บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 202 ประจำเดือน สิงหาคม 2545 (หัวข้อ แนวคิดและวิสัยทัศน์วิทยาศาสตร์)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
สำหรับฝรั่งเศสนั้น มีคำว่า Sciences humaines (พหูพจน์) หากพวกเยอรมันและวิลันดาเรียกAnthropology โดยที่เราเรียกว่า"มนุษยวิทยา"ในภาษาไทย แต่คำนี้ในภาษาฝรั่งเศส เรียกว่า Sciencesociale (เอกพจน์) และถ้าไม่ตระหนัก ก็จะหลงว่านี้คือ Social science ซึ่งแปลว่า"สังคมศาสตร์"ตามอย่างอเมริกัน ค่ายฝ่ายสังคมนิยมใช้คำว่า"วิทยาศาสตร์สังคม" นิยมใช้คำว่า"วิทยาศาสตร์สังคม"
ก็ถ้าเราไม่เข้าใจความไขว้เขวและสับสนของฝรั่งมาแต่ในอดีต แล้วเราเดินตามเขาอย่างเซื่องๆเราจะมีวิสัยทัศน์เป็นของเราเองได้ละหรือ สำหรับอนาคต แล้วเราจะให้สังคมศาสตร์ช่วยสังคมไทยได้อย่างไร
เราต้องเข้าใจด้วยว่าความสับสนดังกล่าวนี้ ไม่แต่ในทางภาษา หากในทางวิทยาการด้วย โดยเราต้องตราไว้ด้วยว่า การขยายตัวของความรู้หรือวิชาการนั้น ขึ้นอยู่กับความเป็นมา ปรัมปราคติและสมัยนิยมของท้องถิ่นนั้นๆที่ใช้ภาษานั้นๆด้วย
จริงอยู่คำว่า Science นี้มาจากภาษาละตินว่า Sceiente "ความรู้" และในมัธยมสมัยของยุโรปนั้น การเรียนขั้นสูงถือว่ามีรากเง่ามาจากกรีก กล่าวคือต้องรู้เจ็ดศิลปศาสตร์ (Seven liberal arts) ศิลปศาสตร์ของอินเดียนั้นมี ๑๘ หากจะไม่ขอเอ่ยถึงในที่นี้ จะว่าจำเพาะศิลปศาสตร์ของฝรั่ง คือ
สามวิชาแรก(Trivium)ได้แก่ ไวยากรณ์ (Grammar) วาทศาสตร์ (Rhetoric) และตรรกวิทยา (Logic) ผนวกเข้ากับสี่วิชาหลัง (Ouadrivium) ได้แก่ เลขคณิต(Arithmetic) เรขาคณิต (Geometry) ดาราศาสตร์(astronomy) และดนตรี (Music)
สามวิชาแรกถือว่าเป็นปรัชญา(Philosophy) ส่วนสี่วิชาหลังถือว่าเป็นศิลปะ หากทั้งหมดนี้รวมกัน ถือว่าเป็น"วิทยาศาสตร์"(Science)หรือ"องค์แห่งความรู้" ความข้อนี้ข้าพเจ้าได้บรรยายไว้แล้วอย่างพิศดารในปาฐกถา เสม พริ้งพวงแก้ว ครั้งที่ ๒ เรื่อง ไทยคดีศึกษากับองค์รวมแห่งความรู้
ต่อเมื่อฝรั่งได้รับความรู้จากอาหรับ จากฮิบรู และจากรัสเซีย หลังคริสตศตวรรษที่๑๒ แล้ว และกลับไปหาภาษากรีกโดยตรงอย่างไม่ต้องผ่านภาษาละติน นั่นแหละจึงรู้จักวิชาฟิสิกส์ (Physics) และอื่นๆซึ่งรวมเรียกว่า Natural philosophy แม้นิวตันและไลบ์นิตซ์ในสมัยของทั้งสองท่านนี้ และหลังจากนั้นอีกนาน ก็ยังถือกันว่าท่านทั้งสองนี้เป็น Natural Philosophers
แม้เด็กนักเรียนก็รู้หรือได้รับคำสั่งสอนมาว่า นิวตันเป็นบิดาของวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่และเรียนรู้เรื่องกฏแห่งการดึงดูดของท่าน แต่แม้ผู้ใหญ่รวมทั้งคนที่ตั้งตนเป็นนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ คงไม่รู้ว่านิวตันสนใจในเรื่องเล่นแร่แปรธาตุตามวิธีการของไสยศาสตร์ ไม่น้อยไปกว่าหรือยิ่งกว่าความสนใจของท่านในวิชาฟิสิกส์
