4.ทฤษฎีวิพากษ์ Critical Theory
ศัพท์คำว่า"ทฤษฎีวิพากษ์"(Critical Theory) ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ.1937 ภายหลังจากที่สมาชิกหลักส่วนใหญ่ของสถาบันแห่งนี้ได้อพยพไปอยู่ในสหรัฐอเมริกากันแล้ว ตามมาด้วยการประสบชัยชนะของฮิตเลอร์. หลายปีที่เดียวที่ศัพท์คำว่า"ทฤษฎีวิพากษ์"ได้ยืนหยัดอยู่ในฐานะที่เป็นคำระหัส สำหรับลัทธิมาร์กซ์ของสถาบันแห่งนี้(a codeword for the Institute's Marxism) และเป็นความพยายามที่จะก่อตั้งทฤษฎีสังคมขั้นรากฐานที่เหนือสาขาวิชาขึ้นมา(a radical supradisciplinary social theory).
ทฤษฎีสังคมนี้มีรากฐานอยู่ในหลักวิภาษวิธีแบบ Hegelian-Marxian dialectics, วัตถุนิยมประวัติศาสตร์(historical materialism), และวิธีวิพากษ์แบบ Marxian critique ในเศรษฐศาสตร์การเมือง และทฤษฎีเกี่ยวกับการปฏิวัติ. ขอให้เราสังเกตุที่ตรงนี้ ซึ่งได้ใช้คำว่า supradisciplinary (เหนือหรือไปพ้นจากสาขาวิชา) และไม่ใช้คำว่า interdisciplinary (สหวิทยาการ).
ทฤษฎีวิพากษ์ เดิมทีเดียว เกี่ยวข้องกับความพยายามต่างๆของปัจเจกชนจากหลายๆสาขาวิชาที่ได้มาทำงานร่วมกันอย่างเป็นกลุ่มก้อน เพื่อพัฒนาทฤษฎีระบบและประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสังคมร่วมสมัยขึ้นมา มากกว่าเพียงการนำเอาปัจเจกแต่ละคนจากสาขาวิชาที่แยกๆกันอยู่มาพูดคุยกันเท่านั้น, หรือ กำหนดหัวข้อที่แตกต่างตามความเชี่ยวชาญอย่างหลากหลายเพื่อมาทำวิจัยและหรือมาค้นคว้าหาคำตอบ. ดังที่ Lowenthal (1980:109) ได้กล่าวเอาไว้ดังนี้ :
"ศัพท์คำว่า"งานสหวิทยาการ"(interdisciplinary work) หมายถึง ไม่มีอะไรมากเกินไปกว่า การละทิ้งสาขาวิชาต่างๆอย่างที่มันเป็น ขณะเดียวกันก็พัฒนาเทคนิคบางอย่างขึ้นมา ซึ่งให้การสนับสนุนในการทำความรู้จักหรือทำความคุ้นเคย ระหว่างกันและกัน โดยไม่มีการบีบบังคับให้ทอดทิ้งความเคารพหรือความเชื่อมั่นในตัวเองไปหรือข้ออ้างในสิทธิของแต่ละสาขาวิชา. ในทางตรงข้าม "ทฤษฎีวิพากษ์" ได้วิจารณ์ความมีเหตุผลหรือความสมบูรณ์ ในคำอ้างของสาขาวิชาต่างๆที่แยกออกจากกัน และพยายามที่จะสร้างสรรค์ทฤษฎีสังคมชนิดใหม่ขึ้นมาทฤษฎีหนึ่ง"
ทฤษฎีวิพากษ์ได้ให้สิทธิพิเศษแก่ปริมณฑลต่างๆของมาร์กซ์เซียนในวาทกรรมเหนือสาขาวิชา(supradisciplinary discourse)ของตน, ทฤษฎีวิพากษ์ให้เหตุผลว่า แนวความคิดต่างๆของมาร์กซ์เกี่ยวกับสินค้า เงิน มูลค่า การแลกเปลี่ยน และความเชื่อในมนต์ขลัง ได้แสดงอัตลักษณ์ออกมาไม่เพียงแต่ในเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเท่านั้น ทว่ามันยังแสดงออกมาในความสัมพันธ์ทางสังคมภายใต้ลัทธิทุนนิยม ที่ซึ่งความสัมพันธ์ของมนุษย์และรูปแบบทั้งหมดของชีวิต ได้ถูกควบคุมโดยสินค้า ความสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยน และมูลค่าด้วย. มันได้รับการสร้างขึ้นมาบนทฤษฎีของ Lukacs ในการทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม(reification), พวกเขาได้ให้เหตุผลว่า สังคมทุนนิยมได้ผลิตโครงสร้างที่แข็งตัวอันหนึ่ง โครงสร้างซึ่งทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเป็นรูปธรรมขึ้นมา(reified structure) ที่ที่ความเป็นมนุษย์ได้ถูกแปรเปลี่ยนไปสู่ความเป็นวัตถุสิ่งของต่างๆ( wherein human beings were transformed into things).
ในทฤษฎีนี้, โดยผ่านกระบวนการ การทำให้สิ่งซึ่งเป็นนามธรรมกลายเป็นรูปธรรม, เงื่อนไขต่างๆที่ไม่เป็นธรรมชาติของเศรษฐกิจทุนนิยมและขบวนการแรงงาน, กระบวนการที่ทำให้ทุกอย่างกลายเป็นสินค้า, การบริการ, วัตถุสิ่งของต่างๆ, และแบบจำลองใหม่ๆของความคิดที่ได้รับการส่งเสริมโดยสื่อมวลชนและวิทยาศาสตร์เชิงปฏิฐาน จึงปรากฎออกมามีลักษณะเป็นธรรมชาติ และได้สร้างระบบอันหนึ่งขึ้นมาที่ไม่สะดุ้งสะเทือน หรือถูกรบกวนต่อการควบคุมของมนุษย์หรือการเข้ามาแทรกแซง.
ความเรียงของ Horkheimer ในเรื่อง "ทฤษฎีแบบจารีต และทฤษฎีวิพากษ์"(Traditional and Critical Theory)(1972) ได้นำเสนอเนื้อหาสาระและความเข้าใจที่เป็นระบบมากที่สุด เกี่ยวกับแนวคิดในเรื่องทฤษฎีทางสังคมของสถาบันแห่งนี้ ขณะเดียวกันก็ได้อธิบายถึงโครงการของสถาบันอย่างชัดเจน และความสัมพันธ์ของสถาบันแห่งนี้กับทฤษฎีแบบจารีต.
ทฤษฎีแบบจารีต นับจาก Descartes จนมาถึง positivism(ปฏิฐานนิยม) ได้รับการแสดงอัตลักษณ์ออกมา ในสิ่งที่ปัจจุบันนี้เรียกกันว่า foundationalism (รากฐานนิยม) ยกตัวอย่างเช่น ความพยายามที่จะวางทฤษฎีลงบนหลักการพื้นฐาน ซึ่งมีรากฐานอยู่บนสิ่งที่นักทฤษฎีแบบจารีตได้สร้างคำอธิบายต่างๆในทฤษฎีของตน.
ทฤษฎีแบบจารีต มีแนวโน้มในลักษณะของวิธีการแบบนิรนัย(deductive)[เป็นวิธีการสรุปจากหลักเกณฑ์หรือหลักใหญ่มาสู่เรื่องเฉพาะ] ให้สิทธิพิเศษแก่วิทยาศาสตร์ธรรมชาติและคณิตศาสตร์; Horkheimer อ้างว่า เป้าหมายของมันคือเอกภาพและความกลมกลืน, โดยที่คณิตศาสตร์เป็นแบบจำลองของมัน. ด้วยเหตุนี้ Horkheimer จึงเสนอว่า ทฤษฎีแบบจารีตเป็นภาพฉายอันหนึ่งของอุดมคติแบบชนชั้นกลาง ซึ่งประสานกับตลาดทุนนิยม ได้รับการทำให้สอดคล้องหรือรวมกันโดยกฎที่คำนวณได้เกี่ยวกับอุปสงค์และอุปทาน.
บ่อยทีเดียว "ทฤษฎีวิพากษ์"ได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันระหว่างความคิด สถานะต่างๆในทางทฤษฎี และสภาพแวดล้อมทางสังคมของมัน นอกจากนั้นยังพยายามที่จะทำให้เป็นเรื่องของบริบท หรือเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ในเทอมต่างๆของรากเหง้าของมันภายในกระบวนการทางสังคม. การดำเนินรอยตามแนวทางอันนี้เกี่ยวกับการสืบค้น, Horkheimer เสนอว่า ทฤษฎีแบบจารีต ในตัวมันเอง เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการต่างๆทางสังคม ที่ได้สร้างลัทธิทุนนิยมและสังคมชนชั้นกลางขึ้นมา แนวโน้มของมันที่มุ่งสู่ความเป็นวัตถุนิยมเชิงกลไก เป็นการผลิตซ้ำความคิดและการปฏิบัติในลักษณะกลไกของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งตามความคิดนี้ โลกได้ถูกคิดว่าเป็นเครื่องจักรเครื่องหนึ่ง ในช่วงระหว่างยุคที่เครื่องจักรได้เข้ามาครอบงำความเป็นอยู่ของมนุษย์.
แนวโน้มอิทธิพลของชนชั้นกลางเกี่ยวกับความคิดในเชิงปริมาณและเป็นนามธรรม ซึ่งได้ให้ข้อมูลทฤษฎีแบบจารีตในการผลิตซ้ำแนวโน้มต่างๆที่มุ่งไปสู่ความเป็นนามธรรม และแบบจำลองอันหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องปริมาณ ได้รับการวางพื้นฐานอยู่บนการแลกเปลี่ยนในตลาดทุนนิยม ที่ที่มูลค่าได้รับการแสดงออกมาในลักษณะที่เป็นนามธรรม ในเทอมของปริมาณ. ใกล้เคียงกับสังคมชนชั้นกลางที่ถูกควบคุมโดยมูลค่าแลกเปลี่ยนที่ถูกทำให้เป็นนามธรรมจากคุณค่า, เป้าหมาย, อารมณ์ความรู้สึก, และคุณภาพ, ซึ่งอันนี้มันได้สร้างทฤษฎีแบบจารีตขึ้นมาเช่นเดียวกัน.
