เจ.เดอร์ริดา : โครงสร้างนิยม และ หลังโครงสร้างนิยม
content page
member page
back to home
3
นักศึกษา และสมาชิกผู้สนใจ หากตัวหนังสือและภาพซ้อนกัน
กรุณาลดขนาด Font ลงมา จะทำให้การจัดหน้าสมบูรณ์

เกริ่นนำ
แนวคิดแบบ"โครงสร้างนิยม"กำลังเป็นที่ดึงดูดใจ
บรรดานักวิจารณ์บางคน

เพราะเหตุว่า
มันได้ไปช่วยเพิ่มความเป็นวัตถุวิสัยขึ้นมานั่นเอง,
ในที่นี้หมายถึงความเป็นวัตถุวิสัยทางวิทยาศาสตร์,
ในขอบเขตการศึกษาทางด้านวรรณคดี

(ซึ่งบ่อยครั้ง มันได้รับการวิจารณ์ว่าเป็น
เรื่องอัตวิสัยอันบริสุทธิ์และความประทับใจ).
ความเป็นวัตถุวิสัยทางวิทยาศาสตร์นี้
ได้บรรลุถึงโดย
การลดบทบาทของ"คำ"ลงมาเป็นรอง
เรื่องของโครงสร้าง,
ดังนั้น แทนที่จะให้ความสำคัญของคำ
มันกลับ
ถูกละทิ้งไปสู่การสนับสนุนการศึกษา
โครงสร้างของระบบในเชิงนามธรรม.

(ความยาวประมาณ 10 หน้ากระดาษ A4)

J. Derrida : Structuralism/Poststructuralism

นักวิจารณ์วรรณกรรมหลายคนรู้สึกประทับใจกับแนวคิดแบบ"โครงสร้างนิยม
ทั้งนี้เพราะ แนวทางดังกล่าวได้ไปช่วยเพิ่มให้การวิจารณ์มีความเป็นวัตถุวิสัยมากขึ้น.
อย่างที่ทราบกันดีว่า ในการวิจารณ์ต่างๆทางด้านศิลปะ รวมทั้งวรรณคดี
หลายต่อหลายครั้งถูกถือว่า เป็นเรื่องอัตวิสัยเอามากๆ.
เมื่อเป็นเช่นนี้ การทำให้กาวิจารณ์มีความเป็นวัตถุวิสัยทางวิทยาศาสตร์
จึงเป็นที่ถูกอกถูกใจของนักวิจารณ์บางคน และมันสามารถบรรลุถึงลักษณะดังกล่าวโดยการลดบทบาทของ"คำ"ลงมาเป็นรองเรื่องของโครงสร้าง, คำศัพท์ต่างๆได้ถูกทอนความสำคัญลงและไปเน้นเรื่องของโครงสร้างระบบมากขึ้น.

ด้วยเหตุนี้ นัก"โครงสร้างนิยม"จึงอ่านข้อความหรืองานเขียนต่างๆในลักษณะที่เมินเฉย หรือไม่ใยดี และปฏิบัติกับพวกมันราวกับว่า มันเป็นเหมือนกับแบบแผนที่ถูกผลิตขึ้นมาโดยตะไบเหล็ก และเคลื่อนที่โดยพลังของแรงแม่เหล็ก - อันเป็นผลเนื่องมาจากพลังอำนาจที่ไม่ใช่ตัวบุคคล, ไม่ใช่ผลของความพยายามของมนุษย์ใดๆ

ในแนวคิดของ"โครงสร้างนิยม", ความเป็นปัจเจกบุคคลได้สูญสลายหายไป กลับไปให้การสนับสนุนที่จะมองไปที่แบบแผนต่างๆ, ระบบ, และโครงสร้างต่างๆ. นัก"โครงสร้างนิยม"บางคน(และสกุลการวิจารณ์ที่เกี่ยวข้อง, ซึ่งเรียกว่า the Russain Formalists (รูปแบบนิยมของรัสเซี่ยน) เสนอว่า ลักษณะการบรรยายเรื่องราว(narrative)ทั้งหมดนั้น สามารถที่จะได้รับการสร้างแผนภูมิขึ้นมาได้ ในฐานะที่เป็นความผันแปรของแบบแผนสากลพื้นฐานบางอย่างในการบรรยายเรื่องราว.

โดยหนทางดังกล่าวของการจ้องมองไปที่"การบรรยายเรื่องราว", นักเขียนได้ถูกแยกออกไป, เมื่อข้อความหรืองานเขียนเป็นบทบาทหน้าที่ของระบบอันหนึ่ง.

แบบจำลองมนุษยนิยมโรแมนติคถือว่า นักเขียนหรือนักประพันธ์นั้น เป็นผู้ให้กำเนิดงานเขียน, เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานขึ้นมา, และด้วยเหตุนี้ นักประพันธ์จึงเป็นจุดเริ่มต้น หรือรากเหง้าของงานเขียน. "โครงสร้างนิยม"ถกว่า งานเขียนชิ้นใดก็ตาม, หรือระบบการแสดงออกใดๆก็ตาม, ไม่มีต้นตอกำเนิด, และนักเขียนทั้งหลาย เป็นเพียงผู้ที่อาศัยโครงสร้างต่างๆที่มีอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น. ด้วยการพึ่งพาอาศัยโครงสร้าง ทำให้คนเหล่านี้สามารถที่จะสร้างประโยค(หรือเรื่องราว)อันมีลักษระเฉพาะต่างๆขึ้นมาได้ - รวมไปถึงถ้อยคำที่เป็นภาษาเขียน.

เหตุดังนี้ ไอเดียที่ว่า"ภาษาพูดเรา"(language speaks us) จึงเป็นไปได้มากกว่า เราพูดภาษา (we speak language). เราไม่ได้เป็นผู้ให้กำเนิดภาษา; เราได้อิงอาศัยโครงสร้างอันหนึ่งที่ทำให้เราสามารถพูดออกมาได้; สิ่งที่เรารับรู้(ผิดพลาด)[(mis)perceive]ว่าเป็นต้นตอกำเนิดของเรา อันที่จริง มันเป็นการนำมารวมตัวกันใหม่อีกครั้ง ของปัจจัยหรือองค์ประกอบพื้นฐานต่างๆของระบบที่มีอยู่ก่อนแล้ว. โดยเหตุข้างต้น งานเขียนหรือข้อความทุกชิ้น, หรือทุกๆประโยคที่เราพูดและเขียน, มันได้ถูกสร้างขึ้นมาจาก"งานที่ถูกเขียนแล้ว"(already written).

