ปี 1972 การประชุมเรื่องสิ่งแวดล้อมที่สต็อกโฮล์ม
ถือเป็นครั้งแรก ที่ได้รับการจัดให้มีขึ้นมาโดยการขยายตัวของสาธารณชนที่เจ็บแค้นต่อมลภาวะสิ่งแวดล้อม
ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้งและปราศจากการควบคุม อันเนื่องมาจากอุตสาหกรรมต่างๆ
นับตั้งแต่ป่าไม้, เหมืองแร่, น้ำมัน, และอุตสาหกรรมด้านเคมีต่างๆ. พลเมืองทั้งหลายกำลังเรียกร้องให้รัฐบาลของตน
กระทำในสิ่งซึ่งไม่เคยทำหรือรู้มาก่อน และให้มีการออกกฎหมายเพื่อควบคุมบรรดาผู้ก่อมลภาวะเหล่านี้...
(เอกสารลับที่เพิ่งได้รับการเปิดเผย หลังจากปิดบังมาเป็นเวลา 30 ปี)
บทความนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ หากจะนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร
หากประสบปัญหา ภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
ทุกๆ 10 ปี พวกเราจะจัดให้มีการประชุมสต็อกโฮล์มขึ้นมา โดยถือเอาการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมาเป็นบรรทัดฐาน. ครั้งหลังสุด เราได้จัดงานนี้ขึ้นที่เมือง Rio (เมืองหลวงเก่าของบราซิล เป็นเมืองที่ใหญ่อันดับสอง) ในปี 1992. ครั้งต่อไปจะจัดให้มีขึ้นที่ South Africa ซึ่งถือเป็นปีเฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปีหลังจากการประชุมที่สต็อกโฮล์ม และจะทำการตรวจสอบและสังเกตความก้าวหน้าระหว่างประเทศที่มีต่อการทำความสะอาดและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ(UNEP - The United Nations Environment Programme) ซึ่งมีที่มั่นอยู่ที่ไนโรบี, เคนย่า, ได้รับการสร้างขึ้นมาในฐานะที่เป็นผลลัพธ์ของการประชุมที่สต็อกโฮล์ม. นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไม มันจึงกลายมาเป็นความงงงวย ประหลาดใจ สำหรับบรรดาชาติต่างๆของ OECD (Organization of Economic Cooperation and Development - องค์กรความร่วมมือและพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ) ที่รวมเอา สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันนี อิตาลี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ถึงกับหูอื้อ. ประเทศเหล่านี้ต่างๆตระหนักดีถึงมลพิษที่พวกตนได้ก่อขึ้นอันเนื่องมาจากพัฒนาการทางด้านอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงได้ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มบรัสเซลส์ขึ้นมา เพื่อพยายามที่จะจำกัดผลกระทบเกี่ยวกับการตัดสินใจและการกระทำต่างๆที่ได้ถูกทำให้มีขึ้นในการประชุมสต็อกโฮล์ม ปี 1972
การดำรงอยู่ของกลุ่มต่อต้านที่เป็นความลับกลุ่มเล็กๆนี้ ถูกรู้จักกันในนามกลุ่มบรัสเซลส์ ซึ่งได้มีการเปิดเผยในรายงานต่างๆอายุ 30 ปีของรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งก่อนหน้านั้นมันได้ถูกเก็บเอาไว้เป็นความลับมาตลอด จนกระทั่งเดือนธันวาคม 2001. กลุ่มดังกล่าวไม่มีตัวตนในการสร้างนโยบายที่เป็นทางการเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ต่างๆร่วมกันของบรรดาผู้นำรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง, อันนี้เป็นไปตามบันทึกรายงานเกี่ยวกับการประชุมครั้งแรกของกลุ่มอันหนึ่ง ซึ่งเขียนขึ้นโดยข้าราชการพลเรือนในกระทรวงต่างประเทศอังกฤษและเครือจักรภพ. "มันยังคงต้องเป็นไปในรูปที่ไม่เป็นทางการและเป็นความลับอย่างนี้ต่อไป".
