มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิกที่ปุ่ม member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ปุ่ม contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
(midnightuniv(at)yahoo.com)
ศัพท์คำว่า อุตสาหกรรมวัฒนธรรม(culture industry) ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในหนังสือชื่อ Dialectic of Enlightenment, ซึ่ง Horkheimer และ Adorno ได้พิมพ์ขึ้นในอัมสเตอร์ดัม ในปี 1947. ในฉบับร่างของพวกเขา เขาได้พูดคุยถึงเรื่องเกี่ยวกับ"วัฒนธรรมมวลชน"(mass culture) และพวกเขาแทนคำ"วัฒนธรรมมวลชน"นี้ด้วยคำว่า "อุตสาหกรรมวัฒนธรรม" ทั้งนี้เพื่อที่จะแยกมันออกมาจากบรรดาผู้ที่เห็นด้วย หรือสนับสนุนเรื่องของ"วัฒนธรรมมวลชน"นั่นเอง:
ดังนั้น ความหมายของสองคำนี้
จึงแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว
ใน"อุตสาหกรรมวัฒนธรรม"ผู้บริโภคไม่ใช่ราชา ดังที่พวกนั้นจะทำให้เราเชื่อ
มวลชนไม่ใช่ตัวประธานอีกต่อไป แต่เป็นตัวกรรมของมัน
พัฒนาและปฏิบัติการบนวิธีการทำความเข้าใจที่เรียกว่า"ทฤษฎีวิพากษ์"(critical theory). ส่วนสมาชิกคนอื่นๆของ แฟรงค์เฟริทสคูล ประกอบด้วย Max Horkheimer, Walter Benjamin, และ Herbert Marcuse. พวกนักทฤษฎี แฟรงค์เฟริทสคูล ทั้งหมดต่างก็มีส่วนเป็นหนี้บุญคุณอย่างลึกซึ้งต่อผลงานของ Karl Marx. Adorno เองยังได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจาก Hegel, Kant, Heidegger, และ Lukacs.
สำหรับงานเขียนของ Adorno นั้น เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า เป็นงานเขียนที่ยากแก่การทำความเข้าใจ (Adorno's writing is notoriously difficult to understand). ด้วยเหตุนี้ เขาจึงถูกวิจารณ์ต่อเรื่องนี้เป็นครั้งคราว. แต่อย่างไรก็ตาม, จากกรณีดังกล่าว ในรูปแบบงานเขียนของ Adorno ได้มีบทบาทต่อเนื้อหาของบรรดานักรื้อสร้าง(deconstructionists) อย่างเช่น Spivak หรือ Derrida. ด้วยความไม่คุ้นเคยเหล่านั้นเกี่ยวกับงานเขียนของ Adorno จึงได้รับการหยิบยกขึ้นมาในฐานะที่เป็นความท้าทาย นั่นคือ จะต้องอ่านด้วยความระมัดระวัง และจากการทำเช่นนั้นจะได้รับผลตอบแทนเป็นรางวัลคือ ความอุดมสมบูรณ์ในเนื้อหาในเชิงทฤษฎีและในเชิงวิพากษ์อย่างมากมาย
Biography (ประวัติส่วนตัวของอะดอร์โน)
วันที่ 11 กันยายน 1908, Theodor Ludwig Wiesengrund ได้ถือกำเนิดขึ้นใน Frankfurt
am Main. เขาเป็นบุตรของพ่อค้าไวน์ชาวยิว นามว่า Oskar Wiesengrund, ส่วนมารดาของเขาเป็นชาวคาธอลิคจาก
Corsica นามว่า Maria Calvelli-Adorno, Adorno ได้รับเอานามสกุลของมารดามาใช้ในช่วงระหว่างปลายทศวรรษที่
1930 ในขณะที่ถูกเนรเทศจากนาซีเยอรมันนี. Adorno ได้ร่ำเรียนดนตรีและปรัชญาตั้งแต่เยาว์วัย.
แม่ของเขาเป็นนักร้องอาชีพ, และป้าของเขาซึ่งอยู่ด้วยกันกับครอบครัวเป็นนักเล่นเปียโนที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่ง.
