บทความลำดับที่ 167

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เรื่อง "อารยธรรมและศัตรูของอเมริกัน" แปลโดย สมเกียรติ ตั้งนโม
จากต้นฉบับเรื่อง
American Civilization and Its Enemies

 

H
home
ต้นฉบับของบทความชิ้นนี้ เขียนโดยของ Baabar Batbayar

ประวัติเกี่ยวกับผู้เขียน
Baabar Batbayar เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เขาเป็นหนึ่งในนักการเมืองที่มีชื่อเสียงของมองโกเลีย รู้จักกันในนาม Baabar ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งพรรคสังคมประชาธิปไตยมองโกเลีย. เขามีบทบาทสำคัญในขบวนการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990s ได้ร่ำเรียนมาทาง Bio-Physics ในประทศมองโกเลียและโปแลนด์ และได้ทำงานในฐานะนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์จากปี 1981-1991 เขายังเป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระนับจากปี 1994 จนกระทั่งได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่รัฐสภาในปี 1996 ในการเลือกตั้งทั่วไป

ประวัติผลงาน Baabar Batbayar เป็นที่รู้จักในฐานะนักเขียนหนังสือเรื่อง Samizdat ซึ่งเขาเริ่มต้นลงมือในช่วงทศวรรษที่ 1980s. เป็นครั้งแรกในการวิพากษ์เกี่ยวกับสังคมนิยมจากภายในกรอบความคิดของนักสังคมนิยม ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980s เขาเริ่มตั้งคำถามลัทธิสังคมนิยมในตัวมันเอง. เขายังคงสร้างงานเขียนของเขาต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1990s ส่วนใหญ่แล้วเป็นการแสดงความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับสังคมมองโกเลียน

ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ของนักออกแบบภาพปก Robert Grossman ตัดจากปกนิตยสาร National Lampoon และผลงานของศิลปิน Grant Wood ชื่อภาพ American Gothic 1930 สีน้ำมันบนไม้กระดาน

อดีตประธานาธิบดี Richard Nixon ครั้งหนึ่ง เขาเคยบันทึกเอาไว้ว่า ผู้คนจากทุกมุมโลกออกมาจากบ้านเกิดของตนและไปยังอเมริกา, แต่ไม่เคยมีใครละทิ้งไปจากประเทศนี้.

ทุกๆโอกาส บรรดาชาวยุโรปทั้งหลายชอบสังเกตว่า คนอเมริกันต่างจากพวกตนอย่างไร. คนอเมริกันดื่มชาใส่น้ำแข็ง, มีนิสัยที่ชอบเอาเท้าวางพาดไว้บนโต๊ะ, ชอบเข้าสู่รายละเอียดของเนื้อหา โดยไม่มีการเกริ่นนำในการพูดคุยการงานธุรกิจ, ไม่มีการแบ่งแยกลำดับชั้นสูงต่ำ, ไม่เคยอาย, พวกเขาเป็นคนที่ชอบบ้านหลังใหญ่และรถยนต์คันใหญ่ๆ, พูดจาวางโต, แต่บางครั้งไร้เดียงสาเอามากๆ, ไม่เคยมีความรู้เกี่ยวกับประเทศอื่นๆเลย แต่ก็ปฏิบัติได้ดีพอใช้ ที่จะรู้ไดโดยหัวใจในรายละเอียดต่างๆถึงกฎระเบียบต่างๆของชาวต่างประเทศ, กฎหมายและรัฐบาล เมื่อต้องเข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้คนเหล่านั้น และ มักจะกลายเป็นหัวข้อหนึ่งของความสนุกสนานเสมอ, คนอเมริกันมีความภาคภูมิ และให้ความเคารพต่อคนยุโรป (ตัดมาจากเนื้อหาบทความ)

QUOTATION
release date
300345
-1700
-1650
-1600
บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 13 หน้ากระดาษ A4 : หากนักศึกษา สมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลงมาจะแก้ปัญหาได้
บทความที่เผยแพร่บน web ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ สำหรับผู้ที่นำไปใช้ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
W
board
Finance Minister B. Batbayar, 44, is one of Mongolia's best-known political figures, known to one and all as Baabar. A founding member of the Mongolian Social Democratic party, he played a key role in the democratic movement of the early 1990s. Trained as a bio-physicist in Mongolia and Poland, he worked as a scientific researcher from 1981 to 1991, was founding head of the Social Democrats from 1991 to 1994 and served as an independent journalist from 1994 until he was elected to Parliament in the 1996 general election.
B. Batbayar

AMERICAN CIVILAZATION AND ITS ENEMIES
อารยธรรมและบรรดาศัตรูของอเมริกัน

By Baabar Batbayar
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปล
(Somkiat Tangnamo / Faculty of Finearts - Chiangmai University)

หนึ่ง. ในบรรดาแนวคิดและทฤษฎีที่สำคัญยิ่งในคริสตศตวรรษที่ 20 หลักความไม่แน่นอน(Uncertainty Principle)ของ Heisenberg และต่อมาจนกระทั่งถึงทฤษฎีสัมพัทธภาพ และการเปิดเผยเกี่ยวกับโครงสร้าง DNA, เมื่อประเมินแล้วปรากฎว่า "หลักความไม่แน่นอน"(Uncertainty Principle) ของ Heisenberg ดูเหมือนว่าจะได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นความคิดวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคริสตศตวรรษที่ 20. บรรดานักวิทยาศาสตร์จำนวนมากตีความทฤษฎีสัมพัทธภาพของ Einstein(Theory of Relativity) และหลักความไม่แน่นอนของ Heisenberg (Uncertainty Principle)ว่าเป็นความก้าวหน้าครั้งยิ่งใหญ่ในทางปรัชญา
มากกว่าที่จะเป็นความคิดทางวิทยาศาสตร์ในทางฟิสิกส์

จากการค้นพบดังกล่าว พบว่า เป็นไปไม่ได้ที่เราจะอธิบายเรื่องของ"อนุภาคที่มันประสานเข้าด้วยกันและผลักกันในเวลาเดียวกัน" ให้เป็นที่ยอมรับได้ โดยการยืนยันว่า มันมีนัยสำคัญอย่างยิ่งต่อมนุษยชาติและจักรวาลส่วนใหญ่. Carl Poper, นักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ชาวออสเตรียน, "ตีความ"โดยเป็นที่ยอมรับกันว่า "มันคือเส้นโค้งต่างๆแห่งการเรียนรู้ ซึ่งได้ถูกจำกัดโดยวิธีการเข้าหาหรือศึกษาพวกมันนั่นเอง".

ตามความหมายในเชิงปรัชญาเกี่ยวกับหลักความไม่แน่นอนของ Heisenberg มันไม่มีช่องทางใดที่จะรู้ได้ ณ วันนี้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้. กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือว่า มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะล่วงรู้ข้อมูลใดๆซึ่งจะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ตอนหนึ่งนาฬิกา ณ วินาทีหนึ่งวินาทีใดก่อนหน้านั้น. อันนี้เท่ากับว่า Heisenberg ได้ทำลายคำทำนายทายทักของบรรดานักโหาราศาสตร์และนักพยากรณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าลงอย่างสิ้นเชิงในทันทีและตลอดไป

ตอนนี้มนุษยชาติกำลังแสดงการคำนับต่อช่วงปลายของสหัสวรรษที่สอง และกำลังให้การต้อนรับกับศตวรรษที่ 21 ใหม่กันอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม นี่คือการนับวันเดือนปีที่สร้างขึ้นมานับจากที่พระเยซูคริสต์ทรงประสูติขึ้นมาบนโลก และหยิบเอามาเป็นจุดเริ่มต้นของการนับศักราช. แต่อย่างไรก็ตาม หากพูดกันอย่างเคร่งครัดรัดกุมแล้ว ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่า ปีที่องค์พระเยซูคริสต์ประสูตินั้นผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปสี่ปี. ด้วยเหตุนี้ปีปัจจุบันควรเป็นปี ค.ศ.2004 แล้ว, ถ้าหากว่าปีดังกล่าวที่เป็นปีเริ่มต้นศักราชได้รับการแก้ไขและคิดคำนวณอย่างถูกต้อง

ทุกวันนี้ ปีปฏิทินที่ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นมาด้วยเลขศูนย์สามตัว, อารยธรรมที่สร้างขึ้น, โลกที่ก่อตัวขึ้นมา, และการบูรณาการของประชากรมนุษย์ ได้เก็บรักษาข้อเสนอแนะและคำทำนายจำนวนนับไม่ถ้วนเอาไว้เกี่ยวกับธรรมชาติที่เป็นวิทยาศาสตร์และไม่เป็นวิทยาศาสตร์ของสิ่งที่จะเกิดขึ้นมาในปีแห่งอนาคตข้างหน้า เพื่อมาถึงเหตุการณ์ที่ทำเครื่องหมายไว้ด้วยตัวเลขพิเศษต่างๆ. ถ้าหากว่าเราจำแนกหรือไตร่ตรองนิยามความหมายเกี่ยวกับคำว่า"ในเชิงวิทยาศาสตร์"(scientific), โดยคำทำนายต่างๆของพวกเขา เช่น ศาสตราจารย์ Alvin Toffler จาก the Cornell University, Samuel Huntington จาก Harvard, Francis Fukuyama จาก the George Mason University, และศาสตราจารย์ที่มีชื่อเสียง Zbignew Brzezinski มันก็จะก่อให้เกิดคลื่นของความรู้สึกและดึงดูดความสนใจของผู้คนไม่น้อยทีเดียว

สอง. อารยธรรมตะวันตก แน่นอน ในรอบหนึ่งพันปีที่ผ่านมา เมื่อช่วงพันปีนั้นยังอยู่ ณ ธรณีประตู, ผู้คนจำนวน 300 ล้านคนดำรงชีวิตอยู่บนผืนโลก และมีเพียงนักบวช และบาทหลวงหยิบมือหนึ่งเท่านั้นในใจกลางของทวีปยุโรปที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ที่ได้มากวาดโลกของเราไป. บรรดาชาวยุโรปไม่มีความคิดใดๆเกี่ยวกับการประสูติขององค์พระคริสต์ และไม่เคยมีปฏิทินใช้ และไม่เห็นคุณค่าใดๆที่จะทำอย่างนั้น. แต่ในโลกอาหรับ กลับกำลังเฉลิมฉลองปีที่ 378 ในปีปฏิทินของพวกเขา, และโลกมุสลิมได้มาถึงจุดสุดยอดของความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดของพวกเขา

เมื่อบรรดาหมาป่าทั้งหลายกำลังวิ่งอยู่บนถนนสายต่างของปารีส, ฝูงแกะทั้งหลายได้รับการเลี้ยงดูอยู่ในโรม, และเบอร์ลินยังเป็นเพียงหมู่บ้านไม้หมู่บ้านหนึ่งเท่านั้น; นาครแห่งคอร์โดบา(the city of Cordoba) เป็นบ้านหลังใหญ่แห่งหนึ่งของผู้คนจำนวนกว่าครึ่งล้าน และมีห้องสมุดสาธารณะแล้วถึงกว่า 70 แห่ง. สำหรับชาวอาหรับ, ยุโรปเป็นเพียงแหล่งวัตถุดิบหนึ่งเท่านั้นของการนำเข้าแรงงานทาสและไม้ซุง, และชาวอาหรับรับรู้เกี่ยวกับยุโรปในฐานะที่เป็นดินแดนอันมืดมิดและหยาบช้าของผู้พิชิตและการรุกรานตลอดกาล

ช่วงเวลาดังกล่าวในประเทศจีน ชาติที่มั่งคั่งที่สุดและมีพลานุภาพสูงสุดในโลก ผู้คนต่างกำลังใช้เข็มทิศกัน ได้มีการผลิตปืนชนิดที่บรรจุดินปืนและกระดาษขึ้นมาใช้ และมีธนบัตรหมุนเวียนใช้กันอยู่ในหมู่ผู้คนเรียบร้อยแล้ว. ในประเทศอินเดีย ชาวอินเดียต่างก็กำลังสร้างแท่นบูชาของ Brahashvari ที่สูงถึง 70 เมตร. ราชวงศ์มายัน ที่ครั้งหนึ่งเคยสร้างวัดวาอารามขนาดยักษ์โพ้นทะเลได้ล่มสลายลง, ชาว Toltec ได้ครอบครองดินแดนตอนกลางของเม็กซิโกอยู่ ชาวอินคาครอบครองและมีอิทธิพลอยู่ทางใต้, และจักรวรรดิ์ของ Aztec กำลังรอเวลาของตนที่จะรุ่งเรืองขึ้นมา

เมื่อประมาณ 100 ปีล่วงมาแล้ว ณ จุดเริ่มต้นของคริสตศตวรรษที่ 20 จำนวนประชากรของโลกได้เพิ่มขึ้นมาจนถึง 1.65 พันล้านคน. อารยธรรมที่ชื่อว่า"ตะวันตก"หรือ"ยุโรป"ซึ่งปรากฎตัวขึ้นมาใหม่เมื่อไม่นานในช่วงระหว่างยุคเรอเนสซองค์ทางด้านเทคโนโลยี ได้บรรลุถึงพลังอำนาจที่เด็ดขาดในโลก. อารยธรรมนี้ได้รับการนำเสนอให้กับประชากรถึงหนึ่งในสี่ของโลก ส่วนพวกที่เหลือนั้น อารยธรรมนี้ถูกรับรู้ในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมที่ต่ำช้า ซึ่งถูกยัดเยียดมาสู่พวกเขาด้วยกำลังบังคับ

สำหรับญี่ปุ่นสามารถที่จะรับเอาอารยธรรมนี้มาได้อย่างรวดเร็ว และได้ปรากฏตัวขึ้นบนสังเวียนโลกซึ่งต่อมาได้พัฒนามาถึงขบวนแถวของชาติตะวันตกต่างๆโดยความสามารถของมันที่จะเจรจากับพวกที่มีอำนาจได้. แต่จีน, ซึ่งต่อต้านอารยธรรมนี้ ต้องกลายเป็นเหยื่อของความกดดันและการบุกรุกอย่างต่อเนื่องจากพวกโพ้นทะเล. โลกทั้งใบได้ถูกควบคุมหรือกำหราบอยู่ใต้การบังคับของชาติตะวันตกไม่กี่ประเทศ อย่างเช่น สหราชอาณาจักรอังกฤษ, ฝรั่งเศส, สเปน, โปรตุเกส, สหรัฐอเมริกา, เนเธอร์แลนด์ และเบลเยี่ยม

พัฒนาการทางเทคโนโลยีเหล่านี้นั่นเอง ที่ทำให้บรรดาชาติตะวันตกได้น้อมนำมาสู่การยกระดับประชาชาติตนสู่ตำแหน่งอันทรงอิทธิพลในด้านวัฒนธรรม, วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, กำลังทหาร และทางการเมือง. มันมาจากไหนกันเล่าสำหรับอารยธรรมที่ทรงพลานุภาพและวัฒนธรรมอันผึ่งผายเหล่านี้ ? คำตอบก็คือ โดยการช่วยเหลือของอาหรับ มรดกตกทอดของอารยธรรมกรีกและโรมันก่อนหน้านั้น ซึ่งได้รับการฟื้นคืนชีพขึ้นมาตรงหน้าของชาวยุโรป และนับจากนั้น ประวัติศาสตร์จึงได้รู้จักคำว่า"เรอเนสซองค์"( Renaissance - การฟื้นฟู)

การพิชิตที่ Chinggis Khan (เจงกีสข่าน) กระทำสำหรับช่วงเวลาเกือบร้อยปี และอุดมคติของ Pax Mongolica ต่างเป็นพาหะสำคัญอันหนึ่งที่นำพาวัฒนธรรมตะวันออกสู่ตะวันตก. ความกระหายอยากที่มีความหมายหรือนัยสำคัญของชาวยุโรป ผู้ซึ่งครอบครองความรู้มากพอเกี่ยวกับจักรวาลและภูมิศาสตร์ กลายเป็นเหตุผลหลักอันหนึ่งสำหรับการเดินทางต่างๆของ Vasco Da Gama, Columbus และ Magellan.

ขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางใหม่ไปสู่อินเดีย, Columbus ได้นำเอาหนังสือของ Marco Polo ติดตัวไปด้วย (Marco Polo เป็นพ่อค้าชาวเวนิส ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งได้มีโอกาสเดินทางเข้าไปในประเทศจีน) ในฐานะคัมภีร์ไบเบิลการเดินทางของเขาและเข็มทิศอันแวววาว. ความเข้าใจใหม่ๆเหล่านี้เกี่ยวกับจักรวาล, เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ ได้ถูกพัฒนาต่อมาบนพื้นฐานของการเปิดเผยต่างๆทางจิตวิญญานขององค์พระเยซูคริสต์, คำสอนทางศีลธรรมและจริยธรรมและคุณค่าต่างๆ. เหล่านี้ทั้งหมดล้วนถือกำเนิดขึ้นมาในดินแดนตะวันออก

แม้ว่า Johan Gutenberg (ชาวเยอรมัน)จะได้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องพิมพ์ขึ้นมาราว 500-600 ปีหลังจากชาวจีน แต่คัมภีร์ไบเบิลของเขาซึ่งได้รับการตีพิมพ์ขึ้นมาในปี ค.ศ.1448 ก็ได้ถูกนำมาใช้ในฐานะที่เป็นเงื่อนไขหลักที่สำคัญอันหนึ่ง ซึ่งผลักให้มนุษยชาติก้าวมาสู่จุดสุงสุดของวันเวลาแห่งสมัยใหม่(modern day)อย่างไม่ต้องสงสัย. Gutenberg สามารถทำให้มันเกิดขึ้นมาได้ ซึ่งเหนือกว่าพลังอำนาจของชาวจีน และเขาเป็นคนแรกที่เป็นนายของยุคข่าวสารข้อมูล

ในทำนองเดียวกัน ปืนไฟก็สามารถถูกนำมาใช้อธิบายได้เช่นกัน. ชาวจีน อย่างน้อยที่สุดในปี ค.ศ.1128 พวกเขากำลังใช้ปืนใหญ่กันอยู่ แต่ชาวยุโรปทั้งหลาย โดยผ่านสงครามนับครั้งไม่ถ้วน ได้เปลี่ยนมันไปสู่เครื่องมืออันทรงพลานุภาพอันหนึ่งที่ทำให้มันแตกต่าง

สรุป: วัฒนธรรมตะวันตกหรือของชาวยุโรปที่ทรงพลานุภาพ ซึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นมาในช่วงระหว่างยุคเรอเนสซองค์คือผลผลิตร่วมกันของมนุษยชาติ ซึ่งคนผิวขาว(ว่ากันตามตัวอักษร)ได้เป็นผู้แกะสลักลงบนหัวใจของยุโรป. ใครสักคนไม่อาจจินตนาการถึงอารยธรรมนี้ได้โดยปราศจาก อย่างน้อยที่สุด มันฝรั่ง. คำถามว่า ชาวอินคาทั้งหลายไม่ได้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือต่อสิ่งนี้ล่ะหรือ ?

ช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 ชาวยุโรปและชาวอเมริกันได้ผูกขาดอย่างสมบูรณ์ในอารยธรรมนี้ และเพลิดเพลินกับผลไม้ต่างๆของมันท่ามกลางพวกเขาเองโดยเฉพาะ และกำกับควบคุมสิ่งนี้อันตรงข้ามกับอารยธรรมอื่นๆ และอันที่จริงพวกเขาได้ใช้มันเอาชนะคนอื่นๆ; อารยธรรมอันยิ่งใหญ่ของจีน, อินเดีย และมุสลิม ซึ่งดำรงอยู่ไกลห่างจากการระเบิดของอารยธรรมนี้ที่ปะทุขึ้นมาในช่วงครึ่งหลังของรอบพันปีที่สอง, ด้วยการต่อต้านของพวกเขาในความรู้สึกของผู้คนต่อวัฒนธรรมตะวันตก, จีน อินเดีย และมุสลิมได้ถูกละทิ้งไปในฝุ่นผงธุลีของประวัติศาสตร์

สาม. บทเรียนของคริสตศตวรรษที่ 20 ประวัติศาสตร์ของศตวรรษที่ 20 มีลักษณะเฉพาะพิเศษเมื่อเปรียบเทียบกับยุคสมัยอื่นๆของประวัติศาสตร์มนุษย์. ณ กาลสิ้นสุดของศตวรรษที่แล้ว เรามีประชากรโลกถึง 6 พันล้านคน. อันนี้เป็นจำนวนผู้คนที่ยิ่งใหญ่มากเกินกว่าประชากรมนุษย์ที่มีอยู่ในช่วงระหว่าง 1 แสนปีที่ผ่านมาเลยทีเดียว นับตั้งแต่ที่สายพันธุ์ homo sapiens เป็นที่รู้จักขึ้นมาเป็นครั้งแรก

