มหาตมะ คานธี
และคริสตศตวรรษที่ 21
(ตอนที่ 1)
ประกอบด้วยเนื้อหาหลักๆดังนี้
1. The Gandhian Framework for
Social Change (เค้าโครงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แบบคานเธี่ยน)
2. A Gandhian Ideal of Non-violence (หลักอหิงสาแบบคานเธี่ยน การไม่ใช้ความรุนแรง)
3. A Need for a Holistic View of Elements of Meaning, Value and Justice (ความต้องการทัศนะแบบองค์รวม
ในรากฐานความหมาย คุณค่าและความยุติธรรม)
4. A Revision of The Western Work Ethic (การปรับปรุงเกี่ยวกับ"จริยธรรมการทำงาน"
ของตะวันตก
มหาตมะ คานธี เข้าใจว่า
โครงการขนาดใหญ่ทั้งหลายนั้น ปกติแล้ว มันจะไม่แก้ปัญหาใดๆได้อย่างถาวร. ท่านตระหนักว่า
มนุษย์หรือสังคมที่สมบูรณ์, เพียงแค่ในช่วงระยะเวลาเพียงสั้นๆ, เป็นไปไม่ได้ที่จะบรรลุถึงสิ่งเหล่านั้นได้.
ปัญหาบางประการมักจะถูกทอดทิ้ง และในไม่ช้าผู้คนก็ได้ค้นพบว่า"การแก้ปัญหาที่ถาวร"หรือ"ทางออกของปัญหา
ในที่สุด"เป็นเพียงเรื่องชั่วคราว ซึ่งบางครั้งมันกลับสร้างปัญหามากขึ้นยิ่งกว่าที่จะมาแก้ปัญหา".
คนเล็กคนน้อยทั้งหมด ผู้ซึ่งเดินบนถนนฝุ่นและเส้นทางอันทุระกันดารต่างๆของอินเดีย
จริงๆแล้ว ต้องการให้ผู้คนทั้งหลายของประชาชาติอินเดีย สามารถที่จะต่อสู้ดิ้นรนได้ต่อไปเพื่อประสานกลมกลืนกับพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้น
หรือมโนคติของพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าสูงสุด และคนเล็กคนน้อยเหล่านี้ได้ช่วยให้คนอื่นๆให้ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย
มีอิสระจากการกดขี่เท่าที่จะเป็นไปได้.
ขณะที่ปรัชญาของคานธี เป็นหนึ่งในการเผชิญหน้า, มันเป็นปรัชญาของการเผชิญหน้าที่วางอยู่บนพื้นฐานของความรัก. ในความหมายนี้ จึงเป็นปรัชญาเชิงศีลธรรมอันบริสุทธิ์, ซึ่งบางทีมันบริสุทธิ์เกินไปสำหรับผู้คนมากมายที่จะยอมรับมันได้อย่างเต็มที่, แม้ว่า หากใครคนหนึ่งได้มองเข้าไปในหัวใจของตัวเอง เป็นไปได้ว่าเขาหรือเธออาจจะค้นพบว่า ปรัชญาของคานธีครองความจริงที่ถูกต้องในแง่มุมต่างๆส่วนใหญ่ในหัวใจของพวกเขา.
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คนต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับโลกใบหนึ่ง ที่ซึ่งสถานการณ์ต่างๆ, การแข่งขันชิงดีชิงเด่นและความรุนแรง บ่อยครั้งมาบีบบังคับพวกเขาให้ต้องละไปจากแนวทางของความดีของศีลธรรม, และพวกเขาจะต้องโต้ตอบกับการปรากฎตัวเหล่านี้เกี่ยวกับโลกของพวกเขา, หลายครั้ง ในหนทางทางหรือวิธีการที่เหมาะสม ฉุกเฉิน ซึ่งมิได้สอดคล้องกับความรู้สึกภายในเกี่ยวกับความดีของพวกเขาเลย.
เนื่องจากความเป็นจริงเหล่านี้ ผู้ตนส่วนใหญ่ได้ค้นพบตัวของพวกเขาเองกำลังต่อสู้ดิ้นรนอย่างต่อเนื่อง ในอันที่จะหวนกลับไปสู่หนทางแห่งจิตวิญญานทางจิตวิญญานที่มีความเข้าใจภายในหัวใจของพวกเขา. คานธีเชื่ออย่างจริงใจว่า ผู้คนพยายามดำเนินรอยตามความรู้สึกภายในที่เป็นเรื่องของคุณความดีของพวกเขา ที่มันได้หายไปเป็นครั้งคราว, มอบให้กับความชั่วในบางโอกาส, แต่ปกติแล้ว จะดิ้นรนต่อสู่เพื่อคืนกลับไปสู่หนทางแห่งความดีและความจริง. ในความคิดของท่านมหาตมะ คานธี, การต่อสู้เพื่อกระทำสิ่งนี้, ไม่ใช่ผลลัพธ์, แต่มันเป็นสิ่งที่มีนัยสำคัญและความหมายสูงสุด.
1.
The Gandhian Framework for Social Change
เค้าโครงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมแบบคานเธี่ยน
ปรากฎว่า เค้าโครงทางความคิดของปรัชญาแบบคานเธี่ยนและ"สัตยเคราะห์" หรือ
นโยบายการต่อต้านอังกฤษแบบไม่โต้ตอบ (passive resistance - การต่อต้านแบบศักตะ
คือ เป็นฝ่ายยอมเป็นผู้ถูกระทำ) ด้วยวิธีการที่รุนแรง, ในที่นี้มันยืนหยัดเอยู่ในฐานะที่เป็นฐานรากของการปฏิวัติต่างๆในอนาคต.
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20, ในสหรัฐอเมริกา, ยุโรป, แอฟริกาใต้, และจีน, แบบจำลองการต่อสู้ในลักษณะของคานเธี่ยนได้ถูกนำมาใช้
บางครั้งก็ประสบความสำเร็จ, บางครั้งก็ไม่ประสบความสำเร็จในทันที, แต่มันยังคงเป็นอุดมการณ์และอุดมคติสำหรับการต่อต้านการกดขี่ทั่วทั้งโลก.
Saloj Malik ให้ข้อสังเกตุว่า, คานธีไม่ใช่ผู้ที่สร้างระบบอันหนึ่งขึ้นมา แต่ท่านมีแบบแผนอันสมบูรณ์ของแนวคิดต่างๆ บนพื้นฐานซึ่ง แบบจำลองที่เข้ากันอันหนึ่งเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สามารถถูกสร้างขึ้นมาได้. เมื่อใครคนใดคนหนึ่งยอมรับเค้าโครงความคิดแบบคานเธี่ยน ในไม่ช้าก็จะเข้าใจอย่างชัดเจนว่า ปรัชญาแบบคานเธี่ยนสนับสนุนหลักวิภาษวิธีของความตรงข้ามอย่างต่อเนื่อง ระหว่าง ปัจเจกบุคคลทั้งหลายผู้ซึ่งโดยธรรมชาติของพวกเขาแล้ว กำลังแสวงหาอิสรภาพอันยิ่งใหญ่กว่า, ความหมาย, คุณค่า และความยุติธรรม, กับ สถาบันต่างๆ รัฐบาล รวมทั้งบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วกำลังพยายามที่จะมาจำกัดหรือควบคุมสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นในหลายๆระดับ. ไม่ว่ารัฐบาลหรือสถาบันต่างๆจะบรรลุผลอันยิ่งใหญ่นี้หรือไม่ก็ตาม, การอ้างว่าที่ทำไปนั้น เป็นไปเพื่อผลดีทั้งมวล, ปกติแล้ว เป็นข้ออ้างทางศีลธรรมเพื่อการดำรงอยู่ของพวกเขานั่นเอง, แต่ในท้ายที่สุดแล้ว มันเป็นหน้าที่ของคนธรรมดาสามัญที่จะตัดสินว่า ข้ออ้างนั้นมันฟังขึ้นหรือมไม่. คานธีตระหนักในเรื่องนี้เป็นอย่างดี.
แบบจำลองของคานเธี่ยนไม่ได้มีพื้นฐานที่คับแคบ ดังหลักวิภาษวิธีที่มีข้อจำกัด อย่างเช่นที่ คารล์ มาร์กซ ได้พัฒนาขึ้นมา, แต่มันวางอยู่บนพื้นฐานที่กว้างใหญ่ และครอบคลุมเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์ได้อย่างกว้างขวางมาก. หลักวิภาษวิธีแบบคานเธี่ยน "มุ่งหมายเพื่อใช้เป็นหลักของการต่อสู้กันระหว่างปัจเจกชนกับสังคม, อำนาจกับอิสรภาพ, ชนชั้นสูงกับมวลชน, ความร่ำรวยกับความยากจน, ผู้ใช้แรงงานกับนายทุน, และอื่นๆ.
แบบจำลองของคานเธี่ยนมีลักษณะที่เป็นการปฏิวัติตลอดสายทั้งหมด, มันครอบคลุมพื้นฐานการต่อสู้ส่วนใหญ่ที่สัมพันธ์กันกับเรื่องราวของมนุษย์. คานธีธำรงการวิเคราะห์ของท่านเอาไว้บนพื้นฐานของความเป็นจริงในระดับที่กว้างใหญ่ ซึ่งต่างไปจากมาร์กซ ที่เอาใจใส่ในเรื่องต่างๆเพียงไม่กี่ประเด็น และได้สร้างแบบจำลองที่ไม่สมจริงหรือเทียมขึ้นมาจากกิจกรรมของเขาบนบรรทัดฐานที่ไม่กว้างพอ
คานธีไม่ใช่ยูโธเปียน. กระแสที่ไหลเลื่อนอยู่ข้างใต้ปรัชญาของท่าน เผยให้เห็นว่า ท่านเป็นเพียงฝ่ายตรงข้าม. คานธียืนยันเสมอว่า ความจริงใจในการต่อสู้เป็นสิ่งที่สำคัญ และมันทำให้ผู้คนดีขึ้น, ไม่ใช่เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย. ในความคิดแบบคานเธี่ยน, เป้าหมายเป็นเรื่องที่อยู่ห่างไกล และมักจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอในบางระดับ, และเกือบจะเป็นที่แน่นอนว่า มันได้บรรจุหลุมพรางหรือกับดักเอาไว้ ซึ่งทำให้ทางออกสุดท้ายของปัญหาหนึ่งไม่อาจไปถึงได้. อันนี้ค่อนข้างที่จะเป็นจริงและไม่ใช่ยูโธเปียน และคนทุกคนสามารถเป็นได้.
