เป้าหมายหลักอันแรกของ
Observations
คือนักเขียนเยอรมัน David Friedrich Strauss, ผู้เขียนเรื่อง Life of Jesus อันทรงอิทธิพล
โดยผ่านการเปรียบเทียบรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องราวของ Jesus ใน Gospels ซึ่งได้ให้เหตุผลว่า
ศาสนาคริสต์เป็นมายาคติอันหนึ่ง ซึ่งได้มารับใช้ความต้องการของผู้คนของยุคสมัยนั้น
Neitzsche ได้อ่านงานที่น่าตกใจนี้ถึงยี่สิบรอบ
ซึ่งได้มีการตีความขึ้นมาใหม่เพื่อปลดปล่อยเนื้อหาอันเป็นมายาคติให้เป็นอิสระ(demythologizing)
และรู้สึกประทับใจอย่างลึกซึ้งกับการวิจารณ์เชิงปรัชญาของเขา
สำหรับ Neitzsche วัฒนธรรมมวลชนผนึกรวมถึงหนังสือพิมพ์, รูปแบบต่างๆทางวัฒนธรรม
นับจากนิตยสารต่างๆไปจนถึงสิ่งพิมพ์ทางวิชาการทั้งหลาย, ศาสนา, การเมือง, เบียร์,
และชาตินิยม (บางส่วนจากเนื้อหาบทความ เขียนโดย Douglas
Kellner)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
ในการประเมินของเขาเกี่ยวกับยุคสมัยใหม่หรือยุคโมเดิร์น, Nietzsche ได้พัฒนาบทวิพากษ์ที่ค่อนข้างจะแข็งแรงอันหนึ่งขึ้นมา และถือเป็นบทวิพากษ์ที่ถูกนำเสนอออกมาแรกๆเกี่ยวกับวัฒนธรรมมวลชนและสังคม, รวมไปถึงการวิจารณ์รัฐ, แบบแผนของพวกขุนนาง-ข้าราชการ, และความเคร่งครัดแบบทหาร, อันเป็นทัศนียภาพหรือมุมมองที่มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อคำอธิบายเกี่ยวกับยุคสมัยใหม่ในภายหลังต่อมา
ในการประเมินของเขาเกี่ยวกับยุคสมัยใหม่หรือยุคโมเดิร์น, Nietzsche ได้พัฒนาบทวิพากษ์ที่ค่อนข้างจะแข็งแรงอันหนึ่งขึ้นมา และถือเป็นบทวิพากษ์ที่ถูกนำเสนอออกมาแรกๆเกี่ยวกับวัฒนธรรมมวลชนและสังคม, รวมไปถึงการวิจารณ์รัฐ, แบบแผนของพวกขุนนาง-ข้าราชการ, และความเคร่งครัดแบบทหาร, อันเป็นทัศนียภาพหรือมุมมองที่มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อคำอธิบายเกี่ยวกับยุคสมัยใหม่ในภายหลังต่อมา
ขณะที่ Nietzsche ถือได้ว่าเป็นนักวิจารณ์คนสำคัญคนหนึ่งเกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่ ในเวลาเดียวกัน เขาก็เป็นตัวอย่างต่างๆของจิตวิญญานหรือจินตกรรมของยุคสมัยใหม่ด้วย แม้ว่าเขาจะถกเถียงและโต้เถียงกับเรื่องประชาธิปไตย, เสรีนิยม, และขบวนการที่ก้าวหน้าต่างๆทางสังคมอย่างหลากหลาย แต่อย่างน้อยที่สุด การโจมตีของ Neitzsche ส่วนหนึ่งนั้น ได้ดำเนินการไปในสไตล์ของยุคสว่าง ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางของยุคสมัยใหม่หรือยุคโมเดิร์นนั่นเอง
กล่าวคือ มันเป็นไอเดียหรือความคิดในเชิงนิเสธ ซึ่งกระทำในนามของข้ออ้างเพื่ออนาคตที่ดีกว่า
โดยไม่คำนึงถึงความซาบซึ้งอันแหลมคมของเขาสำหรับวัฒนธรรมในอดีตที่ผ่านมา อย่างเช่น คลาสสิคโบราณและการการปกป้องเกี่ยวกับคุณค่าหรือค่านิยมก่อนยุคสมัยใหม่บางอย่าง, Neitzsche เป็นผู้ที่เรียกร้องอนาคตอย่างมากและเสนอให้มีการปรับตัว เขาโจมตีขนบประเพณีและจารีตต่างๆ ขณะเดียวกันก็เรียกหาสังคมใหม่และวัฒนธรรมใหม่อันหนึ่ง. แรงผลักดันที่มีต่อนวัตกรรมใหม่ เกี่ยวพันกับการปฏิเสธความเก่าแก่ล้าสมัยและการสร้างสรรค์เกี่ยวกับสิ่งใหม่ในเวลาเดียวกัน
ซึ่งอันนี้ถือว่าเป็นหัวใจที่แท้ในความสลับซับซ้อนของ Neitzsche และบ่อยครั้งมันเป็นงานทางทฤษฎีที่เป็นปริศนาที่น่าฉงนสนเท่ห์ยิ่ง ซึ่งในจิตวิญญานของความเป็นสมัยใหม่ ได้ยืนยันถึงพัฒนาการและการอยู่เหนือขึ้นไปหรือหลุดพ้นไปจากความเก่า ในฐานะที่เป็นคุณค่าอันสำคัญยิ่งสำหรับปัจเจกชนและสังคมร่วมสมัย
Nietzsche ต้องการที่จะก้าวเลยไปจากความเป็นสมัยใหม่ เพื่อแบบฉบับของวัฒนธรรมและสังคมที่พิเศษและเหนือกว่า ซึ่งมันจะสร้างสรรค์ความเป็นปัจเจกให้เข้มแข็ง และมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ยิ่งกว่าขึ้นมา. เขาเชื่อว่า นั่นจะทำให้ศักยภาพต่างๆมีความสดสำหรับการสร้างสรรค์เกี่ยวกับปัจเจก และสำหรับรูปแบบที่สูงกว่าอันหนึ่งของวัฒนธรรม ซึ่งจะทำให้มันเป็นไปได้ก็โดยการระเบิดยุคสมัยใหม่ทิ้งไป ด้วยการตัดทอนและหยุดยั้งโดยสังคมและองค์กรทางการเมืองที่เหนือกว่า สิ่งเหล่านี้จะมีชัยชนะได้ก็ต่อเมื่อ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทางวัฒนธรรมและสังคมอย่างถึงรากนั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม อันนี้ก็เช่นกัน มันเป็นวิธีการบางอย่างที่มีลักษณะหรือท่าทีซึ่งเป็นสมัยใหม่เอามากๆ. ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้ว่าจะมีการโจมตีอย่างรุนแรงต่อความเป็นสมัยใหม่ Neitzsche ก็ยังคงเป็นแบบอย่างของจินตกรรมของการวิพากษ์วิจารณ์ในยุคโมเดิร์น และตลอดอาชีพการงานของเขา เขาได้โจมตีรูปเคารพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ร่วมสมัยรวมทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตลอดกาลของจิตใจ ซึ่งเขาเห็นว่า มันเป็นอุปสรรคต่างๆต่อการปลดปล่อยความคิดและความเป็นอยู่ให้เป็นอิสระ
ในงานศึกษาครั้งนี้ ผู้เขียนจะซักไซ้หรือตั้งคำถามงานวิพากษ์ของ Neitzsche เกี่ยวกับวัฒนธรรมมวลชน ในบริบทเกี่ยวกับการวิเคราะห์ของเขาในเรื่องความเป็นสมัยใหม่ และมุมมองหรือทัศนียวิทยาต่างๆทางปรัชญาอย่างกว้างขวาง
ผู้เขียนมีเหตุผลว่า Neitzsche ได้พัฒนางานวิพากษ์ทางปรัชญาที่สำคัญแรกๆขึ้นมาเกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรมมวลชน ซึ่งได้ให้แรงบันดาลใจแก่บรรดานักคิดในรุ่นต่อมาทั้งในปีกของฝ่ายขวา อย่างเช่น Heidegger และ Junger, และในปีกของฝ่ายซ้าย อย่างเช่นบรรดาสมาชิกของแฟรงค์เฟริทสคูล และ Foucault
Neitzsche นับว่าเป็นหนึ่งในคนแรกๆที่มองวัฒนธรรมมวลชน ในฐานะที่เป็นแกนกลางสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการของการผลิตซ้ำทางสังคมสมัยใหม่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันเป็นหัวใจของสิ่งที่เขามองว่าเป็นลักษณะเฉพาะที่สำคัญของสังคมสมัยใหม่ต่างๆ: นั่นคือ การทำให้เป็นมวลชน(massification) และการกำจัดความเป็นปัจเจกทิ้งไป ซึ่งได้สร้างสังคมฝูงชนและการมีคุณภาพแบบปานกลางขึ้นมา
ด้วยเหตุนี้ เขาจึงเป็นต้นตอหรือทรัพยากรที่สำคัญเกี่ยวกับการวิพากษ์สังคมและวัฒนธรรมมวลชนของนักคิดรุ่นต่อๆมา
ซึ่งตัวเขาเองมองว่า "วัฒนธรรมมวลชน" เป็นพลังอำนาจของความเสื่อมโทรมและลัทธิสุญนิยม
ซึ่งมันได้มาขุดเซาะทำลายความมีชีวิตชีวาทางวัฒนธรรม และได้มาขัดขวางการสร้างสรรค์
พร้อมกันนั้นมันได้ทำให้วัฒนธรรมที่แท้และปัจเจกชนที่เข้มแข็งถูกทำลายลงด้วย
(ลัทธิสุญนิยม คือ ความคิดที่เชื่อว่าชีวิตนี้ไร้ความหมาย
พร้อมทั้งปฏิเสธศาสนาและหลักศีลธรรมจรรยาต่างๆ)
การโต้แย้งเรื่องวัฒนธรรมมวลชน
การวิพากษ์เกี่ยวกับวัฒนธรรมมวลชนและหนังสือพิมพ์
เริ่มปรากฎขึ้นมาในช่วงระหว่างปลายคริสตศตวรรษที่ 18 การวิพากษ์ต่างๆเหล่านี้
ลงรากอยู่ในการสะท้อนถ่ายถึงชีวิตสมัยใหม่และการพักผ่อนในยามว่าง ที่เริ่มเกิดขึ้นมาให้เห็นในราวคริสตศตวรรษที่
16 ในช่วงการสิ้นสุดของระบบศักดินา การเกิดขึ้นมาของการปฏิวัติอุตสาหกรรมและประชาธิปไตยได้คลอไปด้วยกันกับการปรากฎตัวขึ้นมาของวรรณกรรมแนวป๊อปปิวล่าร์(ประชาชน),
นิตยสาร, และสิ่งพิมพ์สมัยใหม่ต่างๆ ได้มีส่วนซึ่งได้มาเติมเชื้อไฟให้กับการโต้เถียงกันครั้งใหญ่เกี่ยวกับผลกระทบและผลที่ตามมาของพวกมัน
บรรดานักคิดอย่างเช่น Montaigne และ Pascal ได้บันทึกถึงความต้องการเกี่ยวกับความสนุกสนาน เพลิดเพลินมาแล้วนับแต่คริสศตวรรษที่ 16, และบรรดานักประพันธ์อย่างเช่น Goethe เริ่มโจมตีความสนุกสนานเพลิดเพลินอันซ้ำซากเหล่านี้ ซึ่งถูกยัดเยียดโดยวัฒนธรรมมวลชนและสิ่งพิมพ์ต่างๆ โดยเขาได้ให้ความเห็นว่า พวกมันได้มารับใช้หรือให้บริการในฐานะที่เป็นช่องทางหลักของการหนีรอดไปจากความเป็นจริงของสังคม...
