Economic
globalization has become a war against nature and the poor
โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจกลายเป็นสงครามอันหนึ่ง ซึ่งต่อสู้กับธรรมชาติและความยากจน
เมื่อไม่นานมานี้
ข้าพเจ้าได้ไปเยี่ยม Bhatinda ในแคว้นปัญจาบ
เนื่องมาจากเกิดการระบาดของการฆ่าตัวตายของพวกชาวนา. แคว้นปัญจาบเคยเป็นดินแดนทางด้านเกษตรกรรมที่มีความรุ่งเรืองมากที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดีย.
แต่ในทุกวันนี้ ชาวนาและเกษตรกรทุกคนกลับเป็นหนี้เป็นสินและสูญเสียความหวังของตนเอง.
พื้นที่ที่เหยียดยาวแผ่ออกไปของดินแดนแห่งนี้กลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ซึ่งมีน้ำท่วมขัง.
และอย่างที่ชาวนาชราภาพคนหนึ่งเอ่ยเอาไว้ว่า,
แม้แต่ต้นหมากรากไม้ยังหยุดผลิดอกออกผล เพราะการใช้ยาฆ่าแมลงกันมากจนเกินไป
ได้ไปล้างผลาญตัวแมลงที่ทำหน้าที่ผสมละอองเกสรต่างๆ - นั่นคือ ผึ้ง และ ผีเสื้อ.
และแคว้นปัญจาบไม่ใช่พื้นที่เพียงแห่งเดียวที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับความหายนะทางนิเวศวิทยาและทางสังคมอันนี้.
ที่อัตรประเทศก็เช่นกัน, ที่ซึ่งชาวนาทั้งหลายได้กระทำอัตวินิบาตกรรมตนเอง. บรรดาชาวนาและเกษตรกรทั้งหลายที่เคยปลูกถั่วปลูกข้าว
ตามประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมา ได้ถูกล่อหลอกโดยบริษัทเมล็ดพันธุ์ต่างๆ ให้ซื้อเมล็ดฝ้ายพันธุ์ผสม
ซึ่งบริษัทเหล่านั้นอ้างว่ามันเป็น"ทองคำขาว", "ทองคำขาว"คือสิ่งที่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเป็นจินตนาการใหม่
เพื่อหลอกล่อให้ชาวนาทั้งหลายเชื่อว่า พวกเขาจะกลายเป็นเศรษฐีขึ้นมา. แทนที่จะบรรจบกับจินตนาการเหล่านั้นพวกเขากลับกลายเป็นยาจกเข็ญใจ.
เมล็ดพันธุ์พื้นเมืองได้ถูกแทนที่ด้วยเมล็ดพันธุ์ผสมชนิดใหม่ ซึ่งไม่อาจที่จะเก็บรักษาเอาไว้ได้ และต้องซื้อหามาใช้ทุกๆปีด้วยต้นทุนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ. เมล็ดพันธุ์ผสมเหล่านี้มันยังถูกทำลายได้ง่ายมากโดยศัตรูพืชที่เข้าโจมตี. ค่าใช้จ่ายๆเกี่ยวกับยาฆ่าแมลงใน Warangal ได้เพิ่มขึ้นถึง 2000 เปอร์เซนต์. จากที่เคยจ่ายประมาณ 2.5 ล้านเหรียญในทศวรรษที่ 1980s ไปเป็น 50 ล้านปอนด์ในปี ค.ศ.1997. มาถึงตอนนี้ ชาวนาทั้งหลายกำลังกลายเป็นแมลงที่บริโภคยาฆ่าแมลงชนิดเดียวกันนี้เพื่อฆ่าตัวเอง ทั้งนี้เพราะ พวกเขาไม่อาจหลุดรอดไปจากหนี้สินที่ไม่มีวันที่จะจ่ายคืนได้อย่างถาวรนั่นเอง.
สำหรับบรรษัทต่างๆในเวลานี้ กำลังพยายามที่จะแนะนำเมล็ดพันธุ์ที่มีการตัดต่อพันธุกรรม, ซึ่งจะยิ่งมาเพิ่มต้นทุนและความเสี่ยงทางนิเวศวิทยามากขึ้น. นั่นคือสาเหตุที่ว่า ทำไมชาวนาทั้งหลาย อย่าง Malla Reddy แห่งสหภาพชาวนาในแคว้นอัตรประเทศ จึงถอนรากถอนโคนฝ้าย Bollgard ซึ่งมีการตัดต่อทางพันธุกรรมของบริษัท Monsanto ทิ้งเสียใน Warangal.
วันที่ 27 มีนาคม, ชาวนาอายุ 25 ปี ชื่อว่า Betavati Ratan ได้กระทำอัตวินิบาตกรรมตัวเอง ทั้งนี้เนื่องมาจากว่า เขาไม่สามารถชำระคืนหนี้สินที่ไปกู้มาคืนได้ สำหรับการขุดบ่อน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรในเนื้อที่ 2 เอเคอร์. และตอนนี้ บ่อน้ำที่เจาะก็แห้งผาก เช่นเดียวกับบ่อน้ำทั่วๆไปในคุจราช และราชาสถาน ที่ซึ่งประชากรประมาณ 50 ล้านคนต้องเผชิญกับภัยแล้ง.
ภัยแล้งที่ยาวนานมิใช่การทำลายล้างหรือหายนะตามธรรมชาติ, มันเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น. มันเป็นผลอันเนื่องมาจากการขุดหาน้ำบาดาลในถิ่นทุรกันดาร เพื่อเลี้ยงดูพืชผลการเกษตรที่กระหายน้ำเพื่อการส่งออกและเงินสด แทนพืชพันธุ์ที่ใช้น้ำอย่างประหยัดเพื่อสนองความต้องการของท้องถิ่น
มันเป็นประสบการณ์ดังที่ยกมาเหล่านี้ ซึ่งได้บอกกับเราว่า เราผิดมากที่ไปให้ความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจโลกใหม่. มันถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องหยุดคิดและมาทบทวนกันใหม่ ถึงผลกระทบของโลกาภิวัตน์ซึ่งมีต่อความเป็นอยู่ของผู้คนธรรมดา. ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ถ้าหากว่าเราต้องการที่จะบรรลุถึงความยั่งยืน
เหตุการณ์ที่ซีแอทเทิล และการประท้วงองค์กรการค้าโลกเมื่อปีที่แล้ว ได้บีบบังคับให้ทุกๆคนหวนคิดใหม่อีกครั้ง. สำหรับข้าพเจ้า ถึงเวลาแล้วตอนนี้ที่จะประเมินกันใหม่อย่างถึงราก เกี่ยวกับสิ่งที่เรากำลังทำอยู่. สำหรับอะไรที่เรากำลังทำในนามของโลกาภิวัตน์ต่อคนยากจน ซึ่งโหดเหี้ยมดุดการกระทำของสัตว์ป่าและไม่อาจให้อภัยได้. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดังที่ปรากฏหลักฐานในประเทศอินเดีย ในฐานะที่พวกเราเป็นพยานการรู้เห็นถึงความหายนะที่ปรากฎขึ้นมาของโลกาภิวัตน์, โดยเฉพาะในเรื่องของอาหารและเกษตรกรรม.
ใครเป็นผู้เลี้ยงดูและป้อนอาหารให้กับโลก
?