ขณะที่เขาเป็นวัยรุ่น Adorno ได้ศึกษาปรัชญาของ Kant กับเพื่อนของครอบครัวเขาคนหนึ่ง, Siegfried Kracauer, ผู้ซึ่งต่อมาภายหลังกลายเป็นนักวิจารณ์วัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง และเป็นนักทฤษฎีทางด้านภาพยนตร์ใน Weimar เยอรมันนี. Adorno ได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแฟรงค์เฟริท ที่นั่นเขาได้เรียนวิชาปรัชญา, สังคมวิทยา จิตวิทยา และดนตรี. ตอนที่เขาอายุ 21 ปี เขาได้เสนองานวิจารณ์เกี่ยวกับ Husserl [Edmund Husserl 1859-1938 นักปรัชญาชาวเยอรมันเชื้อสายกำเนิดออสเตรีย. ผู้นำในการพัฒนาศาสตร์ทางด้าน"ปรากฎการณ์วิทยา"(phenomenology), เขาเป็นคนที่มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อบรรดานักปรัชญาแนว existentialist] ในชื่อว่า "The Transcendence of the Real and the Noematic in Husserl's Phenomenology" ในฐานะวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก. นับจาก 1925-1928, Adorno ได้ศึกษาดนตรีที่เวียนนาภายใต้การดูแลของ Alban Berg โดยหวังที่จะเป็นคีตกวีคนหนึ่ง
ในช่วงระหว่างกลางและปลายทศวรรษที่ 1920, Adorno ได้สร้างเครือข่ายเกี่ยวกับคนที่รู้จักขึ้นมากลุ่มหนึ่ง ซึ่งจะมาร่วมคิดร่วมทำงานกับเขาในช่วงที่เหลือของชีวิต. โดยผ่านเพื่อนของเขา Max Horkheimer, Adorno ได้พบกับสมาชิกหลายคนของสถาบันวิจัยสังคม และผู้นำทางความคิดคนอื่นๆในช่วงวันเวลานั้น ซึ่งประกอบด้วย Leo Lowenthal, Friedrich Pollack, Ernst Bloch, Bertolt Brecht, Kurt Weill, Walter Benjamin, และ Herbert Marcuse. Adorno ไม่ได้เป็นสมาชิกของสถาบันแห่งนี้อย่างเป็นทางการ เขาเพียงเขียนบทความต่างๆเพื่อไปลงตีพิมพ์ในวารสารของสถาบันเท่านั้น. ในปี 1931, Adorno ได้เข้ารับตำแหน่งเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยแฟรงค์เฟริท แต่เขาได้สอนอยู่ที่นั่นเพียง 2 ปีเท่านั้น หลังจากนั้นก็ถูกบีบให้ลาออกจากมหาวิทยาลัยโดยระบอบการปกครองของนาซี.
สถาบันวิจัยสังคมแห่งแฟรงค์เฟริท ภายใต้การอำนวยการของ Horkheimer ในไม่ช้าก็ต้องระหกระเห็นออกจากเยอรมันนี, แล้วก็ไปตั้งตัวที่เจนีวาในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และในท้ายที่สุดก็ไปตั้งที่กรุงนิวยอร์ค. Adorno, ไม่ได้ถูกว่าจ้างอย่างเป็นทางการจากสถาบันฯอีกเช่นเดิม, เขาได้ถูกทิ้งเอาไว้เบื้องหลัง. ต่อมา เขาได้สมัครเข้าทำงานที่อ็อกฟอร์ดในฐานะที่เป็นวิธีการหนึ่งในการออกจากประเทศของตนไป
โดยในปี ค.ศ.1938, Horkheimer ได้จัดให้ Adorno ทำงานชิ้นหนึ่งภายใต้การดูแลของ Paul Lazarsfeld ในโครงการวิทยุที่ Princeton ที่สหรัฐอเมริกา. Adorno ได้ทิ้งยุโรปมาอย่างไม่ค่อยเต็มใจนักด้วยแรงกระตุ้นของ Horkheimer. Adorno ได้มีส่วนช่วยเหลือต่อสถาบันวิจัยฯอย่างมากในหลายๆเรื่อง อาทิเช่น งานที่นับว่าเด่นมากที่สุดก็คือ Adorno ได้ร่วมมือกับ Horkheimer ในการเขียนหนังสือชื่อ Dialectic of Enlightenment, หนังสือเล่มนี้ถือว่าเป็นงานคลาสสิคเล่มหนึ่งของทฤษฎีวิพากษ์, และ Adorno ได้พัฒนา the F-scale ขึ้นมา, ซึ่งก็คือเครื่องมือการวิเคราะห์อันหนึ่งเพื่อใช้ในการจำแนกหรือแสดงถึงแบบฉบับบุคลิกภาพต่างๆ ซึ่งตอบโต้กับลัทธฟาส์ซิสม์.
