นิทรรศการครั้งนี้ ผู้คนให้ความสนใจมากมาย ผลที่เกิดขึ้นมีทั้งความไม่พอใจในการที่ Prof. Gunther นำเอาผู้คนมาทำ "ศพพลาสติก" โดยการประท้วง(อย่างสันติ) นำเอาผ้าไปปิดศพและอวัยวะตัวอย่างที่นำมาแสดงในนิทรรศการ (the Specimens) เพราะทางนิทรรศการถูกกล่าวหาว่า ล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลโดยเฉพาะในกรณี ศพพลาสติกของแม่และเด็กที่อยู่ในท้อง ผู้ประท้วงอ้างว่าเด็กไม่มีโอกาสได้ทำหนังสือยินยอม ให้นำร่างกายของตัวเองมาแสดง
และในขณะเดียวกันก็มีอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งชื่นชมและสนับสนุนนิทรรศการนี้อย่างจริงจัง ถึงขนาดที่ว่ายอมบริจาคร่างกายให้กับผู้ค้นคว้าวิจัย ที่จะนำเอาร่างกายของพวกเขาไปศพพลาสติก แสดงหลังจากที่พวกเขาเสียชีวิตลง "อยากจะกลับไปผอมอีกครั้ง" หรือว่า "อยากจะเป็นอยู่อย่างถาวร (ในนิทรรศการ)" เป็นส่วนหนึ่งของคำพูดจากปากพวกที่สนับสนุน!! เหมือนอย่างที่ได้กล่าวไปตอนต้นว่า การไปดูนิทรรศการคราวนี้แปลกไปจากนิทรรศการอื่นๆ ที่มีทั้งต่อต้านและสนับสนุน ผมว่ามันน่าจะมีอะไรบางอย่างที่นิทรรศการนี้สื่อออกมาไม่ชัดเจน หรือไม่ก็ ชัดเจนเกินไป
Body Worlds
เส้นบางๆ ระหว่างโลกวิทยาศาสตร์กับโลกศิลป์
สันต์ สุวัจฉราภินันท์
/ คณะสถาปัตยกรรม มช.
การไปดูนิทรรศการ BODY WORLDS; The Anatomical Exhibition of Real Human Bodies by Prof. Gunther von Hagens ณ Atlanlis Gallery กรุงลอนดอนประเทศ อังกฤษ (ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม ถึง 29 กันยายน 2002) คราวนี้รู้สึกแปลกไปจากนิทรรศการอื่นๆ ที่ผ่านมา ทั้งนี้น่าจะเกิดจากการที่สำนักข่าวต่างๆ ต่างพากันระดมนำเสนอทั้งข่าวสาร ข้อมูล และข้อคิดเห็นต่อเนื้อหาสาระของนิทรรศการ ที่นำเอาศพคนจริงๆ (Dissection Anatomical Model) มาผ่าให้ดูกันอย่างชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อแสดงถึงรายละเอียดอันสลับซับซ้อนภายในทุกส่วนที่รวมเรียกว่า ร่างกายมนุษย์ (Corporal Body) ให้เห็นกันอย่างชัดเจน
ผู้คนให้ความสนใจมากมาย ผลที่เกิดขึ้นมีทั้งความไม่พอใจในการที่ Prof. Gunther นำเอาผู้คนมาทำ "ศพพลาสติก" โดยการประท้วง(อย่างสันติ) นำเอาผ้าไปปิดศพและอวัยวะตัวอย่างที่นำมาแสดงในนิทรรศการ (the Specimens) เพราะทางนิทรรศการถูกกล่าวหาว่า ล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลโดยเฉพาะในกรณี ศพพลาสติกของคุณแม่และเด็กที่อยู่ในท้อง ผู้ประท้วงอ้างว่าเด็กไม่มีโอกาสได้ทำหนังสือยินยอมให้นำร่างกายของตัวเองมาแสดง !!!
