มนุษย์เรอเนสซองค์ (The Renaissance Man) ศัพท์คำว่า Renaissance man หมายถึงบุคคลที่ ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม ได้ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆมากมาย. คนที่ได้ชื่อว่าเป็น Renaissance man นั้น ไม่ใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือมีความเก่งกล้าเรื่องใดโดยเฉพาะ. แต่เขาหรือเธอ เป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่าง และไม่ใช่ว่าจะรู้ทุกเรื่องเพียงเล็กๆน้อยๆเท่านั้น. โดยสาระแล้วศัพท์คำนี้ เป็นไปในทางตรงข้ามกับความคาดหวัง กล่าวคือ โดยทั่วไปแล้ว ไม่มีใครสามารถที่จะเป็น Renaissance man ได้จริงๆ ตามความหมายของรูปศัพท์คำนี้ ทั้งนี้เพราะ "ความรู้"เป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีมนุษย์คนใด ที่สามารถจะยึดกุมความรู้ทั้งหมดอันนั้นเอาไว้ได้ หรือแม้แต่ส่วนใหญ่ของมันก็ตาม. เท่าที่ผ่านมาเคยมี Renaissance man ไหม แม้ในช่วงระหว่างยุคเรอเนสซองค์เองก็ตาม ในความหมายของรูปศัพท์คำนี้ ดังที่ชี้แจงไปแล้วข้างต้น ? คำตอบก็คือ"ไม่ม"ี. เหตุผลที่ว่าทำไมจึงไม่มีคนที่ได้ชื่อว่าเป็น Renaissance Man นั้น อาจฟังดูแล้วน่าประหลาดใจ ทั้งนี้เพราะ ความรู้ในทุกวันนี้ มันไม่ได้สลับซับซ้อนเกินไปกว่าที่มันเป็นอย่างนั้นในศตวรรษที่ 15. นั่นคือ เพราะว่ามันมีความสลับซับซ้อนเช่นเดียวกับในปัจจุบันนี้นั่นเอง. มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีมนุษย์คนใดที่จะรู้ไปเสียทุกสิ่งทุกอย่างในเวลานั้น มากไปกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้. อันนี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกสิ่งที่เรารู้ ได้ถูกรู้มาแล้วโดยผู้คนทั้งชายและหญิงในยุคสมัยเรอเนสซองค์. แน่นอนที่ว่า เรารู้หลายสิ่งหลายอย่างมากมาย ที่พวกเขาไม่รู้มาก่อน. ในทางตรงข้าม พวกเขาก็รู้หลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่รู้เช่นกัน. พวกเขามีความรู้และเฉลียวฉลาดมากเกี่ยวกับเรื่อง"เทววิทยา" เป็นตัวอย่าง ซึ่งศาสตร์อันนี้ ถือว่าเป็นศาสตร์หนึ่งที่พวกเขามีความใส่ใจเอาจริงเอาจังอย่างไม่มีขีดจำกัดยิ่งกว่าพวกเรา. โดยรวมทั้งหมด พวกเขาเป็นนักปรัชญาที่ดีกว่า และอีกอย่าง พวกเขาได้ประเมินค่าปรัชญาเอาไว้สูงกว่าที่เราให้ค่ากับความรู้อันนี้. ความรู้ของพวกเขาเกี่ยวกับปรัชญานั้นมันแตกต่างไปจากของพวกเรามาก แม้ว่ามันจะไม่ยิ่งใหญ่ไปกว่าเราก็ตาม. สิ่งเหล่านั้นคือขอบเขตความรู้ทั่วๆไป ซึ่งผู้คนในยุคเรอเนสซองค์คิดว่า มันเป็นเรื่องที่น่าปรารถนาที่จะศึกษาเป็นพิเศษ และสำหรับพวกเขา บรรดานักคิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดทั้งหลาย ได้อุทิศความพยายามอย่างมากและอย่างดีที่สุดไปกับสิ่งเหล่านี้. แต่อย่างไรก็ตาม ในยุคปัจจุบัน เราได้ก้าวหน้าไปไกลกว่ายุคสมัยเรอเนสซองค์ นั่นคือ เรารู้อะไรมากมายเกี่ยวกับหนทางที่ธรรมชาติทำงาน ยิ่งกว่าที่พวกเขารู้. แม้ว่าผู้คนในยุคเรอเนสซองค์เพิ่งจะเริ่มยอมรับขอบเขตเกี่ยวกับความรู้ในเรื่องธรรมชาตินี้ ในฐานะที่มันเป็นเรื่องที่น่าเคารพยำเกรง และมีความสำคัญ แต่พวกเราได้ให้ความเอาใจใสต่อมัน จนเกือบจะกันทุกสิ่งทุกอย่างออกไปหมด ซึ่งอันนี้เป็นมานานเกือบ 5 ศตวรรษแล้ว ด้วยเหตุนี้ มันจึงไม่น่าเป็นที่สงสัยเลยว่า เราได้ก้าวหน้าไปไกลกว่าพวกเขามาก. แต่อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่น่าประหลาดใจอันใดด้วยว่า เรายังคงมีบางสิ่งที่ล้าหลังไปกว่าพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเคารพต่อสาขาวิชาต่างๆที่พวกเขาคิดว่าสำคัญกว่าเรื่องของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ. (นั่นคือ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับศาสนาหรือพระผู้เป็นเจ้า) ผู้คนสมัยใหม่ส่วนใหญ่ ข้าพเจ้ามีแนวโน้มที่เชื่อว่า มีความโน้มเอียงต่อวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ(natural science) และไกลห่างจากศาสตร์ศาสนาหรือพระผู้เป็นเจ้า(divine science). ในทุกวันนี้ เรามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เหนือกว่าบรรดา Renaissance men(women)ทั้งหลายมีชีวิตอยู่, กล่าวคือ เรามีอายุที่ยืนยาวกว่า, สุขภาพที่ดีกว่า, สะดวกสบายมากกว่า ทั้งนี้เนื่องมาจากการเน้นและการให้ความสำคัญของเราต่อวิทยาศาสตร์ธรรมชาตินั่นเอง. ประเด็นก็คือ ข้าพเจ้าต้องการที่จะทำให้เกิดความถูกต้องขึ้นมา เกี่ยวกับพื้นฐานความเข้าใจผิดในเรื่องความหมายของไอเดียเกี่ยวกับคำว่า Renaissance man ในสมัยเรอเนสซองค์. อย่างที่ได้กล่าวเอาไว้แล้วก่อนหน้านี้ มันไม่เคยมีบุคคลที่ได้ชื่อว่า Renaissance man ในความหมายที่บิดเบี้ยวไปดังที่เราใช้กันทุกวันนี้. แต่มันมีตัวอย่างต่างๆของบุคคลที่พิเศษอันนั้น ในอีกความหมายหนึ่งของศัพท์คำนี้ ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ในสมัยเรอเนสซองค์เท่านั้น แต่ในยุคคลาสสิคโบราณด้วย และบางทีในยุคที่เพิ่งจะผ่านมาไม่นานนี้. เช่นเดียวกับไอเดียต่างๆอีกมากมาย ซึ่งใครสักคนสามารถที่จะตามสืบเสาะร่องรอยย้อนกลับไปถึงอริสโตเติล. อันนี้ มันได้รับการพูดถึงมานับแต่ต้น ในตำราของเขาเรื่อง "On the Parts of Animals" เมื่อเขาได้อธิบายถึง ระเบียบวิธีการที่เขานำมาใช้ในหนังสือเล่มนี้. สิ่งที่เขาพูดนั้นมันทั้งธรรมดาและลึกซึ้งในเวลาเดียวกัน:
ย่อหน้าอันมีชือเสียงนี้ เต็มไปด้วยความหมายและบริบูรณ์ไปด้วยสาระประโยชน์ สำหรับยุคสมัยของเรานี้เช่นเดียวกันกับในยุคเรอเนสซองค์ แต่อย่างไรก็ตาม อาจต้องการคำชี้แจงหรือข้อคิดเห็นบางอย่าง เพื่อช่วยอธิบายเพิ่มเติมในการทำความเข้าใจอย่างเต็มที่. ประการแรก, ในเรื่องความแตกต่างระหว่างการมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องราวเรื่องหนึ่ง(scientific knowledge of a subject) และ ความรู้ทางการศึกษาเกี่ยวกับมัน(educational aquaintance with it)หมายความว่าอะไร ? ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ในที่นี้ คือความรู้ที่ถูกครอบครองโดยผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งในขอบเขตสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ ที่นำมาซึ่งความรู้ที่ไม่ใช่เพียงหลักการทั่วๆไป และข้อสรุปต่างๆของขอบเขตความรู้ดังกล่าวเท่านั้น แต่รวมไปถึงการค้นพบในรายละเอียดซึ่งรวมอยู่ในเรื่องนั้นๆด้วย. เช่นดังที่แพทย์ในสมัยโบราณ Hippocrates พูดไว้, "ชีวิตนั้นสั้น แต่ศิลปะยืนยาว"(life is short and the art long). นั่นคือ ไม่มีปัจเจกชนคนใด ในช่วงชีวิตสั้นๆของเขา ที่จะได้มาซึ่ง"ความรู้วิทยาศาสตร์" ในความหมายที่หมายถึงการรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง อันเป็นความรู้ในทุกสาขาของความรู้ทั้งหมดได้. สิ่งนี้เป็นจริงในวันเวลาของอริสโตเติล ดั่งที่เขาได้แสดงนัยะเอาไว้ และก็เป็นจริงในทุกวันนี้เช่นกัน. แล้วอะไรล่ะ คือสิ่งที่อริสโตเติลหมายถึง"ความรู้ทางการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวเรื่องหนึ่ง(educational acquaintance with a subject)? คำตอบก็คือ มันเป็นสิ่งซึ่งคนที่มีการศึกษาครอบครองอยู่ ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องราวอันนั้น ซึ่งไม่เพียงแต่ในรายละเอียดต่างๆของมัน และการค้นพบและข้อสรุปของมันโดยเฉพาะเท่านั้น แต่บุคคลดังกล่าวจะต้องมีวิจารณญานในขอบเขตความรู้นั้นด้วย. นั่นคือ เขาจะต้องสามารถบอกถึงความแตกต่างระหว่างเหตุผลและความไร้เหตุผลได้ ปรมาจารย์(professor)ที่มีความรู้ในเรื่องนั้น คือผู้เชี่ยวชาญ, ผู้ชำนัญการ. แต่อริสโตเติลตระหนักว่า ปรมาจารย์นั้น