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้มองได้ว่า คานธีอาจได้รับการปิดป้ายฉลากในฐานะที่เป็นนักสัมพัทธนิยม หมายถึง ผู้ที่เชื่อว่า ความรู้ ความจริง และศีลธรรม เป็นสิ่งสัมพันธ์กัน. แต่ท่านเป็นนักสัมพัทธนิยมโดยรากฐานการน้อมนำอันทรงพลังสำหรับแนวคิดสัมพัทธนิยมของท่าน. ท่านตระหนักว่า ไม่มีอะไรที่มนุษยสร้างสรรค์ขึ้นมา สามารถที่จะเป็นสิ่งสมบูรณ์สูงสุดหรือจุดสุดท้ายได้ แต่ผู้คนสามารถที่จะ และควรจะค้นหาหนทางแก้ไขที่เหมาะสม มีเหตุผล และใกล้เคียงกับความพึงพอใจ ถ้าหากว่าพวกเขาวางใจในความจริงของพระผู้เป็นเจ้าที่มีความเข้าใจทางจิตวิญญาน ดังที่พวกเขาได้เห็นมันในบางชั่วขณะ.
รากฐานอันยิ่งใหญ่นี้ เป็นอย่างเดียวกันกับสำนึกของผู้คนส่วนใหญ่ตลอดทั่วทั้งโลกที่เข้าใจกันในบางระดับ. ในอุดมคติแบบคานเธี่ยน มีรากฐานว่า ผู้คนควรใช้การตัดสินใจอย่างต่อเนื่อง และในการค้นหาทางออกหรือการแก้ปัญหาเพื่อการต่อสู้ดิ้นรนสำหรับการดำรงอยู่ของมนุษย์อย่างไม่หยุดยั้ง. อันนี้คือทัศนะทางศีลธรรม แต่มันก็เป็นทัศนะที่วางอยู่บนฐานของความจริงด้วย.
ชาวตะวันตกส่วนใหญ่ เข้าใจถึงฐานรากดังที่กล่าวนี้แต่เพียงในฐานะที่เป็นเรื่องของ"สิทธิ" และเป็น"สิทธิซึ่งเกี่ยวกับมนุษย์เพียงเท่านั้น". จากลักษณะที่มากจนเกินไปเมื่อเร็วๆนี้ และมหันตภัยแห่งการทำลายของมนุษย์ในสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมของโลก ได้ล้มล้างทัศนะของตะวันตกในขอบเขตที่กว้างขวางอย่างมีเหตุผลในโลกร่วมสมัย. มันมีเหตุผลที่จะแสดงให้เห็นว่า ทัศนะตะวันออกแบบคานเธี่ยน, ในเชิงอุดมคติ, ที่ซึ่งผู้คนกำลังต่อสู้ดิ้นรนอยู่ พวกเขาไม่เพียงกระทำในสิ่งซึ่งเป็นเรื่องสิทธิของผู้คนเท่านั้น, สิ่งมีชีวิตที่เล็กน้อยกว่าและธรรมชาติมันก็มีสิทธิเท่าๆกันกับมนุษย์เช่นเดียวกัน. อันนี้มันได้ให้ความหวังต่ออนาคตได้มากกว่าทัศนะของชาวตะวันตก ที่ซึ่งผู้คนได้ยกระดับตัวของพวกเขาเองไปสู่ความสำคัญคล้ายดั่งพระผู้เป็นเจ้า และพยายามที่จะยักย้ายเปลี่ยนแปลงและปกครองโลกโดยลำพังเพื่อผลประโยชน์ของพวกเขากันเอง.
ในทัศนะของคานเธี่ยน ผู้คนจะดำเนินไปในหนทางผิด หากว่าพวกเขาได้สูญเสียการความเข้าใจแห่งจิตวิญญานในวิถีปฏิบัติ ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง และวางรากฐานชีวิตการต่อสู้ของพวกเขาลงบนรากฐานที่เป็นในทางตรงข้ามอื่นๆ อย่างเช่น ความกลัว, ความโลภ, การยึดถือความสำคัญของตัวตนหรืออัตตา, ตัณหาและปัจจัยอื่นๆของความปรารถนาของมนุษย์ที่เห็นแก่ตัว.
คานธีเชื่อว่า มันเป็นความรับผิดชอบของทุกๆคน ที่จะนำพาผู้คนเหล่านั้นที่ได้สูญเสียดวงตาแห่งการมองเห็นความจริง อันเป็นปฏิบัติการด้วยความรักและความอดทน จนกระทั่งพวกเขาได้กอบกู้วิสัยทัศน์เกี่ยวกับความจริงอันหนึ่งขึ้นมาได้ และวางพื้นฐานการตัดสินใจในการกระทำของพวกเขา บนสิ่งที่ถูกต้องดีงามแลเที่ยงธรรม. ด้วยเหตุนี้, ในความเป็นจริง, หลักการวิภาษวิธีแบบคานเธี่ยนจึงเป็นการต่อสู้กันอันหนึ่ง ระหว่าง "พลังอำนาจของการทำความดี" กับ "พลังอำนาจของการกดขี่."
คานธีตระหนักว่าแรงดึงดังกล่าว ระหว่างพลังอำนาจทั้งสอง คือสิ่งจำเป็นและมีความหมายในการต่อสู้ นั่นคือชีวิตมนุษย์, การต่อสู้ดิ้นรนในตัวของมันเองจะให้ความหมาย, ในความหมายที่ยิ่งใหญ่กว่า, ต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์, และนั่นคือความพยายามที่จะดำเนินรอยตามพระผู้เป็นเจ้าหรือองค์อันติมะผู้สูงสุด ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในทุกแง่มุมเกี่ยวกับความหมายของมนุษย์. หากพิจารณาดูทั้งหมดดังที่กล่าว อุดมคติต่างๆของคานธีได้ให้เค้าโครงที่เป็นจริงและมีเหตุผลสมควรอันหนึ่ง สำหรับการมองดูการต่อสู้ที่มีอยู่ และสำหรับการค้นหาทางออกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถทำให้ชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสำหรับทุกๆคนได้.
ทัศนะแบบคานเธี่ยนนั้น ได้ถูกพัฒนาให้หนักไปข้างหนึ่ง เพราะโดยแต่ต้น คานธีได้ให้ความเอาใจใส่กับความหมายของมนุษย์อันยิ่งใหญ่, คุณค่า และความยุติธรรม, โดยไม่จำเป็นต้องไปสนใจส่งเสริมรัฐบาลและสถาบันต่างๆ ซึ่งได้มาจำกัดและควบคุมปัจจัยเหล่านี้เกี่ยวกับการดำรงอยู่ของมนุษย์. สถาบันต่างๆที่เป็นศูนย์กลางที่กดขี่ผู้คนอย่างไม่ยุติธรรม, ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม มักจะได้รับการมองในฐานะที่เป็นเป้าหมายอันหนึ่งของการต่อต้านแบบอหิงสาของคานเธี่ยน. แน่นอน คานธีมองการมีอยู่ของสถาบันเหล่านั้นว่า มีความจำเป็นต่อเรื่องราวหรือกิจกรรมของมนุษย์, แต่ท่านก็เชื่อว่า พวกมันจะต้องได้รับการปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง และต้องได้รับการดึงกลับมาให้เข้าที่เข้าทางโดยการต่อต้านแบบอหิงสา ซึ่งได้รับการเรียกร้องโดยปัจเจกบุคคลและโดยมวลชน และอันนี้ต้องการให้แต่ละคนยังต้องต่อสู้ดิ้นรนต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อทำให้การปฏิรูปดังกล่าวบรรลุผล. คานธีไม่ได้ถือว่าผู้คนเหล่านั้นที่ร่วมอยู่ในสถาบันที่เพิ่งพูดถึง หรือทำงานอยู่ในสถาบันพวกนั้นเป็นปฏิปักษ์. ท่านรู้สึกว่าพวกเขาควรได้รับความรักและความเคารพเช่นเดียวกับคนอื่นๆ, แต่พวกเขาจะต้องรักษาความซื่อสัตย์ด้วยแรงกดดันอย่างต่อเนื่องจากผู้คน.
มหาตมะ คานธี มีความคิดบางอย่างเพื่อกระทำสิ่งต่างๆให้มันดีขึ้นในสังคม. และในข้อความที่จะอ่านต่อไปนี้ แง่มุมของปัญหาในบางปัญหาเกี่ยวกับโลกร่วมสมัย, จากความเข้าใจของข้าพเจ้าเกี่ยวกับทัศนะที่สำคัญแบบคานเธี่ยน จะได้รับการหยิบยกขึ้นมาสนทนากัน. สไตล์หรือแบบฉบับในการแก้ปัญหาแบบคานเธี่ยนที่เป็นไปได้บางอย่าง จะได้รับการเสนอขึ้นมา และสิ่งเหล่านี้ควรได้รับการพิจารณาจากแง่มุมหรือทัศนะที่มีเหตุผลพอควร.
ในจิตวิญญานแห่งปรัชญาแบบคานเธี่ยน, การแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ควรจะถูกมองว่าเป็นเพียงแค่ทางเลือกอีกทางหนึ่งเท่านั้น, แต่ควรจะเป็นจุดเริ่มต้นที่เป็นไปได้ของการต่อสู้ใหม่ๆ สำหรับทางออกของปัญหาต่างๆที่มีความหมายอย่างบริบูรณ์และยิ่งใหญ่ ซึ่งสามารถเริ่มต้นขึ้นได้.
2. A Gandhian Ideal
of Non-violence
หลักอหิงสาแบบคานเธี่ยน (การไม่ใช้ความรุนแรง)
มันสามารถถกเถียงกันได้ว่า
ตามจารีตแล้ว ตะวันตกได้ถูกปรับหรือหันไปสู่ความรุนแรง, แม้ว่าสงครามบางครั้ง,
ในความเห็นของข้าพเจ้า เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้. ด้วยเหตุผลบางประการ
สิ่งนั้นจะต้องเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากการแพร่ขยายของอาวุธที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง
และยุทธวิธีก่อการร้ายที่ก้าวหน้าทั่วโลก. สงครามต่างๆในอนาคต และแม้แต่การจลาจลที่รุนแรงขนาดเล็ก
เป็นไปได้ที่จะทำลายล้างได้มากต่อปรปักษ์ และต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นไปได้ที่จะก่ออันตรายต่อความมั่นคงและความเป็นอยู่ของประชาชาติที่เกี่ยวข้อง.