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า Adorno จะประสบความสำเร็จในวิชาชีพของตนก็ตาม แต่เขาก็ไม่เคยมีความสุขอย่างเต็มที่เลยในสหรัฐอเมริกา. ในปี ค.ศ. 1949 Adorno, Horkheimer และ Pollack ได้หวนคืนกลับสู่แฟรงค์เฟริท เพื่อต้องการที่จะสถาปนาสถาบันวิจัยสังคมฯขึ้นมาอีกครั้ง. ในอีก 20 ปีต่อมา เป็นยุคที่เรียกว่ารุ่งเรืองอย่างน่าพิศวงสำหรับ Adorno. เขาได้เขียนหนังสือต่างๆออกมาอย่างมากมายเป็นโหลๆ รวมกระทั่งความเรียง และบทความต่างๆในหัวข้ออันหลากหลาย. หนังสือ 2 เล่มที่สำคัญในจำนวนนั้นก็คือเรื่อง Negative Dialectics (1966) และ อีกเล่มหนึ่งซึ่งได้รับการตีพิมพ์หลังการมรณกรรมของเขาแล้วคือ Aesthetic Theory (1970).
บรรยากาศในทางการเมืองของมหาวิทยาลัยในช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1960 ได้ส่งให้ Adorno ไปอยู่ในตำแหน่งที่ไม่รู้จะทำอย่างไรดี. กลุ่มนักศึกษาที่ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวทางสังคมในช่วงแรกได้อ้าแขนรับงานต่างๆของเขา สำหรับสิ่งซึ่งพวกเขารับรู้ในฐานะที่เป็นการปฏิเสธเกี่ยวกับค่านิยมของชนชั้นกลาง, แต่ได้กลายเป็นความโกรธในเวลาต่อมา เมื่อ Adorno ไม่เต็มใจที่จะให้การสนับสนุนการเข้าร่วมการนั่งประท้วง(sit-ins)และการเดินขบวนต่างๆ.
ในการนำเสนอหนังสือเรื่อง Negative Dialectics (1966), Adorno ได้เผยถึงความไม่ลงรอยเกี่ยวกับทฤษฎีของเขาเกี่ยวกับปฏิบัติการทางการเมือง. เขาอ้างว่า "การปฏิบัติการจะต้องเป็นการขานรับต่อสิ่งที่ถูกต้อง และจะต้องมีการตีความร่วมสมัยเกี่ยวกับประสบการณ์". การตีความดังกล่าวที่ Adorno พูดยังคงได้รับการเฝ้าคอยเสมอ. บรรดานักศึกษาต่างประณามทฤษฎีต่างๆของเขาในฐานะที่เป็นทฤษฎีที่ไร้ประสิทธิภาพและล้าสมัย; นักศึกษาต่างพากันก่อกวนการบรรยายของเขา และสร้างความขายหน้าให้กับเขาด้วยการมอบดอกไม้และเข้าไปจูบแก้มเขาในระหว่างการบรรยาย. การก่อกวนและขัดขวางด้วยวิธีการเหล่านี้ต่อหน้าสาธารณชน เป็นมูลเหตุแห่งความขึ้งเครียดต่อ Adorno ไปจนกระทั่งบั้นปลายของชีวิต. เขาได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจในปี 1969.
A Few Key Terms in Adorno
(ศัพท์ที่สำคัญบางคำในงานเขียนของอะดอร์โน)
AESTHETIC THEORY: (ทฤษฎีสุนทรียภาพ)
Adorno ยืนยันถึง
"สิทธิพิเศษหรือความสำคัญของวัตถุในงานศิลปะ(object in art - รูปธรรมที่ปรากฎในงานศิลปะ)"
หรือสิ่งที่ได้รับการเรียกว่า a materialist aesthetic (สุนทรียภาพในเชิงวัตถุ)
ซึ่งอันนี้เป็นไปในทางตรงข้ามกับสุนทรียภาพแนวอุดมคติของ Kant เลยทีเดียว. Kant
ได้ให้ความสำคัญต่ออัตตะ(subject)เหนือกว่าวัตถุ(Jarvis 99). สำหรับ Kant, ประสบการณ์เกี่ยวกับศิลปะคือผลิตผลอันหนึ่งของการรับรู้ของอัตตะ(subject).
