H

เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่อการศึกษาสำหรับสังคมไทย :

ข้อมูลข่าวสารจากองค์กรต่างๆ
ลำดับที่ 361 หัวเรื่อง
สารบัญข้อมูล ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
สมเกียรติ ตั้งนโม
และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ร่วมพิจารณาคัดเลือก

บริการเผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้

บทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สามารถคัดลอกไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ หากนำไปใช้ประโยชน์ กรุณาแจ้งให้ทราบที่

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com

130347
release date
R
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
Wisdom is the ability to use your experience and knowledge to make sensible decision and judgements



คำวิงวอน ฉบับที่ 1
เรื่อง ความรุนแรงที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

คณาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ตามที่เกิดความรุนแรงขึ้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 จนมีผู้ก่อการเสียชีวิต 107 คน เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 5 คน และบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่งนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนับว่าเป็นโศกนาฏกรรมของแผ่นดินอีกครั้ง ที่ยืนยันว่าสันติวิธีนั้นยากจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการเผชิญหน้ากันของผู้คนที่แบ่งเป็นฝักฝ่าย แม้ว่าฝ่ายหนึ่งจะเป็นรัฐและอีกฝ่ายหนึ่งคือประชาชนภายในรัฐก็ตาม

เราเห็นว่า ขณะนี้ผู้คนกำลังถูกชักนำไปสู่ความสะใจกับประสิทธิภาพการใช้ความรุนแรงของรัฐ โดยลืมไปว่าผู้ที่ตายนั้นคือคนไทยด้วยกันเอง คือผู้ที่ส่วนใหญ่มีอายุไม่ถึง 20 ปี เป็นเยาวชนที่กำลังเรียนหนังสืออยู่ และส่วนใหญ่มีอาวุธเพียงแค่มีดเท่านั้น

ถึงแม้เยาวชนกลุ่มนี้จะก่อเหตุความรุนแรงขึ้น แต่หากเรายังมองสถานการณ์ในลักษณะของการแบ่งออกเป็น 2 ขั้ว คือการปฏิบัติการเพื่อความมั่นคงของรัฐ และการก่อเหตุที่ท้าทายความมั่นคงที่จะต้องขุดรากถอนโคนด้วยชีวิต สังคมจะเต็มไปด้วยความรุนแรง และรัฐจะสถาปนาอำนาจของตัวเองอยู่เหนือประชาสังคมจนสามารถก่อสงครามที่เรียกว่า "สงครามค้นหาศัตรู(diasnostic wars)" คือการก่อสงครามเต็มรูปแบบโดยยังไม่รู้ว่าใครเป็นศัตรูอย่างชัดเจน หรือยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าใครทำอะไรผิด

ลักษณะเช่นนี้ความรุนแรงจึงถูกแสดงออกอย่างเต็มที่เพื่อให้เห็นว่ามีศัตรูของสงครามจริง และยิ่งมีข่าวว่ารัฐรู้ล่วงหน้าถึงความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นและวางกับดักให้ผู้ก่อการมาติดกับ ก็ยิ่งเห็นไฟแห่งความรุนแรงได้บดบังความเมตตาไปหมดแล้วเรา จึงได้เห็นการปะทะกันครั้งนี้ผู้ก่อการไม่มีใครบาดเจ็บเลย ทุกคนล้วนตายคาที่ทั้งสิ้น

เราขอวิงวอนให้สังคมมีวุฒิภาวะในการมองปัญหานี้ที่พ้นไปจากการยึดติด 2 ขั้ว โดยใช้หลักมนุษยธรรมเข้าแก้ปัญหา กล่าวคือ หากเรามองเยาวชนกลุ่มนี้คือลูกหลานของเรา และเขาหลงผิดไปทางใดทางหนึ่ง เราก็ต้องดำเนินการให้เกิดการเรียนรู้เพื่อที่จะชักจูงเขากลับมาเข้าสู่วิถีทางที่เหมาะสม

แน่นอนว่าการดำเนินการเช่นนี้ไม่สามารถจะบรรลุด้วยการส่งกองกำลังทหารตำรวจจำนวนมากลงไปในพื้นที่ และการประกาศกฎอัยการศึก เพราะนั่นเท่ากับเป็นการเติมเชื้อไฟให้เขาคิดไปอีกด้านหนึ่งมากยิ่งขึ้น ข้อเสนอในการแก้ปัญหา 7 ข้อ ของนายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี ได้สะท้อนให้เห็นว่า มีความพยายามที่จะเข้าใจปัญหานี้ แต่ก็น่าเสียดายที่ข้อเสนอนี้ถูกปัดทิ้งไป