ปรัชญาแบบคานเธี่ยน, ซึ่งรวมทั้งหลัก"อหิงสา"และ"สัตยเคราะห์", อาจให้ช่องทางแก่ปัจเจกชนคนธรรมดาและคนกลุ่มต่างๆ เพื่อแสวงหาความหมายอันยิ่งใหญ่, คุณค่า และความยุติธรรม ในการดำรงชีวิตยอู่ของพวกเขา โดยปราศจากการนำไปสู่วงจรแห่งความรุนแรง ซึ่งจะโน้มนำไปสู่ความทุกข์ยากเพิ่มขึ้น. ผู้คนชาวตะวันตกสามารถค้นพบว่า มันเป็นประโยชน์ที่จะประยุกต์อุดมคติต่างๆบางอย่างของคานธีไปใช้ เพื่อที่จะปรับปรุงแง่มุมทั้งหลายของสังคมและวัฒนธรรมตะวันตกด้วยการเลือกสรรที่ระมัดระวังบางอย่าง.
หลัก"สัตยเคราะห์"ของคานเธี่ยน [หมายเหตุ : คำว่า"สัตยเคราะห์" มาจากคำว่าสันสกฤตว่า"สัตย์"(ความจริง) + คำว่า"เคราะห์"(ดื้อดึง, ดันทุรัง) แปลรวมคือ ความยืนหยัดต่อความจริงอย่างไม่ยิ่งหย่อน] เป็นวิธีการอันหนึ่งเพื่อเปลี่ยนแปลงธรรมชาติเกี่ยวกับสถาบันต่างๆ และบริษัทอุตสาหกิจร่วมสมัยทั้งหลายที่มีข้อจำกัดบางประการ. ข้อจำกัดหลักๆที่ปรากฎออกมานั้น มันเผยออกมาให้เห็นกันในรูปของขนาดและพลังอำนาจของรัฐบาลต่างๆในสมัยนี้, สถาบันและบรรษัทข้ามชาติต่างๆในความสัมพันธ์ต่อความสำคัญของปัจเจกบุคคล.
ลักษณะแห่งการทนทุกข์ของหลัก"สัตยเคราะห์" ที่มุ่งหมายเพื่อความจริงและอิสรภาพ, เป็นไปได้ที่จะมีผลกระทบน้อยมากต่อองค์กรที่ทรงพลานุภาพเช่นนั้น เว้นแต่ว่า ผู้คนจำนวนมากจะถูกทำให้เกิดความไม่พอใจขึ้นมาด้วยเงื่อนไขต่างๆ ที่เชื่อว่าเป็นขององค์กรดังกล่าวที่สร้างความทุกข์ยากขึ้นมา และค้นหาด้วยตัวของพวกเขาเอง โดยสมัครใจในการที่จะร่วมกันต่อต้าน.
องค์กรขนาดใหญ่ต่างๆ บ่อยครั้ง จะจ้างนักกฎหมายและใช้ผู้เชี่ยวชาญในการประชาสัมพันธ์ เพื่อเบี่ยงเบนการวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ. ในบางครั้ง เราจะได้เห็นรายการโทรทัศน์ ที่มีคนหลายๆคนที่ตั้งอยู่ในจริยธรรม ออกมาเปิดเผยการกระทำอันเป็นความผิดในการทำงานของรัฐบาล และองค์กรต่างๆ เพื่อหวังจะยับยั้งการกระทำเหล่านั้น. อย่างไรก็ตาม, บ่อยเหลือเกินที่ผู้คนเหล่านี้ ซึ่งออกมาเปิดเผย ต้องสูญเสียงานของพวกเขาไป และค่อยๆจางหายไปในความมืดมัว ขณะที่องค์กรหรือบริษัทต่างๆขนาดใหญ่เหล่านั้น ยังคงดำเนินธุรกิจของพวกเขาต่อไปตามปกติ.
ในโลกร่วมสมัยเกี่ยวกับบรรษัทข้ามชาติต่างๆ, แม้แต่ขบวนการเคลื่อนไหวทางด้านแรงงานขนาดใหญ่ก็ยังถูกจำกัดอย่างแหลมคม เพราะงานต่างๆสามารถที่จะเคลื่อนย้ายไปอยู่ ณ ถิ่นฐานใดก็ได้ทั่วโลก ถ้าหากว่าบรรดาคนงานทั้งหลายเรียกร้องต่อนายจ้างมากจนเกินไป. แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าความทุกข์ยากของมนุษย์ถูกเชื่อว่า มันเนื่องมาจากองค์กรขนาดใหญ่หรือรัฐบาลที่อยุติธรรมเหล่านั้น ซึ่งมันได้ทำให้ความรู้สึกของผู้คนจำนวนมากเกิดความขุ่นเคือง ไม่พอใจ เพราะต่างต้องทนทุกข์ทรมานในสัดส่วนขนาดใหญ่, เงื่อนไขต่างๆ จะนำไปสู่ความชอบธรรมในการที่จะนำเอาหลัก"สัตยเคราะห์"มาใช้ และประท้วงต่อองค์กรหรือสถาบันขนาดใหญ่พวกนั้น.
อย่างเช่น กรณีในช่วงระหว่างสงคราม"อเมริกัน-เวียดนาม" ที่ซึ่งผู้คนจำนวนมากไม่อาจให้เหตุผลได้เลย เกี่ยวกับความรุนแรงที่ปราศจากสำนึก และความทุกข์ทรมานซึ่งได้ถูกนำไปยัดเยียดให้กับผู้คนประเทศเล็กๆอย่างเวียดนาม. ส่วนใหญ่ของขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพ การไม่ใช้ความรุนแรงในสหรัฐอเมริกา, และทั่วโลก, ได้โฟกัสการประท้วงต่างๆของพวกเขาต่อสงครามอันนี้ และในท้ายที่สุด ได้นำไปสู่จุดจบของสงคราม และได้ขับไล่ประธานาธิบดีคนหนึ่งของอมเริกาออกไปทำเนียบขาว ตามกระบวนการของมัน.
รูปแบบอันบริสุทธิ์เกี่ยวกับหลักกาาร"สัตยเคราะห์"ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือโดย Dr. Martin Luther King ในช่วงระหว่างที่มีการเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิของพลเมืองในสหรัฐอเมริกา. ผู้เดินขบวนทั้งหลาย ตั้งใจที่จะแสวงหาวิธีการปลุกเร้าที่ไม่ใช้ความรุนแรงต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นใน Birmingham, Alabama sheriff "Bull" Conner, และบรรดานักเชื้อชาตินิยมทางตอนใต้ที่รุนแรง เพื่อที่จะแสดงให้โลกเห็นถึงการกดขี่, ธรรมชาติอันชั่วร้ายของลัทธิคลั่งชาติของอเมริกา. แนวทาง"สัตยเคราะห์"แบบคานเธี่ยนของ Dr.King ที่ทำงานกับผู้คนอย่างมีสำนึกและอย่างมีเหตุผลส่วนใหญ่ ในท้ายที่สุดสรุปว่า การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการกดขี่ทางด้านเชื้อชาตินั้นเป็นการผิดต่อจริยธรรมและศีลธรรม. Dr.King ต้องประสบกับความรุนแรงโดยคู่ปรปักษ์ของเขา และต้องสังเวยชีวิตในกระบวนการสัตยเคราะห์นี้ ซึ่งได้ให้การสนับสนุนต่อการทำให้เป้าหมายต่างๆของเขาประสบความสำเร็จและเป็นจริงขึ้นมา. ในกรณีนี้, อิสรภาพ ได้ถูกทำให้ก้าวหน้าไป โดยบูชายัญการไม่ใช้ความรุนแรงด้วยชีวิต ซึ่งนี่เป็นสัตยเคราะห์แบบคานเธี่ยนที่แท้จริงอย่างปราศจจากข้อสงสัย.
กุญแจสำคัญที่ไขไปสู่เครื่องมือของ"สัตยเคราะห์" ในการต่อต้านบรรดาผู้กดขี่ของสถาบันขนาดใหญ่ทั้งหลาย จะปรากฎตัวขึ้นมาเป็นความไม่พึงพอใจมาก ท่ามกลางผู้คนที่ถูกกดขี่จำนวนมาก. ในกรณีของขบวนการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองในอเมริกา, บรรดาชนอเมริกันผิวดำต่างก็รู้สึกสิ้นหวังไปแล้ว. พวกเขามีความคาดหวังเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในการที่จะปรับปรุงความเป็นอยู่ของพวกเขาโดยผ่านวิธีการทางกฎหมาย เมื่อพวกเขาได้เข้ามาร่วมกับขบวนการของ Dr.King. คานธีนั้น ถูกต้องทีเดียว เมื่อท่านเห็นว่า"สัตยเคราะห์"เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เป็นมาตรการสุดท้าย.
ปัจเจกชนทั้งหลายที่ต่อต้านการกระทำอันผิดๆ ที่ริเริ่มขึ้นมาโดยปัจเจกบุคคลบางคน ด้วยวิธีการ"สัตยเคราะห์"คือสิ่งที่เป็นไปได้, แต่มันก็มีข้อจำกัดบางประการด้วย. ธรรมชาติของสถานการณ์และผู้คนที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องที่สำคัญในการประเมินหรือกำหนดว่า "สัตยเคราะห์" จะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธภาพที่จะนำมาใช้หรือไม่.
ภรรยาคนหนึ่ง อาจตัดสินใจที่จะทนทุกข์ต่อการกระทำทารุณของสามีที่ติดเหล้า และตอบโต้ด้วยความรัก, แต่เธออาจได้รับการตอบแทนความดีเล็กๆน้อยๆอันมาจากความรัก และความทรมานของเธอ. สามีของเธออาจรู้สึกสำนึกผิดอย่างแท้จริงสำหรับการทำทารุณของเขาตอนที่ไม่เมาหรือยังมีสติ, แต่อาจกลับไปทำทารุณต่อ เมื่อเขากลับไปเมาอีกครั้ง. ความทนทุกข์ทรมานของหญิงคนนี้เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆได้เพียงเล็กน้อย และอาจเป็นการไปกระตุ้นผู้ที่ทำทารุณกับเธอ. ในกรณีเช่นนี้ การนำเอาหลัก"สัตยเคราะห์"มาใช้เป็นเครื่องมือในระดับบุคคลจะไม่เป็นการฉลาดเลย.