ส่วน Adorno มองว่า "วัตถุทางศิลปะ" และ"ประสบการณ์ทางสุนทรีย์"เกี่ยวกับ"วัตถุทางศิลปะ",
มันได้บรรจุเอา"เนื้อหาที่แท้จริง"เอาไว้(a truth-content).
"เนื้อหาที่แท้จริง" หรือ "a truth-content" คือเนื้อหาของการรับรู้(cognitive content) "ซึ่งจะไม่ถูกทำให้หมดไปโดยเจตนารมณ์อัตวิสัย(subjective intentions - ในที่นี้หมายถึงเจตนาของศิลปิน)ซึ่งเป็นผู้สร้างมันขึ้นมา หรือโดยการโต้ตอบอัตวิสัย(subjective responses - ในที่นี้หมายถึงผู้ดูแต่ละคน)ของผู้ชื่นชมงานศิลปะ", และนั่นอาจจะได้รับการเผยตัวออกมาโดยผ่านวิธีการวิเคราะห์ (Jarvis 98).
ในทางตรงข้าม Kant คิดว่า "ความงาม"เป็นเรื่องของ"ประสบการณ์อัตวิสัย"(subjective experience - ประสบการณ์ส่วนตัวของแต่ละคน), Adorno เสนอว่า "ความงาม"ขึ้นอยู่ระหว่าง"อัตวิสัยและวัตถุวิสัย"(แนวคิดแบบสัมพัทธนิยม). ความงามได้ถูกบรรจุลงไปในการรับรู้(cognitive) หรือ เนื้อหาที่แท้(truth content)ของผลงานศิลปะ
ดังที่ Adorno เขียนเอาไว้ในหนังสือเรื่อง Aesthetic Theory: "ความงามทั้งมวลได้เผยตัวของมันเองออกมาต่อการวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง". ผลงานต่างๆทางศิลปะนั้น, ไม่ใช่เป็นเพียงวัตถุต่างๆที่เฉื่อยชาไร้ชีวิตชีวา, ทว่ามันได้ถูกให้คุณค่าหรือถูกรู้โดยอัตตะ(หรือผู้ดูแต่ละคน); นั่นคือ แน่นอน พวกเขาเองนั้นมีช่วงเวลาหนึ่งที่เป็นอัตวิสัย เพราะตัวของพวกเขาเองมีการรับรู้"(Jarvis 96). มันเป็นการปันส่วนประสบการณ์ระหว่างวัตถุกับอัตตะ(the shared experience of object and subject), การวิเคราะห์ที่เชื่อมโยงกัน ทำให้"ความงามได้รับการเผยตัวออกมา.
CONSTELLATION (กลุ่มโครงร่าง)
Adorno ได้ยืมศัพท์คำนี้มาจาก Benjamin. มันบ่งชี้ถึงกลุ่มก้อนที่อยู่เคียงข้างกัน
(มากกว่าที่จะหมายถึงกลุ่มก้อนที่มารวมๆกัน)ขององค์ประกอบการเปลี่ยนแปลง ที่ต่อต้านการลดทอนลงไปสู่การเป็นตัวหารร่วมใน
แกนหลักสำคัญ ซึ่งเป็นหลักการที่เกิดขึ้นมาแรกสุด (Jay 14-15).
แนวความคิดอันนี้สามารถมองเห็นได้ในสไตล์งานเขียนของ
Adorno. Adorno ได้ประกาศถึงหลักการวิภาษวิธีเชิงนิเสธ, ซึ่งแนวความคิดต่างๆเกี่ยวกับเรื่องนี้
จะไม่ถูกลดทอนลงมาสู่ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นหมวดหมู่. โดยการรักษาหรือคงไว้ซึ่งความแตกต่างในทางตรงข้าม
และความแตกต่างที่เข้ากันไม่ได้ของข้อถกเถียงต่างๆ รวมถึงการสังเกตุการณ์ในงานของเขา.
Adorno ธำรงรักษาแรงดึงกันระหว่างสิ่งสากลและสิ่งเฉพาะ, ระหว่างสารัตถนิยม (essentialism)
กับ นามนิยม (nominalism)เอาไว้.
