ภาพประกอบโดย John Salt ศิลปินอังกฤษ ภายหลังพำนักอยู่ในนิวยอร์ค / ผลงานแบบ Photo-Realism / ชื่อภาพ Falcon (Patchwork Surface) 1971 / oid on canvas / 46 x 64" / private collection

Paul Johnson, นักประวัติศาสตร์, ซึ่งได้วิจารณ์งานชิ้นนี้ของ Fukuyama ว่า"ผมไม่แน่ใจมันเท่าไหร่" - ขอให้ผมกระโดดข้ามประโยคนั้นไป - "งานเขียนของ Francis Fukuyama เกี่ยวกับ"การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์" เป็นงานชิ้นหนึ่งที่เหลวไหลที่สุด
ที่เคยมีการเสนอมา, และความวุ่นวายจุกจิกที่มันสร้างขึ้นมา เป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถอธิบายได้."

That "Francis Fukuyama's thesis about the end of history was one of the silliest ever propounded, and the fuss it caused was inexplicable."

Paul Johnson

content page
member page
back to home

หากประสบปัญหา ภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลงมา

 

the conclusion of this interview
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

บทสรุปเกี่ยวกับการสัมภาษณ์ ฟรานซิส ฟูกูยามา

หลายคน คงรู้สึกสะดุดกับชื่อเรื่องของหนังสือเล่มนี้ "The End of History and the Last Man" ทำให้อยากรู้ว่า Francis Fukuyama ได้เขียนอะไรไว้ในนั้น

บทสัมสัมภาษณ์ต่อไปนี้ จะเผยให้เห็นถึงเนื้อหาภายในของหนังสือเล่มดังกล่าว นับตั้งแต่ประวัติส่วนตัวของเขา ปรัชญาการเมืองแบบ liberal democracy ที่เขามีความเชื่อมั่น และเมื่อเขาถูกถามว่า อะไรเป็นมูลเหตุของการพัฒนามาสู่ระบอบประชาธิปไตย เขาได้ให้คำตอบที่มาอยู่ 2 เรื่องด้วยกัน
1. เขาชี้ให้เห็นความสัมพันธ์กัน ของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ กับ ความเป็นประชาธิปไตย
2. เขากลับไปหาคำอธิบายทางปรัชญา
ของ Hegel เกี่ยวกับ the struglle for recognition (การต่อสู้เพื่อให้ได้การยอมรับ) รวมไปถึง ศัพท์ภาษากรีก เช่น thymos ซึ่งหมายถึง "ต้นตอกำเนิดของการเคารพในตนเองหรือรักศักดิ์ศรีของตนเอง(self-esteem)" และ Megalothymia ที่หมายถึง "ความปราถนาที่จะได้รับการยอมรับในฐานะที่ยิ่งใหญ่กว่าบุคคลอื่น" อันเป็นที่มาของความวุ่นวายของโลกในทุกวันนี้

เขายังกล่าวอีกว่า หากโลกเราได้พัฒนามาถึงจุดสูงสุดของเสรีประชาธิปไตย มนุษย์อาจไม่ต่างอะไรไปจากสัตว์ และมันจะทำให้เกิดความสูญเสียอะไรที่ยิ่งใหญ่ของเราไป ดังที่เขากล่าวว่า "ในหนทางหนึ่ง, มันก็จะปล้นชิงด้านหนึ่งของชีวิตที่สำคัญมากของเราไป ซึ่งมันเป็นด้านที่ต้องการจะต่อสู้ ด้านที่ต้องการบรรลุเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ต่างๆ, ด้านที่ต้องการกระทำ และดำรงอยู่ และตายเพื่ออุดมคติต่างๆ เพื่อเป้าหมายที่สูงกว่า หรือบางครั้งต้องการความยุติธรรมที่อยู่เหนือขึ้นไป

ท้ายสุด เขาได้ประณามลัทธิคอมมิวนิสม์อย่างรุนแรง และยกย่องประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นอัฉริยภาพของมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรระมัดระวังอย่างยิ่งเกี่ยวกับการใช้วิจารณญานกับช่วงดังกล่าว

และที่ไม่ควรลืมอย่างยิ่งสำหรับบทสัมภาษณ์นี้ก็คือ การสัมภาษณ์ดังกล่าว กระทำมาเมื่อปี 1992 หรือเกือบ 10 ปีมาแล้ว. ดังนั้น ข้อมูลบางประการจึงอาจพ้นสมัย และอาจคาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง

สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง

The End of History and the Last Man / Author: Francis Fukuyama
Booknotes Transcript Air date: January 17, 1992
บทสัมภาษณ์นี้มีความยาวประมาณ 18 หน้ากระดาษ A4
e-mail address
midnightuniv(at)yahoo.com
1

BRIAN LAMB: Francis Fukuyama, ผู้เขียนหนังสือเรื่อง "The End of History and the Last Man." (การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์และมนุษย์คนสุดท้าย), ทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้ คุณพอจะบอกได้ไหมว่ามันเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ?