ในอีกด้านหนึ่งนั้น, ลูกจ้างคนหนึ่งอาจตัดสินใจว่า จะกระทำการในสิ่งซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องทางศีลธรรม ซึ่งการกระทำอันนั้นมันเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าการกระทำอันไม่สุจริต เพื่อเป็นการสอนสั่งนายจ้างที่ควบคุมเขา. การเตรียมตัวที่พร้อมจะรับการทนทุกข์อันเป็นผลที่จะตามมานั้น รวมถึงการสูญเสียงานที่ตนทำไป ลูกจ้างอาจยอมรับโดยดุษฎีภาพ แต่ยังยืนยันที่จะเผชิญหน้ากับนายจ้าง และปฏิเสธที่จะทำการต่อต้านด้วยหนทางที่ไม่สุจริต. ลูกจ้างอาจ หรืออาจจะไม่นำมาซึ่งผลตอบแทนจากนายจ้าง, แต่ถ้าหากว่านายจ้างได้ถูกบีบบังคับให้พิจารณาถึงผลที่เกิดขึ้น และหลักจริยธรรมต่างๆของความไม่สุจริต ในความสัมพันธ์กับการสูญเสียลูกจ้างไปคนหนึ่ง บนการสั่งสอนการกระทำอย่างผิดๆ, เป็นไปได้ที่ว่า คานธีอาจจะกล่าวว่า วิธีการสัตยเคราะห์ของลูกจ้าง ได้ประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากว่ามันบีบบังคับให้นายจ้างพิจารณาหรือคำนึงถึงสิ่งที่ซื่อสัตย์สุจริตมากขึ้นในอนาคต.
หลักการ"สัตยเคราะห์" ตามตัวอย่างนี้ จึงเป็นเครื่องมืออย่างสุดท้ายที่นำมาพึ่งพา, การต่อต้านที่ถูกนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ หลังจากการชักจูงอื่นๆไม่ได้ผลแล้วเท่านั้น. การพูดคุยกันถึงเรื่องนี้ ได้ก่อให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า วิธีการ"สัตยเคราะห์"แบบคานเธี่ยนนั้น มันมีที่ทางอันหนึ่งในโลกหลังสมัยใหม่(postmodern world)หรือไม่. ดูเหมือนว่า มันจะเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับปัจจุบันนี้เช่นเดียวกับในอดีต. ถ้าเผื่อว่าพวกเรายังเชื่อในองค์พระเยซู หรือศาสดาองค์ใดที่ให้แรงบันดาลใจ หรือปัจเจบุคคลคนใดก็ตาม, รวมไปถึงคานธี, การทนทุกข์ทรมานเพื่อยับยั้งการกระทำอันผิดๆ มักจะเป็นสิ่งที่สำคัญและแสดงถึงความกล้าหาญที่มีต่อความทุกข์ทรมาน และการต่อต้านการกดขี่ด้วยวิธีการไม่ใช้ความรุนแรง จะยังคงใช้การได้ในหลายๆสถานการณ์ ที่ซึ่งการชักชวนไม่นำมาซึ่งผลลัพธ์ต่างๆตามที่ปรารถนาแล้ว.
คานธีอาจจะกล่าวว่ามันเป็นภาระหน้าที่ของทุกๆคนที่จะต่อต้านความอยุติธรรม, ความไม่ซื่อสัตย์ และการกดขี่บีฑา ด้วยการไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ว่าจะในระดับส่วนตัวหรือในระดับนานาชาติ. การพยายามที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยผ่านวิธีการไม่ใช้ความรุนแรง และความกล้าหาญทางจริยธรรม(moral courage), รวมถึงวิธีการสัตยเคราะห์, ยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นอุดมคติอันทรงคุณค่าในโลกหลังสมัยใหม่.
3. A Need for a Holistic
View of Elements of Meaning, Value and Justice
ความต้องการทัศนะแบบองค์รวมในรากฐานความหมาย เรื่องคุณค่าและความยุติธรรม
คานธีเชื่อว่า มันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนาสำหรับผู้คน ที่จะมีทัศนะแบบองค์รวมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ
ที่เกี่ยวโยงกับการแสวงหาความหมายของมนุษย์ นั่นคือ เรื่องของคุณค่า และความยุติธรรม.
อันนี้คือสิ่งจำเป็น ถ้าหากว่าผู้คนทั้งหลายต้องการดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย
และมีสังคมที่เจริญรุ่งเรือง.
มันได้รับการตระหนักโดยคนบางคนว่า ทัศนะแบบองค์รวมนั้นเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ บางครั้งมันไม่ลงรอยกับลัทธิวัตถุนิยมและความคิดในการปรับตัวเข้ากับวัตถุที่เป็นรากฐานความเป็นสมัยใหม่ ทัศนะแบบองค์รวมมักจะพิจารณาหรือคำนึงถึงแรงดลใจทางศีลธรรมที่เข้าใจกันในทางจิตวิญญาน ต่อการกระทำในสิ่งซึ่งได้รับการพิจารณาว่า เป็นสิ่งที่เที่ยงธรรมและชอบธรรม. การเรียกร้องต่อการประพฤติปฏิบัติ บ่อยครั้ง ได้รับการวางอยู่บนปัจเจกบุคคลเสมอ ซึ่งไม่คำนึงถึงแง่มุมชีวิตของมนุษย์, ครอบครัว, และชุมชนที่สัมพันธ์กับความต้องการทางจิตวิญญาน.
ในสังคมร่วมสมัยของอเมริกันเป็นตัวอย่าง บรรดาพ่อแม่ทั้งหลาย บ่อยทีเดียว รู้สึกถูกบีบบังคับให้ต้องแยกจากพวกลูกๆเป็นเวลาหลายชั่วโมงในขณะเวลาทำงาน เพื่อธำรงไว้ซึ่งมาตรฐานขั้นต่ำของการเป็นอยู่. มีธุรกิจมากมายที่ต้องการให้คนงานหรือลูกจ้างทำงานในวันอาทิตย์ หรือวันอื่นๆซึ่งกันเอาไว้สำหรับการประกอบกิจทางศาสนาตามจารีตประเพณี และเพื่อการพบปะรวมกันของครอบครัว. งานบางแห่งก็ไม่มีการจัดหาเวลาให้กับคนทำงาน ที่จะนำไปทำกิจเกี่ยวกับการรับใช้หรือบริการชุมชน. รัฐบาลที่ถูกครอบงำจากทางธุรกิจ ก็ดำเนินการไปโดยการยินยอมปรับตัวเข้ากับการแสวงหาผลกำไรของบริษัทธุรกิจเหล่านั้น ด้วยการปล่อยให้ปฏิบัติการเหล่านี้ยังคงเป็นเช่นนั้นต่อไป. ประเด็นก็คือว่า วัฒนธรรมร่วมสมัยของตะวันตก บ่อยครั้ง ได้ลดความหมายของมนุษย์ที่เป็นองค์รวมลงมา, ทั้งในด้านคุณค่าและความยุติธรรม เพื่อที่จะส่งเสริมและให้การสนับสนุนความสำเร็จในเชิงวัตถุที่ยิ่งใหญ่กว่า.
ความต้องการในยุคหลังสมัยใหม่(โพสท์โมเดิร์น)ในเรื่องของจิตวิญญานและแนวนำทางด้านศีลธรรม ปรากฏว่ามันเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับปัจจุบันยิ่งกว่าในอดีต. อันนี้มีหลักฐานจากการแสดงตัวออกมาในลักษณะแตกตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยของวัฒนธรรมร่วมสมัย. บางส่วนของสิ่งเหล่านี้รวมไปถึง ครอบครัวต่างๆที่ถูกแยกออกมา, ความคิดแบบสุญนิยม(ซึ่งปฏิเสธศาสนาและหลักศีลธรรม และตั้งข้อสงสัยว่าไม่มีอะไรอยู่จริง), ลัทธิต่างๆที่เบี่ยงเบนไปของคนรุ่นใหม่, แก๊งวัยรุ่นที่ใช้ความรุนแรง, การบูชาวัฒนธรรมแบบป๊อป, ภาพโป๊ภาพเปลือย, การแสวงหาความสุขอย่างล้นเหลือ, การใช้ยาเสพติดและความรุนแรงจากแอลกอฮอล์, ลัทธิที่คลั่งวัตถุนิยม, และอื่นๆ. อาการบ่งชี้เหล่านี้ของความคิดที่แตกออกเป็นส่วนๆให้เหตุผลที่เชื่อว่า มันมีความต้องการอย่างยิ่ง สำหรับความหมายทางจิตวิญญานที่เป็นองค์รวมที่สูงขึ้นไป แต่มันก็สามารถถกได้ว่า สิ่งเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ต่างๆว่า ผู้มีส่วนร่วมทั้งหลายนั้น มีทัศนะที่ไม่กระจ่างชัดเกี่ยวกับความสำคัญของความเป็นอยู่ของพวกเขาในความสัมพันธ์กับพระผู้เป็นเจ้า, ธรรมชาติ และการรักผู้อื่น. อันนี้มีนัยสำคัญและมีผลตามมาต่อความเป็นอยู่ที่ดีของปัจเจกบุคคลแต่ละคน, และต่อสังคมโดยรวม.
ลักษณะทวินิยมและธรรมชาติวัตถุนิยมของอารยธรรมตะวันตก ได้ชี้ให้เห็นผลกระทบในเชิงลบบางอย่างเกี่ยวกับการแบ่งแยกความหมายทางจิตวิญญานออกจากชีวิตประจำวัน. มันสามารถได้รับการยืนยันได้ว่า หลักทวินิยมอันนี้ ซึ่งยอมให้ตะวันตกมีการส่งเสริมความเจริญรุงเรื่องทางด้านวัตถุในทางปฏิบัติ และทำให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง, ซึ่งมันเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการแตกแยกทางความคิดของผู้คนออกเป็นส่วนๆ.