การวิเคราะห์ในเชิงระบบโดยตัวของมันเองนั้น, บรรดานัก"โครงสร้างนิยม"จะยกเรื่องของประวัติศาสตร์ออกไปพร้อมๆกันด้วย ในการวิเคราะห์ของพวกเขา. ดังที่ Levi-Strauss ทำ, เขายืนยันอย่างแข็งขันว่า โครงสร้งต่างๆนั้นเป็นสากล ด้วยเหตุดังนั้นมันจึงปราศจากกาลเวลา.

นัก"โครงสร้างนิยม"ทั้งหลายไม่สามารถที่จะอธิบายหรือให้เหตุผลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาการได้; เนื่องจากพวกเขาไม่ได้ให้ความสนใจ, ยกตัวอย่างเช่น ในเรื่องของรูปแบบต่างๆทางวรรณกรรม อาจมีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดช่วงกาลสมัย. พวกเขายังไม่สนใจในการผลิตงานเขียน หรือการต้อนรับ-บริโภคงานเขียนด้วย, พวกเขาจะสนใจแต่เพียงในเรื่องของโครงสร้างต่างๆที่ปรับแต่งรูปร่างมันขึ้นมาเท่านั้น.

ในการลบตัวของนักเขียนออกไป, รวมทั้งงานเขียนแต่ละชิ้น, นักอ่าน, และ ประวัติศาสตร์, "โครงสร้างนิยม"จึงเป็นตัวแทนการท้าทายที่สำคัญอันหนึ่ง ต่อสิ่งที่เราเรียกว่า "ขนบจารีตแบบมนุษย์นิยมเสรี"(liberal humanist)ในการวิจารณ์วรรณกรรม.

แบบจำลองทางด้านมนุษย์นิยมตั้งสมมุติฐานว่า
1) มันมีโลกของความเป็นจริงใบหนึ่งที่อยู่ข้างนอก ซึ่งเราสามารถทำความเข้าใจได้ด้วยความคิดที่มีเหตุผลของเรา
2) ภาษามีความสามารถที่จะบรรยายโลกแห่งความเป็นจริงนั้นได้อย่างถูกต้อง(ไม่มากก็น้อย)
3) ภาษานั้นเป็นผลิตผลอันหนึ่งของความคิดจิตใจของนักเขียนแต่ละคน หรือเจตจำนงเสรี, หมายความว่า เรากำหนดในสิ่งที่เราพูด, และอะไรที่เราหมายถึง เมื่อเวลาที่เราพูดมันออกมา, ด้วยเหตุดังนั้น ภาษาจึงแสดงออกถึงแก่นสารเกี่ยวกับภาวะปัจเจกของเรา (และนั่น มันคือสิ่งหนึ่งที่จริงแท้ในฐานะที่เป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับตัวตนของปัจเจกโดยเฉพาะ)
4) ตัวตน(self) - ยังถูกรู้ในฐานะที่เป็น"ประธาน"(subject-ตัวหลัก)ด้วย, เมื่อ เราแสดงไอเดียออกมาเกี่ยวกับตัวตนหนึ่งในทางภาษา, โดยการพูดว่า ฉัน, ซึ่งก็คือประธานของประโยค - หรือปัจเจก (หรือ"ความคิด" หรือ "เจตจำนงเสรี") ซึ่งเป็นศูนย์กลางของความหมายทั้งหมดและความจริง; คำต่างๆหมายถึง สิ่งที่ฉันพูด โดยให้พวกมันหมายความว่าอะไร, และความจริง(truth)คือสิ่งที่ฉันรับรู้ในฐานะที่เป็นความจริง(truth). ฉันสร้างสรรค์ประโยคของตัวฉันเองออกมาจากประสบการณ์ส่วนตัวของฉันเอง และต้องการการแสดงออกที่เป็นส่วนตัว.

แบบจำลองของนัก"โครงสร้างนิยม"ถกปัญหานี้ว่า
1) โครงสร้างของภาษาในตัวมันเอง เป็นตัวที่สร้าง"ความจริง"(reality)ขึ้นมา - ซึ่งเราสามารถคิดได้โดยผ่านภาษาเท่านั้น, และโดยเหตุที่การรับรู้ต่างๆของเราเกี่ยวกับความจริง(reality)ได้รับการวางกรอบหรือกำหนดโดยโครงสร้างของภาษา
2) ภาษานั้นพูดเรา(ออกมา)(langiage speaks us); ดังนั้น ต้นตอที่มาของความหมายจึงไม่ใช่ประสบการณ์ของปัจเจกหรือบุคคล, แต่มันเป็นไปในลักษณะตรงข้ามและเป็นปฏิบัติการต่างๆชุดหนึ่ง, นั่นคือ เครื่องหมายและไวยากรณ์ต่างๆเป็นสิ่งที่ควบคุมภาษา. ความหมายไม่ได้มาจากปัจเจกชน, แต่มาจากระบบที่ควบคุมสิ่งที่ปัจเจกแต่ละคนสามารถกระทำได้ภายใต้กรอบอันนี้
3) มากกว่าจะไปมองว่าปัจเจกบุคคลเป็นศูนย์กลางของความหมาย, "โครงสร้างนิยม"ได้วาง"โครงสร้าง"ลงที่ศูนย์กลาง - มันคือ"โครงสร้าง"ที่ได้ให้กำเนิดหรือสร้างความหมายขึ้นมา, ไม่ใช้ตัวตนที่เป็นปัจเจก. โดยเฉพาะ "ภาษา"เป็นศูนย์กลางของตัวตนและความหมาย; ฉันสามารถที่จะพูดว่า"ฉัน" เพราะ ฉันได้อิงอาศัยระบบหนึ่งของภาษา ที่ซึ่งตำแหน่งของประธาน(subject)ได้ถูกทำเครื่องหมายหรือกำหนดโดยการเป็นบุรุษสรรพนามตัวที่หนึ่ง, ด้วยเหตุนี้ อัตลักษณ์ของฉันจึงเป็นผลผลิตของระบบภาษาศาสตร์ที่ฉันครอบครองอยู่.