การพบปะกันดังกล่าวเกิดขึ้นมาในเดือนกรกฎาคม 1971, เกือบ 1 ปีก่อนการประชุมที่สต็อกโฮล์มเปิดให้มีขึ้น(1972). กลุ่มนี้มีความห่วงใยที่ว่า กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมจะมาเป็นข้อจำกัดเรื่องการค้า. พวกเขาต้องการที่จะหยุดยั้ง UNEP จากการเป็นองค์กรโลกที่มีประสิทธิภาพองค์กรหนึ่ง และจำกัดงบประมาณประจำปีขององค์กร เพื่อว่ามันจะไม่ได้มีบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสม เช่นเดียวกันกับตัวแทนสหประชาชาติอื่นๆ อย่างเช่น UNICEF และ FAO.
จากเอกสารรายงานที่เป็นทางการของกระทรวงต่างประเทศอังกฤษกล่าวว่า กลุ่มบรัสเซลส์"ได้ก่อให้เกิดความก้าวหน้าที่แท้จริงเกี่ยวกับปัญหาที่ยุ่งยากอันนี้", แม้ว่าจะไม่มีการระบุลงไปในรายละเอียดว่ามันถูกวางแผนและกระทำให้สัมฤทธิผลได้อย่างไร.
ในรายงานเหล่านั้นบันทึกว่า Maurice Strong ของแคนาดา, ประธานการประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมที่สต็อกโฮล์มและผู้อำนวยการทั่วไปของการจัดการประชุมเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน ณ เมือง Rio, 20 ปีหลังจากการประชุมสต็อกโฮล์มในประเทศบราซิล ได้บ่นออกมาด้วยความไม่พอใจเกี่ยวกับการกระทำต่างๆที่เป็นไปในเชิงลบของกลุ่มๆนี้ในปี 1971. "พวกเราอาจได้คำวิจารณ์บางอย่างจากชาวสวีเดนและคนอื่นๆ [และ] พวกเราจะต้องระมัดระวัง เมื่อการขยายตัวของกลุ่มมันจะไม่ทำให้ผู้ร่วมงานของเราต้องประสบกับความงุ่มง่ามและเชื่องช้าลง", บันทึกดังกล่าวเพิ่มเติมคำพูดนี้เอาไว้อย่างนั้น
บันทึกความจำ ซึ่งเขียนขึ้นมาโดยเจ้าหน้าที่คนหนึ่ง ในสิ่งที่หน่วยงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอังกฤษในเวลานั้นกล่าวว่า อังกฤษต้องการที่จะจำกัดขอบเขตของการประชุมสต็อกโฮล์ม และลดจำนวนข้อเสนอต่างๆสำหรับการปฏิบัติลง. ในการอ้างอิงอ้อมๆถึงสิ่งที่จะกลายมาเป็น UNEP, เอกสารระบุว่า "องค์กรระหว่างประเทศใหม่ที่มีราคาแพงนี้จะต้องได้รับการหลีกเลี่ยง และศูนย์กลางกลไกการประสานความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพเล็กๆ ... จะไม่เป็นที่ต้อนรับ เว้นแต่ มันจะเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้".
