆไปมากขึ้นก็คือ ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ผู้หญิงกำลังมีประสบการณ์และเฉลิมฉลองกับสิ่งที่เป็นเสรีภาพในแบบจารีตของผู้ชาย - อิสรภาพบนท้องถนน, อิสรภาพของการดำรงอยู่เหนือกฎหมาย - และพวกเธอกำลังทำมันในท่ามกลางสถานที่ของเพศชายมากที่สุด

อันนี้ดูประหนึ่งว่า ผู้หญิงกำลังอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ของผู้ชายสำหรับตัวของพวกเธอเอง และกำลังปลดปล่อยการท้าทายอันหนึ่งต่อความเป็นเพศชาย. อาจมีการถกเถียงว่า มันเป็นความคล้ายคลึงกันอันหนึ่งระหว่าง"พระเอกในภาพยนตร์แนวตะวันตก" กับ "Thelma and Louise ในส่วนที่ว่า พวกเธอได้ท้าทายต่อความมีอำนาจ หรือสิ่งซึ่งบางครั้งได้รับการอ้างอิงในเทอมของจิตวิเคราะห์ ในฐานะที่เป็น"กฎเกณฑ์ของผู้เป็นพ่อ"(the law of the father)

โดยเหตุข้างต้น ค่านิยมที่ผู้ชายเป็นวีรบุรุษของภาพยนตร์แนวตะวันตก จึงถูกกลับหัวกลับหาง โดยการรวมตัวกันของฉากภาพยนตร์แนวตะวันตกตามจารีตกับผู้หญิง ในฐานะที่เป็นตัวละครหลัก และโดยการถ่ายทำฉากภาพยนตร์นี้ในตอนกลางคืน

การผสมผสานกันดังกล่าวได้รับการทำให้เข้มข้นขึ้นโดยร่องเสียง ด้วยการร้องเพลงของตัวละครเอก Marianne Faithfull ในเพลง "The Ballad of Lucy Jordan, ซึ่งเป็นเพลงที่เหมาะสมมากกับตัวละคร Thelma and Louise แต่ตามธรรมเนียมแล้ว ดูไม่ค่อยจะเข้ากับการถ่ายทำภาพยนตร์ ณ Monument Valley เท่าใดนัก

สำหรับบรรดาผู้ชมทั้งหลายซึ่งมีความคุ้นเคยกับเรื่องราวของ Marianne Faithfull มันมีความหมายแฝงอะไรบางอย่างมากขึ้นไปกว่าในที่นี้… กล่าวคือ ความสำเร็จในเพลงป๊อปของเธอ เดิมทีเป็นนักร้องที่แสวงหาเสรีภาพที่ไร้เดียงสาคนหนึ่ง (ในที่นี้ใช้คำว่า flower child หมายถึงคนที่ปฏิเสธวัฒนธรรมที่มีอยู่ และแสวงหาเสรีภาพในทางการเมืองและสไตล์การใช้ชีวิต) ในช่วงทศวรรษที่ 1960s. ต่อมา เธอได้กลายเป็นผู้ตกเป็นเหยื่อของยาเสพติดอย่างรุนแรง และเรื่องอื้อฉาวต่างๆ และเธอได้หายหน้าไปจากโลกของความนิยม

แต่อย่างไรก็ตาม เธอได้ปรากฏตัวขึ้นมาใหม่อีกครั้งในทศวรรษที่ 1980s ในฐานะผู้หญิงที่เป็นผู้ใหญ่และมีรสชาติรุนแรง เสียงของเธอเป็นน้ำเสียงซึ่งมีพลังและกล้าหาญ. โดยเหตุนี้ เรื่องราวความเจริญเติบโตของเธอเอง จึงถูกนำมาเชื่อมโยงกันกับภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise ได้เป็นอย่างดี (และสามารถได้รับการอ่านเช่นนั้น โดยบรรดาคนที่มีความรู้เกี่ยวกับตัวเธอ)

ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับฉากบนท้องถนน (The road movie)
ภาพยนตร์ในแบบที่สองที่จะพิจารณากันก็คือ ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับฉากบนท้องถนน(the road movie). กล่าวอย่างสั้นๆ ภาพยนตร์ฉากบนท้องถนน จะให้ตัวละครทั้งหลายเดินทางเพื่อค้นหาอะไรบางอย่าง นั่นคือ ตัวละครจะเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆผ่านทิวทิศน์ซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และในเวลาเดียวกันก็เป็นการอุปมาอุปมัย ให้บรรดาตัวละครเหล่านี้ กำลังเดินทางท่องเที่ยวภายใน(inner journey)เพื่อค้นหาตัวเอง