จอห์น เมนาด เคนส์ ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญที่มีส่วนในการตั้งธนาคารโลกได้ศึกษาชีวประ วัติของนิวตันเป็นอย่างมาก แล้วเขาสรุปว่า นิวตันน่าจะเป็นนักเล่นแร่แปรธาตุคนสุดท้ายของยุโรป ยิ่งกว่า จะเป็นนักฟิสิกส์คนแรกของสมัยใหม่ โดยที่ความรู้ของนิวตันในเรื่องการเล่นแร่แปรธาตุนั้น ถูกปิดเงียบ อย่าง ไม่ยอมเปิดเผยมาจนเมื่อเร็วๆนี้เอง
นิวตันสนใจในเรื่องเล่นแร่แปรธาตุอย่างปราศจากหลักวิชาการทางฟิสิกส์หรือวิทยาศาสตร์ฉันใด เคป เลอร์ก็สนใจในทางโหราศาสตร์คล้ายๆกัน ชื่อฝรั่งทั้งสองนี้ เรารู้จักกันเพียงในฐานะนักวิทยาศาสตร์ แล้ว ศรี นิวาศ รามานุชัน เล่า เราคงไม่รู้ว่าท่านเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมของอินเดียมาราวๆสองพันปีเข้านี้แล้ว หากท่านถือว่าความรู้ทางวิชาคณิตศาสตร์ของท่านนั้น ท่านได้รับพรมาจากเทพธิดานามคิรี
ความเชื่อเช่นนี้ ไม่ได้ทำให้คณิตศาสตร์ของท่านลดน้อยถอยไป ดังความเชื่อของนิวตันในเรื่องเล่น แร่แปรธาตุ ก็ไม่ทำให้ความเป็นนักฟิสิกส์ของท่านลดน้อยถอยไปด้วยเช่นกัน
พระภัทรมุนี (อิ๋น) อาจารย์ของข้าพเจ้าที่วัดทองนพคุณ ก็เชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์และไสยศาสตร์ หากท่านนำศาสตร์ทั้งสองให้มารับใช้พุทธศาสน์ ดังหลวงพ่อวัดบ้านกร่าง อาจารย์พระธรรมปิฎก (ประยุทธ) ก็ขึ้นชื่อในทางไสยศาสตร์ หากท่านใช้พุทธศาสน์เป็นแกนนำ
ความสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ดังกล่าวนี้ มาจากรากฐานที่พวกกรีกถือว่าวิชาการทั้งหมด ต้องเป็นไปตามนัยยะแห่งตรรก (ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสเตือนให้ระมัดระวัง) โดยต้องหาเหตุผล (Rationality) มาสรุปลงให้ได้ ดังเรขาคณิตของยูคลิดเป็นพยาน จนเปลโต้บอกว่า พระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์นั้นทรงคิดวิชา เรขาคณิตอยู่ทุกขณะ
และจากวิชาดังกล่าวนี่เอง ที่ตะวันตกยึดเป็นเกณฑ์ บวกเข้าไปกับความสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆแล้วเอามาทดลอง โดยที่อริสโตเติลเป็นคนสำคัญสุดในเรื่องดังกล่าว จนตั้งทฤษฎีต่างๆขึ้นได้ในทางวิชาการแทบทุกแขนง ซึ่งกรีกโบราณรวมเรียกว่า"วิทยาศาสตร์" อันได้แก่ฟิสิกส์ จิตวิทยา และทฤษฎีทางกวีนิพนธ์
พวกเราที่เรียนงานของเปลโต้ทางทฤษฎี หรือวิทยาศาสตร์สังคมนั้น เรามองข้ามรหัสนัยที่เอ่ยถึงไว้ในหนังสือต่างๆของท่านเสียเลยทีเดียว เพราะนั่นไม่เป็นวิทยาศาสตร์
อันตรายของอริสโตเติลอยู่กับกรณีที่พวกบาทหลวงถือว่า ความรู้อื่นใดที่นอกเหนือไปจากทฤษฎีของ ท่านนั้นผิด จึงเกิดกรณีของกาลิเลโอขึ้น การค้นพบของกาลิเลโอเดินตามหลังคอเปอนิกัส ดังทางอังกฤษก็มี เบคอน และนิวตัน ที่ถือกันว่าวิทยาศาสตร์จำต้องก้าวไปข้างหน้าในทางวิชาการ ทั้งๆที่วิทยาศาสตร์หรือวิชาการนั้นเป็นเรื่องที่ต้องการแสวงหาความจริง ยิ่งเมื่อไปผนวกเข้ากับความคิดของนักปราชญ์ อย่างเดส์ คาสต์ ในเรื่อง Cogito ergo sum เข้าด้วยแล้ว ความคิดจึงเป็นหลักให้นักวิทยาศาสตร์แสวงหาความจริงโดยใช้สมองเป็นตัวตัดสิน โดยมีสังเกตการณ์กับห้องทดลองเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ อันเป็นเหตุให้ความรู้ หรือวิทยาศาสตร์อย่างฝรั่งแตกแขนงออกไปเป็นเสี่ยงๆ และฝังตัวลงลึกไปยิ่งขึ้นทุกที