และในขณะเดียวกันก็มีอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งชื่นชมและสนับสนุนนิทรรศการนี้อย่างจริงจัง ถึงขนาดที่ว่ายอมบริจาคร่างกายให้กับผู้ค้นคว้าวิจัย ที่จะนำเอาร่างกายของพวกเขาไปศพพลาสติก แสดงหลังจากที่พวกเขาเสียชีวิตลง "อยากจะกลับไปผอมอีกครั้ง" หรือว่า "อยากจะเป็นอยู่อย่างถาวร (ในนิทรรศการ)" เป็นส่วนหนึ่งของคำพูดจากปากพวกที่สนับสนุน!! เหมือนอย่างที่ได้กล่าวไปตอนต้นว่า การไปดูนิทรรศการคราวนี้แปลกไปจากนิทรรศการอื่นๆ ที่มีทั้งต่อต้านและสนับสนุน ผมว่ามันน่าจะมีอะไรบางอย่างที่นิทรรศการนี้สื่อออกมาไม่ชัดเจน หรือไม่ก็ ชัดเจนเกินไป!!!!
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
นิทรรศการ Body Worlds ครั้งนี้ได้นำเอาศพคนจริงๆ มาทำเป็นศพพลาสติกในลักษณะตัดผ่าน ซึ่งผ่านกรรมวิธีที่เรียกว่า Plastination Process (การทำให้เป็นพลาสติก) ผนวกกับการนำเอาความรู้ทางด้าน วงการแพทย์ ชี้นส่วนที่เกี่ยวกับอวัยวะภายในและโครงกระดูกมาจัดแสดงทั้งในลักษณะปกติ และผิดปกติ (Deform) มาจัดแสดงอย่างเปิดเผยอย่างชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือแม้กระทั่งชิ้นส่วน หรือโครงกระดูกในลักษณะพิเศษที่ถูกดัดแปลงเสริมแต่งโดยเทคโนโลยีต่างๆ (Prosthesis) เช่น การต่อเชื่อมกระดูก เปลี่ยนหัวเข่า ฯลฯ
ความมุ่งหมายของนิทรรศการนี้คือ เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจ และให้ความรู้ถึงร่างกายภายในของมนุษย์ อย่างลึกซึ้ง ต้องการที่จะคลี่คลายความซับซ้อนทั้งในแง่ขององค์ประกอบ ลักษณะ ตำแหน่ง หน้าที่ และความสัมพันธ์ ของโครงสร้างภายในด้วยกันเอง และโครงสร้างระหว่างภายในและภายนอก
ความงามของภายในร่างกายมนุษย์ที่ถูกปิดบังจากผิวหนังที่ห่อหุ้ม ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นเพื่อที่จะเปิดเผยหน้าตาที่อยู่ภายในเหมือนอย่างที่ Prof. Gunther เรียกว่า "Our face within" ซึ่งก็เป็นการบ่งบอกถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคลเช่นเดียวกับหน้าตาและรูปร่างภายนอก
การเข้าไปดูนิทรรศการเพื่อหวังจะได้พบสิ่งรื่นเริงบันเทิงใจ บางคนอาจจะไม่ได้จากนิทรรศการนี้ สิ่งหนึ่งที่ผมคาดหวังไว้จากการเข้าชมนิทรรศการครั้งนี้ นอกจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่จะได้อย่างท่วมท้นสำหรับความเข้าใจ เรื่องราวภายในร่างกาย ผมยังต้องมองหาว่าอะไรคือ "ประเด็น" ที่ทำให้เกิดการถกเถียงกันเป็นวงกว้างทั้งจากผู้คนและทั้งจากสื่อมวลชนด้วย ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งซึ่งถูกวิจารณ์ว่าไม่เหมาะสมไปต่างๆ นานาดังเช่นที่ผมกล่าวไปแล้วข้างต้น แต่ผมกลับมองว่า ข้อถกเถียงเหล่านั้นกลายเป็นสิ่งที่สร้างมุมมองที่สำคัญต่อเรื่องราวของร่างกายมนุษย์