ต่อคำถามนี้ คำตอบเป็นไปอย่างหลากหลายจากผู้ที่ตอบคำถามส่วนใหญ่. ผู้หญิงและชาวนาตัวเล็กๆที่ทำงานอยู่กับความหลากหลายทางชีวภาพ
ผู้ซึ่งเป็นคนกลุ่มแรกๆที่ได้ทำการตระเตรียมและจัดหาอาหารในโลกที่สาม และ, ตรงข้ามกับสมมุติฐานหลักที่สำคัญคือ,
ความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มคนเหล่านี้ มีฐานอยู่บนระบบฟาร์มขนาดเล็กต่างๆ
ซึ่งได้ให้ผลผลิตมากยิ่งกว่าไร่ที่ทำการปลูกพืชเชิงเดียวในทางอุตสาหกรรม.
ความอุดมสมบูรณ์ของความหลากหลาย และระบบอันยั่งยืนทางด้านการผลิตอาหารได้ถูกทำลายล้างลงในนามของการเพิ่มผลผลิตทางด้านธัญพืช. และในเวลาเดียวกันด้วยการทำลายล้างนั้นเกี่ยวกับความหลากหลายอันนั้น ได้ทำให้ต้นตอที่อุดมสมบูรณ์เกี่ยวกับการโภชนาการได้หดหายไปด้วย. และเมื่อวัดกันในเทอมต่างๆของโภชนาวิทยาต่อเอเคอร์, และจากมุมมองของความหลากหลายทางชีวภาพ, สิ่งที่ได้รับการเรียกว่า"การให้ผลผลิตสูง"ของเกษตรอุตสาหกรรม มิได้มีนัยบ่งถึงผลผลิตทางด้านอาหารและโภชนาการที่เพิ่มขึ้น.
การให้ผลผลิตในเชิงเกษตรอุตสาหกรรม ปกติแล้ว อ้างถึงผลิตผลต่อหน่วยพื้นที่ของพืชเชิงเดี่ยว. ส่วนผลิตผลที่ได้ออกมาของชาวนา อ้างอิงถึงผลผลิตทั้งหมดของพืชพันธุ์อันหลากหลาย. การเพาะปลูกพืชเพียงอย่างเดียวในไร่นาทั้งหมด อย่างเช่น การปลูกพืชเชิงเดี่ยว แน่นอน จะเพิ่มการให้ผลผลิตแต่ละชนิดของมัน. ส่วนการเพาะปลูกพืชพันธุ์หลายๆชนิดในลักษณะผสม จะให้ผลผลิตที่ต่ำกว่าพืชเชิงเดี่ยว, แต่มันจะให้ผลผลิตออกมาทางด้านอาหารทั้งหมดได้สูงกว่า. การให้ผลผลิตต่างๆได้รับการนิยามหรือกำหนดใหม่ในหนทางของเกษตรอุตสาหกรรม เกี่ยวกับการสร้างผลผลิตทางอาหารในฟาร์มขนาดเล็ก, โดยที่ชาวนาตัวเล็กๆได้หายสาบสูญไป.
อันนี้ได้หมกซ่อนการผลิตโดยหญิงชาวนานับเป็นจำนวนล้านในโลกที่สาม - ชาวนาทั้งหลายก็เหมือนๆกันกับชาวนาชาวไร่แถวหิมาลายาซึ่งเป็นดินแดนบ้านเกิดของข้าพเจ้า ผู้ซึ่งได้ต่อสู่กับการตัดไม้ในขบวนการ Chipko, ผู้ซึ่งในพื้นที่ทำนาขั้นบันไดได้ปลูก Jhangora (ข้าวฟ่าง), Marsha(บานไม่รู้โรย), Tur(ถั่วสำหรับนกพิราบ), Urad(ถั่วดำ), Gahat(ถั่วสำหรับเลี้ยงม้า), ถั่วเหลือง(glycine max), Bhat(glycine soya), Rayans(ข้าวงา), Swanta(ถั่วที่ให้วัวกิน), Koda(ข้าวเดือย). จากมุมมองความหลากหลายทางชีวภาพ, ผลผลิตจากฐานของความหลากหลายทางชีวภาพนั้น สูงกว่าผลผลิตของการปลูกพืชเชิงเดี่ยว. ข้าพเจ้าเรียกความมืดบอดนี้ต่อผลผลิตสูงของความหลากหลายว่า"วัฒนธรรมเชิงเดียวทางด้านจิตใจ", ซึ่งได้สร้างการบ่มเพาะพืชเชิงเดี่ยวขึ้นมาในไร่นาของพวกเรา.
บรรดาชาวนาทั้งหลายของชนเผ่ามายันใน Chiapas (รัฐที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเม็กซิโกที่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิค)ได้รับการอธิบายว่า เป็นพวกที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิต เพราะพวกเขาผลิตข้าวโพตได้เพียง 2 ตันต่อเอเคอร์เท่านั้น. แต่อย่างไรก็ตาม, ผลผลิตทางด้านอาหารที่ได้ออกมาทั้งหมดคือ 20 ตันต่อเอเคอร์ เมื่อความหลากหลายของถั่วต่างๆ และพวกแตงน้ำเต้า, พืชผักและผลไม้ของพวกเขาได้ถูกนับรวมเข้าไปด้วย.
ในเกาะชวา ชาวนาเล็กๆบ่มเพาะพืชพันธุ์ได้ถึง 607 ชนิดพันธุ์ในสวนที่บ้านของพวกเขา.
ในดินแดน sub-saharan Africa ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนอัฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า, พวกผู้หญิงได้เพาะปลูกพืชพันธุ์ต่างๆได้มากกว่า 120 ชนิดในพื้นที่ว่างด้านซ้ายที่อยู่ติดกับพืชทำเงิน, และอันนี้เป็นแหล่งต้นตอหลักเกี่ยวกับความมั่นคงทางด้านอาหารของสมาชิกในครอบครัว.
ณ สวนหลังบ้านในเมืองไทยเพียงแห่งเดียวมีพืชพันธุ์ที่ขึ้นอยู่มากกว่า 230 ชนิด, และในสวนหลังบ้านของอัฟริกาก็มีพืชพันธุ์หรือต้นไม้มากกว่า 60 ชนิดขึ้นอยู่ที่นั่น. ครอบครัวในชนบทในประเทศคองโกกินผักประเภทใบเป็นอาหาร ซึ่งต้นผักเหล่านี้มีมากกว่า 50 สายพันธุ์ทีเดียว.
การศึกษาในประเทศไนจีเรียตะวันออกพบว่า สวนหลังบ้านต่างๆของผู้คน ครอบครองพื้นที่เพียง 2% ของพื้นที่เพาะปลูกของครอบครัว ซึ่งได้ทำหน้าที่รับผิดชอบสำหรับครึ่งหนึ่งของผลผลิตทั้งหมดที่ออกมาจากฟาร์ม. ในทำนองเดียวกัน, สวนหลังบ้านต่างๆในประเทศอินโดนีเซียได้รับการประเมินว่า ได้เป็นที่มาของรายได้ในครอบครัวมากกว่า 20% และยังเป็นที่มาของอาหารการกินในบ้านถึง 40%.
งานวิจัยที่ทำโดย FAO ได้แสดงให้เห็นว่า ฟาร์มที่มีความหลากหลายทางชีวภาพขนาดเล็กสามารถสร้างผลผลิตด้านอาหารได้เป็นพันๆเท่าๆ มากกว่าฟาร์มที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งทำการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวในทางอุตสาหกรรม. และความหลากหลายเป็นกโลบายที่เยี่ยมยอดที่สุดสำหรับการปกป้องภัยแล้งและกระบวนการที่ทำให้เกิดความเป็นทะเลทรายขึ้นมา.