มันมีเหตุผลหลายหลากสำหรับอันนี้ที่ปรัชญาแบบคานเธี่ยนอาจช่วยแก้ปัญหาได้. บางอย่างของปัญหาเหล่านี้จะต้องได้รับการแก้ไข, ดังที่คานธีชี้แนะ, ในระดับหมู่บ้าน(ท้องถิ่น). แต่อย่างไรก็ตาม การเข้าใจมากขึ้นเท่าไหร่เกี่ยวกับสาเหตุของการแตกตัวเป็นส่วนๆ ก็ยิ่งจำเป็นก่อนการดำเนินการหรือปฏิบัติการใดๆ. ในที่นี้ ข้าพเจ้าขอคัดเอาข้อความบางส่วนมาจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในอินเตอร์เน็ทของ Jonvir Burgas, แห่งมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ, ที่ได้กล่าวเอาไว้ว่า:
"ลักษณะของการดำรงอยู่ และวิฤตการณ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของความหมายจาก "ความเป็นสากลทางวิทยาศาสตร์", และเกี่ยวพันกับการเน้นในเรื่องประสิทธิภาพของเครื่องมือในกรอบของเรขาคณิต. มันมีปัจจัยหลักอยู่ 3 ประการในส่วนนี้เกี่ยวกับวิกฤตการณ์คือ, 1. การแตกออกเป็นส่วนๆ(frangmentation), 2. ความแปลกแยก(alienation), และ 3.การสูญเสียในเรื่องคุณค่า(the loss of value).
แนวโน้มในเรื่องประสิทธิภาพสูงสุดในหลายๆพื้นที่ที่แยกกัน
ได้นำไปสู่โลกที่ทั้งสังคมและความเป็นอยู่ของคนแต่ละคน ได้ถูกแบ่งซอยแยกส่วนๆ
โดยไม่มีความเชื่อมโยงภายในระหว่างกันเลยอย่างถึงที่สุด... ในเวลาเดียวกัน, ปัจเจกชนก็ไม่สามารถค้นพบความหมายใดๆได้ในสังคม
ภายในขอบเขตของพวกเขา - หรือในความหมายทั้งมวล, ความเชื่อมโยงและอำนาจได้สูญสลายหายไปพ้นจากขอบเขตดังกล่าว,
กลายมาเป็นส่วนต่างๆของสถาบันที่ไม่ระบุชื่อทั้งหลาย. หน้าที่การงานของพวกเขาและความเชื่อมสัมพันธ์อื่นๆกับสังคม
กลายเป็นบางสิ่งบางอย่างที่แปลกแยก, หรือไปรับใช้วัตถุประสงค์ที่ประหลาดๆ. มันเป็นไปได้ที่ว่า
วัตถุประสงค์อันนี้ไม่ได้มีอยู่แม้แต่ในในวิทยาศาสตร์และเศรษฐศาสตร์แบบคลาสสิคเลย,
ซึ่งได้เข้ามาแทนที่ศาสนา, และไม่มีที่ทางให้กับเรื่องของคุณค่าต่างๆ, เพียงแต่ได้ถูกครอบครองโดยข้อเท็จจริงที่โหดเหี้ยม(ไร้ความเป็นมนุษย์)
และมุ่งสู่เป้าหมายต่างๆที่คาดคะเนเอาไว้ล่วงหน้าเท่านั้น. ประสิทธิภาพกลายเป็นเป้าหมายในตัวของมันเอง,
และพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียวก็คือเงินตรา. "
[Jonvir Burgas,
Living In The Midst of It All. Excerpts for Burgas's doctoral thesis published
on the worldwide Internet. (URL: Http//www.ph.ed.ac.uk/~jonvir/burgas91.html.)]
พิจารณาถึงถ้อยแถลงที่แหบห้าวของ Burgas, สามารถเห็นได้ว่า การแตกออกเป็นส่วนๆจำนวนมากในความคิดของผู้คน อาจได้รับการให้เหตุผลถึงทัศนะของโลกร่วมสมัยที่ปรับตัวไปสู่เรื่องทางวัตถุ ที่ที่ผู้คนมองดูโลกในฐานะองค์ประกอบของปัจจัยต่างๆที่เล็กมาก ซึ่งผู้คนจำนวนมากเชื่อว่า สามารถได้รับการอธิบาย และถูกจัดการ หรือยักย้ายเปลี่ยนมันได้ในรายละเอียดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด.
อันนี้ในตัวของมันเอง บางครั้ง กำลังครอบคลุมบรรดานักคิดที่ปรับตัวเข้ากับวัตถุ. ที่ซึ่งความหมายของชีวิตสำหรับปัจเจกชนได้รับความเอาใจใส่, ทัศนะอันนี้ บ่อยครั้ง เป็นเรื่องที่ยังไม่สมบูรณ์เพียงพอ. เกี่ยวกับสิ่งที่นักคิดที่ปรับตัวเข้ากับวัตถุ ซึ่งสามารถทำได้ดีที่สุดก็คือ กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งในพื้นที่ที่จำกัดหนึ่งของความคิดที่ลึกลงไปในรายละเอียด ขณะเดียวกันก็ละเลยหรือเมินเฉยต่อพื้นที่ที่มีความสำคัญเท่ากันอื่นๆเกี่ยวกับความผูกพันของมนุษย์และหน้าที่ของชีวิต.
ทัศนะที่ปรับตัวเข้ากับวัตถุ ได้รับการส่งเสริมโดยระบบทุนนิยมอันเป็นพื้นฐานของโลกสมัยใหม่ ทั้งนี้เพราะ มันได้ให้ข้อพิสูจน์เชิงเหตุผลสำหรับการตัดสินใจ และจัดหาเหตุผลต่างๆมาให้ สำหรับการกระทำต่างๆ ซึ่งยึดติดอยู่ในนิยามที่คับแคบอันนั้น, ระบบต่างๆที่มีรากของผลลัพธ์. ผู้คนที่ปรับตัวอยู่กับเรื่องทางวัตถุต้องการเหตุผลต่างๆสำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด, แม้แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่ววินาทีที่เป็นไป ซึ่งบางครั้ง มันถูกควบคุมโดยธรรมชาติหรือความบังเอิญ, และบ่อยครั้ง พวกเขาถูกทำให้ผิดหวัง, เมื่อได้รับการขจัดมายาการและความไม่สมหวังทิ้งไป พวกเขาก็ค้นพบว่า ไม่มีเหตุผลเชิงตรรกใดๆสำหรับการปรากฎตัวขึ้นมาของเหตุการณ์ต่างๆที่ไม่อาจอธิบายได้.
เนื่องจากลักษณะที่เลี่ยงไม่ได้ทางสังคมที่แสวงหาความสมบูรณ์, ผู้คนจำนวนมากจึงไขว่คว้าความสมบูรณ์ในตัวของพวกเขาและในคนอื่นๆ, ซึ่งอันนี้เป็นอุดมคติที่ไม่เป็นจริงอันหนึ่ง. เนื่องจากอุดมคติอันผิดพลาดนี้, บ่อยทีเดียว ผู้คนที่ยอมรับ ต่างรู้สึกว่าได้ถูกบังคับผลักไสไปสู่การจัดการที่มีการควบคุมลงไปในระดับรายละเอียด เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของพวกเขา และความเป็นอยู่ของคนอื่นๆในเชิงวัตถุ โดยไม่มีการพิจารณาถึงอุดมคติทางด้านจิตวิญญานและศีลธรรมที่สูงกว่า ซึ่งอาจจะมีอิทธิพลต่อเป้าหมายและการตัดสินใจอื่นๆของพวกเขา.
ผลที่ตามมา ผู้คนจำนวนมากพบว่า บทบาทชีวิตของพวกเขาไม่ได้รวมอยู่ในการบรรลุถึงความต้องการต่างๆทางด้านอารมณ์ความรู้สึก และจิตวิญญานที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์. ความเป็นมนุษย์ บางครั้ง ได้ถูกลดทอนลงมา หรือได้รับการบอกปัดเพราะธาตุแท้ต่างๆของความเป็นมนุษย์, ซึ่งรวมถึงคำถามต่างๆเกี่ยวกับความหมาย, คุณค่า และความยุติธรรม, ไม่สามารถที่จะวัดหรือจัดการมันได้ง่ายๆในเชิงวัตถุ. ในขณะที่แรงกระตุ้นต่างๆทางจิตวิญญานและความเชื่อได้ถูกแยกออกไปมากยิ่งขึ้นจากทัศนะที่ปรับตัวเข้ากับวัตถุ, ความเป็นมนุษย์ อาจถูกมองว่าเป็นความล้มเหลวหรือข้อบกพร่องอันไม่พึงปรารถนา(undesirable shortcoming).
ยกตัวอย่างเช่น แม่ที่ต้องทำงานคนหนึ่ง ลูกของเธอป่วย, อาจรู้สึกว่า เธอถูกต้องการให้ปรากฎตัวในที่ทำงานตรงเวลา และปฏโบัติตัวให้เป็นปกติ โดยไม่มีการพิจาราถึงความห่วงใยของเธอที่มีต่อลูกเลย. ถ้าหากว่าเธอไม่มาทำงานบ่อยๆ, โดยไม่คำนึงถึงเหตุผลใดๆทั้งสิ้น, เป็นไปได้ที่เธอกำลังแส่ที่จะถูกไล่ออกจากบริษัทที่เธอทำงานอยู่, หรือที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้น, นายจ้างอาจจะบังคับ หรือกดดันให้เธอลาออก เพื่อว่าบริษัทจะได้ประหยัดรายจ่ายเกี่ยวกับเบี้ยประกันการจ้างงาน ซึ่งจะต้องจ่ายถ้าหากว่าบริษัทไล่เธอออก. ผลที่เป็นธรรมชาติเกี่ยวกับสิ่งนี้ทั้งหมดก็คือ ปัจเจกชนทั้งหลายจะต้องอุทิศตัวมากเหลือเกินเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงาน และไปให้ถึงผลลัพธ์ที่วัดหรือประเมินได้กับค่าใช้จ่ายของเอกภาพทั้งหมด, ความกลมกลืน และความหมายในโลกของพวกเขา.