แบบแผนต่างๆอันนั้นเกี่ยวกับการเดินทาง จะเปลี่ยนแปลงตัวละคร และพัฒนาการของตัวละครจะร่วมกันไปกับการเล่าเรื่องต่างๆที่มากมาย. การเดินทางในตัวของมันเองนั้น เกี่ยวพันกับการอ้าแขนรับความเปลี่ยนแปลง และความเป็นไปได้ในอนาคต และตัดขาดจากการบีบบังคับของขนบจารีต อำนาจหน้าที่ ความมีเสถียรภาพ ความเป็นปกติธรรมดา และความมั่นคงปลอดภัย

แนวเรื่องเหล่านี้ยังเกิดขึ้นในหนทางที่แตกต่างกันในภาพยนตร์ฉากบนท้องถนนอื่นๆด้วย อย่างเช่นเรื่อง Wild at Heart, Natural Born Killer, และ fear and Loathing in Las Vegas. เรื่องราวเหล่านี้ได้ถูกพบในโรงละคร, วรรณกรรม, และในภาพยนตร์. แต่ภาพยนตร์ฉากบนท้องถนนยังมีแก่นแท้อะไรบางอย่างมากกว่านั้น กล่าวคือในหลายๆทาง มันได้รับการสืบทอดมาจากภาพยนตร์แนวตะวันตก

เมื่ออเมริกาได้มีอารยธรรมขึ้นมาอย่างบริบูรณ์ และมีความเป็นสมัยใหม่ ถนนในตัวของมันเองกลายเป็นชายแดนชนิดใหม่ขึ้นมา: นั่นคือ บนท้องถนนนั้น "เสรีภาพ"สามารถถูกค้นพบได้(it is "on the road" that freedom can be found)

ภาพยนตร์เรื่อง On the road มันเป็นนวนิยายที่ได้รับการยกย่องโดย Jack Kerouac (1958) เป็นการอธิบายถึงช่วงปีทศวรรษที่ 1950s เกี่ยวกับวัฒนธรรมอเมริกัน เมื่อบรรดาคนหนุ่มสาว ได้ให้ความมั่งคั่งใหม่อันหนึ่งเข้าไปในบริบทของความรุ่งเรืองเฟื่องฟูหลังสงคราม และเผชิญหน้ากับความสามารถที่จะมีรถยนต์กันได้ พวกเขาสามารถที่จะออกจากบ้านและทิ้งบ้านเกิดเมืองนอนเอาไว้เบื้องหลัง เพื่อท่องเที่ยวไปทั่วสหรัฐฯและแสวงหาความน่าตื่นเต้น

ในภาพยนตร์เรื่อง On the Road ตัวละครหลักได้นัดพบปะกับเพื่อนของเขา Dean Moriarty และพวกเขาได้ข้ามอเมริกา จากฝั่งตะวันออกไปสู่ฝั่งตะวันตก และหวนกลับมาอีกครั้ง - และไปกลับอีกครั้งและอีกครั้ง. สิ่งที่สำคัญในหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นการเดินทางในตัวของมันเอง

แนวภาพยนตร์ที่เป็นฉากบนท้องถนนวิวัฒนาการขึ้นมาในช่วงทศวรรษที่ 1950s และ 1960s ตัวอย่างซึ่งมีนัยสำคัญมากที่สุดเกี่ยวกับภาพยนตร์แนวนี้ก็คือเรื่อง Easy Rider, ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ให้ภาพคนหนุ่มที่ไม่ค่อยเป็นมิตรนักซึ่งได้ท่องเที่ยวไปทั่วสหรัฐฯบนหลังอานมอเตอร์ไซค์

มันยังมีตัวอย่างอื่นๆอีกนับจำนวนไม่ถ้วนเกี่ยวกับภาพยนตร์แนวนี้ บางเรื่องคุณอาจจะคุ้นเคยกับมัน. มีภาพยนตร์แนวนี้เรื่องหนึ่งซึ่งได้สะท้อนเกี่ยวกับออสเตรเลียโดยเฉพาะ ซึ่งมีขนบประเพณีของมันเองเกี่ยวกับการเดินทางโดยผ่านทิวทัศน์ต่างๆ. ภาพยนตร์ของออสเตรเลียเป็นจำนวนมาก อย่าง Mad Max; Priscilla, Queen of the Desert; Kiss or Kill ต่างก็เป็นภาพยนตร์ที่จัดอยู่ในประเภทนี้