สิ่งที่โลกเรานี้ต้องการ เพื่อป้อนอาหารและเลี้ยงดูให้กับการเจริญเติบโตของจำนวนประชากรในลักษณะที่ยั่งยืน ก็คือ ความหลากหลายทางชีวภาพในลักษณะที่เข้มข้น, ไม่ใช่การใช้สารเคมีอย่างเข้มข้น หรือการใช้วิธีการทางวิศวพันธุกรรม. ขณะที่ผู้หญิงและชาวนาคนเล็กคนน้อยป้อนอาหารให้กับโลกโดยผ่านความหลาหลายทางชีวภาพ, เราได้รับการบอกอย่างซ้ำๆซากๆว่า หากปราศจากวิธีการทางด้านวิศวพันธุกรรมและโลกาภิวัตน์ทางเกษตรกรรม โลกของเราก็จะอดอยากและหิวโหย. ทั้งๆที่พยานหลักฐานในเชิงประจักษ์จะแสดงให้เห็นว่า วิศวพันธุกรรมไม่ได้ผลิตอาหารมากขึ้น และอันที่จริง บ่อยครั้ง มันกลับน้อมนำไปสู่ผลผลิตที่ออกมาแย่ลงตามลำดับ, แต่มันก็ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอยู่เสมอ ในฐานะที่เป็นทางเลือกที่ใช้การได้เพียงหนทางเดียว สำหรับการผลิตอาหารเพื่อป้อนให้กับปากที่หิวโหย.
นั่นคือสาเหตุที่ว่า ทำไมข้าพเจ้าจึงตั้งคำถามว่า, ใครคือผู้ที่ป้อนอาหารให้กับโลกใบนี้ ?
ความมืดบอดโดยเจตนานี้ต่อความหลากหลาย, ความมืดบอดต่อการผลิตของธรรมชาติ, การผลิตโดยบรรดาผู้หญิงตัวเล็กๆ, การผลิตโดยชาวนาชาวไร่ในประเทศโลกที่สาม, ยอมให้การทำลาย และการบังคับซื้อเมล็ดพันธุ์ ถูกฉายออกมาในฐานะที่เป็นการสร้างสรรค์.
จับเอากรณีของการโอ้อวดเกี่ยวกับ"ข้าวรวงทอง"หรือข้าวซึ่งมีวิตามิน A ที่ถูกทำขึ้นมาในทางวิศวพันธุกรรม ในฐานะที่เป็นการบำบัดรักษาอันหนึ่งสำหรับความมืดบอด. มันได้ถูกทึกทักเอาว่า ถ้าปราศจากวิธีการทางวิศวพันธุกรรมแล้ว เราไม่สามารถที่จะขจัดวิตามิน A ที่มีไม่เพียงพออกไปได้.
แต่อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติได้ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่เรา และแหล่งกำเนิดที่หลากหลายของวิตามิน A. ถ้าหากว่า"ข้าวไม่ได้รับการขัดสี" ข้าวในตัวมันเองก็จะให้วิตามิน A. ถ้าหากว่ายากำจัดวิชพืชต่างๆไม่ได้ถูกฉีดพ่นลงบนทุ่งข้าวสาลี, เราก็จะมี bathua, amaranth, mustard leaves ในฐานะที่เป็นผักใบเขียวที่เอร็ดอร่อยและเจริญอาหาร.
ผู้หญิงในเบงกอลได้ใช้พืชผักมากกว่า 150 ชนิด มาทำเป็นอาหารให้กับครอบครัวในฐานะที่เป็นพืชที่เราอาศัยกินใบ, แต่มายาคติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ ได้นำเสนอเทคโนโลยีชีวภาพในฐานะที่เป็นตัวสร้างวิตามิน A, โดยการปฏิเสธของขวัญที่เป็นความหลากหลายของธรรมชาติ และความรู้ของบรรดาผู้หญิงเกี่ยวกับการนำเอาความหลากหลายอันนี้มาใช้ เพื่อเลี้ยงดูลูกๆของพวกเธอและครอบครัว.
วิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดของปฏิบัติการการทำลายล้างเกี่ยวกับธรรมชาติ, เศรษฐกิจชุมชน และผู้ผลิตที่มีอิสระรายเล็กก็คือ โดยการปฏิบัติกับผลผลิตของพวกเขาโดยการทำเป็นมองไม่เห็นเสีย
ผู้หญิงซึ่งทำการผลิตเพื่อครอบครัวของพวกเธอและชุมชนต่างๆได้รับการปฏิบัติในฐานะที่เป็น"ผู้ไม่ได้ทำการผลิต"(non productive) และเป็นบุคคลที่"ไม่ก่อให้เกิดผลทางเศรษฐกิจ"(economically inactive). การลดคุณค่าเกี่ยวกับงานของพวกผู้หญิงลงมา, และงานที่ทำในภาคเศรษฐกิจที่ยั่งยืน, เป็นผลอันเนื่องมาจากระบบคิดอันหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยนักทุนนิยมที่ผู้ชายเป็นใหญ่(capitalist patriarchy). อันนี้คือเหตุผลที่ว่า โลกาภิวัตน์ได้ทำลายเศรษฐกิจชุมชนลงไปอย่างไร ? และการทำลายตัวของมันเองนั้น ได้ถูกนับว่าเป็นความเจริญเติบโตด้วย.
และผู้หญิงเองนั้นได้ถูกลดคุณค่าลงมา, เพราะสำหรับผู้หญิงจำนวนมากในท้องถิ่นและในชุมชนต่างๆโดยกำเนิด งานของพวกเธอได้กระทำร่วมกันกับกระบวนการของธรรมชาติ, และบ่อยครั้ง มันเป็นไปในลักษณะที่ตรงข้ามกันกับ"การพัฒนา" ที่เป็นการขับเคลื่อนของตลาดกระแสหลัก และนโยบายเกี่ยวกับการค้าขายต่างๆ.
การลดคุณค่าลงมา และการทำเป็นมองไม่เห็น(devaluation and invisibility)เกี่ยวกับความยั่งยืน ที่ผู้หญิงเป็นผู้ธำรงรักษาเอาไว้มาเป็นเวลานาน, ตอนนี้ได้ถูกแทนที่โดยผลผลิตที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งกำลังเป็นไปอย่างเจิดจ้ามากในพื้นที่ของการอาหาร. ขณะที่การแบ่งแยกในลักษณะที่ผู้ชายเป็นใหญ่เกี่ยวกับแรงงาน ได้กำหนดให้ผู้หญิงมีบทบาทเกี่ยวกับเลี้ยงดูครอบครัวของพวกเธอและชุมชนต่างๆ, เศรษฐกิจแบบผู้ชายเป็นใหญ่และทัศนะที่ถือว่า ผู้ชายเหนือกว่าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ทำให้งานของผู้หญิงทั้งหลาย ในการจัดหาอาหารเพื่อการเลี้ยงดูครอบครัว กลายเป็นสิ่งที่สาบสูญอันตรธานไปเหมือนการใช้มนต์วิเศษ. และขณะนี้ การเลี้ยงดูชาวโลกกลายเป็นสิ่งที่ถูกแยกขาดไปจากความสัมพันธ์กับพวกผู้หญิง ซึ่งอันที่จริง พวกเธอได้กระทำสิ่งเหล่านี้มานับพันปี. แต่ตอนนี้ภาพดังกล่าว มันได้ถูกฉายฉานออกมาในฐานะที่ต้องขึ้นอยู่กับธุรกิจการเกษตรโลกา และบรษัทเทคโนโลยีชีวภาพต่างๆ.
การทำให้เป็นอุตสาหกรรม และเรื่องของวิศวพันธุกรรมทางด้านอาหาร และโลกาภิวัตน์ทางการค้าในเรื่องของเกษตรกรรม เป็นตำรับยาหรือวิธีการบรรลุเป้าหมายสำหรับการสร้างสรรค์บรรดาผู้หิวโหยขึ้นมา, ไม่ใช่การป้อนอาหารให้กับคนจนๆ.