[หมายเหตุ
: นามนิยม (nominalism) คือ ทัศนะที่เชื่อว่า สิ่งสากลไม่มีอยู่จริง มีแต่สิ่งเฉพาะ(particular)
คำที่อ้างถึงสิ่งสากลเป็นเพียงคำพูด ไม่มีสิ่งเป็นจริงรองรับ]
CRITICAL THEORY (ทฤษฎีวิพากษ์)
สำหรับศัพท์คำนี้เป็นการอธิบายถึงรากฐานทางปรัชญาหรือวิธีการที่อยู่ข้างใต้แบบฉบับของวิธีปฏิบัติทางสังคมวิทยาโดย
Adorno และสมาชิกคนอื่นๆของ แฟรงค์เฟริทสคูล.
ทฤษฎีวิพากษ์ได้รับการวางพื้นฐานอยู่บนความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมในฐานะที่เป็นแก่นแท้ของหลักวิภาษวิธี, และความเชื่อมั่นที่ว่า "การสอนเกี่ยวกับสังคม สามารถที่จะได้รับการพัฒนาขึ้นได้ ในความเชื่อมโยงแบบบูรณาการของสาขาวิชาต่างๆอย่างกวดขันเท่านั้น; กล่าวคือ ความสัมพันธ์กันทั้ง เศรษฐศาสตร์, จิตวิทยา, ประวัติศาสตร์ และปรัชญา(O'Connor 7). บางที มันจะเป็นการง่ายที่จะทำความเข้าใจว่า ทฤษฎีวิพากษ์คืออะไร โดยการพูดถึงสิ่งที่ตรงกันข้ามกันกับมัน(articulating its opposite).
ในช่วงระหว่างทศวรรษที่หกสิบ ทฤษฎีสังคมวิทยาที่มีอิทธิพลในช่วงนั้นมีอยู่ด้วยกันสองทฤษฎีคือ, ทฤษฎีวิพากษ์(critical theory) กับ เหตุผลนิยมเชิงวิพากษ์(critical rationalism). มันเป็นการเผชิญหน้ากันโดยตรงในสิ่งที่ได้รับการเรียกว่า "การโต้แย้งกันในเชิงปฏิฐาน"(วิทยาศาสตร์).
หนังสือของ Adorno เรื่อง The Positivist Dispute in German Sociology (การโต้เถียงกันในเชิงปฏิฐาน(วิทยาศาสตร์)ในสังคมวิทยาเยอรมัน) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการอภิปรายถกเถียงกันถึงเรื่องนี้. ในทางตรงข้าม เหตุผลนิยมเชิงวิพากษ์(critical rationalism) มองสังคมต่างๆในฐานะที่เป็นการรวมตัวกันอันหนึ่งของปัจเจกชนที่กำหนดตัวเองอย่างอิสระ (อิสระชนที่มารวมตัวกัน - a collection of autonomously determined individuals), ส่วน ทฤษฎีวิพากษ์(critical theory) มองสังคมในฐานะที่เป็น ทั้งหมดในลักษณะวิภาษวิธี ซึ่งปัเจกชนแต่ละคน"ถูกกำหนดโดยการประนีประนอมของมันภายในความเป็นทั้งหมด"( a dialectical totality in which each individual "is determined by its mediation within that totality") (O'Connor 174).
ทฤษฎีทั้งสองนี้ทางด้านสังคมวิทยา ไม่ได้เห็นพ้องต้องกันในการนำเอาเทคนิควิธีการวิจัยเชิงประสบการณ์(empirical research techniques)มาใช้. นักเหตุผลนิยมเชิงวิพากษ์เชื่อว่า การจำแนกเอกลักษณ์และการวิเคราะห์ความคิดเห็นต่างๆของปัจเจกบุคคลทั้งหลายภายในสังคม จะนำไปสู่ความเข้าใจอันหนึ่งเกี่ยวกับสังคม. ส่วนบรรดานักทฤษฎีวิพากษ์เชื่อว่า เทคนิควิธีการวิจัยเชิงประสบการณ์(การสังเกตุ)ไม่สามารถที่จะให้ความเข้าใจได้ในสังคมได้อย่างแท้จริง เพราะมันจะเป็นเพียงการสะท้อนถึงอุดมการณ์ต่างๆที่สังคมกำหนดหรือยัดเยียดต่อปัจเจกชนทั้งหลาย. ปัจเจกชนไม่อาจที่จะเลือกอุดมการณ์ได้; เพราะอุดมการณ์ได้ถูกแพร่กระจายเข้าไปสู่ปัจเจกชนทั้งหลายอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นไปอย่างธรรมชาติ ในสังคมที่พวกเขาเติบโตขึ้น.