สำหรับเรื่องราวนี้เต็มๆ(กรุณาคลิกไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ website http://www.newscientist.com/news/news.jsp?id=ns99991734)
แผนการบ่อนทำลายการควบคุมมลภาวะของโลก
สดชื่น วิบูลยเสข : แปล, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ข่าวนี้มาจากรายงานบันทึกของรัฐบาลอังกฤษซึ่งถูกเก็บเป็นความลับนานถึง 30 ปี และเพิ่งได้รับการเปิดเผยออกมาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2545 นี้เอง เพื่อเป็นของขวัญวันปีใหม่แก่ชาวโลก
คณะทำงานที่ไม่เป็นที่เปิดเผยของกลุ่มชาติที่พัฒนาแล้ว ได้รวมหัวกันล้มการนำข้อตกลงจากการประชุมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมครั้งแรกขององค์การสหประชาชาติเมื่อ พ.ศ.2515 ที่กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ออกสู่การปฏิบัติ การประชุมที่สวีเดนในครั้งนั้น จัดขึ้นเพื่อตอบสนองความกังวลที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่ถูกทำลายจากน้ำมือของมนุษย์ ทั้งโดยตั้งใจ และไม่ตั้งใจ การประชุมจบลงด้วยการประกาศที่เป็นเอกฉันท์ถึงความต้องการอย่างรีบด่วนในการปกป้องธรรมชาติ และโปรแกรมขั้นตอนการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
แต่จุดมุ่งหมายที่ยิ่งใหญ่ของผู้จัดการประชุมซึ่งรวมทั้ง Maurice Strong เลขาธิการคนแรกขององค์การสหประชาชาติด้านสิ่งแวดล้อม(UNEP) กลับต้องชะงักงันด้วยผลจากการเคลื่อนไหวอย่างลับๆของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "กลุ่มบรัสเซลส์" ชาติสมาชิกของกลุ่มนี้ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เยอรมัน อิตาลี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส
จากรายงานการประชุมครั้งแรกของกลุ่ม ซึ่งบันทึกโดยข้าราชการพลเรือนในกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษและเครือจักรภพ กลุ่มบรัสเซลส์เป็น "องค์กรลับที่ไม่เป็นทางการ มีหน้าที่วางนโยบายเพื่อประสานแนวคิดของรัฐบาลของชาติหลักๆที่เกี่ยวข้อง" "องค์กรนี้จัดตั้งอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นองค์กรที่ไม่เปิดเผย" การประชุมนี้มีขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2514 ประมาณหนึ่งปีเต็มก่อนการประชุมที่สต๊อกโฮล์ม
เหตุผลที่คุ้นเคย
ข้ออ้างในการจัดตั้งองค์กรลับนี้ เป็นข้ออ้างที่พวกเราเคยได้ยินซ้ำแล้วซ้ำเล่าในการปกป้องผลประโยชน์ของชาติที่ร่ำรวยผู้ไม่รู้จักพอ
กลุ่มบรัสเซลส์เป็นกังวลว่า ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจะกลายเป็นข้อจำกัดผลประโยชน์ด้านการค้า
นอกจากนี้พวกเขายังต้องการระงับไม่ให้ UNEP ใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมากไปตามที่เห็นสมควร
กระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษบันทึกไว้ว่า "กิจกรรมนี้ของกลุ่มบรัสเซลส์เดินหน้าไปได้อย่างดีเยี่ยม" แม้ว่า ในบันทึกจะมิได้กล่าวถึงรายละเอียดของการดำเนินการก็ตาม กลุ่มบรัสเซลส์ไม่เคยพิจารณาเลยว่า ท่าทีเช่นนั้นของตนส่งผลกระทบต่อประเทศที่ยากจนกว่าเช่นไร
