PfoucoR.jpg (20136 bytes)

ในช่วงต้นของการประกอบอาชีพ ฟูโกโฟกัสไปที่ศิลปินในฐานะที่เป็นภาพลักษณ์อันโรแมนติค ผู้ซึ่งหนีรอดจากพลังอำนาจของความเป็นปกติ, ความบ้าของบรรดาศิลปินและความแปลกประหลาดได้จัดหาชะแลงหรือเครื่องงัดที่สำคัญอันหนึ่งต่อพลังความเป็นเนื้อเดียวกันของระบบอำมาตยาธิปไตย และธรรมเนียมปฏิบัติ.

BfoucoR.jpg (13691 bytes)

(ข้อชี้แจงบางประการของผู้เรียบเรียง : สมเกียรติ ตั้งนโม)

บทความต่อไปนี้เป็นเรื่องทางปรัชญา-สุนทรียศาสตร์ ซึ่งเรียบเรียงมาจาก Encyclopedia of Aesthetics ในหัวข้อ Michel Foucault. ซึ่งได้ใช้วิธีตัดต่อและเพิ่มเติมเท่าที่จำเป็น ทั้งนี้เพื่อขยายความรู้และความเข้าใจให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในกระบวนวิชาปรัชญาศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ มช. ที่ตนเองเป็นผู้สอนอยู่ให้เข้าใจเรื่องเกี่ยวเนื่องกับศิลปะนี้มากขึ้น หากงานเรียบเรียงชิ้นนี้ จะเป็นประโยชน์อยู่บ้างต่อสังคม (ซึ่งไม่ประสงค์ที่จะอ้างให้หรูหราและฟังมีคุณค่าแต่แรก) นั่นย่อมขึ้นอยู่กับผู้อ่านท่านนั้นยังไม่รู้เรื่องนี้ และผู้อ่านรู้จักวิธีการอ่านงานเขียนทางปรัชญา.

เป็นเรื่องไม่ง่ายและไม่จำเป็นที่ความคิดอันลึกซึ้งและซับซ้อนของนักคิด-นักปรัชญา จะต้องเป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับผู้อ่านทั่วๆไป และเริ่มมาสนใจอ่านปรัชญา ดังที่ C.E.M.Joad ซึ่งเขียนเอาไว้ในหนังสือ PHILOSPHY ได้แนะเอาไว้ว่า “การอ่านปรัชญาจะต้องศึกษาความคิดของนักปรัชญาท่านนั้นเอาไว้พอสมควร และมีผู้แนะนำ คำแนะนำมีทั้งควรจะเลือกอ่านอะไรก่อน และควรจะข้ามตอนใด งานเขียนทางปรัชญาส่วนมากยาวเกินไป และบางครั้งไม่จำเป็นต้องอ่านจนจบ จนกว่าจะมีการอภิปรายกันแล้วถึงบางประเด็นที่เกี่ยวข้อง...

ข้อแนะนำเป็นขั้นๆในที่นี้ของ C.E.M.Joad คือ
(1) เมื่อเริ่มต้นอ่านปรัชญา อย่าพยายามอ่านจนจบเล่มหรือจบบท ให้เลือกอ่านเฉพาะที่เข้าใจก่อน.
(2) บางครั้งการอ่านปรัชญาจะเจอข้อความยากๆ ถึงแม้จะอ่านครั้งที่สองและสามแล้วก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี ดังนั้นกฎข้อที่สองคือ”รู้จักว่าตรงไหนควรข้าม”ให้ข้ามไปเสีย.
(3) เพื่อทดสอบความเข้าใจ ให้ทำย่อความจากเรื่องที่อ่านไว้เตือนความจำ และเมื่อกลับมาอ่านให้อ่านจากบทสรุปของตัวเองอันนั้น
(4) ในคราวหนึ่งๆ อย่าอ่านปรัชญามากเกินกว่าครึ่งชั่วโมง หรือสี่สิบห้านาที เพราะสมาธิของคนเราจะเริ่มเนือยลง [เมื่อท่านอ่านปรัชญาแล้ว ภายหลังการอ่านวรรณกรรมประเภทอื่นจะเป็นเรื่องที่ง่ายมาก เหมือนกับปล่อยรถจักรยานลงจากเนินเขา หลังจากที่พยายามถีบขึ้นไปแล้วด้วยความยากลำบาก]... ผู้เรียบเรียงเห็นด้วยกับคำแนะนำนี้ จึงได้ยกเอาข้อความดังกล่าวมาชี้แจง

Michel Foucault
มิเชล ฟูโก

1.แนวคิดหลัก

มิเชล ฟูโก (1926-1984) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส เกิดที่ Poitiers ในประเทศฝรั่งเศส เป็นบุตรของนายแพทย์คนหนึ่ง. ฟูโกเองได้ประกอบอาชีพทางด้านจิตวิทยา และได้ทำหน้าที่แพทย์ฝึกหัด ณ โรงพยาบาลโรคจิตที่ St.Anne’s mental hospital ในกรุงปารีส ในสภาพแวดล้อมนี้นี่เองที่เขาได้เริ่มตั้งคำถามถึงความสัมพันธ์ในเรื่อง”ความรู้กับอำนาจ” และได้พัฒนางานวิพากษ์ของเขาขึ้นมาเกี่ยวกับ”ปฎิบัติการตามปกติ”, อย่างเช่น เรื่องของ”การแพทย์-เวชกรรม”