NEGATIVE DIALECTICS (หลักวิภาษวิธีเชิงนิเสธ)
Adorno เชื่อว่า แบบมาตรฐานเกี่ยวกับความเข้าใจมนุษย์คือเอกลักษณ์ทางความคิด(identity
thinking) ซึ่งหมายความว่า วัตถุที่เป็นสิ่งเฉพาะ(a particular object)ถูกเข้าใจในเทอมต่างๆของแนวคิดที่เป็นสากล(universal
concept)อันหนึ่ง.
ความหมายของวัตถุชิ้นหนึ่งได้ถูกจับคว้าเอาไว้(หรือถูกทำความเข้าใจ) เมื่อมันถูกจัดเป็นหมวดหมู่, จำแนกหมวดหมู่ภายใต้หัวเรื่องแนวคิดทั่วไปอันหนึ่ง. ในทางตรงข้ามกับ"เอกลักษณ์ทางความคิด"(identity thinking), Adorno ได้วางหลักวิภาษวิธีเชิงนิเสธ(negative dialectics), หรือ "การไม่มีเอกลักษณ์ทางความคิด"(non-identity thinking).
เขาค้นหาเพื่อที่จะเผยให้เห็นถึงความผิดพลาดเกี่ยวกับข้ออ้างต่างๆของเอกลักษณ์ทางความคิด(identity thinking) โดยการประกาศถึง"ความสำนึกเชิงวิพากษ์"(critical consciousness) ซึ่งเข้าใจว่า แนวความคิดอันหนึ่งไม่สามารถที่จะเป็นเช่นเดียวกันกับวัตถุที่แท้ของมันได้. นักวิจารณ์จะ"ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างแนวความคิดและวัตถุ, ระหว่างสิ่งของต่างๆที่ถูกบ่งถึงโดยแนวความคิด และ ความเป็นจริงของตัววัตถุเอง (Held 215).
ความสำนึกเกี่ยวกับการไม่มีเอกลักษณ์ทางความคิด(ไม่เป็นสิ่งเดียวกันกับความคิด) ได้มาประนีประนอม สิ่งเฉพาะ(particular) กับสิ่งสากล(universal) โดยไม่มีการลดทอนคุณภาพใดๆในการจำแนกหมวดหมู่ต่างๆ
UTOPIA (ยูโธเปีย)
แนวคิดเกี่ยวกับ"ยูโธเปีย" เป็นตัวแทนหรือหมายถึง"ศักยภาพ". ในผลงานของ Adorno,
เป้าหมายอันยืนยงของยูโธเปีย ต้องการที่จะต่อต้าน การชำระสะสางเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของประสบการณ์ใหม่ๆอย่างแท้จริง(Jarvis
222). อันนี้คือหลักฐานในการสนทนาเกี่ยวกับ"ยูโธเปีย"ในความสัมพันธ์กับศิลปะที่เขียนเอาไว้ในหนังสือเรื่อง
Aesthetic Theory
สิ่งที่เป็นเรื่อง"ใหม่"ก็คือ "การทำให้ศักยภาพเป็นรูปธรรมขึ้นมา"เพียงเท่านั้น โดยการแสดงของมันบ่งชี้ถึงการมีอยู่ของ"ศักยภาพอื่นๆที่ไม่ได้รับการตระหนักหรือสำนึกกัน". Adorno ได้ใช้การอุปมาอุปมัยถึงเด็กคนหนึ่งที่นั่งอยู่หน้าเปียโน "กำลังค้นหาคอร์ดดนตรีที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน. คอร์ดดนตรีอันนี้, อย่างไรก็ตาม, มันอยู่ที่นั่นอยู่แล้วตลอดเวลา; การรวมตัวกันที่เป็นไปได้ถูกจำกัด และทุกสิ่งทุกอย่างจริงๆ แล้วสามารถที่จะถูกนำออกมาเล่นได้ และมันมีอยู่แล้วบนคีย์บอร์ดอย่างไม่ต้องสงสัย. ความใหม่ คือความปรารถนาเพื่อความใหม่, ไม่ใช่ใหม่ในตัวมันเอง" (Hullot-Kentor 32).