จากมุมมองของการนำเสนอ(Representation) เรื่องราวภายในของร่างมนุษย์ ดูเหมือนว่า "คุณค่าที่ห่อหุ้มอยู่ภายในร่างมนุษย์" ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นสากลที่มนุษย์ทุกคนสามารถเข้าใจร่วมกันได้ (Universality) ซึ่งอยู่นอกเหนือจากกฏเกณฑ์ทางด้านกฏหมาย และข้อบังคับทั้งปวง กลายเป็นสิ่งที่ดึงเอาความรู้สึกร่วมจากผู้คนมาผสมปนเป กับความอลังการของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ จะอาจจะเป็นประเด็นที่ Prof. Gunther ละเลยหรือตั้งใจจะมองข้ามก็แล้วแต่น่าจะเป็นที่มาของข้อถกเถียงที่เกิดขึ้น
นิทรรศการนี้โดยพื้นฐานแล้วเป็นการสร้างกระบวนความรู้ใหม่และเป็นการพัฒนาที่สำคัญทั้งวงการแพทย์และความรู้สำหรับบุคคลทั่วไปโดยรวม การนำเอาศพคนจริงๆ มานำเสนอเป็นศพพลาสติกในลักษณะตัดผ่าน ที่ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Plastination อาจจะเรียกกันอย่างง่ายๆ ว่าการทำให้ชิ้นส่วนของอวัยวะภายในต่างๆ หรือแม้กระทั่งร่างกายทั้งหมดอยู่ในสภาพเป็นพลาสติก เป็นปรากฎการณ์ที่ทำให้โครงสร้างอันซับซ้อนภายใน ถูกเปิดเผยอย่างไม่เคยมีมาก่อน
วิธีการที่เรียกว่า Plastination คือการแทนที่ของเหลวภายในชิ้นส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบแต่ละชิ้นส่วน หรือแบบทั้งตัวด้วยพลาสติก เริ่มต้นด้วยการนำเอาชิ้นส่วนต่างๆ ที่ต้องการจะทำ Plastination ทั้งในแบบแต่ละส่วนหรือแบบทั้งตัวออกจากการแช่ด้วยฟอร์มาลีน (Formaldehyde) แล้วจัดการ ผ่า-ตัด-เปิด-แยกส่วน-เพิ่ม ทั้งในลักษณะที่เรียกว่า แบบแยกส่วน (Explosion) หรือแบบเป็นแผ่นๆ แต่ละชั้น (Layering) ในกรณีหลังการตัดต้องกระทำในขณะที่แช่แข็งอุณหภูมิประมาณ -70 C หลังจากนั้นจะนำร่างกายที่ผ่านวิธีการผ่าตัด(ขออนุญาตเรียกรวมกรรมวิธีทั้งหลายที่เกิดขึ้นบนร่างกาย เช่น ตัดออก-เปิด-เจาะ-เพิ่ม ฯลฯ) ไปแช่ในของเหลวที่เรียกว่า Acetone (-30 C) หลังจากนั้นจะนำเอาชิ้นส่วนที่ผ่านจากการแช่ Acetone ไปแช่ในสารละลายพลาสติก (Polymer) มีการแทนที่ Acetone ด้วยพลาสติกโดยการให้ความร้อนและดูดออก (Vacuum) หลังจากที่พลาสติกเข้าไปแทนที่ Acetone ภายในชิ้นส่วนต่างๆแล้ว ชิ้นส่วนต่างๆเหล่านี้จะกลายเป็นสภาพพลาสติกอย่างสมบูรณ์ พร้อมที่จะนำไปจัด แต่ง แสดง ตามท่าทางต่างๆที่ถูกเตรียมไว้ตั้งแต่ก่อนกระบวนการของการทำ Plastination และจะถูกทำให้แข็งและทำให้แห้งโดยการให้ความร้อน และฉายแสง อุตราไวโอเลท เป็นการสิ้นสุดวิธีการทำ "ศพพลาสติก"
เทคนิคแบบ Plastination ทำให้เกิดมุมมองใหม่(ทั้งแบบมุมมอง-ความคิด และมุมมอง-สายตามอง) หรือการเปิดเข้าไปสู่พื้นที่ที่ไม่เคยมีคนเคยเห็นมาก่อน (ต่างจากตอนที่ผมไปดูศพของ "ซีอุย" ที่โรงพยาบาลศิริราชมาก) เป็นการรื้อค้นความลึกลับขององค์ประกอบภายในของร่างกายมนุษย์ ซึ่งที่สำคัญคือการเรียนรู้จากศพคนจริงๆ ความสัมพันธ์ระหว่างโครงกระดูก เส้นประสาท เส้นเลือด ตำแหน่งของอวัยวะต่างๆ และการแสดงออกของท่าทางไม่ว่าจะอยู่ในสภาพว่ายน้ำ เล่นหมากรุก หรือ ขี่ม้า ถูกนำเสนอในชนิดที่ว่าภาพ x-ray ก็ไม่สามารถแสดงได้เท่า ซึ่งอาจจะพูดได้ว่าหุ่นจำลองแบบ Plastination นี้คือการ x-ray สามมิติแบบสมบูรณ์ (ต่างกันตรงที่ว่าหลังจากทำ x-ray แล้วยังมีชีวิตอยู่) ไม่ว่าจะเป็นการตัดแบบขวาง (Horizontal Section) หรือแบบยาว (Longitude Section) ไม่ว่าจะเป็นการตัดแบบเป็นแผ่นๆ (Layering Section) หรือแม้กระทั่งการจัดองค์ประกอบรวมกันระหว่าง การตัดแบบเป็นแผ่นๆและโครงกระดูก (ผมเชื่อว่าถ้านักเรียนสถาปัตย์คนใดที่ได้ดู นิทรรศการนี้จะเข้าใจถึงหัวใจของ รูปตัด หรือ Section เป็นอย่างดี)
ความรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นผลสะท้อนโดยตรงจากเทคนิควิธีการ หรือพูดอีกอย่างคือ เทคนิควิธีการนำเสนอที่แตกต่างออกไปทำให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่าง มันเป็นความรู้สึกพิศวงที่สามารถมองผ่านเข้าไปในท้อง ในแขน จากข้างหลัง มองขึ้นไปจากมุมมองใต้หลอดลมเพื่อไปเห็นโพรงจมูกด้านบน หรือแม้กระทั่งมองตามเส้นประสาทจากดวงตา ผ่านสมอง แล้วเรื่อยมาตามซี่โครงกระดูกสันหลัง ก้นกบ ลงไปที่ขา
มันเป็นประสบการณ์ตรงที่ผมและคนอื่นๆ อีกหลายคนต้องหันมาตรวจสอบตัวเองในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเริ่มหันไปดูผู้คนรอบข้าง จับแขน จับขาของตัวเอง อีกทั้งเริ่มตระหนักถึงสิ่งที่กินเข้าไปในแต่ละวันว่าจะไปกระทบต่อส่วนประกอบภายในอย่างไรบ้าง ปอดสีดำสนิท วางคู่กับปอดที่ขาวและดูมีความสมบูรณ์แข็งแรงเป็นอย่างดี กลายมาเป็นเครื่องมือที่เตือนพวกที่สูบบุหรี่ดีนัก ส่วนคนกินอาหารมันและอาหารที่มีคลอเรสเตอรอลสูง แถมยังไม่ค่อยชอบออกกำลัง ต้องดูส่วนที่ว่าด้วยหัวใจ เพราะการที่นิทรรศการนี้นำ เส้นเลือดแดง ท่อนใหญ่ที่มีความขรุขระ ยับเยินด้วยพนังพังผืด เป็นการกระตุ้นนเตือนให้ผู้คนหลายๆ คนให้ดูแลสุขภาพ หัวใจ ให้ดี(ไม่ใช่แค่ห่วงว่าอกหัก หัวใจสลายเท่านั้น!!!)
ตัวอย่างข้างต้นดูเหมือนเป็นการเรียนรู้แบบ Simulation ได้เป็นอย่างดี ซึ่งผมเชื่อว่าต่างจากการที่เราเข้าไปสำรวจจากหุ่นจำลองคอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Simulation - Virtual Reality) เพราะหุ่นจำลองที่อยู่ตรงหน้าผมและคนที่ดูอีกหลายๆ คนคือความเป็นจริง (Realism) หรืออาจจะเรียกได้ว่ามากกว่าความเป็นจริง (Surrealism) ด้วยซ้ำ
สำหรับตัวผมเอง ผมคิดว่านิทรรศการ Body Worlds นี้ถูกนำเสนอออกมาไม่ใช่แค่การเปิดเผยความซับซ้อนของเรื่องราวที่อยู่ภายในร่างกายมนุษย์ แต่ดูเหมือนกับว่านิทรรศการนี้มีการสร้างเส้นแบ่งการสื่อความหมายซึ่งเป็นเส้นบางๆ ที่อยู่ระหว่างความก้าวหน้าทางวิทยาการกับความบ้าคลั่งทางการแสดงในโลกศิลป์ หรือนี้คือสิ่งที่ Prof. Gunther ต้องการจะนำเสนอ
ภายใต้เส้นแบ่งบางๆ ของสื่อ(Anatomical Dissection Model - Signifier) และสัญญะ(Sign - Signified) ความสัมพันธ์ระหว่าง เทคนิควิธีการกับสิ่งที่เกิดขึ้นที่ถูกแสดงผ่านการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ชิ้นส่วนประกอบภายในแต่ละส่วน หรือแม้กระทั่งศพพลาสติกทั้งตัว เกิดเป็นพื้นที่ว่างทางความคิดอันหนึ่ง ซึ่งมีจุดรองรับทางความคิดแยกออกเป็น สองปลาย