หลังจากได้รับใบประกาศ the Licence de Philosophie และ the Licence de Psychologie (ประกาศนียปัตย์ทางด้านปรัชญาและจิตวิทยา)จากมหาวิทยาลัย Sorbonne, หลังจากนั้นเขาก็ได้รับปริญญา the Diplome de Psycho-Pathologie (ปริญญาโททางด้านจิตวิทยาและพยาธิวิทยา)จากมหาวิยาลัยปารีสในปี 1952. นับจากปี 1970 เป็นต้นมาจนกระทั่งการถึงแก่กรรม เขาได้ดำรงตำแหน่งประธานคนหนึ่งของที่ the College de France ที่ซึ่งเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์และระบบคิด.

งานเขียนหลักๆของเขาประกอบด้วย Madness and Civilization: A History of Insanity in the Age of Reason (1961), The Birth of the Clinic (1963), The Order of Things (1966), Discipline and Punish: The Birth of the Prison (1975), และ The History of Sexuality, 4 เล่ม (1976-1984).

บ่อยครั้ง ฟูโกได้รับการจัดให้เป็นนักสังคมวิทยาคนหนึ่ง หรือนักประวัติศาสตร์ มากกว่าจะเป็นนักปรัชญา; แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เขาถ่ายทอดออกเป็นตัวหนังสือ เขาได้ดำเนินไปภายใต้ระนาบของญานวิทยา(epistemology-สาขาหนึ่งทางปรัชญาที่ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของความรู้). โครงการของฟูโกคือ ต้องการ”วิเคราะห์รูปลักษณ์หรือเรือนร่างของความรู้ในความสัมพันธ์กับอำนาจ” ภายใต้บริบทขององค์ประกอบที่ได้กำหนดความรู้เหล่านั้นขึ้นมา.

เป้าหมายของเขาคือ “การสร้างกระบวนการข้อสรุปที่ผ่านเหตุผลแวดล้อม”(discursive formation) หรือ”apparatus”(เนื้อหาสาระชุดหนึ่งที่ออกแบบขึ้น เพื่อประโยชน์เฉพาะอย่าง)ขึ้นมา: นั่นคือ ลำดับการของแนวความคิด และกฎเกณฑ์ต่างๆสำหรับการสร้างถ้อยคำต่างๆขึ้นมา ซึ่งนั่นได้นิยามระบบของความจริงเฉพาะขึ้นมา (ฟูโก เชื่อว่า ความจริงเป็นเรื่องของอำนาจ ไม่ได้เป็นธรรมชาติ - ) เช่นเดียวกับ หน้าที่, สถาบัน, ปฏิบัติการ, เทคโนโลยี, และสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งระบบของความจริงได้รับการทำให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้น และมันได้รับการธำรงรักษาเอาไว้.

คำถามที่สำคัญของฟูโกไม่ใช่ ”อะไรคือความรู้ ?” หรือ “อะไรคือความจริง ?”, แต่ “อะไรคือโครงสร้างและขบวนการขั้นตอนซึ่ง ตัวความรู้ได้ถูกสร้างขึ้นมาและแพร่หลายออกไป ?” ฟูโกให้เหตุผลว่า ความจริง ไม่ใช่การค้นพบ แต่ถูกสร้างขึ้น(Truth is not discovered but produce), ตามขบวนการหรือขั้นตอน ซึ่งกำหนดหรือตัดสินสถานการณ์ต่างๆในประวัติศาสตร์. สิ่งซึ่งน่าจะกล่าวถึงก็คือ, ใครได้อำนาจในการพูด, อะไรล่ะที่เป็นเป้าหมายอันหนึ่งของการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์, และความรู้จะต้องได้รับการทดสอบอย่างไร, มันสะสมเพิ่มพูนขึ้นมาอย่างไร และมันสูญสลายหายไปอย่างไร. (สิ่งเหล่านี้คือสาระสำคัญที่เขาได้ตั้งคำถาม)

ในการศึกษา”ระบบของความจริง”ต่างๆ ฟูโกได้พัฒนาความคิดของ Nietzschean ที่ว่า ความจริงทั้งหมดได้รับการผลิตขึ้นมาตามเงื่อนไขต่างๆที่กำหนด(all truth is produced according to determinable conditions), ความจริงทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งเฉพาะหรือเรื่องเฉพาะทางประวัติศาสตร์ และร้อยรัดกันกับอำนาจและอิทธิพล. (ความจริงไม่ใช่สิ่งสากล)

