บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนลำดับที่ 197 เขียนโดย จรัญ โฆษณานันท์ รองศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง : บทความวิชาการเกี่ยวกับกฎหมาย
หลักสำคัญของรัฐธรรม ม. 30 ที่บัญญัติว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน….. (และ)การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง…. สภาพทางกายหรือสุขภาพ…..จะกระทำมิได้

ความรู้สึกขมขื่นของสองทนายความ ที่เป็นโปลิโอซึ่งถูกปฏิเสธการสมัครสอบคัดเลือกเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา ด้วยข้ออ้างว่ามีร่างกายไม่เหมาะสม และยังได้รับการปฏิเสธการขอความเป็นธรรมซ้ำจากศาลรัฐธรรมนูญ ยิ่งหลังจากทราบข่าวว่ากระทรวงการต่างประเทศ ให้โอกาสแก่คนพิการตาบอดได้เข้าสมัครสอบเป็นเจ้าหน้าที่การฑูต น่าคิดว่าทนายความพิการทั้งสองจะมีความรู้สึกเปรียบเทียบอย่างไร

จริงทีเดียวที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 16/2545 ลงวันที่ 30 เมษายน 2545 ดูจะเป็นข่าวชิ้นเล็กๆ ที่ไม่ค่อยได้รับความใส่ใจจากสังคม ทั้งที่เป็นการวินิจฉัยในประเด็นเชิงหลักการพื้นฐานหนึ่งของสังคม กระทั่งหลักหมายแห่งปัญญาของสังคมอย่างอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ยังเห็นว่าเป็นคำวินิจฉัยที่เป็นเรื่องใหญ่และมีนัยสำคัญต่ออนาคตของสังคมไทยยิ่งกว่าคดีซุกหุ้นของนายกรัฐมนตรี (มติชน 20 พ.ค. 2545)

สองทนายความโปลิโอ
release date
200745

บทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ กรุณาอ้างอิงตามสมควร
หากประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลงมา จะแก้ปัญหาได้

 

H
home

(บทความนี้ยาวประมาณ 4 หน้ากระดาษ A4) ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบบทความ ผลงานต้นฉบับของ Seymour Chwast เป็นภาพ Poster นำมาจากหนังสือ Aiga Graphic Design USA:2 หน้า 182 (หนังสือจากห้องสมุดคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) R 760.0973 A512A v.2

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่ออุดมศึกษาไท / บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกบน website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นมา

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

ผู้สมัครทั้งสองเห็นว่าการตัดสิทธิตนดังกล่าว เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความแตกต่างทางร่างกาย จึงขอความเป็นธรรมต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยในประเด็นความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายดังกล่าว

ประเด็นต่อสู้ทางกฎหมายสำคัญของผู้สมัครสอบพิการคือ การยืนยันในหลักสำคัญของรัฐธรรม ม. 30 ที่บัญญัติว่าบุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน….. (และ)การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง….สภาพทางกายหรือสุขภาพ…..จะกระทำมิได้ โดยเห็นว่า พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้….. (10)ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ….. หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการ เป็นกฎหมายที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ

ภายหลังการพิจารณาข้อโต้แย้ง ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย(เสียงข้างมาก)ว่า พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการตุลาการ เป็นกฎหมายที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ ม.30 โดยให้เหตุผลพอสรุปได้ว่า

ก. บทบัญญัติที่เป็นปัญหาใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการตุลาการฯ มีลักษณะที่เข้าข้อยกเว้นของรัฐธรรมนูญ ม. 29 ที่บัญญัติให้มีข้อยกเว้นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่อาจกระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดและเท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยที่ ม. 26(10) แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการตุลาการฯจะใช้ควบคู่กับ ม. 26(11) ที่กำหนดให้ผู้สมัครสอบคัดเลือกต้องผ่านการตรวจร่างกายโดยคณะกรรมการแพทย์ซึ่ง กต.กำหนด บทบัญญัติของ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการตุลาการฯ ม.26 (10) จึงเป็นไปตามความจำเป็นเหมาะสมของฝ่ายตุลาการ มีลักษณะเข้าข้อยกเว้นของรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด

ข. การจำกัดตัดสิทธิในการสมัครสอบของคนพิการ ด้วยเหตุแห่งความจำเป็นและเหมาะสมของฝ่ายตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญอ้างเหตุที่ต้องพิจารณาความสมบูรณ์ของสุขภาพร่างกายที่จะสามารถปฏิบัตหน้าที่ผู้พิพากษาได้ โดยอธิบายว่าการปฏิบัติหน้าที่บางครั้งของผู้พิพากษาต้องเดินทางไปนอกศาลเช่นเพื่อเดินสืบพยานที่มาศาลไม่ได้ ทั้งยังอ้างเหตุแห่งความเหมาะสมในการเป็นผู้พิพากษาที่ต้องมีบุคลิกลักษณะที่ดีพอ เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่มีเกีรยติโดยปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไทยพระมหากษัตริย์ น่าสังเกตว่าภายหลังจากมีคำวินิจฉัยแล้ว ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางท่าน ยังให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมในเชิงว่าคำวินิจฉัยเป็นไปตามค่านิยมของสังคมไทย หากภายหลังค่านิยมเปลี่ยนคำวินิจฉัยก็สามารถเปลี่ยนได้

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่อ้างเหตุผลเรื่อง ความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อสนับสนุนลักษณะที่เป็นข้อยกเว้นของ ม. 26(10)แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการฯ เมื่อวิเคราะห์ศึกษาในทางวิชาการอย่างจริงจัง ในทรรศนะของผู้เขียน น่าจะเป็นคำวินิจฉัยที่ผิดพลาดบกพร่องบนฐานของความไม่รู้ และความรู้สึกในทางลบต่อคนพิการมากกว่าตระหนักเคารพต่อหลักการพื้นฐานแห่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในรัฐธรรมนูญ หลักการไม่เลือกปฏิบัติและหลักการตีความกฎหมาย

บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่วางหลักการสำคัญว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง(ม.4)และตามมาด้วยการย้ำว่า การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ(ม.26) นับเป็นการวางหลักนิติปรัชญาของรัฐไทยสมัยใหม่ที่ผูกมัดองค์กรทั้งหมด รวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญให้ต้องพิจารณาหลักศักดิ์ศรีความเป็นมุษย์อันเป็นรากฐานของสิทธิมนุษยชน เชื่อมโยงกับกฎหมายและการใช้อำนาจทางกฎหมายในทุกกรณี

หลักการอันเป็นแม่บทใหญ่เช่นนี้เองที่เป็นฐานที่มาให้รัฐธรรมนูญย้ำว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน และการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลจะกระทำไม่ได้

ภายใต้หลักการแม่บทดังกล่าว เกียรติหรือศักดิ์ศรีของมนุษย์จึงดำรงอยู่ภายในตัวมนุษย์ทุกคนรวมทั้งคนพิการทั้งปวง โดยนัยนี้ บทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนดลักษณะต้องห้ามอย่างกว้างๆ คลุมเครือว่า มีกายไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการ ย่อมจัดเป็นกฎหมายที่ไม่ยอมรับต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อันเท่าเทียมกันของคนพิการ ดังเปิดช่องให้มีการใช้ดุลยพินิจเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมภายใต้ข้ออ้างเรื่องความไม่เหมาะสม แม้จะมีข้ออ้างเรื่องการตรวจสอบร่างกายโดยคณะกรรมการแพทย์ หากอำนาจในการวินิจฉัยความเหมาะสมในท้ายสุดก็เป็นของคณะกรรมการตุลาการบนฐานอ้างอิงของกฎหมายที่กว้างขวางคลุมเครืออยู่ดี

ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญอ้างว่าบทกฎหมายที่มีปัญหามีลักษณะเข้าข้อยกเว้นของรัฐธรรมนูญ ประเด็นพึงใส่ใจในเชิงนิติวิธีเบื้องต้นคือ การตีความข้อยกเว้นทางกฎหมาย โดยเฉพาะข้อยกเว้นต่อหลักการพื้นฐานสำคัญเรื่องความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ย่อมต้องตีความอย่างเคร่งครัดและเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ทว่าเมื่อพิจารณาจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เราจะพบความบกพร่องละเลยต่อหลักนิติวิธีนี้ การอธิบายถึงความจำเป็นและเหมาะสมในการดำรงอยู่ของบทกฎหมายที่เป็นปัญหาด้วยการหยิบยกเรื่องการเดินเผชิญสืบ และเรื่องบุคลิกลักษณะที่ดีพอของผู้พิพากษา ล้วนขาดน้ำหนักในเชิงข้อเท็จจริงและหลักการของความจำเป็น

แทนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะกล่าวถึงความสามารถ-ไม่สามารถของบุคคลพิการในการปฏิบัติหน้าที่พื้นฐานของผู้พิพากษาอันเป็นเนื้องานที่สำคัญจำเป็น (Essential Function) ในการพิจารณาตัดสินคดีซึ่งเป็นเรื่องการใช้ความรู้ความสามารถ ตลอดจนคุณธรรมในตัวบุคคลเป็นสำคัญ ศาลรัฐธรรมนูญกลับเลี่ยงไปหยิบยกประเด็นปลีกย่อยในการปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษา คือเรื่องการเดินเผชิญสืบที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่นอกศาล เพื่อสืบพยานบุคคลมาเป็นข้ออ้างในการกีดกันคนพิการที่เชื่อว่ามีสภาพร่างกายอันเป็นอุปสรรคในการทำงานดังกล่าว ทั้งที่แท้จริง ในทางปฏิบัติการเดินเผชิญสืบเป็นกรณีที่นานๆ ครั้งจึงจะปรากฏ และศาลก็มีสิทธิที่จะปฏิเสธการเดินเผชิญสืบตามที่คู่ความร้องขอได้ หากเห็นว่าไม่มีเหตุอันควร

ยิ่งหันมาพิจารณาเรื่องบุคลิกลักษณะที่ดีของผู้พิพากษาอันมีข้อพิจารณาในเชิงอัตวิสัยอยู่มาก ก็ยิ่งมองเห็นข้ออ่อนในโลกทัศน์ที่คำนึงเพียงลักษณะภายนอกของบุคคล แทนที่จะเน้นความสำคัญของความรู้ความสามารถและคุณธรรมภายในตัวบุคคล ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจประสิทธิประสาทความยุติธรรมแก่แผ่นดิน ก็มิใช่ประเด็นปัญหาใหญ่เรื่องคุณธรรมหรือ ที่ทำให้เมื่อเร็วๆ นี้ประธานศาลฎีกาต้องวางแนวเข้มกำหนดวิธีการเดินทางไปตรวจราชการของผู้พิพากษาทั่วไป (มติชน 21 มิ.ย. 2545)

เมื่อพิจารณาเพิ่มเติมจากคำกล่าวของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ(เสียงข้างมาก)บางท่านที่กล่าวถึงอิทธิพลของค่านิยมในสังคมไทยเหนือคำวินิจฉัย ก็ยิ่งทำให้เราต้องตระหนกมากขึ้นและเห็นชัดถึงความไม่เคารพใส่ใจแท้จริงต่อหลักการพื้นฐานในรัฐธรรมนูญ โดยกลับมีสิ่งที่(บางคน)เชื่อว่าเป็นค่านิยมสังคมไทยอยู่เหนือการใช้การตีความกฎหมายในเรื่องนี้ คำอธิบายเรื่องค่านิยมสังคมไทยที่เป็นเสมือนเชิงอรรถเพิ่มเติมของคำวินิจฉัย ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกฎหมาย(ในคำวินิจฉัย)ที่ไม่ได้เคารพผูกพันต่อหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือหลักการไม่เลือกปฏิบัติอันเป็นหลักกการสากลที่เป็นฐานทางปรัชญาของรัฐธรรมนูญปัจจุบัน หากกลับอยู่ใต้อิทธิพลของคติความคิดที่ลื่นไหล ค่านิยมความเชื่อ อัตวิสัยในตัวบุคคลผู้ใช้อำนาจจึงกลายเป็นปัจจัยชี้ขาดการตีความหรือการสถาปนาความเป็นกฎหมายที่แท้จริง โดยปิดทับบดบังการดำรงอยู่และความงดงามของหลักการอุดมคติในรัฐธรรมนูญ