มันอาจได้รับการให้เหตุผลว่า ระบบที่มีการปรับตัวไปสู่วัตถุ, โดยธรรมชาติของมัน, ส่งเสริม"การแข่งขันต่อสู้"มากจนเกินไประหว่าง"ปัจเจกบุคคล"กับ"กลุ่มต่างๆ". มันยังสามารถให้เหตุผลต่อไปได้อีกว่า "กำไร"และ"พื้นฐานด้านประสิทธิภาพ"ในลัทธิวัตถุนิยม สนับสนุนทัศนะที่ไม่สนใจเรื่องศีลธรรมในการกระทำด้วย คือ ไม่ยึดว่าถูกหรือผิด ที่มีผลไปถึงบุคคลอื่น และขาดเสียซึ่งความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อม. ในการตักตวงหรือขูดรีดกับผู้คนและสภาพแวดล้อมนั้น, Bugas ได้ให้ข้อสังเกตุในเชิงวิจารณ์ดังนี้ :
"วิกฤตการณ์ทางนิเวศวิทยา อาจได้รับการอธิบายโดยใช้ความนึกคิดโบราณของคำว่า hubris หรือ"ความหยิ่งทะนงจนเกินไปต่อพระผู้เป็นเจ้า", และคำว่า nemesis ซึ่งหมายถึง"กรรมตามสนองจากผลของการกระทำอันนั้น ด้วยความฉิบหาย" (hubris and nemesis). ชาวตะวันตกรู้สึกสับสนและว้าวุ่นกับ"กฎธรรมชาติ", และคิดว่าตัวเขาเองนั้น เป็นอิสระอย่างสมบูรณ์, และใช้ธรรมชาติและคนอื่นๆเพียงลำพังผู้เดียวเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายของตนเอง. อันนี้คือสิ่งที่เรียกว่า hubris (หรือความหยิ่งทะนงและยโส), ซึ่งการกระทำเหล่านั้นซึ่งขูดรีดจากธรรมชาติและผู้คน...มันจะตีกลับ - และสร้างความหายนะอย่างไม่อาจควบคุมได้."
ถ้อยแถลงของ Burgas เป็นสิ่งที่ประสานกันอย่างเหนียวแน่นกับหลักความเชื่อของคานธีที่ว่า "ความปรารถนาและความหยิ่งทะนงของมนุษย์นั้น เป็นต้นเหตุของปัญหาต่างๆมากมายของมนุษย์, และความทะนงตนกับความยโสโอหังได้เชื้อเชิญหารหวนกลับมาของความฉิบหาย". เมื่อเขาได้พิจารณาถึงวงจรแห่งความรุนแรง, Leo Tolstoy ก็แสดงอาการเห็นด้วยกับเรื่องนี้.
Burgas เห็นว่า นี่คือปัญหาของตะวันตก. ลัทธิวัตถุนิยมตะวันตก เป็นไปได้ที่จะมีคำตอบมากมายต่ออนาคต เช่นดังกับประเทศโลกที่สามบางประเทศ ที่ได้กลายเป็นประเทศซึ่งมีอำนาจในทางเศรษฐกิจและมีความเป็นวัตถุนิยมมากขึ้น ดังที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน อย่าง ญี่ปุ่น, เกาหลี, ไต้หวัน, และจีน. เศรษฐกิจของสหรัฐในปัจจุบันที่แข่งขันกับญี่ปุ่น สามารถนำมาเป็นตัวอย่างได้สำหรับเรื่องนี้.
อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้, ด้วยความเป็นห่วงอย่างจริงใจ มันกำลังปกปักความมีเสถียรภาพของสังคมตะวันตกต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวของเราเอง. เมื่อการวินิจฉัยในลักษณะที่ค่อนข้างแหบห้าวของ Burgas ได้รับการนำไปรวมเข้ากับข้อพิจารณาต่างๆที่มีเหตุผล, มันสามารถทำให้เห็นได้ว่า การปรับตัวไปสู่วัตถุและระบบพื้นฐานเกี่ยวกับผลประโยชน์ บางครั้ง ได้โยกย้ายความหมายแบบองค์รวมจากการเป็นอยู่ของประชาชนอย่างแข็งขัน และยอมให้มีการบีบบังคับอย่างไร้ศีลธรรมกับคนอื่นๆ. ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถได้รับการกล่าวว่า การขาดเสียซึ่งความหมาย อันเนื่องมาสาเหตุข้างต้น เป็นไปได้ที่จะไปช่วยสนับสนุนอย่างหนักหน่วงต่อวิกฤตของผู้คนร่วมสมัย และวิกฤตการณ์ทางสังคมในโลกตะวันตกหลังสมัยใหม่.
นิยามความหมายหลักๆ ที่เหลือไว้ให้กับความเป็นอยู่ของผู้คนจำนวนมากก็คือ ความสำเร็จในด้านวัตถุ(เงินในฐานะที่เป็นพระเจ้า). วิกฤตการณ์นี้ได้แสดงตัวของมันเองในหนทางต่างๆที่ได้รับการกล่าวถึงแต่ต้นแล้ว, ซึ่งเป็นมูลเหตุแห่งการก่อตัวขึ้นมาของวัฒนธรรมอีกรูปแบบหนึ่ง อย่างเช่น องค์กรต่างๆทางด้านอาชญากรรม, แก๊งที่ใช้ความรุแรง, ลัทธิ และกลุ่มทหารนอกประจำการ, หรือลักษณะคลางแคลงและคลื่นเหียนในคนอื่นๆ เป็นต้น. มันสามารถที่จะได้รับการกล่าวว่า ภาพอนาคตที่จะตามมาที่สนทนากันข้างต้นจะนำเสนออันตรายอันหนึ่งสำหรับวัฒนธรรมตะวันตก, และชาวตะวันตกควรจะร่วมกันทำงานเพื่อคลี่คลายหรือสลายวิกฤตการณ์อันนี้ ถ้าหากว่าเป็นไปได้.
อุดมคติแบบองค์รวมและการไม่ใช้ความรุนแรงของปรัชญาคานเธี่ยน ได้เสนอการแก้ปัญหาที่มีข้อจำกัดบางประการต่อความยุ่งยากร่วมสมัย. ขณะเดียวกัน ชาวตะวันตกไม่มากนัก ต้องการที่จะอยู่อย่างชาวสปาต้า(กล้าหาญ อดทน) ซึ่งคานธีได้ให้การสนับสนุนในคำสอนของท่านเกี่ยวกับการเสียสละและความเรียบง่าย, ความคิดของท่านบางอย่างได้พิจารณาถึงเรื่องคุณความดี และดังที่ได้เห็นในการพูดคุยข้างต้น มันได้รับการสืบทอดมาจากรากฐานอันแข็งแกร่ง.
การแก้ปัญหาตามสไตล์ของคานเธี่ยน อาจค่อนข้างยุ่งยากที่จะทำให้เป็นผลขึ้นมาในโลกตะวันตกที่มีลักษณะวัตถุนิยมร่วมสมัย, แต่การเปลี่ยนแปลงบางอย่างเป็นสิ่งจำเป็น ถ้าเผื่อว่าสังคมและวัฒนธรรมตะวันตก ต้องการที่จะเจริญรุ่งเรืองในอนาคต. ความล่มสลายของสหภาพโซเวียตที่ผ่านมานั้น คือตัวอย่างหนึ่งของสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อสังคมและวัฒนธรรมเกือบจะกลายมาเป็นลักษณะวัตถุนิยมอย่างสมูรณ์ และไม่คำนึงถึงศีลธรรม-จริยธรรม(ระบอบคอมมิวนิสต์), โดยระบบที่รวมศูนย์อำนาจ และไม่มีลักษณะของความเป็นมนุษย์(ตัดอารมณ์ความรู้สึกทิ้งไป) และไดเข้าไปแทรกแซงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในรายละเอียดทุกอย่าง ด้วยการบีบบังคับ ขณะเดียวกันก็เปลี่ยนแปลงทัศนะเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในด้านความหมายของมนุษย์, คุณค่า และความยุติธรรมไปจากความเป็นอยู่ของผู้คน.
ผู้คนได้ก้าวมาถึงขั้นของการมีอิสรภาพจากมายาการ ซึ่งเป็นมูลเหตุที่ทำให้พวกเขามองเห็นผลประโยชน์เล็กๆน้อยๆในการทำงานเพื่อความดีร่วมกัน. ปรัชญาคานเธี่ยน ได้เปิดทางตัน และผู้คนมีทางเลือกในการพยายามเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆอย่างสันติ. ความยุ่งยากนอนเนื่องอยู่ในความรู้ว่า อะไรควรได้รับการเปลี่ยนแปลง และสิ่งนั้นควรได้รับการเปลี่ยนแปลงไปในระดับใด.
4. A Revision of
The Western Work Ethic
การปรับปรุงเกี่ยวกับ"จริยธรรมการทำงาน"ของตะวันตก
ถ้าหากว่าตะวันตกยังต้องการเสถียรภาพ, รัฐบาลและสถาบันต่างๆ ในท้ายที่สุด จะต้องปรับเปลี่ยนทัศนะของตนเองบางส่วนในความสัมพันธ์กับจริยธรรมการทำงานแบบโปรเตสแตนท์ในแนวจารีต
ที่มีการส่งเสริมลัทธิวัตถุนิยมมากจนเกินไปเสีย.
ผู้คนต้องการเวลามากขึ้นที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับพวกเด็กๆ, เพื่อนบ้านของพวกเขา และชุมชน ถ้าเผื่อว่าพวกเขาต่างต้องการความหมายในการดำรงอยู่ของพวกเขาในแบบองค์รวมที่ยิ่งใหญ่กว่ามากขึ้น. พวกเขาต้องการเวลาที่จะพิจารณาความงดงามของโลก และผู้คนรอบๆตัวเขา ถ้าหากว่าพวกเขาต้องการจะค้นหาความสุขและความหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้น. นอกจากญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกาก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ต่างออกไปจากประชาชาติอื่นๆ ซึ่งยึดติดอย่างรุนแรงกับเรื่องที่สุดขั้วเกี่ยวกับ"จริยธรรมการทำงาน"(work ethic), แม้ว่าเกาหลี ไต้หวัน และจีน จะพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ในกระบวนการจริยธรรมที่เกี่ยวกับวัตถุนิยมอย่างสุดขั้ว ที่คล้ายคลึงกันมากกับแบบจำลองของอเมริกันและญี่ปุ่น และโดยเฉพาะที่ถูกทำให้เหมาะกับการปรับตัวไปสู่พันธะผูกพันต่างๆบนรากฐานของลัทธิขงจื้อ. ในสหรัฐอเมริกา, ปรากฎว่า พวกเราเชื่อว่า ปัญหาใดๆก็ตาม สามารถที่จะแก้ไขได้ โดยการทำงานหนักขึ้นเล็กน้อย และโดยการจ่ายเงินให้มากขึ้นอีกนิดหน่อย. มันมีเหตุผลหลายหลากสำหรับการยืนยันว่า ความเชื่อนี้เป็นสิ่งที่ผิด, เพราะมันมักจะไม่เป็นไปอย่างนั้นเสมอๆ.