ฟูโกได้หลุดเข้าไปในคำถามที่เป็นความรับผิดชอบหรือข้อผูกพันทางญานวิทยาคลาสสิคเกี่ยวกับปรัชญาสมัยใหม่: นั่นคือ ความเป็นสากลของความจริง, แก่นเกี่ยวกับความสามารถของความรู้ และความสามารถของเจตจำนง, แนวความคิดเกี่ยวกับความรู้ในเทอมต่างๆของการเป็นตัวแทน และ การจำลองแบบ. (เหล่านี้คือคำถามในทางปรัชญา”ญานวิทยา”)

แต่อย่างไรก็ตาม ในการวิเคราะห์ของเขานั้น ได้ให้ความเอาใจใส่ต่อเรื่องของ”human science”(มนุษยศาสตร์)เป็นปฐม เพราะเป้าหมายของเขาไม่ใช่เพียงเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เท่านั้น แต่มีเป้าหมายเกี่ยวกับยุทธวิธีด้วย. ฟูโกได้พูดถึงงานเขียนของเขาว่า มักจะมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองอันหนึ่งเสมอ: นั่นคือ สร้างความยุ่งเหยิงสับสนต่อปฏิบัติการเกี่ยวกับ”การปฏิบัติการต่างๆตามปกติ”(normalizing practices).

โดยผ่าน human science (มนุษยศาสตร์ – ที่ศึกษาถึงเรื่องของแรงงาน, ชีวิต, และภาษาของมนุษย์ตามที่เป็นจริง –) แนวความคิดต่างๆทางปรัชญา, มันได้ทำให้บรรลุถึงบรรทัดฐานของสถานภาพอันหนึ่ง และได้รับการแปลไปความเป็นจริงของความเป็นอยู่ของปัจเจกชน. วิทยาศาสตร์ต่างๆ อย่างเช่น เวชศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, ชีววิทยา, ฑัณทวิทยา, จิตเวชศาสตร์, และวิทยาศาสตร์ทางเพศ, เช่นเดียวกับภาษาศาสตร์, ได้เตรียมบรรทัดฐานและมาตรฐานต่างๆเอาไว้ พร้อมทั้งสร้างมาตรวัดและการวินิจฉัยขึ้นมา สิ่งเหล่านี้ได้เป็นตัวกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆบนพื้นฐานของหลักการทั่วไปทางสถิติและโครงสร้างต่างๆ และได้สร้างกลไกในการแบ่งแยก”ความปกติ”ออกจาก”ความไม่ปกติ” เพื่อที่จะควบคุมแต่ละคนเอาไว้อย่างเหมาะสม.

โดยผ่านงานเขียนในลักษณะล้มล้าง ฟูโกได้ตั้งคำถามในเชิงยุทธศาสตร์ว่า... เหตุใด ภาพทั่วๆไปของวิทยาศาสตร์ต่างๆเหล่านี้ จึงถูกนำมาเป็นตัววัดหรือมาตรฐาน และทำไมมันจึงได้รับการสร้างขึ้นมา และถูกนำไปบริหารความจริงเหล่านั้น.

โดยการเพาะชำคำถามข้างต้นขึ้นมา เกี่ยวกับแนวความคิดและภาพลักษณ์เหล่านี้ที่ถูกพบ ฟูโกตั้งเป้าที่จะขุดคุ้ยพลังอำนาจกฎระเบียบของระบบอำมาตยาธิปไตยเกี่ยวกับปกติวิสัยทิ้งไป,(อำมาตยาธิปไตยในที่นี้หมายถึง การปกครองโดยเจ้าหน้าที่ตามลำดับชั้น ทั้งระบบราชการและเอกชน พวกนี้จะยึดหน้าที่ประจำของตน มีกฎตายตัว ดัดแปลงได้ยาก มีระเบียบที่ล่าช้า ไม่มีความรับผิดชอบ และไม่ยอมทดลองสิ่งใหม่ๆ) ขณะเดียวกันก็สร้างแนวคิดที่เป็นระบบขึ้นมาใหม่เกี่ยวกับพื้นฐานความคิดทางด้านญานวิทยา.

ในช่วงต้นของการประกอบอาชีพของเขา ฟูโกโฟกัสไปที่ศิลปินในฐานะที่เป็นภาพลักษณ์อันโรแมนติค ผู้ซึ่งหนีรอดจากพลังอำนาจของความเป็นปกติ. ความบ้าของบรรดาศิลปินและความแปลกประหลาดในหมู่คนพวกนี้ ได้จัดหาชะแลงที่สำคัญอันหนึ่งขึ้นมา เครื่องมือดังกล่าวมันทำหน้าที่งัดง้างพลังความเป็นเนื้อเดียวกันของระบบอำมาตยาธิปไตย และขนบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันต่างๆ. ในข้อสรุปของงานเขียนเรื่อง Madness and Civilization, ฟูโกได้ให้เหตุผลว่า จากงานเขียนต่างๆทางวรรรกรรมของ the Marquis de Sade และ งานจิตรกรรมของ Francisco Goya “โลกตะวันตกได้ให้การยอมรับความเป็นไปได้เกี่ยวกับความอยู่เหนือเหตุผล ในเรื่องของความรุนแรง และเกี่ยวกับการหวนคืนมาของประสบการณ์เกี่ยวกับความเศร้าโศก ซึ่งพ้นไปจากคำมั่นสัญญาต่างๆของลักษณะวิภาษวิธี(dialectic)”.