"ยูโธเปีย" คือการปฏิเสธเกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่, ดังนั้น "ยูโธเปียที่แท้"จึงขึ้นอยู่กับยูโธเปีย ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่แล้ว. เมื่อยูโธเปียได้ถูกจับหรือคว้ามาได้ มันก็จะไม่เป็นยูโธเปียอีกต่อไป
Bibliography
หนังสือบางเล่มและความเรียงบางเรื่องที่รวมรวมไว้แล้วในฉบับภาษาอังกฤษ
SOME BOOKS AND ESSAY COLLECTIONS AVAILABLE IN ENGLISH
Aesthetic Theory. Trans.
Robert Hullot-Kentor. Minneapolis: University of Minnesota Press, 1997.
Aesthetics and Politics. Ed. Ronald Taylor. London: New Left Books, 1977.
Against Epistemology: A Metacritique. Studies in Husserl and the Phenomenological
Antimonies. Trans. Willis
Domingo. Oxford: Basil Blackwell, 1982.
Aspects of Sociology. Trans. John Viertel. Boston: Beacon Press, 1972.
Critical Models: Interventions and Catchwords. Trans. Henry W. Pickford. New York: Columbia University Press, 1998.
The Culture Industry: Selected Essays on Mass Culture. Ed. J.M. Bernstein. London: Routledge, 1991.
Dialectic of Enlightenment. Trans. John Cumming. New York: Continuum, 1972.
The Essential Frankfurt School Reader. Eds. Andrew Arato and Eike Gebhardt. Oxford: Basil Blackwell, 1978.
Hegel: Three Studies. Trans. Shierry Weber Nicholson. Cambridge: MIT Press, 1993.
In Search of Wagner. Trans. Rodney Livingstone. London: New Left Books, 1981.
Introduction to the Sociology of Music. Trans. E.B. Ashton. New York: Seabury Press, 1976.
The Jargon of Authenticity. Trans. Knut Tarnowski and Frederic Will. London: Routledge, 1973.
Kierkegaard: Construction of the Aesthetic. Trans. Robert Hullot-Kentor. Minneapolis: University of Minnesota Press, 1989.
Minima Moralia. Trans. E.F.N. Jephcott. London: New Left Books, 1974.
Negative Dialectics. Trans. E.B. Ashton. London: Routledge, 1973.
Notes to Literature. Trans. Shierry Weber Nicholson. 2 vols. New York: Columbia University Press, 1991-92.
Philosophy of Modern Music. Trans. Anne G. Mitchell and Wesley V. Blomster. London: Sheed and Ward, 1973.
The Positivist Dispute in German Sociology. Trans. Glyn Adey and David Frisby. London: Heinemann, 1976.
Prisms. Trans. Samuel and Shierry Weber. Cambridge: MIT Press, 1981.
Quasi una Fantasia: Essays on Modern Music. Trans. Rodney Livingstone. London: Verso, 1992.
The Adorno Reader. Ed. Brian O'Connor. Oxford: Blackwell Publishers Ltd, 2000. Contains a good beginner's bibliography.
The Stars Down to Earth and other Essays on the Irrational in Culture. Ed. Stephen Crook. London: Routledge, 1994.
SUGGESTED CRITICAL INTRODUCTIONS
Held, David. Introduction to Critical Theory: Horkheimer to Habermas. Berkeley: University of California Press, 1980.
Jarvis, Simon. Adorno: A Critical Introduction. New York: Routledge, 1998. Contains a good beginner's bibliography.
Jay, Martin. Adorno. Cambridge: Harvard University Press, 1984.
Rose, Gillian. The Melancholy Science: An Introduction to the Thought of Theodor W. Adorno. New York: Columbia University Press, 1978.
Works Cited
Adorno, Theodor. Aesthetic Theory. Trans. Robert Hullot-Kentor. Minneapolis: University of Minnesota Press, 1997.
Held, David. Introduction to Critical Theory: Horkheimer to Habermas. Berkeley: University of California Press, 1980.
Jarvis, Simon. Adorno: A Critical Introduction. New York: Routledge, 1998.
Jay, Martin. Adorno. Cambridge: Harvard University Press, 1984.
O'Connor, Brian, ed. The Adorno Reader. Oxford: Blackwell Publishers Ltd, 2000.