โดยที่ในบัดนี้ บางคนถือเอาว่าวิทยาศาสตร์เป็นดังลิทธิศาสนาเอาเลย คือนักวิทยาศาสตร์ประกาศสัจวาจาหรือทฤษฎีหนึ่งใดออกมา ใครๆก็ต้องเชื่อถือตาม จะโต้แย้งหรือวิพากษ์วิจารณ์มิได้ ยิ่งภาษาในทางวิทยาศาสตร์สลับซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากขึ้นเพียงไร เต็มไปด้วยสัญลักษณ์ต่างๆยิ่งขึ้นเท่าไร คนที่พวกนักวิทยาศาสตร์ถือว่าไม่ได้อยู่ในแวดวงของตน ก็ย่อมต้องถูกกันห่างออกไปทุกที จนถึงมีคนเป็นอันมากเห็นว่านักวิทยาศาสตร์เป็นดังพ่อมดหมอผี ที่รับใช้แต่คนรวย หรือรัฐบาล กับบรรษัทข้ามชาติ ยิ่งกว่าที่จะสนใจคนยากคนจนเอาเลย
ยิ่งวิทยาศาสตร์ธรรมชาติก้าวหน้าไปเท่าไร วิทยาศาสตร์สังคมก็พยายามเลียนแบบหรือเดินตามวิธี วิทยาของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเท่านั้น จนความรู้ไม่จำต้องสัมพันธ์กับความดีเอาเลย
วิทยาศาสตร์จึงเป็นไปแต่ในทางความรู้ทางด้านพุทธิศึกษา โดยโยงไม่ถึงจริยศึกษา เพราะจริยศึกษานั้น พิสูจน์ไม่ได้ตามวิถีทางของวิทยาศาสตร์ แม้คำว่าความดี ก็นิยามไม่ได้เสียแล้ว นักวิทยาศาสตร์จะมีจริยธรรม ก็เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล
การต่อท่อแก๊สจากพม่ามาเมืองไทย ต้องใช้วิธีการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยขบวนการดังกล่าวทำลายสิทธิมนุษยชนของคนพม่าอย่างเลวร้ายที่สุด และกำลังทำลายป่าดงดิบของเราอย่างเลวร้ายปานๆกัน กรณีเช่นนี้ นักวิทยาศาสตร์ควรมีจุดยืนอยู่ตรงไหนหรือไม่ ก็เลยต้องเป็นเรื่องตัวใครตัวมันไป
นอกไปจากนี้แล้ว วิชาแพทยศาสตร์แบบฝรั่ง ยังถูกวิธีของตน บดบังไม่ให้ยอมรับอายุรเวทของเอเชีย วิชาฝังเข็มของจีน และวิชาแพทย์ไทย ที่ถูกเรียกว่าแพทย์แผนโบราณ ดังไม่รับรองวิชาหมอนวดด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพียงเพราะวิชาเหล่านั้น ไม่เข้าเป้าของวิธีวิทยาที่พวกตนได้รับการอบรมสั่งสอนมาตามทฤษฎีของฝรั่งเท่านั้นเอง
ทั้งนี้โดยไม่ต้องกล่าวต่อไปก็ได้ว่า แพทย์ส่วนใหญ่รับใช้บริษัทยา และรับเทคโนโลยีการแพทย์มาอย่างเชื่องๆ ทั้งๆที่บริษัทผลิตยาและผลิตเทคโนโลยีพวกนี้มีพิษภัยเพียงใด แพทย์ส่วนใหญ่ก็ไม่รับรู้เอาเลย ยิ่งโรงพยาบาลเอกชนด้วยแล้ว รับใช้ลัทธิทุนนิยมฝ่ายเดียวเอาเลยก็ว่าได้
พวกเห่อวิทยาศาสตร์ เห็นว่ายุคสมัยแห่งการตื่นตัวทางวิชาการ The age of Enlightenment เป็นชัยชนะของวิชาการเหนือสถาบันทางศาสนาและไสยเวทวิทยา เป็นชัยชนะของความคิดอันนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้า จนเกิดการปฏิวัติใหญ่ทางอุตสาหกรรม พัฒนาการต่างๆทางเทคโนโลยี ซึ่งเข้ามาใกล้ชิดสนิทสนมกับวิทยาศาสตร์จนแทบแยกกันไม่ออก