ทฤษฎีความเจริญเติบโตเกี่ยวกับประชากรมนุษย์ของ Malthus ในลักษณะก้าวหน้าเชิงเรขาคณิต, อาหารในเชิงพีชคณิต ไม่เพียงเรียนรู้ถึงความหมายที่แตกต่างเท่านั้นในยุคของความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมสมัย. ทฤษฎีของ Darwin ด้วยเช่นกันที่ได้อธิบายถึงวิวัฒนาการของชีวิต โดยอาศัยการคัดสรรตามธรรมชาติ ก็ได้รับการแปรสภาพไปอย่างมากในยุคของพันธุศาสตร์ และมันไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นเครื่องยนต์หลักของการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

อันที่จริง Malthus ไม่ได้สร้าง Darwin , และ Darwin ตามลำดับ ไม่ได้ให้กำเนิด Marx, Lenin และ Hitler ใช่ไหม ? Nazism และ Communism, การทดลองอันมหึมาทั้งสองลัทธินั้นพยายามที่จะยัดเยียดกฎธรรมชาติให้กับสังคมมนุษย์ที่ไม่ได้มีการศึกษาอย่างพร้อมมูล, มันปรากฎตัวขึ้นมาและบังเอิญโชคดีที่ได้ล่มสลายลงภายในศตวรรษนั้น ซึ่งก็เกือบๆจะล้มล้างการดำรงอยู่ของมนุษยชาติลงไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว. มาร์กซ์ได้อธิบายปรัชญาของเขา ซึ่งเขาได้สร้างมันขึ้นมาจากการผสมผสานหลักวิภาษวิธีของ Hegelian และการคัดสรรโดยธรรมชาติของ Darwin เข้าด้วยกัน ในฐานะที่เป็นเรื่องทางด้านวิทยาศาสตร์. ตามความคิดของเขา, ลัทธิมาร์กซ์ เป็นปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่พิเศษ

ในความคิดเห็นของมาร์กซ์, คริสตศตวรรษที่ 19 ปรัชญาเยอรมันได้นำเสนอบรรดานักคิดที่เฉลียวฉลาดจำนวนมากให้กับมนุษยชาติ และนั่นสามารถที่จะนำไปเปรียบเทียบได้กับกรีกโบราณเลยทีเดียว อันนี้สำหรับเขาแล้วเป็นเรื่องราวอันหนึ่งของการสบประมาท เป็นการทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง และเป็นสิ่งที่น่าหัวเราะเยาะซึ่งแนบมากับไอเดียต่างๆของเขา. ความยโสโอหังของเขาและการยืนยันอย่างหนักแน่นในลักษณะห้าวๆ, การพยากรณ์อย่างกล้าหาญเกินไป, และความคิดเพ้อฝัน ภายหลังต่อมากลายเป็นหลักการที่ขาดการประนีประนอม, มาตรการสูงสุดของความจริง, ดวงดาวหนึ่งแห่งศรัทธา, แสงสว่างที่ส่องถึงอนาคต, และเป้าหมายสูงสุดของประชากรมนุษย์จำนวนครึ่งค่อนโลก. จินตนาการดูว่า มนุษย์ชาติที่มีชีวิตอยู่จำนวนมากน้อยเพียงใดที่ไว้วางใจกับเรื่องนี้.

ภายใต้ความเป็นไปของผู้คนนับเป็นล้านๆซึ่งมีชีวิตอยู่, โศกนาฏกรรม และความพินาศย่อยยับ; ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความคิดนี้ของมนุษยชาติอาจมาถึงจุดสุดยอดของความเจริญแล้วสำหรับความเป็นพี่น้องร่วมชนชั้น และทำลายล้างชนชั้นอื่นๆลง และพวกเขาสามารถนำมาซึ่งยุคทองให้เกิดขึ้นมาบนโลก กลายเป็นชนชั้นปกครองบนพื้นฐานของเชื้อชาติและความเป็นชนกลุ่มน้อย

เมื่อตอนที่มาร์กซ์ประกาศเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสม์ว่า เป็นขั้นตอนสุดท้ายเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษยชาติ, Heisenberg ยังไม่ได้ถือกำเนิดขึ้น แต่ตอนที่ Hitler ได้สถาปนาอาณาจักร Reich ของเขาให้ดำรงอยู่หนึ่งพันปีใน "Mein Kampf" ของเขา, Heisenberg ขณะนั้นอายุได้ 25 ปี และได้คิดค้นหลักความไม่แน่นอน(Principle of Uncertainty)ของเขาขึ้นมาแล้ว

สี่. อย่างไรก็ตาม ศาสดาพยากรณ์ของวันเวลาแห่งสมัยใหม่, บรรดาศาสตราจารย์ทั้งหลายที่มีชื่อเสียง สำหรับงานของพวกเขาภายใต้นิยามความเป็น"วิทยาศาสตร์" ได้เสนอคำทำนายและความคิดในลักษณะของการพยากรณ์อันน่าเชื่อถืออย่างยิ่งกันออกมา. ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง "Future Shock", "Third Wave", "The Transition of Power" โดย Alvin Toffler, "The Grand Chessboard" โดย Zbignew Brzezinski, "The Last Man", "Trust", "End of History" โดย Francis Fukuyama, "The Clash of Civilizations" โดย Samuel Huntington และอื่นๆ ฯลฯ. เหล่านี้คือหนังสือตัวอย่างเกี่ยวกับการพยากรณ์ถึงโลกอนาคต

Francis Fukuyama สรุปว่า จากการสิ้นสุดของสงครามเย็น, ทุนนิยมเสรีได้มีชัยชนะต่อลัทธิคอมมิวนิสม์. ด้วยเหตุดังนั้น วิวัฒนาการในเชิงอุดมคติของมนุษยชาติได้มาถึงจุดสิ้นสุดลงแล้ว. กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เขาให้เหตุผลว่า อันนี้ได้ถูกทำให้บรรลุผลสำเร็จมิใช่โดยผ่านการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพซึ่ง Hegel และ Marx ได้อธิบาย, แต่ผ่านชัยชนะของทุนนิยมเสรีแทน. มันไม่มีทางเลือกอื่นสำหรับมนุษยชาติเว้นแต่ประชาธิปไตยและระบบตลาดเท่านั้น!

ลำดับที่สอง, ในคำอธิบายคู่ขนานเกี่ยวกับกระบวนการประวัติศาสตร์"ของเขา, Fukuyama ตีความใหม่เกี่ยวกับไอเดียต่างๆในเรื่องวัฒนธรรมของสังคมมนุษย์, จริยธรรม, แรงงาน, ทัศนะเกี่ยวกับชาตินิยม, และศาสนา, และเขาได้สรุปว่า รูปการณ์เหล่านี้ล้วนเป็นท่าทีหรือทัศนคติเบื้องต้นมากๆสำหรับอนาคตของมนุษยชาติ, เป็นแนวทางต่างๆ, และปัจจัยหลักเกี่ยวกับความก้าวหน้า

ส่วนตามความเห็นของ Zbignew Brzezinski, ภายหลังสงครามเย็น ยุคสมัยประวัติศาสตร์ของความเป็นอันดับหนึ่งอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ของสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มต้นขึ้นสำหรับยุคสมัยที่ไม่มีกำหนด และทุกวันนี้ สหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นอภิมนุษย์ที่สำคัญแต่เพียงผู้เดียว และเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในเชิงภูมิศาสตร์. Eurasia (การผสมผสานระหว่างยุโรปและเอเซีย)จะต้องกลายเป็นเบี้ยหนึ่ง(ในกระดานหมากรุก)ภายใต้กฎของอเมริกัน.

เนื่องจากไม่มีประเทศหนึ่งประเทศใดที่สามารถจะเทียบรัศมีทางด้านกำลังทหาร, เศรษฐกิจ, เทคโนโลยี และวัฒนธรรมได้ใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกานั่นเอง. สิ่งเหล่านี้ได้เป็นตัวตัดสินดุลยภาพของอำนาจในทุกวันนี้ สหรัฐอเมริกาจะสามารถรักษาความเป็นผู้นำเพียงฝ่ายเดียวในปัจจุบันเอาไว้ได้อีกหลายปีต่อจากนี้ไป

ในเรื่อง "The Future Shock" โดย Alvin Toffler ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1970, ถัดจากนั้นก็มีการตีพิมพ์เรื่อง "shocked" the free world; ในทศวรรษที่ 1980s - the Eastern Europe, และในช่วงกลางทศวรรษ 1980s - the Chinese, และในทศวรรษที่ 1990s - the Russian young intelligentsia. นักเขียนท่านนี้มีความสุขมากทีเดียวกับวิสัยทัศน์ของเขาซึ่งได้กลายเป็นจริง 30 ปีก่อนที่ศตวรรษใหม่จะเริ่มต้นขึ้น. ศาสตราจารย์ท่านนี้รู้สึกปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นว่าคำทำนายของเขากลายเป็นจริงขึ้นมา ภาพดังกล่าวเกี่ยวกับครอบครัวอเมริกันของคนที่อยู่ในวัยทำงาน ซึ่งประกอบด้วยพ่อ และแม่บ้านคนหนึ่งกับเด็กวัยรุ่นสองคน ได้ถูกแทนที่โดยภาพของคนโสดทั้งหลาย, ครอบครัวที่ไม่มีลูก, แม่ที่อยู่คนเดียวลำพังกับลูกที่ไม่มีพ่อ, การพบปะของคนสองคนหลังจากที่แต่งงานกันมาแล้วหลายครั้ง

Toffler ได้ทำนายอย่างมั่นใจว่า คริสตศตวรรษที่ 21 จะเป็นยุคหนึ่งของวิกฤตการณ์ทางศีลธรรมที่จะแผ่ขยายไปทั่วโลก. เขาสันนิษฐานว่าหลักการต่างๆทางปรัชญาและศาสนาที่มาครอบงำอยู่ในปัจจุบันจะได้รับการล้มล้างไป และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในเรื่องของยีนหรือพันธุกรรม และเรื่องของหุ่นยนต์จะเข้ามาสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานนี้ทั้งทางด้านจิตวิทยาและสรีรศาสตร์ของมนุษย์ ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า

ส่วนคำทำนายที่น่ากลัวมากที่สุดซึ่งถูกนำเสนอนั้น เป็นงานของ Samuel Huntington. ในระดับขอบเขตของความน่าหวาดหวั่นของมัน ไอเดียต่างๆของเขากำลังบรรลุถึงความสง่าผ่าเผย โดยได้รับการแปลไปสู่ภาษาต่างๆ และผู้คนจำนวนมากกำลังเอาใจใส่และเป็นห่วงหรือกำลังสูญเสียความหวัง. ตามความคิดเห็นของเขา โดยการสิ้นสุดลงของสงครามเย็น การเผชิญหน้าในเชิงอุดมการณ์ของมนุษยชาติกำลังสิ้นสุดลง และการปะทะกันแบบล้างผลาญของอารยธรรมต่างๆจะเริ่มต้นขึ้น ซึ่งมันเป็นปรากฎการณ์อันหนึ่งที่ ในด้านหนึ่งนั้น มันเก่าแก่มาก หรือในอีกด้านหนึ่งนั้น มันเป็นเรื่องใหม่มากทีเดียว.