นอกจากนี้การก่อการของกลุ่มวัยรุ่นดังกล่าวไม่ว่าจะได้รับการหนุนหลังจากกลุ่มใดก็ตาม ก็ยังไม่มีอาวุธที่ทันสมัยพอที่ท้าทายต่อความมั่นคงของรัฐได้ นอกจากการก่อการในจุดเล็กๆ รวมทั้งความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นระยะ ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นฝีมือของเยาวชนกลุ่มนี้ทั้งหมด เพราะกลุ่มที่ขัดแย้งกันในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมีหลายกลุ่ม หากรัฐได้สนใจข้อเสนอแนะของฝ่ายต่างๆบ้างในการแก้ปัญหา เหตุการณ์คงจะไม่ขยายตัวมาถึงปัจจุบัน และคงสามารถเข้าถึงตัวผู้อยู่เบื้องหลังได้ แทนที่จะจบลงด้วยการสังหารเยาวชน ซึ่งอย่างมากก็เป็นได้เพียงผู้หลงผิดเท่านั้น

การมั่นใจในการใช้ความรุนแรงว่าสามารถแก้ปัญหาแบบขุดรากถอนโคนได้นั้นไม่น่าสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั่วโลก ดังกรณีที่กองกำลังของสหรัฐอมเริกาและพันธมิตรไปติดกับดักอยู่ที่ประเทศอิรักอยู่ในปัจจุบัน ในกรณีนี้ก็เช่นเดียวกัน แทนที่ความรุนแรงจะถูกขุดรากถอนโคน กลับอาจขยายตัวสู่ผู้คนทั่วไปในวงกว้าง ซ้ำรอยกับประเทศอื่นๆที่มีเส้นทางเดียวกับที่เรากำลังชื่นชมอยู่ในปัจจุบัน

เราขอวิงวอนให้รัฐทบทวนวิธีจัดการปัญหาด้วยความรุนแรงที่กำลังใช้และกำลังชี้ให้สังคมเห็นว่า เป็นเรื่องธรรมดาและชอบธรรม แต่หันมาใช้ความเมตตาความเข้าใจในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ใช้ความเป็นมิตรเข้าไปแก้ปัญหา และเปิดโอกาสให้ความคิดที่หลากหลายได้มีโอกาสเสนอความคิดผ่านสื่อของรัฐ เพื่อที่จะสามารถพบแนวทางใหม่ๆ สำหรับยุติปัญหาหรือช่วยทำให้ปัญหาไม่ขยายตัวไปมากกว่านี้

เราขอวิงวอนให้ทุกฝ่ายที่กำลังชี้นำให้สังคมเห็นชอบกับความรุนแรงที่รัฐกระทำว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ทั้งในรูปของการวิพากษ์วิจารณ์และการขอประชามติจากคนที่ไม่เข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง และถูกชี้นำจากผู้จัดรายการหรือคนที่ถูกเลือกมาออกรายการ กรุณามีความรอบคอบและระมัดระวังในสิ่งที่นำเสนอ เพราะจะนำไปสู่อคติทางชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วโลก และหากยังเป็นเช่นนี้ต่อไปประเทศไทยก็อาจจะเป็นอีกสมรภูมิหนึ่งที่ไม่ต่างไปจากอีกหลายประเทศ

ความรุนแรงที่เกิดครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ ที่อาจนำประเทศไทยเข้าสู่ความรุนแรงที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือว่าผู้คนจะได้สติกลับมาทบทวนบทเรียนและเห็นความสำคัญของการแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาแบบสันติวิธี เราหวังว่าภาพอย่างแรกที่เห็นอยู่ทุกวันนี้จะค่อยๆหายไป และเกิดภาพอย่างที่สองเข้ามาแทนที่

เราเชื่อว่าไม่มีความสงบสุขใดที่ได้มาด้วยความรุนแรง แต่จะได้มาก็จากการใช้สันติวิธีเท่านั้น

กลุ่มอาจารย์สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ลักษณ์
ประกอบด้วย : ดร.เลิศชาย ศิริชัย, ดร.แพทริค โจร,ี อาจารย์ฐิรวุฒิ เสนาคำ, อาจารย์สมใจ สมคิด, อาจารย์ณรงค์ บุญสวยขวัญ, อาจารย์สิริพร สมบูรณ์บูรณะ (30 เมษายน 2547)

(ผู้ประสงค์ร่วมวิงวอนให้ยุติการใช้ความรุนแรง กรุณส่งรายชื่อมายัง midnightuniv(at)yahoo.com)