ภาพยนตร์ฉากบนท้องถนนมีอัตลักษณ์ของตัวมันอย่างหลากหลาย
ประการแรก, มันมีไอเดียและความจริงเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ถนนหนทางได้ให้อะไรบางอย่าง ภาพยนตร์แนวนี้มีการขับเคลื่อน ที่เป็นพลวัตซึ่งจารึกอยู่ในมัน. ความเคลื่อนไหวอันนี้สัมพันธ์กับไอเดียเกี่ยวกับการหนีห่างจากโลกที่หยุดนิ่ง และโลกที่จืดชืดไร้รสชาติ (ในกรณีของภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise สะท้อนถึงงานหนักที่น่าเบื่อ และความเป็นรองเกี่ยวกับความเป็นอยู่ ในฐานะภรรยาที่ต้องอยู่กับบ้าน หรือบริกรหญิงที่ทำหน้าที่เสริฟอาหาร) และไปสู่พลวัตรต่างๆเกี่ยวกับการขับรถไล่ล่า

ในขณะที่ภาพยนตร์ประเภทนี้ในช่วงแรกๆ มีแนวโน้มที่จะเก็บเอาเรื่องของการไล่ล่าเอาไว้สำหรับภาพยนตร์ม้วนสุดท้าย แต่ภายหลัง ภาพยนตร์ที่มีฉากบนท้องถนนยินยอมให้การไล่ล่าได้ขยายตัวของมันไปทั่วทั้งเรื่อง

ความเคลื่อนไหวอันนี้เชื่อมโยงกับความเป็นตัวแทนคนอเมริกันเกี่ยวกับเรื่องพื้นที่: กล่าวคือ มันเป็นหนทางในการเกี่ยวข้องกับปัญหาหรือการแก้ปัญหา นั่นคือ การเคลื่อนย้าย… ถ้าอาชญากรรมอันหนึ่งถูกนำมาเข้ามาเกี่ยวพันกับคุณ ก็ข้ามเขตแดนของรัฐไปสู่ที่ที่ปลอดภัยกว่า

การเคลื่อนที่ยังเป็นจุดหมายในตัวของมันเองด้วย: "เราจะไปไหนกันล่ะ ไอ้หนุ่ม?" ชายคนหนึ่งถาม Dean Moriarty ในนวนิยายเรื่อง On the Road. เขาตอบ, "ผมไม่รู้ แต่เราจำเป็นต้องไป" (Kerouac 1958, p.249)

ประการที่สอง, ภาพยนตร์ฉากบนท้องถนนจะทำการสำรวจลักษณะที่ปรับเปลี่ยนไปทางสังคม และความแตกต่างหลากหลายของสังคม. ตัวละครต่างๆซึ่งเคลื่อนที่ไปตลอดในภาพยนตร์แนวนี้สามารถที่จะเป็นใครก็ได้: พวกเขาสามารถค้นหาเอกลักษณ์ใหม่ๆ และสามารถที่จะค้นพบตัวของพวกเขาเอง. โดยผ่านตัวละครเหล่านั้น ซึ่งได้ละจากบทบาทต่างๆทางสังคมที่ถูกกำหนดตายตัว พวกเขาเริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนไปของสังคมที่ถูกสำรวจ

อันนี้สัมพันธ์กับข้อเท็จจริงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความฝันของอเมริกันชน ซึ่งมีความเชื่ออันหนึ่งที่ว่า มันเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนแปลงบันไดหรือสถานะทางสังคมให้สูงขึ้นได้. ณ เวลาเดียวกัน การเดินทางผ่านทิวทัศน์ต่างๆ ได้ให้โอกาสอันหนึ่งในการมองเห็นลำดับการเกี่ยวกับแบบฉบับและสถานการณ์ต่างๆทั้งหมดของสังคม: ภาพยนตร์ฉากบนท้องถนนจะนำเสนอภาพถ่ายแบบฉับพลันชุดหนึ่งเกี่ยวกับชีวิตของชาวอเมริกันทั่วทั้งทวีป