Huntington ได้ไปไกลจนสุดกู่โดยอธิบายถึงภาพต่างๆเกี่ยวกับสงครามในอนาคต ตามทัศนะของเขา ประวัติศาสตร์มนุษย์ การทดลองเกี่ยวกับการเผชิญหน้าทุกๆอย่างบนรากฐานของชนชั้นต่างๆ และรูปการณ์ทางอุดมการณ์อื่นๆได้หมดกำลังลงไปแล้ว. จะมีก็แต่เพียงสังเวียนที่ถูกทิ้งไว้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการพยายามปะทะกันทางอารยธรรมเท่านั้น.

เขาได้เก็บอารยธรรมต่างๆที่มีอยู่ก่อนเอาไว้ และวิเคราะห์ถึงอารยธรรมทั้งหลายของมนุษย์ในศตวรรษที่ 20. เขาได้แบ่งแยกอารยธรรมเหล่านี้ออกเป็นตะวันตก, ลาติน, อเมริกัน, แอฟริกา, มุสลิม, จีน, อินเดีย, รัสเซีย, ชาวพุทธและญี่ปุ่น. ต่อจากนั้น เขาได้วางสิ่งเหล่านี้ลงในกลุ่มที่เผชิญหน้ากัน ทำการแยกแยะรูปการณ์และกลุ่มที่เข้ากันได้และเข้ากันไม่ได้ ถัดจากนั้นก็ทำการเปรียบมวย(สงคราม)ระหว่างกลุ่มต่างๆ. ถ้าหากว่าคำขวัญที่ว่า"คนงานทั้งหลายของโลกจงสามัคคีกัน!" ได้แผ่คลุมไปอย่างช้าๆทั่วโลก เช่นดังคำขวัญที่ว่า"วิญญานแห่งคอมมิวนิสม์ได้ท่องเที่ยวไปในยุโรป" ดังที่ Marx เทศนาเมื่อ 150 ปีมาแล้วใน"แถลงการณ์คอมมิวนิสท์"ของเขา เพื่อการต่อสู้ดิ้นรนของชนชั้นหนึ่งกับอีกชนชั้นหนึ่งในสังคม อันนี้ก็คือแนวโน้มหรือทิศทางที่เป็นสากลอันหนึ่งเช่นกัน

ทุกวันนี้ ณ กาลสิ้นสุดของคริสตศตวรรษที่ 20 เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ถูกยกขึ้นมาบนก้าวย่างใหม่อย่างสมบูรณ์ ที่ซึ่งข้อมูลข่าวสารถูกทำให้เกือบๆจะเป็นโลกาภิวัตน์; ทฤษฎีของ Huntington เกี่ยวกับอารยธรรมหนึ่งกำลังเผชิญหน้ากับอีกอารยธรรมหนึ่ง มันได้แพร่ออกไปทันทีคล้ายกับไฟไหม้ฟางและถูกแปลถ่ายทอดออกไปในทุกๆภาษา และปัจจุบันมันกำลังกลายเป็นหัวข้อสนทนาตามโรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่น่าเคารพทุกๆชาติ

ในเรื่อง"A New Deal for Asia" โดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย Mohamad Mahathir (มหาธีร์ โมฮัมหมัด)ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการทำนายต่างๆของ Huntington ที่ผลิดอกออกผล. ไอเดียของผู้เขียนกล่าวโดยสรุปเป็นดังนี้คือ: เขาได้นำเอาเรื่องของการปะทะกันทางอารยธรรมของ Huntington มาเป็นบรรทัดฐาน และได้จัดวางชาวเอเชียเผชิญหน้ากับชาวคอเคเชี่ยนทั้งหลาย. เขาให้เหตุผลว่า ชาวยุโรปเป็นพวกที่ชอบสงครามโดยธรรมชาติ และสำหรับคนพวกนี้ การไม่มีสงครามหมายถึงสงครามที่นิ่งเงียบ. เขาพยายามที่จะพิสูจน์ถึงเรื่องนี้ลงไปในระดับพันธุศาสตร์หรือระดับยีนเลยทีเดียว. มหาธีร์ ได้ดำเนินความคิดดังกล่าวต่อไป โดยกล่าวว่า

"การเผชิญหน้าระหว่างตะวันออกและชาวยุโรปตะวันตกได้สิ้นสุดลงแล้ว. ด้วยกาลอวสานของสงครามเย็น ชาวตะวันตกทั้งหลายเป็นผู้ได้รับชัยชนะ และคนตะวันออกได้รับความพ่ายแพ้ มันดูเหมือนว่าสันติภาพอันนี้จะยืนยงไปอีกนาน. แต่บรรดาชาวยุโรปทั้งหลายได้ถูกกำหนดโดยชะตากรรมให้ทำสงคราม. พวกเขาไม่อาจอยู่ได้โดยปราศจากสงคราม. พวกเขาถูกผูกมัดอยู่กับสงครามและพยายามส่ายเสาะค้นหาศัตรูในทุกหนทุกแห่ง. ปัจจุบัน พวกเขาอยู่ร่วมกับคนอื่นๆด้วยความสันติสุขอย่างเต็มที่ แต่ในไม่ช้านี้แน่นอน พวกเขาจะหยัดยืนขึ้นสู้กับคนที่ไม่ใช่ชาวยุโรปทั้งหลาย"

มันมีสุ้มเสียงที่ฟังดูแล้วคล้ายคลึงกับ" Imperialism is a Paper Tiger"(จักรพรรดิ์นิยมคือเสือกระดาษ)ของ Mao ที่เปล่งทฤษฎีของ Marx ออกมาชัดถ้อยชัดคำใช่ไหม? เพียงความแตกต่างซึ่งผิดไปจาก Lenin, Stalin, และ Mao ที่เรียกร้องให้มีการต่อสู้ทางชนชั้นก็คือ, Mahathir(มหาธีร์) ประกาศถึงการปะทะกันอันหนึ่งท่ามกลางอารยธรรมทั้งหลาย. ข้อเท็จจริงดังกล่าว โดยเจตนา เขามิได้สรุปรวมเอาชาวญี่ปุ่นเข้าไว้ในท่ามกลางพวกที่ไม่ใช่ชาวยุโรป ซึ่งพิสูจน์ว่ามันเป็นอุดมการณ์อันหนึ่งที่มีเป้าหมายต่างค่อนข้างชัดเจน

ในสงครามอนาคตของเขา เขาได้พูดถึงจีน และกำหนดให้จีนมีบทบาทหนึ่งที่เกือบจะเป็นผู้นำและผู้สนับสนุนหลัก. นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้ชี้ชัดว่าคริสตศตวรรษที่ 21 คือยุคของโลก ที่ซึ่งเขาได้สอนว่า บรรดาชาวยุโรปทั้งหลายจะล้มเหลวที่จะบรรลุถึงความคิดอันชั่วร้ายของพวกเขา. มันจะเป็นวัฒนธรรมร่วมอันหนึ่งแทน, ประชาชาติที่ผสมผสานกันที่สนุกสนานกับชีวิตในความเท่าเทียมและความเสมอภาค. แต่เขาไม่ได้เจาะจงลงไปเกี่ยวกับอเมริกันเหนือและคอเคเชี่ยนจากยุโรปที่ควรจะถูกนำเสนอในการผสมผสานกันอันนี้

คล้ายคลึงกับทฤษฎีของ Marx, ซึ่งเป็นเรื่องราวหนึ่งของความชื่นชมของผู้ประกอบวิชาชีพนับเป็นพันๆ ผู้ซึ่งไม่เคยคิดในเชิงวิพากษ์, ทุกวันนี้ทฤษฎีของ Huntington ได้ท่องเที่ยวไปดั่งวิญญานดวงหนึ่งไปทั่วโลกที่ได้พูดถึงการปะทะกันของอารยธรรม. Mahathir ไม่ใช่คนกินมัน(potato eater). เราไม่สามารถ"พิสูจน์ได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์" ว่าคนอย่าง Mahathir จะมีอีกกี่มากน้อยในวันพรุ่งนี้

ห้า. อารยธรรมของชาวอเมริกัน อเมริกาคือการทดลองทางสังคมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ซึ่งดำเนินการโดยพระผู้เป็นเจ้า(ถ้าพระองค์ทรงมีอยู่จริง)ในสังคมมนุษย์. คำพูดที่กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงรักอเมริกาไม่ใช่เพียงอุบัติการณ์อันหนึ่งเท่านั้น. การทดลองทางสังคมอันนี้ได้รับการปฏิบัติมาโดยตลอด 300 ปี, และได้ให้ผลผลิตแห่งดอกผลที่แท้จริงในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 นี้เท่านั้น

นับจากคำพูดอันระบือลือลั่นของ Martin Luther King ที่ว่า"ข้าพเจ้ามีความฝัน"(I have a dream) มันได้สร้างตราใหม่ทางสังคมอันหนึ่งขึ้นมาที่เรียกว่า US ที่ซึ่ง การแบ่งแยกทางด้านเชื้อชาติได้ถูกขจัดออกไปในหน่วยที่เล็กที่สุดของรัฐ และผู้แทนทุกคนของวัฒนธรรมใดก็ตามมีความเสมอภาคและเท่าเทียมกันต่อหน้ารัฐและกฎหมาย. "ประชาชนชาวอเมริกัน - เข้มแข็ง, พูดอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา, เข้มข้นรุนแรงในความเชื่อมั่นของพวกเขา, และบางครั้งก็ดื้อรั้นยืนหยัดในความคิดที่ผิดๆ, แต่มักจะใจกว้างมีน้ำใจและกล้าหาญเสมอ, พร้อมด้วยความหลงใหลในความยุติธรรมที่ไม่มีประชาชาติใดเท่าเทียมหรือเสมอเหมือน" Paul Johnson นักบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของยุคสมัยเราเขียนเอาไว้เช่นนี้ ในการเริ่มเรื่องเกี่ยวกับหนังสือของเขาเรื่อง "A history of the American People".