อันนี้เป็นส่วนที่(ทฤษฎี)"การรื้อโครงสร้าง"(deconstruction)ได้เริ่มเข้ามาด้วย. บุคคลซึ่งเป็นผู้นำแนวคิดทฤษฎี"การรื้อโครงสร้าง"ก็คือ, Jacques Derrida, ซึ่งได้มองไปที่ปรัชญา(โดยเฉพาะ เมตาฟิสิกส์-อภิปรัชญาตะวันตก)เพื่อตรวจดูว่า ระบบใดที่วางแกนที่แท้จริง. ในที่นี้หมายถึงศูนย์กลางอันหนึ่ง ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างพุ่งเข้ามาหา, และที่ซึ่งทุกๆสิ่งอ้างอิงมันหรือหวนกลับไปหามัน. ศูนย์กลางดังกล่าว บางครั้งก็คือ"พระผู้เป็นเจ้า"(god), บางครั้งก็คือ"ตัวตนของมนุษย์"(human self), ความคิดจิตใจ, บางครั้งก็คือ"จิตไร้สำนึก"(unconscious), ขึ้นอยู่กับว่าระบบปรัชญาใด(หรือชุดของความเชื่อใด) ที่คนๆหนึ่งกำลังพูดถึง.

มีกุญแจสำคัญอยู่ 2 ดอกสำหรับความคิดเกี่ยวกับ"การรื้อโครงสร้าง".
กุญแจดอกแรกคือ เรายังคงจ้องมองไปที่ระบบหรือโครงสร้างต่างๆอยู่ มากกว่าที่จะดูที่ปฏิบัติการอันเป็นรูปธรรมของปัจเจกชน. สำหรับระบบต่างๆทั้งหมด หรือ โครงสร้าง มันมีศูนย์กลางอันหนึ่ง, มีจุดกำเนิดของการเริ่มต้น, สิ่งซึ่งได้สร้างสรรค์ระบบขึ้นมาแรกสุด.
กุญแจดอกที่สองก็คือ ทุกระบบหรือโครงสร้างได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นมาเป็นคู่ๆในลักษณะของความตรงข้ามกัน, เกี่ยวกับเทอม 2 เทอม ที่วางลงบนลักษณะบางอย่างของความสัมพันธ์ในลักษณะขัดแย้งกันและกัน.

Derrida กล่าวว่า ระบบต่างๆนั้น มักจะได้รับการสร้างขึ้นจากการวิเคราะห์เชิงโครงสร้างหน่วยพื้นฐานเสมอ - นั่นคือ ความตรงข้ามกันที่เป็นคู่ๆ - และสิ่งนี้มันอยู่ในระบบต่างๆซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคู่อันนั้น ที่มักจะมีความสำคัญมากกว่าอันอื่นเสมอ. โดยหลักการ เทอมๆหนึ่งจะถูกตราว่าเป็นบวก ส่วนอีกเทอมหนึ่งได้ถูกตราว่าเป็นลบ. ด้วยเหตุนี้ ในคู่ดังกล่าว "ดี"/"ชั่ว", "ดี" คือ สิ่งที่ปรัชญาตะวันตกให้คุณค่า, และ "ชั่ว" เป็นเรื่องรองของความดี. Derrida ถกว่า คู่ต่างๆทั้งหมดทำงานในหนทางนี้ - "สว่าง"/"มืด", "ผู้ชาย"/"ผู้หญิง", "ขวา"/"ซ้าย"; ในวัฒนธรรมตะวันตก, "เทอมแรก"มักจะมีคุณค่าเหนือกว่า"เทอมที่สอง"เสมอ.

ในงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา, Of Grammatology, Derrida ได้มองไปที่ความตรงข้ามกันของ "การพูด"/"การเขียน" โดยเฉพาะ, กล่าวคือ "การพูด"มักได้รับการมองว่ามีความสำคัญยิ่งกว่า"การเขียน". อันนี้อาจจะไม่ชัดเจนในตัวเอง เหมือนกับตัวอย่างเรื่องของ"ความดี"กับ"ความชั่ว", แต่มันเป็นจริงในเทอมต่างๆของทฤษฎีทางด้านภาษาสตร์, ที่ซึ่ง"การพูด"ได้รับการวางตำแหน่งในฐานะที่เป็นสิ่งแรกหรือรูปแบบขั้นปฐมของภาษา, และการเขียนเป็นเพียงการคัดลอกหรือสำเนาการพูดออกมาเท่านั้น. Derrida กล่าวว่า "การพูด"(speech)ได้รับเอกสิทธิ์นี้เพราะ การพูดได้ถูกทำให้เชื่อมโยงกับการมีอยู่(presence) - สำหรับอันนั้น ถูกพูดภาษา, บางคนซึ่งอยู่ที่นั่นกำลังพูด.

ไม่เลย, เขาไม่ได้พิจารณาเรื่องนี้โดยรวมไปถึงเครื่องบันทึกเทปและสิ่งต่างๆอะไรทำนองนั้น. โปรดจำไว้ว่า, จำนวนมากของสิ่งที่ผู้คนกำลังพูดถึง มีรากต่างๆอยู่ในขนบประเพณีทางปรัชญา และภาษาศาสตร์ ซึ่งมีมาก่อนเทคโนโลยีสมัยใหม่ - ดังนั้น Derrida จึงขานรับต่อลักษณะตรงข้ามอันหนึ่ง ("การพูด"/"การเขียน") ที่ Plato เริ่มขึ้นมา, นานมาก ก่อนที่จะมีเทปบันทึกเสียง. คล้ายดั่งกับ Levi-Strauss พูดถึงเครื่องคอมพิวเตอร์โบราณประสิทธิภาพต่ำ เกี่ยวกับว่าจะทำอย่างรไร, เพื่อที่จะ วางแผนภูมิมิติต่างๆทั้งหมดของปกรณัมเรื่องหนึ่ง, เขาจะต้องมี"การ์ดเจาะรูและเครื่อง IBM เครื่องหนึ่ง", เมื่อทั้งหมดที่เขาต้องการนั้น ตอนนี้ก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ขนาดกระทัดรัดตามบ้านเครื่องหนึ่งเท่านั้น.