และในท้ายที่สุด, การแบ่งแยกออกเป็นชิ้นๆ และการแตกออกมาเป็นสาขาต่างๆทางวิทยาศาสตร์ ได้ผลิตซ้ำความแบ่งแยกของชนชั้นกลางเกี่ยวกับเรื่องแรงงานภายใต้ลัทธิทุนนิยม ด้วยเหตุนี้ ความเชี่ยวชาญและการแบ่งซอยแยกส่วนจึงเป็นรูปลักษณ์อันมีอิทธิพลต่อโครงสร้างของสังคม
ทฤษฎีต่างๆทางสังคม, สำหรับทฤษฎีวิพากษ์แล้ว, คือรูปแบบต่างๆของปฏิบัติการทางสังคม ซึ่งผลิตซ้ำรูปแบบอันมีอิทธิพลของกิจกรรมทางสังคม [4]. Horkheimer อ้างว่า, "ทฤษฎีแบบจารีต"ไม่รู้ตัวเกี่ยวกับวิธีการที่มันได้ถูกผูกโยงเข้าด้วยกันกับกระบวนการทางสังคม และล้มเหลวที่จะเห็นความขาดแคลนของตัวมันเกี่ยวกับความเป็นอิสระและการกำหนดทางสังคม. ขณะที่มันได้เข้าไปเกี่ยวพันในกระบวนการทางสังคมมากขึ้นเกี่ยวกับการผลิตและการผลิตซ้ำ, มันก็เริ่มปรับตัวให้สอดคล้องเพิ่มมากขึ้น, วิพากษ์วิจารณ์น้อยลง, มีลักษณะที่ยอมจำนนต่อการครอบงำ, ทั้งด้านปริมาณ, และคุณค่าต่างๆแบบทุนนิยม. จากนั้น "ทฤษฎีได้รับการทำให้สมบูรณ์ขึ้น...และเริ่มเป็นรูปธรรม, เกิดปริมณฑลเชิงอุดมคติขึ้น". ผลที่ตามมา, "นักวิชาการและศาสตร์ของเขาได้รับการรวมเข้ากับกลไกของสังคม
"ทฤษฎีแบบจารีต"เป็นการผลิตซ้ำสังคมที่เป็นอยู่โดยไม่มีการวิพากษ์, ในขณะที่"ทฤษฎีวิพากษ์"ได้พูดออกมาอย่างชัดเจนถึงกิจกรรมที่พยายามมุ่งมั่นในการที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม. ดังที่ Horkheimer กล่าวว่า:
"มันคือกิจกรรมของมนุษย์ที่มีวัตถุประสงค์ทางสังคมของตัวมันเอง. วัตถุประสงค์ของกิจกรรมอันนี้ ไม่ใช่เพื่อมาขจัดความโหดร้ายหรือความรุนแรงอันใดอันหนึ่ง. สำหรับมัน ถือว่าความรุนแรงโหดร้ายนั้น มันเชื่อมโยงอย่างไม่มีทางเลี่ยงกับหนทางที่โครงสร้างสังคมได้รับการสร้างขึ้นมาให้เป็นระบบ. แม้ว่าตัวมันเองจะพัฒนาขึ้นมาจากโครงสร้างสังคมก็จริง แต่วัตถุประสงค์ของมันไม่ใช่, โดยเจตนาที่มีสำนึกของมัน หรือโดยนัยสำคัญในเชิงวัตถุวิสัยอย่างใดอย่างหนึ่ง..."
ดังนั้น "ทฤษฎีวิพากษ์"จึงได้รับการลงรากอยู่ใน"กิจกรรมเกี่ยวกับการวิพากษ์"(critical activity) ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้าม และไปเกี่ยวพันกับการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม และการรวมเอาทฤษฎีและการปฏิบัติเข้าด้วยกัน. ด้วยเหตุนี้ ในบริบทดังกล่าว "การวิพากษ์"(Critique) จึงไปเกี่ยวพันกับการวิจารณ์ในเรื่องของการกดขี่และการตักตวงผลประโยชน์ และเป็นการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อสังคมที่ดีกว่า.
กระนั้นก็ตาม นอกจากการวิจารณ์ของมันที่พุ่งเป้าไปสู่วัตถุนิยมกลไกแบบมาร์กเซี่ยนที่สามานย์ทั่วๆไป มันยังวิพากษ์คตินิยมลดทอนทางเศรษฐกิจและแนวคิดนิยัตินิยมด้วย. ยิ่งไปกว่านั้น ทฤษฎีวิพากษ์ยังปฏิเสธความพยายามต่างๆที่จะวางลัทธิมาร์กซ์ลงในความสำนึกทางชนชั้นกรรมาชีพ และการก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างของมันในพรรคคอมมิวนิสท์ - อันเป็นแนวคิดหนึ่งซึ่งครอบงำงานในช่วงต้นๆของ Lukacs.
Horkheimer ให้เหตุผลว่า "แม้แต่สถานการณ์ของชนชั้นกรรมาชีพในสังคมนี้, ก็ไม่มีหลักประกันของความรู้ที่ถูกต้อง". ขณะที่ชนชั้นกรรมาชีพอาจมีความรู้เกี่ยวกับการถูกตักตวงผลประโยชน์, ความต่ำช้า, การแบ่งแยกแตกซอยของชนชั้นแรงงาน และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้คนจำนวนมากซึ่งได้ถูกกระทำทารุณกรรม และไม่ได้รับการศึกษา สิ่งเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ว่า คนงานบางคนจะตกเป็นเหยื่อของแนวโน้มต่างๆในการอนุรักษ์และการปฏิรูป. อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นเช่นว่านั้น แต่ก็ไม่มีการรับประกันว่า ความสำนึกข้างต้นจะมีความถูกต้องในเชิงทฤษฎี หรือเป็นเรื่องของการปฏิวัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
กระนั้นก็ตาม การอ่านแถลงการณ์ของ Horkheimer อย่างระมัดระวัง ทำให้ชัดเจนขึ้นได้ว่า สถาบันแห่งนี้นึกคิดว่าตัวของสถาบันเองในช่วงเวลานั้น เป็นส่วนหนึ่งของขนบประเพณี Hegelian Marxism (ลัทธิมาร์กซ์แบบเฮเกลเลียน), และได้วางทฤษฎีของตัวเองลงบนการวิพากษ์แบบมาร์กเซียนเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การเมือง. Horkheimer และเพื่อนสมาชิกของเขาเกาะติดอย่างเหนียวแน่นอยู่กับจุดยืนแบบมาร์กเซียน ที่ว่า เศรษฐศาสตร์คือปัจจัยหลักที่มาเป็นตัวกำหนดที่สำคัญต่อชีวิตทางสังคมทั้งหมดและกิจกรรมของปัจเจกบุคคล. ยิ่งไปกว่านั้น, ทฤษฎีวิพากษ์ยังยอมรับการวิพากษ์ของมาร์กเซียนเกี่ยวกับลัทธิทุนนิยม ซึ่งมองว่า ปัญหาสังคมทั้งมวล, โดยที่สุดแล้ว มันมีรากเหง้าอยู่ในความไร้เหตุผล และความขัดแย้งเกี่ยวกับแบบจำลองทุนนิยมทางด้านการผลิต.
ยกตัวอย่างเช่น Horkheimer ได้เขียนเอาไว้ว่า : "ลำดับชั้นต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นมาภายใต้อิทธิพลของมัน ได้วิจารณ์ปัจจุบัน. ลำดับการทางชนชั้นแบบมาร์กเซียน, การตักตวงผลประโยชน์, มูลค่าส่วนเกิน, ผลกำไร, ความเสื่อทราม และการพังทลาย คือช่วงขณะและขั้นตอนต่างๆของแนวคิดนี้ทั้งหมด ซึ่งความหมายของมันจะต้องได้รับการค้นหา, ไม่ใช่ในการผลิตซ้ำของสังคมปัจจุบัน, แต่ในการเปลี่ยนแปลงของมันไปสู่สังคมที่ถูกต้องสังคมหนึ่ง.
[หมายเหตุ: สรุปสาระสำคัญช่วงที่
4]
16. คำว่า"ทฤษฎีวิพากษ์"(Critical Theory) ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นมาครั้งแรกในปี
ค.ศ.1937 ภายหลังจากที่สมาชิกหลักได้อพยพไปอยู่ในสหรัฐอเมริกากันแล้ว
17. คำว่า"ทฤษฎีวิพากษ์"
เป็นคำระหัส สำหรับลัทธิมาร์กซ์ของสถาบันแห่งนี้ และเป็นความพยายามที่จะก่อตั้งทฤษฎีสังคมขั้นรากฐานที่เหนือสาขาวิชาขึ้นมา
18. ทฤษฎีวิพากษ์มีรากฐานอยู่ในหลักวิภาษวิธีแบบ Hegelian-Marxian dialectics,
วัตถุนิยมประวัติศาสตร์(historical materialism), และวิธีวิพากษ์แบบ Marxian
critique ในเศรษฐศาสตร์การเมือง และทฤษฎีเกี่ยวกับการปฏิวัติ
19. ทฤษฎีวิพากษ์ เดิมทีเดียว เกี่ยวข้องกับความพยายามต่างๆของปัจเจกชนจากหลายๆสาขาวิชา
ที่ได้มาทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาทฤษฎีระบบและประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสังคมร่วมสมัยขึ้นมา
20. ทฤษฎีวิพากษ์วิจารณ์เศรษฐกิจแบบทุนนิยมว่า มันไม่เพียงมีผลต่อเรื่องทางด้านเศรษฐกิจเท่านั้น
แต่ยังมีผลกระทบไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมด้วย
21. เปรียบเทียบทฤษฎีสังคมแบบจารีต กับ ทฤษฎีวิพากษ์
- ทฤษฎีแบบจารีต มีลักษณะเป็นวัตถุนิยมแบบกลไก มองโลกเสมือนเครื่องจักร ภายหลังมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับสังคม
วิพากษ์วิจารณ์น้อยลง ยอมจำนนมากขึ้น และได้กลายเป็นอุดมคติไป
- ทฤษฎีวิพากษ์เป็นไปในทางตรงข้าม และไปเกี่ยวพันกับการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม
วิจารณ์ในเรื่องของการกดขี่และการตักตวงผลประโยชน์ และเป็นการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อสังคมที่ดีกว่า.
22. ทฤษฎีวิพากษ์วิจารณ์วัตถุนิยมกลไกแบบมาร์กเซียน ปฏิเสธและวิจารณ์เรื่องความถูกต้องในเชิงทฤษฎี
5.
ระบบ, ภาพรวมทั้งหมด, และทฤษฎีวิพากษ์โดยรวม
( System, Totality, and Critical Global Theory)
"ทฤษฎีวิพากษ์"ยืนยันว่า เราต้องการทฤษฎีอันหนึ่งทางด้านสังคมที่วางอยู่ในทฤษฎีทุนนิยม เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการประวัติศาสตร์สังคมและพัฒนาการ เพราะพลวัตของทุนนิยมได้แสดงบทบาทอันทรงพลังในชีวิตทางสังคม. ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อรู้ซึ้งและอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม เราต้องการที่จะทำให้หัวข้อของการค้นคว้ามีลักษณะเป็นบริบท ในกรอบความเข้าใจเชิงทฤษฎีสำหรับการวิเคราะห์และวิจารณ์สังคม เพื่อหลีกเลี่ยงความเป็นนามธรรมอันไม่ถูกต้องที่จะวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมืองและวัฒนธรรมแยกไปจากรากฐานของมันในกระบวนการต่างๆทางเศรษฐกิจและสังคม
กระนั้นก็ตาม บรรดานักวิจารณ์ที่ยึดถือแนวทางภาพรวมทั้งหมด(totalizing
modes) บ่อยครั้งมักจะโจมตีทฤษฎีวิพากษ์ที่นำเอาแนวคิดภาพรวมทั้งหมดแบบ Hegelian-Marxian
มาใช้
ในเวลาเดียวกัน แนวคิด"ภาพรวมทั้งหมด" ได้รับการพิจารณาว่าเหมือนกับ "แบบจำลองเกี่ยวกับความกลมกลืนทางเมตาฟิสิกส์" ซึ่งเน้นเรื่องของการเชื่อมโยงหรือความสอดคล้องกัน, ความเป็นเอกภาพ, และมีแบบแผน ซึ่งทุกๆส่วนได้รับการมองว่าเป็นปัจจัยของความเป็นทั้งหมด ซึ่งความกลมกลืนกันทั้งหมดได้รับการวางในฐานะที่เป็นคุณค่าบรรทัดฐานอันหนึ่ง. สถาบันแห่งนี้ได้ปฏิเสธแนวคิดต่างๆใน "ลักษณะอภิปรัชญา" อันนั้นอย่างชัดเจนเกี่ยวกับ "แนวคิดภาพรวมทั้งหมด", และพวกเขาได้ใช้คำว่า"ภาพรวมทั้งหมด" ในหนทางที่แตกต่างในบริบทที่แตกต่าง.