ผู้ที่อยู่อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ยกย่องยุค Romantic ในยุโรปยิ่งกว่ายุค Enlightenment พวกนี้เน้นที่นักปรัชญา ยิ่งกว่านักวิทยาศาสตร์ เพราะเห็นว่าการใช้เพียงความคิดที่กำหนดโดยเหตุผลอย่างตายตัวนั้นมีข้อจำกัดยิ่งนัก พวกนี้ท้าทายด้วยว่าความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการที่พวกนักวิทยาศาสตร์อวดอ้างนั้นไม่เป็นจริงเสมอไป และที่อ้างว่าวิชาการของตนเป็นไปอย่างปรนัยหรือปรวิสัย Objective นั้นก็ไม่เป็นความจริงแท้ทีเดียว เพราะนักวิทยาศาสตร์มักอิงอยู่กับอำนาจรัฐ อิงกับโครงสร้างทางสังคมอันอยุติธรรมและรุนแรง จนบางแขนงวิชาของวิทยาศาสตร์นั้น เป็นไปอย่างเผด็จการ พวกศาสตราจารย์นั้นน้อยคนนักที่จักรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ ยิ่งให้มีการร่วมมือกันทางวิชาการอย่างประชาธิปไตยด้วยแล้ว เป็นไปไม่ได้เอาเลย
ก็เมื่อการก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยนี้ ผูกพันหรือพัวพันกับการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์- เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดด้วยแล้ว วิชาการดังกล่าวยิ่งเป็นที่สงสัยกันเป็นอย่างมาก อย่าว่าแต่บริษัทผลิตอาวุธและค้าอาวุธเลย แม้บริษัทน้ำมันและบริษัทแก๊สก็เข้ามาก้าวก่ายกับวิชาการสถานใด กับสถาบันการศึกษาที่ผลิตนักวิชาการอย่างไร แยบยลหรือความซับซ้อนเงื่อนต่างๆนั้น วิทยาศาสตร์ที่สนใจจำเพาะวิชาการของตน โดยไม่มองรอบออกไปยังสังคมของคนทุกข์ยาก ของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ย่อมตกเป็นเครื่องมือของอวิชชาได้ง่าย แม้ตนจะอ้างว่าปราศจากอคติก็ตาม ดังนักวิทยาศาสตร์ฝรั่งส่วนใหญ่ ก็เป็นผู้ชายที่เอาเปรียบผู้หญิงอย่างรู้ตัวหรือไม่ก็ตามนั่นเอง
เราน่าจะตราไว้ว่าวิทยาศาตร์เป็นเพียงแขนงหนึ่งของความรู้ ไม่ว่าจะวิทยาศาสตร์สังคม หรือวิทยา ศาสตร์ธรรมชาติ วิทยาศาสตร์มีจุดเด่นทางด้านการค้นคว้าทดลอง (โดยใช้หนูตะเภาหรือวัตถุใดๆก็ตาม) และเน้นในด้านสังเกตการณ์ (เช่นพยากรณ์อากาศและพฤติกรรมของมนุษย์หรือสัตว์) แต่ที่วิทยาศาสตร์ขาด มากคือ ประสบการณ์ในด้านการมีส่วนร่วมกับคนอื่นๆนอกแวดวงของตน วิทยาศาสตร์ไม่รับรู้ในเรื่องความทุกข์ สุขของมนุษย์ ยิ่งในเรื่องของจิตวิญญาณ ในเรื่องของความงาม ความดี และความยุติธรรมด้วยแล้ว นับว่าวิทยาศาสตร์ขาดไปอย่างสำคัญ
ความข้อนี้ ทำให้ต้องนึกถึงคำของประธานาธิบดี วาคลาฟ ฮาเวล แห่งสาธารณรัฐเช็คที่กล่าวว่า "ทุกวันนี้ หลายสิ่งถือว่าเรากำลังอยู่ในสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง โดยที่บางอย่างกำลังปลาสนาการไปและบางอย่างกำลังเกิดขึ้นใหม่อย่างทนทุกข์ทรมาน เช่น เรารู้เกี่ยวกับจักรวาลนี้มากมายเหลือเกิน เรารู้ยิ่งกว่าบรรพชนของเราหลายต่อหลายเท่า แต่พร้อมกันนั้นก็ดูเหมือนว่าบรรพชนของเรารู้ถึงสาระจักรวาลยิ่งกว่าเรา โดยที่เราจับประเด็นเรื่องสาระไม่ได้เอาเลย เราจึงอยู่ในสถานะที่ขัดกัน กล่าวคือ...