น่าคิดว่าเรากำลังดำรงอยู่ในนิติรัฐ สังคมที่ปกครองโดยกฎหมายหรือตัวบุคคลกันแน่ พ้นไปจากนี้แล้ว เราคงต้องตั้งคำถามว่า เหตุใดจึงเกิดค่านิยมความเชื่อหรือลักษณะแห่งอัตวิสัยดังกล่าว สิ่งเหล่านี้เกี่ยวพันกับการเมือง ในแง่การผูกขาดยึดครองและปักปันอำนาจให้กับกลุ่มชนต่างๆ ในสังคมอย่างไร อันเป็นการเมืองแห่งอำนาจที่กลุ่มคนด้อยโอกาสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง ชนกลุ่มน้อย ชาวบ้านที่ยากจน หรือคนพิการมักถูกขีดวงให้อยู่ในพื้นที่แห่งอำนาจแคบๆ ตลอดมา กระนั้นก็ดี เรายังอาจมีความหวังอยู่บ้างที่ยังปรากฏคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย (3 คน) ที่ยืนอยู่เคียงข้างคนพิการ

น่าสังเกตเพิ่มเติมว่า หากพิจารณาลึกลงในรายละเอียดของตัวบุคคลทั้งหมดที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นผู้วินิจฉัยปัญหานี้ ในจำนวนตุลาการเสียงข้างมาก 8 คนที่เป็นผู้ชี้ขาดคำตัดสิน มีตุลาการถึง 5 คนที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา มีพื้นฐานการศึกษาระดับเนติบัณฑิตไทย ขณะที่ตุลาการอีก 3 ท่าน ที่เหลือมาจากเจ้ากรมพระธรรมนูญ อดีตเอกอัครราชฑูตและศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัย ส่วนตุลาการเสียงข้างน้อย 3 คนเป็นดุษฎีบัณฑิตที่มาจากสายผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมหาชนและศาสตราจารย์ทางด้านรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัย ภูมิหลังการทำงานและการศึกษาดังกล่าว น่าคิดว่าจะสะท้อนนัยสำคัญบางประการที่เชื่อมโยงกับคำวินิจฉัยหรือไม่ อย่างไร โดยเฉพาะในกรณีของตุลาการเสียงข้างมากที่เป็นอดีตตุลาการศาลยุติธรรม ทัศนคติและท่าทีดั้งเดิมต่อสถาบันตุลาการที่ตนเคยสังกัดอยู่จะมีอิทธิพลต่อการวินิจฉัยปัญหามากน้อยเพียงใด

ถึงที่สุดแล้ว ความจำกัดบกพร่องในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่กล่าวมา ดูจะแยกไม่ออกจากทัศนคติส่วนบุคคลเชิงอนุรักษ์นิยม ความเคยชินในวิธีคิดแบบเก่าหรือค่านิยมอันบกพร่องในสังคมไทย ที่อาจมีผู้เรียกว่าเป็นอคติทางวัฒนธรรม น่าเศร้าที่ปัจจัยในเชิงนามธรรมดังกล่าวที่ท้ายสุด ดำรงอยู่เพื่อรักษาอำนาจของคนปกติเหนือคนพิการ ล้วนวนเวียนแทรกซึมอยู่ในกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย เป็นตัวสร้างความพิกลพิการแก่ตัวบทกฎหมายและผู้บังคับใช้กฎหมายให้ชำรุด ห่างไกลจากธรรมชาติดั้งเดิมเชิงอุดมคติของกฎหมายและความเป็นตุลาการ ที่โดยแก่นแท้ต้องมีหลักอินทภาษ(ในอดีต)และหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่มั่นคงอยู่ในใจ เบื้องหน้าความพิกลพิการดังกล่าวที่เป็นตัวย่ำยีซ้ำเติมความด้อยโอกาสของคนพิการให้เพิ่มมากขึ้น ย่อมสะท้อนความจำกัดของกฎหมายและกลไกทางกฎหมายในการปกป้องคุ้มครองสิทธิของคนพิการ