ประชาชาตินี้ อันดับแรก ได้รับการก่อตัวขึ้นมาในฐานะซึ่งเป็นผลลัพธ์โดยตรงอันหนึ่งของอารยธรรมตะวันตกของยุคเรอเนสซองค์, และได้รับการเสริมเพิ่มเติมจากเชื้อชาติต่างๆที่เป็นคนผิวดำ, ผิวเหลือง, ผิวแดง, และตัวแทนของอารยธรรมทุกๆอารยธรรม ซึ่งพูดจากันเป็นร้อยๆภาษา. ผู้คนจากทุกสารทิศและทุกๆประเภทจากทั่วทุกมุมโลกมายังดินแดนแห่งพันธะสัญญานี้ตลอด 300-400 ปี และได้สร้างชุมชนของประชาชนอเมริกันขึ้นในหลายๆแง่มุม ด้วยข้อได้เปรียบและประโยชน์ใหม่ๆรวมไปถึงภาพที่ไม่อาจทำซ้ำขึ้นมาได้

อดีตประธานาธิบดี Richard Nixon ครั้งหนึ่ง เขาเคยบันทึกเอาไว้ว่า "ผู้คนจากทุกมุมโลกออกมาจากบ้านเกิดของตนและไปยังอเมริกา, แต่ไม่เคยมีใครละทิ้งไปจากประเทศนี้". ทุกๆช่วงขณะ บรรดาชาวยุโรปทั้งหลายชอบสังเกตว่า คนอเมริกันต่างจากพวกตนอย่างไร. คนอเมริกันดื่มชาใส่น้ำแข็ง, มีนิสัยที่ชอบเอาเท้าวางพาดไว้บนโต๊ะ, ชอบเข้าสู่รายละเอียดของเนื้อหาโดยไม่มีการเกริ่นนำในการพูดคุยทางธุรกิจ, ไม่มีการแบ่งแยกลำดับสูงต่ำ, ไม่เคยอาย, เป็นพวกที่ชอบบ้านหลังใหญ่และรถยนต์คันใหญ่ๆ, พูดจาวางโต, แต่บางครั้งไร้เดียงสาเอามากๆ, ไม่เคยมีความรู้เกี่ยวกับประเทศอื่นๆเลย แต่ก็ปฏิบัติได้ดีพอที่จะรู้ได้ดัวยหัวใจถึงรายละเอียดต่างๆในกฎระเบียบต่างๆของชาวต่างประเทศ, กฎหมายและรัฐบาล เมื่อต้องเข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้คนเหล่านั้น และมักจะกลายเป็นหัวข้อหนึ่งของการสนทนาด้วยความสนุกสนาน, คนอเมริกันมีความภาคภูมิ และให้ความเคารพต่อคนยุโรป

คนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันในทุกวันนี้ ไม่มีอะไรร่วมกันกับบรรพบุรุษของพวกเขาจากทวีปแอฟริกาเลย. ชาวจีน, ชาวญี่ปุ่น, และชาวเกาหลี เชื้อชาติเหล่านี้คือแชมเปี้ยนในการธำรงรักษาวัฒนธรรมและขนบประเพณีของพวกเขา คนเหล่านี้ต่างเรียกญาติพี่น้องของตนที่อยู่โพ้นทะเลว่า"อเมริกันผู้บ้าคลั่ง"(Crazy Americans).

ในกรณีของวัฒนธรรม อารยธรรมและขนบประเพณี ประการแรกเลยนั้น อเมริกาได้ถูกสร้างขึ้นมาบนรากฐานของอารยธรรมตะวันตก. อารยธรรมตะวันตกได้รับการวางรากฐานบนอารยธรรมกรีก, โรมันและไบแซนทีน และก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างตามสมัยใหม่ ในฐานะที่เป็นผลลัพธ์เกี่ยวกับอิทธิพลต่างๆจากวัฒนธรรมจีนและอินเดีย - และแม้กระทั่งชาวอินคาและแอสเท็คเหล่านั้น

นานพอสมควร การผสมผสานของอารยธรรมเหล่านี้ยังคงพัฒนาต่อไปและวิวัฒน์สู่อารยธรรมอเมริกัน. ในด้านหนึ่งนั้น มันค่อนข้างอนุรักษ์นิยม ส่วนในอีกด้านหนึ่งมันก็ใหม่เอามากๆ. ด้วยภาพลักษณ์ของฮอลีวูด, ชาใส่น้ำแข็ง(ice tea), การบริหารจัดการอันยอดเยี่ยม, บูลยีนส์, การเคี้ยวหมากฝรั่ง, ผู้หญิงโสด, แอลเอสดี, ปืนเถื่อน, บรรดานักการเมืองผู้ซึ่งรณรงค์ในการขี่ลาวิ่งไปรอบๆโรงละครสัตว์, อาหารจานด่วน, สงครามอวกาศ, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ระบบการศึกษา, ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี, ความคิดทางสังคม, ชนชั้นกลาง, สังคมอเมริกันได้ถูกพัฒนาไปสู่อารยธรรมของโลกล่าสุด

นับแต่การเริ่มต้น สหรัฐอเมริกาได้วางรากฐานรัฐบาลและสถาบันต่างๆทางกฎหมายของตนเองขึ้นมา. ประการแรก พวกเขาได้สถาปนาสหพันธรัฐที่เป็นอิสระ ภายใต้ชื่อที่เหมาะสมว่า"สหรัฐอเมริกา"(the United States of America). แต่ทุกวันนี้ มันเป็นไปไม่ได้ที่จะธำรงรักษาประเทศที่มีอาณาเขตอันกว้างขวางและมีจำนวนประชากรขนาดมหึมาเอาไว้ได้ด้วยระบบที่เป็นหนึ่งเดียว - อย่างน้อยที่สุดก็ในกรณีของการบริหารจัดการและการตลาด. นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไม ชาติซึ่งมีขนาดใหญ่ทุกๆแห่งและกระทั่งแคนาดาที่อยู่ติดกับอเมริกา ปัจจุบันจึงดำเนินไปอย่างกระโผลกกะเผลก ทั้งนี้เนื่องมาจากอารมณ์ความรู้สึกของผู้ที่ต้องการแยกตัวของบรรดากลุ่มพลังของชนกลุ่มน้อยนั่นเอง

ในทางตรงข้าม สหรัฐอเมริกากำลังเข้มแข็งและมีพลังอำนาจมากขึ้น ทุกวันนี้รูปแบบซึ่งดีที่สุดเกี่ยวกับการบริหารจัดการของรัฐบาลกำลังทำหน้าที่อยู่ ซึ่งรูปแบบของมัน นับเป็นเงื่อนไขหนึ่งของการที่มันกำลังทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นอภิมหาอำนาจ.

สหรัฐอเมริกาไม่เพียงมีลักษณะเป็นภาคีหรือสหภาพปัจเจกบุคคลเท่านั้น ซึ่งสิทธิของแต่ละบุคคลต่างได้รับการปกป้องโดยกฎหมาย; แต่มันยังเป็นความเห็นที่ลงลอยกันของทุกอารยธรรม, วัฒนธรรม, และขนบประเพณีด้วย; และสถานภาพที่มีส่วนร่วมปันกันและเป็นอิสระต่อกันของทุกๆรัฐ; รวมไปถึงความเชื่อมโยงกันอย่างมีอิสระของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของรัฐต่างๆ. ในอีกด้านหนึ่ง มันเป็นความจริงที่ว่า มันมีระดับที่แตกต่างกันของการปรับตัวในอารยธรรมอเมริกันสำหรับผู้คนอเมริกันในตัวของพวกเขากันเอง

เกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมดล้วนถือกำเนิดในต่างประเทศ และอย่างน้อยที่สุด พวกเขาต้องการคู่ครองในแต่ละปี ซึ่งต้องมีการปรับตัวเลข ถ้าลูกหลานรุ่นแรกของคนกลุ่มนี้ถูกผนวกเข้าไป เปอร์เซ็นต์อันนี้ก็จะปรับสูงขึ้น. บรรดาผู้สืบสกุลของชนกลุ่มน้อยทั้งหลาย ผู้ซึ่งผนวกเข้าเป็นประชาชาติโดยวัฒนธรรมที่มีความเข้มแข็งและมีพลังของขนบจารีต มีการปรับตัวเป็นอเมริกันอย่างช้าๆยิ่งกว่าชนผิวดำและชาวยุโรป

อันดับแรก มีประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกและโลกมุสลิม. ชาวละตินซึ่งภาษาของพวกเขาและวัฒนธรรมเป็นที่แพร่หลายในสหรัฐอเมริกา คนพวกนี้จะปรับตัวอย่างช้าๆเพราะเงื่อนไขต่างๆที่เป็นอยู่ในสหรัฐอเมริกาสำหรับคนพวกนี้ที่จะธำรงรักษา หรือยังคงยึดติดอยู่กับวัฒนธรรมของเขา. แต่อันนี้เป็นเพียงสภาวะของเงื่อนเวลาเท่านั้น. และในท้ายที่สุด ทุกคนก็จะปรับตัวเป็นวัฒนธรรมอเมริกัน และจะกลายเป็นคนซึ่งภาคภูมิเกี่ยวกับวัฒนธรรมอันนั้น

หก. การแผ่ขยายของวัฒนธรรมอเมริกันภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังสิ้นสุดสงครามเย็น กระบวนการที่คล้ายคลึงกันอันหนึ่งเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ของอารยธรรมอเมริกัน, วิวัฒนาการและการก่อตัวขึ้น ที่ได้บังเกิดขึ้นมาในราว 200 ปีหลังนี้ ได้รับการสังเกตอย่างกว้างขวางว่ามันได้แพร่ขยายไปทั่วโลก. ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อในตัวของมันเอง ไม่เพียงเป็นเครื่องมือของการนำเสนอ ที่กำลังกลายเป็นความนิยมและมีการปรับดัดแปลงอารยธรรม(อเมริกัน)นี้เท่านั้น, แต่ยังมีการยัดเยียดมันต่อคนอื่นๆด้วย