เราได้รับผลผลิตจากอารยธรรมสมัยใหม่ ให้ความรู้สะดวกสบายที่เราอาจดำรงร่างกายของเราง่ายขึ้นในหลายๆประการที่สำคัญๆ แต่แล้วเราก็ไม่รู้ว่าเราควรทำอย่างไรกับตัวเรา เราจะไปทางไหนกัน เราเข้าใจชีวิตของเราน้อยลงไปทุกทีๆ กล่าวอย่างสั้นๆนั้นคือ เรากำลังอยู่ในโลกที่พ้นสมัยปัจจุบันออกไป หมายความว่าอะไรๆก็เป็นไปได้ แต่ไม่มีอะไรแน่นอนเอาเลย"
"วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ"หรือ"วิทยาศาสตร์สังคม"ไม่ช่วยเรามากนัก เพราะวิชาการแบบฝรั่งปราศจากประสบการณ์ภายใน
ประสบการณ์นั้นคือสิ่งสำคัญที่สุด ดัง วิลเลียม เจมส์ ยืนยันว่า คนที่ไม่มีประสบการณ์ทางศาสนา ก็ได้แต่สอนศาสนาตามคัมภีร์เท่านั้นเอง หรือดังที่ท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตโตกล่าวว่า "เอาพวกอธรรมมาสอนธรรมะ มันก็เป็นอธรรมไปหมด"
จากประสบการณ์ของชีวิต ที่เราอาจเข้าถึงความสัตย์จริงภายในตัวตนของเรา จนไปพ้นการติดยึดในตัวตนได้ด้วย โดยเราอาจโยงถึงคนอื่นๆอย่างเป็นอิทัปปัจจยตา ช่วยให้เราเกิดความอ่อนน้อมถ่อมตน ยิ่งตัวเราเข้าถึงชุมชนที่ถูกเอาเปรียบ และมีประสบการณ์ร่วมกับเขาอย่างจริงใจ ความอหังการณ์ทางวิชาการจะลดน้อยถอยลงจนปลาสนาการไป ความรู้กลายเป็นความเข้าใจ หรือปัญญา ซึ่งกลายมาเป็นความรักหรือกรุณาได้ด้วยอย่างฉับพลัน
ความเชื่อมั่นในวิธีวิทยาที่ถูกตะวันตกครอบงำย่อมลดน้อยถอยลงได้ ถ้าเราพิจารณากระดาษแผ่นนี้ตาม- ทฤษฎีของฟิสิคส์ ของเคมี ของชีววิทยา เราก็จะได้ความรู้อย่างแยกแยะออกเป็นเสี่ยงๆ โดยที่ถ้าเราใช้วิชาเศรษฐศาสตร์มาจับ ก็จะได้อีกแง่มุมหนึ่ง ยิ่งเศรษฐศาสตร์กระแสหลักด้วยแล้วไม่เห็นคุณค่าของมนุษย์เอาเลย แต่ถ้าเราเอาเกณฑ์ทางกวีนิพนธ์ผนวกกับพุทธศาสนามาพิจารณา เราก็จะฟังคำของท่านนัทฮันท์ได้อย่างมีมนสิการ
ท่านบอกว่าในกระดาษแผ่นนี้ มีต้นไม้ มีเมฆ มีฝน มีแผ่นดิน มีคนตัดไม้ มีโรงงานทำกระดาษ คนตัดไม้ถูกเอาเปรียบค่าแรง พระที่ไปบวชต้นไม้ถูกจับ โรงงานกระดาษต้องการกำไร พ่อค้าซึ่งหากินกับนักการเมืองไม่ใยดีว่าป่าจะหมดไปหรือไม่ ความสมดุลย์ทางธรรมชาติจะเป็นอย่างไร โดยที่เราเข้าใจขบวนการทั้งหมดนี้ ไม่เพียงที่หัวสมอง หากโยงหัวสมองมาสู่หัวใจ เราก็จะเข้าใจว่าเราสัมพันธ์กันกับกระดาษแผ่นนี้ และธรรมชาติทั้งหมด ดังที่คุณกับผมก็สัมพันธ์กัน เป็นอิทัปปัจจยตาซึ่งกันและกัน
ถ้าวิทยาศาสตร์ในอนาคตเข้าใจในเรื่องอิทัปปัจจยตา โดยโยงมาถึงอริยสัจสี่ มีทุกข์เป็นตัวตนซึ่งโยงไปถึงเหตุแห่งทุกข์ ที่ความโลภ โกรธ หลง อันเราทุกคนถูกมันครอบงำ โดยลัทธิบริโภคนิยม ทุนนิยม อำนาจนิยม ตลอดจนอัตตนิยม แล้วเราต้องหาทางดับทุกข์ ทั้งภายในตัวเราและภายในสังคม ซึ่งมีโครงสร้างอันอยุติธรรมและรุนแรง หากเราเข้าใจเดินตามทางของพระอริยมรรคอย่างสันติ ให้เกิดความปกติภายในตัวเราและสังคม(ศีล) โดยรู้จักโยงหัวสมองกับหัวใจให้เข้าถึงกัน(สมาธิ) เราทุกคนก็จะเกิดความเข้าใจอย่างเป็นองค์รวมยิ่งกว่าความรู้เป็นเสี่ยงๆ(ปัญญา) และปัญญาที่ช่วยลดความเห็นแก่ตัวย่อมควบคู่ไปกับกรุณา คือ ความรักเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะก็คนที่ด้อยกว่าเรา คนที่ถูกเอาเปรียบ และเราจะรักสรรพสัตว์ อุทิศตนเพื่อสรรพสัตว์ โดยมีความรู้เป็นเพียงบรรทัดฐาน