ถึงแม้ว่าเราจะมีรัฐธรรมนูญที่วางหลักการพื้นฐานไว้ดีเพียงใดก็ตาม ก่อนการเคลื่อนไหวเพื่อปรับปรุงแก้ไขความบกพร่องเหล่านี้ ประสพการณ์และบทเรียนในทางสากล น่าจะเป็นส่วนหนึ่งการศึกษาที่สำคัญ สังคมไทยคงจำต้องเรียนรู้มากขึ้นต่อการดำรงอยู่ของบรรทัดฐานสากลต่างๆ ในการปกป้องสิทธิคนพิการ ดังตัวอย่างสหประชาชาติที่ออกปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของบุคคลพิการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 หรือมีกฎเกณฑ์มาตรฐานว่าด้วยการสร้างความเสมอภาคในโอกาสแก่บุคคลพิการในปี ค.ศ. 1993 กระทั่งเมื่อต้นเดือนมิถุนายนเร็วๆ นี้เอง สหประชาชาติก็ร่วมจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญระดับภูมิภาคที่เม็กซิโก เพื่อร่วมพิจารณาร่างอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและศักดิ์ศรีของบุคคลพิการ

หรือหากจะศึกษาเปรียบเทียบแบบอย่างของกฎหมายต่างประเทศที่สมบูรณ์/สมประกอบมากกว่าเรา ตัวอย่างศึกษาที่เป็นประโยชน์เบื้องต้นอาจดูจากกรณีของอเมริกาที่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิคนพิการอยู่หลายฉบับโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการทำงาน นับตั้งแต่ Civil Rights Act 1964, The Rehabilitation Act of 1973 หรือ The Americans with Disability Act 1990 อีกทั้งมีกลไกสำคัญในการคุ้มครองสิทธิเสมอภาคในการทำงานของคนพิการใน US Equal Employment Opportunity Commission

หรือในกรณีศึกษาประเทศที่ค่อนข้างใกล้ตัวเราอย่างออสเตรเลีย กฎหมายพื้นฐานสำคัญอย่าง Human Rights & Equal Opportunity Commission Act 1986 หรือ Disability Discrimination Act 1992 ก็น่าจะเป็นตัวแบบศึกษาหนึ่งของกฎหมายที่สมบูรณ์มากกว่า ดังแม้กระทั่งในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาคในโอกาสของประเทศนี้ยังมีองค์ประกอบสำคัญคือ กรรมการด้านการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการเป็นเอกเทศชัดเจน

ความก้าวหน้าในตัวบทกฎหมายตลอดจนกลไกในการคุ้มครองสิทธิคนพิการในต่างประเทศที่หยิบยกขึ้นเป็นตัวอย่างหยาบๆ ย่อมสะท้อนความล้าหลังอยู่มากในกฎหมายและกลไกการบังคับใช้กฎหมาของไทย พร้อมๆ กับการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง เพื่อสร้างสำนึกความเข้าใจใหม่ต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนพิการ สังคมไทยตลอดจนองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเสนอกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหรือสภาผู้แทนราษฎร จำเป็นต้องริเริ่มผลักดันให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เพื่อลบล้างรอยด่างอันเกิดจากคำวินิจฉัยที่จำกัดบกพร่องดังกล่าวมา ตลอดจนเร่งรัดการเสนอร่างกฎหมายว่าด้วยการเลือกปฏิบัติอันไม่เป็นธรรมทั้งที่มีลักษณะทั่วไป และ/หรือที่เกี่ยวข้องกับการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการเป็นการเฉพาะ พร้อมกับการสร้างกลไกหรือหน่วยงานที่มีอำนาจรับผิดชอบโดยตรงในการปกป้องคุ้มครองสิทธิคนพิการทั้งปวง