จุดประสงค์หลักในการกุมบังเหียนการฑูตระหว่างที่เวลาคลี่คลายไปสู่การประชุมที่สต๊อกโฮล์ม เป็นไปเพื่อให้ประเทศพัฒนาแล้วได้รับสิ่งที่ต้องการ "และบางที อาจจะเพื่อให้ประเทศเหล่านี้ลดความกังวลในการที่จะทำให้การประชุมประสบผลสำเร็จสำหรับประเทศกำลังพัฒนาเสียด้วยซ้ำไป" ผลประโยชน์ที่ตั้งจากตัวเองเป็นหลักอย่างชัดแจ้งนี้ ไม่ได้รับการตอบสนองจากประเทศพัฒนาแล้วมากเท่าที่หวัง แต่ก็ยังมีบางประเทศที่เข้าร่วมด้วย
รายงานตอนต่อไปบันทึกไว้ว่า Strong เองเริ่มอึดอัดกับท่าทีและกิจกรรมของกลุ่มบรัสเซลส์ "เราอาจจะได้รับคำวิจารณ์เชิงตำหนิจากประชาชนของสวีเดน และชาติอื่นๆ(และ)เราต้องเพิ่มความระมัดระวังยิ่งขึ้นที่จะระวังไม่ให้ประเทศเหล่านี้ทำให้เกิดความงุ่มง่าม ในการเข้ามาร่วมการดำเนินงานของเรา"
โซนิก บูมส์
แนวคิดและกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมของกลุ่มบรัสเซลส์สามารถเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นจากรายงานแสดงสถานภาพของอังกฤษก่อนการประชุมลับที่กรุงเจนีวา
เมื่อเดือนธันวาคม 2514 การประชุมนี้เป็นหนึ่งในการประชุมทำนองเดียวกันหลายๆครั้ง
ก่อนการประขุมที่สต๊อกโฮล์ม
รายงานนี้บันทึกโดยเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น สาระสำคัญคือ อังกฤษต้องการจำกัดขอบเขตการประชุมที่สต๊อกโฮล์ม และลดจำนวนข้อเสนอที่จะต้องนำไปสู่การปฏิบัติลง ในการอ้างอิงหน่วยงานซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการจัดตั้งเป็น UNEP รายงานกล่าวไว้ว่า " ควรต้องหลีกเลี่ยงการตั้งหน่วยงานใหม่ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและการดำเนินการสูงอันเป็นหน่วยงานนานาชาติ..."
รายงานกล่าวต่อไปถึงรายละเอียดของหัวข้อที่อังกฤษไม่ต้องการให้มีอยู่ในข้อเสนอเพื่อดำเนินการจากการประชุมที่จะจัดขึ้นที่สต๊อกโฮล์ม สิ่งที่ปรากฏเป็นอันดับแรกคือการควบคุมเสียง"โซนิก บูมส์" จากเครื่องบินคอนคอร์ด และการควบคุมมลภาวะในบรรยากาศชั้นบน ทำไม? เพราะมาตรการเหล่านี้จะทำให้เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจของบริษัทการบิน ซุปเปอร์โซนิก Anglo-French หรือเครื่องบิน คอนคอร์ดที่เราท่านยังจำกันได้ดีนั่นเอง
ความกดดันด้านจริยธรรม
ขณะนั้น เครื่องบินคอนคอร์ดกำลังประสบปัญหาหนักหน่วงอยู่ก่อนแล้ว ลูกค้าที่มีแนวโน้มว่าจะซื้อเครื่องบินนี้
มีเพียงสายการบินประจำชาติอังกฤษและฝรั่งเศสเท่านั้น นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีอังกฤษเองก็เริ่มอภิปรายนโยบายที่จะยุติการใข้เครื่องบินคอนคอร์ด
การถกเถียงร้อนแรงไปถึงจุดที่ว่า เครื่องบินที่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียงเช่นนี้
จะได้รับการยินยอมให้ลงจอดที่ท่าอากาศยานเมืองนิวยอร์กหรือไม่