วันหนึ่งๆ เรามีหนังสือพิมพ์ให้อ่านกันทุกๆชั่วโมง สมองที่ฉลาดเฉลียวยังคงจะต้องเติมหรืออัดอะไรบางอย่างเพิ่มเข้าไปอีกเล็กน้อย. หนทางนี้ ทุกสิ่งทุกอย่าง, สิ่งที่ทุกๆคนทำ, ต้องการ, เขียน, แม้แต่สิ่งที่พวกเขาวางแผน, ได้ถูกเผยออกมาสู่สาธารณะ ใครคนหนึ่งอาจมีความสุขหรือทุกข์กับตัวเองเท่านั้น แต่แล้วมันกลับกลายเป็นความบันเทิงของคนอื่น และในความรีบเร่งอย่างเต็มที่ อันนี้ได้ถูกถ่ายทอดหรือส่งข่าวจากบ้านหนึ่งไปยังอีกบ้านหนึ่ง จากเมืองๆหนึ่งไปยังเมืองอีกเมืองหนึ่ง จากจักรวรรด์หนึ่งไปยังอีกจักรวรรดิ์หนึ่ง และในท้ายที่สุดจากทวีปหนึ่งไปยังอีกทวีปหนึ่ง[2]
Goethe ให้เหตุผลว่า หนังสือพิมพ์ได้ทำให้เกิดความสิ้นเปลืองเวลาขึ้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ผู้อ่านต้องเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ และชีวิตความเป็นอยู่ก็เปลี่ยนจากมือไปเป็นปาก โดยไม่ได้สร้างสรรค์สิ่งใดๆเพิ่มขึ้นมาเลย[3]. และเขายังทำมาก่อน Neitzsche ด้วย ตรงที่เขาได้วิจารณ์ถึงหนทางที่ ความบันเทิงสมัยใหม่และหนังสือพิมพ์ให้การสนับสนุนพฤติกรรมแบบยอมจำนน, การทำอะไรตามๆกัน, และการสร้างความเห็นที่ลงรอยกันขึ้นมา
เขายังเขียนข้อความสั้นๆคล้ายบทกวี ซึ่งได้พูดถึงหนังสือพิมพ์ที่แสดงความหื่นกระหายที่จะทำบางสิ่งบางอย่างเกือบทุกอย่างให้กับบรรดาผู้อ่านของมัน เว้นแต่ไอเดียหรือความคิดเห็นที่ขัดแย้งกัน ดังนี้:
มาพวกเรามาพิมพ์มันลงไปทั้งหมด
แม้มันจะมีความวุ่นวายในทุกๆที่;
แต่ไม่ควรมี"ใคร"รู้สึกโกลาหลและสับสน
"ใคร"ที่ไม่ได้คิดเหมือนกันกับเรา [4]
สำหรับคนอื่นๆมีการประเมินถึงผลเกี่ยวกับสื่อมวลชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือพิมพ์ ที่เป็นไปในเชิงบวกมากกว่า. Karl Marx เป็นตัวอย่าง มีความคิดเห็นโดยเฉพาะเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์ในการให้การสนับสนุนเกี่ยวกับประชาธิปไตย และเสรีภาพของประชาชน เขาได้เขียนข้อความนี้ขึ้นในปี ค.ศ.1842 ความว่า:...
"หนังสือพิมพ์อิสระ"คือสายตาที่ตื่นตัว และมันมีอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง มันเป็นวิญญานอันหนึ่งของผู้คน มันคือการปรากฎตัวขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่างของศรัทธาในตัวมันเองของผู้คน คือความเชื่อมโยงที่มีคารมคมคาย ซึ่งร้อยรัดปัจเจกชนกับรัฐและโลกเข้าด้วยกัน คือการปรากฎตัวขึ้นเป็นรูปเป็นร่างทางวัฒนธรรมที่ได้แปรเปลี่ยนการต่อสู้ในทางวัตถุไปสู่การต่อสู้กันเชิงสติปัญญา และทำให้รูปวัตถุอันหยาบกระด้างกลายไปเป็นเรื่องของความคิด
มันคือการสารภาพที่ใสซื่อของผู้คนต่อตัวเอง และพลังการไถ่ถอนของการสารภาพที่รู้จักกันดี. มันคือกระจกเงาของจิตวิญญาน ที่ผู้คนสามารถมองเห็นตัวเอง และตรวจสอบตัวเอง ซึ่งอันนี้คือเงื่อนไขอันดับแรกของสติปัญญาและความฉลาด
มันคือจิตวิญญานของรัฐ ซึ่งสามารถส่งต่อไปยังกระท่อมทุกหลัง ราคาก็ถูกแสนถูกกว่าแก๊สถ่านหิน. มันเป็นทุกด้าน, เป็นความรอบรู้, และมีอยู่ทั่วไปทุกหนแห่ง. มันเป็นโลกแห่งอุดมคติซึ่งมักจะล้นทะลักขึ้นมาจากโลกของความเป็นจริง และไหลย้อนกลับลงไปสู่ความจริงอีกครั้ง ด้วยความรุ่มรวยของจิตวิญญานที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกๆดวง และเปลี่ยนแปลงวิญญานของผู้คนขึ้นมาใหม่ [5]
ในช่วงทศวรรษที่ 1840s หนังสือพิมพ์ได้กลายเป็นภูมิประเทศของการต่อสู้กัน ระหว่าง"ผู้ปกป้องมัน" กับ"บรรดาผู้วิจารณ์มัน". บางคนมองมันในฐานะที่เป็นเครื่องมือของความก้าวหน้า และตัวแทนของยุคสว่างหรือยุคแห่งพุทธิปัญญา(enlightenment), ขณะที่บางคนกลับเห็นว่า มันเป็นพาหะของความวุ่นวาย วอกแวก และซ้ำซากจำเจ. ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มการเมืองคนละขั้วต่างก็พัฒนาหนังสือพิมพ์ที่แตกต่างของตนเองขึ้น และพยายามที่จะสร้างความคิดเห็นสาธารณะขึ้นมาให้เป็นรูปเป็นร่างในหนทางที่แตกต่าง
การวิจารณ์ที่รุนแรงสุดๆมาจากบรรดานักคิดอย่าง Kierkegaard ผู้ซึ่งมองหนังสือพิมพ์ในฐานะที่เป็นสุนัขจู่โจมที่ชั่วร้าย ซึ่งคอยตามไล่กัดปัจเจกชนในทางที่ดูถูกเหยียดหยาม และมันแพร่กระจายภาพหลอนอันนั้นดั่งผีร้ายไปสู่สาธารณชน พร้อมเสนอความเห็นอันหลอกลวงต่อผู้คนเหล่านั้น [6]
งานเขียนของ Neitzsche ที่ยืดขยายไปสู่การวิจารณ์เกี่ยวกับหนังสือพิมพ์ พบได้ในงานเขียนต่างๆหลายชิ้นในช่วงต้นๆ ซึ่งได้วิจารณ์เกี่ยวกับวัฒนธรรมมวลชนและสังคมรวมกัน. ตลอดงานต่างๆของเขาในช่วงนั้น Neitzsche มองวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของชีวิตมนุษย์ และเชื่อว่าวัฒนธรรมที่แข็งแรงและมีสุขภาพ จะต้องสร้างปัจเจกชนให้โดดเด่นแตกต่าง, สร้างสรรค์, และทรงอำนาจขึ้นมา. ในทางตรงข้าม วัฒนธรรมที่อ่อนแอและแตกออกเป็นเสี่ยงๆจะสร้างผู้คนที่ต่ำต้อยน้อยค่า และอะไรที่มันมีคุณภาพปานกลาง, ไม่ดีไม่เลวขึ้นมา
งานวิจารณ์ของเขาเริ่มต้นขึ้นด้วยงานเขียนในช่วงแรกๆที่ให้ภาพตรงข้ามระหว่างวัฒนธรรมกรีกที่เข้มแข็งและมีสุขภาพ กับ วัฒนธรรมเยอรมันที่ซ้ำซาก เก่าแก่ ไร้ชีวิตชีวา, และมันต่อเนื่องจนมาถึงงานเขียนในช่วงหลังๆ ที่ซึ่งเขาให้ภาพตรงข้ามเกี่ยวกับแนวคิดของตัวเขาเองเกี่ยวกับวัฒนธรรม และความเป็นปัจเจกที่เข้มแข็ง กับ แนวคิดยูโรเปียนสมัยใหม่ที่มาครอบงำ
การวิพากษ์วัฒนธรรมมวลชนของ
Neitzsche ตอนเป็นหนุ่ม
Neitzsche ในช่วงแรกมองกรีกในฐานะที่เป็นแบบของวัฒนธรรมที่แข็งแรง มีสุขภาพ และเป็นอินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งให้กำเนิดปัจเจกชนในเชิงสร้างสรรค์และมั่นคงหนักแน่น.