อย่างไรก็ตาม ไอเดียคือว่า, คำที่ถูกพูดออกมา เป็นการรับรองถึงการมีอยู่ของคนบางคนที่กำลังพูด - ดังนั้น มันจึงไปเสริมพลังสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด เกี่ยวกับไอเดียมนุษยนิยม, กล่าวคือ มีตัวตนที่แท้จริงคนหนึ่งซึ่งเป็นต้นกำเนิดสิ่งที่กำลังถูกพูดออกมา. Derrida เรียกไอเดียเกี่ยวกับตัวตนอันนี้ ซึ่งอยู่ที่นั่นเพื่อพูด - ส่วนที่เกี่ยวกับเมตาฟิสิกส์ของการมีอยู่(metaphysics of PRESENCE); ไอเดียเกี่ยวกับการดำรงอยู่(the idea of being), หรือ การมีอยู่(presence), เป็นแกนกลางของระบบปรัชญาตะวันตกทั้งหมด, นับตั้งแต่ Plato จนกระทั่งถึง Descarts (และขึ้นมาจนถึงตัวของ Derrida เอง). - การมีอยู่(presence)เป็นส่วนหนึ่งของคู่ตรงข้าม "การมีอยู่"/"การไม่มีอยู่"(presence/absence), ซึ่ง"การมีอยู่"มักจะเป็นที่นิยมชมชอบเหนือกว่า"การไม่มีอยู่". "คำพูด" หรือ speech ได้ไปสัมพันธ์เชื่อมโยงกับ"การมีอยู่"(presence), และทั้ง"คำพูด"และ"การมีอยู่"เป็นที่ชื่นชอบเหนือกว่า"การเขียน"และ"การไม่มีอยู่"; อภิสิทธิ์ของ"คำพูด"และ"การมีอยู่" คือสิ่งที่ Derrida เรียกว่า LOGOCENTRISM (ศูนย์กลางอยู่ที่คำพูด)(แปลตามรูปศัพท์ คำนี้หมายถึง คำพูด และภาษา ได้รับการพิจารณาว่าเป็นพื้นฐานการแสดงออกเกี่ยวกับความจริงภายนอก - Logocentrism = regarding words and language as a fundamental expression of an external reality).

ในที่นี้ เราอาจย้อนกลับไปนึกถึงวลีหนึ่งในพระคัมภีร์ไบเบิล "ขอให้มีแสงสว่าง" เป็นตัวอย่าง. พระวัจนะดังกล่าว เป็นการยืนยันว่า มีพระผู้เป็นเจ้า (สิ่งซึ่งได้เอื้อนเอ่ยวลีข้างต้นนี้ออกมา), และพระผู้เป็นเจ้านั้นเป็น"การมีอยู่"(presence) (เพราะฉะนั้น คำพูด=การมีอยู่)[speech=presence]; การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าคือต้นตอของสรรพสิ่ง (เพราะ พระองค์ทรงเป็นผู้สร้างสรรค์โลกขึ้นมาโดยพระวัจนะ), และสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างสรรค์เป็นคู่ตรงข้าม(เริ่มต้นด้วย "สว่าง"/"มืด"). เราอาจยังคิดไปถึงคู่ตรงข้ามอื่นๆด้วย รวมทั้ง "การมีอยู่"/"ความว่างเปล่า"(being/nothingness), "เหตุผล"/"ความบ้า"(reason/madness), "คำพูด"/"ความเงียบ"(word/silence), "วัฒนธรรม"/"ธรรมชาติ"(culture/nature), "จิตใจ"/"ร่างกาย"(mind/body). แต่ละเทอมมีความหมายได้ก็ด้วยการอ้างอิงกับสิ่งอื่น(ความสว่างคือสิ่งที่ไม่มืด, และในทางกลับกัน), เทียบกับทัศนะของ Saussure, "ตัวบ่งชี้ต่างๆ"(signifier)จะมีความหมายขึ้นมาได้ - หรือคุณค่าเชิงลบ - ในความสัมพันธ์กับ"ตัวบ่งชี้อื่นๆ". ลักษณะที่เป็นคู่ๆเหล่านี้คือ"โครงสร้าง", หรือ พื้นฐานไอเดียเกี่ยวกับสิ่งตรงข้าม, ซึ่ง Derrida ได้ถูกนำเข้าไปผูกกับ ในปรัชญาตะวันตก).

เนื่องจากการสนับสนุนหรือการยืนอยู่ข้าง "การมีอยู่"มากกว่า"การไม่มีอยู่", การชมชอบต่อ"การพูด"มากกว่า""การเขียน" [และ ดังที่เราได้เห็นว่า Freud นั้น ชมชอบ "เพศชาย"(masculine)เหนือกว่า"เพศหญิง"(feminine) เพราะ องคชาติ(penis)ถูกนิยามว่าเป็น"การมีอยู่", ในขณะที่"อวัยวะเพศหญิง"(female genitals)ได้รับการนิยามว่าเป็น"การไม่มีอยู่"].

มันเป็นเพราะการยกย่องเชิดชูให้"การมีอยู่"เหนือกว่า"การไม่มีอยู่" ซึ่งทุกระบบได้วางตำแหน่งมันเอาไว้เป็นศูนย์กลาง(ในที่นี้ ข้าพเจ้ากำลังอ้างถึงระบบปรัชญาต่างๆ, แต่ไอเดียอันนี้มันสนับสนุนการบ่งชี้ถึงระบบต่างๆด้วย), มันเป็นศูนย์กลางที่ระบบทั้งหมดเข้าหา, และรับรองความหมายของมัน - ศูนย์กลางนี้รับรอง"การดำรงอยู่"เช่นเดียวกับ"การมีอยู่".