การควบคุมโซนิกบูมส์ก็คือการขุดหลุมฝังตัวเอง รัฐบาลอังกฤษจึงมีจุดยืนที่มั่นคงไม่คลอนแคลนในการที่จะต่อต้านการกำหนดมาตรฐานระหว่างชาติ เพื่อควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือการสร้างสิ่งที่เป็นมลภาวะ รัฐบาลผู้ดีเกรงกลัวว่าข้อตกลงระหว่างชาติ มันจะกลายเป็นเชือกที่กระตุกรัดคอประเทศอังกฤษให้ต้องดูแลทำความสะอาดพฤติกรรมของตนเอง ซึ่งนั่นจะหมายถึงความสูญเสียด้านเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง
"แนวทางมาตรฐานสากล อาจก่อให้เกิดความกดดันด้านจริยธรรม ซึ่งผูกมัดให้เราต้องยอมรับและปฏิบัติตามปรัชญาที่ชวนให้สงสัยทั้งในด้านความเป็นไปได้และผลประโยชน์" เป็นข้อความตอนหนึ่งที่ได้รับการบันทึกในรายงาน
แม้จะมีความพยายามในหลากหลายรูปแบบจากกลุ่มบรัสเซลส์ แต่การประชุมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมครั้งแรกที่สต๊อกโฮล์มในปี พ.ศ. 2515 ก็จัดเป็นการเริ่มต้นก่อสันกั้นน้ำแห่งมลภาวะที่น่าจดจำ แม้ว่าการวิ่งเต้นสร้างแรงกดดันของกลุ่มบรัสเซลส์ต่อข้อสรุปและข้อเสนอแนะ เพื่อการปกป้องสิ่งแวดล้อมจากการประชุม จะทำให้ข้อเสนอดังกล่าวถูกจำกัดและลดทอนขอบเขตลงเหลือเพียงไม่กี่ข้อ เช่น มลภาวะข้ามอาณาเขตระหว่างประเทศ แต่การประชุมที่สต๊อกโฮล์มก็เป็นที่มาขององค์กร UNEP ซึ่งได้เริ่มการปกป้องป่าไม้ของโลก และการรักษาสภาพแวดล้อมและการขยายตัวของนครใหญ่เป็นต้น
แปลและเรียบเรียงจาก
จาก New Scientist Newsletter 20020105
ฉบับประจำวันที่ 5 มกราคม 2545
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด หรือ Ctrl + A
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V จะได้ข้อมูลมา ซึ่งยอหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
กลุ่มบรัสเซลส์
: องค์กรซ่อนเงื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อม
BRUSSELS GROUP OF NATIONS TRIED TO LIMIT IMPACT
OF 1972 STOCKHOLM ENVIRONMENT CONFERENCE
กลุ่มบรัสเซลส์
คือ ประชาชาติต่างๆที่พยายามจำกัดผลกระทบของการประชุมเรื่องสิ่งแวดล้อมที่สต็อกโฮล์มปี
ค.ศ.1972(บทความนี้ยาวประมาณ 4.5 หน้ากระดาษ A4)
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปล, คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทนำ
การประชุมสหประชาชาติ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ในปี ค.ศ.1972
นับเป็นครั้งแรกในวาระการประชุมระดับโลกที่ยิ่งใหญ่ชุดหนึ่งซึ่งจัดให้มีขึ้นในเรื่องของสิ่งแวดล้อม.
ตามมาด้วยการประชุมระดับโลกในเรื่องที่ว่าด้วยประชากร, อาหาร, ถิ่นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์,
และรวมถึงเรื่องของพลังงาน, ฯลฯ.
ปี 1972 การประชุมเรื่องสิ่งแวดล้อมที่สต็อกโฮล์มถือเป็นครั้งแรก ที่ได้รับการจัดให้มีขึ้นมาโดยการขยายตัวของสาธรณชนที่เจ็บแค้นต่อมลภาวะสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างไม่หยุดหย่อนและปราศจากการควบคุม อันเนื่องมาจากอุตสาหกรรมต่างๆ นับตั้งแต่ป่าไม้, เหมืองแร่, น้ำมัน, และอุตสาหกรรมด้านเคมีต่างๆ. พลเมืองทั้งหลายต่างต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลของพวกเขากระทำในสิ่งซึ่งไม่เคยทำหรือรู้มาก่อน และให้มีการออกกฎหมายเพื่อควบคุมบรรดาผู้ก่อมลภาวะเหล่านี้.