ในหนังสือซึ่งได้รับการตีพิมพ์ขึ้นมาเล่มแรกเรื่อง _The Birth of Tragedy_, Neitzsche
ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง "วัฒนธรรมแบบ Dionysian ที่สั่นสะเทือนและกังวานอยู่ในวัฒนธรรมกรีกก่อนโสกราตีส"
กับ "เรื่องโศกนาฏกรรมกรีก และหลักฐานอันขึ้งเครียดและมีความเป็นเหตุเป็นผลมากกว่าของวัฒนธรรม
Apolonian ซึ่งอยู่ในยุคเหตุผลแบบโสกราตีสและเรื่องโศกนาฏกรรมกรีกในยุคต่อมา"
วัฒนธรรม Dionysian เป็นวัฒนธรรมที่เน้นการยืนยันเกี่ยวกับชีวิตให้โลดแล่นและโดดเด่น เป็นการแสดงออกถึงพลังอันมีชีวิตชีวาของชีวิต, ร่างกาย, อารมณ์, และกิเลส-ตัณหา, และยังหลอมรวมปัจเจกชนทั้งหลายให้มามีส่วนร่วมปันกันในประสบการณ์ทางด้านวัฒนธรรม ซึ่งมันก่อให้เกิดความปิติ, เคลิบเคลิ้ม, มึนเมา, เบิกบานใจ, และเป็นการเฉลิมฉลอง ซึ่ง Neitzsche เชื่อว่าได้สรรค์สร้างปัจเจกชนให้เข้มแข็งและมีสุขภาพ รวมไปถึงได้สถาปนาวัฒนธรรมที่กระฉับกระเฉงขึ้นมา
ในทัศนะของ Neitzsche, วัฒนธรรมแบบโสกราตีสเป็นการขานรับหรือโต้ตอบกับความล้มเหลวและการแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยของวัฒนธรรมโศกนาฏกรรมกรีก ซึ่งมันพยายามที่จะทดแทนด้วยคุณค่าต่างๆที่ร่วมปันกันชุดหนึ่งของจริยธรรมที่มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน, บรรทัดฐานทางทฤษฎี, และระเบียบวิธีที่มีลักษณะตรรกะ, โดยมีพื้นฐานอยู่บนตรรกะแบบโสกราตีสและความมีเหตุมีผล ซึ่งได้มาทดแทนเทพเจ้าแห่งสงครามของกรีก ด้วยวัฒนธรรมซึ่งมีเหตุมีผลกว่าและมีลักษณะสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกัน
ด้วยเหตุนี้ในความหมายหนึ่ง, วัฒนธรรมแบบโสกราตีสจึงเป็นการนำเสนอ หรือการให้การเยียวยากับภาวะปัจจุบันทันด่วนทางวัฒนธรรม(cultural emergency) ด้วยลัทธิเหตุผลแบบสุดขั้ว เพื่อเหนี่ยวรั้งแรงกระตุ้นทางด้านสงครามอันรุนแรง ซึ่งได้ถูกปลดปล่อยออกมา และโสกราตีส/เพลโต เชื่อว่าเป็นสิ่งที่หลุดออกไปจากการควบคุม
ผลลัพธ์ดังกล่าวสามารถที่จะทำให้เป็นรูปของสมการได้ดังนี้คือ: เหตุผล = ความรู้ = ความดี (หมายความถึง "เหตุผล"มีค่าเท่ากับ"ความรู้" และ"ความดี"), การทำให้มีเหตุมีผล คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ของความจริงและการมีศีลธรรม [7]
ดังนั้น วัฒนธรรมแบบโสกราตีสจึงมาทดแทนสิ่งที่ Neitzsche มอง ในฐานะที่เป็นวิสัยทรรศน์แบบโศกสลดของความทุกข์และความเจ็บปวดก่อนโสกราตีสอันลึกซึ้ง(the profound pre-Socratic tragic vision of suffering), และการไถ่บาปผ่านวัฒนธรรม ด้วยการมองโลกในแง่ดีแบบโสกราตีสที่ว่า เหตุผลสามารถที่จะนำเราไปค้นพบความจริง และมันได้สร้างชีวิตที่ดีอันหนึ่งขึ้นมา
สำหรับ Neitzsche การมีชัยชนะของมนุษย์ในทฤษฎีแบบโสกราตีส ได้เตรียมการและให้กำเนิดลัทธิเหตุผลสมัยใหม่ และการมองโลกในแง่ดีหรือสุทรรศนนิยมของยุคสว่าง(modern rationalism and Enlightenment optimism)ขึ้น. อันนี้ได้ถูกนำมาถ่วงดุลกับการมองโลกในแง่ร้ายหรือทุทรรศนนิยมแบบโศกสลด(tragic pessimism) ซึ่งเป็นท่าทีและวิธีการของที่ปรึกษาอันชาญฉลาดในช่วงต้นๆของเขา คือ Schopenhauer และ Wagner, ที่ได้มองและสัมผัสกับปรัชญาและศิลปะอันยิ่งใหญ่ ในฐานะที่เป็นครูและเป็นเครื่องมือของวัฒนธรรมที่เข็มแข็งและมีสุขภาพ[8]
โดยตลอดงานของเขา, Neitzsche มองวัฒนธรรมแบบโสกราตีสในฐานะที่เป็นพลังอำนาจของการก่อตัวขึ้นมาอันหนึ่งของยุคโมเดิร์น, ด้วยผลลัพธ์ต่างๆเกี่ยวกับการปฏิเสธชีวิตพร้อมกันไปด้วย (ยกตัวอย่างเช่น _Twilight of the Idols_, "Socrates")
ด้วยเหตุนี้ "โสกราตีส"สำหรับ Neitzsche จึงเป็นสัญลักษณ์อันหนึ่งของความเน่าเปื่อยผุพัง, ของความห่อเหี่ยวเรียวลีบของสัญชาตญานแห่งชีวิต ที่ซึ่งเหตุผลได้ก้าวเข้ามาสู่ความมีอิทธิพลครอบงำร่างกายและอารมณ์ มันเป็นกระบวนการอันหนึ่งที่เข้มข้นขึ้นตามลำดับนับเป็นศตวรรษๆ และนั่น Neitzsche มองมันในฐานะที่เป็นการสถาปนาสำหรับยุคสมัยใหม่ขึ้นมา
ในหนังสือเรื่อง_The Birth of Tragedy_, Nietzsche ได้ให้การสนับสนุนโรงดุริยางคศิลป์ของ Richard Wagner ในฐานะพลังอำนาจทางวัฒนธรรมที่กระฉับกระเฉงและมีชีวิตชีวาอย่างมีศักยภาพ ซึ่งเขาหวังที่จะเสริมเติมให้เกิดวัฒนธรรมเยอรมันขึ้นมาใหม่ และโดยตัวของ Wagner เอง เขาได้สร้างมิตรภาพ ที่แม้ว่าจะเป็นไปในทางที่ขัดแย้ง แต่มันมีความลึกซึ้งอันหนึ่งขึ้นมา
อันที่จริง Neitzsche ได้กลายเป็นคนที่คุ้นเคยซึ่งได้ไปเยี่ยมเยียนบ้านของ Wagner อยู่บ่อยๆใน Tribschen และเป็นนักโฆษณาชวนเชื่อสำหรับละครดนตรีของนักดนตรีที่โดดเด่นผู้นี้ ซึ่งเขาหวังว่ามันจะเตรียมพื้นฐานให้กับวัฒนธรรมใหม่ของเยอรมัน
ตอนใกล้ๆจะจบของหนังสือเล่มนี้ Neitzsche ได้อธิบายถึงการเสื่อมค่าและต้อยต่ำของศิลปกรรมร่วมสมัย และยังพูดถึงการวิจารณ์ทางวัฒนธรรมที่มีคุณภาพต่ำ "ที่เตรียมขึ้นมาโดยการศึกษาและหน้าหนังสือพิมพ์" อันนี้ได้น้อมนำไปสู่การไร้สมรรถภาพที่จะซาบซึ้งในศิลปะที่แท้จริง:...
ยกตัวอย่างเช่น ความพยายามที่จะใช้โรงละครเป็นสถาบันหนึ่งเพื่อการศึกษาทางด้านศีลธรรมของผู้คน ยังคงเป็นไปอย่างเอาจริงเอาจังในช่วงเวลาของ Schiller [(Johann Christoph) Friedrich von 1759-1805 กวีและนักการละครเยอรมัน) มันได้รับการคิดคำนวณมาแล้วท่ามกลางวันเวลาอันเก่าแก่ของการศึกษาอันไม่น่าเชื่อถือ
ในขณะที่นักวิจารณ์ซึ่งอยู่ ณ ตำแหน่งที่ได้เปรียบในโรงละครและห้องแสดงคอนเสริท, นักเขียนหนังสือตามหน้าวารสารของโรงเรียนต่างๆ, และหนังสือพิมพ์ในสังคม, ศิลปะได้เสื่อมค่าลงสู่หัวข้อที่อยู่ล่างๆของการสนทนากันโดยเฉพาะ และการวิจารณ์เชิงสุนทรียศาสตร์ก็ถูกนำมาใช้ในฐานะที่เป็นวิธีการอันหนึ่งของหน่วยที่เหลวไหลไร้สาระ ซึ่งหาประโยชน์อันใดมิได้, ทำให้ไขว้เขว, เห็นแก่ตัว, และยิ่งไปกว่านั้น ยังชอบวิสาสะเรื่องที่ปราศจากการริเริ่มสร้างสรรค์กันอย่างน่าเวทนา(_The Birth of Tragedy_, S22, pp. 133-134)
ดังนั้น Neitzsche จึงมองวัฒนธรรมมวลชนว่า ที่มันไม่สูญไปและเป็นอมตะอยู่ได้ก็เพราะ มันกระทำโดยผ่านการเรียนการสอนในโรงเรียนและหน้าหนังสือพิมพ์ เขามองวัฒนธรรมมวลชนในฐานะที่เป็นการไปขุดเซาะทำลายศิลปะที่แท้ และสร้างวัฒนธรรมที่มีคุณภาพปานกลาง(mediocre culture)อันหนึ่งขึ้นมา
Neitzsche ตัวเขาเอง หวังที่จะสร้างรากฐานต่างๆทางปรัชญาสำหรับวัฒนธรรมใหม่ ซึ่งจะชุบชีวิตเยอรมันนีขึ้น และทำการศึกษาเกี่ยวกับปรัชญากรีก ซึ่งเขาเชื่อว่า มันจะช่วยตระเตรียมและนำเสนอส่วนประกอบสำคัญอันเป็นแก่นแท้สำหรับวัฒนธรรมที่ยืนยันรับรองเกี่ยวกับชีวิต(life-affirming culture) ซึ่งจะยังผลถึงการสร้างปัจเจกชนทั้งหลายให้มีความเข้มแข็งและมีความพิเศษเหนือกว่าขึ้นมา
แต่อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1873 Nietzsche ได้เปลี่ยนจากการไตร่ตรองของเขาที่มีต่อปรัชญากรีก และได้ฉายให้เห็นถึงการพัฒนาการอันเป็นมุมมองทางปรัชญาของตัวเขาเองขึ้น โดยเขาได้เขียนหนังสือชุดหนึ่งที่โจมตีต่อยุคปัจจุบัน
บ่อยทีเดียว บรรดานักวิจารณ์และนักแสดงความคิดเห็น มองการเปลี่ยนแปลงที่มุ่งสู่ความเป็นร่วมสมัยครั้งนี้ในฐานะที่เป็นความพยายามที่จะทำให้ Wagner พึงพอใจ ผู้ซึ่งแสดงอาการดูถูกเกี่ยวกับการศึกษาต่างๆทางด้านปรัชญา และปรัชญาบริสุทธิ์ และในฐานะที่เป็นการแทรกแซงอย่างมีประสิทธิภาพต่อ Neitzsche ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามต่างๆทางวัฒนธรรมของเยอรมันในยุคนั้น[9]
ขณะเดียวกัน มันก็รับใช้และเป็นประโยชน์ต่อโครงการ Wagnerian เกี่ยวกับการก่อรูปวัฒนธรรมเยอรมันร่วมสมัย และความปรารถนาของ Wagner ที่จะได้เห็นงานวิจารณ์ชิ้นหนึ่งที่ได้รับการตีพิมพ์ของศัตรูของเขา Strauss, ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยวิพากษ์วิจารณ์เขา และอาจมีอิทธิพลต่อเจตคติโดยตรงของ Nietzsche, ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่"การสะท้อนกลับต่างๆที่ไม่ถูกกาละเทศะ"(untimely reflections) เป็นการเคลื่อนไหวที่ชี้ขาดอันหนึ่งที่ไปผูกมัดวัฒนธรรมร่วมสมัยให้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานที่เป็นแกนกลางเกี่ยวกับโครงการทางปรัชญาที่ปรากฎตัวขึ้นมาของ Neitzsche
Neitzsche เริ่มรับหน้าที่เป็นตัวแทนปรากฎการณ์ที่เป็นแกนหลักของยุคสมัย ในงานเขียนชุดที่เกี่ยวกับ _Unmodern Observations_ ซึ่งได้โจมตีจิตวิญญานของยุคสว่าง(the Enlightenment) อันนี้ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญและลักษณะเฉพาะของเยอรมันนีและยุคสมัยใหม่ ขณะเดียวกันก็เสนอไอเดียต่างๆเพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
เป้าหมายหลักอันแรกของ_Observations_คือนักเขียนเยอรมัน
David Friedrich Strauss, ผู้เขียนเรื่อง _Life of Jesus_ อันทรงอิทธิพล โดยผ่านการเปรียบเทียบรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องราวของ
Jesus ใน Gospels ซึ่งได้ให้เหตุผลว่า ศาสนาคริสต์เป็นปกรณัมหรือมายาคติอันหนึ่ง
ซึ่งได้มารับใช้ความต้องการของผู้คนของยุคสมัยนั้น
(Gospels
- บันทึกคำสั่งสอนและชีวิตของพระเยซูในหนังสือสี่เล่มแรกของ The New Testatment)
Neitzsche ได้อ่านงานที่น่าตกใจนี้ถึงยี่สิบรอบ
ซึ่งได้มีการตีความขึ้นมาใหม่เพื่อปลดปล่อยเนื้อหาอันเป็นมายาคติให้เป็นอิสระ(demythologizing)
และรู้สึกประทับใจอย่างลึกซึ้งกับการวิจารณ์เชิงปรัชญาของ Strauss[10]. แต่ต่อมาภายหลัง
หลังจากการแสดงความเคารพที่ให้กับงานในช่วงต้นๆของ Strauss, Neitzsche ได้วิพากษ์งานเขียนต่างๆของ
Strauss ที่เพิ่งจะเขียนขึ้นมาไม่นาน เขามองว่ามันเป็นตัวอย่างหรืออุทาหรณ์ของลัทธิป่าเถื่อน(philistinism)
ซึ่งกำลังครอบครองชีวิตชาวเยอรมัน นับตั้งแต่ชัยชนะของชาวเยอรมันที่มีต่อชาวฝรั่งเศส
และหลอมรวมกัน อันนี้ได้มากีดกันและขัดขวางการถือกำเนิดขึ้นมาใหม่ของวัฒนธรรมที่แท้
ซึ่งเขาปรารถนา(_Dionysus_, S2)
(philistinism
- หมายถึงความป่าเถื่อนที่ไม่รู้จักศิลปวิทยาหรือเรื่องราวทางอักษรศาสตร์)
สำหรับการตำหนิติเตียนและวิพากษ์อย่างรุนแรง ในความปิติยินดีและความพึงพอใจเกี่ยวกับตัวตนของชาวเยอรมันหลังจากสงคราม Franco-Prussian war, Neitzsche ได้เขียนเอาไว้ว่า:...