อาจจะมีความจริงแท้น้อยกว่าที่เขาต้องการให้คุณเชื่อ. ส่วนบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับขอบเขตความรู้นั้น(educated acquaintance with the field) ถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา. การที่คนๆหนึ่งสามารถที่จะอ้างว่าเป็น"ผู้ได้รับการศึกษา"นั้น ก็ต่อเมื่อ เขาสามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตรหรือศาสตร์ ได้อย่างกว้างขวางนั่นเอง - เขาสามารถที่จะจำแนกได้ระหว่างเหตุผลและความไร้เหตุผล แม้ว่าเขาจะไม่ใช้ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ความรู้หนึ่งใดก็ตาม. นั่นคือข้ออ้างพิเศษ! และลองมาทวนดูซิว่า มันไกลห่างกันแค่ไหน ระหว่างความคิดเห็นของเราที่แพร่หลายกันอยู่ในปัจจุบัน กับสิ่งที่คำว่า่"ได้รับการศึกษา"หมายถึง ! ท้ายที่สุด, กับคำว่า"การศึกษาอย่างกว้างขวางหรือสากล"(universal education) - ก็คือบุคคลที่ไม่ใช่ใครอื่นยิ่งไปกว่า Renaissance man ของเรานั่นเอง - กล่าวคือ เป็นคนที่สามารถในการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความรู้ทุกๆสาขาหรือเกือบจะทุกสาขาความรู้ทั้งหมด. บุคคลดังกล่าวจะไม่ใช่มีเพียงมีความสามารถในการใช้วิจารณญานได้แต่เพียงเรื่องราวที่พิเศษเพียงบางเรื่องเท่านั้น. แต่เขาจะมีวิจารณญานได้ในทุกๆเรื่อง หรือเกือบทุกๆเรื่องเลยทีเดียว ในข้อความต่างๆที่ตามมาจากย่อหน้านั้น ซึ่งยกมาอ้างแล้ว, อริสโตเติลได้วางหลักการต่างๆเกี่ยวกับระเบียบวิธีทั่วๆไป ของสิ่งที่พวกเราในทุกวันนี้เรียกว่า "ชีววิทยา" หรือ "สัตววิทยา", นั่นคือ การศึกษาทางด้านกายวิภาค, การสืบพันธุ์, และพฤติกรรมโดยทั่วไปของสัตว์ต่างๆ. ตามมาด้วยคำอธิบาย ซึ่งเขาได้ให้กับเราก็คือ ผลลัพธ์ต่างๆเกี่ยวกับการค้นคว้าสืบสวนที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งเขาและคนอื่นๆทำการค้นคว้าถึงพฤติกรรมของสัตว์หลากหลายชนิดและพันธุ์. จำนวนมากของสิ่งที่เขาพูดในเรื่องเกี่ยวกับความรู้นี้เป็นความจริง, แต่อีกจำนวนมากก็ยังเป็นที่คลางแคลงใจเช่นเดียวกัน. เราไม่เชื่ออีกต่อไปว่า ยกตัวอย่างเช่น "สมองนั้น ไม่มีความต่อเนื่องกับอวัยวะรับสัมผัส" หรือ บทบาทของสมอง จะต้องผสมหรือคลุกเคล้ากับความร้อน และความเดือดพล่านของหัวใจ". การที่อริสโตเติลสรุปออกมาเช่นนี้ เนื่องจากสมมุติฐานบางอย่างที่เขาได้ทำกับชีวิตสัตว์โดยทั่วๆไป, มันเป็นสมมุติฐานต่างๆซึ่งไม่ถูกต้อง และเขาอาจจะโน้มเอียงที่จะเชื่อน้อยลงไปกว่านี้ หากว่าเขามีความเข้าใจในวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ดีกว่านี้. แต่อย่างไรก็ตาม การสนทนาในช่วงต้นๆชองเขาเกี่ยวกับหลักการต่างๆของระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์ โดยส่วนใหญ่แล้ว ก็ยังเป็นไปอย่างถูกต้อง. เพราะเขาเข้าใจถึงว่า วิทยาศาสตร์ควรได้รับการปฏิบัติหรือควรทำงานอย่างไร ? อริสโตเติลเอง เป็นคนที่มีความรู้ดี ในหลักการต่างๆของขอบเขตความรู้อื่นๆอีกมากมายด้วย นับจากจริยศาสตร์ไปจนกระทั่งถึงรัฐศาสตร์, จากวาทศิลป์ไปจนกระทั่งถึงกวีนิพนธ์ และจากความรู้ทางด้านฟิสิกส์ไปจนกระทั่งถึงคณิตศาสตร์. เขาจึงมีเหตุผลที่จะได้รับการอ้างว่า เป็นบุคคลที่มีความรู้ทางการศึกษา(educated acquaintance)ในสาขาความรู้ทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ในวันเวลาที่เขามีชีวิตอยู่. อย่างไรก็ตาม เขาไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำนัญการ หรือเป็นปรมาจารย์ในความรู้อันมากมายเหล่านั้น. แต่บางที จะมีเพียงสาขาความรู้เดียวในศาสตร์ต่างๆทางด้านตรรกวิทยา และสิ่งที่เรียกขานมันว่า"อภิปรัชญา"(metaphysics) หรือ "ปรัชญาแขนงแรก"(first philosophy) ที่เขาอาจได้รับการมองว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่ง. ด้วยเหตุนี้ "อริสโตเติลจึงเป็น Renaissance man" คนหนึ่งอย่างแน่นอน. แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรที่จะให้ฉายาดังกล่าวนี้สะดุดหยุดลง โดยละเลยบรรดานักคิดคนอื่นๆของกรีกเช่นกัน เพราะในท่ามกลางนักคิดกรีก ยังมี Democritus และ Plato ด้วย บุคคลเหล่านี้ไม่เพียงเป็นอัครมหาปรัชญาเมธีในช่วงวันเวลาของเขาเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคณิตศาสตร์ชั้นแนวหน้าด้วย. มนุษย์เรอเนสซองค์