ทางที่หนึ่งคือแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิทยาการ เป็นการเปิดเผยความซับซ้อนของโครงสร้างภายในของมนุษย์ และในอีกทางออกหนึ่ง สามารถชี้นำไปสูการสร้างบันไดไปสู่ทางแห่งอำนาจที่เป็นผลผลิตมาจากความรู้ ของ Prof. Gunther อย่างที่ผมได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า มันมีเส้นบางๆ ที่ถูกนำเสนอออกมาในนิทรรศการนี้ ที่แบ่งระหว่างความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์กับความแปลกใหม่ของโลกศิลปะที่ต้องการทำให้คนดูฉงน สนเท่ห์ รวมไปถึงการช๊อค (คล้ายๆ กับงานกลุ่ม British Art - Cutting Edge ในปัจจุบัน)
ซึ่งไม่ใช่แค่ตัวผมคนเดียวที่รู้สึกถึงทางแยกทางความคิดนี้ สื่อ(media) ต่างๆ ที่โหมประโคมทำข่าว ผู้คนบางส่วนที่ไม่เห็นด้วย และแสดงความไม่พอใจถึงขนาดที่ว่าเอาผ้าไปปิดหุ่นจำลอง โดยเฉพาะหุ่นของผู้หญิงท้องที่ถูกผ่าท้องให้เห็นถึงทารกที่อยู่ในครรภ์ แน่นอนตัวผมเองยอมรับว่า สิ่งที่ได้เห็นหุ่นจำลองในลักษณะต่างๆ ทั้งนั่งเล่นหมากรุก ฟันดาบ ขี่ม้า ว่ายน้ำ และแม้กระทั่งขณะตั้งครรภ์ เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์ หรือแม้กระทั่งบริบทของร่างกายในเชิงการแพทย์ ซึ่งเสมือนหนึ่งว่าจะไม่มีความลับของร่างกายมนุษย์หลงเหลืออยู่อีกต่อไป
มนุษย์ถูกเปิดเผยให้เห็นถึงขนาดตัวตนที่แท้จริงที่อยู่ภายใน(ลึกลงไปถึงขนาดตับไตไส้พุงเลยทีเดียว) แต่ก็ต้องยอมรับเหมือนกันว่า สื่อที่ถูกใช้ผ่านหุ่นจำลองบางตัว ถูกใช้เสมือนเป็นเครื่องมือยืนยันความอหังการของ Prof. Gunther ที่ต้องการจะนำเอาหุ่นจำลองต่างๆ เหล่านี้มาจำลองงานศิลปะ ทั้งงานภาพเขียนและประติมากรรม
อย่างไรก็ตาม สื่อหรือสัญญะที่ใช้การจำลองงานศิลปะเหล่านี้ (Re-presentation) ถูกวิทยาศาสตร์และวิทยาการทาง Plastination มาบิดเบือนความงามหรือสัญญะเดิมที่มีอยู่บนตัวงานศิลปะ (Ideology) ผลที่เกิดขึ้นคือผู้คน(รวมทั้งผมด้วย) ได้รับสื่อและสัญญะนี้ผ่านเทคนิคและผลที่เกิดขึ้นจากวิทยาการ Plastination เป็นหลัก และด้วยวิทยาการนี้เป็นเครื่องชี้นำไปยังผู้สร้างและผู้คิดค้นก็คือ Prof. Gunther
ตัวอย่างที่สำคัญที่ผมรู้สึกถึง ความกำกวมที่เกิดขึ้น คือสื่อและสัญญะที่ถูกใช้ผ่าน ลื่อและสัญญะศพพลาสติกของม้าและคนขี่ม้า (Rearing Horse with Rider) ในขณะที่ขี่ม้าก็เปิดสมองโชว์สมองที่อยู่ในมือ เสมือนเป็นสื่อที่ Prof. Gunther ต้องการจะบอกให้รู้ว่า "นี่คือข้า นี่คือ Plastination นี่คือความยิ่งใหญ่ของวิทยาการจากอำนาจสมองของข้า"
สิ่งที่สื่อมวลชนจำนวนมากโจมตีหรือแม้กระทั่งคนที่เข้าชมนำผ้าไปคลุมหุ่นจำลอง โดยเฉพาะหุ่นผู้หญิงท้องซึ่งถูกผ่าให้เห็นถึงทารกที่อยู่ภายใน กลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ระหว่างการพัฒนาขององค์ความรู้และความก้าวหน้าของวิทยาการซึ่งอาจจะทำให้จำเป็นต้องละเลยหรือละทิ้งบางสิ่งบางอย่างไป เช่นคำถามเกี่ยวกับ ศีลธรรมและจรรยา ไม่ใช่แค่ศีลธรรมที่จะต้องทำให้ถูกต้องตามกฏหมาย ที่จะต้องมีเอกสารยืนยันถึงความยินยอมในการบริจาคร่างกาย แต่รวมถึงความเคารพต่อศพ หรือต่อร่างกายของมนุษย์ถึงแม้ว่าไม่มีชีวิต ไม่มีวิญญาณ และที่สำคัญไม่มีอัตลักษณ์ทางกายเนื้อ (Identity) หลงเหลืออยู่ก็ตาม