ผมรู้สึกถึงความสนุกสนาน รื่นเริงใจอย่างเหลือล้น ในความเชื่อมั่นต่อตนเองมากเกินไปของบรรดานักเขียนหนังสือตามหน้านิตยสารเยอรมัน และบรรดาคนงานโรงงานผลิตนวนิยาย, เรื่องโศกนาฏกรรม, บทกวี, และเรื่องราวประวัติศาสตร์ต่างๆ. แน่นอน บุคคลเหล่านี้ได้สร้างคลับที่ถักชุนกันขึ้นมาอย่างเหนียวแน่น ซึ่งได้สมคบกันที่จะมาควบคุมชั่วโมงต่างๆที่คนในยุคสมัยใหม่ได้อุทิศเวลาให้กับการพักผ่อนหย่อนใจและการย่อยซึม นั่นคือ "ช่วงขณะของวัฒนธรรม"ของเขา, และทำให้เขามึนงงกึ่งสลบไสลด้วยสาระที่ตีพิมพ์ออกมา
นับตั้งแต่สงครามเป็นต้นมา ทั้งหมดเป็นความสนุกสนานเพลิดเพลิน, เป็นความสง่าผึ่งผาย, และความพึงพอใจส่วนตัวสำหรับคลับเล็กๆอันนี้. หลังจาก"การมีชัยชนะของวัฒนธรรมเยอรมัน" บรรดาสมาชิกของวัฒนธรรมนี้ พิจารณาตัวของพวกเขาเองโดยไม่เพียงสถาปนาและให้สัตยาบันต่อมันเท่านั้น แต่ยังเกือบๆทำให้มันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วย, และโดยเหตุนี้ จึงกล่าวถึงมันทั้งหมดอย่างค่อนข้างขึงขังจริงจังมาก. พวกเขายินดีและปลาบปลื้มในความดึงดูดใจโดยตรงต่อผู้คนเยอรมัน และตีพิมพ์ผลงานที่ได้รับการรวบรวมขึ้นมาของพวกเขาในท่าทีของนักประพันธ์คลาสสิค ยิ่งกว่านั้น ยังประกาศในหน้านิตยสารต่างๆโดยมีการจัดลำดับตำแหน่งกันเอง ให้คนเพียงไม่กี่คนในหมู่พวกเขา เป็นผู้ที่จะมาเป็นแบบอย่างใหม่ที่คลาสสิคของพวกเรา (_Dionysus_, S1)
อันนี้ได้ประกอบกันขึ้นเป็นสิ่งที่ Neitzsche เรียกว่า "การข่มขืนกระทำชำเราของความสำเร็จ"(abuse of success) และเขาหวังว่า อย่างน้อยที่สุด ชาวเยอรมันบางคนน่าจะก้าวไปข้างหน้าเพื่อวิพากษ์"ภาพที่ปรากฎอันน่าเศร้านี้ ซึ่งแสดงออกมาต่อหน้าต่อตาพวกเขา"
Neitzsche ตัวเขาเองได้ประณาม"กลุ่มของสังคมนักวิชาการ"สำหรับการปฏิเสธ และไม่ให้ความสนใจต่อการผูกมัดหรือพัวพันกับ"วัฒนธรรมป๊อปปิวล่าร์(ประชาชน)ของเยอรมัน" และไม่เอาใจใส่ที่จะสำรวจถึงความพร่องของวัฒนธรรมที่เป็นหนึ่งเดียวและความก้องกังวานในเยอรมันนี
Strauss สำหรับ Neitzsche ถือเป็นแบบอย่างของ"ลัทธิป่าเถื่อนที่ไม่เอาใจใส่ต่อศิลปวิทยาและอักษรศาสตร์ทางวัฒนธรรม"(cultural philistinism) ซึ่ง Neitzsche เชื่อว่ามันกำลังมาขุดเซาะและทำลายวัฒนธรรมและสังคมเยอรมันร่วมสมัย. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Neitzsche รู้สึกใจหายใจคว่ำที่ว่า Strauss ได้จัดให้ตัวของเขาเองเป็นครูของธรรมชาติในความเป็นเยอรมัน ผู้ปอปั้นและสถาปนารูปร่างของคนรุ่นต่อไป, หรือนัยะหนึ่งคือครูของเยาวชน. สำหรับ Neitzsche มันเป็นเรื่องที่น่ากลัวที่จะไตร่ตรองว่า ลัทธิป่าเถื่อนที่ไม่สนใจในศิลปวิทยาและอักษรศาสตร์อันซ้ำซากเก่าแก่นั้น สามารถที่จะสถาปนารูปลักษณ์อนาคตของเยอรมันนีขึ้นมาได้ ซึ่งเขาเขียนเอาไว้ใน_Dionysus_, S7
Neitzsche มองการแพร่กระจายของวัฒนธรรมมวลชนในฐานะที่เป็นต้นตอหรือแหล่งกำเนิดของความตกต่ำทางความคิดและวัฒนธรรมในยุโรปร่วมสมัย. ส่วนไอเดียของ Strauss ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับหนอนหนังสือก็เป็นแบบเดียวกัน, ซึ่งในข้อเท็จจริง, มันหมายถึงสิ่งพิมพ์ประเภทนิตยสาร(_Dionysus_, S8)[11] ความเสื่อมทรามทางวัฒนธรรมเป็นผลลัพธ์อันเนื่องมาจากวัฒนธรรมมวลชน ซึ่งมีอิทธิพลต่อภาษา, สไตล์, ไอเดีย และการตัดสินต่างๆซึ่งแพร่หลายวนเวียนและครอบงำอยู่ทั่วไป. ในทัศนะของ Neitzsche ได้แสดงออกดังนี้:...