2. ศิลปะในทัศนะของฟูโก

การสรรเสริญกันจนเลิศลอยเกี่ยวกับความจริง และชัยชนะของอำมาตยาธิปไตยที่ได้รับการยกย่องในปรัชญาแบบ Hegelian ต่อมาต้องพบว่า ตัวของมันเองได้ถูกตั้งคำถามโดยผลงานต่างๆทางด้านศิลปะ. การเชื่อมโยงกันระหว่าง ”ความว่างเปล่าของความไร้เหตุผล” กับ “พลังของการทำลายล้าง”, Sade และ Goya ได้กระตุ้นและผลักดันให้เกิดการร้อยรัดกันของความบ้า และผลงานศิลปะ: นั่นคือ “เมื่อมัน(หมายถึงความไร้เหตุผล(unreason)), เป็นเรื่องของการชี้ขาดอะไรบางอย่าง, สำหรับโลกสมัยใหม่, ในงานศิลปะทุกชิ้น: นั่นคือ ไม่ว่าผลงานศิลปะชิ้นใดก็ตาม มันได้บรรจุสิ่งที่มีลักษณะอันตรายยิ่ง และ การบีบบังคับเอาไว้.

Friedrich Nietzsche, Vincent van Gogh, และ Antonin Artaud สามารถที่จะรับรู้การส่งผ่านของสุ้มเสียงที่ได้ยินกันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความไร้เหตุผลที่คลาสสิคของ Goya ... และปล่อยให้มันแสดงออกมา. ไม่เพียงผลงานศิลปะต่างๆของศิลปินเหล่านี้ที่อยู่ยงคงกระพันต่อมาเท่านั้น โดยไม่ถูกคุมขังโดยกฎศีลธรรมอันยิ่งใหญ่ และไม่อาจที่จะถูกทำลายด้วยข้ออ้างทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ของจิตวเชศาสตร์ และการสาธารณสุขอันมีเหตุผล, แต่มันยังบีบบังคับโลกของ human science (มนุษยศาสตร์)ให้ต้องหาเหตุผลหรือพิสูจน์ตัวของมันเองด้วย.

“ผลงานศิลปะได้เปิดที่ว่างอันหนึ่งขึ้นมา, ชั่วขณะหนึ่งของความเงียบ(ของดนตรี), มันได้ตั้งคำถามซึ่งไม่ต้องการคำตอบ, ปลุกเร้าให้เกิดความแตกแยกโดยไม่มีการประนีประนอม… โลกกำลังถูกบีบบังคับให้ต้องตั้งคำถามตัวของตัวเอง”. มันดูราวกับว่า เป็นสุ้มเสียงทางบวกและอยู่ภายใต้ความบ้า(ความบ้าที่ยอมรับได้ เช่นในงานศิลปะ), ความบ้า ซึ่งครั้งหนึ่งมันเคยถูกทำให้เงียบมาโดยตลอด โดยผ่านการจำแนกและด้วยการวินิจฉัยอย่างละเอียด พร้อมเยียวยารักษาตามหลักจิตเวชศาสตร์, มาถึงตอนนี้ มันได้ปะทุออกมาโดยผ่านพลังอัจฉริยะทางศิลปะเพื่อซักไซ้ไต่ถามภาวะแห่งเหตุผล และระบบอำมาตยาธิปไตยของความปกติวิสัย.

ในความเรียงของเขาปี 1963 ในเรื่องเกี่ยวกับนักเขียน Raymond Roussel, ฟูโกให้เหตุผลว่า ภาษาของศิลปินทางด้านวรรณกรรมนั้น ได้เข้ามาตัดบทหรือเข้ามาขัดจังหวะหลักตรรกะของเอกลักษณ์ที่ควบคุมอภิปรัชญาของตะวันตก. ตรรกะของความเหมือนกันหรือเป็นอย่างเดียวกัน(logic of the Same)นี้ ได้จำลองปัจเจกแต่ละคนขึ้นมาในแบบเดียวกัน โดยผ่านการจำแนกทั่วๆไปของวิทยาศาสตร์. ภาษาได้มารับใช้เพื่อเป็นตัวแทนความหลากหลายของบรรดาปัจเจกในความจริงของรูปแบบทั่วๆไปเท่านั้น.