บรรดาพระเอกทั้งหลายจะพานพบกับผู้คนที่หลากหลายโดยลำดับ ซึ่งอันนี้ยอมให้มีการสร้างคำอธิบายหรือข้อสรุปเกี่ยวกับสหรัฐอเมริกาในฐานะภาพรวมทั้งหมด. คุณสมบัติอันหยุดนิ่งเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่มากมายเหล่านี้ ยังถูกแสดงให้เห็นในเชิงที่ตรงข้าม หรือขัดแย้งกับการเคลื่อนที่ไปของตัวเอกทั้งหลาย ซึ่งไม่ถูกทำให้หยุดนิ่งหรืออยู่กับที่ ทั้งสภาพทางภูมิศาสตร์และทางสังคม. ในทำนองเดียวกัน การสำรวจทางสังคมถูกพบในแนวภาพยนตร์ฉากบนท้องถนนที่ออสเตรเลียและในอังกฤษด้วย

ประการที่สาม, ภาพยนตร์ฉากบนท้องถนนจะมีตอนจบที่เป็นแบบฉบับอันหนึ่ง: นั่นคือ การหลุดพ้น(crash out). จุดสำคัญที่เร้าใจของภาพยนตร์แนวนี้ บ่อยครั้ง เกี่ยวพันกับการเร่งความเร็วและการปะทะกัน อันนี้ได้เสนอการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงให้กับคนดู

ยังมีจุดสำคัญเร้าใจอันหนึ่งเกี่ยวกับความตายและการทำลายล้างด้วย. ในลักษณะเช่นนั้น มันเป็นแนวที่ท้าทายอันหนึ่ง มันเป็นการเสนอแนะว่า ไม่มีทางออกหรือการแก้ปัญหาอะไรที่ง่ายดายต่อปัญหาสังคมที่นำเสนอในภาพยนตร์ …อันนี้เป็นความขัดแย้งที่สำคัญอันหนึ่งกับภาพยนตร์ที่จบลงอย่างมีความสุขของภาพยนตร์ฮอลีวูดเป็นจำนวนมาก

ประการสุดท้าย, ภาพยนตร์แนวนี้จะพรรณาหรือให้ภาพเกี่ยวกับอิสรภาพ, การไม่ต้องรับผิดชอบ, การขาดเสียซึ่งความผูกพันต่างๆทางสังคม, และการหักกฎหมาย ซึ่งโดยแบบฉบับถูกทำให้สัมพันธ์กับวิถีทางหรือพฤติกรรมของผู้ชายทั้งหมด เพราะไอเดียหรือความคิดเกี่ยวกับบ้าน, นิสัยรักบ้านและครอบครัว, รวมไปถึงการลงหลักปักฐาน เป็นสิ่งที่ตัวละครเหล่านี้กร่นด่าและสาปแช่ง

โดยขนบจารีตแล้ว มันเป็นภาพยนตร์แนวของผู้ชาย และรูปแบบสื่อของคนหนุ่มทั้งหลาย

ภาพยนตร์แนวคู่หู (The buddy movie)
ภาพยนตร์แนวที่สามคือ "ภาพยนตร์แนวคู่หู" ศัพท์คำนี้ถูกนำมาใช้ในช่วงทศวรรษที่ 1970s เพื่ออธิบายถึงภาพยนตร์ อย่างเช่น Butch Cassidy and the Sundance Kid. มันบ่งชี้ถึงแนวเรื่องร่วมกันอันหนึ่งซึ่งข้ามผ่านแนวภาพยนตร์ลูกผู้ชายจำนวนหนึ่ง (เช่น ภาพยนตร์แนวตะวันตก, ภาพยนตร์เกี่ยวกับสงคราม, และภาพยนตร์ฉากบนท้องถนน)

มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับมิตรภาพของผู้ชายและความผูกพันของลูกผู้ชาย มิตรภาพอันนี้บ่อยครั้งเป็นเรื่องของการแข่งขันชิงดีชิงเด่นกันด้วย และภาพยนตร์แนวคู่หูต่างๆ ยังมีแนวโน้มการทำงานผ่านตัวละครชายทั้งหลาย ซึ่งในท้ายที่สุด สามารถผูกพันกันได้จนสำเร็จ