ส่วนสำคัญเกี่ยวกับสาระการอ่านในชีวิตประจำวันของชาวเยอรมันสามารถค้นพบได้, เกือบทั้งหมดโดยปราศจากข้อยกเว้น, คือการอ่านหน้าบนหน้าหนังสือพิมพ์รายวันและนิตยสารมาตรฐาน. ภาษาเหล่านี้ การหยดหยาดไหลซึมอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ขาดสายของมัน - มันคือคำที่ใช้เหมือนๆกัน, วลีที่คล้ายๆกัน - ที่ได้มาสร้างความประทับใจให้กับโสตประสาท
ส่วนใหญ่แล้ว ชั่วโมงต่างๆที่อุทิศให้กับการอ่านอันนี้คือสิ่งเหล่านั้นซึ่ง จิตใจของพวกเขาต้องเหน็ดเหนื่อยและรู้สึกล้าเกินไปที่จะต่อต้าน. โดยระดับดีกรีต่างๆ หูได้สัมผัสและรู้สึกสบายกับวันทำงานของชาวเยอรมันโดยทั่วไป และจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อ, ด้วยเหตุผลบางประการ, ถ้ามันไม่ถูกได้ยิน. แต่เกือบทั้งหมดตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงที่มาครอบงำอันหนึ่ง, บรรดาผู้ผลิตหนังสือพิมพ์เหล่านี้และนิตยสารหรือวารสารที่ออกตามกำหนดเวลา ส่วนใหญ่แล้ว ถูกทำให้คุ้นเคยกับภาษาเฉพาะตนในแวดวงนิตยสารที่เต็มไปด้วยโคลนตม
พวกเขาได้สูญเสียรสนิยมและรสชาติปรุงแต่งทั้งหมดทางด้านภาษาหนังสือไปแล้ว, ทั้งหมดข้างต้นนั้น มันเป็นความเน่าเปื่อย เสื่อมค่า และความไม่แน่นอนตามอารมณ์. อันนี้อธิบายได้ว่าคือ tutti unisono ซึ่งสิ่งใหม่ๆทุกๆอย่างได้สร้างเสียงดังกังวานที่ผิดหลักไวยากรณ์(solecism)ขึ้นมาโดยตรง โดยไม่คำนึงถึงความเฉื่อยชา อ่อนแอปวกเปียก ด้วยการใช้ศัพท์ผิดๆอย่างอวดดีและยโสของพวกเขา ค่าจ้างคนงานเหล่านี้ทางด้านภาษา ได้แก้แค้นหรือทำโทษต่อภาษาพ่อแม่ที่พวกเราใช้พูดกันมาแต่เด็ก และรู้สึกเบื่อหน่ายต่อสิ่งเหล่านี้อย่างไม่น่าเชื่อเอามากๆทีเดียว
...เมื่อความไร้ชีวิตชีวาและรสชาติถูกทำให้เป็นเรื่องธรรมดาๆสามัญไป, และความอ่อนแอปวกเปียกถูกยอมรับในฐานะที่เป็นบรรทัดฐาน และการใช้ภาษาอย่างผิดๆและปราศจากความเหมาะสมเป็นข้อยกเว้นอันมีเสน่ห์ ถ้าเป็นเช่นนั้น พลังอำนาจ ความไม่ปกติผิดธรรมดา และความงามจึงตกต่ำลงไปสู่ความฉาวโฉ่ไม่น่าเชื่อถือ
อันนี้คือเหตุผลที่ว่าทำไมในเยอรมันนี บ่อยครั้ง พวกเรามักจะได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวที่หล่อเหลา ซึ่งได้ไปเยี่ยมเยือนดินแดนแห่งหนึ่งของผู้คนที่หลังค่อม. เมื่อตอนที่เขาเดินทางไปถึง ณ ดินแดนแห่งนั้น เขาได้ถูกเยาะเย้ยถากถางและกล่าวร้ายสำหรับความผิดปกติพิการที่เด่นชัดของเขา - นั่นคือเขาไม่มีปุ่มโปนที่เป็นโคกนูนบนหลังนั่นเอง. ในท้ายที่สุด นักบวชคนหนึ่งได้ยกเอามูลเหตุของเขาขึ้นมา และกล่าวกับประชาชนทั้งหลายว่า: "มันเป็นเรื่องที่น่าสงสารอย่างยิ่งสำหรับคนแปลกหน้าที่อับจนข้นแค้น และใคร่ที่จะถวายคำขอบพระคุณต่อพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย หากจะทำให้ชายผู้นี้สง่างามด้วยปุ่มโคกที่โหนกนูนเป็นเนินกลมอันทรงเกียรติและภาคภูมินั้น(_Dionysus_, S11)
ตลอดเนื้อหาของเรื่อง _Meditations_, Nietzsche อ้างว่า วัฒนธรรมสมัยใหม่เป็นการผสมผสานรวมตัวกันแบบป่าเถื่อนของสไตล์, ไอเดีย, และผลงานที่แข่งขันชิงชัยกัน ซึ่งมีลักษณะแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และโจมตีลัทธิเหตุผลนิยมที่มากเกินปกติ, ลัทธิปัจเจกชนนิยมที่สนใจและให้ความสำคัญแต่เฉพาะตัวเองมากจนเกินไป(egotistic individualism), ลัทธิสุทรรศนิยมมองโลกในแง่ดีอันตื้นเขิน, การทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน, และการแตกออกเป็นเสี่ยงๆ ซึ่งเขามองสิ่งเหล่านี้ในฐานะที่มันเป็นอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมสมัยใหม่
ในเรื่อง _On the Uses and Disadvantages of History for Life_, Neitzsche อธิบายว่า ด้วยการแพร่หลายของการศึกษาประวัติศาสตร์ มนุษย์สมัยใหม่กำลังกลายเป็นอัมพาตและถูกครอบงำหรือคลุมไปด้วยความรู้ประวัติศาสตร์(_Husserl_, Foreword)
เขาได้ให้เหตุผลว่า: "พวกเรา คนในยุคสมัยใหม่ทั้งหลาย...ไม่ได้ครอบครองอะไรเลยซึ่งเป็นของๆเราอย่างแท้จริง", เราเพียงย่อยและดูดซึมความรู้ข้อเท็จจริงจำนวนมากที่ปกคลุมอยู่ ซึ่งไม่ได้แสดงบทบาทในลักษณะเปลี่ยนแปลงใดต่อชีวิตทางสังคมแต่ประการใด: และดังนั้น ทั้งหมดของวัฒนธรรมสมัยใหม่ โดยสาระแล้ว มันเป็นเสมือนหน้าหนังสือที่อยู่ภายใน; ซึ่งที่หน้าปก และหน้ารองในหนังสือตีตราชื่อเรื่องเอาไว้ในทำนองว่า" 'Handbook of Inner Culture for Outward Barbarians (_Husserl_, S4)
ความเชื่อที่ว่า บรรดาปัจเจกชนทั้งหลายในยุคโมเดิร์น ต่างทุกข์ทรมานจากบุคลิกภาพที่อ่อนแออันหนึ่ง, Neitzsche ต้องการที่จะศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เพื่อเข้าไปนำมันมารับใช้และสร้างสรรค์บุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่ เพื่อช่วยทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะให้กำเนิดวัฒนธรรมซึ่งรับรองเกี่ยวกับชีวิต (life-affirming culture)
ในช่วงระหว่างทศวรรษที่
1870s, Neitzsche รู้สึกผิดหวังเพิ่มมากขึ้นกับลัทธิป่าเถื่อนที่ไม่สนใจศิลปวิทยาและอักษรศาสตร์(philistinism)ของ
the German Reich และถูกทำให้เข้มข้นขึ้นในเชิงที่ก้าวหน้าผ่านทศวรรษที่ 1880s
ซึ่งเป็นการวิจารณ์ของเขาเกี่ยวกับวัฒนธรรมชนชั้นกลางของเยอรมัน, Wagner, Bismarck,
ลัทธิทหารนิยมเยอรมัน(German militarism), และอาณาจักรไรค์
(the German Reich
หมายถึงอาณาจักรไรค์ที่สอง ช่วงปี ค.ศ. 1870-1898) -: สำหรับคำว่า Reich หมายถึง
อาณาจักร, ชาติ, จักรวรรดิ์ / อาณาจักรไรค์ที่หนึ่ง(First Reich)หมายถึงจักรวรรดิ์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ระหว่างปี ค.ศ. 962-1806, ส่วนอาณาจักรไรค์ที่สอง(Second Reich)คือ จักรวรรดิ์เยอรมันระหว่างปี
ค.ศ.1870-1898) และ อาณาจักรไรค์ที่สาม(Third Reich)หมายถึงเยอรมันนีในสมัยนาซี
ระหว่างปี ค.ศ.1933-1945 สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง]
เขาได้วางระยะห่างของตัวเองจากการค้นหา เพื่อวัฒนธรรมใหม่ของชาวเยอรมันที่มีพื้นฐานอยู่บนงานทางด้านละครดนตรีของ Wagner และได้ตีพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับคำพังเพยขึ้นมาชุดหนึ่ง ซึ่งได้ให้การสนับสนุนจิตวิญญานแห่งยุคสมัยเกี่ยวกับยุคสว่างและการวิพากษ์สังคม, ซึ่งเริ่มต้นด้วยเรื่อง _Human, All Too Human_.
การวิจารณ์ของ Neitzsche
เกี่ยวกับยุคปัจจุบันของเขา
สำหรับ Neitzsche วัฒนธรรมมวลชนผนึกรวมถึงหนังสือพิมพ์, รูปแบบต่างๆทางวัฒนธรรม
นับจากนิตยสารต่างๆไปจนถึงสิ่งพิมพ์ทางวิชาการทั้งหลาย, ศาสนา, การเมือง, เบียร์,
และชาตินิยม[12]. Neitzsche มองถึงความสำคัญของวิธีการต่างๆที่ปรากฎขึ้นมาในด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาเกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่:
"หนังสือพิมพ์, เครื่องจักร, ทางรถไฟ, โทรเลข สิ่งเหล่านี้คือหลักฐานหรือข้อสนับสนุนซึ่งเป็นบทสรุปมานับพันปีที่ไม่มีใครคนใดกล้าเขียน(_Harvey_,
p. 378)[13]
ต่อทั้งหมดนั้น วัฒนธรรมมวลชนในงานเขียนของเขานับจากช่วงกลางเป็นต้นมา จนกระทั่งถึงช่วงปลาย มันคือสิ่งซึ่งทำให้เป็นมวลชน, สิ่งซึ่งมีระดับชั้น, สิ่งซึ่งได้ผลิตวัฒนธรรมและลักษณะปัจเจกแบบคุณภาพปานกลางที่ไม่ดีไม่เลวขึ้นมา
ยกตัวอย่างเช่น ศาสนาถือเป็นรูปแบบหนึ่งของวัฒนธรรมมวลชนสำหรับ Neitzsche (Religion, for example, was a form of mass culture for Nietzsche). แม้ว่าบางครั้ง Neitzsche จะถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกที่นิยมความไร้เหตุผล(irrationalist) เพราะเขาได้โจมตีต่อศาสนาคริสต์อย่างรุนแรงและชัดเจน เนื่องจากความไร้เหตุผลของมัน(หมายถึงศาสนาคริสต์) และการโจมตีเรื่องร่างกายของผู้คนและโลกที่เราดำรงอยู่
Jesus Christ, เขาอ้าง, "สนับสนุนความโง่งมของมนุษย์, และวางตัวของพระองค์เองอยู่ในฝ่ายของคนยากจนในทางจิตวิญญาน และถ่วงให้ผลผลิตทางด้านสติปัญญาที่จะพัฒนาไปสู่จุดสุดยอดช้าลง" (_Harvey_, p. 112)