ช่วงต้นของศตวรรษนี้ เรากำลังพยายามมุ่งมั่นที่จะนำเสนอสิ่งต่างๆ 2-3 อย่าง อย่างเช่นตัวอักษร Cyrillic ที่ใช้โดยพวกสลาฟ, ตัวเลขอาราบิค, ปฏิทินจันทรคติและคริสเตียน และระบบเมตริกให้เป็นมาตรฐานสากลของมนุษยชาติ. ทุกวันนี้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โลกาภิวัตน์ และการบูรณาการกำลังก่อรูปก่อร่างอารยธรรมสากลอันหนึ่งขึ้นมา โดยไม่เกี่ยวข้องกับความพยายามต่างๆของผู้ใด บรรดานักวิชาการทั้งหลาย รวมทั้ง Naipaul เรียกสิ่งนี้ของอารยธรรมว่าเป็นลักษณะสากลอันหนึ่ง

ในหนังสือของเขาเรื่อง "A History of Civilization" ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในปี 1963, นักวิชาการชาวฝรั่งเศส Ferdinand Braudel, ได้แบ่งแยกอารยธรรมทั้งหมดโดยขนาดสัดส่วน เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ในทางภูมิศาสตร์, สังคม, เศรษฐกิจ และสติปัญญา. อารยธรรมต่างๆมีเขตแดนและพื้นที่ว่างของพวกมัน. แต่อารยธรรมร่วมสมัยได้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดอย่างบริบูรณ์ในเทอมต่างๆเกี่ยวกับขนาดสัดส่วนของโลก. ภายหลังสงครามเย็น อารยธรรมต่างๆที่ถูกแบ่งแยกเทียมๆได้พบปะกันและกัน และจังหวะโอกาสเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีในเรื่องข้อมูลผ่านดาวเทียมสมัยใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น มันทำให้ดาวเคราะห์ของเราดวงนี้ได้รับข้อมูลข่าวสารระดับเดียวกัน

ถ้าหากว่าสภาพทางภูมิศาสตร์ได้มากำหนดปัจจัยพื้นฐานต่างๆเกี่ยวกับการเป็นอยู่ของประชาชาติหนึ่งเหมือนกับเกษตรกรรม, การปศุสัตว์, การผลิตอาหาร, การสร้างบ้านเรือน, การผลิตเสื้อผ้า, การสื่อสารและอุตสาหกรรม; เทคโนโลยีสมัยใหม่ก็ทำให้มันเป็นไปได้ในการนำสิ่งเหล่านี้มาอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน และทำให้สิ่งที่บังเกิดขึ้นนี้ยังคงดำเนินไปอย่างรวดเร็วและรวดเร็วขึ้นต่อไป

ถ้าเมื่อ 70 ปีก่อน ทางใต้ของทวีปอเมริกามันร้อนเกินไปสำหรับมนุษย์ที่จะอาศัยอยู่ และด้วยเหตุนี้ ทำให้มีผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้นค่อนข้างน้อย โดยการแทรกซึมของแอร์คอนดิชั่นเนอร์ มันได้ทำให้เมืองใหญ่ต่างๆผุดขึ้นมา. ยกตัวอย่างเช่น Houston ในปัจจุบันกลายเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่ง ซึ่งเป็นพื้นที่มหานครที่ใหญ่ที่สุดของโลก. แอร์คอนดิชั่นเนอร์ ตอนนี้กำลังกลายเป็นที่นิยมกันมากในเขตประเทศร้อนทั้งหลายในทวีปเอเซีย. ปัจจุบันมันเป็นเพียงเงื่อนไขด้านเวลาเท่านั้นที่อุปกรณ์อันนี้จะได้รับการนำเสนออย่างเต็มที่ในทวีปแอฟริกา. ในอาณาเขตดินแดนที่หนาวเย็น ศูนย์กลางหรือระบบทำความร้อนส่วนตัวบางส่วนได้กลายเป็นบรรทัดฐานอันหนึ่ง. เงื่อนไขที่ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยทางธรรมชาติของมนุษย์, อย่างเช่นสภาพอากาศ, ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล, ความชื้นสัมพัทธ์, และอุณหภูมิ, ได้ถูกลดบทบาทลงไปมากในศูนย์กลางเขตเมืองทุกๆแห่ง

ความแตกต่างในสไตล์การบริโภคและคุณภาพอาหาร ซึ่งในรูปการณ์ของมันได้ถูกสร้างเงื่อนไขขึ้นมาโดยเกษตรกรรม ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วยเช่นกัน กำลังกลายเป็นอดีตไปแล้ว. ชาวยุโรปและอเมริกัน ผู้ซึ่งอยู่ในสังกัดของวัฒนธรรมข้าวสาลีต่างๆตามจารีต กำลังคุ้นเคยกับอาหารจีนมากขึ้น และชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในวัฒนธรรมข้าวเจ้า ปัจจุบันนี้มีการรับประทานเนื้อสัตว์และขนมปังมากขึ้นและมากขึ้น

ในเกือบๆจะ 200 รัฐอธิปไตยหรือประเทศในโลก มันมีความคล้ายคลึงกันมากกว่าที่จะแตกต่างในเทอมของรูปแบบต่างๆของรัฐบาล. กระทั่งช่วงระหว่างสงครามเย็น ประเทศคอมมิวนิสท์ทั้งหลายกำลังพยายามฝ่าฟันเพื่อไปสู่ระบบสังคมอุตสาหกรรมร่วมสมัย. ทุกวันนี้ นอกจากประเทศมุสลิมทั้งหลายแล้ว ระบบกฎหมายกรีกและโรมันได้กลายเป็นมาตรฐานสากล. รัฐชาติมันไม่ใช่ของเรา มันเป็นเพียงมาตรฐานสากลเท่านั้น

รูปการณ์หลักๆของสังคม อย่างเช่น ระบบการแพทย์ที่ทำในลักษณะรวมศูนย์, การศึกษาก็ทำให้มีลักษณะทั่วๆไปอันหนึ่ง, และความหลากหลายของเครื่องมือข้อมูลข่าวสารได้นำพาพวกเราไปสู่ความคล้ายคลึงกันระดับหนึ่ง และกำลังเข้าใกล้กันมากขึ้นในเชิงคุณภาพ. วัฒนธรรม, ศีลธรรม และคุณค่าทางจริยธรรม โดยทั่วไปแล้วถูกทำให้เป็นมาตรฐาน. เสื้อผ้า, แฟชั่น, และภาพลักษณ์ต่างๆกลายเป็นอะไรที่เหมือนๆกัน. ชะตากรรมของสังคมใดๆ, อารยธรรมใดก็ตาม, หลักๆแล้วขึ้นอยู่กับปฏิกริยาที่มีต่อเศรษฐกิจ, เทคโนโลยี, ประชากร, ชีววิทยา และนิเวศวิทยา. ท้ายที่สุด ความเจริญเติบโตของจำนวนประชากร, สุขภาพที่ดี, การศึกษา, และเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ล้วนเป็นปัจจัยหลักต่างๆที่เป็นตัวกำหนดโครงสร้างทางสังคมของแต่ละสังคม

เป็นเวลานับศตวรรษๆ สำหรับความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อของมนุษยชาติ ถือว่าเป็นต้นตอหลักสำคัญของพลังงาน. ความงอกงามของจำนวนประชากร แน่นอน ได้น้อมนำไปสู่ความเจริญงอกงามของกล้ามเนื้อ. แต่ถ้าอันนี้มันทำให้ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจวิ่งเร็วเกินไป มันก็มักจะนำไปสู่ความยากจนเสมอ, ภาวะข้าวยากหมากแพง, สงคราม, ความตาย และโรคร้ายต่างๆ

มันเป็นความดีของ Malthus ทีเดียว ซึ่งได้ค้นพบเรื่องนี้พอดี. เมื่อ Malthus กำลังเขียนงานของเขาในเรื่อง "Essay on the Principle of Population" (ความเรียงบนเรื่องหลักการเกี่ยวกับประชากร), ความเคลื่อนไหวอันหนึ่งที่ได้รับการชักพาไปโดยผู้ทำการผลิต เพื่อลดต้นทุนทางด้านแรงงานมนุษย์ ซึ่งผลักให้มนุษยชาติสู่การพัฒนาเกี่ยวกับเครื่องจักร และทวีปยุโรปได้ถูกยกขึ้นสู่ยุคของการทำให้เป็นอุตสาหกรรม. อันที่จริง นี่คือชัยชนะเกี่ยวกับสติปัญญาความฉลาดของมนุษย์อันหนึ่ง

การทำให้เป็นอุตสาหกรรมนั้นได้ถูกทำให้เริ่มขึ้นมาในทวีปยุโรปและอเมริกา แล้วค่อยๆครอบครองอาณาเขตหรือพื้นที่ไปทั่วโลกอย่างช้าๆ. ความได้เปรียบทางด้านเทคโนโลยีกลายเป็นอิทธิพลอันหนึ่งในทุกๆอารยธรรม. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เอเซียและลาตินอเมริกาได้รับการรวมหรือบูรณาการสู่อุตสาหกรรมและตลาดร่วมกัน. หลังสงครามเย็น โลกได้เข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ทางด้านอุตสาหกรรม, ตลาดและการเงิน. ในส่วนของข้อมูลข่าวสาร จริงๆแล้ว ถูกทำให้เป็นโลกาภิวัตน์อย่างสมบูรณ์

สถาบันทางเศรษฐกิจ อย่าง ASEAN, NAFTA, และ APEC ได้ถูกทำให้เกิดขึ้นมา และพวกมันยังประสานกลมกลืนและมีลักษณะโลกาภิวัตน์อย่างต่อเนื่อง. ในเวลาเดียวกัน การมีส่วนร่วมปันในผลประโยชน์ของบรรษัทข้ามชาติต่างๆในโลกเศรษฐกิจก็กำลังเพิ่มมากขึ้นกว่าที่เคย และความสำคัญเกี่ยวกับการเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจและวัฒนธรรมกำลังลดลงตามลำดับ. การแบ่งแยกด้านแรงงานเกิดขึ้นในแต่ละสังคม ปัจจุบันมันปรากฎขึ้นมาระหว่างประชาชาติต่างๆ. ยกตัวอย่างเช่น การแบ่งแยกด้านแรงงานได้รับการสร้างขึ้นมาเรียบร้อยแล้วในโลกปัจจุบัน เช่น