ฟูโกอ้างว่า ภาษาของศิลปินทางวรรณกรรม อย่าง Roussel, “ได้ยืนยันตัวของมันเองในทันทีถึงการแบ่งแยกระหว่างการเลียนแบบและสิ่งที่มันเลียนแบบ(เช่นคำว่า”ม้า” กับ “ตัวม้าจริงๆ” ไม่มีความสัมพันธ์อะไรกันเลย) เพื่อเปิดเผยถึงช่องโหว่ต่างๆและของการเลียนแบบ”. ภาษาของ Roussel เป็นใบมีดที่บางเฉียบที่ได้ตัดหรือเฉือนเอกลักษณ์ของสิ่งต่างๆ แสดงมันออกมาให้เห็นในฐานะที่เป็นคู่ที่สิ้นหวังที่มันได้พรากจากกัน มันเป็นการ แยกออกมาอย่างชัดเจน

ภาษามีพลังอำนาจที่จะทำให้เกิดบาดแผลกับวัตถุต่างๆ และบ่อยครั้งฟูโกได้อธิบายถึงการใช้ประโยชน์ของวาทกรรม(discourse)ของ human science (มนุษยศาสตร์)ต่อการดำรงชีวิตของปัจเจกชนจริงๆ ในฐานะที่เป็นชนิดหนึ่งของความรุนแรงของการบังคับควบคุมหรือการข่มขู่ ซึ่งได้สร้างความเป็นเนื้อเดียวกันของผู้อยู่ใต้บังคับให้เป็นปกติ. ภาษาทางวรรรกรรม มันได้เข้าไปขัดจังหวะ และซักไซ้ภาษาอันนี้ของความเหมือนหรือเป็นอย่างเดียวกัน(the Same).

อย่างไรก็ตาม การกำหนดคุณค่าของวรรณกรรมอันนี้ ขึ้นอยู่กับแนวความคิดเกี่ยวกับ”อำนาจ” ซึ่งโดยแก่นแท้แล้วเป็นการบังคับควบคุม. ฟูโกกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญเกี่ยวกับแนวความคิดนี้ หลังจากหนังสือเรื่อง Discipline and Punish, เขาได้มาถึงความเข้าใจที่ว่า “อำนาจ”เป็นผลิตผลเบื้องต้น, ส่วน”การบังคับควบคุม”เป็นเพียงแบบฉบับอันหนึ่งของอำนาจมากกว่าจะมีสาระหรือแก่นแท้ของตัวมันเอง.

ในการยกย่องสรรเสริญความป่าเถื่อนหรือความไม่เชื่อง, สุ้มเสียงที่ไม่เป็นปกติธรรมดาของศิลปิน, ฟูโกได้ตั้งสมมุติฐานที่อยู่เบื้องหลังความเป็นภววิสัยต่างๆ ซึ่งประกอบกันขึ้นมาเป็นวาทกรรมหรือคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของจิตเวชศาสตร์. ลักษณะแรกเริ่มเดิมที, ความจริงธรรมชาติของความบ้า, และเขามีความเห็นสอดคล้องกับผลงานศิลปะว่า มันมีพลังอำนาจที่จะเปิดเผยความจริงที่เป็นรากเดิมอันนี้ได้.

ไม่เพียงเขาจะสันนิษฐานการมีอยู่ของภววิสัยในเชิงบวกของศิลปะที่ว่า ตัวมันเองไม่ได้ถูกผลิตโดยปฏิบัติการที่แวดล้อมหรือบริบทต่างๆเท่านั้น, แต่เขายังให้ศิลปะมีพลังอำนาจที่จะปลดปล่อยความจริงอันนี้ออกมาได้ด้วย โดยการตัดขาดความเชื่อมโยงกันระหว่างความรู้และอำนาจออกจากกัน. อย่างไรก็ตาม, ในเรื่อง Discipline and Punish, ฟูโกได้วางแนวคิดทั่วๆไปของอำนาจลงในความนึกคิดเกี่ยวกับเทคนิคและยุทธวิธี, มากกว่าการปราบปรามควบคุม. อำนาจทั้งหมดเป็นเรื่องของผล และภววิสัยใดๆก็ตามก็คือผลิตผลของระบบบางอย่างของความจริง หรือ “apparatus”(เนื้อหาสาระชุดหนึ่งที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อประโยชน์เฉพาะอย่าง) ซึ่งอ้อมค้อมและไม่อ้อมค้อม ดังนั้น อำนาจและความจริงจึงซับซ้อนยุ่งเหยิง.

“พวกเราควรยอมรับว่า อำนาจได้สร้างความรู้ และอำนาจและความรู้ มีนัยะเป็นอีกอันหนึ่งของกันและกันโดยตรง”(power produce knowledge that power and knowledge directly imply one another...) มันไม่ได้เป็นกิจกรรมของความรู้ ที่สร้างความรู้ขึ้นมา, แต่อำนาจ-ความรู้(power-knowledge)...เป็นตัวกำหนดรูปแบบต่างอันเป็นไปได้ของความรู้”.

แม้ว่าฟูโกยังคงหลงใหลต่อไปกับผลงานศิลปะที่สามารถจะหนีรอดไปจากอำนาจแห่งขนบธรรมเนียมและความเป็นปกติวิสัย, แต่เขาก็เห็นว่า มันก็เหมือนๆกับความเป็นภววิสัยอื่นๆทุกอย่างนั่นเอง, กล่าวคือ มันเป็นผลอันหนึ่งของระบบบางอย่างของอำนาจความรู้(power-knowledge) นั่นเอง.