หลายครั้ง นักทฤษฎีวิพากษ์ได้ใช้ศัพท์คำว่า"ภาพรวมทั้งหมด" เพื่ออ้างถึงโครงสร้างของสังคม ซึ่งได้ถูกให้นิยามโดยการวิพากษ์แบบมาร์กเซียนเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การเมือง ที่ได้เตรียมกรอบโครงและบริบทของการค้นคว้าขึ้นมา และอันนี้มันได้สร้างข้อเท็จจริงทางสังคมขึ้นมากมาย
สำหรับทฤษฎีมาร์กเซียน, ความสัมพันธ์ต่างๆของการผลิต ได้ตระเตรียมโครงร่างสำหรับพัฒนาการเกี่ยวกับระบบทุนนิยม; นั่นคือ เศรษฐกิจได้ก่อให้เกิดรูปแบบหนึ่งของสังคมขึ้น. บรรดานักทฤษฎีวิพากษ์เริ่มต้นด้วยปริมณฑลต่างๆของเศรษฐศาสตร์ และการวิพากษ์แบบมาร์กเซียนเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมืองอย่างแม่นยำ เพราะเศรษฐกิจยังคงแสดงบทบาทที่สำคัญในพื้นที่ทั้งหมดของชีวิตสังคม และได้จัดหาเค้าโครงสำหรับการพัฒนาทฤษฎีทางสังคมอันหนึ่งขึ้นมา
แนวคิดของมาร์กซ์เกี่ยวกับสินค้า, เงิน, มูลค่า, และการแลกเปลี่ยน ได้แสดงลักษณะไม่เพียงในทางเศรษฐศาสตร์เท่านั้น แต่ยังแสดงคุณลักษณ์ออกมาในความสัมพันธ์ต่างๆทางสังคมด้วย เพราะ ความสัมพันธ์ทางสังคมและชีวิตประจำวันได้ถูกควบคุมโดยสินค้าและความสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยน และคุณค่าต่างๆ. ในความหมายนี้, ทฤษฎีวิพากษ์ได้ใช้ประโยชน์"แนวคิดภาพรวมทั้งหมด" เพื่ออธิบายระบบทุนนิยมแบบภาพรวม ซึ่งพยายามที่จะยัดเยียดคุณค่าต่างๆของมัน, โครงสร้าง, และปฏิบัติการต่างๆในทุกส่วนของชีวิตทางสังคม
"แนวคิดภาพรวมทั้งหมด" อ้างถึงลักษณะความเป็นมา, (หรือมุมมองประวัติศาสตร์ของทฤษฎีวิพากษ์) ซึ่งได้แสดงลักษณะเงื่อนไขต่างๆทางประวัติศาสตร์ที่ได้สร้างสังคมที่ดำรงอยู่ในลักษณะทุนนิยมขึ้น และที่ได้สร้างแนวคิดเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเกี่ยวกับพัฒนาการทุนนิยม และการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมนิยม. ด้วยเหตุนี้, มากกว่าการปฏิบัติการทางความคิดเชิงสถิติหรืออภิปรัชญาเกี่ยวกับภาพรวม, สถาบันแห่งนี้ได้ใช้ประโยชน์แบบจำลองในเชิงพลวัตและประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความคิดแบบภาพรวม.
สำหรับภาพกว้าง, หรือภาพทั้งหมด(global), ทฤษฎีสังคมเป็นดังนี้:
1). สังคมทุนนิยมได้ถูกรวบรวมขึ้นในฐานะระบบหนึ่ง
และต้องการทฤษฎีระบบที่ยึดจับหรือทำความเข้าใจองค์กรทางสังคมของมัน
2). ลักษณะทางตรรกะและกระบวนการทางสังคมของลัทธิทุนนิยม ได้แทรกซึมเข้าไปในอาณาเขตต่างๆของชีวิตมากกว่าที่เคยเป็นมา
ซึ่งอันนี้มันต้องการทฤษฎีหนึ่งของสังคมทุนนิยมในฐานะภาพรวมทั้งหมด ที่อธิบายได้ถึงพัฒนาการและกระบวนการต่างๆในทุกๆอาณาบริเวณเกี่ยวกับความเป็นจริงทางสังคม.
ผลที่ตามมา เมื่อสังคมทุนนิยมมีลักษณะเป็นภาพรวม ด้วยเหตุนี้จึงต้องการทฤษฎีสังคมมาทำความเข้าใจมาก
3). สังคมทุนนิยมมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่เสมอ และต้องการการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ทั้งหมดเกี่ยวกับขั้นตอนอันหลากหลายของมันและความเปลี่ยนแปลงต่างๆ;
และ
4). การวิจารณ์ทางสังคมและการเปลี่ยนแปลง ต้องการโครงร่างหรือแผนภูมิเกี่ยวกับทางเลือกต่างๆทางประวัติศาสตร์
และคุณค่าที่เป็นบรรทัดฐานต่างๆ ซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อวิพากษ์ภาวะที่เป็นอยู่ของเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ
และเพื่อให้เหตุผลสำหรับคุณค่าอีกทางเลือกหนึ่ง และองค์กรของสังคม
ด้วยเหตุนี้ โดยธรรมชาติภายใน "ทฤษฎีวิพากษ์"จึงมีลักษณะสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์, และพยายามที่จะจัดหา"ภาพใหญ่"(Big picture)ที่ได้สเก็ตให้เห็นเส้นรูปนอกที่เป็นพื้นฐานของพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม และหนทางที่ลัทธิทุนนิยมได้สร้างโครงสร้างชีวิตทางสังคมขึ้นมา, เช่นเดียวกับพลวัตต่างๆซึ่งสังคมทุนนิยมสามารถที่จะถูกแทนที่ได้ โดยสังคมนิยม. กระนั้นก็ตาม สถาบันแห่งนี้ก็ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาที่จะหลีกเลี่ยงคตินิยมลดทอนทางเศรษฐกิจทุกๆชนิด
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ทฤษฎีวิพากษ์ได้ถูกนำไปพัวพันกับการสืบเสาะความเชื่อมโยงกันระหว่างเศรษฐกิจและการเมือง,
สังคม, วัฒนธรรม และพื้นที่ทางจิตวิทยา ขณะเดียวกันก็เน้นความเป็นอิสระของโครงสร้างสร้างส่วนบนต่างๆ(6)ในลักษณะสัมพันธ์.
ดังนั้น บรรดานักทฤษฎีวิพากษ์จึงอธิบายความประนีประนอมต่างๆ หรือความเชื่อมโยงกันและกัน
ระหว่างปริมณฑลเหล่านี้ เช่นเดียวกับความขัดแย้งกันต่างๆ และด้วยเหตุนี้ มันจึงได้สร้างสิ่งที่อาจได้รับการเรียกว่า"ภาพรวมทั้งหมดที่ได้รับการประนีประนอม"(mediated
totality)ขึ้นมา
(6) โครงสร้างส่วนบน หมายถึงอุดมคติ สถาบัน หรือวัฒนธรรม
ซึ่งได้รับการพิจารณาว่าเป็นผลสะท้อนมาจากระบบเศรษฐกิจที่เป็นรากฐานของสังคม
นั่นคือ, บรรดานักทฤษฎีวิพากษ์เชื่อว่า เขตแดนต่างๆระหว่างปริมณฑลอันหลากหลายของการดำรงอยู่ ได้ผลิตซ้ำในการแบ่งซอยออกเป็นส่วนๆของศาสตร์สาขาต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งเทียมและเป็นนามธรรม. ด้วยเหตุนี้ เพื่อติดตามปัญหาทางทฤษฎีและทางการเมืองอย่างมีสติปัญญา มันต้องการการวิจัยที่เหนือสาขาวิชา(supradisciplinary research) และวิธีการวิภาษวิธีเกี่ยวกับการนำเสนอ ที่แสดงออกในรายละเอียดที่เป็นรูปธรรม ความเชื่อมโยงและความขัดแย้งกันระหว่างพื้นที่ดั้งเดิมของระบบประวัติศาสตร์สังคมที่ได้สร้างบริบทและกรอบโครงสำหรับความคิดและการกระทำขึ้นมา
หลักวิภาษวิธีสำหรับสถาบันแห่งนี้เกี่ยวพันกับการสร้างแบบจำลอง และการสร้างความเชื่อมโยงหรือการประนีประนอมกันต่างๆ. ด้วยเหตุนี้ ทฤษฎีสังคมจึงเกี่ยวโยงกับการสร้างแบบจำลองอันหนึ่งของสังคมปัจจุบัน และการแสดงออกมาให้เห็นอันหนึ่งเกี่ยวกับความเชื่อมโยงกันโดยพื้นฐาน - เช่นเดียวกับความขัดแย้งและการเป็นปรปักษ์กัน - ท่ามกลางพื้นที่อันหลากหลายของระบบสังคมที่แพร่หลายในทุกวันนี้.
ผลที่ตามมา ทฤษฎีวิพากษ์จึงตระเตรียมการวิเคราะห์เกี่ยวกับภาพรวมในเชิงไกล่เกลี่ยทางสังคม(mediated social totality) ที่ได้อธิบายถึงความสัมพันธ์อันหลากหลายท่ามกลางปริมณฑลของความเป็นจริง, มากกว่าที่จะลดทอนทั้งหมดของสังคมลงมาสู่พลวัตของเศรษฐกิจ.
โดยเหตุนี้ ทฤษฎีวิพากษ์จึงมีลักษณะที่เป็นระบบ, เป็นภาพรวม, มีลักษณะผสมผสานกัน, และมีลักษณะที่เป็นทั้งหมด(global). ดังนั้น ทฤษฎีสังคมจึงมีบทบาทหน้าที่ในเชิงไกล่เกลี่ย ประนีประนอม. สำหรับบรรดานักทฤษฎีวิพากษ์ มันเป็นศาสตร์ที่มีการผสมผสาน เป็นปรัชญา และประนีประนอมระหว่างการวิจัย(Forschung) กับ การสร้างทฤษฎีและการนำเสนอในเชิงทฤษฎี(Darstellung).
ทฤษฎีวิพากษ์ประนีประนอมระหว่างพื้นที่อันหลากหลายของความจริง, ระหว่าง"ส่วนต่างๆ"และ"ทั้งหมดทุกส่วน", ระหว่าง"ปรากฏการณ์"และ"เนื้อแท้", และระหว่าง"ทฤษฎี"และ"ปฏิบัติ". ดังนั้น แบบจำลองคลาสสิคในทศวรรษ 1930s ของ ทฤษฎีวิพากษ์ จึงสังเคราะห์ทฤษฎีสังคม, งานวิจัย, และการเมืองในระดับราก ให้รวมอยู่ทฤษฎีวิพากษ์(ที่เป็นไปทั้งหมด-global)ของยุคปัจจุบัน.
ทฤษฎีวิพากษ์ในทุกวันนี้ ได้เผชิญหน้ากับการท้าทายเกี่ยวกับการสร้างทฤษฎีของมันขึ้นมาใหม่เกี่ยวกับสังคมทุนนิยม ตามลักษณะของเงื่อนไขทางสังคมและพัฒนาการต่างๆ.