จากงานเขียนใน Focus Magazine, Windsor Chorlton กล่าวว่า: จริยธรรมการจ้างงานในสังคมสมัยใหม่(วัตถุนิยม) มันเป็นเสื้อรัดแขนสำหรับคนบ้า(strait-jacket)ตัวหนึ่ง ซึ่งพวกเรามีเอาไว้รัดตรึงคนคู่สุดท้ายเมื่อร้อยปีมาแล้ว... ในราวคริสตศตวรรษที่ 16 บรรดาชาวโปรเตสแตนท์ซึ่งได้ยกสถานะการทำงานขึ้นมาจากความจำเป็นต่อหน้าที่ทางศาสนา. การทำงานหนักได้รับการพิจารณาในฐานะเป็นการไถ่ถอน และความมั่งคั่ง เช่นเดียวกับเครื่องหมายของความโปรดปรานของพระผู้เป็นเจ้า(Hard graft was regarded as redeeming and wealth as a sign of God's favor).
เวลาว่างได้กลายเป็นคำสกปรกของมนุษย์ เช่นดั่งนักธุรกิจที่มีอิทธิพลในด้านเครื่องปั้นดินเผา Thomas Wedgwood: ที่จะถูกปลุกให้ตื่นขึ้นเสมอ โดยผู้คน"ที่ปล่อยเวลาให้สูญเสียไปโดยไม่ก่อให้เกิดผลผลิตใดๆในงานอาชีพ". เขาได้วางแผนเพื่อความก้าวหน้าทางด้านจริยธรรมของมนุษย์ โดยการศึกษาจำนวนแรงงานที่ทำงาน เพื่อว่า มันจะได้ไม่มีการปล่อยให้เวลาผ่านไปกับ"ความฝันหรือความคิดที่ไม่มีการควบคุม".
William Wordsworth, ผู้ซึ่ง Wedgwood เสนอหรือแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการทางด้านการศึกษาคุกที่ขังนักโทษการเมือง(a camp for the detention of political prisoners, internees, etc., esp. in Nazi Germany. ), ถูกขานรับโดยงานว่า ระบอบอันนั้น"จะกักขังและจำกัดพวกเราลงมาเป็นเพียงแค่เครื่องจักร" (Windsor Chorlton, "The Daily Grind We Just Can't Do Without" in Focus Magazine, (June 1995) 72-75. Replicated in SIRS CD-ROM. Ed. Eleanor Goldstein, Boca Raton Fl: Social Issues Resources Series, Inc., 1995, Art 111. )
ขณะที่จริยธรรมการทำงานของโปรเตสแตนท์ ได้ทำให้ตะวันตกประสบความสำเร็จทางด้านวัตถุอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน, มันสามารถที่จะถกได้ว่า มันก็ได้ทำให้เกิด การทำให้ผู้คนไม่เป็นคน(dehumanized people)ด้วย. และก่อให้เกิดการแตกแยกในชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาออกเป็นส่วนๆในขอบเขตที่กว้างขวาง. การปฏิวัติเทคโนโลยี, ยุคของเครื่องจักรอัตโนมัติและยุคของข้อมูลข่าวสาร ได้ลดทอนความต้องการของคนงานในระบบสายพานตามโรงงานลงอย่างต่อเนื่อง, รวมไปถึงคนงานเสมียน และบรรดาคนใช้หรือลูกจ้างในลักษณะอื่นๆ. มันเป็นความรับรู้ที่งอกงามขึ้นมาที่ว่า ทรัพยากรหรือวัตถุดิบต่างๆของโลกเป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ได้, และความเจริญทางด้านอุตสาหกรรมโดยปราศจากการควบคุมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงลัทธิวัตถุนิยมที่ไม่มีขีดจำกัด ในท้ายที่สุด จะน้อมนำไปสู่ปัญหานิเวศวิทยาที่จริงจังสำหรับผู้คนและธรรมชาติ.
เนื่องจากเหตุผลนี้, จึงสามารถแสดงให้เห็นว่า ตะวันตกต้องพิจารณาเรื่องความคุ้มค่าเสียใหม่ เกี่ยวกับรูปแบบที่สุดขั้วเกินไปของมันในจริยธรรมการทำงาน ซึ่งได้รับการยึดถือโดยผู้คนในสหรัฐอเมริกา. การทำงานอย่างมีความหมายเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับความสุขของผู้คน, แต่การขาดเสียซึ่งความสุขของผู้คนร่วมสมัย จะนำไปสู่คำถาม ไม่ว่าคนที่ทำงานอย่างฉลาด หรือไม่ว่าพวกเขาจะค้นพบความหมายอันยิ่งใหญ่ในการทำงานมากของพวกเขาหรือไม่ก็ตาม.
ยิ่งไปกว่านั้น, ในโลกของบริษัทธุรกิจร่วมสมัย, ที่ที่เทคโนโลยีกำลังเข้ามาแทนที่แรงงานจำนวนมาก มันถูกพบว่า สัญญานเตือนของคุรุทางเศรษฐกิจ Charles Handy ที่ได้บอกเอาไว้ในหนังสือของเขาเมื่อไม่นานมานี้ The Empty Raincoat, Handy อธิบายถึงว่า...
บรรดาผู้จัดการบริษัทต่างๆร่วมสมัย มองบรรดาคนงานของพวกเขากันอย่างไร ?. "แบ่งครึ่งจำนวนแรงงาน และจัดให้ทำงานเป็นสองผลัดอย่างหนัก และผลผลิตที่ออกมาจะกลายเป็นสามเท่า" ซึ่งอันนี้ได้กลายมาเป็นคำขวัญในการจัดการของบริษัทธุรกิจร่วมสมัย.
ผู้คนจำนวนมากผู้ซึ่งได้รับการจ้างงานในปัจจุบันรู้สึกว่า พวกเขากำลังไต่อยู่บนเส้นลวดเพื่อที่จะรักษางานของพวกเขาเอาไว้. แม้ว่าสถิติการจ้างงานของรัฐบาลในปัจจุบัน จะแสดงให้เห็นถึงการจ้างงานเกือบเต็มจำนวน, แต่ค่าจ้างสูงๆและงานที่เงินดีๆคือสิ่งหนึ่งของเหตุการณ์ในอดีตไปแล้ว. เนื่องมาจากการลดรายจ่ายและการเรียกร้องการทำงานเพิ่มขึ้น, ผู้คนบางคนเท่านั้นที่สามารถได้รับการพิจารณาในฐานะที่ถูกจ้าง.
ไม่ว่าผู้คนจะชอบมันหรือไม่ก็ตาม, ทัศนะร่วมสมัยอันนี้ที่มีต่อคนงาน คือคุณสมบัติของบริษัทขนาดใหญ่ทั้งหลายที่กำลังพยายามแข่งขันกันในตลาดโลก. แต่อย่างไรก็ตาม ต้นทุนมนุษย์ของทัศนะเช่นนี้ เป็นไปได้ที่จะรู้สึกไม่เป็นที่พึงพอใจเพิ่มมากขึ้นในสังคม, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่ามกลาง"ผู้ที่ไม่ได้รับการจ้างงานเต็มที่"(หมายเหตุ คำว่า "ผู้ที่ไม่ได้รับการจ้างงานเต็มที่" หมายถึง บุคคลเหล่านั้นที่มีรายได้จากงานอาชีพ ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพทางเศรษฐกิจ), และอันนี้อาจนำไปสู่ความเสื่อมทรามและการแตกสลายของสังคม.
ถ้าหากว่าสังคมได้แตกออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ; นั่นคือ กลุ่มผู้ที่ได้รับการจ้างงานอย่างเต็มที่ กับกลุ่มที่ไม่ได้รับการจ้างงานอย่างเต็มที่, อันนี้จะนำไปสู่การแบ่งแยกที่กว้างขึ้นเกี่ยวกับความมั่งคั่งร่ำรวยท่ามกลางประชาชนทั้งหลาย ซึ่งอาจนำไปสู่ความขุ่นเคืองและเจ็บแค้น, ความรุนแรง และผลของการกดขี่เพิ่มมากขึ้น หากว่าการแบ่งแยกมันถ่างออกไปยิ่งมาก.
การก่อจลาจลขึ้นในเมืองเมื่อไม่นานมานี้ และความมั่งคั่งร่ำรวยที่ไม่เหมาะสมของผู้คนโดยผ่านกิจกรรมต่างๆทางอาชญากรรม อย่างเช่น การเกี่ยวข้องกับยาเสพติด, การปล้น และรูปแบบต่างๆอันหลากหลากของการขโมยได้ยืนยันถึงเรื่องนี้. โดยการแบ่งแยกที่กางกว้างออกไปของการจ้างงานทั้งสองส่วนที่เพิ่มขึ้นตามแนวทางนี้ มันสามารถที่จะได้รับการแสดงให้เห็นว่า มีคนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ได้เงินมาก มีกำไรสูง จากการตัดขาดจากจำนวนแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในนามของกำไรที่มากกว่า สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ต่างๆที่มีอยู่.