: ลีโอนาโด, พิโค, และเบคอน (Renaissance Men : Leonardo, Pico, Bacon) ชื่อเสียงอันยิ่งใหญ่ของเขาในฐานะจิตรกรคนหนึ่งนั้น วางอยู่บนพื้นฐานของภาพผลงานชิ้นเล็กๆที่ได้สร้างความประหลาดใจ. มีเพียงงานจิตรกรรม 17 ชิ้นที่เหลือรอดมาเท่านั้น ซึ่งสามารถได้รับการอ้างว่าเป็นของเขาอย่างแท้จริง และแต่ละภาพในจำนวนดังกล่าวนี้ทำขึ้นมายังไม่เสร็จดีเท่าไร. แต่อย่างไรก็ตาม มีผลงานอยู่ 2-3 ชิ้นในท่ามกลางผลงานที่พูดถึงนี้ ซึ่งเป็นผลงานจิตรกรรมอันมีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก : อย่างเช่น The Last Supper in Milan, Mona Lisa และ The Virgin and Child with St. Anne ในพระราชวัง Louvre. แม้ว่าผลงานของเขาส่วนใหญ่ จะยังทำไม่เสร็จก็ตาม แต่ก็มีอิทธิพลอย่างมากต่อจิตรกรร่วมสมัย และศิลปินที่ยิ่งใหญ่คนอื่นๆ ในช่วงระหว่างสองศตวรรษต่อมา, คล้ายๆกับ Rembrandt และ Rubens. เขาไม่อาจที่จะยกพู่กันหรือดินสอขึ้นมา โดยไม่ทำบางสิ่งบางอย่างที่น่าประหลาดใจและสดใหม่อย่างที่สุดได้, และเขามักจะทำงานโดยมีนักเรียนอยู่รายรอบตัวเขาอยู่เสมอ. แม้ว่างานจิตรกรรมจะบริโภค หรือกลืนกินเวลาของเขาไปมากก็ตาม แต่มันก็ไม่ใช่จุดโฟกัสของพลังงานอันมากมาย ที่ทุ่มเทไปอย่างพิเศษของเขา. งานจิตรกรรมเป็นเพียงหนทางหนึ่งซึ่ง Leonardo พยายามที่จะแสดงออกถึงความรู้ที่ยิ่งใหญ่ของเขาเกี่ยวกับโลก. ซึ่งการที่เขาได้ความรู้อันมากมายมานั้น เขากล่าวว่า มันได้มาง่ายๆธรรมดาโดยจ้องมองไปที่สิ่งต่างๆ. เขากล่าวว่า ความลับก็คือ "saper vedere", หรือว่า "to know how to see" นั่นคือ "รู้จักว่าจะมองอย่างไรนั่นเอง". ความละเอียดละออและความเข้มข้นเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของเขา เป็นสิ่งซึ่งหาที่เปรียบมิได้. เขาได้ทิ้งภาพประกอบที่เป็นภาพสเก็ต ซึ่งถูกเขียนขึ้นมาในสมุดร่างภาพของเขาอย่างมากมายเหลือคณานับ ซึ่งมีอยู่เป็นพันๆหน้าเอาไว้ เกี่ยวกับเรื่องที่สามารถจะนึกเห็นมันได้ทุกๆเรื่อง นับจากเรื่องกายวิภาคไปจนกระทั่งถึงสถาปัตยกรรม, จากสัตว์ต่างๆจนกระทั่งไปถึงนางฟ้า, รวมไปถึง"ภาพต่างๆเกี่ยวกับการสิ้นสุดของโลก"ด้วย สมุดสเก็ตภาพที่เขาพยายามพรรณาหรือวาดให้เห็นความรู้สึกนึกคิดของเขานั้น เกี่ยวกับพลังอำนาจของธรรมชาติ, ซึ่งในจินตนาการของเขา เขานึกคิดเกี่ยวกับการครอบครองเอกภาพอันหนึ่งซึ่งไม่มีใครเคยเห็นมาก่อนเลย. กระนั้นก็ตาม เกือบทั้งหมดของรายชื่อโครงการที่ใหญ่โตมากมายของเขา ยังคงไม่เสร็จสมบูรณ์แม้กระทั่งตอนที่เขาตาย ทั้งๆที่เขามีอายุเกือบจะ 70 ปี โอกาสต่างๆที่ไม่เคยมีมาก่อน และอุปนิสัยของเขาเกี่ยวกับการทำงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง. บรรดานักวิจารณ์ต่างประณามเขา ในเรื่องที่เกี่ยวกับความคิดของเขาที่แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยอย่างบ้าคลั่ง. แต่อันที่จริง อันนี้ไม่น่าจะเป็นปัญหาของ Leonardo แต่อย่างใด. ดูเหมือนเขาจะค่อนข้างเข้าใจผิดในไอเดียของอริสโตเติลเกี่ยวกับคนที่มีการศึกษา. เขาไม่ได้แสวงหาเพียงแค่ต้องการจะมีความรู้ในทางการศึกษากับทุกๆเรื่องเท่านั้น แต่ยังมีความเชี่ยวชาญในทุกๆด้านด้วย. จิตใจของเขาเต็มเปี่ยมไปด้วยแบบแผนทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ด้วยโครงการต่างๆที่ต้องการหันเหทิศทางของแม่น้ำ Arno, การหล่องานประติมากรรมอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ที่สุดอย่างที่ไม่เคยทำกันมา, และสร้างเครื่องจักรที่บินได้ เป็นต้น. โดยที่ไม่เคยรู้สึกพอใจเกี่ยวกับหลักการของสิ่งต่างๆ เขาปรารถนาที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาจินตนาการขึ้นมา และรู้สึกไม่สมหวังเพราะว่า เขาไม่อาจที่จะทำอะไรได้มากไปกว่าวาดภาพทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นมาเท่านั้น. ความไม่สมหวังอันนี้เป็นเดือย หรือประตัก ที่ทิ่มแทงจินตนาการของเขาอยู่อย่างต่อเนื่อง. เพียงเมื่อไม่นานมานี้นี่เอง ที่พื้นฐานเอกภาพทางความคิดของเขาได้ปรากฏตัวขึ้นมา ดังที่สมุดบันทึกและต้นฉบับลายมือเขียนของเขาจำนวนมากขึ้นๆได้ถูกค้นพบ ซึ่งมันซ่อนอยู่ในห้องสมุดหลายแห่งทั่วทั้งยุโรป. Leonardo แม้ว่าจะชุ่มโชกไปด้วยการเรียนรู้ในลักษณะของผู้คงแก่เรียน และส่วนใหญ่อยู่ภายใต้อิทธิพลของ Aristotelians และความเข้าใจของคนเหล่านี้ซึ่งมีต่อธรรมชาติ, แต่เขาก็ได้ค้นพบบางสิ่งซึ่งบรรดา Aristotelians ทั้งหลายไม่เคยรู้มาก่อน. อย่างเช่น"ภาวะหยุดนิ่งหรือชะงักงัน", เขาตระหนักว่า ไม่ใช่หลักการสุดยอดของจักรวาล; "การไม่อยู่กับที่และพลัง" เป็นหลักการสูงสุดของจักรวาล. ทุกสิ่งสามารถถูกทำความเข้าใจได้ ถ้าหากว่าคนๆหนึ่งรู้ว่า พลังอำนาจอะไรที่มาบีบบังคับหรือกระตุ้นมัน: ไม่ว่าจะเป็นรูปกายของสัตว์ และเรือนร่างของมนุษย์, รูปร่างของต้นไม้ และใบหน้าของผู้หญิง โครงสร้างของอาคารและภูเขา, เส้นทางของสายน้ำและเส้นโครงร่างของชายหาด. Leonardo ไม่รู้มากพอ เกี่ยวกับอำนาจหรือพลังงานที่จะผลักดันวิสัยทรรศน์ของเขาให้สำเร็จออกมาได้. กระนั้นก็ตาม เขาก็แสวงหาวิธีการสังเคราะห์ที่จะนำไปสู่จุดสุดยอด เท่าที่มีหลักฐานบ่งว่าอย่างนั้นตอนที่เขาถึงแก่กรรมลง. เขาได้ทิ้งผลงานที่ยังทำไม่เสร็จเอาไว้เบื้องหลังเป็นจำนวนมาก. จริงๆแล้ว เขาเป็น Renaissance man ชนิดใหม่, มนุษย์ประเภทหนึ่งที่อริสโตเติลขาดไป หรือไม่ได้พูดถึงเกี่ยวกับโลกใหม่. Pico Della
Mirandola Pico ได้รับการศึกษาทางด้านมนุษยศาสตร์ที่บ้านพ่อของเขา. เขาได้ศึกษาปรัชญา Aristotelian ที่ Padua และศึกษาหลักเกณฑ์ทางศาสนา(canon law - หมายถึงกฎระเบียบที่ใช้ปกครองโบสถ์หรือศาสนาจักร) ที่ Bologna, และนอกจากนี้ เขายังได้เรียนภาษาฮิบรู ภาษาอาหรับ และอารบิค ก่อนที่เขาจะมีอายุ 20. เขาได้ถูกดึงเข้าไปสนใจ Plato's honey head, ดังที่ Herman Melville ได้อธิบายถึงว่า มันเป็นเล่ห์เหลี่ยมเพทุบายเกี่ยวกับความรู้สึกสัมผัสของนักเวทมนตร์ท่ามกลางบรรดานักปรัชญาทั้งหลาย, และเขาก็เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับ Hebrew Kabbala (อันเป็นลัทธิหนึ่งเกี่ยวกับคำสอนในเรื่องพระเจ้าและโลกโดยผ่านการประจักษ์ในความลึกลับ) และเป็นคนแรกที่ใช้คำสอน cabalistic (ซึ่งเป็นคำสอนอันลึกลับที่รู้เฉพาะเพียงไม่กี่คน)เพื่อมาสนับสนุนเทววิทยาของคริสเตียน. ในช่วงอายุ 23 ปี, Pico เชื่อว่าตัวเขาเองมีการเรียนรู้เทียบเท่ากับทุกๆนที่มีชีวิตอยู่. ในความท้าทายอันน่าหวาดหวั่น, บางทีไม่เท่าในประวัติศาสตร์, กล่าวคือ ในปี 1486 เขาได้เสนอที่จะปกป้องรายชื่องานนิพนธ์ 900 ชิ้นที่ดึงเอามาจากงานของนักเขียนในภาษากรีก, ละติน, ฮิบรู และอารบิค, และเขาได้เชื้อเชิญบรรดาผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย จากทั่วยุโรปมายังกรุงโรม เพื่อโต้เถียงกันกับเขาในที่สาธารณะ. การพันตูกันทางปัญญาต่อหน้าสาธารณะเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน. โชคไม่ดีสำหรับ Pico และบางทีสำหรับชนรุ่นหลังด้วย นั่นคือ รายชื่อเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆของ Pico ได้เป็นที่สนใจของวาติกัน และวาติกันได้ประกาศออกมาว่า หัวข้อ 13 เรื่องในจำนวนนั้นผิดจารีตประเพณีและหลักศาสนา. Pico รู้สึกงงงวยและประหลาดใจ ดังนั้น เขาจึงได้ถอนคำพูด