ลองมาคิดถึงว่า ตัวของคุณเองทั้งหมดเป็นระบบชนิดหนึ่ง - ทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณทำ, คิด และรู้สึก ฯลฯ เป็นส่วนหนึ่งของระบบอันนั้น. ณ แกนกลางหรือศูนย์กลางดังกล่าวเกี่ยวกับชีวิตทางกายและชีวิตทางใจของคุณ เป็นความนึกคิดเกี่ยวกับ"ตัวตน"(self), เกี่ยวกับ"ฉัน", เกี่ยวกับอัตลักษณ์ซึ่งเสถียรหรือคงที่ และถูกทำให้เป็นหนึ่งและเชื่อมโยงเกาะเกี่ยวกัน.

ในส่วนของคุณ คุณรู้ว่า "ใคร"ที่คุณหมายถึง เมื่อคุณกล่าวว่า"ฉัน". ดังนั้น แกนที่เกี่ยวกับ"ตัวตน"อันนี้, หรือ"ฉัน", ก็คือ"ศูนย์กลาง"ของระบบ(CENTER of the system), "โครงสร้าง"(langue)[เป็นศัพท์ทางภาษาศาสตร์]ของ"การดำรงอยู่ของคุณ", และส่วนอื่นๆทั้งหมดของคุณ(การกระทำแต่ละปัจเจก)เป็นส่วนหนึ่งของ"การพูด"(parole)[ศัพท์ทางภาษาศาสตร์]. "ฉัน"เป็นต้นตอของทุกสิ่งที่คุณพูดและทำ, และมันรับรองไอเดียเกี่ยวกับ"การมีอยู่ของคุณ", "การดำรงอยู่ของคุณ".

ความคิดแบบตะวันตกมีกลุ่มก้อนทั้งหมดอันหนึ่งของเทอมต่างๆ ที่มารับใช้ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางทั้งหลายของระบบต่างๆ - การดำรงอยู่, เนื้อแท้, แก่นแท้, ความจริง, แบบ, ความสำนึก, มนุษย์ พระเจ้า ฯลฯ (being, essence, substance, truth, form, consciousness, man, god, etc.). สิ่งที่ Derrida บอกแก่เราก็คือ เทอมหรือศัพท์ต่างๆเหล่านี้ในแต่ละอันนั้นได้ระบุถึงศูนย์กลางของระบบหนึ่งที่มารับใช้วัตุประสงค์ 2 ประการ:

วัตถุประสงค์ประการแรก, มันคือสิ่งที่สร้างสรรค์ระบบขึ้นมา, ที่ได้ให้กำเนิดมัน และรับรองว่า ส่วนต่างๆทั้งหมดของระบบมีความสัมพันธ์ต่อกัน. และ
วัตถุประสงค์ในประการที่สอง, มันเป็นอะไรบางอย่างที่ไปพ้นจากระบบ, ไม่ได้ถูกควบคุมโดยกฎเกณฑ์ต่างๆของระบบ. อันนี้คือสิ่งที่เขาพูดถึงในฐานะที่เป็น"การนินทาว่าร้าย"(scandal) ถูกค้นพบโดย Levi-Strauss ในความคิดต่างๆของ Levi-Strauss เกี่ยวกับระบบเครือญาติต่างๆ.

สิ่งที่ Derrida ทำก็คือ การมองไปที่"คู่ตรงข้าม"อันหนึ่ง มีบทบาทหน้าที่อย่างไรในระบบหนึ่งๆ (คู่ตรงข้ามนี้ เป็นหน่วยพื้นฐานของโครงสร้างหรือระบบ ที่เรากำลังจ้องมอง, และเกี่ยวกับระบบปรัชญาที่เขาอ้างถึง). เขาชี้ว่า คู่ตรงข้ามกันนั้นมีลักษณะที่เขียนออกมาได้คล้ายๆกับพืชคณิตดังนี้ (a=~b, a equals not-b) (คือ a = ~b, a ไม่ได้เท่ากัน b), และเทอมสองเทอมนี้ ไม่อาจดำรงอยู่ได้โดยไม่อ้างอิงกันและกัน - แสงสว่าง(เท่ากับ"การมีอยู่")ถูกนิยามถึง"การไม่มีอยู่"ของ"ความมืด", "ความดี"คือ"การไม่มีอยู่"ของ"ความชั่ว" เป็นต้น (light (as presence) is defined as the absence of darkness, goodness the absence of evil, etc.) เขาไม่ได้แสวงหาวิธีที่จะสวนกลับ"ลำดับชั้นสูงต่ำต่างๆ"ที่มีนัยะในคู่ตรงข้าม - เพื่อทำให้"ความชั่ว"อยู่เหนือ"ความดี", "ความไร้สำนึก"เหนือกว่า"ความสำนึก", "เพศหญิง"เหนือกว่า"เพศชาย". ตรงกันข้าม, ทฤษฎีรื้อโครงสร้าง"(deconstruction)ต้องการที่จะลบขอบเขตหรือพรมแดนต่างๆระหว่างความตรงกันข้ามต่างๆ, ในที่นี้เพื่อแสดงให้เห็นว่า คุณค่าต่างๆและระเบียบถูกทำให้มันัยยะโดยที่ความตรงกันข้ามนั้นไม่ได้ตายตัวด้วย.

ในที่นี้ วิธีการพื้นฐานของ"การรื้อโครงสร้าง"(deconstruction): ก็คือ ค้นหาคู่ตรงข้ามกันคู่หนึ่ง. เพื่อแสดงให้เห็นว่าเทอมหรือคำศัพท์แต่ละตัวเป็นส่วนหนึ่งของมัน, มากกว่าที่จะเป็นขั้วตรงข้ามของมัน. "โครงสร้าง"หรือ"ความตรงข้าม"รักษามันเอาไว้ไม่ให้ล้มคว่ำหรือพังทลายลง, ดังที่เราเห็นกับคำตรงข้ามอย่าง ธรรมชาติกับวัฒนธรรมในความเรียงของ Derrida. ในท้ายที่สุด, คุณไม่สามารถบอกได้ว่าอันไหนเป็นอันไหน, และไอเดียเกี่ยวกับคู่ตรงข้ามได้สูญเสียความหมายไป, หรือถูกแปลไปสู่"การเล่น". [คุณรื้อโครงสร้างระบบเก่าโดยการแสดงให้เห็นถึงหน่วยพื้นฐานของมันของลักษณะที่เป็นโครงสร้างว่าเป็นอย่างไร(คู่ๆหนึ่ง และกฎเกณฑ์ต่างๆสำหรับการรวมตัวของพวกมัน)ที่ขัดแย้งกับตรรกะของตัวมันเอง].