ที่จริง ข้าพเจ้าควรจะจบคำบรรยายได้แล้ว หากเผอิญได้อ่านงานของ George Devereux เรื่อง From Anxiety to Method in the Behavioural Sciences เห็นเกี่ยวข้องกับการวิจัยซึ่งเป็นส่วนสำคัญของวิทยาการสมัยใหม่ จึงขอแถมอีกนิด เพื่อเป็นปฏิการแด่นายแพทย์วิจารณ์ พานิช แห่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เพราะการวิจัยถือว่า เป็นปัจจัยหลักของวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ หรือสังคมศาสตร์
เดเวอเรอซ์ กล่าวว่า การวิจัยนั้นไม่ใช่การศึกษาในเรื่องวิชานั้นๆเท่านั้น หากผู้ศึกษาหรือผู้วิจัยต้องเข้าใจพฤติกรรมของตัวเราเองด้วย ดังหนังสือของเขาแยกการวิจัยเป็นสามส่วนคือ
๑) พฤติกรรมของเรื่องราวที่ต้องการวิจัย
๒) ผลกระทบซึ่งเขาใช้คำว่า disturbances ที่เกิดจากความมีความเป็นและกิจกรรมแห่งความสังเกตที่ผู้วิจัยมีต่อเรื่องที่ตนต้องการวิจัย
๓) พฤติกรรมของผู้วิจัยเอง ซึ่งรวมถึงความทุกข์ยากภายในตน การปกป้องผลงานของตน วิธีการวิจัยของตน ตลอดจนการตัดสินใจในการให้ความหมายกับการสังเกตหรือวิจัยนั้น
เดเวอเรอซ์ กล่าวว่าวิธีวิทยาของนักวิจัยที่แล้วๆมา มักไม่ครอบคลุมถึงประเด็นที่สาม มัวไปเน้นในข้อแรก โดยไม่พยายามทำความเข้าใจในเรื่องตนเองเลย สิ่งซึ่งเรียกว่าการวิจัยอย่างบริสุทธิ์นั้น แท้ที่จริงมีอคติหรือความครอบงำทางวิชาการรวมอยู่ด้วยอย่างไม่น้อยเลยทีเดียว
ในการวิจัย นักวิจัยมักใช้คำว่า ออกไปทำงานสนามที่เราแปลมาจากคำว่า field work คือไปดูคนอื่น สัตว์อื่น วัฒนธรรมอื่น ถ้านักวิจัยในอนาคต จะเปลี่ยน field work มาเป็น home work จะได้ผลมากกว่า กล่าวคือ ควรสำรวจตรวจดูตนเอง จากภายในบ้านเรือนของตนก่อน ที่จะไปสำรวจตรวจดูคนอื่น สิ่งอื่น วัฒนธรรมอื่น การวิจัยใหม่นั้น มีข้อเสนอ ๓ ประการดังต่อไปนี้คือ
๑) อย่าใช้วิธีที่อ้างความแน่นอนทางวิชาการดังแต่ก่อน (Positivism Philosophy) เขาใช้คำเป็นภาษาอังกฤษอย่างใหม่ว่า Not a human หากให้เข้าหาความรู้สึก เข้าหาธรรมะ เข้าหาจิตวิญญาณ
๒) อย่าใช้วิธีที่มนุษย์เป็นศูนย์กลาง หากให้เป็นไปอย่างมนุษย์ (Not human center but humanist approach)ให้เห็นว่ามนุษย์มีส่วนสัมพันธ์ในสังคม
๓) ให้วิจัยอย่างมีส่วนร่วม ดังข้าพเจ้าเคยทำมาเมื่อเริ่มตั้งสถาบันสันติประชาธรรม กล่าวคือแม้การวิจัย ในชุมชน ก็ให้ชาวบ้าน พระ และชี มีส่วนร่วมเป็นนักวิจัยด้วย ไม่ใช่เป็นเพียงตัวประกอบ หรือต้องให้ข้อมูลแก่นักวิจัย ซึ่งต้องเป็นบัณฑิตเป็นผู้รู้เท่านั้น
นอกไปจากนี้แล้วการวิจัยควรเป็นไปอย่างชนิดที่ไม่ให้มนุษย์สำคัญจนเกินไป หากมนุษย์ควรมีส่วนสัม พันธ์กับสังคมและสัตว์ ตลอดจนสิ่งแวดล้อม (decentalizing human research plus ecological element)
สำหรับวิธีวิทยาแห่งการวิจัย ควรมี ๕ หัวข้อคือ
(๑) ให้ถือว่าการวิจัยเป็นขบวนการ ที่ทำการไปเรื่อยๆเหมือนเราเดินอยู่บนหนทาง
(๒) ให้ถามเสมอว่าเรามาจากไหน เราอย่าให้คำตอบง่ายๆดังกรณีของดาวินที่ว่าคนมาจากลิง หรือ The big boom theory ที่พวกนักวิทยาศาสตร์ยึดถือมาเป็นดังกับว่านี่คือสัจจะ
(๓) ต้องถามต่อไปว่าเรากำลังจะไปไหน กล่าวคือการวิจัยต้องมีผลกระทบถึง การเมือง ถึงคุณธรรม และจริยธรรม
(๔) ต้องแสวงหาสาระ ทั้งโดยกาลและสถานที่ อย่าหาเพียงข้อมูล ต้องหาความหมายของข้อมูลอย่าง อ่อนน้อมถ่อมตน อย่างทฤษฎีในเรื่องการวัดความฉลาดของคนนั้น ปรากฏมีผลออกมาว่า คนในติมอร์ตะวันออก มี IQ ต่ำกว่าในประเทศอื่นๆ แต่แล้วคนในประเทศนี้ได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพ เมื่อปีกลาย และแสดงวาทะอย่างคมคายยิ่งนัก ดังนี้เป็นต้น