ในข้อเท็จจริง ความเข้าใจนี้เกี่ยวกับผลงานทางด้านศิลปะในฐานะที่เป็นผลของอำนาจ-ความรู้ ได้รับการนำเสนอขึ้นมาตั้งแต่ช่วงต้นๆของผลงานของฟูโกแล้ว. ผลงานเขียนเกือบทุกชิ้นจะเริ่มต้นและพัฒนาจากภาพลักษณ์เชิงสัญลักษณ์: the stultifera navis หรือ เรือของคนโง่ ใน Madness and Civilization, ฉากของโต๊ะชำแหละในเรื่อง The Birth of the Clinic, หรือในภาพกว้างทั้งหมดในเรื่อง Discipline and Punish. ในแต่ละเรื่อง เขาได้ให้ภาพที่แสดงออกมากขึ้นเกี่ยวกับ”apparatus” (เนื้อหาสาระชุดหนึ่งที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อประโยชน์เฉพาะอย่าง) หรือระบบของอำนาจ-ความรู้ ที่ได้สร้างมันขึ้นมา.

ใน The Order of Things (Les Mots et les choses) ภาพในเชิงสัญลักษณ์นี้เป็นงานจิตรกรรมของ Diego Rodriguez de Silva y Velazquez. ฟูโกพบว่าในภาพ Las Meninas ของ Velazquez เป็นการสาธิตหรือแสดงให้เห็นถึงตรรกะของการจำลองแบบ(representation)ที่ควบคุมยุคคลาสสิคเอาไว้(1650-1789)(โปรดดูภาพประกอบ).

PverlasR.jpg (17636 bytes)

ภาพอันมีชื่อเสียงนี้ได้บันทึกฉากของงานจิตรกรรมของ Velazquez, ภาพของกษัตริย์และราชินีแห่งสเปน, ผู้ซึ่งปรากฎพระองค์เพียงเป็นภาพที่ถูกสะท้อนในกระจกเงาด้านหลังเท่านั้น. ในการปลุกเร้าด้วยคารมคมคายและรายละเอียดของงานจิตรกรรมดังกล่าว, ฟูโกได้เผยให้เห็นว่า พวกเราในฐานะผู้ดูได้ถูกวางในตำแหน่งของหุ่นหรือผู้เป็นแบบ(we as spectators are place in the position of the model), ในเวลาเดียวกัน วัตถุที่ได้รับการจำลองบนผืนผ้าใบ และตัวแบบในภาพก็กำลังจ้องมองการทำงานของจิตรกรที่กำลังวาดภาพอยู่.

ผลงานจิตรกรรมนี้ได้เผยให้เห็นความแตกต่างและความไม่ต่อเนื่อง ของการกระทำเกี่ยวกับการจำลองแบบ, วัตถุของการจำลอง, และการจำลองในตัวของมันเอง, ซึ่งอันนี้เป็นการตั้งคำถามถึงความเหมือนกันหรือเอกลักษณ์(identity) ที่ถูกอ้างโดยหลักตรรกะของการจำลองหรือการเป็นตัวแทน (logic of representation)สำหรับภาพและวัตถุของมัน.

ยิ่งไปกว่านั้น, ในการจำลองที่เป็นตัวแทนของตัวมันเอง, ผลงานดังกล่าวได้เผยถึงเงื่อนไขของการผลิตความรู้ในฐานะที่เป็นตัวแทน และแสดงให้เห็นว่า ความประจวบเหมาะของผู้สร้างสรรค์, หุ่นที่เป็นแบบ(หมายถึงเราที่กำลังเป็นคนดูภาพนี้เป็นแบบให้กับจิตรกร), และผู้ดู ซึ่งการจำลองแบบต้องพึ่งพา, ไม่เคยเกิดขึ้นเลย. แน่นอน เพราะมันจำลองผลงานตัวของมันเองตาม”apparatus” (เนื้อหาสาระชุดหนึ่งที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อประโยชน์เฉพาะอย่าง)ของการจำลอง.

ผลงานศิลปะชิ้นนี้ได้ทำหน้าที่เป็นชะแลงหรือคานงัด ในการวิเคราะห์ที่สำคัญมากเกี่ยวกับการจำลองตัวของมันเอง. (ลองหวนกลับไปดูรูปประกอบอีกครั้ง แล้วตระหนักว่าตัวเราผู้ดูกำลังเป็นแบบให้กับจิตรกรวาดภาพอยู่ ตัวเราคือความจริง [แต่เป็นจริงไปไม่ได้] แต่สิ่งที่จิตรกรเขียนนั้นคือความจริงในบริบทที่มาประจวบกันทั้งหมด ไม่ใช่ความจริงที่อยู่นอกบริบทไปได้)

ในทำนองเดียวกัน ความเรียงเรื่อง”What is the Author ?” ฟูโกได้ตั้งคำถามขนบธรรมเนียมการอ้างอิงใจความต่างๆ ต่อการสร้างสรรค์ของนักเขียน, ความลึกซึ้งทางสติปัญญา, แรงบันดาลใจ, หรือเจตนา, ราวกับว่า ผลงานนั้นเป็นผลของการกระทำทางจิตวิทยาบางอย่าง หรือถ้อยแถลงของนักเขียน. ฟูโกให้เหตุผลว่า “นักเขียน” ไม่ใช่ตัวหลัก-ตัวเรื่อง, แต่มีบทบาทหน้าที่ของการเสนอวาทกรรม, ซึ่งเป็นผลอันหนึ่งของการสร้างข้อสรุปจากเหตุผลแวดล้อมหรือ”apparatus” (เนื้อหาสาระชุดหนึ่งที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อประโยชน์เฉพาะอย่าง) ที่กำหนดลงไปว่า ใครสามารถพูดได้, อะไรที่ถูกนำมาพูด, และความสัมพันธ์ของสิ่งที่ถูกพูดกับเรือนร่างต่างๆของความจริง.