กระบวนการเกี่ยวกับความผูกพัน บ่อยทีเดียว เกี่ยวข้องกับความเกลียดชังที่มีต่อผู้หญิงในระดับหนึ่ง: เพื่อที่จะทำให้ตัวละครเอกซึ่งเป็นผู้ชายได้ก้าวไปสู่ความผูกพัน ด้วยเหตุนี้ ผู้หญิงจึงถูกมองในฐานะที่เป็น"คนอื่น"(the other)

บ่อยครั้ง มันยังเป็นตัวแทนการรักร่วมเพศด้วย: ขณะที่ภาพยนตร์หลายๆเรื่องได้แสดงให้เห็นความรักที่มีต่อกันอย่างมากระหว่างคู่หู ซึ่งไม่บ่อยนัก มันเป็นการพรรณาหรือวาดภาพอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับความปรารถนาในแบบรักร่วมเพศ

ภาพยนตร์แนวคู่หู อันดับแรก ได้รับการบ่งชี้ในฐานะที่เป็นแนวภาพยนตร์ประเภทหนึ่ง ซึ่งบรรดานักวิจารณ์ในกลุ่มเรียกร้องสิทธิสตรี ให้ความสนใจเกี่ยวกับการสร้างเกี่ยวกับความเป็นเพศชายขึ้นมา(Haskell 1974) แต่ในปัจจุบัน มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันในการพูดคุยถึงภาพยนตร์แนวนี้

มันไม่ใช่ภาพยนตร์แนวคลาสสิคในตัวของมันเองดั่งภาพยนตร์แนวตะวันตก ภาพยนตร์เพลง หรือภาพยนตร์แนวแก๊งกวนเมืองต่างๆ และแนวนี้ได้แสดงให้เห็นถึงศัพท์คำว่า"แนว"(genre - ประเภท) โดยประการแรก มันได้พัฒนาขึ้นในบริบทของการศึกษาเกี่ยวกับภาพยนตร์ ซึ่งปัจจุบันได้ถูกนำไปใช้อย่างหลวมๆกับกลุ่มภาพยนตร์ต่างๆ ที่แสดงให้เห็นพื้นฐานบางอย่างทำนองเดียวกันนี้

ในช่วงเวลาที่ภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise ได้ถูกนำออกฉาย แนวเรื่องเกี่ยวกับความผูกพันกันของผู้ชายและมิตรภาพ ได้รับการตั้งมั่นหรือดำรงอยู่เรียบร้อยแล้วสำหรับผู้ดูและบรรดาผู้สร้างภาพยนตร์ทั้งหลาย โดยเหตุนี้ บรรดาคนดูจึงสามารถที่จะเห็นว่า แนวเรื่องอันนี้ได้สะท้อนถึงมิตรภาพระหว่างตัวละครเอกสองตัวที่เป็นผู้หญิงเท่านั้น

สรุปใจความสำคัญ (Summary)
Thelma and Louise ได้นำเอาขนบจารีตของภาพยนตร์แนวผู้ชายสามแนวด้วยกันมาทำใหม่ อันนี้สามารถมองได้ในฐานะที่เป็นวิธีการทางการตลาดอันหนึ่ง ซึ่งได้ทำให้แนวภาพยนตร์ตามขนบประเพณีมีคุณค่าที่แปลกใหม่ขึ้นมาอันหนึ่ง โดยการเปลี่ยนแปลงเพศสภาพของตัวละครเอกในภาพยนตร์(เปลี่ยนจากชายมาเป็นหญิง) - มันเป็นความสนุกสนานที่จะดู เพราะว่าพวกเราไม่เคยเห็นผู้หญิงกระทำในสิ่งเหล่านี้ - และมันยังทำให้ผู้ดูทำซ้ำและเปลี่ยนแปลงไปในเวลาเดียวกันด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม การทำใหม่เกี่ยวกับขนบจารีตของภาพยนตร์แนวผู้ชายนี้ ไม่อาจที่จะไม่พิจารณาถึงมันได้ เพียงเพราะเป็นแผนการทางการตลาดเท่านั้น. ภาพยนตร์แนวนี้นอกจากมันจะสร้างความพึงพอใจให้กับเพศชายแล้ว มันยังสร้างความรู้สึกอย่างเดียวกันต่อเพศหญิงด้วย (ทั้งกับตัวละครหญิงในภาพยนตร์และคนดูทั้งหลาย)