[หมายเหตุ: สรุปสาระสำคัญช่วงที่
5]
23. "ทฤษฎีวิพากษ์" ยืนยันว่า เราต้องการทฤษฎีอันหนึ่งทางด้านสังคมที่วางอยู่ในทฤษฎีทุนนิยม
เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการประวัติศาสตร์สังคมและพัฒนาการของมัน. นักทฤษฎีวิพากษ์เห็นว่า
น่าจะนำเอา"แนวคิดภาพรวมทั้งหมด"(totality)มาใช้มองสังคม
24. "แนวคิดภาพรวมทั้งหมด" เป็นแบบจำลองเกี่ยวกับความกลมกลืนทางเมตาฟิสิกส์ ซึ่งเน้นเรื่องของการเชื่อมโยงหรือความสอดคล้อง,
ความเป็นเอกภาพ, และมีแบบแผน ซึ่งทุกๆส่วนได้รับการมองว่าเป็นปัจจัยของความเป็นทั้งหมด
แต่ทฤษฎีวิพากษ์ ปฏิเสธแนวคิดต่างๆใน "ลักษณะอภิปรัชญา"(เมตาฟิสิกส์) ของ"แนวคิดภาพรวมทั้งหมด",
และพวกเขาได้ใช้คำว่า"ภาพรวมทั้งหมด" ในหนทางที่แตกต่างในบริบทที่แตกต่าง
25. นักทฤษฎีวิพากษ์ได้ใช้ศัพท์คำว่า"ภาพรวมทั้งหมด" เพื่ออ้างถึงโครงสร้างของสังคม
ซึ่งได้ถูกให้นิยามโดยการวิพากษ์แบบมาร์กเซียนเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การเมือง ที่ได้เตรียมกรอบโครงและบริบทของการค้นคว้าขึ้นมา
และอันนี้มันได้สร้างข้อเท็จจริงทางสังคมขึ้นมากมาย
26. ทฤษฎีวิพากษ์ได้ใช้ประโยชน์"แนวคิดภาพรวมทั้งหมด" เพื่ออธิบายระบบทุนนิยมแบบภาพรวม
ซึ่งพยายามที่จะยัดเยียดคุณค่าต่างๆของมัน, โครงสร้าง, และปฏิบัติการต่างๆในทุกส่วนของชีวิตทางสังคม
27. สถาบันแห่งนี้ได้ใช้ประโยชน์แบบจำลองใน"เชิงพลวัตและประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความคิดแบบภาพรวม"
28. บรรดานักทฤษฎีวิพากษ์เชื่อว่า เขตแดนต่างๆระหว่างปริมณฑลอันหลากหลายของการดำรงอยู่
ได้ผลิตซ้ำในการแบ่งซอยออกเป็นส่วนๆของศาสตร์สาขาต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งเทียมและเป็นนามธรรม
ด้วยเหตุนี้ เพื่อติดตามปัญหาทางทฤษฎีและทางการเมืองอย่างมีสติปัญญา จึงต้องการการวิจัยที่เหนือสาขาวิชา(supradisciplinary
research) และวิธีการวิภาษวิธีเกี่ยวกับการนำเสนอ ที่แสดงออกในรายละเอียดที่เป็นรูปธรรม
ความเชื่อมโยงและความขัดแย้งกันระหว่างพื้นที่ดั้งเดิมของระบบประวัติศาสตร์สังคมที่ได้สร้างบริบทและกรอบโครงสำหรับความคิดและการกระทำขึ้นมา
6.
กระบวนทัศน์ที่ขัดแย้ง และทฤษฎีวิพากษ์สังคม
(Conflicting Paradigms and the Critical Theory of Society)
ในการพูดคุยกันภายในสถาบันแห่งนี้, Marcuse ได้ให้เหตุผลว่า "แถลงการณ์" ของ Horkheimer แสดงบทบาทได้ไม่เต็มที่นักเกี่ยวกับความสำคัญของปรัชญา และผลที่ตามมาก็คือ เขาได้เขียนความเรียงที่เป็นระบบขึ้นมาชิ้นหนึ่งในชื่อว่า "Philosophy and Critical Theory" (1968) [ปรัชญาและทฤษฎีวิพากษ์].
Horkheimer ดูเหมือนว่าจะเห็นด้วยกับสถานะอันนี้ และตัวเขาเองได้เขียนภาคผนวกเสริมขึ้นมาชิ้นหนึ่ง ซึ่งได้เน้นบทบาททางด้านปรัชญา. เป้าหมายของทฤษฎีวิพากษ์ในเรื่องการช่วยสร้างสรรค์สังคมที่มีเหตุผลขึ้น, Horkheimer เสนอว่า, ตามการเรียกร้องทางปรัชญาเหตุผลนิยมนั้น เหตุผลควรจะให้รูปร่างภาพรวมทั้งหมดของชีวิต และตามมาด้วยแนวคิดของมันเกี่ยวกับกิจกรรมใน"เชิงวิพากษ์ / ที่มีเหตุผล". กระนั้นก็ตาม ทฤษฎีวิพากษ์"ไม่เคยที่จะพุ่งเป้าไปที่การเพิ่มพูนความรู้ในตัวของมันเอง. เป้าหมายของมันก็คือ การปลดปล่อยมนุษย์ให้เป็นอิสระจากความเป็นทาส
บทบาทของปรัชญาในทฤษฎีวิพากษ์ สำหรับสถาบันแห่งนี้ ปรัชญาจะตระเตรียมมุมมองในเชิงวิพากษ์บนหน้าที่ทางธรรมชาติและทางสังคมของทฤษฎีสังคม ซึ่งมีลักษณะเป็นส่วนประกอบสำหรับการพัฒนา. การปฏิเสธการแยกขั้วระหว่าง"ข้อเท็จจริง"กับ"คุณค่า" และ "ความคิดปฏิฐานนิยม" / "ความคิดเวเบอเรียน" เกี่ยวกับสังคมศาสตร์ที่อิสระจากคุณค่า, ทฤษฎีวิพากษ์กลับกระตุ้นการสะท้อนถึงเรื่องของคุณค่าต่างๆและผลประโยชน์ ซึ่งอยู่ข้างใต้ทฤษฎีสังคมที่มีลักษณะเฉพาะ เร่งเร้าการตรวจสอบอย่างละเอียด และการปกป้องเกี่ยวกับสมมุติฐานของมัน. ดังนั้น ทฤษฎีวิพากษ์จึงเป็นปฏิกริยาสะท้อนกลับส่วนตัว และการวิจารณ์ตนเอง, บีบคั้นบรรดานักทฤษฎีวิพากษ์ให้พวกเขาเองเอาใจใส่อย่างต่อเนื่องกับการสะท้อนออกมาในวิธีการ รวมถึงธรรมชาติและผลของทฤษฎีสังคมในเชิงวิพากษ์อันหนึ่ง
โดยทั่วไปแล้ว Horkheimer และ Marcuse เห็นด้วยกับการพัฒนาการสังเคราะห์เกี่ยวกับปรัชญา, ทฤษฎีสังคม, และการวิจัยในโครงการเหนือสาขาวิชา(supradisciplinary project)เข้าด้วยกัน. อย่างไรก็ตาม มันมีความแตกต่างกันบางอย่างกับแบบจำลองที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดย Adorno และ Benjamin.
ขณะที่ Horkheimer เชื่อว่า "สังคมศาสตร์เชิงวิพากษ์"จะเตรียมเนื้อหาที่จำเป็นสำหรับทฤษฎี, Adorno and Benjamin กลับไปให้ความศรัทธาต่อ"ปรัชญา"และ"ทฤษฎีวัฒนธรรม" ในฐานะที่มันจะช่วยตระเตรียม แหล่งต้นตอพิเศษของความรู้เกี่ยวกับสังคมร่วมสมัย. สำหรับ Adorno and Benjamin, กลุ่มของสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้บรรจุ"ภาพในลักษณะวิภาษวิธี"(dialectical images) ซึ่งจะให้ความสว่างหรือสร้างความเข้าใจในเงื่อนไขต่างๆทางสังคมร่วมสมัย. พวกเขาขาดความไว้วางใจเอามากๆเกี่ยวกับสังคมศาสตร์ และมีแนวโน้มที่จะไปโฟกัสในการวิจารณ์ทางวัฒนธรรมและปรัชญา และการวิพากษ์อุดมคติวิทยา - ซึ่งเน้นว่า นั่นจะมีอิทธิพลต่องานของสถาบันเพิ่มขึ้น และมันจะเข้ามาแทนที่และพัฒนาทฤษฎีสังคมอันหนึ่งของยุคร่วมสมัย.
ในช่วงระหว่างปีทศวรรษที่ 1930s และช่วงต้นทศวรรษที่ 1940s, สถาบันแห่งนี้พยายามที่จะพัฒนาทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวกับสังคมทุนนิยมขึ้นมา ซึ่งได้สร้างขึ้นและปรับปรุงให้ทันสมัย โดยพ้นจากลัทธิมาร์กซ์แบบคลาสสิค. ด้วยเหตุนี้, จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะรับรู้ว่า ทฤษฎีวิพากษ์พยายามมุ่งมั่นที่จะตระเตรียมทฤษฎีสังคมซึ่งมีแก่นแกนของยุคปัจจุบัน และมีลักษณะ"เมตา-ทฤษฎี"(เหนือหรือพ้นไปจากทฤษฎี)เกี่ยวกับสมมุติฐานและวิธีการขึ้นมา
ในด้านหนึ่ง, ทฤษฎีวิพากษ์ได้บรรจุเอาวิธีการชุดหนึ่งซึ่งมองไปที่ทฤษฎีและภาพรวมทั้งหมด มันได้บรรจุเอาวิธีการค้นคว้า การวิจัย ตำรับตำรา และปฏิบัติการทางการเมืองต่างๆไว้. กระนั้น, ทฤษฎีวิพากษ์ยังได้นำเสนอแก่นแกนอันหนึ่ง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่กว้างขวางเกี่ยวกับยุคปัจจุบัน นอกไปจากการปรับปรุงระเบียบวิธีทฤษฎีสังคมและการวิจัย และสำหรับผลงานด้านทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองในระดับราก.
แก่นแกนอันนี้ ได้บรรจุความพยายามอันดับแรกสุดที่จะพัฒนา"การสังเคราะห์"เกี่ยวกับความคิดของ"มาร์กซ์"และ"ฟรอยด์"เอาไว้ด้วยกัน และพยายามรวมมุมมองทางจิตวิเคราะห์เข้ามาในงานวิจัยด้วย
บรรดานักทฤษฎีวิพากษ์ดำเนินการต่างๆ โดยพยายามที่จะรับรู้และทำความเข้าใจว่า ทำไมปัจเจกชนทั้งหลายจึงยอมจำนนต่ออำนาจอันไร้เหตุผล, และเงื่อนไขทางจิตวิทยาอะไรที่ได้สร้างอำนาจส่วนบุคคลขึ้นมา ซึ่งยินยอมต่อเผด็จการฟาสซิสท์ [6].
ต่อมา บรรดานักทฤษฎีวิพากษ์ได้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทางสังคม ซึ่งได้สร้างความอ่อนแอของตัวตนขึ้นมา และ"ความเสื่อมทรามลงของปัจเจก". พวกเขายังได้ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ชนิดใหม่ ระหว่าง รัฐ กับเศรษฐกิจ, บทบาทของเทคโนโลยีใหม่ๆและสื่อสารมวลชน ในฐานะที่เป็นแบบจำลองใหม่ของการควบคุมทางสังคม, และการแบ่งชนชั้นใหม่ๆ รวมทั้งการผสมผสานกันของชนชั้นแรงงาน ซึ่งกำลังลดความขัดแย้งทางชนชั้นลงในสังคมบริโภคปัจจุบัน.
โดยทั่วไป บรรดานักทฤษฎีวิพากษ์หวังที่จะผลิตแง่มุมต่างๆของทฤษฎีเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของลัทธิทุนนิยมในเชิงแข่งขัน ที่มุ่งสู่ความเป็นทุนนิยมผูกขาดและเผด็จการฟาสซิสม์ และคาดหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งลัทธิทุนนิยมจะถูกแทนที่โดยลัทธิสังคมนิยม.
แนวความคิดของพวกเขาได้รับการตั้งใจที่จะวิจารณ์องค์กรที่มีอยู่ของสังคม และตระเตรียมภาพสเก็ตยูโธเปียของสังคมที่ดีกว่า. ด้วยเหตุนี้ ทฤษฎีวิพากษ์จึงได้รับการกระตุ้นโดยความสนใจในการปลดปล่อยจากลัทธิทุนนิยม และจัดหาปรัชญาอันหนึ่งเกี่ยวกับปฏิบัติการทางสังคมที่ผูกพันอยู่กับ"การต่อสู้ดิ้นรนเพื่ออนาคต".