เรียบเรียงจากงานเขียนของ Mary Klages / Colorado
September 17, 1997 ----------------------------

 

 

Post Structuralism หลังโครงสร้างนิยม
ในกลางศตวรรษที่ 20 มีทฤษฎีต่างๆทางโครงสร้างจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของมนุษย์. ในการศึกษาทางด้านภาษา, ภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างของ Ferdinand de Saussure (1857-1913) เสนอว่า ความหมายได้ถูกค้นพบอยู่ในโครงสร้างของภาษาทั้งหมด มากกว่าจะมาจากการวิเคราะห์เกี่ยวกับคำแต่ละคำ. สำหรับชาวมาร์กซิสท์ทั้งหลาย, ความจริงเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ สามารถทำความเข้าใจได้โดยการวิเคราะห์เกี่ยวกับโครงสร้างต่างๆทางเศรษฐกิจ. นักจิตวิเคราะห์ทั้งหลายพยายามอธิบายโครงสร้างของจิตในเทอมต่างๆของจิตไร้สำนึก.

ในช่วงทศวรรษที่ 1960, ขบวนการของนัก"โครงสร้างนิยม", ซึ่งมีรากฐานอยู่ในฝรั่งเศส พยายามที่จะสังเคราะห์ไอเดียหรือความคิดต่างๆของ Marx, Freud และ Saussure เข้าด้วยกัน. พวกเขาไม่เห็นด้วยกับการที่นักอัตถิภาวนิยม(existentialists)อ้างว่า คนแต่ละคน เป็นผู้ที่สร้างตัวเขาเองขึ้นมา(each man is what he makes himself). สำหรับนักโครงสร้างนิยม คนแต่ละคนได้ถูกปรับแต่งรูปร่างขึ้นมาโดยโครงสร้างทางสังคมวิทยา, จิตวิทยา, และภาษาศาสตร์ ที่อยู่เหนือขึ้นไปซึ่ง เขา/เธอ ไม่อาจควบคุมได้, แต่สามารถที่จะได้รับการเปิดเผยออกมาได้โดยการใช้วิธีการต่างๆของพวกเขาในการสืบสวนได้.

แรกเริ่มเดิมที่ เขาได้รับการปิดป้ายให้เป็นนัก"โครงสร้างนิยม"คนหนึ่ง, นักปรัชญาและนักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Michel Foucault ได้ถูกมองในฐานะที่เป็นตัวแทนคนสำคัญที่สุดของขบวนการ"หลังโครงสร้างนิยม"(poststructuralist). เขาเห็นด้วยว่า ภาษาและสังคม ได้รับการปรับแต่งโดยกฎเกณฑ์ที่มควบคุมระบบต่างๆ. แต่เขาไม่เห็นด้วยกบนัก"โครงสร้างนิยม"ทั้งหลายใน 2 ประเด็นด้วยกันคือ.

ประเด็นแรกแรก, เขาไม่คิดว่า มันมีโครงสร้างที่อยู่ข้างใต้ที่แน่นอนชัดเจน ซึ่งสามารถอธิบายถึงเงื่อนไขของมนุษย์ได้, และ ประเด็นที่สอง, เขาคิดว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่จะขยับหรือก้าวออกไปจาก"วาทกรรม"(discourse) และสำรวจสถานการณ์นั้นอย่างเป็นวัตถุวิสัยอันบริสุทธิ์.

ในส่วนของ Jacques Derrida (1930- )นั้น ได้พัฒนาทฤษฎี"การรื้อโครงสร้าง"(deconstruction)ขึ้นมา ในฐานะที่เป็นเทคนิคหนึ่ง สำหรับเปิดเผยการตีความอันหลากหลายเกี่ยวกับข้อความหรือตำรับตำราต่างๆ. โดยได้รับอิทธิพลมาจาก Heidegger และ Nietzsche, Derrida เสนอว่า ข้อความทั้งหมดมีความกำกวมคลุมเครือ และด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะตีความได้อย่างสมบูรณ์หรือเด็ดขาด.

 

 

Post-modernism หลังสมัยใหม่
แนวคิด"หลังโครงสร้างนิยม"(poststructuralism) และแนวคิด"การรื้อโครงสร้าง"(deconstruction) สามารถได้รับการมองว่าเป็นหลักการต่างๆของเงื่อนไข"หลังสมัยใหม่"(post-modern). ความเป็นสมัยใหม่ หรือ modernity ซึ่งเริ่มต้นเรื่องของสติปัญญามาจาก"ยุคสว่าง"(Enlightenment), พยายามอธิบายโลกในเชิงของเหตุผล, โลกในเชิงประจักษ์(empirical term)และโลกของวัตถุวิสัย. มันสันนิษฐานว่า มีความจริงอันหนึ่งที่ได้รับการเปิดเผยออกมา, และหนทางที่จะได้มาซึ่งคำตอบต่างๆต่อคำถาม ได้รับการวางหรือกำหนดขึ้นมาโดยเงื่อนไขของมนุษย์.

"ลัทธิหลังสมัยใหม่"(postmodernism)ไม่ได้แสดงความเชื่อมั่นในเรื่องที่ว่า, "อดีตคือความแน่นอนที่อยู่ข้างใต้ ซึ่งเหตุผลได้ให้ความมั่นใจ". เหตุผลในตัวของมันเอง มาถึงตอนนนี้ ได้รับการมองในฐานะที่เป็นรูปแบบหนึ่งทางประวัติศาสตร์โดยเฉพาะ, มีลักษณะที่คับแคบในวิธีการของตัวมันเอง เท่ากันกับคำอธิบายต่างๆที่มีมาแต่โบราณเกี่ยวกับจักรวาลในเทอมต่างๆของพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย.