ผู้หญิงสามารถที่จะกระทำในสิ่งเดียวกันกับที่ผู้ชายทำได้ และรู้สึกสนุกสนานในอย่างเดียวกันกับขนบธรรมเนียมของผู้ชาย: นั่นคือ อิสรภาพบนท้องถนน, ความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวแบบที่ไม่มีอะไรแน่นอน, การยิงปืน, และการกระทำผิดกฎหมาย. แง่มุมหรือประเด็นเกี่ยวกับภาพยนตร์แนวนี้จะถูกอ่านในเชิงที่ตรงกันข้าม

นักวิจารณ์บางคนรู้สึกยินดีที่ได้เห็นผู้หญิง ถือเอาเรื่องอำนาจและลักษณะหัวโจกซึ่งโดยขนบจารีตแล้วสัมพันธ์กับผู้ชายมาโดยตลอดมาเป็นของตน (ความรุนแรง, ปืน, และอื่นๆ). ส่วนคนอื่นๆเชื่อว่า ภาพยนตร์แนวนี้ได้เสนอว่า ผู้หญิงสามารถที่จะอ้างสิทธิ์ตัวของพวกเธอเอง โดยการกลายไปเป็นอะไรที่คล้ายๆกับผู้ชาย ซึ่งพวกเธอไม่เคยสมหวังมาก่อน

กล่าวคือ พวกเธอค่อนข้างที่จะถูกมองโดยขนบประเพณีตามคุณสมบัติของความเป็นหญิง (เช่น ความเอาใจใส่, การเจรจาต่อรอง, การสื่อสาร, การแก้ปัญหาโดยผ่านวิธีการที่ไร้ความรุนแรง และอื่นๆ) และได้รับการอ้างซ้ำในฐานะที่ นั่นคือพลังและวิธีการในแง่บวกของผู้หญิงที่ยืนยันถึงตัวของพวกเธอเอง

ภาพยนตร์แนวนี้ได้ยกประเด็นปัญหาต่างๆขึ้นมา ซึ่งเป็นแกนกลางของการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับสิทธิสตรี(feminist studies) - ในกรณีเกี่ยวกับการช่วงชิง, เช่น การตักตวงผลประโยชน์จากผู้หญิงในการบีบบังคับการทำงาน และฐานะความเป็นรองของพวกเธอในเรื่องเกี่ยวกับบทบาทภายในครัวเรือน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้สถานบันเกี่ยวกับการแต่งงาน - แต่สิ่งเหล่านี้ได้กระทำโดยผ่านภาพยนตร์ป๊อปปิวล่าร์ ซึ่งหมายความว่า บรรดาผู้ดูทั้งหลายได้ถูกนำพาให้โลดแล่นไปโดยความพึงพอใจเกี่ยวกับภาพยนตร์แนวนี้ ในเวลาเดียวกันนั้น พวกเขาก็กำลังดูดซับเนื้อหาทางการเมืองของภาพยนตร์พร้อมกันไปด้วย

จุดเริ่มต้นต่างๆของภาพยนตร์นี้เป็นเรื่องของความเป็นจริง, Thelma และ Louise ต่างก็เผชิญหน้ากับปัญหาในชีวิตประจำวัน ในฉากเปิดตัวของภาพยนตร์เรื่องนี้ Thelma และ Louise เป็นเพียงผู้หญิงธรรมดาๆเท่านั้น และมีชีวิตอยู่อย่างแสนจะธรรมดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพราะ ตัวละครเอกในภาพยนตร์ไม่ได้เป็นสาวสวยตามแบบฉบับที่พบเห็นกันบ่อยๆ ไม่ได้เป็นที่ดึงดูดใจ หรือมั่งคั่งร่ำรวยอะไร

อันนี้ทำให้ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งต่างไปจากภาพยนตร์บางเรื่องที่มีพื้นฐานอยู่บนความพร่อง และความคิดเพ้อฝันแบบผู้ชาย (นางเอกต้องสวย รวย และน่าดึงดูดใจ). ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจนี้ ทำให้ภาพยนตร์มีพลังมากขึ้น และมีประสิทธิผลมากกว่า