แต่เพราะร่างมนุษย์ยังคงมีสัญญะอื่นที่ยังคงห่อหุ้มอยู่และคนเรายังสามารถรับรู้ถึงสัญญะนั้นๆ ได้เช่น ความรู้สึกร่วมของการมีตัวตนอยู่ในโลก ความทรงจำ ความเจ็บไข้ได้ป่วย และที่สำคัญคือสภาวะหลังความตายซึ่งหลายๆ คนเอาความรู้สึกปฎิเสธของตัวเอง ไปวัดคุณค่าของหุ่นจำลองที่อยู่ตรงหน้า หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็น ความรู้สึกร่วมสากล (Universality)
คำถามที่ว่า มันจำเป็นหรือเปล่าที่การพัฒนาความรู้และความก้าวหน้าต่างๆจำเป็นจะต้องละเลย หรือมองข้ามปัจจัยอะไรบางอย่างไป และเป็นไปได้ไหมที่ความรู้ ความก้าวหน้าและปัจจัยทางด้านอื่นๆ จะถูกคำนึงถึงไปพร้อมๆ กัน
ก่อนที่จะจบผมขออนุญาตใช้พื้นที่ตรงนี้ย้อนถามถึงเรื่องที่ว่าด้วยบริบทของ "ร่ายกาย" [เอาแค่ในแง่ร่างทางเนื้อหนัง (Corporal Body) ก่อน ยังไม่รวมในแง่ร่างกายทางนามธรรม (Cultural or Social Body)]
ถ้าตามสมมติฐานข้างต้นที่ว่าวิธีการเป็นปัจจัยหนึ่งในการสร้างองค์ความรู้ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือเราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากวิธีการและเทคนิคการนำเสนอที่ต่างกันออกไป ดังนั้น เทคนิควิธีการที่จะนำเสนอเรื่องราวและบริบททางร่างเนื้อของไทยเรา มีวิธีการและเทคนิคในการนำเสนออย่างไรบ้าง ใช้ต่างกับของคนในชาติอื่นๆ อย่างไร และที่สำคัญเราได้รับผลลัพธ์อะไรจากเทคนิคและวิธีการนำเสนอแบบนั้นๆ บ้าง
เท่าที่ความรู้ผมมีในตอนนี้ ก็เห็นจะมีแต่ เรื่องของร่างกายตามบริบทของแพทย์แผนไทย การนวดและการกดจุดต่างๆ และจากบทความของ นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว "หมอตำแย : มรดก(ลับ)ของหญิงไทย" ในหนังสือ ถึงอย่างไรก็อยู่กันมาได้
มันจะเป็นไปได้ไหมว่า บริบททางร่างกายโดยเฉพาะร่างเนื้อเป็นสิ่งที่ถูกละเลยและถูกมองข้าม ในสังคมและวัฒนธรรมของไทยเรา เนื่องด้วยความเชื่อทางศาสนา การเข้าถึง"อนัตตา" คือความไม่มีตัวตน (Corporal Body) ไม่มีบริบททางร่างกายที่จะต้องมาวิเคราะห์วิจารณ์กันอีกต่อไป??? แต่ก็ยังเห็นโฆษณายาบำรุง ยารักษาโรคกันขนานใหญ่ อีกทั้งเครื่องสำอาง เครื่องประทินผิว รักษาสิวฝ้า รวมถึงสนามประกวดประชันความงามต่างๆ!!! ตัวผมเองต้องขอหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ "ไทยกับการว่าด้วยเรื่องร่างกาย-ร่างเนื้อ" ให้มากกว่านี้ก่อน และถ้าใครมีข้อมูลเพิ่มเติมกันอย่างไรก็ช่วยบอกต่อๆ กันมาด้วยนะครับ
Sant Suwatcharapinun
Current exhibition
http://www.bodyworlds.com/en/aktuelle.htm
BODY WORLDS, the world famous exhibition featuring anatomical and whole body specimens, opens in London on March 23rd at The Atlantis Gallery at The Old Truman Brewery in London's Brick Lane.