ฟูโกได้ชี้ว่า”บทบาทหน้าที่ของนักเขียน”ไม่ใช่ความเป็นสากล. ตามประวัติศาสตร์วรรณกรรม ได้ให้ตัวอย่างต่างๆมากมาย เกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่ได้รับการยอมรับและแพร่หลายโดยไม่เกี่ยวข้องหรือผูกพันกับนักเขียนเนื้อหาพวกนั้นขึ้นมา. ตัวของนักเขียนเป็นประเด็นหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะต่อวาทกรรมเหล่านั้น ซึ่งความมีเหตุมีผลได้ถูกผูกติดกับอุปกรณ์ต่างๆ. การวิเคราะห์เกี่ยวกับ”หน้าที่ของนักเขียน” ได้เผยให้เห็นระบบของอำนาจหน้าที่ ซึ่งวาทกรรมได้ถูกทำให้เป็นระเบียบและถูกเผยแพร่ออกไป.

การสร้างข้อสรุปด้วยเหตุผลแวดล้อม หรือ”apparatus” (เนื้อหาสาระชุดหนึ่งที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อประโยชน์เฉพาะอย่าง) ได้กำหนดหรือนำเสนอตำแหน่งที่เป็นไปได้ต่างๆจากสิ่งซึ่ง เรื่องราวอันหนึ่งสามารถกล่าวออกมาได้ เช่นเดียวกับกลไกและบรรทัดฐานที่แบ่งแยกสิ่งที่เป็นอำนาจหน้าที่ กับสิ่งที่ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ออกจากกัน.

ด้วยเหตุนี้ กระบวนการวิเคราะห์จากข้อสรุปแวดล้อม จึงไม่ใช่การถามว่า ใครคือนักเขียนที่แท้จริง และอะไรที่นักเขียนได้เผยให้เห็นถึงตัวตนของตัวเองที่ลึกซึ้งที่สุด, แต่ควรตั้งคำถามว่า เนื้อหาอันนี้มันมาจากไหน, มันได้ถูกเผยแพร่ออกไปอย่างไร และใครเป็นผู้ควบคุมมัน. เนื้อหาต่างๆของ Nietzsche หรือ Gustave Flaubert ไม่ได้หนีพ้นไปจากการวิเคราะห์อันนี้ ยิ่งไปกว่าเรื่องทางจิตเวชศาสตร์ ฑัณทวิทยา หรือจริยศาสตร์.

สิทธิพิเศษทางความรู้อันหนึ่ง ยังคงเกาะติดอยู่กับศิลปะและวรรณกรรมต่อไป โดยไม่คำนึงถึงเสียงวิพากษ์จารณ์ต่างๆเกี่ยวกับการควบคุมและอำนาจแต่อย่างใด. ในความเรียงที่ได้รับการตีพิมพ์ขึ้นมาในปี 1986 เรื่อง “Maurice Blanchot: The Thought from Outside” ฟูโกได้ให้เหตุผลวรรณกรรมว่า มันมีอำนาจแห่งการล่วงละเมิด(transgressive power). ในภาษาของวรรณกรรมนั้น มันได้หนีรอดหรือหลุดพ้นไปจาก”วงศ์วานแห่งการจำลองหรือการเป็นตัวแทน”(dynasty of representation) และบรรลุถึง”การทะลุทะลวงอันยิ่งใหญ่”.

The Marquis de Sade และ Johann Christian Friedrich Holderlin, Artaud และ Stephane Mallarme, เป็นตัวอย่าง, ได้ฉีก”คุณสมบัติภายในเกี่ยวกับการสะท้อนถ่ายทางปรัชญาของเรา” กับ “ลักษณะบวกเกี่ยวกับความรู้ของเรา”ออกจากกัน และได้ให้ภาษาหนึ่งซึ่งตัวแบบ(subject)ได้ถูกกันหรือแยกออกไป. ฟูโกเสนอว่า”การดำรงอยู่ของภาษา มันเพียงปรากฏเพื่อตัวของมันเอง โดยที่ไม่ปรากฏเกี่ยวกับตัวแบบ(the subject)”.

ตราบเท่าที่ภาษาได้ถูกทำให้เป็นบริวารหรืออยู่ใต้การบังคับบัญชาของกลไกการเป็นตัวแทนหรือการจำลอง, เพื่อที่จะสร้างหรือสถาปนาความเหมือนตัวของมันเองขึ้นมา, มันก็จะถูกครอบงำต่อไปด้วยคำถามของ Hegellian เกี่ยวกับความหมาย, ของการกล่าวถึงสิ่งที่ถูกหมายความถึง. อย่างไรก็ตาม, บรรดานักเขียน อย่างเช่น Artuad หรือ Blanchot มิได้ถามว่าภาษาหมายถึงอะไร, แต่ถามว่า อะไรที่เขียน เพื่อเปิดเผยว่ามันคืออะไร: นั่นคือ ฉากหนึ่งของความเหินห่าง และ การซ่อนเร้นอำพราง.