แม้ว่าภาพยนตร์จะเล่นบทบาทไปในแนวทางของผู้ชาย แต่ค่านิยมแบบผู้หญิงบางอย่างก็ยังคงมีอยู่เป็นแกนกลางของเรื่อง และภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ให้การยกย่องมิตรภาพของผู้หญิง. Thelma และ Louise ได้แสดงบทบาทของผู้ชายออกมาในลักษณะตลกขบขันประชดประชัน นอกจากนั้นยังแสดงความกรุณาและความสุภาพด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการรับรองคุณค่าที่เป็นขนบจารีตของความเป็นหญิง

เปรียบเทียบกับการพรรณาหรือวาดภาพเกี่ยวกับข้อผูกพันของผู้ชายกับภาพยนตร์อื่นๆ, ข้อผูกพันกับผู้หญิงแทบจะไม่ถูกแสดงออกมาให้เห็น แต่อย่างไรก็ตาม ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ความสัมพันธ์ของ Thelma และ Louise เป็นความสัมพันธ์ซึ่งสำคัญที่สุดสำหรับเธอทั้งสอง แกนกลางเกี่ยวกับความสัมพันธ์นี้เป็นไปในลักษณะที่ตรงข้ามกับหนทางที่ โดยจารีตแล้ว ภาพยนตร์ต่างๆได้วาดภาพผู้หญิงส่วนใหญ่เอาไว้ ในเทอมๆต่างๆเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพวกเธอกับผู้ชาย

Thelma and Louise นับเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดทั้งในแง่เกี่ยวกับการผสมผสานของแนวภาพยนตร์ และในแง่ของวิธีการต่างๆซึ่งพวกมันสามารถถูกทำขึ้นมาใหม่ในกรอบหรือเค้าโครงที่แตกต่าง ในกรณีนี้โดยผ่านการเน้นไปที่บทบาทของผู้หญิงและความเกี่ยวข้องต่างๆ

 

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

H

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
หรือหน้าสารบัญ ซึ่งมีอยู่ 2 หน้า
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

เดือนมีนาคม พศ.๒๕๔๗
บทวิเคราะห์ภาพยนตร์คาวบอย ภาพยนตร์ที่มีฉากขับรถบนท้องถนนตลอดทั้งเรื่อง และภาพยนตร์แนวคู่หู มีนัยสำคัญอย่างไร

ภาพยนตร์แนวตะวันตก จะเป็นเรื่องของการสถาปนาระเบียบและกฎเกณฑ์ต่างๆขึ้นมาของพระเอกท่ามกลางความป่าเถื่อน (มันเป็นการนำเอาอารยธรรมมาสู่ดินแดนตะวันตก) หรือไม่ก็เป็นเรื่องของพระเอก ที่พยายามหนีห่างจากความเจริญหรือการคุมขังของอารยธรรมไปสู่การดำรงชีวิตที่อยู่เหนือกฎหมายและสังคมอย่างสมบูรณ์แบบ (บ่อยครั้ง มันเป็นการเดินทางเพื่อค้นพบตัวเอง)

ฉากบางฉากเกี่ยวกับทิวทัศน์ Monument Valley ได้รับการถ่ายทำในยามค่ำคืน และอันนี้ได้แตกหักกับวิถีทางแบบขนบประเพณีของการถ่ายทำภาพยนตร์ ณ สถานที่แห่งนี้ สิ่งที่ทำให้มันต่างไปจากขนบจารีตทั่วๆไปมากขึ้นก็คือ ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ผู้หญิงกำลังมีประสบการณ์และเฉลิมฉลองกับสิ่งที่เป็นเสรีภาพในแบบจารีตของผู้ชาย - อิสรภาพบนท้องถนน, อิสรภาพของการดำรงอยู่เหนือกฎหมาย - และพวกเธอกำลังทำมันในท่ามกลางสถานที่ของเพศชายมากที่สุด (จากภาพยนตร์เรื่อง... Thelma and Louise)

อุดมคติของอเมริกาคือ"ดินแดนแห่งเสรีภาพและโอกาส" ซึ่งถูกหุ้มห่ออยู่ในแคปซูลในการแสวงหาอย่างต่อเนื่องสำหรับดินแดนใหม่ และเสรีภาพใหม่ ภาพยนตร์แนวตะวันตกจะทำการสำรวจถึงยุคสมัยในประวัติศาสตร์ ซึ่งอเมริกาได้สถาปนาอารยธรรมใหม่ของตัวเองขึ้นมาและพ้นไปจากความเป็นชายแดน