ทฤษฎีวิพากษ์, ตามที่ Horkheimer ให้เหตุผล, จะต้องรักษาความซื่อสัตย์ต่อ"ความคิดเกี่ยวกับสังคมอนาคตเอาไว้ ในฐานะชุมชนของมนุษย์ที่เป็นอิสระ, ตราบเท่าที่สังคมหนึ่งจะเป็นไปได้, โดยเสนอวิธีการทางเทคนิคในปัจจุบัน
"ทุนนิยมโดยรัฐ"ของ Pollock ["State Capitalism" (Bronner and Kellner 1989:95-118)] ได้สร้างเค้าโครงอันหนึ่งขึ้นมา สำหรับการวิเคราะห์ต่อมาภายหลังของสถาบัน เกี่ยวกับความสัมพันธ์ชนิดใหม่ระหว่าง รัฐ และ เศรษฐกิจ ในช่วงหลังยุคสงคราม.
Pollock อ้างว่า ทุนนิยมโดยรัฐ - ทั้งใรูปแบบประชาธิปไตยและเผด็จการ - ได้สร้าง "เศรษฐกิจแบบบัญชา"(command economy)ขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็น"ความสำคัญของการเมือง" โดยที่รัฐได้เข้ามาจัดการเรื่องเศรษฐกิจ. สวนกันกับการวิเคราะห์ของ Neumann เกี่ยวกับลัทธิฟาสซิสม์ในเรื่อง Behemoth (1941), Pollock ยืนยันว่า "แรงกระตุ้นเกี่ยวกับกำไรได้ถูกแทนที่โดยแรงกระตุ้นเรื่องอำนาจ"(the profit motive is superseded by the power motive). อันที่จริง, บรรดาสมชิกของสถาบันไม่เคยเห็นด้วยเกี่ยวกับความจำเป็นเชิงบังคับทางเศรษฐกิจและการเมือง ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับแรกสำหรับรัฐเผด็จการฟาสซิสม์ใหม่.
การพัฒนาขึ้นมาจากงานเขียนเรื่อง Finance Capital (1910) ของ Rudolf's Hilferding นักสังคมประชาธิปไตยชาวออสเตรีย, ความเรียงของ Pollock ได้วางรากฐานสำหรับข้ออ้างต่อมาภายหลังที่พิจารณาถึงการผสมผสานของเศรษฐกิจ, รัฐ, และปริมณฑลสาธารณะเข้าด้วยกัน. มันยังยืนยันว่า ลัทธิทุนนิยมได้ค้นพบยุทธศาสตร์ใหม่ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และตระเตรียมพื้นฐานสำหรับความเชื่อที่ผลิหน่อขึ้นมาว่า "ลัทธิทุนนิยม, ตัวมันสามารถที่จะมีความมั่นคง หรือมีเสถียรภาพต่อไปภายหน้า และจะปกป้องการทำให้ลัทธิสังคมนิยมเป็นจริงขึ้นมาได้".
ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการตั้งข้อสงสัยใหม่ๆ ที่เกี่ยวพันกับบทบาทในเชิงปฏิวัติของชนชั้นแรงงาน ซึ่งค่อนข้างจะเป็นศูนย์กลางของทฤษฎีมาร์กเซียนแบบคลาสสิค. สำหรับมาร์กซ์, ชนชั้นกรรมาชีพในอุตสาหกรรมได้ถูกนำมาใช้ในฐานะที่เป็นตัวแทนของการปฏิวัติสังคม เพราะคนเหล่านี้เป็นคนกลุ่มใหญ่สุด, ถูกตักตวงผลประโยชน์มากที่สุด, และเป็นชนชั้นที่เข้มแข็งมีความกระฉับกระเฉง. การแบกรับภาระเกี่ยวกับผลผลิตอุตสาหกรรม, ชนชั้นแรงงานได้รับการมองว่าเป็นตัวหลักในเชิงตรรกของการปฏิวัติ เนื่องจากสถานะที่สำคัญอย่างยิ่งของคนเหล่านี้ในกระบวนการผลิต และศักยภาพสำหรับองค์กรในอุตสาหกรรมที่มีการรวมศูนย์อย่างสูง, หรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่.
ทฤษฎีมาร์กเซียนเกี่ยวกับการปฏิวัติยังทำนายถึงวิกฤตต่างๆทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่รุนแรงด้วย ซึ่งจะน้อมนำให้ชนชั้นแรงงานไปสู่การปฏิวัติ ต่อเงื่อนไขต่างๆที่เนื่องมาจากผลกระทบของความยากจน ที่ซึ่งมันไม่มีอะไรจะสูญเสียอีกแล้ว เว้นแต่การสลัดโซ่ตรวนออกไป. ดังที่ ลัทธิทุนนิยมกำลังประสบกับวิกฤตที่รุนแรงมากที่สุดของมันในช่วงทศวรรษที่ 1930s.
อย่างไรก็ตาม, พรรคและสหภาพที่มีอำนาจอย่างเต็มที่ของชนชั้นแรงงานในยุโรป ต่างได้รับการปราบปรามโดยพลังอำนาจของฟาสซิสม์. อันที่จริง สิ่งที่ตามมาภายหลังการปราบปรามอันนั้น, โอกาสหรือความหวังต่างๆสำหรับการปฏิวัติสังคมนิยม ดูเหมือนจะเลือนลางมากและไม่ได้เป็นความหวังอีกต่อไปสำหรับบรรดานักทฤษฎีของสถาบันแห่งนี้
ดังนั้น ผลที่ตามมา, บรรดานักทฤษฎีวิพากษ์จึงห่างเหินจากตำแหน่งของมาร์กซิสท์แบบจารีตมากขึ้น ซึ่งอ้างว่า การปฏิวัติสังคมนิยมเป็นสิ่งซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และความก้าวหน้าของประวัติศาสตร์ จำเป็นที่จะน้อมนำจากทุนนิยมไปสู่สังคมนิยม. นับแต่นั้นเป็นต้นมา, ความสัมพันธ์ของพวกเขาที่มีต่อลัทธิมาร์กซ์ ค่อนข้างที่จะเป็นไปในลักษณะไม่ค่อยแน่ใจ และสลับซับซ้อนขึ้น.
ขณะที่แต่ละคน อย่าง Horkheimer ในท้ายที่สุดก็ละทิ้งลัทธิมาร์กซ์ไปทั้งหมด พร้อมกันกับรูปแบบอันหนึ่งที่ลึกลับไร้เหตุผลซึ่งรับมาจาก Schopenhauer และ Nietzsche, ส่วน Marcuse และคนอื่นๆ ยังคงพัฒนาทฤษฎีมาร์กเซียนในแบบของเขาเองโดยเฉพาะต่อมา.
[หมายเหตุ: สรุปสาระสำคัญช่วงที่
6]
29. มีการเปรียบเทียบแนวทางทฤษฎีวิพากษ์ที่แตกต่างกันของนักคิดคนสำคัญของแฟรงค์เฟริทสคูล
นั่นคือ Horkheimer และ Marcuse เห็นด้วยกับการพัฒนาการสังเคราะห์เกี่ยวกับปรัชญา,
ทฤษฎีสังคม, และการวิจัยในโครงการเหนือสาขาวิชา(supradisciplinary project)เข้าด้วยกัน
แต่มันมีความแตกต่างกันบางอย่างกับแบบจำลองที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดย Adorno
และ Benjamin กล่าวคือ 2 คนหลัง กลับไปให้ความศรัทธาต่อปรัชญาและทฤษฎีวัฒนธรรม
เพราะมันเป็นต้นตอของความรู้เกี่ยวกับสังคมร่วมสมัย.
30. ในช่วงระหว่างปีทศวรรษที่ 1930s และช่วงต้นทศวรรษที่ 1940s, สถาบันแห่งนี้พยายามที่จะพัฒนาทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวกับสังคมทุนนิยมขึ้นมา
ซึ่งได้สร้างขึ้นและปรับปรุงให้ทันสมัย โดยพ้นจากลัทธิมาร์กซ์แบบคลาสสิค แก่นแกนอันนี้
ได้บรรจุความพยายามอันดับแรกสุดที่จะพัฒนา"การสังเคราะห์"เกี่ยวกับความคิดของ"มาร์กซ์"และ"ฟรอยด์"เอาไว้ด้วยกัน
และพยายามรวมมุมมองทางจิตวิเคราะห์เข้ามาในงานวิจัย
31. นักทฤษฎีวิพากษ์ได้ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ชนิดใหม่ ระหว่าง "รัฐ"กับ"เศรษฐกิจ",
บทบาทของเทคโนโลยีใหม่ๆและสื่อสารมวลชน ในฐานะที่เป็นแบบจำลองใหม่ของการควบคุมทางสังคม,
การแบ่งชนชั้นใหม่ๆ และการผสมผสานกันของชนชั้นแรงงาน ซึ่งกำลังลดความขัดแย้งทางชนชั้นลงในสังคมบริโภคใหม่
32.หนังสือเรื่องทุนนิยมโดยรัฐ"ของ Pollock ได้สร้างเค้าโครงอันหนึ่งขึ้นสำหรับการวิเคราะห์ต่อมาภายหลังของสถาบัน
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ชนิดใหม่ระหว่าง รัฐ และ เศรษฐกิจ ในช่วงหลังยุคสงคราม.
Pollock อ้างว่า ทุนนิยมโดยรัฐ - ทั้งใรูปแบบประชาธิปไตยและเผด็จการ - ได้สร้าง
"เศรษฐกิจแบบบัญชา"(command economy)ขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็น"ความสำคัญของการเมือง"
โดยที่รัฐได้เข้ามาจัดการเรื่องเศรษฐกิจ
7.
สังคมมิติเดียว และวิกฤตของทฤษฎีวิพากษ์
(One-Dimensional Society and the Crisis of Critical Theory)
หนึ่งในกุญแจสำคัญเกี่ยวกับสถานะของสถาบันคือ "อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม"(culture industries) ที่มาถึงตอนนี้ได้แสดงบทบาทที่สำคัญเพิ่มขึ้นในสำนึกที่มีความหมาย. ภาพร่างภาพแรกที่ปรากฎออกมาในงาน Dialectic of Enlightenment (1972) ของ Horkheimer และ Adorno, เดิมที่ได้รับการเขียนขึ้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 1940s, จุดยืนอันนี้ได้กลายมาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของทฤษฎีวิพากษ์ และได้เปิดฉากคำอธิบายใหม่เกี่ยวกับบทบาทของสื่อสารมวลชนและวัฒนธรรมอย่างเป็นทางการ ในการเสริมสร้างสังคมร่วมสมัยต่างๆขึ้นมา.
ตามความคิดของ Adorno และ Horkheimer, อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการหลอกลวงมวลชน ซึ่งได้มาจัดการหรือเปลี่ยนแปลงให้ปัจเจกชนทั้งหลายไปสู่การยอมรับองค์กรที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบันของสังคม. ในทัศนะของพวกเขา, อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมมีความผูกมัดกับรูปแบบของความช่ำชองเกี่ยวกับการสอนอุดมคติให้ซึมซาบ(ideological indoctrination), มีการนำเอาความบันเทิงมาใช้เป็นน้ำตาลเคลือบการกดขี่ ขณะเดียวกันก็กัดกร่อนมาตรฐานทางวัฒนธรรม เพื่อที่จะลดทอน และหยุดยั้งการแสดงออกในรูปแบบใดก็ตาม ที่จะมาแข่งขันกับแบบแผนดังที่กล่าวมานี้
ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2, สถาบันแห่งนี้ได้พังทลายลงอันเนื่องมาจากแรงกดดันของสงคราม. Horkheimer และ Adorno ได้ย้ายไปอยู่ที่แคลิฟอร์เนีย, ขณะที่ Lowenthal, Marcuse, Neumann, และคนอื่นๆได้ทำงานให้กับรัฐบาลอเมริกันโดยการสนับสนุนการต่อสู้กับเผด็จการฟาสซิสม์. Horkheimer และ Adorno ยังคงเขียนหนังสือของพวกเขาเรื่อง Dialectic of Enlightenment ต่อไป, ซึ่งภายในได้บรรจุนัยะเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์ลัทธิมากซ์เอาไว้ ในเวลาเดียวกันก็วิพากษ์ลัทธิฟาสซิสม์และทุนนิยมบริโภคไว้ด้วย.