Nietzsche ยังชำแหละการเป็นตัวแทนความคิดและขนบจารีตที่แตกต่างในเชิงคุณค่าของชาวคริสเตียนซึ่งประกาศว่า ความเข้มแข็งและปัญญาเป็นสิ่งที่เลว(which declared strength and wisdom as bad), ขณะเดียวกัน ความต่ำต้อย, ความอ่อนน้อมถ่อมตน, และการยอมจำนนถูกเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ดี(while lowliness, humility, and submission were deemed "good"). เขาเชื่อว่า การส่งเสริมเกี่ยวกับศีลธรรมแห่งความเป็นทาสอันนี้ ได้ประเมินคุณค่าจิตวิญญานเหนือร่างกายมากจนเกินไป และสนับสนุนการข่มระงับและความถดถอยในทางสังคมทั่วไป (_Genealogy of Morals_)
การเมืองสมัยใหม่สำหรับ Neitzsche ถือว่ามันเป็นรูปแบบหนึ่งของวัฒนธรรมมวลชนด้วย. Neitzsche เป็นคนที่ต่อต้านเรื่องการเมือง(anti-political)ในความหมายที่เขาเชื่อว่า การเมืองมวลชนร่วมสมัยได้น้อมนำไปสู่การปรับตัวให้ลงรอยกันของฝูงชน, มันเป็นการสูญเสียความเป็นปัจเจกชน, และเป็นการจัดการมวลชนที่ทำให้มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน
ในเรื่อง_Thus Spake Zarathrustra_, ถือเป็นหนึ่งในงานเขียนของเขาในเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับรัฐสมัยใหม่ในฐานะ"เทวรูปองค์ใหม่"(The New Idol), การนำเสนอรัฐในฐานะที่เป็น"อสุรกายที่เยือกเย็น"(a cold monster)นั่นคือ "ความตายของผู้คน". การเปรียบเทียบความต่างระหว่าง"ผู้คน"กับจารีตของพวกเขา"ธรรมเนียมและสิทธิต่างๆ" และรัฐสมัยใหม่กับคำโกหกและความหลอกลวงต่างๆ ได้แพร่กระจายผ่านหนังสือพิมพ์และวัฒนธรรมมวลชน
การวิจารณ์ของ Neitzsche เกี่ยวกับรัฐ อุบัติขึ้นมาจากตำแหน่งที่มีลักษณะปัจเจกอย่างสุดขั้วในเรื่อง_Zarathrustra_, ซึ่งเขาได้ให้การสนับสนุนการถอนตัวและแยกตัวออกจากการมีส่วนร่วมและความเกี่ยวข้องกับสังคมมวลชน: "กลิ่นอันเหม็นเน่าของเทวรูปบูชาของมัน, อสุรกายที่เยือกเย็น... จงพังประตูและหน้าต่างออกไป และกระโจนไปสู่เสรีภาพ"
การวิจารณ์ของ Neitzsche เกี่ยวกับรัฐ ได้ถูกนำไปผูกติดให้มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับการวิจารณ์ของเขาเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมมวลชน ซึ่งเขามองมันในฐานะที่เป็นการทำให้เป็นเนื้อเดียวกันมากจนเกินไป และเป็นอันตรายต่อพลังชีวิตที่กระฉับกระเฉง, สร้างสรรค์, และความเป็นปัจเจกที่พิเศษเหนือกว่า Neitzsche คิดว่าประชาธิปไตยในยุคโมเดิร์น, เสรีนิยม, และขบวนการทางสังคมในยุคสว่าง มันสนับสนุนความถดถอยของ"มนุษย์ยุคใหม่" และปิดบังหรือซ่อนเร้นปัจเจกลักษณะต่างๆอันมีชีวิตชีวาและพลังอำนาจของยุคเรอเนสซองค์
อย่างที่เห็นพ้องต้องกัน เขาสนับสนุนและให้การปกป้องต่อกรีกโบราณ และอิตาเลียนเรอเนสซองค์ในฐานะที่เป็นกระบวนทัศน์ของความเข้มแข็ง, วัฒนธรรมที่กระฉับกระเฉง, แผนการณ์หรือยุทธศาสตร์ของ Neitzsche ต้องการเลือกเอาอุดมคติต่างๆในอดีต ซึ่งสามารถที่จะมารับใช้ในฐานะที่เป็นแบบอย่างหรือบรรทัดฐานสำหรับ"ความยิ่งใหญ่"ของอนาคตได้
วัฒนธรรมของกรีกและเรอเนสซองค์ยืนยันรับรองในเรื่องร่างกาย, เป็นเรื่องของทางโลก(secular), พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, เป็นสุนทรียภาพที่สูงส่ง, และผลิตปัจเจกชนให้เข้มแข็ง - ทั้งหมดคืออุดมคติของ Neitzsche. ต้นแบบดั้งเดิมเหล่านี้ เขาเชื่อว่า จะต้องได้รับการเอาใจใส่อย่างจริงจังในลักษณะปัจเจกที่เข้มแข็งต่างๆ อย่าง Julius Caesar, Caesar Borgia(พระคาร์ดิเนาล์และนักการทหารชาวอิตาเลียน 1475-1507), และบุคคลที่ยิ่งใหญ่ของยุคเรอเนสซองค์
การเปรียบเทียบความแตกต่างทางบรรทัดฐานของ Neitzsche ได้รับการสนับสนุนโดยความต่างระหว่างความป่วยไข้และความมีสุขภาพ, ระหว่างชีวิตที่สืบทอดมากับชีวิตที่จะสืบเนื่องต่อไป. หนังสือต่างๆของเขาแสดงความปราโมทย์ถึงการยืนยันรับรองเกี่ยวกับพลังของชีวิต และวิพากษ์วิจารณ์ทุกสิ่งทุกอย่างที่มาระงับยับยั้ง และขัดขวางการแสดงออกอย่างเต็มที่เกี่ยวกับสัญชาตญานแรกเริ่มต่างๆ
การโจมตีอย่างรุนแรงและเข้มข้นของเขาที่มีต่อศาสนา, ศีลธรรม, และวัฒนธรรมมวลชน, และความซ้ำซากจำเจของสังคมสมัยใหม่ ได้รับการปล่อยหรือคลายตัวออกมาจากจุดยืนของอุดมคติอันหนึ่งเกี่ยวกับความเป็นอิสระ และการไหลเลื่อนของการแสดงออกโดยปราศจากการยับยั้งเกี่ยวกับพลังสัญชาตญานต่างๆ
ในทำนองเดียวกัน เขาได้อรรถาธิบายว่า ประชาธิปไตย, เสรีนิยม, ลัทธิสิทธิสตรี, พวกอนาธิปไตย, และขบวนการสังคมนิยมต่างก็แสดงออกเกี่ยวกับชีวิตที่เสื่อมถอย, เป็นเรื่องเกี่ยวกับการป่วยไข้, เกี่ยวกับความขุ่นเคืองไม่พอใจ. ทั้งหมดเป็นแถลงการณ์หรือขบวนแห่ของวัฒนธรรมแบบโสกราตีสที่ตั้งสมมุติฐานในเชิงเหตุผลเหนือกว่าอารมณ์ความรู้สึก, มันเป็นการนำเสนอไอเดียความคิดเหนือกว่าชีวิต, และทั้งหมดต่างเป็นการแสดงออกของแนวโน้มการทำให้เป็นเนื้อเดียวกันสมัยใหม่, และเป็นการต่อต้านชีวิต(anti-life), ซึ่งช่วยให้เกิดการผลิตปัจเจกชนและวัฒนธรรมที่อ่อนแอขึ้นมา
ในทางตรงข้ามกับความใจกว้างทางวัฒนธรรมเสรีนิยม, สำหรับ Nietzsche ได้ให้การสนับสนุนการทำสงครามวัฒนธรรม ซึ่งเขาเชื่อว่าจะให้กำเนิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความเข้มแข็งที่เหนือกว่า, มันจะเป็นวัฒนธรรมและปัจเจกชนที่สร้างสรรค์กว่า
แม้ว่าการโจมตีอย่างรุนแรงของ Nietzsche ต่อลัทธิเสรีนิยมและขบวนการก้าวหน้าทางสังคมอื่นๆจะบรรจุท่าที และทัศนคติแบบชนชั้นหัวกระทิและการต่อต้านประชาธิปไตยเอาไว้, แต่เราก็ค้นพบตำแหน่งหรือสถานะที่เป็นไปในเชิงบวกบางประการด้วยในงานเขียนต่างๆของเขา, ดังเมื่อตอนที่ Nietzsche เสนอเรื่องการทำให้เป็นประชาธิปไตยของยุโรปในฐานะสิ่งที่ไม่อาจต้านทานได้ และ"ความเชื่อมโยงกันอันหนึ่งในสายโซ่ของมาตรการป้องกันโรคร้ายอันรุนแรงเหล่านั้น ซึ่งเป็นแนวคิดของยุคโมเดิร์นและเป็นสิ่งที่พวกเราได้แยกตัวของเราเองออกมาจากยุคกลาง" (_Harvey_, p. 376)
ยิ่งไปกว่านั้น, สถาบันต่างทางด้านประชาธิปไตยต่างก็เป็นการจัดการในลักษณะการกักกันโรคที่จะต่อสู้ นั่นเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่โบราณกาเล, เป็นความหื่นกระหายต่อการกดขี่เผด็จการ: ดังที่กล่าวมานี้ พวกมันเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งและก็น่าเบื่อหน่ายอย่างยิ่งด้วย(_Harvey_, p. 383)
ข้อความในตอนต่างๆเหล่านี้ บ่งชี้ถึงท่าทีที่เป็นทวิลักษณ์ของ Nietzsche ที่มีต่อประชาธิปไตยอย่างชัดเจนมาก: โดยในด้านหนึ่ง มันคือสิ่งที่มีประโยชน์ในฐานะที่เป็นพลังอำนาจในด้านตรงข้ามกับการกดขี่, แต่มันก็เป็นสิ่งที่น่าเบื่อและส่งเสริมคุณภาพที่เป็นกลางขึ้นมา. ในงานเขียนต่างๆของเขาช่วงปลายทศวรรษที่ 1880s, Nietzsche ได้ทำการตรวจสอบอย่างละเอียดถึงแง่มุมในเชิงบวกเกี่ยวกับประชาธิปไตย และท่าทีของเขามีลักษณะเป็นไปในเชิงนิเสธหรือเชิงลบอย่างเด่นชัด
ดังนั้น Nietzsche จึงโจมตีทั้งรัฐสมัยใหม่ และ สังคม-วัฒนธรรมมวลชนไปพร้อมกัน สำหรับแนวโน้มต่างๆของการทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน และการทำให้มีคุณภาพปานกลางหรือธรรมดาของพวกมัน, ซึ่งทำให้ตัวเขาเองกลายเป็นที่รักต่อบรรดานักทฤษฎีแฟรงค์เฟริทสคูล และนักทฤษฎีฝรั่งเศส อย่าง Foucault เป็นต้น
สำหรับ Nietzsche, รัฐและวัฒนธรรมมวลชนต่างเป็นปรปักษ์หรือศัตรูที่เจ็บแสบต่อวัฒนธรรมที่แท้จริง และเขามองว่า ทั้งรัฐสมัยใหม่และสังคมมวลชน ต่างก็เป็นหน่วยการผลิตสิ่งที่มีคุณภาพปานกลางและการก้าวถอยหลังทางวัฒนธรรม เช่นเดียวกับการให้กำเนิดโรคประสาทหรือ"ฮิสทีเรียมวลชน" อย่างเช่น ลัทธิชาตินิยม และการต่อต้านยิว
รัฐสมัยใหม่ และสังคม-วัฒนธรรมมวลชน ได้จัดระดับสถานะและให้คุณค่าต่อการจัดลำดับชั้นสูงต่ำต่างๆ(hierarchies), มันลดทอนเรื่องของอุดมคติและรสนิยมลงจนกลายเป็นตัวหารร่วมที่ต่ำสุด และได้ผลิตปัจเจกชนที่มีคุณภาพปานกลางต่างๆขึ้นมา
ข้อคิดเห็นในเชิงสรุปของผู้เขียน
โดยทั่วไปแล้ว Nietzsche มีท่าทีค่อนข้างมองโลกในแง่ร้ายเกี่ยวกับผลกระทบเกี่ยวกับกระบวนการทางสังคมสมัยใหม่.