(๕) การวิจัยนั้นๆต้องโยงถึงมนุษย์และสัตว์อื่นๆสิ่งอื่นๆ
โดยที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน ข้าพเจ้าจำต้องบอกว่าการใช้เงินของหน่วยงานนี้เท่าที่ปรากฏกับข้าพเจ้า มีผลออกมาแบบกึ่งดิบกึ่งดียิ่งกว่าเข้าถึงความเป็นเลิศ อย่างเลือกที่รักมักที่ชัง อย่างถูกครอบงำโดยวิธีวิทยาอย่างฝรั่งมิใช่น้อยเลยทีเดียว ถ้านายแพทย์วิจารณ์ พานิช มีจิตใจกว้างพอที่จะฟัง ข้าพเจ้าจะจาระไนได้เป็นข้อๆ โดยหวังว่าข้อความที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ คงมีประโยชน์บ้าง แม้จะไม่ถึงกับชัดไปเสียเลยทีเดียวก็ตาม
แต่เพื่อไม่ให้เสียเวลาของที่ประชุม ขอสรุปเพียงว่า การวิจัยหรือการเป็นนักวิทยาศาสตร์ ตลอดจนนักวิชาการที่ดี ควรฟังเดอเวอเรอซ์หรือไม่ก็ตาม หากควรเชื่อตามคำแนะนำของพระพุทธเจ้าว่า ต้องรู้จักตัวเองก่อน รู้จักตัดอคติทั้ง ๔ ออกไปให้ได้ หรือให้เบาบางลง คือลดโกรธ, หรือเกลียด, ลดความกลัว, ลดความโลภ, และลดความหลง
นอกไปจากนี้แล้ว พระพุทธองค์ยังทรงเตือนด้วยว่าปปัญจธรรม ๓ ประการก็เป็นมารที่คอยกีดขวางความงอกงามแห่งความรู้ และความรักอีกด้วย คือตัณหา (ความทะยานอยาก) มานะ(ความถือตน) และทิฐิ(ทฤษฎีหรืออุดมการณ์ต่างๆ)
ถ้าเราจะใช้วิทยาศาสตร์เพื่อรับใช้สังคม เราควรให้ฝรั่งที่ครอบงำเราลดน้อยถอยอำนาจลง หรือให้รู้จักความคิดและความรู้ของฝรั่งอย่างไม่เคารพและเลื่อมใสไปเสียเลยทีเดียว คติดังกล่าวมาจากพระปัจฉิมวาจาภาษิตในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ
พร้อมกันนั้นก็น่าจะรู้จักศึกษาพุทธธรรมในฐานะที่เป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ เพราะพระพุทธองค์ทรงปราศจากอคติและปปัญจธรรมทุกประการ ผิดไปจากนิวตันและนักวิทยาศาสตร์ต่างๆ ซึ่งยังถูกครอบงำด้วยอวิชชาแทบทุกคนไป มากน้อยตามส่วน
นิมิตรดีก็ตรงที่นักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเองเริ่มเปลี่ยนมิติจากเดิม ดัง "เต๋าแห่งฟิสิคส์" และ "จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ" ของ ฟริตจอป คาปรา เป็นเพียงตัวอย่างน้อยๆ ที่มีแปลเป็นไทยแล้ว รวมทั้งเศรษฐศาสตร์แนวพุทธของ ชูมากเกอร์ด้วย ส่วนวิทยาศาสตร์แนวพุทธของ โรเบิร์ต เอกเซลนั้น ดูเหมือนยังไม่แปลออกเป็นภาษาไทย
นอกไปจากนี้แล้ว เกิร์ก แพตริก เซล ยังบอกเราด้วยในหนังสือชื่อ Rebel Against the Future ของเขา ว่าการปฏิวัติใหญ่ทางอุตสาหกรรมในอังกฤษเมื่อสองศตวรรษก่อนนั้น เรามักถือกันว่าเป็นความสำเร็จของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งๆที่เหตุการณ์คราวนั้นนำความหายนะมาให้ชาวนาในอังกฤษเป็นเรือนแสน รวมถึงช่างฝีมือต่างๆด้วย แล้วชนชั้นนำในอังกฤษใช้เทคโนโลยี ทั้งเรือรบและปืนไฟ ขยายจักรวรรดินิยมและทุนนิยมออกไปทำลายประเทศต่างๆเกือบทั่วโลก พร้อมกันนั้นเซลก็เตือนเราด้วยว่า เทคโนโลยีอย่างล่าสุดในปัจจุบันและคอมพิวเตอร์จะทำให้ชนชั้นกลางว่างงานยิ่งๆขึ้นทุกที ในอีกสองทศวรรษข้างหน้านี้