FRANCIS FUKUYAMA: มันเป็นชื่อเรื่องของหนังสือที่ฟังดูยิ่งใหญ่มากและน่าสนใจ. หนังสือเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับคำถามของสิ่งหนึ่งที่มีอยู่ ซึ่งผมอยากเรียกว่าประวัติศาสตร์, ซึ่งเขียนด้วย ป ตัวพิมพ์ใหญ่(capital "H"). ปกติแล้ว เวลาที่เราไปเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ เราจะไปสัมพันธ์กับมันเพียงลักษณะที่ไหลเลื่อนแบบธรรมดาๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ เช่น สงครามในอ่าวเปอร์เซีย, การพังทลายของกำแพงเบอร์ลิน. แต่หนังสือของผมพยายามที่จะตั้งคำถามที่ใหญ่กว่านั้น ขึ้นมาคำถามหนึ่ง, ไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องราวในฐานะประวัติศาสตร์ของสังคมมนุษย์, โดยพิจารณาถึงประสบการณ์ต่างๆของผู้คนทั้งหลาย และห้วงเวลาเกือบทั้งหมด และไม่ว่าจะเป็นลักษณะอันหนึ่งของวิวัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของสังคมต่างๆเหล่านั้น ดังที่มันได้เจริญก้าวหน้ามาจากยุคดึกดำบรรพ์มากๆ, มาถึงยุคเกษตรกรรม, สังคมชนเผ่า เรื่อยขึ้นมาผ่าน ระบอบราชาธิปไตย ขุนนาง ชนชั้นสูงอันหลากหลาย และจนมาถึงการปกครองในระบอบเสรีประชาธิปไตย และลัทธิทุนนิยม ที่ได้รับการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ดังที่เราเป็นอยู่ในทุกวันนี้

และ" "The End of History" (การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์) ยังเป็นเรื่องราวที่ผมคิดว่ายังคงอยู่, นั่นคือ คำถามที่เกี่ยวกับ, กระบวนการอันนั้น ที่สามารถนำไปสู่การสิ้นสุด, หรือเรื่องของ วิวัฒนาการ, ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว ได้บรรลุถึงอารยธรรมอันหนึ่งซึ่ง ในความหมายที่สมบูรณ์แบบ มันจะเป็นอารยธรรมหลังสุดที่มนุษยชาติจะบรรลุถึงได้ เพราะ ในความหมายดังกล่าว มันเป็นเรื่องที่ยอมรับกันว่า มันเป็นอารยธรรม ซึ่งเข้ากันกับธรรมชาติของมนุษย์ในหนทางที่เหมาะสมพอดิบพอดี.

และสิ่งที่ผมได้ให้เหตุผลหรืออ้างหลักฐานในหนังสือเล่มนี้ ก็คือว่า ระบอบ"เสรีประชาธิปไตย"มันได้เข้ามาใกล้กับความเหมะสมเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์มาก ในความหมายอันนั้น ซึ่งมากว่ารูปแบบใดๆของการปกครอง หรือองค์กรทางการเมือง หรือองค์ทางสังคม.

LAMB: คุณสามารถที่จะหยิบยกคำวิจารณ์เกี่ยวกับหนังสือของคุณ หรือหนังสือของคนอื่นๆได้ไหม ? - ในฐานะที่เป็นสาระของข้อเท็จจริงบางอย่าง. เหตุผลที่ผมพูดถึงหนังสือเล่มอื่นๆ คือ ผมกำลังมองไปที่งานวิจารณ์เล่มหนึ่งเกี่ยวกับหนังสือของ Graham Fuller, ซึ่งเขาได้เขียนเรื่อง "The Democracy Trap: Perils of the Post-Cold War World." (กับดักประชาธิปไตย: ภยันตรายต่างๆของโลกหลังยุคสงครามเย็น). และ Paul Johnson, นักประวัติศาสตร์, ซึ่งได้เขียนอะไรบางอย่างเกี่ยวกับคุณ, แทนที่จะเป็น Graham Fuller, ในประเด็นนี้. เขากล่าวว่า...

"ผมไม่แน่ใจมันเท่าไหร่" - ขอให้ผมกระโดดข้ามประโยคนั้นไป - "งานเขียนของ Francis Fukuyama เกี่ยวกับ"การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์" เป็นงานชิ้นหนึ่งที่เหลวไหลที่สุดที่เคยมีการเสนอมา, และความวุ่นวายจุกจิกที่มันสร้างขึ้นมา เป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถอธิบายได้."

คำถามของผมก็คือ"อะไรคือความวุ่นวายจุกจิกนี้ทั้งหมด และมันเริ่มต้นขึ้นที่ตรงไหน ?

FUKUYAMA: ผมคิดว่าส่วนหนึ่งของปัญหาที่เป็นสาระอันหนึ่งจริงๆ มันเกี่ยวกับความเข้าใจผิดหรือการตีความที่ผิดๆเกี่ยวกับ "The End of History" ที่นำเสนอ.

คุณก็รู้ว่า, หนังสือเล่มนี้ที่ผมได้เขียนขึ้นมานั้น มันพัฒนาขึ้นมาจากบทความชิ้นหนึ่งที่ผมได้ตีพิมพ์ในนิตยสารฉบับเล็กๆฉบับหนึ่ง ที่ชื่อว่า National Interest เมื่อสองปีมาแล้ว, ก่อนการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน เมื่อทั้งหมดของเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่เหล่านี้กำลังเกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่เป็นพันธมิตรของโซเวียต. และสิ่งที่ผมกำลังอ้างอิงถึงก็คือ, จริงๆแล้ว ความเจริญงอกงามของฉันทามติสากลอันหนึ่ง บนเรื่อง"ความยุติธรรม" หรือ"ความถูกต้องชอบธรรม"เกี่ยวกับหลักการต่างๆของเสรีประชาธิปไตย, ซึ่งนั่น จริงๆแล้ว เป็นข้อเท็จจริงที่น่าสังเกตุเกี่ยวกับโลกของเรา และแน่นอน ไม่ใช่ว่าเหตุการณ์ต่างๆอันนั้นจะไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้.

แต่ที่ผมเกรง ซึ่งกำลังเกิดขึ้นก็คือว่า ผู้คนจำนวนมาก, บางทีรวมถึงคนอย่าง Paul Johnson ด้วยที่วิจารณ์หนังสือของผม, คนเหล่านี้เพียงแค่เห็นชื่อเรื่อง, แล้วก็กล่าวว่า "โอ้, นี่มันอะไรนี่ ?" มันไร้สาระจริงๆ, คุณรู้. ประวัติศาสตร์จะไม่มีทางสิ้นสุด, คุณก็รู้. เรายังคงมีสงครามและความยากจน และการต่อสู้มากมายในโลกที่สาม และอะไรทำนองนั้น. มันน่าประทับใจมาก, สำหรับชื่อเรื่อง, พอเห็นปุ๊บ ก็สรุปเลยว่ามันเป็นเรื่องที่ไร้สาระ. และมันมีข้อถกเถียงกันได้มากมาย, ผมคิด, มันเป็นการตีความหรือความเข้าใจที่ผิดๆ.

แต่สิ่งที่อยู่ข้างใต้คือ, อันที่จริง มันเป็นคำถามที่จริงจังมากคำถามหนึ่ง ดังที่บางคนคุ้นเคย... มันมีรูปแบบที่เป็นทางเลือกอยู่อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบอบรัฐบาลแบบ"ราชาธิปไตย" และความเป็น"เผด็จการฟาสซิสท์", และสำหรับหลายปีที่เราคิดว่า ลัทธิคอมมิวนิสม์เป็นแบบฉบับ ซึ่งเป็นคู่ปรับที่สำคัญและเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของอารยธรรม.

และในศตวรรษนี้, ทุกๆคนเหล่านั้นต่างทราบดีว่า ทางเลือกบางอย่างมันได้ล่มสลายลงไป. และไม่ใช่ทุกๆประเทศจะเป็นเสรีประชาธิปไตย; มันมีความเป็นเผด็จการของฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาที่ยังคงอยู่, แต่ในฐานะที่เป็นความคิดเชิงระบบอันหนึ่งซึ่งมีพลวัตรบางอย่าง, ความมีพลังที่แท้จริงบางประการ, ที่จริงแล้ว เสรีประชาธิปไตยมันมีอยู่ทั่วไปในตอนนี้ และเราเห็นว่าในสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออกที่ซึ่งลัทธิคอมมิวนิสม์, ในทิศทางหนึ่ง, ได้ถูกกัดเซาะและทำลายลงโดยข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้คนไม่เชื่อว่ามันเป็นรูปแบบการปกครองหรือรัฐบาลที่จะงอกงามหรือประสบความสำเร็จขึ้นมาได้, มันไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมาย, และนั่นคือข้อเท็จจริง, ความคิดต่างๆเกี่ยวกับประชาธิปไตยคือสิ่งหนึ่งที่เป็นอย่างแรก ซึ่งผู้คนค้นพบด้วยความตื่นเต้น และตระหนักถึงความยุติธรรม และมีค่าคู่ควรเกี่ยวกับการยกย่องและชื่นชมมากกว่า

LAMB: เวลาที่คุณพูดถึง"เสริประชาธิปไตย", อะไรที่คุณหมายถึง"เสรีประชาธิปไตยอันนี้ ?"

FUKUYAMA: เออ, มันมีข้อแตกต่างซึ่งโดดเด่นที่สำคัญซึ่งผมหมายถึงคำว่า"ประชาธิปไตย" - เราต่างมีความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับมัน. มันหมายถึงบางสิ่งบางอย่าง เช่น การเลือกตั้ง, การมีพรรคการเมืองหลายๆพรรค, การเลือกตั้งโดยวิธีลงคะแนน. และสังคมที่พวกเราอยู่ ก็คือสังคมเสรีประชาธิปไตย. มันมีการเลือกตั้ง ผนวกกับการประกันเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆของปัจเจกชน อย่างเช่น เสรีภาพในการพิมพ์, เสรีภาพในการนับถือศาสนา, เสรีภาพเกี่ยวกับการมีความสัมพันธ์ทางการเมือง, และ, ที่สำคัญมากสุด ก็คือเสรีภาพที่จะมีส่วนร่วมในระบบการเมือง.

และเป็นความจริงด้วยว่า "เสรีประชาธิปไตย" ต้องมีทั้ง 2 ด้าน คือด้านที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง(1) และด้านที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายรับรองเกี่ยวกับสิทธิของปัจเจกชนต่างๆ(2). และเมื่อทั้งสองด้านนี้ได้มารวมเข้าด้วยกัน, ผมคิดว่าคุณก็มีหัวใจหรือแก่นแท้ที่สำคัญของระบบการเมืองร่วมสมัย.

LAMB: คุณสามาระพูดถึงระบอบ"ประชาธิปไตย"ที่ไม่มีคำว่า"เสรี"วางเอาไว้ข้างหน้าคำนี้ได้ไหม ?

FUKUYAMA: โอ้, แน่นอน - ในข้อเท็จจริง, มันมีประชาธิปไตยอย่างที่ว่านั้นเป็นจำนวนมากเลยในปัจจุบัน ซึ่งปรากฎอยู่ในโลกของอิสลาม. ยกตัวอย่างเช่น ประเทศอิหร่านในทุกวันนี้ - อิหร่านของโคไมนี หรือหลังยุคโคไมนี ผมคิดว่าสามารถที่จะอ้างชื่อว่าเป็นปะเทศประชาธิปไตยที่ว่านั้นได้ไม่มากก็น้อย. พวกเขามีการเลือกตั้งอะไรทำนองนั้น แต่เป็นการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์สะอาด แต่ทว่าก็มีการเลือกตั้งต่างๆ. มันเป็นประเทศที่ไม่ใช่เสรีประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์. ผู้หญิงไม่มีสิทธิต่างๆ; พวกเธอไม่สามารถที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองได้. มันไม่มีเสรีภาพทางศาสนา. แน่นอน มันไม่มีเสรีภาพในการพูด.

มันเป็นปัญหาที่แท้จริงอันหนึ่ง ในภาคส่วนต่างๆเป็นจำนวนมากของโลกอาหรับ. ยกตัวอย่างเช่น ในอัลจีเรียทุกวันนี้, มันมีการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มอิสลามิก หรือ กลุ่มอิสลามิกที่ยึดถือพระคัมภีร์อย่างเหนียวแน่น, ผมคิดว่า, เป็นไปได้มากทีเดียว และได้รับการคาดหวังว่าจะชนะ พอที่จะได้รับเสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้น. ปัจจุบัน, ประชาธิปไตยที่ว่า, มันได้รับการเลือก แต่รายละเอียดในการปฏิบัติ มันไม่มีเสรีภาพ.

ผมหมายความว่า พวกเขาไม่มีเจตนาใดๆเกี่ยวกับ การที่จะประกันหรือรับรองสิ่งต่างๆ อย่างเช่น เสรีภาพเกี่ยวกับศาสนา และเสรีภาพเกี่ยวกับการพูด, และนั่นคือปัญหาที่แท้จริงในสังคมแบบนั้น. ถ้าหากว่าพวกเขาได้รับการเลือกตั้งให้เข้าสู่อำนาจ สิ่งแรกที่พวกเขาอาจจะทำก็คือ ถอดถอนสิทธิในการออกเสียงส่วนหนึ่งของประชาชนออกไป. และด้วยเหตุดังนั้น มันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ว่า "ประชาธิปไตย"ต่างๆ ที่เป็น"เสรีประชาธิปไตย"นั้น มันเป็นเช่นเดียวกัน กับการวางรากฐานอยู่บน"อำนาจอธิปไตยของประชาชน".

LAMB: ขอกลับมาที่เรื่องของตัวคุณสักนิด เพื่อเป็นการแนะนำตัวเล็กน้อย... คือ คุณพอที่จะพูดถึงประวัติส่วนตัวของคุณบ้างได้ไหม เช่นว่า คุณเกิดที่ไหน เมื่อไหร่ ครอบครัวเป็นใคร ร่ำเรียนมาจากที่ไหน เหล่านี้เป็นต้น ?

FUKUYAMA: ผมเกิดที่ชิคาโก ในปี ค.ศ.1952 และอาศัยอยู่ที่นั่นราว 2 ปี. จริงๆแล้วตอนที่ผมเติบโตนั้น ผมอยู่ที่นิวยอร์ค และต่อจากนั้นก็เริ่มที่จะเดินทางท่องเที่ยวไปในหลายๆที่ ก็เหมือนกับคนอเมริกันทั่วไปนั่นแหละ. ผมเข้าเรียนที่ Cornell และต่อมาได้สำเร็จการศึกษาที่ Harvard. วิชาที่เรียนในระดับปริญญาตรี ผมเลือกเรียนวิชาหลักที่ไม่ค่อยธรรมดาเท่าไหร่. ผมเรียนวิชาเอกเกี่ยวกับคลาสสิค(ปรัชญาสมัยคลาสสิค). ผมใช้เวลา 5 ปีเรียนรู้ภาษากรีก โดยสาระแล้ว ก็เพื่อที่จะสามารถอ่านงานของเพลโตและอริสโตเติลได้ด้วยภาษาเดิมหรือภาษาต้นฉบับ และได้ศึกษาปรัชญาการเมืองมาพอสมควร ในช่วงเวลานั้น.

LAMB: คุณได้รับปริญญาโท และปริญญาเอกจากที่ Harvard ใช่ไหม ?

FUKUYAMA: ไม่ครับ, ผมได้รับปริญญาเอกจาก Harvard เท่านั้น. แต่ ณ จุดนั้น ผมได้ปรับเปลี่ยนความรู้ และด้วยเหตุนี้ผมจึงจบมาทางด้านรัฐศาสตร์ในคณะดังกล่าวจากที่นั่น และวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอก ผมได้เขียนเรื่อง, ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้ว, มันเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับปรัชญาเลย ผมเขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเรื่อง "นโยบายต่างประเทศของโซเวียตในตะวันออกกลาง".

LAMB: คุณเกิดที่ชิคาโก และย้ายไปอยู่นิวยอร์ค ข้อสงสัยของผมต่อมาเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของคุณ อยากจะถามว่า พ่อ-แม่ของคุณทำงานอะไร ?

FUKUYAMA: พ่อของผมทำงานอยู่หลายปี ในฐานะกรรมการระดับชาติเกี่ยวกับศาสนา เรียกว่า the United Church of Christ. ชีวิตพื้นเพหลังของท่าน ท่านเป็นพระ, และต่อมาภายหลังก็เป็นศาสดาจารย์ทางด้านศาสนศึกษาที่ Penn State และถัดมาก็ได้ไปที่ชิคาโกเพื่อสัมนาเกี่ยวกับเรื่องเทววิทยาในชิคาโก, ต่อจากนั้นท่านก็ได้เข้าไปอยู่ใน the University of Chicago และถัดจากนั้นก็ได้หวนกลับมาสู่ที่เดิมอีก เรียกว่าครบรอบพอดีจะกระทั่งท่านเกษียณอายุ. ส่วนแม่ผม, พบกับพ่อของผม เดิมเลยทีเดียว ที่ the University of Chicago, และต่อมาภายหลัง เธอก็เป็นแม่คนหนึ่งและเป็นแม่บ้าน.

ปัจจุบันตัวผมอยู่ในกรุงวอชิงตัน. และได้ใช้เวลาช่วง 2 ปีหลัง เขียนหนังสือเล่มที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี้. ผมเป็นผู้คอยให้คำปรึกษาที่เรียกว่า resident consultant อยู่ที่ the RAND Corporation ซึ่งถือว่าเป็นถังความคิดที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งทำเรื่องนโยบายต่างประเทศ, เป็นการศึกษาในเรื่องของความมั่นคงของประเทศ. และที่นั่นคือที่ผมทำงานก่อนที่จะย้ายมาอยู่ในวอชิงตัน ที่ซึ่งผมได้ศึกษาเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตและการเมืองในตะวันออกกลาง และอะไรทำนองนั้น.

LAMB: นอกจากการได้รับ Ph.D. และปริญญาทางรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กับการทำงานที่ the RAND Corporation แล้ว, คุณทำงานที่ไหนอีกบ้าง ?

FUKUYAMA: อืม, ผมได้ทำงานที่กระทรวงการต่างประเทศ(the State Department). ผมทำงานที่นั่นสองครั้ง, ในช่วงต้นทศวรรษที่ ๑๙๘๐ ผมทำงานอยู่ที่นั่นในฐานะสต๊าฟเกี่ยวกับการวางแผนด้านนโยบาย ซึ่ง - มันเป็นหน่วยงานเล็กๆที่เกาะเกี่ยวกับสำนักงานเลขาธิการของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งถูกคาดหวังว่าจะให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาทางด้านแนวคิด นโยบาย เกี่ยวกับการต่างประเทศในการวางแผนระยะยาวต่างๆ. ผมทำงานอยู่ที่นั่นในช่วงต้นทศวรรษที่ 80s และกลับมาอีกครั้งในปี ค.ศ. 1989 และช่วงหลังนี้ได้มาดำรงตำแหน่งผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการ ในสต๊าฟวางแผนเชิงนโยบายที่ที่ทำงานเดิม, แต่การหวนกลับมาทำงานที่กระทรวงการต่างประเทศครั้งที่สอง ได้มีการพักงานระยะสั้นๆ เพื่อปลีกตัวมาตีพิมพ์เกี่ยวกับบทความเดิมเรื่อง, "The End of History,"ใหม่อีกครั้ง ซึ่งได้นำผมไปสู่การเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา.

LAMB: การพักงานสั้นๆอันนี้ เป็นไปโดยการตัดสินใจของคุณ หรือว่าเป็นการตัดสินใจของกระทรวงต่างประเทศ ?

FUKUYAMA: โอ้, ไม่เลย, กระทรวงต่างประเทศไม่มีอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้. มันเป็นการตัดสินใจโดยความสมัครใจอย่างสมบูรณ์ของตัวผมเอง. ผมคิดว่า การเขียนหนังสือ มันเป็นโอกาสอันหนึ่ง, ในความหมายนี้ก็คือ, มันเป็นเรื่องที่หนักและผ่านไปได้ยากมาก, อย่างไรก็ตาม คุณก็สามารถที่จะกลับมาทำงานในฐานะเจ้าหน้าที่อย่างเดิม เมื่อไรก็ได้ที่คุณต้องการ.

LAMB: ตอนที่คุณเขียนบทความเรื่อง"การสิ้นสุดประวัติศาสตร์"(The End of History) และพิมพ์งานชิ้นนี้ คุณยังเป็นสต๊าฟอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศหรือไม่ครับ ?

FUKUYAMA: อันที่จริง ผมได้เขียนบทความชิ้นนั้น ตอนที่ผมยังทำงานอยู่ที่ RAND Corporation ก่อนจะมาทำงานอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศ และมันยังคงค้างคาอยู่ตอนที่มาทำงานที่กระทรวงฯ. และต่อจากนั้น โดยกระทันหันในช่วงฤดูร้อนปี 1989 ตอนที่ผมเป็นเจ้าหน้าที่ หนังสือเล่มนี้ก็ได้รับการตีพิมพ์ออกมา และถัดจากนั้น ความโกลาหลและปฏิกริยาต่างๆในเชิงไม่เห็นด้วยก็เริ่มต้นขึ้น, ขณะที่ผมยังทำงานอยู่ที่กระทรวงต่างประเทศ

LAMB: มีแรงกดดันอะไรบ้างไหม ตอนคุณทำงานอยู่ที่กระทรวงต่างประเทศ ในทำนองว่า "ดูนี่ซิ, เรื่องนี้มันร้อนแรงมากเลยทีเดียว. มันจะดีกว่าไหม หากว่าคุณไม่ได้ทำงานอยู่ที่นั่น ในช่วงเวลาดังกล่าว ?

FUKUYAMA: ไม่เลย. ช่วงนั้นผมกำลังทำงานอ้อมๆในฐานะเลขานุการทางการเงิน และผมคิดว่า เขาค่อนข้างมีท่าทีที่อดกลั้น ดังเช่นเจ้านายของผมตอนนี้

LAMB: นามสกุล Fukuyama ที่เป็นภาษาญี่ปุ่นนี้ คุณได้รับมาต่อจากบรรพบุรุษใช่ไหม ? แล้วหากว่าใช่ คุณสามารถจะย้อนกลับไปถึงบรรพบุรุษของคุณที่เกิดในญี่ปุ่นได้ไหม ?

FUKUYAMA: ครับเป็นนามสกุลที่มาจากบรรพบุรุษ. แม่ของผมเกิดในญี่ปุ่น และท่านได้มาพำนักอยู่ในประเทศนี้ในปี 1949. ส่วนพ่อของผมเกิดที่ Los Angeles, และคุณปู่ของผมมายังสหรัฐอเมริกาในปี 1905, ดังนั้น มันจึงขึ้นอยู่กับว่า ด้านไหนของครอบครัวที่คุณอยากจะรู้และให้ผมเล่าย้อนกลับไป

LAMB: ขอกลับมาที่หนังสือ, คุณมีแผนภูมิอันหนึ่งซึ่งพิมพ์รวมอยู่. ผมไม่ทราบว่า ถ้าหากว่าเราจะขยับกล้องเข้าไปใกล้ๆแผนภูมิอันนี้ได้หรือไม่ ? ผมควรจะรอสักครู่ เพื่อให้กล้องซึ่งจับอยู่ที่คุณเลื่อนมายังแผนภูมินี้ และโฟกัสเข้ามาให้ใกล้พอที่ผู้ชมจะได้เห็นภาพนี้ด้วย. เอาล่ะ ผมอยากจะถามว่า แผนภูมิอันนี้มันเป็นเรื่องอะไร ?

FUKUYAMA: ภาพที่เห็นนี้ เป็นตารางแผนภูมิที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญเติบโตของ"เสรีประชาธิปไตย"ทั่วโลก ซึ่งย้อนกลับไปยังคริสตศตวรรษที่ 18. และอันที่จริง มันเป็นการแสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาอันยาวนาน และ, ผมคิดว่า เป็นภาพของการแพร่ขยายที่ค่อนข้างกว้างเกี่ยวกับสถาบันต่างๆทางประชาธิปไตย

LAMB: มาดูที่ตรงนี้กันสักนิด, เส้นที่เห็นอยู่นี้คือปี 1990. และประเทศเหล่านั้นทั้งหมด ตอนนี้เป็นเสรีประชาธิปไตย. คุณสามารถมองเห็นได้ว่า เลยออกไปจากตรงนี้มันไม่ใช่. คุณสามารถที่จะสลับไปอีกหน้าตรงนี้ และเห็นมันมากขึ้นบนอีกหน้าหนึ่ง. และ อีกครั้ง เกือบทั้งหมดเป็นเสรีประชาธิปไตย. อะไรคือฝ่ายซ้ายล่ะ ?

FUKUYAMA: เออ, ฝ่ายซ้ายคือส่วนใหญ่ของแอฟริกา, ส่วนใหญ่ของตะวันออกกลาง, และอันที่จริง ประเทศทางใต้ สองในสามของเอเชีย, และถัดจากนั้น คุณมีจีนและรัสเซีย หรือสหภาพโซเวียตเมื่อก่อน ซึ่งกำลังผ่านกระบวนการที่ค่อนข้างเจ็บปวดของการทำให้เป็นประชาธิปไตย. แต่พร้อมๆกัน ผมได้นับบางสิ่งบางอย่างเรียงตามลำดับ - มันขึ้นอยู่กับอะไรนิดๆหน่อยๆที่ว่า คุณได้ให้คำนิยาม"ประชาธิปไตย"ว่าอย่างไร, แต่มีบางอย่างในลำดับที่ 60-63 ประชาธิปไตยต่างๆในโลกซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้คนประมาณ 2.2 พันล้านคน, หรือประมาณ 40 เปอร์เซนต์ - มากกว่าจำนวนประชากร 40 เปอร์เซนต์ของโลกเล็กน้อย. และนั่นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 1790 มีเพียง 3 ประเทศเท่านั้นที่เป็นประชาธิปไตย: นั่นคือ ฝรั่งเศส, สหรัฐอเมริกา, และสวิสเซอร์แลนด์.

ดังนั้น ความก้าวหน้าของการแผ่ขยายเกี่ยวกับประชาธิปไตย, ถ้าหากว่าคุณมองดูมันในช่วงเวลาที่ยาวนานเพียงพอ จริงๆแล้ว มันเป็นที่น่าสังเกตุมากเลยทีเดียว. และมันเป็นความก้าวหน้าซึ่งไม่ได้เป็นไปในลักษณะเส้นตรง หรือแบบแผนเดียวกัน เพราะมันมีการทวนกระแสที่ใหญ่โตมาก อย่างเช่นในทศวรรษที่ 1930s ภายใต้ผลกระทบของความตกต่ำทางเศรษฐกิจ และการประทุขึ้นมาอย่างรุนแรงมาก ของลัทธิ fascism (ลัทธิชาตินิยมในอิตาลีก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง). ประชาธิปไตยเป็นจำนวนมากได้ถูกโค่นล้มในยุโรปและที่อื่นๆ และอีกครั้งในทศวรรษที่ 1960s และ 1970s ในละตินอเมริกา. คุณจะเห็นว่ามีประเทศประชาธิปไตยเป็นอันมากที่ถูกทำให้ล้มคว่ำไป.

แต่ผมคิดว่า สิ่งที่ตารางแผนภูมิอันนี้แสดงก็คือ เรามีความโน้มเอียงที่จะสนใจช่วงระยะเวลาสั้นๆ เกี่ยวกับจุดสูงสุดและต่ำสุดที่เป็นแอ่งลึกลงไป, แต่ถ้าหากว่าเรามองดูมันในช่วงเวลาที่ยาวนาน กล่าวคือ มองดูมันใช่วง 200 - 300 ปีติดต่อกัน, มันชัดเจนมากว่า มันมีแนวโน้มกว้างๆอันหนึ่งที่หันไปทางรัฐบาลประชาธิปไตย.

LAMB: มาถึงตรงนี้ อะไรคือสาเหตุของการทำให้เกิดสิ่งนั้นล่ะ ?

FUKUYAMA: อืม, อันที่จริงผมมีคำอธิบายที่แยกจากกันอยู่สองอย่าง ซึ่งผมได้เสนอเอาไว้ในหนังสือเล่มนี้. คำอธิบายแรกซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางเศรษฐศาสตร์ คือหากว่าคุณมองไปทั่วทั้งโลก มันมีความสัมพันธ์กันอย่างมากอันหนึ่ง ระหว่าง "ประชาธิปไตยที่มั่นคง" กับ "ความเจริญรุ่งเรืองในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจในระดับสูงสุด". ดังนั้น ถ้าเผื่อว่าคุณดูไปที่ยุโรปตะวันตก, ญี่ปุ่น, อเมริกาเหนือ, พื้นที่เหล่านี้ทั้งหมดมีความก้าวหน้าสูงมาก, ทั้งทางด้านเทคโนโลยี, ประเทศต่างๆที่เป็นทุนนิยม, และประเทศเหล่านี้ก็มีประชาธิปไตยที่มั่นคงด้วย, ซึ่งอันนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า มันมีความเกี่ยวพันกันบางอย่าง ระหว่าง "ความสามารถของประเทศในการทำให้เป็นอุตสาหกรรมในหนทางที่ก้าวหน้า" กับ "ความสามารถของมันต่อความยั่งยืนเกี่ยวกับประชาธิปไตย".

และผมคิดว่า คุณอาจจะมีคำอธิบายเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับมูลเหตุที่อยู่ก้นบึ้ง ของการเปลี่ยนผ่านเมื่อไม่นานมานี้มากมาย ต่อประชาธิปไตยในสเปนและโปรตุเกส และในหลายๆส่วนของละตินอเมริกา, แน่นอน ในสหภาพโซเวียต ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงที่ว่า มันมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น ในฐานะประเทศหนึ่งที่เป็นอุตสาหกรรม, ซึ่งมันค่อยๆกลายเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ มันจึงมีการปรับเปลี่ยนในทางการศึกษาตามมา. คุณได้สร้างชนชั้นกลางขึ้น ซึ่งคนเหล่านี้ได้ถูกยก และฝึกฝนให้รู้หนังสือ, เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวเหตุการณ์ของตนเอง.

และในท้ายที่สุด, ผมคิด, ผู้คนเหล่านั้น สังคมที่เป็นชนชั้นกลางเช่นนั้น จึงเริ่มเรียกร้องการมีส่วนร่วมในทางประชาธิปไตยระดับหนึ่ง. และคุณสามารถจะพบเห็นมันได้ในหลายๆประเทศทั่วโลก. อย่างในเกาหลีใต้, เผด็จการทหาร ในที่สุด ก็ได้ถูกล้มล้างลงไปในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980s, นั่นคือการมาถึงช่วงปลายของยุคที่มันได้ดำเนินการผ่านมา โดยผ่านยุคอันน่าทึ่งเกี่ยวกับการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ. มันพัฒนาขึ้นมาในช่วง 10-15 ปี หลังจากที่ญี่ปุ่น ในเทอมของการเปลี่ยนผันตัวเองไปสู่สังคมบริโภคสมัยใหม่. และผมคิดว่าในจุดนั้น, ผู้คนในเกาหลีใต้ เริ่มที่จะพูดกับตัวของพวกเขาเองว่า, "อืม, มันน่าหัวเราะที่ว่าพวกเรามีรัฐบาลทหารแบบนี้อยู่. พวกเราต้องการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม และมีความเป็นประชาธิปไตยเหมือนกับประเทศ หรือโลกที่พัฒนาแล้วอื่นๆ". และนั่นก็คือกรณีต่างๆเกี่ยวกับอันนั้น.

ข้างต้นนี้เป็นคำอธิบายที่ได้สร้างเสาหลักขึ้นมาต้นหนึ่ง, ในความหมาย เกี่ยวกับข้ออ้างเหตุผลของผม, แต่คำอธิบายอีกประเด็น ในทางที่เป็นปรัชญามากกว่า และค่อนข้างเข้าใจยากหน่อย. คือ เออ...คำอธิบายทางเศรษฐกิจเหล่านี้สำหรับประชาธิปไตย, ผมคิดว่า, ในท้ายที่สุด จริงๆแล้ว ไม่ค่อยน่าพอใจเท่าไรนัก เพราะในการวิเคราะห์ขั้นสุดท้าย ผู้คนมิได้ต้องการประชาธิปไตยสำหรับเหตุผลทางเศรษฐกิจต่างๆ. ผมหมายความว่า คุณสามารถที่จะมีสังคมที่เจริญรุ่งเรืองสูงมากโดยปราศจากเสรีภาพทางการเมืองมากๆได้. ผมหมายความว่า มันมีประเทศเป็นจำนวนมากในเอเชียที่เป็นอย่างนั้น เช่น สิงคโปร์ และประเทศไทย และประเทศอื่นๆอะไรทำนองนั้น

และผมคิดว่า ถ้าหากว่าคุณมองลึกลงไปมากขึ้น เกี่ยวกับสิ่งที่ขับเคลื่อนสังคมต่างๆให้"ต้องการประชาธิปไตย", คุณมักจะจบลงที่มูลเหตุซึ่ง"ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางเศรษฐกิจ", และด้วยเหตุผลอันนั้นในหนังสือเล่มนี้, ผมได้ย้อนกลับไปที่นักปรัชญาเยอรมันคือ Hegel มากกว่า Karl Marx เกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆทางเศรษฐกิจของเขาในเชิงประวัติศาสตร์.

และเหตุผลสำหรับการหวนกลับไปถึง Hegel ก็คือว่า Hegel มีทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์, ทฤษฎีที่ว่า สังคมต่างๆของมนุษย์ก้าวหน้าและวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบขององค์กรที่สูงกว่าได้อย่างไร. มันได้รับการวางเอาไว้ มิได้อยู่บนเรื่องของเศรษฐศาสตร์ แต่ได้รับการวางอยู่บนสิ่งที่เขาเรียกว่า"การดิ้นรนต่อสู้เพื่อการยอมรับ"(struggle for recognition), นั่นต้องพูดว่า ไม่เกี่ยวกับเรื่องทางเศรษฐกิจแต่อย่างใดเลย - อันนั้น พวกเราในฐานะของความเป็นมนุษย์ ต้องการได้รับการยอมรับในฐานะมนุษย์ ด้วยเกียรติ-ศักดิ์ศรี และอิสรภาพของมนุษย์.

และด้วยการแสวงหาอันนั้น เพื่อการยอมรับ, มันได้น้อมนำไปสู่ความสัมพันธ์ของนายและทาส. มันเป็นส่วนที่วางอยู่เบื้องหลังซึ่ง ในทางหนึ่ง, ในสะท้อนในเรื่องของศาสนาและกระบวนการต่างๆอย่างลัทธิชาตินิยม. แต่ในที่สุดนั้น - นั่นคือวิธีการในการอธิบายประชาธิปไตยด้วย. ที่ว่า ทำไมพวกเราจึงต้องการประชาธิปไตย. มันไม่ใช่ว่า ประชาธิปไตยจะมาสร้างความรุ่งเรืองทางทุนนิยมสำหรับเรา แต่มันเป็นระบบการเมืองซึ่ง, โดยการให้เรามีสิทธิส่วนบุคคล "ที่รับรองเกียรติ-ศักดิ์ศรีของเรา" ในฐานะที่เป็นมนุษย์, และอันนี้คือสาระสำคัญที่เป็นพลังขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังหรือก้นบึ้งการปฏิวัติประชาธิปไตย, ไม่ว่ามันจะเกิดขึ้นมาในยุโรปตะวันออก หรือในเอเชีย หรือในละตินอเมริกาก็ตาม.

LAMB: เนื่องจากผู้ชมที่ดูเราอยู่ตอนนี้มีความรู้หลากหลาย คุณพอจะบอกกับผู้ชมได้ไหมครับว่า Hegel มีชีวิตอยู่ช่วงไหน ?

FUKUYAMA: เขามีชีวิตอยู่ในช่วงต้นของคริสตศตวรรษที่ 19 และในท้ายที่สุดก็ขึ้นเป็นศาสตราจารย์ทางด้านปรัชญาในเบอร์ลินในราวทศวรรษที่ 1820s. อันที่จริง ช่วงชีวิตของเขาสอดคล้องกับยุคของการปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามต่างๆของนโปเลียน.

LAMB: การปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มขึ้นเมื่อใด ? ดูเหมือนว่าว่าคุณจะได้กล่าวถึงเอาไว้มากในหนังสือเล่มนี้ ทำไมมันถึงถูกนำมาพูดถึงมาก

FUKUYAMA: การปฏิวัติฝรั่งเศส1789 - หรือมันเริ่มต้นขึ้นในปี 1789 และจวบจนสิ้นสุดใน Waterloo ในปี 1815. การที่ผมพูดถึงเรื่องนี้เอาไว้มากก็เพราะ การปฏิวัติฝรั่งเศส สำหรับ Hegel แล้ว อันที่จริงมันเป็นตัวแทน - คือ มันเป็นการมาถึงของจุดจบเกี่ยวกับประวัติศาสตร์, ดังที่ว่าไว้.

มาถึงปัจจุบัน โดยการปฏิวัติฝรั่งเศส เราไม่ได้หมายความเพียงแค่เหตุการณ์ที่จำกัดเฉพาะเรื่องราวทางประวัติศาสตร์เท่านั้น, สิ่งที่เราหมายถึงคือ การปรากฎตัวขึ้นมาของสิ่งซึ่งเราเข้าใจ ในฐานะที่เป็น"เสรีประชาธิปไตยสมัยใหม่" เพราะในการปฏิวัติฝรั่งเศส, ในท้ายที่สุด สิ่งที่มันกระทำก็คือ การปฏิวัติในหลักการที่เห็นด้วยกับ"เสรีภาพ"และ"ความเสมอภาค". มาตอนนี้ คุณอาจสับเปลี่ยนการปฏิวัติอเมริกันกับเรื่องอันนั้น เพราะ, ผมคิดว่าในความหมายเชิงอุดมคติดังกล่าว การปฏิวัติทั้งคู่มันมีลักษณะความหมายคุณค่าเท่าๆกัน. ผมหมายความว่า, มันเป็นการปฏิวัติทั้งคู่ ซึ่งได้สร้างสรรค์สิ่งที่ผมได้นิยามมาตั้งแต่ต้น ในฐานะที่เป็น"เสรีประชาธิปไตย" ซึ่งเป็นระบบการเมืองอันหนึ่งที่วางอยู่บนพื้นฐานของอำนาจอธิปไตยของปวงชน โดยการประกันหรือรับรองเกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคลต่างๆ.

และสำหรับ Hegel, การมาถึงของการปฏิวัติฝรั่งเศส ถือเป็นเหตุการณ์ที่มาก่อนหรือเป็นลางของการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์ เพราะ มันหมายความว่า หลักการต่างๆเกี่ยวกับ"เสรีภาพ"และ"ความเสมอภาค" ซึ่งเสรีประชาธิปไตยสมัยใหม่ได้รับการวางรากฐาน คือในท้ายที่สุด มันได้ถูกค้นพบและถูกทำให้สำเร็จผล เพียงในมุมเล็กๆมุมหนึ่งของยุโรป แต่ย้อนกลับไปถึงช่วงปลายของคริสตศตวรรษที่ 18. แต่อย่างน้อยที่สุด หลักการดังกล่าวก็ได้รับการสถาปนาขึ้นมา. และผมคิดว่าบรรดา Hegelians สมัยใหม่จะอ้างเหตุผลว่า สิ่งที่เกิดขึ้นใน 200 ปี นับจากการปฏิวัติฝรั่งเศสคือ การบรรลุถึงหลักการเหล่านั้นไปทั่วโลก. กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ, พวกเราไม่ได้ก้าวหน้าในในความหมายเบื้องต้นใดๆ นับจากการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นต้นมา.

อ่านต่อตอนที่ 2 หน้าถัดไป

กลับไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

 

บทสัมภาษณ์ ฟรานซิส ฟูกูยามา ผู้เขียนเรื่อง
"การสิ้นสุดประวัติศาสตร์และมนุษย์คนสุดท้าย"