สมเกียรติ ตั้งนโม (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่), อรณิชา ตั้งนโม (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน), Naruemon Thabchumpon School of Politics and International Studies, University of Leeds, UK, ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ University of Goettingen, Germany. อลิสา หะสาเมาะ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ, วรพจน์ พิทักษ์ ; ราษฎรอีสาน, ชาญชัย ชัยสุขโกศล ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ. ชัชวาล ปุญปัน (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่), นภาพร ปุญปัน (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน). รศ. วารุณี ภูริสินสิทธิ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่), Auttapone Karndacharuk - Civil Engineering, C.U. Civil and Environmental Engineering, The University of Auckland, New Zealand. วันดี กริชอนันต์. ชำนาญ จันทร์เรือง. อนุชา โสมนัส. อ.ณปรัชญ์ บุญวาศ ม.สงขลานครินทร์ ปัตตานี. นส.มะลิวัลย์ สอนคำจันทร์. ดช.ปัณณทัต ประทีป ณ ถลาง. ดช.ปัญณวัฒ ประทีป ณ ถลาง. นส.รุ่งปนัดา ตามชู. คนเมืองยะลา ([email protected]). ปัทมนันท์ ปุณเสรีพิพัฒน์. เกศศิริ พัฒนศิริชัย. ชลนภา อนุกูล น.ศ. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ University of Saarland, Germany. สุดาภรณ์ กรรณเลขา. สุภัทรา กรรณเลขา. ปณิดาภรณ์ กรรณเลขา. กรณิการ์ ทองสมบัติพาณิช คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ. นุชรี วงศ์สมุท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ. เนื่องน้อย บุณยเนตร. สุมาลี โตกทอง, นักศึกษา สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่น 1. โสภาพรรณ รัตนจีนะ คณะรัฐศาสตร์, จุฬาฯ. ณัฐริกายจน์ ทองสมบูรณ์ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ. ชื่นสุข อาสัยธรรมกุล. วิศิษฎ์ อาสัยธรรมกุล. โรจนี คงสวัสดิ์ศักดิ์ นักศึกษาปริญญาโท สตรีศึกษา มหาวิทยลัยธรรมศาสตร์.

 

ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยข้อเท็จจริงและยุติการใช้ความรุนแรง
สมาคมนักเรียนไทยในมลรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา
2 พฤษภาคม 2547

ตามที่เกิดความรุนแรงขึ้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 จนมีผู้เสียชีวิตทุกฝ่ายรวมกันไม่ต่ำกว่า 112 คน และบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่งนั้น สมาคมนักเรียนไทยในมลมลรัฐฮาวายมีความเห็นดังต่อไปนี้

1. คนที่เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นผู้คนร่วมแผ่นดินไทย ไม่ว่าคนตายจะนับถือศาสนาอะไร อยู่ในเครื่องแบบสีไหน จะเป็นฝ่ายเจ้าหน้าที่หรือพี่น้องมุสลิม เขาก็คือเพื่อนมนุษย์ที่ไม่สมควรตายด้วยสาเหตุแบบนี้

สมาคมนักเรียนไทยในมลรัฐฮาวาย ขอเรียกร้องให้รัฐบาล แถลงข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับโศกนาฎกรรม เมื่อวันที่ 28 เมษายน เช่น บุคคลที่ตายทั้งหมดเป็นใคร กระบวนการตัดสินใจทั้งหมดในวันนั้นเป็นอย่างไร ทำไมรัฐบาลไม่เลือกใช้วิธีการอื่นที่ปราศจากความรุนแรง ฯลฯ

หลักการของระบอบประชาธิปไตย คือ รัฐไม่มีสิทธิในการเข่นฆ่าประชาชน หากรัฐบาลปฏิเสธที่จะแถลงข้อเท็จจริง ก็เท่ากับประชาชนอยู่ในสถานการณ์ที่รัฐสามารถเข่นฆ่าผู้คนได้โดยเสรี ซึ่งก็มีแต่รัฐเผด็จการทรราชย์เท่านั้นที่จะมีพฤติกรรมเช่นนี้

2. รัฐบาลเกี่ยวข้องโดยตรงกับโศกนาฎกรรมเมื่อวันที่ 28 เมษายน จึงมีเหตุให้สงสัยถึงความเที่ยงตรงของรัฐบาลในการแถลงข้อเท็จจริง

เพราะเหตุนี้ เราจึงขอเรียกร้องให้รัฐสภาเป็นฝ่ายแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระ เพื่อทำหน้าที่สอบสวนและรวบรวมข้อเท็จจริงจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโศกนาฎกรรมเมื่อวันที่ 28 เมษายน โดยภารกิจเบื้องต้นของคณะกรรมการชุดนี้คือการตอบคำถามพื้นฐานที่สำคัญๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว

อนึ่ง คณะกรรมการชุดนี้ต้องประกอบไปด้วยผู้แทนจากภาคประชาชน ตัวแทนของทุกศาสนา รัฐสภา องค์กรอิสระ นักกฎหมาย นายแพทย์ ฯลฯ นอกเหนือไปจากผู้แทนของฝ่ายรัฐบาลและกองทัพ ทั้งนี้ เพื่อทำให้ข้อเท็จจริงที่รอบด้านที่สุดนั้นปรากฎแก่สังคม

3. ปฏิบัติการของฝ่ายรัฐในวันที่ 28 เมษายน เป็นผลของการเลือกใช้ความรุนแรง อันเป็นมาตรการที่ปราศจากประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา ซ้ำยังไม่เคยประสบความสำเร็จในการจัดการปัญหา และอาจนำไปสู่สถานการณ์ที่เลวร้ายลงไป ดังประจักษ์ให้เห็นว่านับตั้งแต่ใช้วิธีนี้ ความรุนแรงในภาคใต้ก็ยิ่งทวีขึ้นทุกที

ด้วยเหตุนี้ เราจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ ตลอดจนเงื่อนไขต่างๆ ที่ทำให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างรัฐกับประชาชนในภาคใต้ หันกลับมาใช้มาตรการสันติวิธี ซึ่งเป็นมาตรการที่เคยประสบความสำเร็จมาแล้วในสังคมไทย ดังมีกรณีคำสั่ง 66/23 เป็นตัวอย่าง เป็นต้น

สมาคมนักเรียนไทยในมลรัฐฮาวายเห็นว่าความรุนแรงไม่เคยแก้ปัญหาอะไรได้ โดยเฉพาะสถานการณ์ในภาคใต้ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย จึงจำเป็นต้องอาศัยนโยบายและมาตรการที่ละเอียดอ่อน อดทน รอบคอบ ไม่ใช่การแก้ปัญหาด้วยกำลังอาวุธ ซึ่งในที่สุดก็นำไปสู่วัฎจักรของความรุนแรงยิ่งขึ้นไป

สมาคมนักเรียนไทยในมลรัฐฮาวาย
รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ([email protected]) โครงการปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวาย
รองประธานสมาคมนักเรียนไทย มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวาย
อนึ่ง ท่านสามารถร่วมลงชื่อสนับสนุนแถลงการณ์ฉบับนี้ได้ที่ http://www.petitiononline.com/april28/

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

H

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
หรือหน้าสารบัญ ซึ่งมีอยู่ 2 หน้า
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

เดือนมีนาคม พศ.๒๕๔๗
ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดในหน้านี้ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับจาก email ที่องค์กรต่างๆส่งถึง เพื่อเผยแพร่ต่อสังคมวงกว้าง

ภาพรวมของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ประกอบด้วย บทความทางวิชาการ บทความแปลและเรียบเรียง บทความถอดเทป บทความจากสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ข่าว และกระดานแสดงความคิดเห็น (สำหรับส่วนที่นักศึกษา และสมาชิกกำลังชมอยู่นี้ เป็นเว็ปเพจใหม่ ที่รวบรวมข่าวสารข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ซึ่งส่งจดหมายมาถึงกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อทราบ หากกองบรรณาธิการพิจารณาแล้วว่า จดหมายหรือข้อมูลใด เป็นประโยชน์ต่อสังคม จะนำมาเผยแพร่แพร่ต่อบนหน้านี้

ประวัติเกี่ยวกับ"หน้าสารบัญข้อมูล จากองค์กรต่างๆ" เริ่มเปิดดำเนินการขึ้นครั้งแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๗ วัตถุประสงค์เพื่อ รวบรวมข่าวสารข้อมูล ที่มีสาระประโยชน์ต่อสังคม และเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนในวงกว้าง หากสนใจส่งข่าวสารข้อมูล ส่งมาได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com

ภาพผลงานจิตรกรรม โดยศิลปินเม็กซิกัน Alfredo Ramos Martinez
ข่าวสารข้อมูลจำนวนมาก ได้ส่งถึงกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนทุกวัน ในจำนวนนั้น มีข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งควรแก่การเผยแพร่ต่อสาธารณชน มากกว่าที่กองบรรณาธิการจะรับรู้แต่เพียงส่วนเดียว จึงได้นำมาเผยแพร่ต่อนักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่านร่วมกันพิจารณา

ข้อมูลหน้านี้ ได้รับจากองค์กรต่างๆซึ่งมีจดหมายมาถึง
กองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สนใจเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชน กรุณาส่งไปที่
midnightuniv(at)yahoo.com