ข้อเสนอเหล่านี้อาจฟังดูเป็นสูตรสำเร็จเกินไป ซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่ใช่เป็นคำตอบสุดท้ายของการแก้ไขปัญหา หากแท้จริงแล้ว ความสำคัญมากกว่าของข้อเสนอในการเคลื่อนไหวผลักดันในเชิงนิติบัญญัติดังกล่าว น่าจะอยู่ที่ กระบวนการเคลื่อนไหวต่อสู้ในท่ามกลางการผลักดันเพื่อสร้างกระแสความตื่นตัวทางสังคม เพื่อเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ จิตสำนึกหรืออคติทางวัฒนธรรมต่อคนพิการ ดังประโยชน์จะมีมากเพียงใดเล่าต่อการมีกฎหมายที่ดูดีสมบูรณ์ หากอยู่ใต้การถือครองหรือกำหนดนิยามโดยองค์กรหรือกลุ่มบุคคลที่ยังไม่ยอมเปิดใจรับต่อการดำรงอยู่ของศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์อันเท่าเทียมกัน หรือที่สุดแล้วไม่ยอมตระหนักระลึกรู้ต่อคติการรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราอย่างแท้จริง

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม word)

ความพิการของกฎหมายและผู้บังคับใช้กฎหมาย
กรณีสองทนายความโปลิโอ

รองศาสตราจารย์ จรัญ โฆษณานันท์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

แม้สังคมที่คนส่วนใหญ่มุ่งคิดแต่การรู้รักษาตัวรอด หากบางขณะที่ปัญญาสังคมผุดเกิดหวนรำลึกถึงคติรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เราน่าจะสัมผัสได้ถึงความรู้สึกขมขื่นของสองทนายความที่เป็นโปลิโอ ซึ่งถูกปฏิเสธการสมัครสอบคัดเลือกเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาด้วยข้ออ้างว่ามีร่างกายไม่เหมาะสม และยังได้รับการปฏิเสธการขอความเป็นธรรมซ้ำจากศาลรัฐธรรมนูญ ยิ่งหลังจากทราบข่าวว่ากระทรวงการต่างประเทศให้โอกาสแก่คนพิการตาบอด ได้เข้าสมัครสอบเป็นเจ้าหน้าที่การฑูต น่าคิดว่าทนายความพิการทั้งสองจะมีความรู้สึกเปรียบเทียบอย่างไร

จริงทีเดียวที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 16/2545 ลงวันที่ 30 เมษายน 2545 ดูจะเป็นข่าวชิ้นเล็กๆ ที่ไม่ค่อยได้รับความใส่ใจจากสังคม ทั้งที่เป็นการวินิจฉัยในประเด็นเชิงหลักการพื้นฐานหนึ่งของสังคม กระทั่งหลักหมายแห่งปัญญาของสังคมอย่าง นิธิ เอียวศรีวงศ์ ยังเห็นว่าเป็นคำวินิจฉัยที่เป็นเรื่องใหญ่ และมีนัยสำคัญต่ออนาคตของสังคมไทยยิ่งกว่าคดีซุกหุ้นของนายกรัฐมนตรี (มติชน 20 พ.ค. 2545)

ภายหลังจากที่คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติ ของผู้สมัครสอบคัดเลือกเป็นข้าราชการตุลาการเห็นว่า ทนายความผู้สมัครสองรายที่เป็นโปลิโอ มีร่างกายไม่เหมาะสมตามกฎหมายระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ และที่ประชุม กต. ก็เห็นชอบด้วยกับความเห็นดังกล่าวจึงมีมติไม่รับสมัคร