การแยกตัวออกมาจากทฤษฎีมาร์กเซียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์, พวกเขาได้นำเสนอปรัชญาประวัติศาสตร์อีกอันหนึ่งขึ้นมา ซึ่งได้สืบสาวถึงชะตากรรมของยุคสว่าง(Enlightenment) นับจากเริ่มต้นเกี่ยวกับความคิดวิทยาศาสตร์ ท่ามกลางชนชาวกรีกจนมาถึงค่ายกักกันต่างๆของฟาสซิสท์(fascist concentration camps) และอุตสาหกรรมวัฒนธรรมของทุนนิยมอเมริกา.
พวกเขาได้ตั้งคำถามขึ้นมาว่า ความมีเหตุมีผลแบบตะวันตกได้กลายเป็นเครื่องมืออันหนึ่งของการครอบงำ และยุคสว่างได้เปลี่ยนไปสู่ความตรงข้ามได้อย่างไร ?: กล่าวคือ มันได้กลับกลายเป็นเรื่องของความลึกลับและการกดขี่. หนังสือเล่มนี้ได้วิจารณ์ลัทธิเหตุผลและลัทธิวิทยาศาสตร์ของยุคสว่าง, และแสดงนัยะความเกี่ยวพันของลัทธิมาร์กซ์ภายใน"วิภาษวิธีของยุคสว่าง"(dialectic of Enlightenment).
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2, Adorno, Horkheimer, และ Pollock ได้หวนกลับมายังแฟรงค์เฟริทเพื่อสถาปนาสถาบันของพวกเขาขึ้นมาใหม่อีกครั้งในประเทศเยอรมันนี, ขณะที่ Lowenthal, Marcuse, และคนอื่นๆยังคงพำนักอยู่ในสหรัฐอเมริกา. ในเยอรมันนี, Adorno, Horkheimer, และบรรดาเพื่อนร่วมงานของเขาได้ตีพิมพ์หนังสือขึ้นมาชุดหนึ่ง และก็ได้กลายเป็นพลังปัญญาชนสำคัญในประเทศบ้านเกิดของพวกเขา.
ในช่วงเวลานี้ ศัพท์คำว่า"แฟรงค์เฟริทสกูล"ได้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวางในฐานะที่เป็นอัตลักษณ์อันหนึ่งของแบบฉบับของมัน เกี่ยวกับงานวิจัยทางสังคมเหนือสาขาวิชา(supradisciplinary social research) และเกี่ยวกับทฤษฎีสังคมซึ่งมีลักษณะเฉพาะซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดย Adorno, Horkheimer, และเพื่อนร่วมงานของพวกเขา. บ่อยครั้ง แฟรงค์เฟริทสคูลได้ไปผูกมัดกับการถกเถียงเรื่องวิธีการและแก่นสารกับบรรดานักทฤษฎีสังคมอื่นๆ, ที่เด่นสุดก็คือ ในการโต้แย้งกับพวกปฏิฐานนิยม ซึ่งพวกเขาวิจารณ์ว่าเป็นวิธีการที่ค่อนข้างมีลักษณะประสบการณ์นิยมและเป็นไปในเชิงปริมาณมากไปสำหรับทฤษฎีทางสังคม และปกป้องลักษณะการคาดเดาของพวกเขาเองและ"ยี่ห้อวิพากษ์"เกี่ยวกับทฤษฎีสังคม((see Adorno, et al, The Positivist Dispute in German Sociology, 1976).
กลุ่มชาวเยอรมันที่รายรอบ Horkheimer และ Adorno มีความเป็นปรปักษ์เพิ่มขึ้นต่อออร์ธอด็อกซ์มาร์กซิสม์ และต่อมาได้ถูกวิจารณ์โดยพวก"มาร์กซิสท์-เลนินนิสท์" และ"มาร์กซิสท์วิทยาศาสตร์"( Marxist-Leninists" and "scientific Marxists) ในท้ายที่สุด แฟงค์เฟริทสกูลก็กลายเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับทฤษฎีเกี่ยวกับ"สังคมที่ถูกจัดการทั้งหมด", หรือ"สังคมมิติเดียว"(the totally administered society," or "one-dimensional society), ซึ่งได้สร้างทฤษฎีที่มีพลังเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับลัทธิทุนนิยมขึ้นมาเหนือกว่าแง่มุมต่างๆของชีวิตสังคมทั้งหมด และพัฒนาการของรูปแบบใหม่ๆเกี่ยวกับการควบคุมทางสังคม.
ทฤษฎีนี้รวมถึงการวิเคราะห์เกี่ยวกับการผสมผสานกันของชนชั้นแรงงานภายในสังคมทุนนิยมร่วมสมัยต่างๆ และเทคนิคใหม่เกี่ยวกับการทำให้ทุนนิยมมีเสถียรภาพ ซึ่งได้ตั้งคำถามอย่างรุนแรงต่อทฤษฎีมาร์กเซียนเกี่ยวกับการปฏิวัติ. ตามความคิดของบรรดานักทฤษฎีวิพากษ์จำนวนมาก, รูปแบบใหม่ๆของเทคโนโลยี, แบบจำลองใหม่ของการผลิตที่เป็นระบบ, โครงร่างหรือสัณฐานใหม่ของชนชั้น, และวิธีการใหม่เกี่ยวกับการควบคุมทางสังคมกำลังสร้างสังคม"มิติเดียวขึ้นมา"โดยไม่มีการคัดค้านหรือคู่ต่อสู้เลย. มันยังดูเหมือนว่า รูปแบบใหม่ๆของการเมือง, สังคม, และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับตัวทางวัฒนธรรมกำลังถูกทำให้เป็นสถาบันขึ้นมา
การพัฒนาเกี่ยวกับ"สังคมที่ถูกจัดการทั้งหมด"ได้น้อมนำ Adorno และ Horkheimer สร้างทฤษฎี" the end of the individual"(การสิ้นสุดของปัจเจกบุคคล) และเน้นถึงความสำคัญเกี่ยวกับการธำรงรักษาความเป็นอัตวิสัย(subjectivity)เพื่อที่จะบรรลุถึงเป้าหมายลัทธิเสรีนิยมและลัทธิสังคมนิยมทำนองนั้น.
การกัดกร่อนเกี่ยวกับความเป็นอัตวิสัย, พวกเขาเชื่อว่า, ทรยศคำมั่นสัญญาของความเป็นสมัยใหม่ ซึ่งตัวมันเองถูกทำนายบนความเชื่อที่ว่า การถกเถียงกันในทางเหตุผลเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะปรับปรุงการควบคุมของมนุษย์ที่มีต่อธรรมชาติได้มากขึ้น และมันจะก่อให้เกิดอิสรภาพอันยิ่งใหญ่กว่า, ความเป็นปัจเจก, และความสุข. บรรดานักทฤษฎีวิพากษ์ให้เหตุผลว่า, สถาบันต่างๆและปฏิบัติการทั้งหลายเกี่ยวกับ"สังคมอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้า"กำลังสร้างการปรับตัวให้สอดคล้องและกาาครอบงำทางสังคมมากขึ้นแทน.
ท้ายสุด, ในงาน Negative Dialectics และ Aesthetic Theory ซึ่งมีลักษณะค่อนข้างเป็นความรู้เฉพาะทางที่สูงมากๆของเขา สถานการณ์อันนี้ Adorno พยายามที่จะฟื้นคืนชีวิตเกี่ยวกับความเป็นอัตวิสัยที่ถูกกดเอาไว้สวนกลับสังคมมวลชน และการแสดงออกต่างๆในทางปรัชญาของมัน อย่างเช่น ลัทธิอัตถิภาวนิยม และลัทธิปฏิฐานนิยม(existentialism and positivism) [7].
ในท้ายที่สุด Marcuse เป็นผู้ที่ได้เสนอหลักการที่เข้าใจได้มากที่สุดเกี่ยวกับทฤษฎีสังคมมิติเดียวขึ้นในเรื่อง One Dimensional Man (1964)[มนุษย์มิติเดียว]. ในการวิเคราะห์ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นงานคลาสสิคของเขา, ทำให้สังคมอุตสาหกรรมก้าวหน้าไป โดยผสมผสานและดูดซับพลังต่อต้านหรือที่เป็นปรปักษ์ทั้งหมด ดังนั้น เงื่อนไขต่างๆในเชิงอัตวิสัยสำหรับความขัดแย้งกันระหว่างชนชั้นต่างๆ, เช่นเดียวกับระหว่างปัจเจกกับสังคม ได้อัตรธานหายไปในช่วงเวลานั้น แต่ความจริงในเชิงวัตถุวิสัย การตักตวงประโยชน์ และความอยุติธรรมกลับรุนแรงขึ้น.
Marcuse ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับรูปแบบใหม่ๆของการควบคุมทางสังคมใน"สังคมมิติเดียว" และการลดลงมาของ"มิติอื่นๆ"ของการวิจารณ์ทางสังคม, การจลาจล, และความคิดแบบยูโธเปีย, ซึ่งได้นำเสนอทางเลือกต่างๆต่อแบบแผนที่มีอยู่. สวนกันกับ"ความมีมิติเดียว", เขาได้ให้การสนับสนุน"พลังอำนาจทางความคิดในเชิงนิเสธ(power of negative thinking) และ"การปฏิเสธที่ยิ่งใหญ่"(the great refusal). สโลแกนเหล่านี้ได้มีการอ้างอิงในช่วงทศวรรษที่ 1960s ในพวกซ้ายใหม่ และกลุ่มตรงข้ามวัฒนธรรม(counterculture หมายถึง พวกที่มีแนวดำเนินชีวิตและยึดถือคุณค่าในทางที่ตรงข้ามกับวัฒนธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป) ซึ่งในบางระดับ ได้อ้าแขนรับ Marcuse ในฐานะที่เป็นผู้แถลงการณ์ในทางทฤษฎี.
อย่างไรก็ตาม ในช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1950s ได้มีการแยกออกจากกันเกิดขึ้น ระหว่างงานของสถาบันแห่งนี้ซึ่งได้กลับมาตั้งรกรากใหม่ที่แฟงค์เฟริท และแนวความคิดของ Fromm, Lowenthal, Marcuse, และคนอื่นๆ ผู้ซึ่งไม่ได้หวนกลับมาที่เยอรมันนี และผู้ซึ่งยังคงพัฒนาทฤษฎีต่างๆอยู่เสมอ ซึ่งไม่ลงรอยกับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และผลงานในช่วงแรกของ Horkheimer และ Adorno. ดังนั้น มันจึงถูกทำให้เข้าใจผิดต่อการพิจารณาผลงาน เกี่ยวกับนักทฤษฎีวิพากษ์ต่างๆที่หลากหลายในช่วงระหว่างยุคหลังสงคราม ในฐานะสมาชิกของเสาหินต้นหนึ่งของแฟรงค์เฟริทสกูล.
ในทางตรงข้าม ทั้งคู่ต่างก็มีความรู้สึกร่วมกันอันหนึ่งเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และผลงานโดยรวมในทฤษฎีสังคมเหนือสาขาวิชาจากทศวรรษ 1930s จนถึง 1940s, หลังจากนั้น บรรดานักทฤษฎีวิพากษ์ต่างๆก็แยกออกจากกัน และในช่วงทศวรรษที่ 1950s และ 1960s ศัพท์คำว่า"แฟรงค์เฟริทสคูล" จริงๆแล้ว สามารถที่จะนำมาใช้ได้ก็เพียงกับผลงานของคนเหล่านั้นที่ยังมีความสัมพันธ์กับสถาบันในเยอรมันนีเท่านั้น.