แปลและเรียบเรียงจากข้อมูล http://www.emory.edu/ENGLISH/Bahri/Adorno.html (สนใจต้นฉบับเรื่องนี้ กรุณาคลิกเข้าไปดูใน URL ที่ให้ไว้นี้ - สมเกียรติ ตั้งนโม)
หลังจากที่นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน ได้ทราบถึงอัตชีวประวัติของ"เธียวดอร์ อะดอร์โน" และ"ศัพท์สำคัญ"ที่เขาได้นำมาใช้ในงานเขียนของตัวเองแล้ว ต่อจากนี้ไป จะได้นำเสนองานแปลและเรียบเรียงเกี่ยวกับเรื่อง "อุตสาหกรรมวัฒนธรรม"(The Culture Industry) ที่เขียนโดย Theodor W. Adorno มานำเสนอ เพื่อให้ทุกท่านได้เห็นถึงเรื่องราวเกี่ยวกับ อุตสาหกรรมวัฒนธรรม ที่โลกสมัยใหม่ได้สร้างขึ้น และพวกเราทั้งหลาย ต่างตกอยู่ภายใต้บรรยากาศของการครอบงำโดยวัฒนธรรมเหล่านี้
งานเขียนต่อไปข้างหน้า ได้เขียนขึ้นมาประมาณ 60 ปีแล้ว ซึ่งจะให้ภาพกับเราอย่างค่อนข้างชัดเจน และถือกันว่าความเรียงเรื่องดังกล่าว เป็นงานชิ้นแรกๆที่ได้มีการวิเคราะห์สื่อหรือวัฒนธรรมมวลชนได้อย่างชัดเจน ก่อนที่บรรดานักวิพากษ์วัฒนธรรมคนอื่นๆจะได้ทำอย่างเดียวกันนี้ตามมา
ข้อชี้แจงเพิ่มเติมในที่นี้คือ ผู้แปลและเรียบเรียงได้นำเอาบทนำของผู้ที่ใช้นามว่า SIEGFRIED มาขึ้นต้น เพื่อให้เห็นภาพรวมเกี่ยวกับงานเขียนชิ้นนี้ของอะดอร์โนอย่างกว้างๆ จากนั้นจึงจะเข้าสู่งานเขียนเรื่อง "อุตสาหกรรมวัฒนธรรม" ต้นฉบับ. แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากต้นฉบับมีความยาวกว่า 30 หน้ากระดาษ A4 และมีการใช้ภาษาที่ค่อนข้างซับซ้อน ลึกลงไปเป็นชั้นๆ ซึ่งอาจนำพาผู้อ่านไปสู่ความยุ่งยากสับสน ในการทำความเข้าใจ. ด้วยเหตุนี้ จึงได้แปลและเรียบเรียงงานชิ้นนี้แต่เพียงบางส่วน ซึ่งยาวประมาณ 13 หน้ากระดาษ A4
(ผู้สนใจต้นฉบับภาษาอังกฤษ โดยไม่มีการตัดทอน กรุณาคลิกไปอ่านได้ที่ http://www.ddc.net/ygg/etext/adorno.htm)
คลิกไปอ่านหน้าถัดไป (ต่อ ตอนที่ 2)
กลับไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
Theodor Adorno : Introduction
Theodor Adorno เป็นนักปรัชญา, นักวิจารณ์, และนักทฤษฎี ผู้ซึ่งได้ให้กำเนิดผลงานมากมายในด้านต่างๆของสังคมและวัฒนธรรม. ความสนใจของเขาเรียงลำดับจากปรัชญาคลาสสิค, จิตวิทยา, ดนตรี ไปจนกระทั่งถึงเรื่องของสังคมวิทยา. เขาเขียนเรื่องต่างๆอย่างค่อนข้างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อที่เกี่ยวกับเรื่องของบีโธเฟน, การต่อต้านยิว, และรวมไปถึงเรื่องราวและการวิจารณ์เกี่ยวกับภาพยนตร์
Adorno เป็นที่รู้จักกันอย่างดีในฐานะที่เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ"แฟรงค์เฟริทสคูล", สำหรับชื่อ แฟรงค์เฟริทสคูล เป็นชื่อที่ไม่เป็นทางการของกลุ่มนักคิดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้รับการว่าจ้างโดย สถาบันวิจัยสังคมในเมืองแฟรงค์เฟริท ประเทศเยอรมันนี. บรรดาปัญญาชนเหล่านี้ ...