BODY WORLDS or so far known as K?RPERWELTEN is an anatomical exhibition of real human bodies that provides unique insights into the healthy and diseased human body. Individual organs are arranged according to area in order to learn more about their functions and typical diseases. The exhibition also includes the opportunity to study individual, complex, anatomical structures in whole-body and cross section specimens.
In December 2000 the largest specimen - "Rider on a Vaulting Horse" - was added to the exhibition. This large exhibit will be one of the main attractions in the London exhibition. Two new plastinates are also included: a laterally exploded body - "The Swimmer" - is the only horizontally floating plastinate that exposes the view of the spinal column with the vertebrae on one side and the intervertebral disks on the other side. The internal organs have not been sliced through but are assigned to the right and left body halves, respectively, based on aesthetic and educational criteria. The newly added "Pitcher" concentrates on the joints and displays the complex muscle actions that occur when throwing an object. Furthermore, a fascinating new exhibit "Vessel Plastinates" will be presented for the very first time and shows the complete independent blood vessel systems of single organs and whole bodies more comprehensively than they have ever been seen before.
Theme of the exhibition
BODY WORLDS - The Anatomical Exhibition of Real Human Bodies provides unique insights into the healthy and diseased human body. During your visit you will see individual organs arranged according to a series of different subjects. You will learn more about their functions and typical diseases that affect them. Finally you will have the opportunity to study individual, complex, anatomical structures of whole bodies and cross sections.
The body electric...
A fine network of nerve fibres stretches from the head to the toes to monitor and regulate all bodily functions. They transmit information in the form of weak electric signals. If the brain's blood supply is interrupted for only 10 seconds we will lapse into unconsciousness.
Breath by breath...
The lung consists of a dense network of tiny, densely clustered alveoli where the transfer of gases takes place. It they were laid out flat they would cover an area of approx. 100 m2. Cigarette smoke is hazardous for the alveoli. Smoking 20 cigarettes a day means that every year 150ml of tar (1 coffee cup) are deposited in the lungs and which will shorten life by an average of 5 years.
Beat by beat...
The cardiovascular system distributes oxygen, nutrients, and hormones to the organs, and is responsible for the removal of waste products. The "roadway" network of blood vessels is extraordinarily dense. If all of the blood vessels were laid end to end, they would go twice around the equator.
Strong stuff...
With more than 200 bones and 100 moveable joints the skeleton represents the body's internal framework and provides it with stability, support and mobility. Due to the special structure of the bones the skeleton is stronger than reinforced concrete, even though it accounts only for a fifth of concrete's weight.
All the bodies on display are authentic. They belonged to people who declared during their lives that their bodies should be made available after their deaths for qualification and instruction of medical professionals and non-professionals alike. The specimens are permanently preserved by plastination - an impregnation technique where tissues are completely saturated with special plastics in a vacuum. Not only does plastination facilitate the permanent preservation of the specimen, it also allows entirely new forms of anatomical display since the plastics lend a high degree of rigidity to the tissues. Anatomically prepared whole bodies, for instance, can now be displayed in upright, life-like poses. Even isolated anatomical structures can be exhibited in hitherto unseen ways. This is why BODY WORLDS is unique.
Aim of the exhibition
The aim of the exhibition is to inform visitors and to open up the opportunity particularly to medical laymen to better understand their body and its functions. When viewing the exhibits we can become aware of the naturalness of our bodies and recognise the individuality and anatomical beauty inside. The authenticity of the specimen on display is essential for such insight. Every human being is unique. Humans reveal their individuality not only through the visible exterior, but also through the interior of their bodies as each one is distinctly different. Position, size, shape and structure of skeleton, muscles, nerves and organs determine our face within". It would be impossible to convey this anatomical individuality with models for a model is nothing more than an interpretation. All models look alike and are, essentially, simplified versions of the real thing. The authenticity of the specimen, however, is fascinating and enables the observer to experience the marvel of the real human being. The exhibition is thus dedicated to the individual face within.
Will these goals be attained? The University of Kassel conducted independent scientific studies to clarify this question. Here you will find a summary of the most important survey results.
เรื่องแจ้งเพื่อทราบเกี่ยวกับกระดานข่าว
(webboard)
เนื่องจากเจ้าของพื้นที่ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนไปขอใช้เกิดขัดข้องชั่วคราว
จึงขอให้นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน แสดงความคิดเห็นผ่าน webboard สำรอง
โดยคลิกที่ webboard
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับผู้สนใจดูภาพและรายละเอียดเกี่ยวกับนิทรรศการครั้งนี้
กรุณาคลิกดูได้ที่
http://www.bodyworlds.com/index2.htm
บทความนี้เขียนโดย อ. สันต์ สุวัจฉราภินันท์ / คณะสถาปัตยกรรม มช. ขณะนี้กำลังศึกษาในระดับปริญญาเอกอยู่ที่
The Bartlett School of Graduate Studies - Achitectureal History and Theory
- University College London
บทความลำดับที่
172 บทความนี้ยาวประมาณ 6 หน้ากระดาษ A4 - หากนักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่านประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน
กรุณาลดขนาด font ลงจะแก้ปัญหาได้
ผมในฐานะสถาปนิกหรือคนที่เรียนมาทางสถาปัตยกรรม ซึ่งแน่นอนไม่ใช่คนที่คร่ำหวอดในวงการวิชาชีพแพทย์ หรือ จิตรกรรม ประติมากรรม ที่มีพื้นความรู้ในเรื่องของกายวิภาค (Anatomy) และมีความคุ้นเคยเกี่ยวกับเรื่อง "ข้างใน" ของร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะการเรียนรู้จักความสัมพันธ์ระหว่าง ภายในและภายนอกของลักษณะทางโครงสร้างของโครงกระดูก กล้ามเนื้อ และท่าทางการเคลื่อนไหว หรือแม้กระทั่งการอ่านลักษณะการป่วยไข้ของโรคภัยไข้เจ็บ จากอาการที่เกิดขึ้นบนผิวหนังภายนอก
ถึงแม้ผมจะมีโอกาสได้เรียนรู้ถึงองค์ประกอบทางร่างกายมนุษย์ แต่ก็เป็นไปอย่างคร่าวๆ ไม่ถึงกับเรียนรู้อย่างใกล้ชิดกับ โครงกระดูก หรือ กล้ามเนื้อ"ท่านอาจารย์ใหญ่" อย่างที่นักศึกษาจิตรกรรม ประติมากรรม หรือ นักศึกษาแพทย์ ได้เรียนกัน
แต่ผมเชื่อว่าการเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับองค์ประกอบทางร่างกายมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่ใช้ในการสร้างจินตภาพ หรือ ใช้ในการสร้างภาพร่างกายของมนุษย์ในการเขียนภาพ หรือ การผ่าตัด ร่างกายมนุษย์ในแง่นี้จึงกลายเป็นสื่อ (Medium) และเป็นเครื่องมือ (Device) และแน่นอนเครื่องมือชนิดนี้ มีข้อจำกัดในการผลิตและในการนำเสนอ ตั้งแต่อดีตมา "หุ่นจำลองในลักษณะตัดผ่าน" หรือ เรียกว่า Dissection Anatomic Model ได้เข้ามามีบทบาทที่จะทำหน้าที่ เป็นสื่อกลางที่จะเปิดเผยความซับซ้อน เรื่องราวที่เกี่ยวกับ ภายใน ของร่างกายมนุษย์ ในฐานะที่มุมมองของทางสถาปัตยกรรม ผมสนใจนิทรรศการนี้ในแง่ของการนำเสนอ (Representation) เรื่องราวภายในของคน