แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เรื่อง เขาพระวิหารกับความรุนแรงในสังคมไทยและความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา
midnightuniv(at)gmail.com

 

กรณีเขาพระวิหารได้นำมาซึ่งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั้งภายในสังคมไทยและความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ดูเหมือนว่าความขัดแย้งนี้อาจแปรไปสู่ความรุนแรงได้อย่างไม่ยาก แน่นอนว่าข้อถกเถียงเรื่องเขาพระวิหารมีอีกหลายประเด็นที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข แต่การแก้ไขก็ยากที่จะเสร็จสิ้นได้เพียงชั่วข้ามคืน เนื่องด้วยความสลับซับซ้อนและเป็นปัญหาที่สะสมสืบเนื่องมายาวนาน คำถามที่สังคมไทยควรช่วยกันขบคิดก็คือ เราทั้งหมดจะเผชิญหน้ากับปัญหานี้อย่างไร

ในเบื้องต้น จำเป็นต้องตระหนักว่าสาเหตุของการปะทุขึ้นของปัญหาความขัดแย้งในกรณีปราสาทเขาพระวิหารในคราวนี้เป็นผลมาจากปัญหาการเมืองภายในของสังคมไทยที่มีการใช้ประเด็นชาตินิยมมาปลุกเร้าเพื่อให้เกิดความเกลียดชังต่อรัฐบาลและคนไทยด้วยกัน ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ประเด็นนี้ก็ได้ขยายออกไปเป็นปัญหาความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น ผู้ที่ได้ประโยชน์ที่แท้จริงจึงอาจไม่ใช่สังคมส่วนรวม หากเป็นบุคคลบางกลุ่มที่ฉวยใช้ความคิดชาตินิยมมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อแสวงหาประโยชน์ให้กับตนเอง สังคมจึงต้องระมัดระวังอย่างมากต่อความขัดแย้งที่ได้ก่อตัวขึ้น

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอเรียกร้องให้สังคมไทยให้ใช้สติปัญญาและความรู้ในการพิจารณาปัญหาดังกล่าวเพื่อลดความขัดแย้งภายในสังคมไทย และเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาด้วยสันติวิธีซึ่งจะช่วยนำทั้งสองประเทศกลับมาสู่ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แทนการใช้ความรุนแรงภายใต้การปลุกเร้ากระแสชาตินิยมอย่างบ้าคลั่งจากบุคคลบางกลุ่ม ซึ่งมีแต่จะทำให้ความขัดแย้งขยายตัวออกไปกว้างขวางและทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนมีข้อเสนอเพื่อเป็นทางออกในกรณีเฉพาะหน้า ดังต่อไปนี้

ประการแรก รัฐบาลไทยควรเปิดการเจรจากับรัฐบาลกัมพูชาถึงปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นทางการ ด้วยกระบวนการ ขั้นตอน ที่ดำเนินไปอย่างโปร่งใสและเปิดให้สังคมไทยและกัมพูชาสามารถตรวจสอบและเข้าถึงการทำข้อตกลงระหว่างกัน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่าการกระทำทั้งหมดของรัฐบาลทั้งสองประเทศปราศจากเบื้องหลังหรือการแสวงหาประโยชน์ใดๆ ตามที่มีการกล่าวอ้างกันอยู่ในปัจจุบัน

ประการที่สอง ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีหลายประเด็นในกรณีพื้นที่เขาพระวิหารซึ่งอาจมีความยุ่งยากต่อการเจรจาระหว่างสองประเทศ อันเป็นผลมาจากแรงกดดันจากการเมืองภายในของแต่ละประเทศ ทำให้มีข้อจำกัดอย่างมากหากปล่อยให้การแก้ไขมาจากการริเริ่มของประเทศไทยหรือกัมพูชา และเป็นไปได้ยากหากจะหวังให้การแก้ไขปัญหาเกิดขึ้นจากความสมัครใจของทั้งสองประเทศ จึงจำเป็นจะต้องให้มีองค์กรจากภายนอกหรือมีกระบวนการที่เปิดให้ฝ่ายอื่นๆ ได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหา บทบาทของอาเซียนหรือการตั้งอนุญาโตตุลาการน่าจะเป็นทางเลือกในการแก้ไขความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้

ประการที่สาม นอกจากการดำเนินการในระดับของรัฐบาลดังที่กล่าวมาแล้ว ภาคประชาสังคมก็สามารถมีบทบาทอย่างสำคัญต่อการผลักดันและสนับสนุนให้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้รับการแก้ไขด้วยความรู้และความยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคประชาสังคมจากทั้งสองประเทศหรือในส่วนอื่นก็ควรร่วมมือกันเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจต่อปัญหาที่กว้างขวางขึ้น อันจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สังคมมีสายตาที่กว้างไกลมากขึ้น เช่น การจัดการพื้นที่ร่วมกันบนฐานของการคำนึงถึงเงื่อนไขทางสังคมและวัฒนธรรม มากกว่าผลประโยชน์แคบๆ ของรัฐที่ตั้งอยู่บนความหวาดระแวงทั้งจากประชาชนของแต่ละประเทศและความหวาดระแวงกันระหว่างประเทศทั้งสองเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
21 กรกฎาคม 2551

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

แถลงการณ์ในรูป word คลิก


1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

HOST@THAIIS