ส่วนใหญ่เขารู้สึกว่า สังคมและวัฒนธรรมในยุคโมเดิร์นมันได้กลายเป็นเรื่องของความสับสนอลหม่าน,
การแตกออกเป็นชิ้นๆ, เป็นไปตามอำเภอใจ, และขาดแคลนพลังการสร้างสรรค์(crative
force) ซึ่งมันได้สูญเสียทรัพยากรที่จะสร้างวัฒนธรรมที่มีชีวิตชีวาอันหนึ่งขึ้นมา
และในท้ายที่สุดมันได้ไปเพิ่มอัตราเร่งให้เกิดความเสื่อมทรามเกี่ยวกับสายพันธุ์ของมนุษย์
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาคิดว่าหนังสือพิมพ์และวัฒนธรรมมวลชนคือพลังบีบคั้นของความเสื่อมและมีคุณภาพปานกลาง, เพ่งความเอาใจใส่กับสิ่งซึ่งไม่เป็นสาระ, สิ่งที่เกินความจำเป็น, และเป็นการเสนอความตื่นเต้นไปเรื่อยๆ, มันสร้างสิ่งซึ่งเป็นเนื้อเดียวกันและความปรองดองมากเกินไป
แต่อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้พัฒนาการวิจารณ์ที่เป็นระบบเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์หรือรูปแบบเฉพาะต่างๆของวัฒนธรรมมวลชนขึ้นมา เว้นแต่, บางทีการวิจารณ์ของเขาที่มีต่อ Strauss และลัทธิป่าเถื่อนทางวัฒนธรรมที่ไม่สนใจศิลปวิทยาและอักษรศาสตร์(cultural Philistinism), หรือ Wagner และ Wagnerianism ซึ่งในท้ายที่สุด เขาได้มองคนเหล่านั้นในฐานะที่เป็นการแสดงที่ไม่เฟื่องฟูทางความรู้และวัฒนธรรม(lowbrow)ในส่วนของวัฒนธรรมมวลชน และมีรสนิยมที่เลว
ดังนั้น เท่าที่ปรากฎ Neitzsche ไม่ได้พัฒนาการวิจารณ์ในเชิงสถาบันขึ้นมาเกี่ยวกับสื่อหรืออุตสาหกรรมวัฒนธรรมต่างๆ, ดังที่ Adorno และ Horkheimer ทำ[14], หรือให้รายละเอียดเกี่ยวกับปรากฎการณ์ของวัฒนธรรมมวลชน ดังเช่นที่กระทำกันในขอบเขตเหล่านั้นของการศึกษาทางวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์
ยิ่งกว่านั้น Nietzsche ยังเป็นคนที่หัวรุนแรงและเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการวิจารณ์ของเขาเกี่ยวกับวัฒนธรรมมวลชน, เขาเห็นว่า ไม่มีช่วงขณะของความก้าวหน้าใดๆ เว้นแต่บางทีในผลงานโอเปร่าเบาๆที่แสดงออกถึง joi de vivre (ความสนุกสนานร่าเริงของชีวิต) และความเบิกบานใจในสิ่งซึ่งเขาเห็นด้วย
โดยรากฐานแล้ว วัฒนธรรมสำหรับ Nietzsche ประกอบด้วย"แบบแผนอันหนึ่งของลำดับการ"(_Rankordnung_) ที่ได้สถาปนาคุณค่าที่สูงส่งกว่าและเสื่อมทราม และเขาเรียกร้องให้มีการประเมินคุณค่ากันขึ้นมาใหม่อีกครั้ง, มันเป็นการล้มล้างอันหนึ่งเกี่ยวกับคุณค่าอันสูงส่งสุดในยุคโมเดิร์น และสถาปนาคุณค่าใหม่ที่อยู่เหนือขึ้นไป ซึ่งจะไปส่งเสริมปัจเจกชนให้เข้มแข็ง และทำให้วัฒนธรรมมีชีวิตชีวาขึ้นมา(_Umwertung_)
ด้วยเหตุนี้ Ubermensch ของเขา จัดเป็นผู้ซึ่งสามารถที่จะลอยตัวสูงขึ้นไปกว่าศีลธรรมแบบคริสเตียนที่ยึดถือกันมาตามขนบประเพณี โดยที่สามารถสร้างและกำหนดคุณค่าของตัวเองขึ้น - สำหรับคำว่า Ubermensch หมายถึง อุดมคติเกี่ยวกับมนุษย์ในอนาคตที่เหนือกว่า(อภิมนุษย์)[คำนี้ถูกอธิบายเป็นครั้งแรกโดย Nietzsche ใน Thus Spake Zarathustra(1883-5)] - เขาปรารถนาที่จะเห็นปัจเจกชนที่เหนือกว่าซึ่งได้เอาชนะคุณค่าอันเสื่อมทรามของวัฒนธรรมมวลชน และสามารถที่จะสร้างสรรค์คุณค่าที่ยืนยันถึงเรื่องของชีวิต พร้อมทั้งเข้มแข็งกว่าขึ้นมาได้ และเป็นวัฒนธรรมที่ให้การรับรองเกี่ยวกับชีวิตได้มากกว่า
ความเป็นปัจเจกที่พัฒนาเหนือกว่า ต้องการการเอาชนะรูปแบบต่างๆอันทรงอิทธิพลของวัฒนธรรมและการปรับตัวให้ลงรอยกัน, ซึ่งเป็นหลุมพรางหรือช่องโหว่ที่ปัจเจกชนต้องต่อสู้ขับเคี่ยวกับสังคม-วัฒนธรรมมวลชน. Nietzsche เชื่อว่าปัจเจกชนบางคน อาจพยายามด้วยเจตจำนงของพวกเขาที่จะมีอำนาจและสร้างสรรค์ตัวตนที่สูงส่งกว่า และสละสลวยกว่า ด้วยเหตุนี้ในท้ายที่สุด เขาจึงเป็นทนายสนับสนุนรูปแบบอันหนึ่งของลัทธิปัจเจกแบบชนชั้นสูงและลัทธิสุนทรียศาสตร์นิยม(aristocratic individualism and aestheticism)
การสร้างความแตกต่างโดยนัยะระหว่างศิลปกรรมชั้นสูงและชั้นต่ำ, Nietzsche ได้ให้เหตุผลว่า ศิลปะที่แท้ยอมให้"อิสรภาพอยู่เหนือสิ่งต่าง"( freedom above things) และเรียกร้องเกี่ยวกับศีลธรรม และสถาบันที่เกี่ยวกับการควบคุมต่างๆ:
พวกเราเรียกร้องศิลปะที่ร่าเริง, ลอยตัวอย่างอิสระ, ร่ายรำ, เย้ยหยัน, ล้อเลียน, ไม่ประสาเหมือนเด็กๆ, และศิลปะที่ให้ความสำราญใจ เพื่อไม่ให้เราต้องสูญเสีย"อิสรภาพที่อยู่เหนือสิ่งต่างๆ"ของเราไป ซึ่งอุดมคติของเราเรียกร้องสิ่งเหล่านี้กับตัวตนของเรา.... พวกเราควรที่จะสามารถยืนหยัดอยู่เหนือศีลธรรมด้วย - และไม่ต้องยืนด้วยอาการแข็งทื่อในลักษณะของความหวาดระแวง หรือรู้สึกกังวลใจของมนุษย์ ซึ่งถูกทำให้กลัวว่าจะลื่นไถลและจะหกล้ม ณ ช่วงเวลาหนึ่งเวลาใดเท่านั้น แต่จะต้องลอยสูงขึ้นเหนือมันและเล่นกับมัน. ด้วยเหตุนั้น เราจะสามารถกระทำโดยปราศจากศิลปะ และกระทำโดยปราศจากความโง่เขลาได้ (_GS_, p. 164).[15]
ศิลปะที่แท้ได้รับอภิสิทธิ์จาก Neitzsche อย่างเด่นชัด เพราะมันบ่มเพาะความรู้สึก, จินตนาการ, และแง่มุมอื่นๆเกี่ยวกับร่างกายและจิตใจ มันยินยอมให้ปัจเจกชนทั้งหลายได้เข้าไปสู่ดินแดนที่อยู่เหนือศีลธรรมแบบขนบจารีตและบรรทัดฐานทางสังคม
Neitzsche ได้ให้การสนับสนุนศิลปะ ในฐานะที่มันเป็นศัตรูที่มีพลังอำนาจมากที่สุดของอุดมคติแบบถือสันโดษ และเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่สุด หรือเป็นต้นตอแรกสุดของความมีชีวิตชีวาและความกระฉับกระเฉงทางวัฒนธรรม
วิกฤตการณ์ของวัฒนธรรมในยุคโมเดิร์น ส่วนหนึ่งมันมีรากเหง้าอยู่ในข้อเท็จจริงที่ว่า ความรู้สึกต่างๆทางสุนทรีย์ได้ถูกโจมตีอย่างไร้ความปรานี โดยอำนาจบีบบังคับที่มากดข่มของความมีเหตุผลที่เป็นเครื่องมือสำคัญ, การทำให้มีเหตุผลทางสังคม, และวัฒนธรรม-สังคมมวลชน, ด้วยเหตุนี้ ศิลปะจึงถูกขับไล่และเนรเทศให้ไปอยู่ ณ ชายขอบของสังคม(The crisis in modern culture is partly rooted in the fact that aesthetic sensibilities have been savaged by the repressive forces of instrumental rationality, social rationalization, and mass culture and society, thus art has been relegated to the margins of society)
แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับ Neitzsche อำนาจเกี่ยวกับความมีเหตุผลเหล่านี้จะต้องถูกกักขังโดยคุณค่าต่างๆในเชิงสุนทรีย์อย่างถึงราก. จิตวิญญานอันเป็นอิสระเป็นสิ่งที่ถูกต้องการสำหรับผู้ที่ปรารถนาจะทดลองสิ่งใหม่ๆกับศิลปะ, ไม่ว่าจะเป็นไอเดียต่าง, และเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิต และผู้ซึ่งต้องการที่จะสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ๆและวัฒนธรรมที่เหนือกว่าขึ้น ซึ่งจะมาช่วยสร้างมนุษย์ที่สูงส่งกว่าที่เป็นมา
ในท้ายที่สุด, Neitzsche ต้องการวัฒนธรรมที่ให้การรับรองหรือยอมรับเกี่ยวกับชีวิต ที่จะมาสร้างสรรค์ปัจเจกชนทั้งหลายที่เหนือกว่า. เขาเป็นนักปฏิวัติทางวัฒนธรรมคนหนึ่ง ซึ่งแสวงหาวัฒนธรรมที่มีสุขภาพและมีชีวิตชีวา และเชื่อว่า"วัฒนธรรม"เป็นแบบอย่างที่มีพลังอำนาจที่สุด เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและปัจเจกบุคคล
ส่วนหนึ่ง การวิพากษ์ที่สุดขั้วของเขาเกี่ยวกับวัฒนธรรมมวลชน ได้รับการเติมเชื้อโดยความเชื่อมั่นที่ว่า มันแสดงให้เห็นถึงความเสื่อมทรามทางวัฒนธรรม ซึ่งมันเป็นรูปแบบหนึ่งของความเสื่อมค่าที่ชัดเจนในแบบอย่างที่เป็นอยู่ แต่กลับได้รับการทึกทักกันเอาเองว่ามันจะสร้างมนุษย์ขึ้นมาให้ดีกว่า, สูงส่งกว่า, และมีสุขภาพกว่า
ด้วยเหตุนี้ Neitzsche จึงยืนยันอย่างเด็ดเดี่ยวถึงความแตกต่างในด้านบรรทัดฐาน ระหว่างวัฒนธรรมชั้นสูงและชั้นต่ำ และมันเป็นวัฒนธรรมของชนชั้นสูงที่ไม่ต้องรู้สึกกระดาก. ดังที่ได้เสริมเอาไว้ในเชิงเสนอแนะ ซึ่งเป็นไปได้ที่ว่า Neitzsche น่าจะหวั่นกลัวสภาวะอันเสื่อมทรามของวัฒนธรรมร่วมสมัย[16] และแรงดลใจต่างๆของ Neitzsche ได้ช่วยสนับสนุนต่อการศึกษาทางวัฒนธรรมอย่างถึงรากในทุกวันนี้ ซึ่งดำเนินการขึ้นมาอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งโจมตีอย่างรุนแรงต่อวัฒนธรรมร่วมสมัยทั้งหมด - บ่อยครั้ง ผ่านสื่อกระตุ้นของชาวมาร์กเซียน, เฟมินิสท์(feminist-นักสิทธิสตรี), หรือบรรดานักคิดหลังโครงสร้างนิยม(post-structuralist)ทั้งหลาย
การวิจารณ์ในเชิงลบของ Neitzsche ได้มองข้าม และไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงไปสู่เรื่องของภาคประชาชนในการศึกษาทางด้านวัฒนธรรม ที่รับรองและยกย่องวัฒนธรรมภาคประชาชน. ทั้งหมดเกี่ยวกับการวิจารณ์ทางวัฒนธรรมของ Neitzsche เป็นเรื่องวิภาษวิธี(dialectical), ซึ่งยืนยันถึงสิ่งที่เขาพิจารณาว่าเป็นการยกระดับชีวิตและให้อำนาจแก่ชีวิต และวิพากษ์อย่างดุเดือดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาเชื่อว่าเป็นการลดทอนอำนาจและเป็นไปในแง่ลบกับชีวิต
_Twilight of the Idols_, Nietzsche เขียนเอาไว้ว่า: "สูตรสำเร็จหรือหลักการเกี่ยวกับความสุขของข้าพเจ้า: ใช่อันหนึ่ง, ไม่ใช่อันหนึ่ง, เส้นตรงเส้นหนึ่ง, เป้าหมายอันหนึ่ง..." ("Maxims"). ด้วยเหตุนี้ Lyotard จึงผิดพลาดไปถนัด เมื่อเขาอ้างว่า โดยพื้นฐานแล้ว Neitzsche เป็นนักคิดที่แสดงความเห็นด้วยออกมา, และการโจมตีแนวความคิดมูลรากแบบนิทเช่(proto-Nietzschean)ของ Adorno เกี่ยวกับปรัชญาเชิงนิเสธ, และตัวเขาเองให้การสนับสนุนอย่างบริสุทธิ์ และปกป้องพร้อมรับรองเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับแรงขับทางเพศ(libidinal economy)ซึ่งเป็นไปในเชิงบวก[17]