วรรณกรรมคือ”ภาษาชนิดหนึ่ง ซึ่งไกลห่างจากตัวของมันเองเท่าที่จะเป็นไปได้”, มันเป็นบาทวิถีอันหนึ่ง ที่นำไปสู่สิ่งที่เป็นเรื่องภายนอกของคุณสมบัติภายใน หรือความเหมือน(เอกลักษณ์)ตัวเองของตัวแบบที่กำลังพูดถึง.

จากชั่วขณะดังกล่าว วาทกรรมได้ยุติการดำเนินรอยตามความคิดภายใน และ ทำให้ความคิดมาสู่โลกภายนอก. มันกลายเป็นการบรรยายที่พิถีพิถันของประสบการณ์, การเผชิญหน้า, และเครื่องหมายต่างๆ-ทางภาษาที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ เกี่ยวกับสิ่งภายนอกของภาษาทั้งหมด, คำพูดเกี่ยวกับด้านที่มองไม่เห็นของคำต่างๆ.

งานเขียนของ Blanchot หรือ Mallarme ได้แสดงให้เห็นว่า ภาษาไม่มีกาลเวลา, และไม่ใช่เป็นนิรันดร์กาลด้วย, ไม่ใช่คน, แต่มักจะเป็นรูปแบบที่ไม่ทำงานของภายนอก(undone form of outside). ค่อนข้างจะหวนกลับไปสู่ตัวของมันเองมากกว่า เพื่อที่จะยืนยันถึงวงจรเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของมันเอง. ภาษาอันนี้จึงได้เปิดตัวสู่ภายนอก ที่ซึ่งได้กลายเป็นอื่นไปแล้วอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง. การนำไปสู่ภายนอกอันนี้, ตัวแบบหลักได้สูญสลายหายไป และงานเขียนปรากฎตัวขึ้นในฐานะที่เป็นผลอันหนึ่งของคุณสมบัติภายนอกนี้. ด้วยเหตุดังนั้น, ฟูโกจึงสรรเสริญ Blanchot เพราะว่าเขา”ไม่ได้ถูกซ่อนโดยงานเขียนต่างๆของเขา, แต่ก็ไม่ได้มีอยู่จากการมีอยู่เหล่านั้นด้วย....”

ในทำนองเดียวกัน ฟูโกได้พูดถึงตัวของเขาเองว่า “เขาเขียนเพื่อที่จะได้ไม่มีโฉมหน้า”, เพื่อที่จะแทนอัตตะเจตนาด้วยผลสรุปจากเหตุผลแวดล้อม. ฟูโกยังคงยกสถานภาพวรรณกรรมต่อไป โดยไม่คำนึงการมาบังคับควบคุมและอำนาจ, เพราะเขาไม่ได้วางคุณค่าของมันลงในความไม่เป็นธรรมดา, อัจฉริยภาพที่เป็นอิสระไม่ผูกติด.

ในงานเขียนท้ายสุดของเขา 4 เล่ม History of Sexuality ฟูโกได้เปลี่ยนความสนใจมายัง”สุนทรีย์ศาสตร์ของการดำรงอยู่” นั่นคือ ต่อระบบต่างๆของจริยธรรมของกรีกและโรมันสโตอิค(หลักธรรมแห่งการปลงและการขจัดตัณหาราคะ) ซึ่งมีเป้าหมายของหลักการอยู่ที่การทำให้ชีวิตงดงาม. ปรัชญาเหล่านี้ได้พัฒนา”ศิลปะของการดำรงอยู่ขึ้นมา”, เทคนิคและวิธีปฏิบัติเพื่อบ่มเพาะและทำให้สาระของตัวตนเป็นรูปเป็นร่างขึ้น. ถึงแม้ว่าผลงานเหล่านี้จะบรรจุบทสนทนาเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับผลงานทางด้านศิลปะ หรือเกี่ยวกับสนุทรียศาสตร์ ในความหมายของทฤษฎีทางศิลปะ, แต่มันก็ได้สำรวจภาวะที่คล้ายคลึงกันอันนี้ระหว่างเรื่องราวทางจริยธรรมและผู้สร้างผลงานศิลปะ. ทั้งสองต่างๆเป็นสาระของเทคนิค: นั่นคือ ผลต่างๆของ”apparatus” (เนื้อหาสาระชุดหนึ่งที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อประโยชน์เฉพาะอย่าง), ระบบของแนวความคิดและปฏิบัติการทางด้านเนื้อหาที่ได้ผลิตทั้งวัตถุและความรู้ของเราเกี่ยวกับมันขึ้นมา.

 

Back to midnight's home email : midnightuniv(at)yahoo.com