และกลับความคิดเห็นโดยทันที. แต่อันนี้ไม่พอที่จะทำให้เขาพ้นจากการถูกจับกุมคุมขัง. เขาต้องไปใช้ชีวิตอยู่ในคุกในชั่วระยะเวลาสั้นๆ. หลังจากนั้น เขาได้ไปอาศัยอยู่ในเมืองฟลอเรนส์ เพื่อพยาบาลความภาคภูมิทางสติปัญญาของเขา และได้ประพันธ์งานที่สำคัญและมีความโดดเด่นขึ้นมา ซึ่งในกาลต่อมา มันได้รับการตีพิมพ์ในชื่อว่า On the Dignity of Man (บนความทรงเกียรติของมนุษย์). งานเขียนชิ้นนี้เป็นงานเขียนขนาดสั้น มันเป็นผลงานที่กระตุ้นอารมณ์ให้รู้สึกเร่าร้อน ซึ่งเป็นการวิจารณ์แสดงข้อคิดเห็นที่ขยายเพิ่มเติมที่มีต่อตำรา Protagorean โบราณ(เป็นตำราทางปรัชญา): เขาได้เสนอว่า"Man is the measure of all things"(มนุษย์เป็นมาตรวัดของสรรพสิ่ง). สำหรับคำว่า Man ในที่นี้ Pico ได้ให้นัยะว่า คือ "spiritual center of the universe" หรือ "ศูนย์กลางจิตวิญญานของจักรวาล" บางที ข้อเสนอของเขาอันนี้ ได้ทำให้เขาเป็นคนหนึ่งที่ได้มีการโฟกัส ให้พระผู้เป็นเจ้ากลายไปเป็นเป็นอื่น (หมายถึงไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล). อันนี้เป็นความนอกรีตอย่างสุดเหวี่ยงมาก่อนหนึ่งศตวรรษ, แต่ในช่วงเวลานั้น มันกลับผ่านไปได้โดยไม่มีใครสังเกตุหรือสนใจ, และ Pico ได้รับการอภัยโทษในฐานะที่เป็นพวกนอกรีตในปี 1492. กับคำถามที่ว่า "Pico สามารถปกป้องงานนิพนธ์ของเขาทั้งงหมดได้ใช่ไหม ?" เป็นไปได้ว่า ไม่ได้, เขาทำเช่นนั้นไม่ได้เท่าๆกันกับผู้คนในทุกวันนี้ที่ไม่สามารถปกป้องได้เช่นกัน (แม้ว่า งานนิพนธ์อันนั้นจะแตกต่างไปมาก ซึ่งเกี่ยวกับแนวทางที่มันเป็น). แต่ Pico ก็กล้าพยายามที่จะทำเช่นนั้น และท้าทายโลกของการเรียนรู้. มันเป็นการกระทำที่หยิ่งยะโสของคนที่มีอายุ 23 ปีเท่านั้น. มันเป็นสิ่งหนึ่งที่ Renaissance man ไม่เคยลังเลใจที่จะทำเช่นนั้น แม้ว่าเขาจะต้องล้มเหลวอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ก็ตาม. Francis Bacon Bacon เป็นนักการเมืองคนหนึ่ง และเขาได้ทำงานรับใช้พระราชินีอลิซาเบทเป็นครั้งแรก ต่อมาเขาก็รับใช้กษัตริย์เจมส์ที่ 1. เขาทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย โดยได้ทุ่มเทแรงกายและแรงใจเพื่อรับใช้องค์พระประมุขของรัฐ. ชนรุ่นหลังได้ตัดสินว่า เขาเป็นคนที่ไร้หลักการ ไร้ยางอาย ในระดับที่หาได้ยากยิ่งในช่วงเวลาอันทุกข์ยากนั้น. ในท้ายที่สุด ศัตรูของเขาก็ได้จับตัวเขาได้ในปี 1621. เขาได้ถูกกล่าวหาว่ากินสินบนในหน้าที่การงานในฐานะอธิบดีกระทรวงยุติธรรม(load chancellor), และได้ถูกตัดสินลงโทษด้วยการปรับไหมเป็นจำนวนมากและได้ถูกนำไปจำคุกด้วย. แต่ไม่นานต่อมา เขาได้รับการปล่อยตัวจาก the Tower of London, แต่อย่างไรก็ตาม เขาก็ไม่ไดกลับ้เข้าไปรับราชการอีกเลย. ในยุคสมัยนี้ที่เขาได้ถอนตัวออกมาจากกิจกรรมสาธารณะ ซึ่งเราทั้งหลายต่างเป็นหนี้บุญคุณผลผลิตทางสติปัญญาของเขาเป็นจำนวนมาก ในปีหลังๆของเขา. ความเรียงต่างๆของ Bacon, ซึ่งได้รับการเขียนขึ้นมาในตลอดช่วงชีวิต ซึ่งเต็มไปด้วยสาระสำคัญอันแหลมคม และมีเสน่ห์อย่างเป็นมิตร ล้วนเป็นผลงานซึ่งนิยมชมชอบกันส่วนใหญ่, แต่ความเรียงเรื่อง Advancement of Learning (ความก้าวหน้าเกี่ยวกับการเรียนรู้)[พิมพ์ขึ้นมาครั้งแรกในภาษาอังกฤษ ปี 1605; และได้พิมพ์ครั้งที่สองในภาษาละติน ในปี 1623] และเรื่อง Novum Organon (1620) ถือว่าเป็นงานเขียนซึ่งได้รับการตีพิมพ์ที่สำคัญที่สุดของเขาเกี่ยวกับเรื่องความรู้. หนังสือเหล่านี้ได้เผยให้เห็นถึงความยอดเยี่ยม สำหรับจิตใจและภูมิปัญญาของ Renaissance man. คำอวดอ้างอันโด่งดังที่ Bacon ได้ประกาศออกมาคือ, "ข้าพเจ้าครอบครองความรู้ทั้งหมดสำหรับปริมณฑลของข้าพเจ้า", วินิฉัยจากรูปโฉมภายนอกมันเป็นการยืนยันถึงการได้รับการเสนอชื่อในฐานะที่เป็น Renaissance man คนหนึ่ง. อะไรคือความหมายอันนี้ ? คำอวดอ้าง โดยสาระแล้ว เป็นไปตามแนวของ Aristotelian; นั่นคือ Bacon ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ใดๆ (แม้ว่าเขาจะเป็นนักการเมือง ที่ประสบความสำเร็จจนถึงจุดสุดยอดก็ตาม), แต่อย่างไรก็ตาม เขามีความรู้ความเข้าใจว่า ควรที่จะค้นคว้าและปฏิบัติกับศาสตร์ใดบ้าง, ดังนั้น มันจึงสนับสนุนคำอ้างของเขาในฐานะที่มีความรู้ทางการศึกษาในสาขาวิชาความรู้ทั้งมวลในช่วงวันเวลาของเขา. แต่เขาก็ต่อต้านคัดค้านอย่างเร่าร้อนต่อระเบียบวิธีของอริสโตเติล เกี่ยวกับเหตุผลทางวิทยาศาสตร์, ซึ่งยึดถือกันอยู่ และได้รับการเรียกขานว่า "วิธีการแบบนิรนัย"(deduction - การพิจารณาจากหลักทั่วๆไป ไปสู่เรื่องเฉพาะ[ความเชื่อที่ว่า มีความจริงที่เป็นหลักการอยู่แล้ว และจากความจริงนั้นได้นำไปสู่เรื่องเฉพาะได้]) อันนี้ถือว่ามันเป็นวิธีการแบบปลายปิด ไม่มีทางออก. เขาโอนเอียงไปในทางวิธีการแบบอุปนัย(induction - การหาความจริงด้วยการพิสูจน์ข้อเท็จจริง [ไม่เชื่อว่ามีความจริงอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นการค้นหาความจริงจึงต้องเริ่มจากข้อพิสูจน์ แล้วค่อยนำไปสู่ข้อสรุปที่เป็นเรื่องเฉพาะ). วิธีการแบบนิรนัย, ตามความคิดของ Bacon ล้มเหลวเพราะ ผู้ค้นหาเริ่มต้นความรู้ด้วยการอนุมานในเชิงนิรนัยว่ามีความจริงอันหนึ่งอยู่ก่อนแล้ว และนำมาเป็นข้อตั้งด้วยการสันนิษฐานแบบสหัชญานบางอย่างเกี่ยวกับโลกที่เป็นจริง ซึ่งมันอาจจะมีความถูกต้องในแง่ตรรกะ แต่มันไม่ได้เป็นจริงในธรรมชาติ. ส่วนวิธีการแบบอุปนัยมันประสบความสำเร็จกว่าเพราะ นักศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติได้รับความสำเร็จโดยสิ่งที่ Bacon เรียกว่า "ขั้นตอนของสติปัญญา" จากการสังเกตุอย่างระมัดระวัง และที่จริงเป็นไปอย่างถ่อมตัวต่อข้อพิสูจน์ทั่วๆไปที่เป็นจริง เพราะพื้นฐานของพวกมันได้ถูกค้นพบขึ้นมานั่นเอง. มาถึงขณะนี้ ได้รับการยอมรับกันว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์จะต้องเป็นการรวมกันของวิธีการแบบนิรนัยและอุปนัย. นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถที่จะดำเนินการใดๆได้ หากปราศจากข้อสมมุติฐานบางอย่าง. แต่เขาก็ได้รับการชี้หรือพิพากษาว่าผิดพลาด ถ้าหากเข้าล้มเหลวที่จะตรวจสอบความสมเหตุสมผลของเขา ที่มีต่อตัวของธรรมชาติเอง, ซึ่งมันเป็นตัวชี้ขาดสุดท้าย เกี่ยวกับความจริงของถ้อยแถลงที่เป็นทางการ. การวิเคราะห์ของ Bacon เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ซึ่งการที่เป็นเช่นนั้นเพราะ มันได้เผยให้เห็นถึงความผิดพลาดของการพึ่งพาต่อแบบจำลองทางเหตุผลที่ได้มีการกันเอาเรื่องอื่นๆออกไป. และการเน้นของเขาในเรื่องประสบการณ์ ในการล้วงมือ และสัมผัสกับความสกปรกในการสืบสวนเข้าไปในธรรมชาติ, อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญในช่วงเวลาดังกล่าว ที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย อายที่จะพยายามทำเช่นนั้น. ด้วยเหตุนี้ มันจึงดูเหมือนขัดๆที่ การตายของ Bacon ได้ถูกทำให้เกิดขึ้นโดยการทดลองที่ต่ำต้อย และแสนจะธรรมดา. นั่นคือ ในเดือนมีนาคม 1626 ขณะที่เขากำลังเดินทางผ่าน Highgate อยู่นั้น ทันใดเขาก็ตัดสินใจที่จะทดสอบไอเดียของเขาว่า ความเย็นอาจช่วยประวิงเวลาการเน่าของเนื้อสัตว์ได้. เขาได้ลงมาจากรถม้า แล้วนำเอาไก่ตัวหนึ่งหมกเข้าไปในหิมะ. ชะตากรรมของการทดลองไม่รู้ว่าจะเป็นเช่นไร(แน่นอน แม้ว่าการอนุมานดังกล่าวจะเป็นเรื่องที่ถูกต้อง), แต่ Bacon กลับจับไข้หนาวสั่น และต้องตายในอีกไม่กี่สัปดหาต่อมา. Bacon ก็เหมือนกันกับ Leonardo กล่าวคือ เขาล้มเหลวที่จะทำให้โครงการอันยิ่งใหญ่ส่วนมากสมบูรณ์ขึ้นมาได้ และ มันก็เนื่องมาจากเหตุผลในทำนองเดียวกันนั่นเอง. เขาไม่ค่อยรู้สึกพออกพอใจ เพียงแค่รู้ถึงสิ่งต่างๆในความหมายทั่วๆไป, แต่ปรารถนาที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในทุกๆเรื่อง. แต่อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจของเขาเกี่ยวกับธรรมชาติของความรู้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของอุปสรรคที่มีต่อความก้าวหน้า