ในสหรัฐอเมริกาเป็นเรื่องของเทคโนโลยีชีวภาพ, อวกาศและวิทยาศาสตร์การบิน, ในญี่ปุ่นมีความรู้และความชำนาญในด้านอิเล็คทรอนิคต่างๆ, ส่วนยุโรป มีอุตสาหกรรมรถยนต์และการเงินการธนาคาร, ในประเทศต่างๆของเอเซียมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์, ตลาดหุ้น, ในจีน-เป็นเรื่องอุตสาหกรรมไฟฟ้า, ในรัสเซียและแอฟริกา-คือเรื่องวัตถุดิบต่างๆ และ ฯลฯ. การบริหารจัดการและหลักการตลาดต่างๆในทุกๆอุตสาหกรรมได้ถูกนำเข้าสู่การปรับตัวให้สอดคล้องกัน และการน้อมนำเอาวิธีการบริหารจัดการแบบอเมริกันมาใช้ ซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับโดยทุกๆวัฒนธรรมและอารยธรรม

มันมีแง่มุมในเชิงจิตวิทยาซึ่งเป็นไปตามสภาพภูมิศาสตร์, สังคมวิทยาและเศรษฐกิจ. ชัดเจนทีเดียวที่ว่า จิตวิทยาที่มีการปรับตัวเป็นกลุ่ม หรือลักษณะทางวัฒนธรรมร่วมกันของแต่ละประเทศ ได้รับการรวมตัวกันให้เกิดความมั่นคงเข้มแข็งเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งอันนี้เป็นกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อนมากเมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการทางสังคมอื่นๆ

พฤติกรรมทางสังคมร่วมกันที่ปกติแล้ว ได้รับการก่อตัวขึ้นมาเป็นรูปร่างในยุคประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน มีศักยภาพอย่างมากซึ่งได้รับการสืบทอดและได้รับผลกระทบน้อยมากจากอิทธิพลภายนอก เนื่องจากปัจจัยต่างๆอย่างเช่น ขนบประเพณี, วัฒนธรรม, บรรทัดฐาน, และศาสนา; และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์; สภาพอากาศ; อุตสาหกิจหลัก; และโครงสร้างทางสังคม

เมื่อเร็วๆนี้ Francis Fukuyama ได้ตีพิมพ์งานวิเคราะห์ชิ้นหนึ่งที่ค่อนข้างท้าทาย ซึ่งชื่อว่า "Trust" ในผลงานชิ้นดังกล่าวเขาได้เปรียบเทียบพฤติกรรมร่วมกันเหล่านี้ ในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในสังคมสมัยใหม่ยุคหลังอุตสาหกรรม. ดังเช่น เขาสังเกตว่า วัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นและคนเยอรมันเป็นคนซึ่งมีพฤติกรรมน่าเชื่อถือและน่าไว้วางใจสูงสุด. ส่วนวัฒนธรรมของชาวจีนและชาวอิตาเลียนมีความน่าเชื่อถือและความน่าไว้วางใจต่ำกว่ามาก. ในงานชิ้นที่พูดถึงไม่ต้องการจะกล่าวถึงวัฒนธรรมของลาตินอเมริกันและแอฟริกัน. Fukuyama วิเคราะห์สังคมต่างๆเหล่านี้จากมุมมองที่แตกต่างของ"กลุ่มซึ่งได้รับการปรับตัว", และ"ครอบครัวและปัจเจกซึ่งได้รับการปรับตัว"พร้อมกันกับขนบประเพณีและศาสนาต่างๆของพวกเขา

อารยธรรมของคนญี่ปุ่นและเยอรมัน, ซึ่งเป็นสังคมที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในเทอมต่างๆของประวัติศาสตร์และสภาวะแวดล้อม ได้แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาด ดังที่พวกเขาได้รับการวัดและประเมินโดย"บรรทัดฐานทางสังคมยุคหลังอุตสาหกรรม". ความคล้ายคลึงกันอันนี้อาจเป็นผลลัพธ์อันหนึ่งที่ปรากฎออกมาของสองอารยธรรมที่เป็นส่วนซึ่งกระตือรือร้นต่อความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ที่เกิดขึ้นมาในช่วง 100 ปีหลังมานี้. ทั้งคู่เอาชนะการทดสอบที่เข้มข้นโดยผ่านภาวะขึ้นๆลงๆหลายครั้งหลายครามาก. แต่ ณ ธรณีประตูของศตวรรษใหม่ เส้นสต๊าร์ทสำหรับอารยธรรมโลกาภิวัตน์เกือบจะเป็นเส้นเดียวกัน และจังหวะโอกาสด้านเทคโนโลยีทำให้กระบวนการทำให้เป็นเนื้อเดียวกันมีความรวดเร็วมากขึ้น

กลุ่มของคนหนุ่มสาว"ได้รับการศึกษา"โดยการ์ตูนและเครือข่าย MTV ซึ่งได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นในทุกๆมุมโลก และคนหนุ่มสาวพวกนี้ไม่เคยเบนสายตาไปจาก NBA เกมเลย. ผู้คนเชื่อถือเพียงข่าวสารจาก CNN เท่านั้น; ด้วยการแพร่กระจายออกไปด้วยภาษาอังกฤษ, ลัทธิอเมริกันนิยม และคำหรือวลีที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ๆได้แทงทะลุพร้อมทั้งแทรกซึมลึกลงไปในภาษาต่างๆทุกๆภาษา และกลายเป็นส่วนซึ่งไม่อาจบรรลุความสำเร็จเช่นนั้นได้ด้วยภาษาอื่นๆ

กระบวนการอันนี้ไม่เคยเป็นไปได้เลยก่อนหน้านี้ เนื่องจากการขาดเสียซึ่งความสามารถทางด้านเทคโนโลยี. แต่อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมอเมริกันและการมาถึงของมัน ยังคงเป็นหัวข้อเรื่องอันหนึ่งของการวิพากษ์วิจารณ์ต่อไป, มันได้ครอบคลุมโลกนี้ไปแล้ว. ไม่เลยถ้าเป็นเวลาก่อนหน้านี้ ซึ่งเราจะเห็นคนในรุ่นหนึ่งหรือสองรุ่นที่จะเปลี่ยนแปลงไป ดังที่กระบวนการดังกล่าวได้ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์

เมื่อประมาณร้อยกว่าปีมาแล้ว เปอร์เซนต์ของผู้ที่ไม่เชื่อในการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าในประชากรของโลกเราใบนี้มีน้อยกว่าในปัจจุบัน ในช่วงวันเวลาแห่งอดีตมีทัศนะหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่า ศาสนาจะหลีกทางหรือสละพื้นที่ของมันให้กับวิทยาศาสตร์ในไม่ช้า. แต่เมื่อเวลาผ่านไป ทัศนะอันนี้ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ให้เป็นจริงขึ้นมาสักที. อย่างไรก็ตามในทางตรงข้าม ผู้คนกำลังแสวงหาศาสนาที่มีลักษณะเป็นไปในเชิงปฏิบัติมากขึ้น. ดังความเชื่อทางศาสนาที่เข้มแข็งขึ้น, ความเชื่อทางไสยศาสตร์ต่างๆ และทัศนะหรือแนวคิดที่คลั่งไคล้หรือมีศรัทธาอันแรงกล้าที่ล้าสมัยแล้ว; บรรทัดฐานแบบคริสเตียน, จริยธรรมและมาตรการทางศีลธรรมจรรยากลายเป็นโรคติดต่อมากขึ้น และมีฐานะตำแหน่งนำอันหนึ่งเป็นไปตามอารยธรรมของมนุษย์

เวลาที่ผ่านมา มันกลายเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะจำแนกความแตกต่างว่ามันจะมาจากศาสนา หรือสร้างสรรค์ขึ้นมาในกระบวนการของการพัฒนา. บางทีปัจจุบัน มันอาจจะไม่สำคัญหรือจำเป็นอีกต่อไปแล้วที่จะก่อความยุ่งยากรำคาญให้กับตัวของพวกเราเองด้วยภาระอันนั้น

ทุกวันนี้ ไม่มีศาสนาใดที่จะมาโต้เถียงกับอารยธรรมร่วมสมัยและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่กลับเป็นว่าศาสนาได้ให้การสนับสนุนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเสียด้วยซ้ำ. ประสบการณ์ของชนชาวอิหร่านในช่วง 20 ปีหลังมานี้ได้สอนสั่งบทเรียนที่ชัดเจนมากบทเรียนหนึ่งให้กับคนอื่นๆที่พยายามทะเลาะกับอารยธรรมสมัยใหม่และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งจะไม่เพียงไร้ประโยชน์เท่านั้น แต่ยังจะเป็นอันตรายด้วย. ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ผู้คนโดยเฉลี่ยซึ่งได้ก้าวเข้าสู่โลกาภิวัตน์ของข้อมูลข่าวสารต่างล่วงรู้ถึงประสบการณ์อันขมขื่นข้างต้นโดยตัวของเขาเอง โดยไม่คำนึงถึงว่าอารยธรรมและวัฒนธรรมนั้นว่ามันมาจากไหน

เจ็ด. แนวโน้มต่างๆซึ่ง Emmanuel Kant สันนิษฐานเอาไว้เกี่ยวกับโลกของเราว่า มันจะดำรงอยู่มาประมาณ 1 ล้านปี. 200 ปีหลังจาก Kant, คนรุ่นเราได้มาถึงระดับหนึ่งของความรู้และสติปัญญาจำนวนมาก ซึ่งไม่เพียงประสบความสำเร็จในการสถาปนาอายุของโลกขึ้นมาเท่านั้น แต่มันยังชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะสิ้นสุดลงหลังจาก 5 พันปี. พวกเราสามารถที่จะเดาได้ถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการปะทะกันในเรื่องพื้นที่, การทำลายล้างทั้งหมดของอารยธรรมมนุษย์ หรือการเปลี่ยนแปลงของมันที่เหนือไปกว่าที่เรารู้จัก. มันเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างมันขึ้นมาให้มีความแน่นอนได้เลย