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะแสดงอัตลักษณ์ของแฟรงค์เฟริมสคูลออกมาในฐานะที่เป็นเอกภาพทั้งหมด เมื่อผลงานของสถาบันแห่งนี้ได้ก้าวข้ามเวลามาหลายทศวรรษ และไปเกี่ยวพันกับบรรดานักคิดอย่างหลากหลาย ผู้ซึ่งภายหลังได้มาผูกพันกับข้อถกเถียงที่แหลมคมกับกันและกัน.
แน่นอน เราควรที่จะรับรู้ถึงขั้นตอนอันหลากหลายเกี่ยวกับงานของสถาบัน:
1). สถาบันแห่งนี้เมื่อแรกสถาปนาขึ้น
มีการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ในเชิงประจักษ์ อันเป็นยุคของ Grunberg
2). ความพยายามในช่วงต้น ราวๆกลางทศวรรษที่ 1930s มีการสถาปนาทฤษฎีสังคมเหนือสาขาวิชาขึ้นภายใต้การอำนวยการของ
Horkheimer
3). ความพยายามที่จะพัฒนาทฤษฎีวิพากษ์เกี่ยวกับสังคมขึ้นมา ในช่วงระหว่างที่มีการเนรเทศจากช่วงประมาณปี
1937 ไปจนถึงช่วงต้นทศวรรษที่ 1940s
4). การแพร่กระจายของสมาชิกของสถาบันแห่งนี้ในช่วงทศวรรษที่ 1940s และทิศทางใหม่ที่ร่างภาพออกมาโดย
Horkheimer และ Adorno
5). การหวนคืนกลับไปสู่สถาบันแห่งนี้ในเยอรมันนี และผลงานในแฟรงค์เฟริท ช่วงระหว่างทศวรรษที่
1950s และ 1960s
6). การพัฒนาเกี่ยวกับทฤษฎีวิพากษ์ในทิศทางอันหลากหลาย โดย Fromm, Lowenthal,
Marcuse, และคนอื่นๆ ผู้ซึ่งยังคงพำนักอยู่ในอเมริกา
7). ความต่อเนื่องเกี่ยวกับโครงการของสถาบัน และพัฒนาการของทฤษฎีวิพากษ์ในเยอรมันนีโดย
Jurgen Habermas, Oskar Negt, Alfred Schmidt, และคนอื่นๆในช่วงทศวรรษที่ 1970s
และ 1980s
8). การให้การสนับสนุนต่อทฤษฎีวิพากษ์โดยบรรดานักทฤษฎีหนุ่มที่หลากหลาย และนักวิชาการ
ซึ่งยังคงกระฉับกระเฉงอยู่ในปัจจุบันทั้งในยุโรปและอเมริกา.
ในการมองย้อนกลับไป เราจะเห็นว่า
วิกฤตเกี่ยวกับทฤษฎีวิพากษ์ปรากฎขึ้นมาโดยการแยกย่อยของมันที่แบ่งออกไปเป็นส่วนๆในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง.
ความจริง ทฤษฎีสังคมของมันได้หยุดพัฒนาไปแล้ว ถึงแม้ว่าโครงการวิจัยในเชิงประสบการณ์บางอย่างและเมตาทฤษฎีบางอย่างที่ยังคงอยู่
ซึ่งได้รับการวิเคราะห์โดยสมาชิกของสถาบันบางคน, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Adorno.
ผลที่ตามมา มีนักวิชาการบางคนเชื่อว่า ทฤษฎีวิพากษ์ได้เสนอมุมมองทางด้านทฤษฎีที่ก้าวหน้ามากที่สุดขึ้นภายในทฤษฎีสังคมร่วมสมัย จากปีทศวรรษ 1930s เป็นต้นมาจนกระทั่งถึงช่วงต้นของทศวรรษที่ 1960s. แต่หลังจากนั้น พัฒนาการต่างๆทางสังคมวัฒนธรรมใหม่ๆ ได้ทำให้มันกลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัย เพราะข้อวินิจฉัยบางประการ... โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทฤษฎีวิพากษ์ไม่ได้กระทำการในลักษณะที่ต่อเนื่องเกี่ยวกับการสร้างทฤษฎีเทคโนโลยีใหม่ๆขึ้นมา, หรือมีพัฒนาการใหม่เกี่ยวกับความรู้ทางด้านสื่อ ฯลฯ. อันนี้ค่อนข้างเป็นที่น่าประหลาด นับแต่ที่งานเขียนในช่วงต้นๆของมันได้อยู่ในพื้นที่เหล่านี้อย่างชัดเจน [8].
เหตุผลต่างๆสำหรับความล้มเหลวของบรรดานักทฤษฎีวิพากษ์ส่วนใหญ่ ที่จะปรับปรุงและพัฒนาเนื้อหาสาระเกี่ยวกับทฤษฎีสังคมของพวกเขาให้ทันสมัย มันมีเหตุผลอยู่มากมายหลายสาเหตุและสลับซับซ้อนยิ่ง. เช่น
- Horkheimer ดูเหมือนว่าจะหมดไฟในช่วงทศวรรษที่
1950s และได้เสนองานเขียนที่สำคัญเพียงเล็กน้อยในช่วงระหว่างปีหลังๆในชีวิตของเขา.
- Adorno ได้สร้างผลงานทางด้านทฤษฎีทางสังคมขึ้นมามากมายในช่วงทศวรรษที่ 1950s
และทศวรรษที่ 1960s, ในเวลาเดียวกันก็ปรากฏผลงานตำรามากมายที่ไม่ค่อยน่าเชื่อถือในขอบเขตทางด้านวิจารณ์วรรรกรรม,
การวิพากษ์วัฒนธรรม, ปรัชญา, และสุนทรียศาสตร์. ผลงานของเขาได้เปลี่ยแปลงไปมากจากงานวิจัยเหนือสาขาวิชาไปสู่การสะท้อนถึงเรื่องราวต่างๆทางปรัชญา.
- Habermas ด้วยเช่นกัน มีแนวโน้มที่จะโฟกัสความสนใจของตัวเขาลงไปที่การสร้างทฤษฎีทางปรัชญาเพิ่มขึ้น,
แม้ว่าหนังสือของเขาเรื่อง Legitimation Crisis (1975) [วิกฤตความถูกต้องชอบธรรม]
ได้ตระเตรียมมุมมองใหม่ที่สำคัญบางอย่างขึ้นมาสำหรับทฤษฎีสังคมเชิงวิพากษ์, เช่นดังในงานจำนวนมากของเขาช่วงหลังๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Theory of Communicative Action [ทฤษฎีปฏิบัติการทางด้านการสื่อสาร](ซึ่งเขียนขึ้นมา
2 เล่มในปี 1984, และ 1987) และเรื่อง The Philosophical Discourse of Modernity
(1987). [วาทกรรมทางปรัชญาของยุคสมัยใหม่] [9].
ในเยอรมันนีและสหรัฐอเมริกา, ผลงานส่วนใหญ่ในเรื่องทฤษฎีสังคมในช่วงระหว่างทศวรรษสุดท้ายได้ดำเนินรอยตาม Habermas ในการพยายามที่จะพัฒนารากฐานทางปรัชญาที่เหมาะสมสำหรับทฤษฎีวิพากษ์, หรือวาดเค้าโครงแง่มุมต่างๆทางปรัชญาของทฤษฎีวิพากษ์. ดังนั้น มันจึงทำให้การวิจัยทางสังคมขาดไป และขาดแคลนความละเอียดอ่อนเกี่ยวกับมุมมองทางทฤษฎีใหม่ๆในอาณาจักรของทฤษฎีสังคม. 000000000 ในทางตรงข้าม, งานเขียนต่างๆประเภทนี้มาจากสมาชิกของค่ายโพสท์โมเดิร์น ผู้ซึ่งพยายามที่จะสร้างทฤษฎี ผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ, สื่อใหม่ๆ, และพัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรมอื่นๆ.
เกี่ยวกับทฤษฎีวิพากษ์ในช่วงหลัง กล่าวโดยสรุป เป็นการทะเลาะกับทฤษฎีโพสท์โมเดิร์น ในฐานะที่เป็นรูปแบบใหม่ของลัทธิไร้เหตุผล(irrationalism). แต่ถ้าเผื่อว่าทฤษฎีวิพากษ์ปรารถนาที่จะพบกับความท้าทายของยุคโพสท์โมเดิร์น และนำเอาบทบาทของตัวมันกลับคืนมา ในฐานะที่เป็นแนวหน้าของทฤษฎีสังคมที่เป็นรากฐาน, มันจะต้องแสวงหาทิศทางใหม่ๆและตระเตรียมคำอธิบายในเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการร่วมสมัยในในขอบเขตความรู้ที่กว้างขวางกว่าเดิมอันหนึ่ง.
[หมายเหตุ: สรุปสาระสำคัญช่วงที่
6]
33. ได้มีการพูดถึงหนังสือ Dialectic of Enlightenment (1972) ของ Horkheimer
และ Adorno, เขียนขึ้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 1940s, ซึ่งกลายมาเป็นจุดยืนของทฤษฎีวิพากษ์
และได้เปิดฉากคำอธิบายใหม่เกี่ยวกับบทบาทของสื่อสารมวลชนและวัฒนธรรมอย่างเป็นทางการ
ในการเสริมสร้างสังคมร่วมสมัยต่างๆ
34. ตามความคิดของ Adorno และ Horkheimer, อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม(culture industries)เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงผู้คน
อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมผูกมัดกับรูปแบบของความช่ำชองเกี่ยวกับการสอนอุดมคติให้ซึมซาบ(ideological
indoctrination), มีการนำเอาความบันเทิงมาใช้เป็นน้ำตาลเคลือบการกดขี่ ขณะเดียวกันก็กัดกร่อนมาตรฐานทางวัฒนธรรม
35. แฟงค์เฟริทสคูลเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับทฤษฎีเกี่ยวกับ"สังคมมิติเดียว"(one-dimensional
society), ซึ่งหมายถึงสังคมที่เป็นไปในทิศทางเดียว โดยไม่มีคู่แข่งหรือทางเลือกอื่น
36. ตามความคิดของบรรดานักทฤษฎีวิพากษ์... รูปแบบใหม่ๆของเทคโนโลยี, แบบจำลองใหม่ของการผลิตที่เป็นระบบ,
โครงร่างหรือสัณฐานใหม่ของชนชั้น, และวิธีการใหม่เกี่ยวกับการควบคุมทางสังคมกำลังสร้างสังคม"มิติเดียวขึ้นมา"โดยไม่มีการคัดค้านหรือคู่ต่อสู้เลย.
37. กล่าวกันว่า "ทฤษฎีวิพากษ์"ได้เสนอมุมมองทางด้านทฤษฎีที่ก้าวหน้ามากที่สุดขึ้นภายในทฤษฎีสังคมร่วมสมัย
จากปีทศวรรษ 1930s เป็นต้นมาจนกระทั่งถึงช่วงต้นของทศวรรษที่ 1960s หลังจากนั้นมันก็ไม่ได้มีการพัฒนาต่อไป
38. ทฤษฎีวิพากษ์ทะเลาะกับทฤษฎีโพสท์โมเดิร์น และถ้าเผื่อทฤษฎีวิพากษ์ต้องการที่จะพบกับความท้าทายของยุคโพสท์โมเดิร์น
และนำเอาบทบาทของตัวมันกลับคืนมา ในฐานะที่เป็นแนวหน้าของทฤษฎีสังคม มันจะต้องแสวงหาทิศทางใหม่ๆและตระเตรียมคำอธิบายในเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการร่วมสมัยในในขอบเขตความรู้ที่กว้างขวางกว่าเดิม.
8. ทิศทางใหม่ๆ: มุมมองใหม่ๆ (บทสรุป) (New Directions; New Perspectives)
ด้วยการแตกออกเป็นส่วนๆ, ความไม่เป็นสาระของมัน, เรื่องหยุมหยิมๆ, และการทำให้เป็นวิชาการ, ทฤษฎีสังคมทุกวันนี้กำลังตกอยู่ในวิกฤตที่รุนแรง และต้องการทิศทางใหม่ๆ รวมถึงมุมมองและทัศนียภาพใหม่ๆ ซึ่งทฤษฎีวิพากษ์สามารถที่จะมาช่วยเหลือได้.