ในที่ทุกแห่ง ผลผลิตทางด้านอาหารกำลังกลายเป็นเศรษฐกิจเชิงลบ(negative economy) โดยที่ชาวนาเป็นจำนวนมากต้องใช้จ่ายเงินซื้อหามาด้วยต้นทุนที่สูงลิบลิ่ว สำหรับผลผลิตในเชิงอุตสาหกรรม มากกว่าราคาที่พวกเขาจะได้รับสำหรับผลผลิตที่พวกเขานำออกขาย. ผลที่ตามมาก็คือ การตกเป็นเหยื่อที่มีหนี้สินพะรุงพะรัง และเกิดการระบาดของการฆ่าตัวตายขึ้นมากมายทั้งในประเทศที่ร่ำรวยและยากจน
โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ
โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ กำลังน้อมนำผู้คนไปสู่การเอาใจใส่อย่างจดจ่อเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์พืช,
การใช้ยาฆ่าแมลงเพิ่มมากขึ้น, และในท้ายที่สุด ก็มีหนี้สินทับทวีขึ้น. ความเข้มข้นของทุนนิยม,
เกษตรกรรมควบคุมโดยบริษัทธุรกิจกำลังแผ่ขยายไปในดินแดนต่างๆ ที่ซึ่งชาวนาและเกษตรกรทั้งหลายต่างยากจนลง.
แต่จนกระทั่งบัดนี้ ก็ยังสามารถเลี้ยงตนเองได้ในด้านอาหาร. ในพื้นที่ต่างๆ ที่ซึ่งเกษตรกอุตสาหกรรมได้รับการแนะนำโดยผ่านโลกาภิวัตน์,
ต้นทุนที่สูงขึ้น กำลังทำให้มันเป็นไปไม่ได้เลย สำหรับการที่ชาวชนาคนเล็กคนน้อยจะอยู่รอดต่อไปได้.
โลกาภิวัตน์เกี่ยวกับเกษตรอุตสาหกรรมที่ไม่ยั่งยืน กำลังทำให้รายได้ของชาวนาประเทศโลกที่สามระเหยกลายเป็นไอ โดยผ่านการรวมเข้ากับ"การลดค่าของเงิน"ลงมา, จากการลดค่าเงินนี้ได้ไปเพิ่มต้นทุนให้สูงขึ้น และไปทำลายราคาพืชผลเกษตรกรรมให้พินาศลง.
ชาวนาในทุกๆที่กำลังต้องจ่ายส่วนที่ซึ่งพวกเขาเคยได้รับ สำหรับสินค้าเกษตรกรรมอย่างเดียวกันเมื่อหนึ่งทศวรรษที่แล้ว. ในสหรัฐอเมริกา ราคาข้าวสาลีได้ตกลงมาจาก 5.75 เหรียญ, มาอยู่ที่ 2.43 เหรียญ, ราคาของ soya bean หรือ ถั่วที่ใช้เลี้ยงสัตว์ก็ตกลงมาจาก 8.40 เหรียญ, มาอยู่ที่ 4.29 เหรียญ, และราคาข้าวโพตก็ลดลงมาจาก 4.43 เหรียญ, มาอยู่ที่ 1.72 เหรียญต่อหน่วย. ในประเทศอินเดีย, จากปี 1999 ถึง 2000, ราคากาแฟได้ตกลงมาจาก 60 รูปี, มาอยู่ที่ 18 รูปี ต่อกิโกกรัม, และราคาของเมล็ดพืชที่ให้น้ำมันต่างๆ ก็ลดลงมามากกว่า 30 %.
สหภาพชาวนาชาวไร่แห่งชาติของคานาดาก็มีลักษณะเดียวกันนี้ ในรายงานขององค์กรดังกล่าวแก่วุฒิสภาในปีนี้ ชี้ว่า: "ในขณะที่ชาวนาทั้งหลายได้ปลูกเมล็ดธัญพืช - ข้าวสาลี, ข้าวโอ๊ทต่างๆ, ข้าวโพต, - กำไรที่ได้มากลับเป็นไปในเชิงลบ และพวกเขาได้ถูกผลักไสให้เข้าไปประชิดติดกับภาวะล้มละลาย, ส่วนบริษัทต่างๆที่ทำอุตสาหกรรมเกี่ยวกับธัญญพืชสำหรับอาหารเช้าของผู้คน กลับเก็บเกี่ยวผลกำไรได้อย่างมหาศาล.
ในปี 1998, บริษัท Kellogg ที่ผลิตธัญญพืช, บริษัท Quaker Oats และ General Mills ต่างพออกพอใจกับผลกำไรที่ได้คืนมาสำหรับสินค้าธัญพืชในหน่วยน้ำหนักเดียวกัน เพิ่มขึ้นจาก 56%, มาเป็น 165%, และ 222% โดยลำดับ. ขณะที่ราคาขายของข้าวโพตต่อหน่วยเดียวกันนั้น น้อยกว่า 4 เหรียญ, ราคาขายของข้าวโพตที่อัดเป็นแผ่นบางๆที่เรียกว่า corn flakes (มีการนำเอาสินค้าเกษตรไปทำเป็นอุตสาหกรรมแล้ว)มีราคาขายต่อหน่วยสูงถึง 133 เหรียญ. ในปี 1998, บริษัทธัญพืชทั้งหลายมีกำไรเพิ่มขึ้นจาก 186 เท่า มาเป็น 740 เท่า ซึ่งอันนี้มีกำไรเชิงเปรียบเทียบมากกว่าที่ฟาร์มต่างๆได้รับ. บางที ชาวนาชาวไร่และเกษตรกรทั้งหลายกำลังทำอะไรที่มันน้อยเกินไป ในขณะที่คนอื่นๆกำลังแย่งเอาไปมากเกินไป".
และรายงานของธนาคารโลกก็ชื่นชมว่า "เบื้องหลังลักษณะของความเป็นขั้วของราคาค่าบริโภคตลาดภายในและราคาตลาดโลก เป็นการมีอยู่ของบริษัทการค้าขนาดใหญ่ในตลาดสินค้าเกษตรนานาชาติ".
ขณะที่ชาวนาและเกษตรกรมีกำไรน้อย, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศที่ยากจน, ต่างต้องใช้จ่ายเป็นจำนวนมากขึ้น. ในประเทศอินเดีย, ราคาค่าอาหารเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ระหว่างปี 1999 และปี 2000, และการบริโภคเมล็ดพันธุ์อาหารได้ตกลงมา 12% ในเขตท้องถิ่น. การเพิ่มขึ้นของการตัดสิทธิในการเข้าถึงอาหารเพื่อการบริโภคเกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น ได้ก่อให้เกิดภาวะการขาดแคลนโภชนาการไปเรียบร้อยแล้ว, ซึ่งอันนี้เป็นการไปผลักดันให้อัตราการตายเพิ่มมากขึ้น.