เป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง. มันได้รับการนำมาเป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์อันมีชื่อเสียงของเขาเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า idols of the mind (รูปเคารพของความคิด). ประดิษฐกรรมของ Bacon เกี่ยวกับรูปเคารพ(idols) ที่อธิบายถึงความผิดพลาดของมนุษย์ที่มีอยู่ ในตัวมันเองเป็นเรื่องของการเรียนรู้. มนุษยชาติ ถ้าไม่หลงทางโดยความหลงใหลในรูปเคารพอย่างหลับหูหลับตา ก็สามารถที่จะบรรลุความสำเร็จ หรือความรู้ในความจริงเป็นจำนวนมากได้ยิ่งไปกว่ากรณีปกติ. Bacon ได้จำแนกรูปเคารพที่แตกต่างกันออกเป็น
4 รูปเคารพ อันดับที่สอง idols of cave เป็นสิ่งที่ผิดพลาด เนื่องมาจากลักษณะเฉพาะที่เป็นส่วนตัวต่างๆ. คนๆหนึ่ง ที่อาจเพ่งความเอาใจใส่ต่อความเหมือนกันระหว่างสิ่งต่างๆ ส่วนอีกคนก็จะเพ่งเล็งในแง่มุมที่แตกต่าง. อุปนิสัยดังกล่าวของความคิด สามารถที่จะได้รับการแก้ไขหรือละเมิดมันได้ โดยการรวบรวมคนจำนวนมากเข้าด้วยกันในการค้นหาความจริง เพื่อลักษณะเฉพาะอันนั้นจะได้รับการชดเชยให้แก่กันและกัน (ทำให้ไม่ผิดพลาด). อันดับที่สาม idols of marketplace (หมายถึงที่ๆข้อคิดเห็น ไอเดีย หรือเรื่องคุณค่า ได้รับการอธิบายเพื่อการถกเถียงหรือรับรอง) ซึ่งในที่นี้ได้รับการก่อตัวขึ้นมาโดยภาษาในตัวของมันเอง. Bernard Shaw ได้กล่าวติดตลกขึ้นมาครั้งหนึ่ง เมื่อได้ให้ข้อสังเกตุว่า "คนอังกฤษและอเมริกันมีทุกสิ่งทุกอย่างร่วมกันหมด เว้นแต่เรื่องของภาษาเท่านั้น". ความแตกต่างในเรื่องภาษา เป็นมูลเหตุให้เกิดปัญหาที่ใหญ่มาก แน่นอน ด้วยเหตุนี้ ทำไมบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย จึงชอบสื่อสารกับอีกคนหนึ่งด้วยภาษาทางด้านคณิตศาสตร์. แต่ภาษาสากล อย่างเช่น คณิตศาสตร์ ถึงที่สุดแล้วก็ยังล้มเหลว
อันนี้เป็นเพราะความจริงที่ยิ่งใหญ่สุด ไม่สามารถที่จะกลายมาเป็นสิ่งซึ่งเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงต่อเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ได้
จนกว่ามันจะได้รับการแปลไปสู่ภาษาของทุกๆคน. แต่อย่างไรก็ตาม ทุกๆคนก็มีความเข้าใจคำต่างๆ
ในหนทางที่แตกต่างกันไปเล็กน้อย ในท้ายที่สุด, Bacon ได้จำแนกสิ่งที่เขาเรียกว่า idols of theater ซึ่งอันนี้คือระบบต่างๆทางปรัชญาที่ยืนอยู่บหนทางของความอดทน การแสวงหาอย่างถ่อนตนเพื่อความจริง. ระบบต่างๆอันนั้นไม่ได้เป็นปรัชญา. ในศตวรรษที่ 20 ระบบที่แตกต่างกันของความคิดทางการเมืองได้มาหน่วงหรือกักขังชนชาวมาร์กซิสท์และประชาธิปไตยจากความเข้าใจที่มีต่อกัน. คำต่างๆดังกล่าวอาจเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ แต่ไอเดียต่างๆที่อยู่เบื้องหลังมันเหล่านั้น มันได้ซ่อนเร้นความหมายที่อยู่เบื้องหลัง. ต้นฉบับจากหนังสือ
"A History of Knowledge" by Charles van Doren
E-mail Address :
|
Leonardo
da Vinci กล่าวว่า ความรู้ อาจได้มาง่ายๆ โดยจ้องมองไปที่สิ่งต่างๆ. Pico ได้เขียนงานชิ้นสั้นๆที่ชื่อว่า
On the Dignity of Man (บนความทรงเกียรติของมนุษย์). งานชิ้นนเป็นผลงานที่กระตุ้นอารมณ์ให้รู้สึกเร่าร้อน
ซึ่งเป็นการ์แสดงข้อคิดเห็นที่ขยายเพิ่มเติมมาจากตำราของ Protagorean
โบราณ, เขาได้เสนอว่า"Man is the measure of all things" Bacon กล่าวว่า มนุษยชาติ ถ้าไม่หลงทางโดยหลงใหลอยู่กับ idols ทั้ง 4 อย่างหลับหูหลับตา เขาก็สามารถที่จะบรรลุความสำเร็จ หรือมีความรู้ในความจริงเป็นจำนวนมากได้ (idols of tribe, idols of cave, idols of marketplace, idols of theater) อะไรคือสิ่งที่เขาพูดถึง... พบกับรายละเอียดเหล่านี้ได้ใน The Renaissance Man |