เรื่องราวของ postmodern ไม่มีวิธีการทางเหตุผลที่จะประเมินความชื่นชอบอันหนึ่งในความสัมพันธ์เพื่อการตัดสินเกี่ยวกับความจริง, ความมีศีลธรรม, ประสบการณ์ทางสุนทรีย์ หรือ ความเป็นวัตถุวิสัย. ขณะที่ลำดับขั้นสูงต่ำทางความคิดได้รับการฉีกทึ้งทำลาย, ความคิดใหม่ที่ขัดเจนได้รับการก่อตัวขึ้นมาบนพรมแดนของความเข้าใจ: ลักษณะผสมผสานของความคิดจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบหรือธรรมชาติไป, ผสมพันธุ์กันระหว่างพันธุ์ต่างๆและลักษณะที่เจริญงอกงามนี้ แน่นอน มันเป็นอนาคตของการตัดสิน.

Michel Foucault: Genealogy of Knowledge. มิเชล ฟูโก : ลำดับวงศ์ตระกูลวิทยาของความรู้

ฟูโกพยายามที่จะวิเคราะห์ the 'discursive practices' หรือ "ปฏิบัติการทางวาทกรรม" (คำว่า discursive ในทางปรัชญาหมายถึง "กระบวนการถกเถียงหรือการใช้เหตุผล ซึ่งตรงข้ามกับ "สหัชญาน"[intuitive]") ที่อ้างสิทธิ์การเป็นเจ้าของการเปิดเผยความรู้. มากกว่าที่จะวิเคราะห์ถึง discursive practices ในเทอมต่างๆเกี่ยวกับความจริงของมัน, เขาได้วิเคราะห์สิ่งเหล่านี้ในเทอมต่างๆเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของมัน หรือ ต้นตอกำเนิด. เขาอ้างว่า เขากำลังพยายามที่กระทำสิ่งที่เรียกว่า"โบราณคดีของความรู้"('archaeology' of knowledge), เพื่อแสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ของ"ความจริง"(truth)ที่อ้าง.

ในงานช่วงหลังๆ,เขาได้หยิบยืมวิธีการที่เรียกว่า 'genealogical' approach หรือ วิธีลำดับวงศ์ตระกูล ของ Nietzsche และวิธีการ analyses of ideology หรือ การวิเคราะห์เกี่ยวกับอุดมกาณ์ ของ Marx มาใช้. ฟูโกค้นคว้าเรื่องนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่า "พัฒนาการเกี่ยวกับความรู้ ได้ถูกโอบรัดด้วยกลไกต่างๆของอำนาจอย่างไร(หมายถึงอำนาจในทางการเมือง)". ไม่เหมือนกับมาร์กซ์, ฟูโกไม่ได้มีความเชื่ออยู่ข้างใต้ ในความจริงที่อยู่ข้างใต้ในระดับลึก หรือโครงสร้าง: ทั้งนี้เพราะ มันไม่มีทัศนะเชิงวัตถุวิสัย ซึ่งใครคนหนึ่งสามารถวิเคราะห์วาทกรรมหรือสังคมได้.

ฟูโกได้โฟกัสลงไปบนหนทางที่ "ความรู้" และ"การเพิ่มขึ้นมาเกี่ยวกับอำนาจของรัฐ"ที่มีอยู่เหนือ"ปัจเจกชน" ซึ่งได้พัฒนาขึ้นมาในยุคโมเดิร์นมานี้เอง. ในงาน History of Sexuality (ประวัตศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องเพศ) เขาได้อภิปรายถึงการถือกำเนิดขึ้นมาของวิทยาศาสตร์การแพทย์และจิตเวชศาสตร์ ที่ได้สร้างวาทกรรมอันหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศขึ้นมาในแนวลึก, โดยพูดถึงเรื่องของสัญชาตญาน และความลึกลับ.

วาทกรรมดังกล่าว กลายเป็นที่ยอมรับ ในฐานะที่เป็นคำอธิบายที่มีอิทธิพล, และ สมมุติฐานของมันเริ่มที่จะซึมแผ่เข้าไปในวาทกรรมของชีวิตประจำวัน. ในหนทางนี้ ประสบการณ์ของมนุษย์เกี่ยวกับเรื่องเพศของพวกเขาจึงได้ถูกปรับแต่งรูปร่าง และควบคุมโดยวาทกรรมดังกล่าว ซึ่ง(ก่อนหน้านี้)อ้างว่าเพื่ออธิบายมัน. การค้นหาความรู้ มันจึงไม่ใช่การเปิดเผยถึงเรื่องราวที่มีอยู่ก่อนธรรมดาๆ; แต่ที่จริงแล้ว ในเชิงปฏิบัติ มันปรับแต่งรูปร่างๆและสร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้ขึ้นมา.

ฟูโกไม่ได้ให้หรือเสนอทฤษฎีที่เป็นการรวบรวมขึ้นมาใดๆเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์. เขาเพียงวิพากษ์เกี่ยวกับอภิทฤษฎี(meta-theory - อยู่เหนือทฤษฎี): ซึ่งเชื่อกันว่า ได้อ้างถึงการให้คำอธิบายที่เป็นวัตถุวิสัยเกี่ยวกับความจริง. สำหรับฟูโก มันไม่มีคำตอบสุดท้าย หรือที่เรียกว่า ultimate answer ที่รอคอยการค้นพบหรือเปิดเผยยออกมาแต่อย่างใด. ปฏิบัติการทางวาทกรรมเกี่ยวกับความรู้(The 'discursive practices' of knowledge)นั้น ไม่ได้เป็นอิสระจากวัตถุหรือเรื่องราวต่างๆที่ถูกศึกษา, และจะต้องถูกทำความเข้าใจในบริบททางสังคมและการเมืองของมัน.

Jacques Derrida: Deconstruction (การรื้อโครงสร้าง)


สำหรับ Derrida ภาษาหรือ"ข้อความต่าง"(texts)ไม่ใช่ตัวสะท้อนธรรมชาติอันหนึ่งของโลก. ข้อความหรือตำรับตำราได้สร้างการตีความของเราเกี่ยวกับโลกขึ้นมา. ดำเนินรอยตาม Heidegger, Derrida คิดว่าภาษาได้เป็นตัวปรับแต่งรูปร่างของเรา: ข้อความต่างๆได้สร้างความชัดเจนอันหนึ่งว่าเราเข้าใจมันว่าเป็นจริง.

Derrida มองว่า ประวัติศาสตร์ความคิดตะวันตกมีพื้นฐานอยู่บนความตรงข้ามกัน(oposition): เช่น ความดีตรงข้ามกับความชั่ว, จิตตรงข้ามกับวัตถุ, ผู้ชายตรงข้ามกับผู้หญิง, การพูดตรงข้ามกับการเขียน. ความตรงข้ามกันเหล่านี้ได้ถูกนิยามในลักษณะสูงต่ำ: ความตรงข้ามกันตัวที่สอง (เช่น ความดีตรงข้ามกับความชั่ว, ความชั่วเป็นตัวที่สอง) ถูกมองว่าเป็นความชั่วความผิด ด้อยกว่าตัวที่หนึ่ง, เทอมหรือคำศัพท์ต่างๆเหล่านี้มันมีนำหนักความตรงข้ามที่ไม่เท่าเทียมกัน.

Derrida คิดว่า ข้อความต่างๆทั้งหมดได้บรรจุเอามรดกตกทอดของข้อมสมมุติฐานเหล่านี้เอาไว้, และจากผลของอันนี้, ข้อความหรือตำราเหล่านี้สามารถที่จะได้รับการตีความด้วยสำนึกรู้เกี่ยวกับลำดับชั้นสูงต่ำที่มีนัยะอยู่ในภาษา. Derrida ไม่ได้คิดว่าเราสามารถจะไปถึงจุดจบหรือความสมบูรณ์ของการตีความได้, กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ"ความจริง"(เราไม่อาจไปถึงความจริงสมบูรณ์ได้).

สำหรับ Derrida ข้อความทั้งหมดแสดงหรือเสนอ"ความแตกต่าง": นั่นคือ ยอมให้มีการตีความอย่างหลากหลายได้นั่นเอง. ความหมายเป็นเรื่องของการแผ่ซ่านไปทั่ว, ไม่ได้ถูกทำให้มั่นคงอยู่กับที่. ลักษณะของข้อความมักจะให้อะไรเกินเลยไปอันหนึ่งของความเป็นไปได้ต่างๆเสมอ, กระนั้นก็ตาม ในความพยายามที่จะค้นหาความเป็นวัตถุวิสัย เราไม่สามารถยืนอยู่ภายนอกลักษณะข้อความได้.

ผลที่ตามมาอันหนึ่งของ"การรื้อโครงสร้าง"(deconstruction)ก็คือ ความแน่นอนในการวิเคราะห์ข้อความจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้. มันอาจจะมีการช่วงชิงการตีความ แต่ไม่มีหนทางที่ไม่ถูกตีความ ไม่มีใครคนหนึ่งสามารถกำหนดความมีเหตุผลสมบูรณ์ของการช่วงชิงการตีความเหล่านี้ได้. มากกว่าที่จะวางพื้นฐานความเข้าใจเชิงปรัชญาของเราบนความจริงต่างๆที่ไม่อาจปฏิเสธได้, นัก"รื้อโครงสร้าง"ทั้งหลายได้เปลี่ยนฐานหินที่อยู่ยงคงที่ของลัทธิเหตุผลนิยม ไปสู่เนินทรายของความแปรเปลี่ยนของความหลายหลายในการตีความ.

The Kantian Background - Review ทบทวน - เบื้องหลังของแนวคิดแบบ ค้านท์เที่ยน
1. อะไรที่มาทำหน้าที่นิยามหรือกำหนด"แบบของประสบการณ์ของมนุษย์"(form of human experience) ?
ก. พื้นที่และเวลา (space and time) (แบบที่มีอยู่ก่อนอันหนึ่งของสหัชญาน - a priori forms of intuition)
ข. การจัดหมวดหมู่ต่างๆ (categories) (แนวความคิดต่างๆเกี่ยวกับความเข้าใจ)
2. สำหรับ"ค้านท์", แนวความคิดหรือมโนคติเหล่านี้ถูกทำให้ตายตัว และเป็นสากล, ยกตัวอย่างเช่น ไม่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์
3. ปัญหาต่างๆ: การจัดหมวดหมู่ของค้านท์ ดูเหมือนจะไร้เหตุผล(เป็นไปตามอำเภอใจ) และความเป็นสากลของพวกมันเป็นเพียงข้อสมมุติฐาน, ไม่ได้รับการพิสูจน์
4. ในโลก"หลังแนวคิดแบบดาร์วินเดี่ยน(post-Darwinian world) ดูเหมือนเป็นไปได้มากว่า แนวความคิดเหล่านั้นและการจัดหมวดหมู่เกี่ยวกับประสบการณ์ของมนุษย์ เป็นเรื่องเชิงประวัติศาสตร์, ยกตัวอย่างเช่น เรื่องราวเปลี่ยน - ความไม่แน่นอน(contingent)
5. ในการขานรับต่อความเปลี่ยนแปลงไปอันนี้ที่มีการเน้นถึง, ปรากฎการณ์วิทยาแบบ Husserlian จึงเรียกร้องให้เรามองและดูถึงสถานภาพของการจัดหมวดหมู่ต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นอิสระจากสมมุติฐานก่อนหน้าต่างๆในทางทฤษฎี.
6. บรรดานักสังคมศาสตร์, ผู้ซึ่งใช้วิธีการอันนี้ในเชิงประจักษ์ โดยผ่านการสังเกตุการณ์และการทำนาย, เสนอว่า มันอาจมีการแปรผันที่มีนัยสำคัญต่างๆในกรอบเค้าโครงแนวคิดในเชิงวัฒนธรรม และเชิงประวัติศาสตร์. หากว่าพยานหลักฐานไม่มีลักษณะเป็นข้อสรุปอย่างแท้จริง. ดังนั้น จากจุดยืนทางวิทยาศาสตร์, ประเด็นปัญหาดังกล่าวก็ยังคงเปิดอยู่.


 

กลับไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

Post Structuralism
หลังโครงสร้างนิยม
Post-modernism
หลังสมัยใหม่