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นโดยผ่านการค้าโลก ได้รับการวางรากฐานลงบน"ส่วนเกินเทียม"(pseudo surpluses ในที่นี้หมายถึง บริษัททางด้านเกษตรได้กำไรมากขึ้น แต่เกษตรกรกลับยากจน). อาหารมากขึ้นได้ถูกนำมาค้าขาย ขณะที่คนยากคนจนกำลังบริโภคน้อยลง. เมื่อความเจริญเติบโตได้ไปเพิ่มความยากจน, เมื่อผลผลิตที่แท้จริงกลายเป็นเศรษฐกิจในเชิงลบ, และบรรดานักคาดการณ์หรือนักเก็งกำไรทั้งหลายได้รับการนิยามในฐานะที่เป็น"ผู้สร้างสรรค์ความมั่งคั่ง"(wealth creators), บางสิ่งบางอย่างได้ดำเนินไปผิดๆ ด้วยแนวความคิดและการจัดหมวดหมู่ของความมั่งคั่ง และการสร้างสรรค์ความมั่งคั่ง. การผลักให้ผลผลิตที่แท้จริงโดยธรรมชาติและผู้คนเข้าไปสู่เศรษฐกิจในเชิงลบ(negative economy)มีนัยะว่า "การผลิตสินค้าที่แท้จริงและการบริการกำลังเสื่อมลง" เพราะมันได้ไปสร้างให้เกิดความยากจนในระดับลึกสำหรับคนเป็นจำนวนล้านๆ ผู้ซึ่งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทาง dotcom (.com) สู่การสร้างสรรค์ความมั่งคั่งได้ในชั่วพริบตา.
ผู้หญิงในภาคการเกษตร
- ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้ว - ผู้หญิงเป็นผู้ผลิตในด้านอาหารมาแต่ปฐมบรรพ์
และเป็นผู้จัดการด้านอาหารในโลก. แต่อย่างไรก็ตาม งานต่างๆของพวกเธอในการผลิตและจัดการ
มาถึงปัจจุบันนี้ มันกลายเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น.
ตามที่บริษัท McKinsey ว่าไว้, "บรรดายักษ์ใหญ่ในวงการด้านอาหารของอเมริกันตระหนักว่า ธุรกิจเกษตร(agro-business)ของชาวอินเดียมีช่องทางที่จะงอกงามได้อีกมาก, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกระบวนการด้านการผลิตอาหาร.
อินเดียมีขบวนการจัดการทางด้านอาหารเล็กจิ๋วมากเพียงแค่ 1% เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบความงอกงามถึง 70% ของ สหรัฐอเมริกา, บราซิล และฟิลิปปินส์. ไม่ใช่ว่า พวกเราชาวอินเดีย บริโภคอาหารของเราแบบดิบๆ. บรรดาที่ปรึกษาระดับโลกล้มเหลวที่จะมองเห็นขบวนการการจัดการด้านอาหาร 99% ที่ถูกกระทำขึ้นมาโดยผู้หญิงในระดับครอบครัว, หรือโดยอุตสาหกรรมขนาดเล็กในชนบท, ทั้งนี้เพราะมันไม่ได้ถูกควบคุมโดยธุรกิจเกษตรของโลก(global agribusiness)นั่นเอง.
99% ของกระบวนการทางเกษตรกรรมของอินเดีย ได้ถูกรักษาหรือสงวนเอาไว้ในระดับครอบครัวอย่างตั้งใจ. มาถึงตอนนี้, ภายใต้ภาวะความกดดันของโลกาภิวัตน์, สิ่งต่างๆได้เปลี่ยนแปลงไป. กฎหมายเกี่ยวกับด้านสุขภาพเทียมต่างๆ(pseudo hygiene laws), ได้ไปปิดประตูเศรษฐกิจด้านอาหาร ซึ่งมีรากฐานอยู่บนขบวนการจัดการขนาดเล็กในท้องถิ่นภายใต้การควบคุมของชุมชน. กฎหมายปลอมเกี่ยวกับสุขภาพนี้(pseudo hygiene laws) คือส่วนหนึ่งของคลังสรรพาวุธของธุรกิจการเกษตรของโลก เพื่อสถาปนาตลาดผูกขาดโดยผ่านอำนาจการบีบบังคับและการข่มขู่, ไม่ใช่การแข่งขัน.
ในเดือนสิงหาคม 1998, ขบวนการจัดการของท้องถิ่นขนาดเล็กเกี่ยวกับพืชน้ำมันที่ใช้กินได้(edible oil) ได้ถูกห้ามในอินเดีย โดยผ่าน"ระเบียบปฏิบัติหรือกฎหมายเกี่ยวกับการบรรจุหีบห่อ" ซึ่งทำให้ การซื้อขายน้ำมันพืชแบบเปิด(คือไม่บรรจุลงในขวดให้มิดชิดเรียบร้อย) กลายเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และต้องการให้น้ำมันพืชทั้งหมดต้องได้รับการบรรจุลงในขวดพลาสติกหรืออะลูมินัม. อันนี้เป็นการปิดประตูโรงงานขนาดเล็กต่างๆลง. มันได้ไปทำลายตลาดสำหรับเมล็ดพันธุ์พืชน้ำมันที่หลากหลายของเราลง - ไม่ว่าจะเป็น มัสตาร์ด, น้ำมันลินซีด, น้ำมันงา, น้ำมันถั่ว, และน้ำมันมะพร้าว.
การเข้ามาครอบงำเกี่ยวกับอุตสาหกรรมน้ำมันพืชชนิดต่างๆ ได้มีผลกระทบกระเทือนต่อการดำรงชีวิตของผู้คนถึง 10 ล้านคน. การเข้ามาครอบงำเกี่ยวกับ"atta" หรือผลิตภัณฑ์ประเภทแป้งข้าว โดย แป้งข้าวประเภทประทับตราหรือมียี่ห้อและบรรจุหีบห่อ จะส่งผลต่อต้นทุนการดำรงอยู่ของผู้คนถึง 10 ล้านคน. คนจำนวนเป็นล้านๆเหล่านี้กำลังถูกผลักไปสู่ความยากจนแบบใหม่.
การบีบบังคับให้มีการบรรจุหีบห่อจะไปเพิ่มภาระให้กับสภาพแวดล้อมนับเป็นล้านๆตันสำหรับวัสดุที่นำมาใช้หีบห่อ เช่น พลาสติกและอะลูมินั่ม. โลกาภิวัตน์ของระบบการผลิตอาหารกำลังทำลายความหลากหลายของวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น และเศรษฐกิจการอาหารของพื้นเมือง. การปลูกพืชเชิงเดี่ยวทั่วโลก กำลังบีบบังคับผู้คนทั้งหลาย โดยการนิยามทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งเป็นสิ่งที่สด, สิ่งที่เป็นท้องถิ่น และสิ่งที่ทำขึ้นด้วยมือ ในฐานะที่เป็นสิ่งซึ่ง"อันตรายต่อสุขภาพ".
มือของมนุษย์กำลังถูกนิยามในฐานะที่เป็นสิ่งเจือปนที่เลวร้ายหรือแปดเปื้อน และผลงานที่ทำขึ้นจากฝีมือมนุษย์ กำลังถูกทำให้เป็นเรื่องที่นอกกฎหมาย, มันได้ถูกแทนที่โดยเครื่องจักรต่างๆและสารเคมีที่หาซื้อมาจากบรรษัทโลกต่างๆ.(Human hands are being defined as the worst contaminants, and work for human hands is being outlawed, to be replaced by machines and chemicals bought from global corporations).
สิ่งเหล่านี้ไม่ใช้วิธีการบรรลุเป้าหมาย หรือเป็นตำรับยาอันวิเศษที่ทำให้การเลี้ยงดูหรือป้อนอาหารให้ผู้คนในโลกประสบผลสำหเร็จขึ้นมาได้, มันจะเป็นได้ก็เพียงการปล้นความเป็นอยู่จากคนจนๆ เพื่อไปสร้างตลาดให้กับผู้มีพลังอำนาจ. ผู้คนกำลังถูกรับรู้ในฐานะที่เป็นปรสิต เป็นพยาธิ และกาฝาก, พวกเขากำลังถูกทำลายอย่างถอนรากถอนโคนเพื่อ"สุขภาพ"ของ"เศรษฐกิจโลก". ในกระบวนการทางสุขภาพแบบใหม่ และภัยอันตรายต่อนิเวศวิทยา มันกำลังบีบคั้นต่อผู้คนในประเทศโลกที่สาม โดยผ่านการทุ่มตลาดอาหารวิศวพันธุกรรมและผลิตผลที่มีอันตรายอื่นๆ.
เมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจากกฎของ WTO, อินเดียได้ถูกบีบบังคับให้ขจัดข้อจำกัดในการนำเข้าสินค้าทั้งหมดออกไป. ท่ามกลางการไม่มีข้อจำกัดของการนำเข้านี้ คือพวกซากศพ และชิ้นส่วนเลวๆของสัตว์ต่างๆ ที่ได้มาสร้างการคุกคามกับวัฒนธรรมของเรา และเป็นการนำมาซึ่งอันตรายต่างๆที่มีต่อการสาธารณสุข อย่างเช่น โรควัวบ้า เป็นต้น.
ศูนย์ป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (The US Center for Disease and Prevention)[CDS] ในเมืองแอทแลนต้า ได้คำนวณว่าเกือบๆ 81 ล้านกรณีเกี่ยวกับความเจ็บป่วยที่มีมากับอาหาร เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาทุกๆปี. ความตายที่เกิดจากอาหารเป็นพิษ มีมากกว่า 4 เท่า เนื่องมาจากการปลอดจากการควบคุมหรือการหย่อนยานต่อกฎระเบียบ, มันเพิ่มขึ้นจาก 2000 คนในปี 1984 มาเป็น 9000 คนในปี 1994. ส่วนใหญ่ของคนที่ติดเชื้อเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากเนื้อที่ผลิตขึ้นมาจากฟาร์มในโรงงาน.
มีการฆ่าสัตว์เพื่อมาทำเป็นอาหารในสหรัฐดังนี้คือ หมูถูกฆ่าประมาณ 93 ล้านตัว, วัวประมาณ 37 ล้านตัว, ลูกวัวประมาณ 2 ล้านตัว, ม้าประมาณ 6 ล้านตัว, แพะและแกะ ไก่และไก่งวงประมาณ 8 พันล้านตัว อันนี้คือจำนวนของสัตว์ที่ถูกฆ่าเพื่อมาทำเป็นอาหารในแต่ละปี. มาถึงปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมทางด้านเนื้อสัตว์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ต้องการที่จะทุ่มเนื้อสัตว์ที่มีสิ่งเจือปน ซึ่งได้รับการผลิตขึ้นมาโดยผ่านความรุนแรงและวิธีการอันโหดร้ายให้กับอินเดีย.
ความชั่วช้าและเลวร้ายข้างต้นของคนรวยๆกำลังทุ่มลงมายังคนจนๆ. ความมั่งคั่งของคนจนที่เคยมี กำลังถูกแย่งเอาไป และกำลังถูกบังคับให้ซื้อหาอย่างรุนแรง โดยผ่านวิธีการใหม่ๆและฉลาด อย่างเช่น สิทธิบัตรบนความหลากหลายทางชีวภาพ และความรู้ของคนท้องถิ่น.
สิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญา
สิทธิเหล่านี้ได้ถูกทึกทักให้กับสิ่งประดิษฐ์ที่แปลกใหม่. แต่สิทธิบัตรต่างๆซึ่งกำลังถูกอ้างสำหรับพันธุ์ข้าวอันหลากหลาย
อย่างเช่น บาสมาติ ที่ซึ่ง ณ หุบเขา Doon Valley - สถานที่ซึ่งข้าพเจ้าถือกำเนิดขึ้น
ณ ที่นั้น - เป็นพันธุ์ข้าวที่มีชื่อเสียงมาก, หรือ ยาฆ่าแมลงได้รับมาจากสะเดา
ซึ่งแม่ของเราและยายของเราเคยใช้อยู่. บริษัท Rice Tec, บริษัทที่มีฐานอยู่ที่สหรัฐอเมริกา,
ได้มีการให้สิทธิบัตร No.5,663,484 สำหรับข้าวสายพันธุ์บาสมาติและเมล็ดพันธุ์ดังกล่าว.
ข้าวพันธุ์บาสมาติ, สะเดา, พริกไทย, น้ำเต้าขม, ขมิ้น ทุกๆแง่มุมของนวัตกรรมใหม่ที่ปรากฎขึ้นมาในอาหารท้องถิ่นของเรา และระบบยาพื้นบ้านต่างๆ ตอนนี้ มันได้ถูกปล้นสะดมและถูกนำไปทำสิทธิบัตร. ความรู้ของคนจนกำลังถูกเปลี่ยนไปสู่การเป็นสมบัติของบรรษัทโลกต่างๆ, การสร้างสถานการณ์ขึ้นมาอันหนึ่ง ที่ที่คนยากคนจนจะต้องจ่ายสำหรับเมล็ดพันธุ์และยารักษาโรค ซึ่งพวกเขาได้ค่อยๆพัฒนาขึ้นมา และเคยได้ใช้มันตามความต้องการเพื่อการโภชนาการและการดูแลรักษาสุขภาพ.
ข้ออ้างเท็จที่ไม่ถูกทำนองคลองธรรมเหล่านั้นต่อการสร้างสรรค์ มาถึงตอนนี้ เป็นบรรทัดฐานของโลก, ด้วยข้อตกลงเกี่ยวกับสิทธิของทรัพย์สินทางปัญญาที่สัมพันธ์กับการค้าของ WTO ที่ได้มาบีบบังคับประเทศต่างๆ ให้เสนอระบบระเบียบที่ยินยอมให้กับเรื่องของสิทธิบัตรเกี่ยวกับรูปแบบต่างๆของชีวิต และความรู้ของท้องถิ่น.
แทนที่จะตระหนักว่าผลประโยชน์ต่างๆทางการค้า สร้างขึ้นมาบนธรรมชาติและบนการสนับสนุนของวัฒนธรรมต่างๆ, กฎหมายโลกได้วางมายาคติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์แบบผู้ชายเอาไว้บนหิ้งบูชา เพื่อสร้างสิทธิในทรัพย์สินชนิดใหม่ต่อรูปแบบต่างๆของชีวิต เทียบกันได้กับการที่ลัทธิอาณานิคมได้ใช้มายาคติเกี่ยวกับการค้นพบ มาเป็นพื้นฐานของการเข้าครอบครองผืนแผ่นดินของคนอื่นๆในฐานะที่เป็นดินแดนอาณานิคมต่างๆ.
มนุษย์ไม่ได้สร้างสรรค์ชีวิตขึ้นมาใหม่แต่อย่างใด เมื่อพวกเขาได้เข้าไปจัดการหรือเปลี่ยนแปลงมัน. ข้ออ้างของบริษัท Rice Tec ที่ว่า เขาได้สร้างประดิษฐกรรมของสายพันธุ์ข้าวใหม่ขึ้นมาเมื่อเร็วๆนี้, หรือข้ออ้างของสถาบัน Roslin ที่ว่า Ian Wilmut "สร้างสรรค์"แกะดอลลี่ ได้ปฏิเสธการสร้างสรรค์ของธรรมชาติ, ความสามารถในการรวบรวมหรือก่อให้เกิดรูปแบบต่างๆของชีวิต และนวัตกรรมก่อนหน้านั้นของชุมชนในประเทศโลกที่สาม.
สิทธิบัตรต่างๆและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ได้รับการทึกทักว่า เพื่อปกป้องการกระทำเยี่ยงโจรสลัด. สิ่งต่างๆเหล่านี้มันกำลังกลายเป็นเครื่องมือของการปล้นสะดมเกี่ยวกับความรู้ตามขนบประเพณีที่มีร่วมกัน จากคนจนๆของประเทศในโลกที่สาม และทำให้มันกลายเป็นทรัพย์สมบัติเฉพาะหรือผูกขาดของบรรดานักวิทยาศาสตร์และบรรษัทต่างๆของตะวันตกแทน.
เมื่อสิทธิบัตรต่างๆถูกอนุญาตให้กับเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ, ดั่งเช่นในกรณีของข้าวบาสมาติ, การกระทำเยี่ยงโจรจึงได้ถูกนิยามในฐานะที่เป็นการสร้างสรรค์, และการสงวนรักษาแหละการแบ่งปัน กลับถูกนิยามว่าเป็นขโมยของทรัพย์สินทางปัญญา. บรรษัทต่างๆซึ่งมีสิทธิบัตรที่ครอบคุมอย่างกว้างขวางในพันธุ์พืชต่างๆ อย่างเช่น ฝ้าย, ถั่วต่างๆ, และมัสตาร์ด กำลังฟ้องร้องบรรดาชาวนาทั้งหลายสำหรับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เอาไว้ และได้มีการว่าจ้างตัวแทนนักสืบต่างๆเพื่อค้นหาว่า ชาวนาคนใดบ้าง ได้เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พวกนี้เอาไว้ และแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้าน.
ประกาศเมื่อเร็วๆนี้ที่บริษัท Monsanto กำลังลดลาวาศอกเรื่องของจีโนมข้าวให้เป็นอิสระกำลังทำให้เกิดความเข้าใจผิด: Monsanto ไม่ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะยุติเรื่องสิทธิบัตรเกี่ยวกับความหลากหลายของพันธุ์ข้าว หรือธัญพืชอื่นๆแต่อย่างใดเลย.
การแบ่งปัน และการแลกเปลี่ยน, รากฐานของมนุษยธรรมของเรา และความอยู่รอดทางนิเวศวิทยาของพวกเรา มันได้ถูกนิยามใหม่หมดในฐานะที่เป็นอาชญากรรมอันหนึ่ง, อันนี้แหละที่ทำให้เราทั้งหมดยากจนลง.
ธรรมชาติได้ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่เรา. ความรู้ท้องถิ่นของพวกผู้หญิงเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ, เกษตรกรรม และโภชนาการ สร้างอยู่บนความอุดมสมบูรณ์อันนั้น เพื่อสร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นมากมายจากน้อยๆ, เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญงอกงามโดยผ่านการแบ่งปันกัน. คนยากคนจนกำลังถูกผลักเข้าไปสู่ความยากจนข้นแค้นในระดับลึก โดยการถูกทำให้ต้องจ่ายในสิ่งที่เป็นทรัพยากรและความรู้ต่างๆของพวกเธอ. แม้กระทั่งคนรวยก็จนลง เพราะผลกำไรของพวกเขาได้รับการวางอยู่บนการลักขโมย และอยู่บนการใช้การบีบบังคับและความรุนแรงกับคนอื่นๆ. อันนี้มันไม่ใช่ความมั่งคั่งสร้างสรรค์ แต่มันเป็นการปล้นสะดม.
ความยั่งยืน ต้องการการปกป้องเกี่ยวกับสายพันธุ์ต่างๆทั้งหมด และผู้คนทุกคน และความเข้าใจที่ว่า สายพันธุ์ที่หลากหลายนั้น และความหลากหลายของผู้คน ได้แสดงบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการธำรงรักษาระบบนิเวศวิทยาต่างๆเอาไว้ และกระบวนการต่างๆเกี่ยวกับระบบดังกล่าว. ตัวพาละอองเกสรต่างๆ เช่น พวกแมลง คือสิ่งที่สำคัญต่อการผสมพันธุ์ และรุ่นต่อๆไปของพันธุ์พืช. ความหลากหลายทางชีวภาพในท้องทุ่งจะตระเตรียมพืชผัก, อาหารปศุสัตว์, ยารักษาโรค และปกป้องผืนดินจากน้ำที่กัดเซาะ และลมแรงที่จะมากัดกร่อน.
ดังที่มนุษย์ได้ท่องลงมาตามเส้นทางอัน"ไม่มีความยั่งยืน", พวกเขากลายเป็นคนที่ปราศจากความอดทนต่อสายพันธุ์อื่น และมืดบอดต่อบทบาทอันมีชีวิตชีวาในความอยู่รอดของพวกเรา.
ในปี ค.ศ.1993, เมื่อชาวนาทั้งหลายชาวอินเดียทำลายเมล็ดพันธุ์พืชของ Cargill ใน Belary, Karnataka, ในฐานะที่เป็นการปกป้องต่อความล้มเหลวของเมล็ดพันธุ์, ผู้นำผู้บริหาร Cargill ประกาศว่า "พวกเราได้น้อมนำชาวนาทั้งหลายชาวอินเดียสู่เทคโนโลยีที่ฉลาด ซึ่งป้องกันไม่ให้ฝูงผึ้งช่วงชิงหรือแย่งละอองเกสรไป".
เมื่อข้าพเจ้าได้มีส่วนร่วมอยู่ในการประชุมหารือเกี่ยวกับการคุ้มครองทางชีวภาพขององค์การสหประชาชาติ, บริษัทมอนซานโตได้เผยแพร่สิ่งพิมพ์ เพื่อปกป้องผลผลิตของบริษัท จากพืชพันธุ์ที่ต้านยากำจัดวัชพืช บนพื้นฐานที่ว่า พวกเขาปกป้อง"วัชพืชทั้งหลายจากการขโมยแสงอาทิตย์ไป", แต่สิ่งที่บริษัทมอนซานโตเรียกว่าวัชพืชนั้น คือทุ่งสีเขียวต่างๆที่ได้ตระเตรียมข้าวซึ่งให้วิตามิน A และป้องกันการตาบอดในหมู่พวกเด็กๆ และโรคโลหิตจางในหมู่ผู้หญิง.
โลกทัศน์ที่นิยามว่าการนำพาละอองเกสรไป(เพื่อผสมพันธุ์โดยธรรมชาติ) ว่าเป็น "การลักขโมยของบรรดาฝูงผึ้ง" และข้ออ้างที่ว่า ความหลากหลายทางชีวภาพ"ขโมย"แสงสว่าง คือโลกทัศน์ซึ่งตัวของมันเอง มีเป้าหมายที่จะขโมยพืชพันธุ์อันเป็นผลผลิตของธรรมชาติ โดยการเปิดให้มีการแทนที่, ขโมยความหลากหลายของการนำพาละอองเกสรด้วยเมล็ดพันธุ์ผสม และเมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อ, และได้ทำลายความหลากหลายของพืชพันธุ์ในเขตหนึ่ง ด้วยยากำจัดวัชพืชต่างๆ อย่างเช่น Roundup ของ Monsanto. ปฏิบัติการดังกล่าวมุ่งไปยังผีเสื้อพันธุ์ Monarch โดยที่พืช bt. ที่ผ่านกรรมวิธีทางวิศวพันธุกรรม เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของความยากจนทางนิเวศวิทยาที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยเทคโนโลยีชีวภาพแบบใหม่ต่างๆ. ขณะที่หมู่ผีเสื้อและฝูงผึ้งได้อัตรธานไป, ผลผลิตได้ถูกทำลายลงไปทีละน้อยๆ. ดังนั้น ความหลากหลายทางชีวภาพจึงค่อยๆสาบสูญไป พร้อมด้วยโภชนาการและอาหาร.
เมื่อบรรษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆมองว่าชาวนาชาวไร่และฝูงผึ้งเป็นขโมย และโดยผ่านกฎระเบียบทางการค้าและเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งแสวงหาสิทธิที่จะทำลายสิ่งเหล่านี้อย่างถอนรากถอนโคน, มนุษยธรรมก็ได้มาถึงธรณีประตูของภัยอันตรายอย่างยิ่งยวด. กฎเกณฑ์ข้อบังคับที่จะขจัดแมลงที่เล็กที่สุด, พืชพันธุ์ที่เล็กที่สุด, และชาวนาที่เล็กที่สุด มันมาจากความกลัวอย่างลึกซึ้งอันหนึ่ง - นั่นคือ ความกลัวทุกสิ่งทุกอย่างที่มีชีวิตและที่เป็นอิสระ. และความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัยในระดับลึกนี้ รวมถึงความหวาดกลัว กำลังคลายความรุนแรงออกมาทำร้ายต่อผู้คนและชนิดพันธุ์ทั้งหมด.
เศรษฐกิจแบบการค้าเสรีของโลกกลายเป็นสิ่งที่คุกคามต่อความมั่นคงยั่งยืน. ความอยู่รอดที่แท้จริงของคนยากจนและชนิดพันธุ์ต่างๆมีความหมิ่นเหม่และเสี่ยงมาก ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงแค่ผลข้างเคียงหรือกรณีพิเศษเท่านั้น แต่ในวิธีการที่เป็นระบบอันหนึ่ง โดยผ่านการสร้างโลกทัศน์ของเราขึ้นมาใหม่ในระดับรากเลยทีเดียว, ความยั่งยืน, การแบ่งปัน, และความอยู่รอด กำลังถูกทำให้กลายเป็นสิ่งนอกกฎหมายในทางเศรษฐกิจ ในนามของการแข่งขันทางการตลาดและประสิทธิภาพด้านการตลาด.
พวกเราต้องการที่จะนำพาดาวเคราะห์ดวงนี้และผู้คนกลับไปสู่ภาพๆหนึ่งอย่างเร่งด่วน. โลกที่สามารถได้รับการหล่อเลี้ยงโดยการป้อนอาหารให้กับทุกสภาวะและสรรพสิ่ง ที่ได้สร้างโลกขึ้นมา.
ในการให้อาหารแก่ชีวิตที่ดำรงอยู่อื่นๆและชนิดพันธุ์ต่างๆ เราได้ธำรงรักษาเงื่อนไขต่างๆเพื่อความมั่นคงทางด้านธัญญาหารของเราเอง. ในการเลี้ยงดูไส้เดือน เรากำลังเลี้ยงดูตัวของเราเอง. ในการเลี้ยงดูวัว, เรากำลังเลี้ยงดูผืนดิน, และในการตระเตรียมอาหารสำหรับดิน, เรากำลังตระเตรียมอาหารสำหรับมนุษย์. โลกทัศน์ของความอุดมสมบูรณ์อันนี้ ได้ถูกวากพื้นฐานอยู่บนการแบ่งปัน และในการตระหนักรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับมนุษย์ ในฐานะที่เป็นสมาชิกของครอบครัวโลก. การรู้สึกรู้ทราบเช่นนี้ เกี่ยวกับการทำให้สิ่งมีชีวิตอื่นๆเสื่อมทรามลง, เราได้ทำให้ตัวเราเองยากจนและเลวลงด้วย และในการหล่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เราได้หล่อเลี้ยงตัวเราเองเช่นกัน และนี่คือรากฐานของความยั่งยืน.
สรุป :
ความยั่งยืนท้าทายต่อรอบพันปีใหม่ ที่ซึ่งมนุษย์เศรษฐกิจโลกา สามารถที่จะเคลื่อนคล้อยออกไปจากโลกทัศน์ที่มีรากฐานอยู่บนความขลาดกลัวและความขาดแคลน,
การปลูกพืชเชิงเดี่ยว และการผูกขาดต่างๆ, การใช้เงินเป็นตัวตั้งและการแย่งชิง,
(มนุษย์จะต้อง)เปลี่ยนแปลงไปสู่ทัศนะอันหนึ่ง ซึ่งได้วางรากฐานอยู่บนความอุดมสมบูรณ์และการแบ่งปันกัน,
ความหลากหลายและการกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง, และให้เคารพยกย่องพร้อมทั้งให้เกียรติต่อสรรพชีวิตทั้งปวง.
ความยั่งยืนเรียกร้องว่า เราจะต้องหลุดออกจากกับดักทางเศรษฐกิจ ที่ที่ไม่เหลือพื้นที่ว่างอันใดเอาไว้สำหรับชนิดพันธุ์อื่นๆและผู้คนส่วนใหญ่. โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจกลายเป็นสงครามอันหนึ่งที่ต่อสู้กับธรรมชาติและคนยากคนจน. กฎเกณฑ์ต่างๆของโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่สิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าประทานมา หรือเรารับมาจากพระองค์แต่อย่างใด. พวกมันสามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ และเราจะต้องทำให้สงครามนี้สิ้นสุดลง.
นับตั้งแต่เหตุการณ์ที่ซีแอทเทิล, วลีที่ใช้กันบ่อยๆวลีหนึ่งก็คือ "ความต้องการระบบฐานรากของกฎเกณฑ์อันหนึ่ง". โลกาภิวัตน์ คือหลักการทางด้านการพาณิชย์ และมันได้ยกให้ Wall Street เป็นแหล่งต้นตอที่มาของมูลค่าแต่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น, และผลจากการนี้ สิ่งต่างๆที่ควรจะมีคุณค่าสูง อย่างเช่น ธรรมชาติ, วัฒนธรรม, อนาคต กลับถูกลดคุณค่าลงมาและถูกทำลายทิ้งไป. กฎเกณฑ์ต่างๆของโลกาภิวัตน์กำลังไปขุดเซาะทำลายหลักการต่างๆของความยุติธรรมและความยั่งยืน เกี่ยวกับความเมตตากรุณาและการแบ่งปัน. พวกเราจะต้องขยับจากหลักเกณฑ์การตลาดแบบเบ็ดเสร็จไปสู่โลกาประชาธิปไตย.
พวกเราสามารถที่จะอยู่รอดในฐานะที่เป็นสายพันธุ์หนึ่งสายพันธุ์เดียวร่วมกันได้ ถ้าหากว่าเราดำรงชีวิตอยู่โดยอาศัยกฎเกณฑ์ต่างๆของ"ดินแดนชีวโลกา"(biosphere - หมายถึงดินเแดนเปลือกโลกและบรรยากาศที่ครอบครองโดยสิ่งที่มีชีวิต). ดินแดนชีวโลกามีเพียงพอสำหรับความต้องการของทุกๆคน ถ้าเผื่อว่า เศรษฐกิจโลกจะให้ความเคารพต่อข้อจำกัดต่างๆที่ได้รับการจัดการหรือเตรียมขึ้นมาโดยความตระหนักเกี่ยวกับ"ความยั่งยืน"และ"ความยุติธรรม".
ดังที่ท่าน มหาตมะ คานธี เตือนพวกเราเอาไว้ "โลกนี้พอเพียงสำหรับความต้องการของทุกๆคน, แต่ไม่เพียงพอสำหรับความโลภของคนบางคน".
หมายเหตุ : ดร.วันทนา ศิวะ ได้รับเชิญให้ไปบรรยายที่วิทยาลัย Schumacher ในเดือนตุลาคม 2000. สำหรับหนังสือเล่มล่าสุดของเธอนั้นคือ "Stolen Harvest" ซึ่งได้รับการตีพิมพ์โดย South End Press, Cambridge, MA02139, USA, ราคา 14 เหรียญดอลล่าร์.
กลับไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com