ถือได้ว่านี่เป็นคำเตือนที่ดี ที่เราควรมีมนสิการ นักวิทยาศาสตร์ไม่ว่าจะทางสังคมหรือทางธรรมชาติควรเปลี่ยนวิธีคิด ควรเปลี่ยนจุดยืน โดยพยายามเปลี่ยนจิตใจของเราเองด้วย คำว่า"ความรู้"นั้น ในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า Connaitre ซึ่งแปลได้ว่า "เกิดขึ้นร่วม" (co-Naitre) ถ้าเราเข้าใจว่าความรู้เป็นการเกิดขึ้นร่วม เราจะโยงมาถึงอิทัปปัจจยตาของเรา โดยที่ความรู้กลายเป็นความรักนั้น ไม่แต่ในภาษาของฝ่ายพุทธ ที่"กรุณา"ควบคู่ไปกับ"ปัญญา" หากในภาษาฮีบรู คำว่า"ความรู้"กับ"ความรัก"นั้นเป็นคำเดียวกันด้วย
วิสัยทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของไทยในทศวรรษหน้า น่าจะมีความเข้าใจกับความรักเป็นบรรทัดฐาน โดยมีความเป็นตัวของเราเอง นอกการครอบงำทางปัญญาของนักวิทยาศาสตร์ฝรั่งกระแสหลัก แล้วเราจะมองไปข้างหน้าอย่างโปร่งใสได้จริงๆ
หวังว่าที่กล่าวมานี้ คงนำไปประยุกต์ได้กับการใช้สังคมศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์สังคมเพื่อคุณประโยชน์ของสังคมไทย ทั้งนี้หมายถึงนักวิชาการ นักวิจัย นักเรียน นักสอนต้องรู้จักตนเอง และรู้จักวางท่าทีที่ถูกต้องกับวิธีวิทยาของสาขาวิชาของตน อย่างไม่ลงร่องลึกไปเป็นเสี่ยงๆ หากให้รู้จักโยงอะไรๆอย่างเป็นองค์รวม ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน โดยต้องคำนึงถึงภูมิธรรมชาวบ้านและวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยเสมอไป หากเข้าใจถึงพุทธรรมในฐานะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ทั้งทางด้านธรรมชาติ และทางด้านสังคม จะช่วยให้เห็นอะไรๆชัดเจนยิ่งๆขึ้นได้โดยแท้
บรรยาย "การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยครั้งที่๒๓" (เชียงใหม่) ๒๒ ต.ค ๔๐
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งยอหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
วิสัยทัศน์ของวิทยาศาสตร์ไทยในศตวรรษหน้า
สุลักษณ์ ศิวรักษ์
คำว่า "สังคมศาสตร์" นั้น อีกฝ่ายหนึ่งใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์สังคมไ เราคงต้องตกลงกันก่อนว่า "วิทยาศาสตร์" แปลว่าอะไร ถ้าดูตามรูปศัพท์ ก็จะเห็นคำสันตกฤตสองคำรวมกันคือ "วิทยา"แปลว่า"ความรู้" และ"ศาสตร์" (คำเดียวกับศาสตรา) แปลว่า "แหลมคม" นั่นเป็นการแปลตามพยัญชนะ แต่ถ้าจะแปลโดยอรรถ ก็ต้องรู้ว่าเราบัญญัติคำนี้ขึ้นมาจากภาษาอังกฤษ SCIENCE ซึ่งเจาะลงไปในเบื้องต้น ที่วิชาอันว่าด้วยวัตถุ หรือสิ่งซึ่งมีชีวิต
แต่ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเขียนเหมือนกันกับอังกฤษ หากออกเสียงต่างกัน และมีหน่วยความกว้างออกไป ให้รวมถึงวิชาการอันว่าด้วย"มนุษย์ สังคม ธรรมชาติและอื่นๆ" อีกด้วย แม้เยอรมัน (Wissenchaft) วิลันดา (Wetenschap) หรือรัสเซีย (Nauka) จะมีรูปร่างทางภาษาด้วยกัน แต่ก็กินความเหมือนกันกับความหมายในภาษาฝรั่งเศส
ในภาษาอังกฤษมีความสับสน เวลาพูดถึง Human sciences, Humanities, letters และ arts หากในภาษาไทย เรามักหลับตาบัญญัติศัพท์ตามฝรั่ง โดยไม่เข้าใจในด้านความสับสนของภาษาเอาเลย
ออเดน (W.H. Auden) กวีอังกฤษคนสำคัญ ที่ภายหลังแปลงสัญชาติเป็นอเมริกัน บอกว่าบิดาเขาสนใจในวิชาชีพสองแขนงคือ"ชีววิทยา"และ"วิชาการแพทย์" หากท่านยืนยันว่าวิชาทั้งสองนั้นเป็น Humanities ไม่ใช่ Science ดูเหมือนเราแปล Humanities ว่าเป็นมนุษยศาสตร์ ซึ่งถ้าว่ากันตามอรรถะแล้ว ควรเป็นมนุษยธรรมศาสตร์มากกว่า