เป็นที่แน่นอน, Neitzsche ไม่ใช่เพียงนักพูดที่พูดแต่คำปฏิเสธ(nay-sayer)เท่านั้น และมักจะคลอไปกับคำว่า"ไม่!"ของเขา แต่เขาค่อนข้างจะใช้หลักความสัมพันธ์แบบวิภาษวิธีที่มองว่า ทั้ง"ใช่"และ"ไม่ใช่" มักจะมาเสริมหรือทำให้เกิดความสมบูรณ์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในกันและกันในความคิดของ Neitzsche
ในทัศนะของผู้เขียนและเป็นการสรุป, การวิจารณ์อย่างสุดขั้วและเป็นไปในเชิงลบของ Neitzsche เกี่ยวกับวัฒนธรรมมวลชนเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่า และแน่นอน มันได้พานพบกับกลุ่มเป้าหมายที่อุดมสมบูรณ์ในทุกวันนี้. แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมีข้อถกเถียงกับ Neitzsche สำหรับเรื่องราวที่เห็นกันในเรื่องวิภาษวิธี ซึ่งได้มองสิ่งที่ข้าพเจ้าเรียกว่าวัฒนธรรมสื่อ(media culture) ในฐานะที่เป็นภูมิประเทศของการแข่งขันอันหนึ่ง, เป็นสถานที่อันหนึ่งของการต่อสู้ทางสังคม ที่บรรจุไว้ด้วยท่าทีที่เป็นปฏิกริยาและก้าวหน้า, เป็นท่าที่ยืนยันเกี่ยวกับชีวิตและท่าทีที่กดขี่บีบคั้นชีวิต[18]
ด้วยเหตุนี้ ทฤษฎีวิพากษ์เกี่ยวกับวัฒนธรรมสื่อจึงเป็นไปในเชิงนิเสธอย่างไม่ผ่อนปรนดังที่ Neitzsche ทำ แต่ก็ยืนยันหรือรับรองถึงช่วงขณะที่เป็นประชาธิปไตย, แล้วก็ล้มล้าง, แล้วก็วิพากษ์สังคมด้วย. การเมืองเชิงวัฒนธรรมอันนี้ จะไม่เพียงเป็นเรื่องของปัจเจกชนที่อยู่เหนือเท่านั้น, แต่ยังเป็นความพยายามที่จะพัฒนาศาสตร์การสอนทางวัฒนธรรม ซึ่งโจมตีอย่างรุนแรงต่อการกดขี่และการครอบงำในทุกรูปแบบ และพยายามที่จะผลิตสิ่งที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่าขึ้นมา, ซึ่งเป็นสังคมและวัฒนธรรมของการสอนและการให้ความรู้
Notes
1. Karl Marx and Friedrich Engels, _Collected Works. Vol I_ (New York: International
Publishers, 1975, p. 142). This study draws on collaborative work with Robert
Antonio on an unpublished text on theories of modernity and work with Steven
Best in works on postmodern theory, so I am indebted to these collaborations
for my readings of Nietzsche. In this article, I am interpreting Nietzsche
predominantly as a modern theorist, addressing crucial issues of modernity;
for discussion of how Nietzsche anticipates the postmodern turn, see Steven
Best and Douglas Kellner, The Postmodern Turn (New York: Guilford Press, 1997).
2. Goethe, in Leo Lowenthal, _Literature, Popular Culture and Society_ (Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall, 1961, p. 20).
3. Ibid.
4. Ibid.
5. Marx, op. cit., p. 165.
6. For his critique of the press and public opinion, see Soren Kierkegaard,
_Two Ages: The Age of Revolution and the Present Age_ (Princeton: Princeton
University Press, 1978) and _The Corsair Affair_ (Princeton: Princeton University
Press, 1982). For commentary, see Steven Best and Douglas Kellner "Modernity,
Mass Society, and the Media: Reflections on _The Corsair Affair_," in _International
Kierkegaard Commentary, The Corsair Affair_, edited by Robert Perkins. (Macon,
Georgia: Mercer University Press, 1990) and Best and Kellner, _The Postmodern
Turn_, op. cit.
7. Friedrich Nietzsche, _The Birth of Tragedy_ (New York: Random House, 1967) and _Twilight of the Idols_ (New York: Penguin Books, 1968, p. 33). The historical Socrates, of course, was much more intuitive, passionate, aesthetic, and erotic than in Nietzsche's model, thus his conception of Socratic culture should be read as an ideal type that crystallizes a type of Greek rationalism in the figure of Socrates, a mode that Nietzsche believes continues to characterize modern culture.
8. See Nietzsche's meditations on Schopenhauer and Wagner in _Unmodern Observations_ (New Haven and London: Yale University Press, 1990). On Nietzsche and Schopenhauer, see Georg Simmel, _Schopenhauer and Nietzsche_ (Urbana and Chicago: University of Illinois Press, 1991 [1907]). It was under Schopenhauer's influence that Nietzsche could proclaim in _The Birth of Tragedy_ that art is the "essential metaphysical activity" and that "it is only as an aesthetic phenomenon that existence and the world are eternally justified" (_BT_, p. 52).
9. See Herbert Golder, "Introduction" to _DS_ in _Unmodern Observations_, op. cit, pp 3ff.
10. Ronald Hayman, _Nietzsche. A Critical Life_ (New York: Penguin Books, 1980, p. 63). Strauss' text greatly influenced the Young Hegelians when it was published in 1835 and intensified the modern philological and philosophical critique of religion begun in the Enlightenment which culminated in Nietzsche himself. Indeed, the Young Hegelians anticipated Nietzsche's critique of religion with Bruno Bauer declaring "God is Dead," Marx describing religion as "the opium of the people," and Feuerbach interpreting religion as the projection of human qualities onto a deity.
11. Nietzsche intended to write a critique of religion, school, press, state, society, Man as I, Nature, and the road to liberation as part of a series of _Unmodern Observations_, after the four he published (see the list on pp. 321-322). While he never completed this project, reflections on these topics are found throughout his succeeding aphoristic works, such as _Human, All-Too-Human_.
12. See, for example, _Twilight of the Idols_ where Nietzsche complained that the press, beer, religion, education, and nationalism had stupefied the German people ("Germans"). He makes a similar criticism in his Strauss critique (S4).
13. See _Human, All Too Human_ (Cambridge, England: Cambridge University Press, 1986), p. 378.
14. See Max Horkheimer, and Theodor Adorno, _Dialectic of Enlightenment_ (New York: Continuum, 1972) and Douglas Kellner, _Media Culture_ (London and New York: Routledge, 1995). 00000000 15. See _The Gay Science_ (New York: Vintage Books, 1974), p. 164.
16. Thus, in contrast to Stephen Barker's paper also published in this issue, it is hard for me to imagine Nietzsche as affirmative of contemporary technoculture in the light of his radical critique of mass culture. I would imagine that Nietzsche would find appalling many of the examples of contemporary technoculture that Barker affirms in his name, and that Nietzsche's higher culture and individual would posit themselves against technoculture.
17. See Jean-Francois Lyotard, _Economie Libidinale_ (Paris: Les Editions de Minuit, 1974) and "Adorno as the Devil," _Telos_ 19 (Spring 1974): 127-137.
18. Kellner, _Media Culture_, op. Cit.
ต้นฉบับมาจากเว็ปไซค์ http://www.uta.edu/huma/illuminations/kell22.htm
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม word)
การวิพากษ์วัฒนธรรมมวลชน
ของ นิทเช่
Nietzsche's Critique of
Mass Culture
เขียนโดย Douglas Kellner
- เรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม
(บทความเรื่องนี้ยาวประมาณ 20 หน้ากระดาษ A4)
เช่นเดียวกันกับ
Karl Marx, Friedrich Nietzsche สามารถที่จะได้รับการทำความเข้าใจในฐานะที่เป็นนักทฤษฎี
และนักวิจารณ์ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของยุคสมัยใหม่ ซึ่งได้วิจารณ์สิ่งที่มีอยู่ทั้งหมดในยุคของเขาอย่างไม่ปรานี[1].
ข้อถกเถียงอันทรงพลังของ Nietzsche ที่มีต่อศาสนา, ศีลธรรม, และปรัชญาได้แปรขบวนการวิจารณ์ที่ได้รับแรงดลใจในยุคสว่าง(Enlightenment)
และแนวคิด vitalism แบบโรแมนติค ให้มาปะทะกันอย่างรุนแรง โดยเขาได้โจมตีแง่มุมต่างๆที่ปฏิเสธเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของวัฒนธรรมสมัยใหม่
(Vitalism หมายถึงแนวคิดที่เชื่อว่า
กำเนิดชีวิตขึ้นอยู่กับพลังหรือหลักการอันหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องของเคมีและพลังทางกายภาพล้วนๆ)
อีกประการหนึ่ง Nietzsche ได้วิจารณ์สถาบันต่างๆและค่านิยมมากมายของสังคมสมัยใหม่ ในฐานะที่เป็นพลังและการสร้างสรรค์ที่มากดขี่ ทั้งนี้เพราะมันได้มาปิดกั้นพลังแห่งการก่อเกิดปัจเจกชนที่เข้มแข็ง และสังคมและวัฒนธรรมที่กระฉับกระเฉงกว่าเอาไว้นั่นเอง