ขณะที่ทฤษฎีวิพากษ์ได้หยุดพัฒนา และยุติเงื่อนไขและพัฒนาการใหม่ๆทางสังคมที่เด่นชัด, ทฤษฎีสังคมหลังสมัยใหม่และทฤษฎีสังคมหลังอุตสาหกรรมต่างๆ ก็ขาดเสียซึ่งความน่าไว้วางใจหรือข้อผูกมัดที่มั่นคงต่อการวิจัยทางสังคม, การวิพากษ์สังคม, และการปฏิบัติการทางสังคม ซึ่งเราจะพบสิ่งเหล่านี้ได้ในบรรดานักเขียนที่เยี่ยมยอดทั้งหลายของทฤษฎีวิพากษ์. ขณะเดียวกัน สกุลความคิดทั้งสองก็เสนอความท้าทายอันทรงพลังต่อทฤษฎีกระแสหลัก
ยิ่งไปกว่านั้น เรายังเชื่อว่า เป้าหมายตามจารีตของทฤษฎีวิพากษ์ เกี่ยวกับการนำเสนอทฤษฎีสำหรับยุคปัจจุบัน และการเมืองในระดับราก จะตระเตรียมมุมมองต่างๆที่เหนือกว่า เกี่ยวกับข้อสงสัยอันผุพัง และลัทธิทำลายล้าง ซึ่งพบมากในทฤษฎีหลังสมัยใหม่ส่วนใหญ่ ซึ่งไร้สมรรถภาพทั้งในการสืบสาวทางทฤษฎีและปฏิบัติการทางการเมือง.
แต่ถ้าหากว่า ทฤษฎีวิพากษ์พยายามจะช่วยค้นหาทางออกเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ร่วมสมัยของทฤษฎีสังคม, มันก็จะต้องพัฒนาตัวเองไปในมุมมองใหม่ๆ.
ในทางตรงข้ามกับแบบจำลองก่อนหน้านั้นเกี่ยวกับ"สังคมมิติเดียว", บรรดานักทฤษฎีวิพากษ์ทุกวันนี้ ควรจะเพ่งเล็งไปบนความขัดแย้ง, การเป็นปรปักษ์ และความโน้มเอียงต่างๆของวิกฤตในสังคมทุนนิยมร่วมสมัย. ความไม่สนใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมืองและการวิจัยเชิงประสบการณ์ซึ่งพบอยู่ในทฤษฎีวิพากษ์เป็นจำนวนมาก
เราควรจะขานรับต่อการวิเคราะห์ในเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการภายในเศรษฐกิจทุนนิยม และเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆในการแบ่งชั้นทางสังคม, ขบวนการแรงงาน, เทคโนโลยีใหม่, สื่อ, และการเมือง.
ในด้านตรงข้ามกับเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง และกระทั่งถอนตัวจากเรื่องการเมืองของทฤษฎีวิพากษ์ ซึ่งยังคงแพร่หลายอย่างต่อเนื่อง, คนเหล่านั้นซึ่งปรารถนาที่จะฟื้นฟูทฤษฎีวิพากษ์ขึ้นมา ควรจะพยายามมุ่งไปสู่การทำให้มันเป็นเรื่องการเมือง เพื่อเชื่อมโยงมันกับขบวนการทางสังคมใหม่ๆ และดำรงการต่อสู้ทางการเมืองไว้.
ขณะที่เราได้เคลื่อนเข้าสู่ทศวรรษที่ 1990s และข้ามมาถึงสหัสวรรษใหม่ ภารกิจทางด้านทฤษฎีและการเมืองมากมายมันยืนอยู่ต่อหน้าเรา. ถ้าเผื่อว่าทฤษฎีวิพากษ์ปรารถนาที่จะมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงไปสู่ฝ่ายซ้าย( the Left Turn) ก็ต้องขจัดความเป็นเจ้าโลกหรือการทรงอิทธิพลในปัจจุบันของพวกฝ่ายขวา(the Right) และช่วยสร้างสังคมที่ดีขึ้น, มันต้องพัฒนาทั้งในด้านการวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน และการเมืองใหม่เพื่อที่จะเป็นแนวหน้าขึ้นมาอีกครั้งของทฤษฎีสังคมในระดับราก [10]
อ้างอิง (จากต้นฉบับผู้เขียน)
[1] On critical theory and the Institute for Social Research, see Jay (1973), Wiggershaus (1986), and Kellner (1989a). I shall draw upon this book here, as well as the introduction to Bronner and Kellner (1989) and Kellner (1989c).
[2] Most of the early sections of this paper focus on Horkheimer because as Director of the Institute he generally presented the key methodological arguments defining critical theory during the 1930s. Later, Marcuse, Adorno, and Habermas would develop somewhat different conceptions. To a reader wishing a first introduction to critical theory, I would suggest reading the aphorisms in Horkheimer (1978), the essays in Horkheimer (1972), Marcuse (1968), and Bronner and Kellner (1989).
[3] I would reject Brunkhorst's claim (1985) that Horkheimer was at the time "anti-philosophy" (1985:357), or that he performed "a sublation (Aufhebung) of philosophy into science" (1985:379). Instead, I am arguing that all phases of critical theory are characterized by a synthesis, a dialectical mediation, of science and philosophy, although the relationship is portrayed differently at different stages and in different texts and theorists. For example, throughout his career, Horkheimer would present different, usually aphoristic, notions of philosophy and science and their relationships. (Compare, e.g., Horkheimer 1972:34ff., 182ff., and 188ff. Consequently, his concepts of philosophy, science, and their relationships are constantly shifting, though after Dialectic of Enlightenment he was generally critical of science, technology, and instrumental rationality.
[4] For elaborations of this position, see Sohn-Rethel (1978) and Young (1977).
[5] On varying conceptions of the concept of totality, see Jay (1984) and for a "war on totality," see Lyotard (1984). New French theory tends to draw semantic and theoretico-political connections between "totality" and "totalitarian" and to reject all totalizing modes of thought as inherently repressive, reductionist and totalitarian. Such broadside polemics erase differences between varying concepts and uses of totality, however, and are themselves totalizing and reductive, covering over the multiplicity of modes of totalizing theories.
[6] For the Institute analyses of fascism see the articles collected in Bronner and Kellner (1989) and the discussion in Kellner (1989a).
[7] On Adorno's contributions to critical theory, see Buck-Morss (1977) and Kellner (1989a).
[8] See the documentation in Wiggershaus (1986) and Kellner (1989a).
[9] Because of space considerations, I am omitting detailed discussion of Habermas' later methodological and substantive developments of critical theory which are discussed in McCarthy (1978) and Kellner (1989a).
[10] I attempt to develop such an analysis in Kellner 1990.
หนังสืออ้างอิง (จากต้นฉบับผู้เขียน)
Adorno, Theodor W. 1973.
Negative Dialectics.New York: Seabury.
Adorno, Theodor W. 1984.
Aesthetic Theory. London: Routledge.
Adorno, Theodor W. et
al. 1976. The Positivist Dispute in German Sociology. London: Routledge.
Heinemann. Benhabib, Seyla.
1986. Critique, Norm, and Utopia. New York: Columbia University Press.
Bronner, Stephen Eric and Douglas Kellner (1989) Critical Theory and Society:
A Reader. New York and London: Routledge.
Breuer, Stefan. 1985. "Horkheimer oder Adorno: Differenzen im Paradigmakern
der kritischen Theorie," Leviathan, 13, 3: 357-375.
Brunkhorst, Hauke. 1985. "Dialektischer Positivismus des Glucks," Zeitschrift
fur Philosophische Forschung, Band 39, Heft 8: 353-381.
Buck-Morss, Susan. 1977. The Origins of Negative Dialectics. New York: The
Free Press.
Dubiel, Helmut. 1985. Theory and Politics. Cambridge: MIT Press.
Habermas, Jurgen. 1975. Legitimation Crisis. Boston: Beacon Press.
--- 1984; 1987. Theory of Communicative Action, Vols. I and II. Boston: Beacon
Press.
--- 1987. The Philosophical Discourse of Modernity. Cambridge, Ma.: MIT Press.
Hilferding, Rudolf. 1981. Finance Capital. London: Routledge.
Horkheimer, Max and Theodor W. Adorno. 1972. Dialectic of Enlightenment. New
York: Herder and Herder.
Horkheimer, Max. 1932. "Vorwort." Zeitschrift fur Sozialforschung. Vol. 1:i-iv.
--- 1972. Critical Theory. New York: Herder and Herder.
--- 1978. Dawn and Decline. Notes. 1926-1931 and 1950-1969. New York: Seabury.
--- 1989. "The State of Contemporary Social Philosophy and the Tasks of an
Institute for Social Research." Pp. 25-36 in Bronner and Kellner 1989, op.
cit.
Jay, Martin. 1973. The Dialectical Imagination. Boston: Little, Brown and
Company.
--- 1984. Marxism and Totality. Berkeley: University of California Press.
Kellner, Douglas. 1984. Herbert Marcuse and the Crisis of Marxism. London
and Berkeley: Macmillan and University of California Press.
--- 1988. "Postmodernism as Social Theory: Some Problems and Challenges,"
Theory, Culture & Society, Vol. 5:240-269.
--- 1989a. Critical Theory, Marxism, and Modernity. Cambridge and Baltimore:
Polity Press and John Hopkins University Press.
--- 1989b. Jean Baudrillard: From Marxism to Postmodernism and Beyond. Cambridge
and Palo Alto: Polity Press and Stanford University Press.
--- 1989c. "Boundaries and Borderlines: Reflections on Jean Baudrillard and
Critical Theory." Current Perspectives in Social Theory, Vol. 9:5-22.
-- 1990. Television and the Crisis of Democracy. Boulder, Co: Westview.
--- Lowenthal, Leo. 1986. "The Utopian Motif is Suspended: Conversation with
Leo Lowenthal," New German Critique 38:105-111.
Lukacs, Georg.
1971. History and Class Consciousness. Cambridge: MIT Press,. 1971.
Lyotard, Jean-Francois. 1984. The Postmodern Condition. Minneapolis: University
of Minnesota Press.
Marcuse, Herbert. 1964. One-Dimensional Man. Boston: Beacon Press. 1968. 000000000
--- Negations. Essays in Critical Theory. Boston: Beacon Press.
McCarthy, Thomas. 1978. The Critical Theory of Jurgen Habermas. Cambridge,
Mass: MIT Press.
Neumann, Franz.1941. Behemoth. New York: Oxford University Press. Pollock,
Frederick. 1989. "State Capitalism: Its Possibilities and Limitations." Pp.
95-118 in Bronner and Kellner 1989, op. cit
Sohn-Rethel, Alfred. 1978. Intellectual and Manual Labor. London: Macmillan.
Wiggershaus, Rolf. 1986. Die Frankfurter Schule. Munich: Hanser.
Young, Robert. 1977. "Science as Social Relations." Radical Science Journal
5:65-131.
กลับไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
ศัพท์คำว่า"ทฤษฎีวิพากษ์"(Critical Theory) ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1937 ภายหลังจากที่สมาชิกหลักส่วนใหญ่ของสถาบันแห่งนี้ ได้อพยพไปอยู่ในสหรัฐอเมริกากันแล้ว
หลายปีทีเดียวที่ศัพท์คำว่า"ทฤษฎีวิพากษ์"ได้ยืนหยัดอยู่ ในฐานะที่เป็นคำระหัส สำหรับลัทธิมาร์กซ์ของสถาบันแห่งนี้(a codeword for the Institute's Marxism) และเป็นความพยายามที่จะก่อตั้งทฤษฎีสังคมขั้นรากฐานที่เหนือสาขาวิชาขึ้นมา (supradisciplinary social theory)