ในสังคมที่ถูกแบ่งแยกด้วยจำนวนชนชั้นกลางที่มีอยู่เพียงเล็กน้อย, ผลประโยชน์ที่มากมาย, ถึงแม้ว่าพวกเขาจะพยายามแสวงหาหนทางที่จะหลีกเลี่ยงการกระทำดังกล่าว, เป็นไปได้มากที่ในท้ายที่สุดแล้ว พวกเขาจะต้องจ่ายภาษีสูงขึ้นเพื่อธำรงรักษาสภาพแวดล้อมที่สุขสงบเพื่อประเทศชาติ; และเพื่อธำรงรักษาโครงการสวัสดิการสังคม หรือการบำรุงรักษาอำนาจของตำรวจให้มากขึ้น, ระบบต่างๆทางด้านการศาลและระบบของการคุมขัง ซึ่งเริ่มต้นเลยนั้นได้ตั้งเป้าหรือมุ่งที่ความรุนแรงในการกดขี่ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นด้วยการถูกถอนสิทธิต่างๆ. ถ้าเผื่อว่าพวกเราพิจารณาถึงเรื่องวงจรแห่งความรุนแรงของ Leo Tolstoy และทฤษฎีต่างๆทางเศรษฐกิจของ John Ruskin, ก็จะเห็นได้ว่า การตัดงานออก และกฎหมายที่มีลักษณะกดขี่ และเพทุบายการออกคำสั่ง ไม่ได้นำไปไหนเลย นอกจากในท้ายที่สุดแล้วจะก่อให้เกิดความขุ่นเคืองใจอย่างถาวร และเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดการจลาจลในอนาคตกับอำนาจ.
ในความสัมพันธ์กับเรื่องเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวโยงกับเรื่องการตัดงานออก จะต้องพิจารณาว่า บรรดาพวกชนชั้นสูงกำลังผูกพันกับนโยบายที่ทำลายตัวเองต่างๆ เมื่อพวกเขาไล่คนงานออกไปเป็นจำนวนมาก. Windsor Chorlton ได้อธิบายเอาไว้ว่า: ...
ชนชั้นสูงที่ยังคงแขวนอยู่กับงานต่างๆของพวกเขาอยู่
อาจกำลังหวนกลับไปสู่อาวุธเก่าแก่อันหนึ่ง นั่นคือ "ดาบสองคม". ขณะเดียวกัน ภาพที่น่าขนพองสยองเกล้าเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงในเรื่องงานและเงินเดือนที่ได้รับอยู่เสมอ
ทำให้บรรดาลูกจ้างทั้งหลายรู้สึกเมาค้าง, พวกเขาจะรู้สึกฝืนใจที่จะรับข้อผูกมัดทางการเงินในระยะยาว,
อย่างเช่น การจำนองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน บ้าน หรืออื่นๆ; ด้วยเหตุผลที่ต่อเนื่องกันไปนี้หมายความว่า
มีลูกค้าอยู่เพียงไม่กี่คนสำหรับผลผลิตต่างๆที่ถูกผลิตขึ้นมาโดยจำนวนแรงงานที่เบาบาง
แต่มีประสิทธิภาพสูง
(Chorlton, "The Daily Grind We Just Can't Do Without"
in Focus Magazine, 111. )
เมื่อผู้คนได้รับการจ้างงานไม่เต็มที่หรือพอเพียงต่อการยังชีพ หรือไม่ได้รับการจ้างงานเลย, พวกเขาก็จะมีกำลังซื้อน้อย และต้องการสินค้าต่างๆลดลง. ในท้ายที่สุด การผลิตสินค้าก็จะต้องถูกตัดจำนวนลง และบริษัทขนาดใหญ่ทั้งหลายก็จะมีผลกำไรลดลง, เพราะความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์อย่างเด่นชัด ไม่สามารถที่จะบริโภคได้พอกับระบบการผลิตอันมั่นคงได้เป็นเวลานานๆ.
ด้วยเหตุดังนั้น, มันจึงสามารถที่จะสรุปอย่างมีเหตุผลได้ว่า การตัดงานออกไปในสังคมร่วมสมัย เป็นไปได้ที่มันจะเป็นรากฐานของผลกำไรที่เพิ่มขึ้นโดยทันที, แต่ในระยะยาวแล้ว ผลที่สุด มันเป็นสาเหตุอันนำมาสู่การทำลายตนเอง ทั้งต่อบรรดาลูกจ้างแรงงานในอนาคตอันใกล้ และกับการปรับปรุงผลกำไรและความมั่งคั่งของพวกชนชั้นสูงในระยะยาว. การแก้ปัญหาที่ปรับไปสู่ความต้องการของมนุษย์อย่างมีเหตุผลมากกว่า จะต้องถูกค้นให้พบ ถ้าหากว่าผู้คนและสังคมต่างก็มีความรู้สึกอันหนึ่งเกี่ยวกับความหมาย และถ้าเผื่อว่าสังคมมีสำนึกอันหนึ่ง เกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรื่องและการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น. ส่วนหนึ่งของทางออกของปัญหา อาจค้นพบได้ในการปรับปรุงแก้ไขจริยธรรมในการทำงานของตะวันตก.
แม้แต่ในระบบศักดินาของอังกฤษ,
บรรดาชาวนาทั้งหลาย ต่างก็ถูกบังคับให้ใช้แรงงานเพื่อเจ้าของที่ดินหรือผู้เป็นนาย
ซึ่งปกติแล้วก็ประมาณ 2-3 วันต่อสัปดาห์, และถ้าเป็นเช่นนั้น ก็เพียงตราบเท่าที่ภาระงานนั้นๆต้องการพวกเขาเท่านั้น;
เช่น ฤดูการเพาะปลูก หรือฤดูการเก็บเกี่ยว ฯลฯ. พวกเขาได้รับสิทธิในวันหยุดด้วย
ซึ่งเป็นที่อิจฉาของบรรดาคนทำงานสมัยใหม่ทั้งหลาย; นอกไปจากวันอาทิตย์ พวกเขายังได้รับสิทธิ์เกี่ยวกับวันหยุดทางศาสนา
ประมาณ 50 วันต่อปี.
(Chorlton, "The Daily Grind We Just Can't Do Without"
in Focus Magazine 74.)
ในมุมมองของความเป็นอัตโนมัติที่เพิ่มขึ้นและการลดทอนจำนวนแรงงานลง, ถ้าหากว่าจริยธรรมในการทำงานสามารถได้รับการดัดแปลงปรับปรุง เพื่อยอมให้มีการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์, ซึ่งอาจจะยอมให้ผู้คนจำนวนมาก ได้รับการว่าจ้างอย่างเต็มที่กับงานจริงๆ, อันนี้อาจทำให้ผู้คนมีเวลามากขึ้นกับครอบครัว และยินยอมให้พวกเขามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งอาจให้ความหมายต่อการมีชีวิตอยู่ของพวกเขามากขึ้น.
บางครั้ง พวกเขาอาจมีการรวมตัวกันเป็นหุ้นส่วนการบริหารจัดการเล็กๆกับเพื่อนบ้าน หรือนัดหมายกันในกิจกรรมต่างๆเพื่อการพักผ่อน และหาความบันเทิงกับครอบครัว-เพื่อนฝูง. ถ้าอุดมคติต่างๆเกี่ยวกับการเป็นอาสาสมัคร และโครงการ"เพื่อนบ้านช่วยเพื่อนบ้าน"ได้รับการส่งเสริมไปตามการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเกี่ยวกับจริยธรรมในการทำงาน, ความเป็นอยู่ของผู้คน ก็อาจได้รับการปรับปรุงขึ้น. วัยรุ่นต่างๆสามารถที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวของพวกเขา ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งการลดเรื่องอาชญกรรมของวัยรุ่นลงมา.
เวลาที่น้อยลงในการทำงานสำหรับทุกๆคน อาจเปิดช่องว่างอันหนึ่งขึ้นมาของความเป็นไปได้ต่างๆ: เช่น ผู้คนสามารถจะมีส่วนร่วมกับชุมชนในโครงการที่สร้างสรรค์สิ่งสวยๆงามๆ, จัดให้มีงานเฉลิมฉลองมารวมตัวกันของชุมชน และกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้คนมารวมตัวกันอย่างมีความหมายต่อการมีชีวิตอยู่ของพวกเขา. แม้แต่จากจุดยืนในทางลบ ถ้าหากว่าผู้คนทั้งหมดซึ่งมีรายได้น้อย เนื่องมาจากการทำงานต่อสัปดาห์สั้นลง, ความขาดแคลนเกี่ยวกับความสมบูรณ์ในทางวัตถุก็จะได้รับการแพร่กระจายออกไปรอบๆอย่างเท่าเทียม และ, อย่างที่ถกเถียงกนได้, มันอาจจะมีการแบ่งแยกกันน้อยลงและความขุ่นเคืองใจก็ลดลงด้วย ที่มีมูลเหตุมาจากความๆไม่เสมอภาคกันทางวัตถุท่ามกลางผู้คนที่มีเบื้องหลังต่างๆทางสังคมเศรษฐกิจร่วมกัน.
การต่อต้านในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิรูปต่างๆทางด้านจริยธรรมการทำงาน ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เป็นเรื่องที่น่าพิจารณา เพราะมันจะมีต้นทุนสูงสำหรับธุรกิจที่แสวงหากำไร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจ่ายเพื่อผลประโยชน์ต่างๆ, เช่น เบี้ยประกัน ฯลฯ. การต่อต้านสังคมต่อการปฏิรูปจริยธรรมการทำงาน เป็นไปได้ที่น่าพิจารณาด้วยว่า เพราะด้วยลักษณะที่สุดขั้วมากของจริยธรรมการทำงาน(work ethic) ซึ่งฝังอยู่ในกระดูกลึกมากในจิตวิญญานของประชาชนชาวอเมริกัน ที่ว่า ผู้คนจะประสบกับความยุ่งยาก ซึ่งเกี่ยวพันกับความคิดของ การไม่ทำงานประจำตามปกติในพื้นฐานชีวิตประจำวัน. อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าใครคนหนึ่งพิจารณาว่า การปฏิวัติเทคโนโลยี เป็นไปได้ที่จะยังคงเป็นสาเหตุทำให้ผู้คนจำนวนมากไม่ได้รับการจ้างงานอย่างเต็มที่ในงานตามปกติ และการเรียกร้องต่างๆ ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมร่วมสมัย การสงวนรักษาทรัพยากรทางด้านวัตถุของโลก, การปฏิรูปจริยธรรมในการทำงาน เป็นไปได้ที่จะกลายเป็นสิ่งที่ปรารถนามากขึ้นในอนาคต.
ต่อตอนที่สอง I คลิกไปหน้าต่อไป
กลับไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com