Heisenberg! ประวัติศาสตร์แสดงให้เราเห็นว่า ถ้าหากว่าการทำนายที่เชื่อมั่นเกินไปเหล่านั้น, การพยากรณ์ที่หาญกล้าเกินไป และการตัดสินในเชิงอัตวิสัยต่างๆที่ได้ยินมาจากวงการปัญญาชน เป็นที่ยอมรับกันในฐานะที่เป็นวิทยาศาสตร์ มันก็จะนำไปสู่ผลลัพธ์อันไม่พึงปรารถนาได้. ศาสตราจารย์ Alsyorth Huntington ซึ่งได้ศึกษาถึงผลกระทบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติบนการพัฒนาของอารยธรรมหนึ่ง พบว่า พื้นที่รายรอบมหาวิทยาลัย Yale เป็นสถานที่ตั้งซึ่งมีความเหมาะสมอย่างยิ่งในเชิงภูมิศาสตร์สำหรับการพัฒนา

ไม่ใช่ว่าเขาโชคดีที่เป็นศาสตราจารย์! สำหรับ Samuel Huntington เกี่ยวกับเรื่องการปะทะกันของอารยธรรม(clash of civilizations)ของเขา, อันที่จริง เขาทำให้การเดินทางอันยิ่งใหญ่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และอารยธรรมของมนุษยชาติต้องเสื่อมเกียรติและได้รับความอับอาย

ดังที่บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายยืนยัน ณ ขนาดสัดส่วนของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน โลกสามารถที่จะป้อนอาหารให้กับผู้คนได้ถึงหนึ่งหมื่นล้านคนได้อย่างสบายภายใต้มาตรฐานแบบอเมริกัน หรือสองหมื่นห้าพันล้านคน ณ มาตรฐานแบบญี่ปุ่น. แต่อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวข้างต้นเกี่ยวกับการที่มนุษยชาติ สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆซึ่งเกี่ยวพันกับการเจริญเติบโตของจำนวนประชากรโดยผ่านอารยธรรมที่สมบูรณ์(การทำให้เป็นอเมริกัน- Americanization) เมื่อพวกเราได้เพิ่มจำนวนมาถึง อย่างน้อยที่สุดหนึ่งหมื่นล้านคน ก่อนที่จะไปถึงสองหมื่นห้าพันล้านคน มันมีโอกาสความเป็นไปได้น้อยกว่าคำทำนายต่างๆเกี่ยวกับสงครามและการปะทะกัน

David Landes ได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อประมาณ 250 ปีมาแล้ว รายได้ของประชากรต่อหัวของประเทศที่มั่งคั่งที่สุดของโลก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศยากจนที่สุดมีความแตกต่างกันเท่ากับ 5 ต่อ 1, และยุโรปกับจีนเท่ากับ 2 ต่อ 1. ทุกวันนี้ คนร่ำรวยของสวิสเซอร์แลนด์เมื่อเปรียบเทียบรายได้กับคนที่ยากจนในประเทศโมแซมบิค สถิติอันนี้กลับกลายเป็น 400 ต่อ 1

เนื่องจากการปฏิรูปทางด้านเทคโนโลยีซึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็ว และพัฒนาการทางอารยธรรม ยุโรปและอเมริกาได้เพิ่มความมั่งคั่งร่ำรวยอย่างมหาศาลขึ้นมา. แม้ว่าประเทศที่ยากจนจำนวนมากกำลังดีขึ้นตามลำดับ; แต่ประเทศยากจนทั้งหลายก็ยังคงทุกข์ยากลำเค็ญอยู่กับความด้อยพัฒนาอย่างมาก เพราะการปฏิรูปทางด้านเทคโนโลยีและอารยธรรมของพวกเขายังล้าหลังอยู่นั่นเอง

ความหิวโหยในระดับทั่วๆไป ได้รับการบรรเทาเบาบางลงในโลก ทั้งนี้เป็นผลอันเนื่องมาจากโลกาภิวัตน์ การบูรณาการและอารยธรรมซึ่งมีลักษณะที่เป็นเนื้อเดียวกันมากขึ้น ปัจจุบันมันมีเครื่องหมายของการลดลงของช่องว่าง ไม่ใช่เพิ่มช่องว่างมากขึ้นระหว่างคนรวยและคนจน

ในอนาคต อารยธรรมที่แพร่กระจายไปและมีความหลากหลาย มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะตกอยู่ในกลุ่มหรือค่ายซึ่งตรงข้ามกันต่างๆ. อันนี้เนื่องมาจากคำตอบที่เป็นจริงข้อหนึ่งเกี่ยวกับการไร้ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการที่จะปกครองประเทศขนาดใหญ่ต่างๆ อย่าง รัสเซีย, จีน, อินโดนีเซีย, อินเดีย และปากีสถาน โดยระบบเดียว. มันเนื่องมาจากท่าทีหรือทัศนคติในเชิงปฏิบัติอันหนึ่งเช่นกัน; ที่ว่า ทำไม ชาวอิตาเลียนทางตอนเหนือในทุกวันนี้ ในทุกๆโอกาส จะกล่าวว่า พวกเขาปรารถนาที่จะแยกตัวออกจากพี่น้องของพวกเขาที่อยู่ทางใต้. การสิ้นสุดหรือจากไปซึ่งเป็นไปได้อันหนึ่งของ Quebec จาก Canada อาจจะไม่โชคดี แต่มันอาจเกิดขึ้นได้ในรูปแบบของ Czechoslovakia, Quebec ที่รวมกันแน่นอาจมีการพัฒนาตามโอกาสต่างๆมากขึ้น

โดยไม่คำนึงถึงอารยธรรมของพวกเขา, คนหนุ่มสาวกำลังมีรสนิยมไปตามแฟชั่นฝรั่งเศส, กริยาท่าทางแบบฮอลีวูด, เกมคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ, และการควบคุมอาหารเพื่อการปรากฎตัวออกมาตามแบบฉบับ คนหนุ่มสาวกำลังมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันมากขึ้น. ไม่ใช่เพียงแค่คนหนุ่มสาวนับล้านในทุกวันนี้ผู้ซึ่งย้อมผมของพวกเขาให้เป็นสีบลอนด์, เสริมเต้านมให้ใหญ่ขึ้น, ทนทุกข์กับการทำศัลยกรรมพลาสติกเพื่อขจัดสีผิวออกไป, ในวันพรุ่งนี้ด้วยการช่วยเหลือของเทคโนโลยีชีวภาพ จะทำให้การปรากฏตัวตามที่ใจปรารถนาและเป็นไปอย่างที่เลือกสรรเอาไว้สูงสุดมีความเป็นไปได้มากขึ้น อันนี้ใช่หรือไม่ ?

ในท้ายที่สุด ความพยายามของพวกเขาจะไปถึงมาตรฐานร่วมกันอันหนึ่งใช่ไหม ? เครือข่ายการ์ตูน, MTV, สิ่งเหล่านี้กำลังทำให้เด็กๆ ผู้ซึ่งต้องการปรับปรุงการปรากฏตัวของพวกเขาประสบความสำเร็จ โดยไม่คำนึงถึงอารยธรรมของพวกเขาที่กลายเป็นเนื้อเดียวกันอย่างรวดเร็ว

มันเป็นเรื่องที่ไม่คุ้มค่าหรือสมควรที่จะพูดถึง ความคลั่งไคล้และการก่อการร้ายว่า น่าจะนำมาเป็นประเด็นหนึ่งที่นำมาเรียกร้องการร่วมมือกันทั่วโลก. ปัจจุบันไม่มีศาสนาใดที่โต้เถียงเรื่องการรวมตัวกันของอารยธรรม. แต่อย่างไรก็ตาม การประจบประแจงหรือการผูกไมตรีอันนี้ จะทำให้เกิดคนที่คลั่งไคล้ศาสนาขึ้นมาเป็นจำนวนมาก แต่ข้าพเจ้ากำลังเกรงว่า นั่นจะเป็นมูลเหตุการทำลายล้างเกี่ยวกับวัฒนธรรมและอารยธรรมของมนุษยชาติ

ในโครงบทหนึ่งของ Shakespeare ซึ่งได้รับการประพันธ์ขึ้นมาในน้ำเสียงที่เป็นปรัชญามาก ว่า "ห้วงเวลาได้เป่าประกาศถึงสงครามอันหนึ่งกับเรา และรอบๆตัวของพวกเรานั้น ไม่มีหนทางที่จะหลบเลี่ยงจากมันไปได้". ใช่, เวลาจะเค้นคอเราโดยไม่ให้โอกาสที่จะหลบเลี่ยง

ดังที่ Fukuyama ได้บันทึกเอาไว้อย่างเหมาะเจาะ, มาถึงตอนนี้ ประวัติศาสตร์ได้สิ้นสุดไปแล้ว ประวัติศาสตร์ที่ถูกเข้าใจโดยหลักวิภาษวิธีแบบ Hegelian ได้ยุติลงแล้ว. แต่มันจะเป็นการถูกต้องมากแค่ไหนที่จะเรียกสิ่งนี้ว่าเป็นชัยชนะอันหนึ่งของลัทธิทุนนิยมคลาสสิค ? บางทีมันจะถูกต้องกว่าที่จะเรียกมันว่าประวัติศาสตร์ใหม่ของมนุษยชาติที่จวนจะเริ่มต้นขึ้น. กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ มันเป็นการเริ่มต้นของชัยชนะของอารยธรรมอเมริกัน!

 

บรรณานุกรม

Karl Popper " Poverty of the Historicism" Ulaanbaatar. 1996

Joseph Needham "About Archeological Work in Sechuan" Cambridge University 1988

Francis Fukuyama " The End of History and the Last Man", Simon & Shuster. 1993

Zbignew Brzezinski "The Grand Chessboard; American Primacy and its Geostrategic Imperatives" Basic Books. 1997

Alvin Toffler " Future Shock" Random House. 1970

Nathan Gardels. "Interview with Alvin Toffler" Los Angeles Times. 1999

Samuel Huntington. "The Clash of Civilizations and the Remaking of the World Order". Simon & Shuster. 1996

Mohamad Mahathir "A New Deal for Asia" Pelanduk Publication. 1999

Paul Johnson "A History of the American People". Harper Perennial 1999

V.S. Naipaul " Our Universal Civilization". The 1990

Wriston Lecture, New York Review of Books. 1990

Ferdinand Braudel " A History of Civilization" Penguin Books.

Francis Fukuyama "Trust". Simon & Shuster .1996

David Landes "The Wealth and Poverty of Nations" WW. Norton and Company. 1998

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม