บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ การรณรงค์เรียกร้องความเป็นธรรม ให้กับการต่อสู้ของชาวนาในเขตภาคเหนือ ผู้ยากไร้ ซึ่งต้องถอยร่นกลับสู่ผืนแผ่นดิน
ขณะนี้มีชาวนาที่ถูกจับกุม และถูกใส่โซ่ตรวนดุจเดียวกับอาชญากรที่ต้องโทษสูงสุด เพียงเพราะพวกเขาต้องการที่ทำกิน
มติคณะรัฐมนตรี วันที่
9 เมษายน 2545 เรื่องการ
ชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ
( สกน.) ลงมติว่า - รับทราบรายงานผลเบื้องต้นของ
การ เจรจากับกลุ่มสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ตาม
ที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ โดยแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้ยึดหลักเมตตาธรรม
และนิติธรรมควบคู่กันไป รัฐบาลมีความตั้งใจแก้ไขปัญหาคนจนอย่างแท้จริง แต่ต้องไม่ทำให้กติกาบ้านเมืองเสียหาย
ทั้งนี้ เรื่องใดสามารถดำเนินการได้ก็ให้เร่งดำเนินการ เรื่องใดมีปัญหาเรื่องกฎหมายไม่สามารถดำเนินการได้
หรืออาจต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ต้องชี้แจงให้เข้าใจ - อนุมัติให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการแก้ไขปัญหาสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ
และเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือทั้ง 8 ประเด็น
ต่อมารัฐบาลได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2545 เรื่อง หลักการและแนวทางการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในการชุมนุมเรียกร้องว่า ด้วยในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2545 นายรัฐมนตรีเสนอว่า... อันเป็นเหตุให้ชาวบ้านถูกจับกุมและใส่โซ่ตรวน (อ่านรายละเอียดในบทความชิ้นนี้...)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
นี่คือ เหตุผลที่ผมกับพี่ๆ จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสภาทนายความจากกรุงเทพฯ ต้องเดินทางในเช้าของวันที่ 12 มิถุนายน 2545 จากจังหวัดเชียงใหม่มายังศาลจังหวัดลำพูน เนื่องจากเป็นวันครบรอบวันขอฝากขังผู้ต้องหา(นายสองเมืองฯ) ครั้งที่ 1 ทั้งนี้ภายหลังถูกจับแล้วไม่ได้รับการประกันตัว แต่ญาติๆ เห็นว่าลุงป่วยเป็นโรคประจำตัวคือ โรคภูมิคุ้มกันต่อต้านเนื้อเยื่อตัวเอง(SLE) อยู่ในอาการระยะที่โรคกำลังกำเริบต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากถ้าควบคุมอาการไม่ดี โรคอาจรุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการรักษาตัวจากแพทย์ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่หรือโรงพยาบาลสวนดอก จึงได้มาขอประกันตัว โดยใช้หลักทรัพย์ประกันในวงเงินคดีละแปดหมื่นบาททั้งหมด 4 คดี รวมสามแสนสองหมื่นบาท เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2545 ซึ่งก็ได้รับประกันตัวในชั้นศาลได้ หากแต่ตำรวจได้ขอยัดตัวไว้ โดยอ้างว่าเป็นผู้ต้องหากระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362,365 อนุ 2,3,และมาตรา 83
พร้อมแจ้งข้อหาเพิ่มอีก 18 คดี ขออนุญาตศาลฝากขังผู้ต้องหานี้ไว้ต่อศาลกำหนด 12 วัน นับตั้งแต่วันที่ 1 - 12 มิถุนายน 2545 อ้างว่าการสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จ โดยจะต้องทำการสอบสวนปากคำพยานที่เกี่ยวข้องอีก จำนวน 1 ปาก หากนำมาควบคุมไว้ที่สถานีตำรวจภูธรกิ่ง อ.เวียงหนองล่อง อาจจะเกิดความไม่สงบ เนื่องจากว่าผู้ต้องหาดังกล่าวกระทำผิดหลายคดีและมีมวลชนจำนวนมากให้การสนับสนุน และหากมีผู้ขอประกันตัวผู้ต้องหานี้ พนักงานสอบสวนขอคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากผู้ต้องหาได้กระทำผิดลักษณะเดียวกันหลายคดี และเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี
และวันเดียวกันพนักงานอัยการจังหวัดลำพูน ได้ยื่นฟ้องจำเลยทั้ง 7 ฐานความผิดร่วมกันบุกรุกยึดถือและครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ตามคดีหมายเลขดำที่ 1129-1146/2540 จำนวน 18 คดี ซึ่งหากต้องการประกันต้องใช้หลักทรัพย์วงเงินคดีละ 80,000 บาทรวม 22 คดี รวมชาวนา 7 คนเป็นวงเงิน 12,320,000 บาท ซึ่งไม่สามารถที่ทำให้ชาวนาผู้ยากจน ทั้ง 7 คนจักสามารถประกันตัวเองได้
และยังมีหมายเรียก หมายจับ หมายขัง ชาวนาลำพูนอีกกว่า 200 ราย (หมายตายไม่นับ)
จากกรณีที่ชาวบ้านจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ได้ลุกขึ้นมาปกป้อง ทวงเอาที่ดินสาธารณะประโยชน์ของชุมชนคืนจากนายทุน โดยได้เข้าไปใช้ที่ดินที่รกร้างว่างเปล่านั้นสำหรับทำกิน เนื่องจากที่ผ่านมาในจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ ได้มีนายทุนจากที่อื่นเข้าไปกว้านซื้อที่ดินอย่างกว้างขวางในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่ โดยมีการออกโฉนดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จากนั้นก็ทิ้งที่ดินให้รกร้างเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ ขณะที่ชาวบ้านจำนวนมากไร้ที่ดินทำกิน ในกรณีดังกล่าวสามารถสรุปสภาพปัญหาเบื้องต้นได้ดังนี้
1.บ้านศรีเตี้ย ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน นายทุนออกโฉนดทับที่สาธารณะประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันเนื้อที่ 1,200 ไร่
2.บ้านดงขี้เหล็ก ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน นายทุนออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน และพื้นที่โครงการจัดสรรหนองปลาสวายเนื้อที่ 1,000 ไร่
3.บ้านหล่ายแก้ว ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน นายทุนกว้านซื้อที่ดินทิ้งร้างไว้ เนื้อที่ 50 ไร่
4.บ้านท่ากอม่วง ต.หนองปลาสวาย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน นายทุนอออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณะประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน และพื้นที่โครงการจัดสรรหนองปลาสวาย เนื้อที่ 1,000 ไร่
5.บ้านหนองเขียด ต.หนองปลาสวาย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน นายทุนออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณะประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน และพื้นที่โครงการจัดสรรหนองปลาสวาย เนื้อที่ 1,700 ไร่
6.บ้านหนองสูน ต.หนองปลาสวาย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน นายทุนออกโฉนดที่ดินทับที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่สาธารณะประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน พื้นที่โครงการจัดสรรที่ดินหนองปลาสวาย และโครงการพระราชดำริลุ่มน้ำแม่ปิง รวมเนื้อที่ทั้งหมด 1,700 ไร่
7.บ้านเวียง ต.หนองล่อง กิ่ง อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน นายทุนออกโฉนดที่ดินทับหนองน้ำสาธารณประโยชน์ เนื้อที่ 52 ไร่
8.บ้านท่าหลุก ต.หนองล่อง กิ่ง อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน นายทุนออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณะประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน เนื้อที่ 700 ไร่
9.บ้านแพะใต้ ต.หนองล่อง กิ่ง อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน นายทุนออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณะประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน เนื้อที่ 600 ไร่
10.บ้านไร่ดง ต.น้ำดิบ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน นายทุนออก น.ส.3ก. โดยมิชอบด้วยกฎหมายโดยใช้ สค.1 จากพื้นที่อื่นมาสวมออก น.ส.3ก. รวมเนื้อที่ 426 ไร่
11.บ้านโป่งรู ต.นครเจดีย์ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ออก ส.ป.ก.4-01 โดยมิชอบด้วยกฎหมาย (ออกให้กับนายทุน) และทิ้งที่ดินให้รกร้างว่างเปล่า เนื้อที่ 303 ไร่
12.บ้านสันห้างเสือ ต.นครเจดีย์ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน นายทุนทิ้งที่ดินให้รกร้าง ศาลสั่งยึดที่ดิน เนื้อที่ 325 ไร่
13.บ้านสันป่าฮัก ออก ส.ป.ก.4-01 โดยมิชอบด้วยกฎหมาย (ออกให้กับนายทุน) และทิ้งที่ดินให้รกร้าง เนื้อที่ 40 ไร่
14.บ้านไร่กอค่า ต.นครเจดีย์ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน นายทุนออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ออกทับที่ดิน ส.ป.ก. ลำห้วย และพื้นทีมีความลาดชันเกิน 35% ทิ้งที่ดินให้รกร้างว่างเปล่า เนื้อที่ 180 ไร่
15.บ้านนครเจดีย์ ต.นครเจดีย์ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน นายทุนออก น.ส.3ก.โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทับที่ดินชลประทาน ทิ้งที่ดินให้รกร้างว่างเปล่า เนื้อที่
16.บ้านพระบาท ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน นายทุนทิ้งที่ดินให้รกร้างว่างเปล่า เนื้อที่ 330 ไร่
17.บ้านคานาอัน ต.สบเตี้ยะ อ.จอมทอง จ.ลำพูน นายทุนทิ้งที่ดินให้รกร้างว่างเปล่า เนื้อที่ 40 ไร่ และเป็นที่ดินเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิเนื้อที่ 60 ไร่
18.บ้านดอยหล่อ ต.ดอยหล่อ กิ่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ นายทุนทิ้งที่ดินให้รกร้างว่างเปล่า เนื้อที่ 557 ไร่
19.บ้านไร่บน ต.ดอยหล่อ กิ่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ นายทุนทิ้งที่ดินให้รกร้างว่างเปล่า เนื้อที่ 350 ไร่
20.บ้านโป่ง ต.แม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ นายทุนทิ้งที่ดินให้รกร้างว่างเปล่าเนื้อที่ 500 ไร่
การแก้ไขปัญหาโดยจังหวัดเชียงใหม่
ชาวบ้านในเขตจังหวัดเชียงใหม่ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินถูกทิ้งร้างเมื่อไม่นานมานี้
จึงยังไม่ปรากฎว่ามีการเจรจาอย่างเป็นทางการระหว่างชาวบ้านกับส่วนราชการ จึงยังไม่มีการหาทางออกร่วมกัน
แต่จังหวัดเชียงใหม่โดยทางอำเภอได้เข้าทำการเจรจาเกลี้ยกล่อมให้ชาวบ้านยุติการเข้าไปทำประโยชน์
ในที่ดินรกร้างว่างเปล่าโดยให้เหตุผลว่าเป็นการทำผิดกฎหมาย แต่ชาวบ้านยืนยันในการใช้สิทธิของตนเองในการทำประโยชน์ต่อไป
พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐแก้ไขปัญหาโดยการนำเอาที่ดินที่ถูกทิ้งร้างปฏิรูปให้กับเกษตรกร
ทั้งนี้ชาวบ้านในเขตจังหวัดเชียงใหม่ที่เข้าทำประโยชน์พื้นที่ดินถูกทิ้งร้างได้เข้าร่วมกับเคลื่อนไหวของสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) เพื่อเจรจากับรัฐบาลในเดือนมีนาคม 2545
การแก้ไขปัญหาโดยจังหวัดลำพูน
ก่อนปี 2544 ชาวบ้านในหลายหมู่บ้านได้ดำเนินการเรียกร้องให้ส่วนราชการ และรัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหานายทุนออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
(โฉนดที่ดิน / น.ส.3ก. และ ส.ป.ก.4-01 ) โดยบางหมู่บ้านได้ข้อยุติแล้วบางส่วนแต่ราชการไม่ได้ดำเนินการต่อ
อาทิเช่น
1.บ้านศรีเตี้ย เมื่อปี 2540 รัฐมนตรีช่วยกระทรวงมหาดไทย นายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร ตรวจสอบสภาพพื้นที่จริงแล้วพบว่ามีโฉนดที่ดินจำนวน 13 แปลง เนื้อที่ 120 ไร่มีความลาดชันเกิน 35 % กรมที่ดินสั่งให้จังหวัดลำพูนเพิกถอน แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดหวัดลำพูนละเลยต่อหน้าที่ ไม่ทำการเพิกถอน
2.บ้านหนองสูน เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2540 นายอำเภอบ้านโฮ่ง มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน แจ้งให้ทราบว่ามีการออกโฉนดที่ดินจำนวน 12 แปลง เนื้อที่ 121 ไร่ อยู่ในเขตป่าไม้ถาวร และอีกจำนวน 6 แปลงไม่ทราบเนื้อที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบ้านโฮ่ง ซึ่งไม่สามารถนำไปออกโฉนดที่ดินได้ แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนละเลยต่อหน้าที่ ไม่ทำการเพิกถอนตามที่นายอำเภอบ้านโฮ่งเสนอ
3.บ้านหนองเขียด นายอำเภอบ้านโฮ่ง มีหนังสือถึงผู้ใหญ่บ้านหนองเขียดลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2532 แจ้งว่า ไม่สามารถนำที่ดินตามโครงการจัดสรรหนองปลาสวายไปออกเอกสารสิทธิ์ได้ เนื่องจากเป็นที่ดินของรัฐ แต่ปรากฏว่าในปี 2533 - 2534 กลับมีการออกโฉนดที่ดินให้กับนายทุนที่ขอออกโฉนดที่ดินทั้งหมด ซึ่งถือว่านายอำเภอ ที่ดินจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด ละเลยต่อหน้าที่ ปล่อยให้มีการนำเอาที่ดินรัฐไปออกโฉนดที่ดิน
4.บ้านเวียง กรณีหนองน้ำบ้านเวียงเนื้อที่ 52 ไร่ กรมที่ดินแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนเพิกถอน น.ส. 3 ก. เนื่องจากออกทับหนองน้ำ แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ทำการเพิกถอน จึงเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
ปี 2544 - 2545 โดยที่จังหวัดลำพูนเองก็รับรู้ว่าดีอยู่ว่าช่วงที่ผ่านมามีการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และมีการปล่อยที่ดินให้รกร้างว่างเปล่ามากมาย เมื่อชาวบ้านได้เปิดการเจรจากับผู้ว่าราชการจังหวัดอย่างเป็นทางการ จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมแก้ไขปัญหาที่ดิน ครอบคลุมทุกหมู่บ้านในจังหวัดลำพูน โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานมีที่ดินจังหวัด ปฏิรูปที่ดินจังหวัด ป่าไม้จังหวัด นายอำเภอ และมีชาวบ้านเป็นกรรมการ ในสัดส่วนที่เท่ากัน
คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1.ตรวจสอบข้อเท็จจริง รวบรวมข้อมูลสภาพปัญหาเกี่ยวกับการออกเอกสารสิทธิ์ว่าออกโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ มีการเข้าไปใช้ประโยชน์ หรือปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าหรือไม่
2.พิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยในการดำเนินการให้มีอำนาจเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำ และมีอำนาจเรียกเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากส่วนราชการ เพื่อใช้ประกอบในการตรวจสอบข้อเท็จจริง และพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหา
คณะกรรมการได้ตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ในหมู่บ้านต่าง ๆ สรุปความคืบหน้า ได้ดังนี้
1.บ้านไร่ดง ต.น้ำดิบ อ.ป่าซาง คณะกรรมการตรวจสอบแล้วลงมติว่ามีการออก น.ส.3ก. โดยมิชอบด้วยกฎหมายรวม 31 แปลง เนื้อที่ 300ไร่ และไม่มีเอกสารสิทธิ์ใด ๆ อีก 126 ไร่
2.บ้านดงขี้เหล็ก บ้านท่ากอม่วง บ้านหนองเขียด และบ้านหนองสูน อ.บ้านโฮ่ง คณะกรรมการเสียงส่วนใหญ่มีความเห็นว่าที่ดินที่ชาวบ้านร้องเรียนเป็นที่สาธารณะประโยชน์
ด้วยปรากฏว่ามีการออกเอกสารสิทธ์โดยมิชอบด้วยกฎหมายในหลายหมู่บ้าน แต่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกลับไม่กระตือรือร้นที่ดำเนินการตรวจสอบต่อไปให้เสร็จสิ้นตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดเองก็ไม่ได้ทำการเร่งรัดให้คณะกรรมการทำงานให้ลุล่วง การแต่งตั้งคณะกรรมการจึงเป็นเสมือนเพียงการเตะถ่วงเวลาของจังหวัดเท่านั้นเอง
ผลการเจรจา มติคณะรัฐมนตรีที่ส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาที่ดินภาคเหนือ
(1).ผลการเจรจากับรัฐมนตรีทีเกี่ยวข้องกรณีปัญหาการถือครองที่ดิน เมื่อเดือนมีนาคม 2545 ชาวบ้านในจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ได้เข้าร่วมกับสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ทำการเจรจากับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการถือครองที่ดินถึง 3 รัฐมนตรี ประกอบด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง รับผิดชอบกรมที่ดิน) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ รับผิดชอบสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร รับผิดชอบกรมธนารักษ์) มีข้อตกลงที่สำคัญคือ
1.1 ตั้งคณะทำงานศึกษาผลกระทบกฎหมายให้นักลงทุนต่างชาติเช่าที่ดินในระยะยาว
1.2 ตั้งคณะทำงานยกร่างกฎหมายภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า กฎหมายคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม และทบทวนกฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
1.3 ตั้งคณะทำงานปฏิรูปที่ดินในพื้นที่ 23 จุดในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และลำพูน
(2).มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 9 เมษายน 2545 เรื่องการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ลงมติว่า
2.1 รับทราบรายงานผลเบื้องต้นของการเจรจากับกลุ่มสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ตามที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ โดยแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้ยึดหลักเมตตาธรรมและนิติธรรมควบคู่กันไป รัฐบาลมีความตั้งใจแก้ไขปัญหาคนจนอย่างแท้จริง แต่ต้องไม่ทำให้กติกาบ้านเมืองเสียหาย ทั้งนี้ เรื่องใดสามารถดำเนินการได้ก็ให้เร่งดำเนินการ เรื่องใดมีปัญหาเรื่องกฎหมายไม่สามารถดำเนินการได้ หรืออาจต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ต้องชี้แจงให้เข้าใจ
2.2 อนุมัติให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการแก้ไขปัญหาสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ และเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือทั้ง 8 ประเด็น
(3).ต่อมารัฐบาลได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2545 เรื่อง หลักการและแนวทางการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในการชุมนุมเรียกร้องว่า ด้วยในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2545 นายรัฐมนตรีเสนอว่า
ในช่วงนี้การชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ มักมีพฤติกรรมรุนแรงขึ้น เช่น การบุกรุกสถานที่ราชการและทำลายทรัพย์สิน การปิดถนน และต่อมายังลุกลามไปถึงขั้นมีการบุกรุกที่ดินและทำลายทรัพย์สินของเอกชน ดังที่ปรากฏในบางจังหวัดภาคเหนือ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อประชาชนโดยทั่วไป ทรัพย์สินของราชการและเอกชนต้องเสียหาย และโดยที่เรื่องนี้รัฐบาลได้มีนโยบายและมติคณะรัฐมนตรีหลายครั้งให้รัฐมนตรีและข้าราชการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องยึดหลักการและแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ชุมนุมโดยใช้หลักเมตตาธรรมควบคู่หลักนิติธรรม แต่หากกลุ่มผู้ชุมนุมทำผิดกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของทางราชการและเอกชน เป็นการกระทำเกินกว่าการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญของตน ในทางตรงกันข้าม กลับเป็นการละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญของผู้อื่น บางครั้งมีการใช้วิธีการรุนแรง หรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ได้เจรจาตกลงไว้แล้ว
ดังนั้น ถ้าเป็นเช่นนี้อีก ก็อาจไม่ต้องมีการเจรจาหรือช่วยเหลือใด ๆ หากผู้ใดกระทำผิดหรือทำให้ทรัพย์สินของทางราชการหรือเอกชนเสียหาย ก็ให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจัง หรือขอให้หัวหน้าส่วนราชการ และผู้บริหารรัฐวิสาหกิจได้กำชับข้าราชการ และพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้บังคับบัญชาตำรวจในระดับจังหวัด ให้ถือปฏิบัติตามหลักการและแนวทางดังกล่าวข้างต้นโดยเคร่งครัด ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้ว ลงมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ"
มติคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการออกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2545 และปกติใช้เวลานานในการส่งไปยังส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด และอำเภอ แต่ มติ ครม.อย่างไม่เป็นทางการนี้ถูกส่งไปเผยแพร่ในที่ประชุมผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมาอย่างรวดเร็วอย่างเห็นได้ชัด
ท่าทีจังหวัดลำพูนกับการแก้ไขปัญหาที่ดินในจังหวัดลำพูน
1.ท่าทีก่อนมติคณะรัฐมนตรี 23 เมษายน 2545
1.1 เดือนมกราคม 2544 ชาวบ้านในเขตอำเภอบ้านโฮ่ง ป่าซาง และกิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง ได้เจรจากับผู้ว่าราชการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการเรื่องที่ดิน ผู้ว่าตกลงแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมชาวบ้านกับราชการแก้ไขปัญหาที่ดินใน 3 อำเภอ รวม 7 หมู่บ้านประกอบด้วย ตรวจสอบว่าที่ดินที่ชาวบ้านเข้าไปใช้ประโยชน์นั้นออกโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ปล่อยรกร้างว่างเปล่าหรือไม่
1.2 เดือนมกราคม 2545 ชาวบ้านได้มีการเจรจาแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินเพิ่มเติมขั้นอีกสำหรับ 6 หมู่บ้านในเขตอำเภอป่าซาง ประกอบด้วย
- บ้านพระบาท ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง
- บ้านสันห้างเสือ ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง
- บ้านนครเจดีย์ ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง
- บ้านโป่งรู ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง
- บ้านไร่กอค่า ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง
- บ้านสันป่าฮัก ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง1.3 พร้อมกับการแต่งตั้งคณะกรรมการนั้น จังหวัดได้เริ่มมีมาตรการที่พยายามยุติการเข้าไปบุกเบิกทำกินในที่ดินรกร้างว่างเปล่าขึ้น รวม 5 มาตรการ ดังนี้
มาตรการที่ 1 มาตรการหาข่าว ได้แก่การสืบสวนว่าใครเป็นแกนนำในแต่ละหมู่บ้าน และมีจุดใดอีกบ้างที่จะทำการบุกเบิกที่ดินรกร้างว่างเปล่าของนายทุน
มาตรการที่ 2 มาตรการประชาสัมพันธ์ ได้แก่การให้สื่อมวลชนท้องถิ่นโดยเฉพาะวิทยุท้องถิ่นได้ออกข่าวให้ยุติการบุกยึดที่ดิน รวมถึงการให้ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน แจ้งลูกบ้านให้ถอนตัวออกจากที่ดินที่เข้าไปใช้ประโยชน์ด้วย
มาตรการที่ 3 มาตรการสังคม ที่ชัดเจนที่สุดคือการชุมนุมผู้ใหญ่บ้าน กำนันทั่วจังหวัดลำพูนที่ศาลากลางจังหวัด และมีการยื่นหนังสือเรียกร้องให้ดำเนินคดีกับชาวบ้าน และกลุ่มแนวร่วมเกษตรกรภาคเหนือ และเอ็นจีโอ
มาตรการที่ 4 มาตรการศีลธรรม ได้แก่การให้นิยามว่าการบุกเบิกใช้ที่ดินที่รกร้างว่างเปล่า (การบุกรุกในภาษาราชการ) หมายความถึงการทำผิดจารีต ประเพณี (ขึด) เป็นการทำผิดศีลห้า (การลักทรัพย์)
มาตรการที่ 5 มาตรการกฎหมาย โดยมีการแจ้งความดำเนินคดีกับชาวบ้าน แกนนำที่เข้าไปบุกเบิกที่ดินทั้งของรัฐ และเอกชน
2.ท่าทีจังหวัดลำพูนหลังมติคณะรัฐมนตรี 23 เมษายน 2545 ถึงแม้ที่ผ่านมาจังหวัดลำพูนจะมี 5 มาตรการรองรับการแก้ไขปัญหาที่ดินอยู่แล้ว แต่ดูเหมือนว่าจะมีการผ่อนปรนอยู่บ้าง แต่เมื่อมีมติ 23 เมษายน จังหวัดได้ใช้มาตรการทั้ง 5 อย่างเข้มข้นเพื่อกดดันชาวบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะมาตรการทางกฎหมายมีการจับกุมและฟ้องร้องอย่างต่อเนื่องอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน และแนวโน้มระยะใกล้ ประเมินว่าจะมีการขยายผลจับกุม และฟ้องร้องออกไปอีกมากกว่านี้ เพื่อสนองตอบต่อ มติ ครม.23 เมษายน 2545 จากการปฏิบัติการดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องโดย อ้างมติ ครม. 23 เม.ย.4255 อีกมากมาย
ภาคประวัติศาสตร์สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 19 -29 พฤศจิกายน 2517 การชุมนุมของชาวนาชาวไร่จากภาคกลาง ภาคเหนือ
ภาคอีสาน 23 จังหวัดกว่า 1,200 คนที่สนามหลวง กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ลำพูน กว่า
2,000 คนยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี สมัยนั้น
จำนวน 9 ข้อ ดังนี้
1.ให้รัฐบาลจัดที่นาทำกินให้แก่ชาวนาชาวไร่ที่ไม่มีที่ดินที่ทำกินทันฤดูการทำนาปีนี้
2.ให้รัฐบาลตั้งกรรมการสอบสวนการสูญเสียที่ดินของชาวนาที่ถูกนายทุนฉ้อฉลไป ในกรณีเกิดคดีความระหว่างชาวนากับนายทุน ให้รัฐบาลจัดหาหลักประกันให้ชาวนาที่ไม่มีหลักทรัพย์
3.ให้รัฐบาลจัดสรรที่ดินที่ทำกินถาวรให้แก่ชาวนาชาวไร่ที่ไม่มีที่ดินทำกิน
4.ให้รัฐบาลจัดการออกกฎหมายจำกัดสิทธิการถือครองที่ดิน โดยภาคอีสานมีสิทธิครอบครองไม่เกิน 100 ไร่ ส่วนภาคอื่นๆ มีสิทธิครอบครองไม่เกิน 50 ไร่
5.ให้รัฐบาลจัดประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา ปี 2493 และกำหนดระยะเวลาเช่า 6 ปี ส่วน พ.ร.บ.ค่าเช่านาฉบับใหม่ให้ยับยั้งไว้ โดยชาวนาจะร่วมกันร่างเสนอให้รัฐบาลพิจารณา
6.ในกรณีที่นายทุนให้ชาวนาไปถอนที่ดินคืน ให้รัฐบาลออกเงินไถ่ถอนที่ดินทั้งหมด แล้วนำมาคืนให้ชาวนา เพื่อซื้อหรือให้เช่าซื้อในราคายุติธรรม
7.ในกรณีที่ชาวนาได้ครอบครองที่สาธารณะมาเป็นเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปให้ชาวนาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น
8.ในกรณีโครงการรัฐของรัฐบาลจะก่อให้เกิดความเสียหายเดือดร้อนต่อชาวนา และชาวนาที่เดือดร้อนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ให้รัฐบาลระงับโครงการนั้น เช่น ในกรณีโครงการสร้างเขื่อนที่จังหวัดอุดรธานี
9.ให้รัฐบาลประกันราคาข้าวเปลือกไม่ต่ำกว่า เกวียนละ 3,000 บาท
และในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2517 จึงประกาศจัดตั้ง "สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย" โดยมีนายใช่ วังตะกู เป็นประธาน นายอินถา ศรีบุญเรือง เป็นรองประธานภาคเหนือ นายแดง หุ่นดี เป็นรองประธานภาคอีสาน นายวิชัย พิกุลขาว เป็นรองประธานภาคกลาง นายจำรัส ม่วงยาม เป็นรองประธานภาคตะวันออก ภายใต้คำขวัญ "ที่ดินต้องเป็นของผู้ถือคันไถ่" และ "กฎหมายต้องเป็นธรรม" จากข้อเรียกร้องข้างต้นทั้ง 9 ข้อ นำมาซึ่งกฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ปี 2518
ภาคก่อเกิดแตกหน่อ รอยต่อขบวนการชาวนา
การก่อเกิดของสมัชชาชาวนาชาวไร่ภาคอีสาน หรือสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสานหรือการประกาศจัดตั้ง
"สมัชชาคนจน" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2538 หนึ่งในข้อเรียกร้องต่อรัฐคือ การกระจายการถือครองที่ดินเป็นธรรม
มาตรการจำกัดการถือครองที่ดิน ออกกฎหมายจัดเก็บภาษีที่ดินและมรดกในอัตราก้าวหน้า
มาตรการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมและการจำแนกการใช้ดิน
การประกาศจัดตั้ง "สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ" เมื่อวันที่ 20-21 ตุลาคม 2545 ภายใต้คำขวัญ "ปลดเปลื้องหนี้สิน คืนดินน้ำป่า พืชผลต้องมีราคา หยุดการค้าเสรี" หนึ่งในข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2545 คือปัญหาการถือครองที่ดิน โดยมีข้อเรียกร้องดังนี้
1.ยกเลิกนโยบายการให้สิทธินักลงทุนต่างชาติเช่าที่ดินได้ในระยะยาวถึง 99 ปี และยกเลิกกฎหมายเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพานิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ.2542
2.ออกกฎหมายภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า
3.ออกกฎหมายคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม4.ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้รัฐบาลจะต้องดำเนินการออกกฎหมายภาษีดินในอัตราก้าวหน้า กฎหมายคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม และปรับปรุงแก้ไขกฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
5. ยุติการจับกุมแจ้งดำเนินคดีกับชาวบ้านที่มีปัญหาขัดแย้งกับนายทุน
6.นำที่ดินของเอกชนที่ปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์มาปฏิรูปให้แก่เกษตรกรรายย่อย และชุมชน ทั้งนี้ในภาคเหนือตอนบนให้รัฐบาลดำเนินการนำร่องการปฏิรูปที่ดินในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และลำพูนเป็นลำดับแรก 23 กรณีพื้นที่ และให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้โดยแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างสกน.และรัฐบาล ในสัดส่วนที่เท่ากัน
ภาคโซ่ตรวน
อำนาจ ตำรวจ ทหาร ศาล คุก
การต่อสู้ของชาวนาในนาม "สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย" เมื่อ 28 ปีที่แล้ว
อำนาจที่ไม่เป็นธรรมและกลไกรัฐที่ฉ้อฉลได้ล้อมปราบและสังหารชาวนาในช่วงปี 2517-2522
ตายกว่า 33 ราย สูญหายและบาดเจ็บกว่าหลายร้อยคน หรือการต่อสู้ของสมัชชาคนจน หรือกลุ่มองค์กรประชาชนภาคอื่นๆ
รวมทั้งสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ ล้วนถูกคุกคาม จับกุม และขังคุก นับหลายร้อยคดี
แม้จะมีข้อตกลงร่วมกับรัฐบาลแล้วรัฐบาลเล่าว่า ในระหว่างการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
รัฐต้องยึดความเดือดร้อนเป็นหลัก จัดปรับกฎหมายให้สอดคล้อง และให้ยุติการคุกคามจับกุมดำเนินคดีจนกว่าการแก้ไขปัญหาจักแล้วเสร็จ
ก็หาได้มีผลในทางปฏิบัติแต่ประการใด
กระทั่งการจับกุมชาวบ้านที่จังหวัดลำพูน ข้อเรียกร้องหลัก คือให้รัฐบาลสั่งการมายังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหยุดปฏิบัติการคุกคาม รื้อถอนเผาทรัพย์สินและจับกุมชาวบ้านโดยเด็ดขาด และให้ประกาศรายชื่อชาวบ้านทั้งหมดที่มีหมายจับ หรือหมายศาล หรืออื่นๆ อีกนับร้อยๆ กรณี และขอให้เป็นไปโดยเปิดเผยและเคารพหลักการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เคารพสิทธิ์ของผู้ต้องหาที่จะต้องได้รับการประกันตัวอย่างไม่มีเงื่อนไข เพราะชาวนาไม่ใช่อาชญากร ปล้นชาติ ปล้นแผ่นดิน
1.เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2545 จับกุมชาวบ้านดงขี้เหล็ก 2 คนคือ นายสุพินทร์ วงศ์บุญมา และนายสมบูรณ์ สุดวงรัตน์ กรณีปัญหาดงขี้เหล็ก ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน ในข้อหาบุกรุกและทำลายทรัพย์สิน โดยพนักงานสอบสวนจับเสร็จก็ใช้ช่องกฎหมาย ขออำนาจศาลฝากขังผู้ต้องหาทั้งสองนี้ 3 ครั้งๆ ละ 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 254 ถึงวันที่ 4 มิถุนายน 2545 และขอคัดค้านการประกันตัว เพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้นและอ้างว่าหากได้ประกันตัวไปเกรงว่า ผู้ต้องหาทั้งสองจะไปข่มขู่พยานทำลายหลักฐาน และปลุกระดมมวลชนให้กระทำผิดอย่างอื่นอีก ซึ่งเป็นการสร้างความไม่สงบสุขให้เกิดขึ้นแก่บ้านเมือง ได้ประกันตัวแล้วเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2545 โดยใช้ตำแหน่งนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ สว.อุบลราชธานีประกันตัว ในวงเงินคดีข้อหาละ หนึ่งแสนห้าหมื่นบ้าน 2 ข้อหา 2 คน รวมหกแสนบาท
2.การฟ้องร้องดำเนินคดีมโนสาเร่ ความแพ่ง ระหว่างนางสังวาลย์ นันทขว้าง โดยนายพิริยะ สีหะกุลัง ผู้รับมอบอำนาจเป็นโจทก์ ฟ้องนายประสงค์ เมืองแก้ว ,นายวัลลพ กันทะวงศ์, นายสมบูรณ์ สามคำ, นายแก้ว สุภัคธรรมคุณ, นายแสวง สิทธิวงษา, นายสมเพ็ชร ศรีทีป, นายวิรุฬห์ ทองแท้, นางรำเพียร ทองแท้, นายสืบสกุล กิจนุกรและนายรังสรรค์ แสนสองแคว เป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2545 ในข้อหาหรือฐานความผิด ละเมิดที่ดิน ขับไล่ เรียกค่าเสียหาย
3.เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2545 จังหวัดได้เรียกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เข้ารับการอบรมว่าด้วยเรื่องการบุกรุกที่ดินรัฐและเอกชน และมีการปลุกระดมให้มีปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นการชุมนุมเป็นต้น น่าสังเกตการอบรมครั้งนี้จัดขึ้นที่โรงแรมศุภมิตร โดยแบ่งเป็นหลายรุ่น ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการจัด ควรที่จะต้องมีการตรวจสอบงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการด้วยว่าใช้งบประมาณปกติ หรือได้งบประมาณพิเศษจากนายทุนที่มีข้อพิพาทกับชาวบ้านหรือไม่
4. เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม จับกุมชาวบ้านหนองเขียด อ.บ้านโฮ่ง 2 คนคือ จับกุมนายดี กันธิยะและนายบุญทา พอสุยะ ข้อหาบุกรุก ข้อหาบุกรุก ได้ประกันตัวในชั้นพนักงานสอบสวน
5.เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 จับกุมชาวบ้านหนองเขียด อ.บ้านโฮ่ง 1 คนคือนายคำอ้าย กันทิ ในข้อหาบุกรุก ข้อหาบุกรุก ได้ประกันตัวในชั้นพนักงานสอบสวน
6.เมื่อวันที่ 21พฤษภาคม 2545ชาวบ้านแพะใต้ 7 คนคือนายสุแก้ว ฟุงฟุ ,นายสองเมือง โปราพันธ์ , นายทองวัน โปราพันธ์ ,นายบุญสืบ ภูดอนตอง ,นายบุญผาย ชางเล็ง , นางคำ ชางเล็ง และนายพิภพ หาธุคำจา ถูกจับข้อหาบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ผู้อื่นในเวลากลางคืน ศาลไม่ให้ประกันตัวโดยอ้างว่าชาวบ้านหลบหนีหมายนัดไต่สวนมูลฟ้อง ทั้งที่ความจริงมีการจับกุมชาวบ้านไปแล้ว 2 ราย ส่วนที่เหลือตำรวจไม่ดำเนินการจับกุม ชาวบ้านก็ไม่รู้ว่าตนถูกออกหมายจับด้วย
และเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2545 ชาวบ้านทั้ง 7 รายได้ถูกพนักงานอัยการจังหวัดลำพูน ฟ้องฐานความผิดร่วมกันบุกรุกยึดถือและครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ตามคดีหมายเลขดำที่ 1129 -1146/2540 จำนวน 18 คดี รวมทั้งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2545 เจ้าพนักงานตำรวจ สภอ.กิ่ง อ. เวียงหนองร่องได้จับตัวแทนชาวบ้านทั้ง 7 อ้างหมายจับศาลลำพูนในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2219/2541 แดงที่ 1816/2541 แดงที่ 1579/2541 และแดงที่ 1415/2543 อีก 4 คดี รวมทั้งหมด 22 คดีต่อคน
7.เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2545 เจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างน้อย 400 นายจากทั้งในท้องที่จังหวัดลำพูน และกองกำกับการตำรวจภูธรภาค 5 เข้าไปในพื้นที่บ้านโป่งรู บ้านไร่กอค่าและบ้านพระบาท อำเภอป่าซางทำหน้าที่คุ้มกันนายทุนที่ถือครองที่ดินเข้าทำการรื้อถอนต้นลำไย และพืชผลของชาวบ้าน รื้อกระต๊อบและเผาทำลายอาคารประชุมของชาวบ้าน
8.เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2545 ตำรวจ สภอ.บ้านโฮ่ง จับกุมชาวบ้านเหล่าแมว จำนวน 9 คน คือนายวีรพงษ์ แก้วหลุก , นายหมื่น อุ่นใจ , นายวิสิษฐ์ สิทธิ , นายชัยโรจน์ จันทร์แจ่ม , นายจำรัส โอดเชย , นายวินัย ทิมเจริญ , นางสาวธิตินันท์ คำมา และนายนิกร ปำมี อ้างเหตุความมั่นคง ขอตรวจค้นเอกสารในรถยนต์และขอค้นบัตรประชาชนและปรับคนละ 10 บาทข้อหาไม่พกพาบัตรประชาชนและปล่อยตัวมาตอนหลัง
9. วันที่ 12 มิถุนายน 2545 พนักงานอัยการจังหวัดลำพูนฟ้องนายสุแก้ว ฟุงฟู และชาวบ้านอีก 7 คนอันประกอบด้วยนายสองเมือง โปธาพันธ์ , นายทองวัน โปธาพันธ์ ,นายบุญสืบ ภูดอนตอง ,นายบุญผาย ชางเลง , นางคำ ชางเลง และนายพิภพ หาธุคำจา ซึ่งเป็นสมาชิกแนวร่วมกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือจังหวัดลำพูน เครือข่ายสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ ฟ้องฐานความผิดร่วมกันบุกรุกยึดถือและครอบครองอสังหาริมทรัพย์
10. เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2545 เวลาประมาณ 06.30 น. คนร้าย 3 คนสวมหมวกใอ้โม่งบุกยิงกราดใส่ด้วยอาวุธสงคราม ปืนเอ็ม 16 และปืนลูกซองใส่รถปิคอัพยี่ห้อโตโยต้าไมตี้เอ็กซ์แค็บสีแดงทะเบียนเชียงใหม่ 3ท-9343 เพื่อพยายามฆ่านายวัชรินทร์ อุประโจง ตัวแทน สกน. เหตุเกิดใกล้กับสะพานข้ามแม่น้ำฝาง บนถนนติดต่อระหว่างหมู่บ้าน ซึ่งแยกออกมาจากถนนเชียงใหม่ - ฝาง ประมาณ 1 กิโลเมตร ขณะที่นายวัชรินทร์กำลังขับรถเดินทางเข้าจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อร่วมประชุมกับกลุ่มแนวร่วมเกษตรกรภาคเหนือ คนร้ายอาศัยการดักซุ่มอยู่ข้างทาง แล้วยิงปืนเข้าใส่ขณะรถยนต์แล่นไปถึงจุดเกิดเหตุ และเมื่อนายวัชรินทร์ขับรถหนีไป คนร้ายได้ยิงตามหลังอีกหลายนัด ปรากฏว่านายวัชรินทร์ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล แต่ได้รับบาดเจ็บโดนกระสุนถากหน้าอกหนึ่งนัด แพทย์จึงอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลได้ รถยนต์ปิกอัพได้รับความเสียหายยับเยิน ต่อมาคณะกรรมการหมู่บ้านได้ติดตามหาคนร้ายตามร่องรอยที่ทิ้งไว้ ปรากฏว่าพบปืนเอ็ม 16 (หมายเลข AR28 Colt M 16 4608745 ) จำนวน 1 กระบอก และปืนลูกซอง 5 นัด(หมายเลข บราวนิ่ง พจ.1/1321)จำนวน 1 กระบอก ทิ้งไว้ในน้ำแม่ฝางห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 400 เมตร
จากสถานการณ์ลอบสังหารตัวแทนชาวบ้านผู้เรียกร้องความเป็นธรรมดังกล่าว สกน.เห็นว่าพฤติกรรมเถื่อนและอำนาจอิทธิพลมืดในพื้นที่ที่หวังเก็บแกนนำ เยี่ยงโจรอันธพาลในครั้งนี้ ประเด็นหลักของลอบสังหารหวังฆ่านายวัชรินทร์ฯ คือ ข่มขวัญล้างแค้นเอาคืนกรณีที่นายวัชรินทร์ฯ ซึ่งเป็นชาวบ้านหัวฝาย ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่และ เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้นำชาวบ้านในการดูแลรักษาป่าชุมชนของหมู่บ้าน พร้อมทั้งมีการตั้งด่านภายในหมู่บ้านตรวจจับคนลักลอบตัดไม้ในเขตป่าชุมชน ซึ่งชาวบ้านสามารถจับกุมคนทำผิดได้หลายครั้ง และนายวัชรินทร์ฯยังเป็นกรรมการบริหาร สกน.อีกด้วย
ประเด็นสำคัญ นายวัชรินทร์และกรรมการชาวบ้านร่วมกันคือจับกุมไม้เถื่อนของข้าราชการ ซึ่งชาวบ้านได้ทำการตั้งด่านในหมู่บ้านและตรวจจับไม้เถื่อนของตำรวจตระเวณชายแดน และมีการเจรจาขอไม่ให้ดำเนินคดี แต่ชาวบ้านไม่ยอมและส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีอยู่ และเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2545 นายวัชรินทร์ฯ พร้อมกับชาวบ้านได้ตั้งด่านสกัดจับไม้เถื่อนได้ในหมู่บ้าน สามารถจับกุมรถปิกอัพบรรทุกไม้แปรรูปซึ่งของกลางได้ พร้อมกับปลัดป้องกันอำเภอไชยปราการ และสงสัยว่ามีป่าไม้อำเภอไชยปราการร่วมขบวนการด้วย โดยขณะทำการตรวจค้นจับกุมไม้เถื่อนนั้นปลัดอำเภอคนดังกล่าว ได้ขับรถหนีพร้อมของกลาง แหกด่านชาวบ้านไปจนถึงที่ว่าการอำเภอ ชาวบ้านจึงตามไปควบคุมตัวไว้ และต่อมาชาวบ้านได้เรียกร้องให้อำเภอไชยปราการ ย้ายปลัดและป่าไม้อำเภอออกจากพื้นที่ภายใน 24 ชั่วโมง และให้ดำเนินคดีจนถึงที่สุด แต่นายอำเภอไม่ได้ดำเนินการใด ๆ ชาวบ้านจึงได้เรียกร้องต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ผลการสอบสวนข้อเท็จจริงอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ประเด็นการเรียกร้องให้ราชการการเพิกถอนที่ดิน 9 แปลงที่ออกผิดกฎหมาย ทั้งนี้เพราะที่ดินทั้ง 9 แปลงเป็นที่นาของชาวบ้านหัวฝาย มี สค.1 เป็นหลักฐานแสดงการครอบครองชาวบ้าน และทำประโยชน์ต่อเนื่องมาตลอด ผู้ใหญ่บ้านเคยเรียกเก็บ สค.1 ของชาวบ้านไป โดยแจ้งว่าจะนำไปออกเอกสารสิทธิ์ แต่ชาวบ้านไม่เคยได้รับเอกสารสิทธิ์ดังกล่าว ต่อมาเมื่อชาวบ้านไปติดตามความคืบหน้าที่อำเภอ เจ้าหน้าที่แจ้งว่าที่ดินตามหลักฐาน สค.1 ของชาวบ้านนั้นมีการนำไปออกเป็น นส.3 ก. แล้ว ทั้ง 9 แปลง ชาวบ้านไม่เคยขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้กับบุคคลอื่นแต่อย่างใด ไม่เคยปรากฎว่ามีการรังวัดออก นส.3 ในพื้นที่ ไม่เคยมีบุคคลอื่นแสดงตัวเป็นเจ้าของที่ดินในปี 2544 มีการเจรจาร่วมระหว่างที่ดินจังหวัด ที่ดินอำเภอ และชาวบ้านที่บ้านหัวฝาย ที่ประชุมมีมติร่วมให้ตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงว่ามีการแอบเอา สค.1 ของชาวบ้านไปออก นส.3 จริงหรือไม่ ผลตรวจสอบปรากฏว่าที่ดินทั้ง 9 แปลงออกมิชอบด้วยกฎหมายต้องเพิกถอน
จากกรณีดังกล่าว สกน. เห็นการลอบฆ่านายวัชรินทร์ฯ เพื่อหวังถึงตายในครั้งนี้ จะต้องมีผู้มีอิทธิพลทั้งในเครื่องแบบและอำนาจท้องถิ่นร่วมมือกันอย่างเป็นกระบวนการอย่างแน่นอน ทั้งนี้การสอบสวนเบื้องต้นพบว่าหมายเลขทะเบียนปืนทั้งสองกระบอกเป็นอาวุธสงครามมีประวัตินำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งชาวบ้านทั่วๆ ไปไม่สามารถสั่งซื้อได้นอกจากคนในเครื่องแบบเท่านั้น ประการสำคัญเช่นนี้ จึงเชื่อได้ว่าการลอบสังหารครั้งนี้จะต้องตระเตรียมอย่างเป็นกระบวนการ เพื่อหวังผลปราบ ฆ่าตัวแทน สกน.ทำลายขวัญกำลังใจการต่อสู้ของเกษตรกรชาวนาภาคเหนือเป็นสำคัญ
11.เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2545 พนักงานตำรวจลำพูนได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมนายสืบสกุล กิจนุกร จำเลยที่ 1 นายรังสรรค์ แสนสองแคว จำเลยที่ 2 และนายสุแก้ว ฟุงฟู จำเลยที่ 3 ข้อบุกรุก คนละ 13 คดี
12.ระหว่างวันที่ 20-21 มิถุนายน 2545 คณะกรรมธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา นำโดยนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ, นายการุณ ใสงาม, นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ,นางเตือนใจ ดีเทศก์ ,พ.ต.อ.ประทิน สันติประภพ,นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณและคณะ ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจิรงกรณีปัญหาความขัดแย้งการถือครองที่ดินที่จังหวัดลำพูน หลังจากนั้น 1 วัน ชาวบ้านในพื้นที่ถูกบุคคลทั้งในเครื่องแบบและนอกเครื่องแบบข่มขู่คุกคามเพื่อมิให้มีการเรียกร้อง
13.เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2545 คนร้ายเกิน 2 คนได้ดักยิงสังหารนายแก้ว ปินปันมา ตัวแทนชาวบ้านกรณีปัญหาการถือครองที่ดิน บ้านดอยหล่อ อายุ 59 ปี อยู่บ้านเลขที่ 142 หมู่ 11 ตำบลดอยหล่อ กิ่งอำเภอดอยหล่อ ปัจจุบันนายแก้วอยู่กับลูก เมียเสียชีวิต มีลูก 2 คน คนแรกชื่อนายจรัล ปินปันมา ปัจจุบันเป็นสมาชิก อบต.ดอยหล่อ คนที่ 2 ชื่อนายนเรศ ปินปันมา อายุ 31 ปี พิการตาบอดทั้ง 2 ข้าง. เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเวลาประมาณ 10.30 น.โดยมือปืนอย่างน้อย 2 คนใช้ปืน 2 ชนิด คือลูกซองสั้นเบอร์ 12 และปืนยังไม่ทราบชนิดอีกกระบอก ยิงที่ป่าช้าบ้านดอยน้อยหมู่ที่ 11 ต.ดอยหล่อ กิ่งอำเภอเภอดอยหล่อ ตอนที่นายแก้วไปช่วยจัดเตรียมสถานที่สำหรับเผาศพและทำความสะอาดศาลาบริเวณป่าช้าเพื่อเตรียมพิธีทางศาสนา
14.สถานการณ์ล่าสุดเช้าวันที่ 27 มิถุนายน 2545 เจ้าพนักงานตำรวจ สภอ.ป่าซาง จ.ลำพูน บุกจับตัวแทนชาวบ้านกรณีสันป่าฮัก 2 คน สันห้างเสือ 1 คนโป่งรู 3 คน พระบาท 2 คน นครเจดีย์ 2 คน จำนวน 10 คน ขออำนาจศาลฝากขังคัดค้านการประกันเหมือนเคย
นี่คือ การเดินย้ำรอยประวัติศาสตร์ของผู้ครองอำนาจรัฐ รัฐบาลที่มาซึ่งเสียงข้างมากอย่างถล่มทลาย เมื่อการเลือกตั้งในวันที่ 6 มกราคม 2544 ภายใต้นโยบายทำสงครามกับความยากจนด้วยการจับกุมชาวนา อย่างป่าเถื่อนซ้ำแล้วซ้ำเล่า และปฏิรูปที่ดินรกร้างว่างเปล่าโดยเอาชาวนาเข้าคุก
พฤติกรรมกระทำต่อชาวนาเช่นนี้ พ่อหลวงอินถา ศรีบุญเรือง ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ภาคเหนือได้กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่า
"ตราบใดที่รัฐบาลทุนนิยมยังอยู่ เราไม่มีทางที่จะได้อยู่ดีกินดี ถ้าอำนาจรัฐไม่ได้อยู่ที่มือ เราก็ยังต้องไปอย่างนี้"
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด หรือ Ctrl + A
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งยอหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
ประวัติศาสตร์ชาวนาภาคเหนือ
ว่าด้วย คดี และ โซ่ตรวน
เมตตาธรรม นิติธรรม - โซ่ตรวน และหัวใจ
กองเลขานุการสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ
ภาคปัจจุบัน พลันที่ผมยกหูโทรศัพท์หน้าห้องขังในศาลจังหวัดลำพูนเพื่อพูดคุยกับลุงสองเมือง โปธาพันธ์ สิ่งแรกที่ผมพบเห็นคือ ร่างผอมๆ สูงโปร่งของลุงค่อย ๆ พยุงตัวมือหยิบโซ่ตรวนที่ผูกข้อเท้าทั้งสองข้าง เดินมารับโทรศัพท์คู่สายเยี่ยมผู้ต้องหาด้วยท่าทางอิดโรยบ่งบอกว่ามีอารป่วย เพราะถูกขังในเรือนจำเกือบแรมเดือนแต่สายตากลับฉายความเด็ดเดี่ยวมิหวาดกลัวพร้อมกล่าวคำแรกบอกผม
"อาจารย์ผมสู้ไหว ไม่ต้องไปร้องขอใครให้นำผมไปรักษาตัวกับหมอของเรือนจำ ผมไม่มีซองขาว มันรักษาผมเหมือนหมูเหมือนหมา ผมกินยาจากโรงพยาบาลสวนดอกแล้ว ผมทนไหว ถ้าจะช่วย เอาพวกเราออกไปทั้งหมด เอาผมไปรักษาที่โรงพยาบาลสวนดอก"
นี่คือ คำพูดที่ผมสะเทือนที่สุดและไม่มีอะไรพูดไปมากกว่า
ให้กำลังใจและจะช่วยเต็มที่
ลุงสองเมือง โปธาพันธ์ อายุ 56 ปี อยู่บ้านหนองล่อง กิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน
ถูกตำรวจ สภอ.กิ่ง อ.เวียงหนองล่อง ประมาณ 300 นายในชุดหน่วยปฏิบัติการพิเศษพร้อมสุนัขตำรวจ
4 ตัว บุกจับกุมอ้างข้อหา "ร่วมกันบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น" โดยหามมาจากเตียงที่บ้านเมื่อเช้าตรู่ของวันที่
21 พฤษภาคม 2545 อ้างหมายจับของศาลจังหวัดลำพูนในคดีอาญารวม 4 คดี พร้อมชาวนาอีก
6 คน คือนายสุแก้ว ฟุงฟู, นายทองวัน โปธาพันธ์ ,นายบุญสืบ ภูดอนตอง ,นายบุญผาย
ชางเลง , นางคำ ชางเลง และนายพิภพ หาธุคำจา ซึ่งเป็นสมาชิกแนวร่วมกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือจังหวัดลำพูน
เครือข่ายสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือที่อยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหากับรัฐบาล