ผู้หญิงได้ถูกพิจารณาว่าเป็นคนที่ไร้เดียงสา: ฟรอยด์กล่าวเอาไว้ว่า พวกเธอเป็นพวกที่หลงใหลในรูปลักษณ์ของตัวเอง(narcissistic), ขาดความสนใจในความจริง, อ่อนแอขี้ขลาด, รู้สึกด้อยกว่าผู้ชายในเรื่องกายวิภาค, สติปัญญาน้อยกว่า, และศีลธรรมจรรยาน้อยกว่า.

ข้อเท็จจริงก็คือว่า ผู้หญิงเป็นคนที่หลงใหลในรูปลักษณ์ของตัวเองน้อยกว่าผู้ชาย, สำหรับเหตุผลง่ายๆก็คือว่า เกือบจะไม่เคยเลย ที่ผู้ชายจะทำอะไร ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์ของการสร้างความประทับใจขึ้นมา

QUOTATION

บทความชิ้นนี้
แปลมาบางส่วนจาก
เรื่อง Erich Fromm, Feminism, and the Frankfurt School เขียนโดย Douglas Kellner

สมเกียรติ ตั้งนโม : แปล
คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชี่ยงใหม่

ผลงานภาพของ Tamara de Lempicka ชื่อภาพ The Two Friends จากหนังสือ The 20th Century Art Book หน้า 267 (ภาพประกอบดัดแปลง)
H
home

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิกที่ปุ่ม member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ปุ่ม contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
(midnightuniv(at)yahoo.com)

บทความลำดับที่ 160 ของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ความยาวประมาณ 13 หน้ากระดาษ A4 (ไม่สงวนลิขสิทธิ์)
การกล่าวว่า ผู้หญิงขาดความสนใจในความจริง สิ่งที่พวกเราควรจะกล่าวเกี่ยวกับความสนใจในความจริงของผู้ชายในยุคหนึ่งก็คือ รัฐบาลของประเทศตะวันตกทั้งหลาย, ที่ประกอบด้วยผู้ชาย, ต่างใช้จ่ายเงินทองของพวกเขาไปกับการสร้างระเบิดปรมาณู แทนที่จะให้ความเอาใจใส่ต่อการคุกคามผู้หญิง - เด็ก และแทนที่จะหลีกเลี่ยงหายนะและภัยพิบัติซึ่งคุกคามโลกทั้งมวล ใช่หรือไม่?
(Fromm 1975, pp. 59 and 94)
ฟรอม์มเป็นสมาชิกคนหนึ่งของ SANE และกลุ่มเคลื่อนไหวอื่นๆที่ต่อสู้เพื่อให้มีการปลดอาวุธ และได้ให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อขบวนการต่อต้านสงครามในช่วงทศวรรษที่ 1960s ซึ่งพุ่งตรงสวนทางกับความก้าวร้าวของอเมริกันในเวียดนาม. ในหนังสือเรื่อง May Man Prevail (1961) เขาได้วิพากษ์มายาคติของสงครามเย็นและวิเคราะห์ว่า "Sane versus Pathological Thinking in Politics" (การต่อสู้กันระหว่าง SANE กับ ความคิดที่ป่วยเป็นโรคในทางการเมือง)" ที่ได้วิพากษ์วิจารณ์ความคิดจิตบกพร่องในความหวาดระแวง(paranoid thinking), การวางแผน, และความคิดแบบมนุษย์กล(automaton thinking) ซึ่งยังคงเป็นประโยชน์อยู่มากในการวิเคราะห์วาทกรรมและสัจธรรมทางการเมืองร่วมสมัย.

 


 

This article translated from "Fromm on Gender: Conflicting Models" and "Fromm, the Peace Movement and Feminism"

Erich Fromm
แนวคิดสตรีนิยม มาตาธิปไตย และสันติภาพ

สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลจากต้นฉบับเรื่อง
Erich Fromm, Feminism, and the Frankfurt School
By Douglas Kellner

คำชี้แจง : บทความนี้ต่อเนื่องกับบทความลำดับที่ 159 เรื่อง "Erich Fromm : แนวคิดสตรีนิยมของอิริค ฟรอม์ม"
เพื่อให้ได้เนื้อหาสมบูรณ์ ควรอ่านทั้งสองเรื่องนี้ประกอบกัน

ฟรอม์มกับเรื่องเพศ และแบบจำลองที่ขัดแย้งกัน
Fromm on Gender: Conflicting Models

ในความเรียงต่างๆ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1940 จนกระทั่งการถึงแก่กรรมของเขา ฟรอม์มเป็นคนแรกของนักทฤษฎีวิพากษ์ที่ได้พัฒนามุมมองเกี่ยวกับเพศ โดยโฟกัสลงบนการทำให้ความแตกต่างกันระหว่างชายและหญิงเป็นทฤษฎีขึ้นมา. แต่อย่างไรก็ตาม มุมองของเขาได้เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ และมีความขัดแย้งกันอย่างเด่นชัด ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการพิสูจน์ถึงความยุ่งยากต่างๆเกี่ยวกับการทำให้เรื่องเพศ(gender)เป็นทฤษฎี และการเอาชนะอคติทั้งหลายที่มาครอบงำอุดมคติ

ในความเรียงเรื่องหนึ่งซึ่งเขียนขึ้นมาในปี ค.ศ.1943 เรื่อง "sex and Character"(เซ็กซ์และอัตลักษณ์), ฟรอม์มได้สร้างงานอันละเอียดอ่อนเกี่ยวกับแบบจำลองที่มาครอบงำมีอัตลักษณ์เกี่ยวกับเรื่องเพศ และได้สเก็ตภาพที่เป็นมุมมองของตัวเขาเองขึ้น. เขาเริ่มต้นโดยกิติกรรมประกาศถึงชีวิตอันยืนยาวของโครงการเกี่ยวกับการวิเคราะห์แยกแยะความแตกต่างระหว่างเพศ โดยอ้างถึงคำอธิบายในพระคัมภร์ไบเบิล เกี่ยวกับความผิดแผกที่เป็นแก่นแท้ระหว่างเพศ และถัดจากนั้น ได้ชี้ถึงธรรมชาติทางการเมืองที่ได้เข้ามาควบคุมด้วยความมานะพยายาม โดยการขัดแย้งกับที่มั่นต่างๆของเสรีภาพในยุคสว่าง (liberal Enlightenment positions) ซึ่งมัน"ไม่มีความแตกต่างกันภายในระหว่างเพศ" กับ "ข้ออ้างต่างๆในแนวอนุรักษ์นิยมและโรแมนติคเกี่ยวกับความผิดแผกที่เป็นแก่นสารซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการครอบงำของผู้ชาย และได้ให้เหตุผลความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ" (Fromm 1943, p. 21)

ฟรอม์มยังชี้ให้เห็นถึงความสืบเนื่องของฟรอยด์เกี่ยวกับมุมมองแบบอนุรักษ์นิยมที่มีต่อเรื่องเพศด้วย และได้อ้างถึงพัฒนาการเกี่ยวกับจิตวิเคราะห์ที่ถูกปรับให้เข้ากับวัฒนธรรม("culturally oriented" psychoanalysis) ซึ่งเป็นการทะเลาะกับการค้นพบต่างๆของฟรอยด์เลยทีเดียว(1943, p. 22). ฟรอม์มโดยตัวเองนั้น ในความเรียงเรื่องนี้ พยายามที่จะไกล่เกลี่ยและประนีประนอมระหว่างที่มั่นต่างๆของ"สารัตถนิยมชีววิทยา" กับ "สัมพัทธภาพทางวัฒนธรรม"ในการวิเคราะห์ของเขาเกี่ยวกับความแตกต่างกันทางเพศ

จริงๆแล้ว ฟรอม์มต้องการวิเคราะห์ความแตกต่างที่ดำรงอยู่ระหว่างเพศ โดยปราศจากข้ออ้างหรือคำยืนยันที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะมาให้เหตุผลเกี่ยวกับการครอบงำของเพศๆหนึ่งที่มีต่อเพศอีกเพศหนึ่ง. เขาให้เหตุผลว่า:

มันเป็นข้อสรุปของเอกสารฉบับนี้ที่ว่า ความแตกต่างทางชีววิทยาบางอย่างเป็นผลลัพธ์มาจากข้อแตกต่างในเชิงอัตลักษณ์; ความผิดแผกแตกต่างกันนั้น ได้รับการผสมคลุกเคล้าด้วยสิ่งซึ่งได้ถูกผลิตขึ้นมาโดยตรงจากปัจจัยทั้งหลายทางสังคม; และอันหลังนี้ มันเข้มแข็งกว่ามากในผลหรืออิทธิพลของมัน และสามารถพอกพูนขึ้นมาเพิ่มเติมได้ด้วย นอกจากนี้มันยังสามารถที่จะขจัดหรือพลิกกลับความแตกต่างทั้งหลายที่เป็นรากเหง้าทางชีววิทยาได้เช่นกัน; และในท้ายที่สุด ความแตกต่างทั้งหลายในเชิงอัตลักษณ์ระหว่างเพศดังที่พวกเขาเป็น มันไม่ได้ถูกกำหนดโดยตรงจากวัฒนธรรม, และไม่เคยสถาปนาความแตกต่างทั้งหลายในเรื่องของ"คุณค่า"แต่อย่างใด (Fromm 1943, pp. 22-23).

It is the thesis of this paper that certain biological differences result in characterological differences; that such differences are blended with those which are directly produced by social factors; that the latter are much stronger in their effect and can either increase, eliminate or reverse biologically rooted differences; and that eventually characterological differences between the sexes inasmuch as they are not directly determined by culture, never constitute differences in value (Fromm 1943, pp. 22-23)

ฟรอม์มเริ่มต้นการวิเคราะห์ของเขาเกี่ยวกับความแตกต่างทางเพศในเชิงชีววิทยา โดยการชี้ให้เห็นถึง สิ่งที่เขาพิจารณาเกี่ยวกับความแตกต่างที่เด่นชัดระหว่าง"ผู้ชาย"กับ"ผู้หญิง"ในเรื่องกิจกรรมทางเพศ. เขาให้เหตุผลว่า องคชาติของผู้ชายจะต้องตั้งตรงและรักษาสภาพของมันอันนั้นเอาไว้ในระหว่างที่มีปฏิบัติการทางเพศ จนกระทั่งเขาถึงจุดสุดยอดทางเพศ; ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ความพึงพอใจกับผู้หญิง เขาจะต้องชะลอมันเอาไว้จนกระทั่งผู้หญิงถึงจุดสุดยอด(1943, p. 23)

ข้อเท็จจริงทั้งหลายเหล่านี้ ฟรอม์มเชื่อว่า มันได้ชี้ถึงความกังวลใจทางเพศที่แตกต่างกันระหว่างชายและหญิง. ผู้ชายปฏิบัติการด้วยความกังวลใจ และกลัวที่จะล้มเหลว. "ส่วนอีกด้านหนึ่งนั้น ความเปราะบาง ความไม่มั่นคงของผู้หญิง นอนเนื่องอยู่ในการที่เธอต้องพึ่งพาผู้ชาย; ปัจจัยอันเป็นแก่นของความไม่มั่นคงถูกเชื่อมโยงกับบทบาทหน้าที่ทางเพศของเธอ ซึ่งไม่ได้วางอยู่ในความล้มเหลว แต่มันอยู่ในการถูก"ทอดทิ้งเพียงลำพัง", ในการถูกทำให้ไม่สมหวัง, ในการที่ไม่ได้ควบคุมอย่างเต็มที่เหนือกระบวนการดังกล่าว ซึ่งนำไปสู่ความพึงพอใจทางเพศ (ibid)

อย่างชัดเจน การวิเคราะห์อันนี้ได้สันนิษฐานเอาการร่วมประเวณีกับเพศตรงข้ามในฐานะที่เป็นแบบจำลองของเรื่องเพศ แต่ไม่ได้มีการบ่งชี้ถึงวิธีการอื่นๆที่การกระตุ้นปลุกเร้าด้วยมือหรือด้วยปาก ซึ่งสามารถที่จะทำให้เกิดการหลั่งหรือถึงจุดสุดยอดทางเพศได้เช่นกัน อันนี้ได้ชี้ถึงรากเหง้าเกี่ยวกับการวิเคราะห์ของฟรอม์ม ในปฏิบัติการทางเพศเกี่ยวกับภาวะแวดล้อมของตัวเขาเอง

อย่างไรก็ตาม พ้นไปจากข้อบกพร่องทางแนวคิดที่ค่อนข้างเอาจริงเอาจังนี้ เราอาจมองได้ว่า ฟรอม์มกำลังพยายามที่จะวิจารณ์ปิตาธิปไตย(patriarchy) และทำลายทัศนคติตายตัวแบบผิดๆ(stereotypes)เกี่ยวกับมายาคติทางเพศที่มาครอบงำในยุคนั้นให้พังทลายลง

นอกจากนี้ เขายังได้วิพากษ์แบบจำลองในลักษณะปิตาธิปไตยแบบสุดขั้วของฟรอยด์เกี่ยวกับเรื่องทางเพศ และวิเคราะห์เกี่ยวกับความแตกต่างทางเพศด้วย พร้อมถกว่า ทั้งฟรอยด์และการตีความในระบบคิดตามขนบจารีตต่างๆเกี่ยวกับผู้หญิง ในฐานะที่เป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ในเชิงแก่นสาร ถูกโต้แย้งโดยสิ่งที่ฟรอม์มพิจารณาในฐานะที่เป็นความพยายามต่างๆของผู้ชายที่จะพิสูจน์ตัวของพวกเขา "เพื่อแสดงว่าเขาเป็นนักปฏิบัติการชั้นยอดอย่างไร" ทั้งในกิจกรรมทางเพศและในปริมณฑลทางสังคมอื่นๆ ที่ที่ผู้ชายแสวงหาความมั่นใจอีกครั้ง ซึ่งสวนกันกับความกลัวต่างๆเกี่ยวกับความล้มเหลวทางเพศ โดยผ่านการแข่งขันสำหรับชื่อเสียงเกียรติคุณในพื้นที่อื่นๆของชีวิต (1943, pp. 25f.)

ในอีกด้านหนึ่งนั้น ผู้หญิงได้ถูกบีบคั้นให้กระตุ้นความสนใจผู้ชาย และด้วยเหตุดังนั้น ความถือตัว ท่าทีความหยิ่งทะนงของผู้หญิง โดยสาระแล้วเป็นความต้องการอันหนึ่งที่จะดึงดูดใจผู้ชาย และความต้องการที่จะพิสูจน์ตัวของเธอเองว่า เธอสามารถที่จะกระตุ้นความสนใจ และเป็นคนที่มีเสน่ห์ต่อเพศตรงข้ามนั่นเอง (Fromm 1943, p. 27)

ฟรอม์มยังได้อภิปรายด้วยว่า ระบบสังคมทั้งหมดนั้น ได้กระตุ้นและให้การสนับสนุนการแข่งขันของผู้ชายและความภูมิใจในตัวเอง เช่นเดียวกับอำนาจและการครอบงำเหนือผู้หญิงเพื่อคลายจากความกลัวในการที่จะถูกเยาะเย้ย และเพื่อบรรลุถึงชื่อเสียงเกียรติคุณที่จะต่อสู้กับความไม่มั่นใจ. ฟรอม์มเสนอว่า ในการพันตูเกี่ยวกับเพศตรงข้าม องคชาติเป็นอาวุธอันหนึ่ง ซึ่งผู้ชายสามารถครอบงำผู้หญิงได้อย่างทารุณ, แม้ว่าผู้หญิงสามารถที่จะเยาะเย้ยผู้ชายได้ และกระทั่งทำให้พวกผู้ชายไร้สมรรถภาพ(หรือปราศจากอำนาจ):

"การต่อสู้ของผู้ชายจะต้องใช้กำลังบังคับ, แต่การต่อสู้ของผู้หญิงกลับใช้การทำให้อ่อนกำลังลง"( "Man specific hostility is to overpower; woman's is to undermine") (Fromm 1943, p. 28)

ด้วยเหตุนี้ ฟรอม์มจึงมีแนวโน้มให้สิทธิพิเศษต่อลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรม ในการล้วงลึกถึงความแตกต่างทางเพศ แม้เขาจะให้เหตุผลว่า ความแตกต่างกันทางชีววิทยาและวัฒนธรรม มีแนวโน้มที่จะเสริมกำลังซึ่งกันและกันในสังคมร่วมสมัยทั้งหลาย. และหลังจากพลิกกลับทฤษฎีของฟรอยด์เกี่ยวกับเรื่องการอิจฉาองคชาติ(penis envy)แล้ว เขายังได้ชี้ถึงความเป็นไปได้ที่ผู้ชายยังอิจฉาเกี่ยวกับการมีทารกของผู้หญิงด้วย(that men are envious of bearing children), ฟรอม์มได้ฉายซ้ำการวิเคราะห์เรื่องของมาตาธิปไตยของ Bachofen และถัดจากนั้นได้ให้เหตุผลว่า:

ความแตกต่างทางธรรมชาติเหล่านี้ได้ถูกคลุกเคล้ากับความแตกต่างอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นมาโดยวัฒนธรรมของผู้คน. วัฒนธรรมในทุกวันนี้เป็นตัวอย่าง ในข้อเท็จจริงและในมโนคติ, ผู้หญิงขึ้นอยู่กับผู้ชาย; ความปรารถนาเพื่อชื่อเสียงเกียรติยศและความสำเร็จในการแข่งขันได้ถูกค้นพบในผู้ชาย. แต่การมีอยู่ของแนวโน้มต่างๆเหล่านี้ มีความเกี่ยวข้องน้อยมากกับบทบาทต่างๆในเรื่องเพศ ยิ่งกว่าบทบาทต่างๆทางสังคม.... สิ่งที่เกิดขึ้นคือ แบบแผนทางวัฒนธรรมและรูปแบบต่างๆทางวัฒนธรรมสามารถสร้างแนวโน้มอัตลักษณ์ขึ้นมาได้ ซึ่งมันวิ่งคู่ขนานไปกับแนวโน้มหลายๆอย่างที่เหมือนกัน ซึ่งมีรากเหง้าอยู่ที่ต้นตอความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง อย่างเช่น ความแตกต่างกันทางเพศ. ถ้าหากว่าเป็นกรณีนั้น แนวโน้มคู่ขนานดังกล่าวจะถูกผสมคลุกเคล้ากันเป็นหนึ่งเดียว และมันดูราวกับว่า ต้นตอกำเนิดเหล่านี้เป็นหนึ่งเดียวกันด้วย (Fromm 1943, p.30)

These 'natural' differences are blended with differences brought about by the specific culture in which people live. In present day culture, for instance, in fact and in ideology, women are dependent on men; the craving for prestige and competitive success is found in men. But the presence of these trends has much less to do with sexual roles than with social roles.... What happens is that cultural patterns and social forms can create characterological trends which run parallel to identical tendencies rooted in entirely difference sources such as sexual differences. If that is the case, the two parallel trends are blended into one, and it seems as if these sources were also one (Fromm 1943, p. 30)

ท้ายที่สุด, ในเรื่อง"เพศและอัตลักษณ์"(Sex and Character) ฟรอม์มเน้นว่า ความแตกต่างของปัจเจกบุคคลระหว่างคนที่แตกต่างกัน เป็นพื้นฐานเบื้องต้นมากกว่าความแตกต่างกันทางเพศ, เขาเขียนว่า : "ความแตกต่างอะไรก็ตามที่มีอยู่ระหว่างเพศ มันมีนัยสำคัญค่อนข้างมากในเชิงเปรียบเทียบกับความแตกต่างในด้านอัตลักษณ์ที่ได้ถูกค้นพบระหว่างบุคคลที่มีเพศเดียวกัน" (1943, p. 30). การเน้นที่ความแตกต่างของปัจเจกเป็นอันดับแรก และความต้องการของแต่ละบุคคลเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของตัวเองในหมู่พวกเขาขึ้นมา ได้ทำให้ความเรียงในเรื่องต่อๆมาเกี่ยวกับเรื่องเพศเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาด้วย

ในขณะที่การวิเคราะห์ในช่วงปี ค.ศ. 1943 ของฟรอม์ม เกี่ยวกับ"ความแตกต่างทางเพศ"(gender differences)ได้มาใกล้กับสารัตถะทางชีวิวิทยา แม้จะมีการพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมบ้าง แต่ในต้นทศวรรษที่ 1950s เขาได้เปลี่ยนไปสู่แบบจำลองทางวัฒนธรรมมากขึ้น ถึงแม้เขายังคงพยายามที่จะไกล่เกลี่ยและประนีประนอมระหว่างเรื่องของธรรมชาติและวัฒนธรรมในความแตกต่างกันทางเพศก็ตาม

ในบทความเรื่อง "Man-Woman" ซึ่งเป็นงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในปี 1951 ฟรอม์มได้เปิดเรื่องโดยข้อความที่ว่า "ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายและผู้หญิงเป็นความสัมพันธ์กันอันหนึ่งระหว่างกลุ่มที่มีชัยชนะกับกลุ่มที่พ่ายแพ้(1951, p. 4). อันนี้เป็นการจับเอามุมมองที่เป็นรากเดิมของสตรีนิยม(feminist) ในเรื่องเกี่ยวกับการครอบงำทางเพศมาใช้ ดังนั้น ฟรอม์มจึงกล่าวซ้ำอีกครั้งถึงการวิเคราะห์ของเขา เกี่ยวกับเรื่อง"มาตาธิปไตย"กับ"ปิตาธิปไตย" ซึ่งเขาได้นำมาใช้ใหม่เพื่อกำหนดคุณสมบัติต่างๆของผู้หญิง และวิพากษ์ปิตาธิปไตยและการครอบงำของผู้ชาย

ครั้งนี้เขาไม่ได้อ้างอิงถึงความแตกต่างกันในกิจกรรมทางเพศในฐานะที่เป็นสาระสำคัญ เช่นในเรื่อง "Sex and Character", แต่ค่อนข้างที่จะชี้ไปถึงหน้าที่ของผู้หญิง เกี่ยวกับการให้กำเนิดทารกและการเลี้ยงดูที่ได้สร้างความนุ่มนวลขึ้นมาในฐานะที่เป็นอัตลักษณ์ด้านคุณสมบัติทางสังคมอันหนึ่งของผู้หญิง. กระนั้นก็ตาม เขาได้ให้เหตุผลสวนกับเรื่องทางวัฒนธรรมแบบสุดขั้วในที่นี้ โดยถกว่า มันมีความแตกต่างที่สำคัญยิ่งระหว่าง"ผู้ชาย"และ"ผู้หญิง" แต่ว่า สิ่งเหล่านี้มันเนื่องมาจากชีววิทยายิ่งกว่าเงื่อนไขต่างๆทางวัฒนธรรม. แต่อย่างไรก็ตาม การเพ่งเล็งเกี่ยวกับการวิเคราะห์ของเขา ตั้งอยู่บนสภาพเงื่อนไขต่างๆของสังคม-วัฒนธรรม(socio-cultural conditions) ซึ่งแบบแผนอันนั้น ผู้ชายและผู้หญิงนำเอาเรื่องเพศมาใช้เพื่อเอาชนะความเบื่อหน่าย หรือเพื่อพิสูจน์ตัวของพวกเขาเองในตลาดทางเพศ(sexual market)

สิ่งที่น่าสนใจคือ เขาได้เข้าไปใกล้กับแนวคิดอไญยนิยม(agnostic - คือไม่เชื่อว่า เราสามารถรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างแท้จริง)ที่ได้บันทึกอยู่ในประเด็นเกี่ยวกับเพศในเรื่อง"Man-Woman", โดยเสนอว่า จริงๆแล้ว พวกเราไม่รู้ถึง"ความแตกต่างที่แท้จริงระหว่างผู้ชายและผู้หญิง" (Fromm 1943, p. 16). เขาได้ชักนำปัจเจกชนทั้งหลายว่า อย่าไปค้นหาเพื่อจะรู้ให้ได้ต่อความคิดที่ไตร่ตรองไว้ก่อนเกี่ยวกับว่าผู้ชายและผู้หญิงว่าเป็นอย่างไร แต่ควรจะบ่มเพาะความเป็นปัจเจกของพวกเขาเองขึ้นมา และไม่ควรจะถูกน้อมนำในด้านพฤติกรรมของตน โดยแบบแผนที่เป็นทัศนคติตายตัวทางวัฒนธรรม(cultural stereotypes)

มุมมองดังกล่าวมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ยิ่งกว่าการวิเคราะห์ในทางชีววิทยาในเรื่อง "Sex and Character" และชี้ถึงการเปิดรับอย่างแท้จริงต่อคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับเพศ - แต่อย่างไรก็ตาม การเปิดรับอันนั้น บ่อยครั้งได้ถูกแทนที่โดยการหวนกลับไปสู่สารัตถนิยมในปีหลังๆที่ตามมา

ในบางครั้ง ตำรับตำราหลักๆช่วงหลังสมัยสงครามของฟรอม์ม เช่นเรื่อง - Man For Himself, The Art of Loving, The Sane Society, and The Anatomy of Human Destructiveness - มีลักษณะบางอย่างที่เป็นการถอยกลับอย่างล้ำลึกไปสู่ตำรับตำราในช่วงต้นๆที่เขาเขียนขึ้น ซึ่งเป็นที่มาหรือเบื้องหลังการวิเคราะห์เรื่องเพศของเขา. หนังสือเล่มสำคัญๆของฟรอม์มในช่วงนี้ไม่ได้มีการพูดถึงเรื่องเพศเอาไว้เลย หรือบางครั้งเป็นการผลิตซ้ำเรื่องเก่าๆธรรมดาเกี่ยวกับวัฒนธรรมบนความแตกต่างระหว่างชายและหญิง โดยปราศจากการสะท้อนภาพอันยั่งยืนใดๆต่อความแตกต่างทางเรื่องเซ็กซ์, เพศ, และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายและผู้หญิง

ในเรื่อง Man For Himself(1947) เป็นตัวอย่าง ทั้งหมดไม่มีการวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องเพศที่ไหนเลย. ถึงแม้ว่าฟรอม์มจะนำเอาการจัดแยกหมวดหมู่มาใช้ประโยชน์ อย่างเช่น เรื่องนิสัยและอารมณ์ รวมทั้งเรื่องอัตลักษณ์ ซึ่งยินยอมให้มีการวิเคราะห์เกี่ยวกับเพศได้ แต่เขาก็ไม่ได้ทำอะไรในเรื่องการจำแนกความแตกต่างทางเพศเกี่ยวกับการแบ่งแยกเหล่านี้. และแม้ว่าเขาจะสนทนาถึงความหลากหลายเกี่ยวกับปัญหาจริยธรรม แต่เขาก็ละเลยหรือเมินเฉยปัญหาต่างๆเกี่ยวกับเรื่องเพศและเรื่องเซ็กซ์ในหนังสือเล่มนี้. เขาได้ไปโฟกัสลงบนสถานการณ์ของมนุษย์ที่เป็นสากลแทนโดยตลอด ซึ่งนั่นไม่ได้จำแนกความต่างระหว่างสถานะของผู้ชายและผู้หญิงแต่อย่างใด และความคิดมนุษยนิยมของเขา มิได้เกี่ยวข้องกับการกดขี่ และความต้องการใฝ่หาเสรีภาพของผู้หญิงโดยเฉพาะ

ในหนังสือเรื่อง Art of Loving (1955), เขาได้หยิบยกเอาคำถามเกี่ยวเพศขึ้นมา ซึ่งเขาไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่อง Man For Himself (1947) แต่การวิเคราะห์ของเขาได้เสื่อมลงสู่ขอบเขตที่น่ากลัวอันหนึ่ง. การวิเคราะห์ดังกล่าวได้ถูกทำให้เด่นชัดโดยแนวทางแบบอนุรักษ์นิยมทางเพศ และร่องรอยต่างๆของการกีดกันและการมีอคติทางเพศ มีการนำเอาวิธีการสารัตถนิยม, และอุดมคตินิยม รวมถึงความเชื่ออันลึกลับ(mysticism)มาวิเคราะห์

ถึงแม้ว่าฟรอม์มจะบันทึกถึงความแตกต่างระหว่าง"ผู้ชาย"และ"ผู้หญิง" แต่การวิเคราะห์ของเขาค่อนข้างที่จะผิวเผิน. การวิเคราะห์ข้อแตกต่างระหว่างผู้ชายและผู้หญิงในเรื่องกิจกรรมทางเพศ เขาได้เปลี่ยนจากการโฟกัสในช่วงต้นๆในเรื่องปฏิบัติการที่สร้าง"ความกังวลใจของผู้ชาย"และ"ความกลัวของผู้หญิงเกี่ยวกับการพึ่งพาผู้ชายเพื่อความพึงพอใจ" (ซึ่งได้ทำให้การวิเคราะห์เรื่องเพศของเขาปรากฏชัดในเรื่อง "Sex and Character" - และนั่นได้เน้นถึงลักษณะเฉพาะในเชิงนิเสธและยุ่งยากเกี่ยวกับประสบการณ์ทางเพศ -) ไปสู่ข้อคิดเห็นคำวิจารณ์ต่างๆที่เป็นไปในเชิงอุดมคติค่อนข้างมาก ในเรื่องที่เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานของ"การให้"ในกิจกรรมทางเพศ

ด้วยเหตุนี้ ฟรอม์มจึงไปลบความเป็นปรปักษ์ระหว่างเพศ ซึ่งเป็นอัตลักษณ์พิเศษในการวิเคราะห์ของเขาเกี่ยวกับเรื่องเซ็กซ์ ไปสู่แบบจำลองที่เป็นอุดมคติเอามากๆอันหนึ่งของ"การให้"และ"การรวมกันเป็นหนึ่งเดียว"(union). สำหรับฟรอม์ม ผู้ชายได้ให้อวัยวะเพศและน้ำกามของเขาแก่ผู้หญิง ในขณะที่ผู้หญิงก็ให้เช่นกัน นั่นคือ การเปิดประตูสู่ใจกลางของความเป็นผู้หญิงของเธอ(1956, p. 19)

ในหนังสือเล่มนี้ ฟรอม์มตีความ"ความรัก"ในฐานะที่เป็น "หนทางแห่งความพึงพอใจมากที่สุดของการสลายความตึงเครียดต่างๆเกี่ยวกับสถานการณ์ของมนุษย์ และในการบรรลุถึงการหลอมรวมในความเป็นหนึ่งเดียวกับคนอื่นและกับโลก".

ฟรอม์มได้ให้เหตุผลต่อไปว่า ฟรอยด์ไม่ได้เน้นเรื่องของเซ็กซ์เอาไว้เลย ดังที่ได้มีการเบี่ยงเบนทฤษฎีที่อ้างถึง แต่เขากลับสร้างข้อจำกัดมันขึ้นมาสู่ลักษณะที่เป็นกลไก และกิจกรรมในเชิงจิตวิทยาของความตึงเครียดและการปลดปล่อย. แบบจำลองอันนี้ ฟรอม์มเชื่อว่า เป็นการประเมินความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องเซ็กซ์เอาไว้ต่ำเกินไป ซึ่งเขาเห็นแย้ง และได้มองมันในฐานะที่เป็น"การเอาชนะการแบ่งแยก"และ"ความร่วมมือกันระหว่างขั้วความเป็นชายและความเป็นหญิง" (Fromm {1956} 1989). สำหรับฟรอม์มแล้ว เรื่องเซ็กซ์บนแบบจำลองนี้เป็น"เหตุการณ์เหนือกายสภาพ" เป็นเรื่องของ"จิตใจ"ที่วางเรื่องของการดำรงอยู่ของมนุษย์ลงในขั้วตรงข้ามของอีกคน และไม่เป็นเพียงการปลดเปลื้องความตึงเครียดสู่ความพึงพอใจเท่านั้น

สำหรับฟรอม์ม ปรากฎการณ์ของความรัก โดยสาระแล้ว ได้แสดงถึงความปรารถนาอันหนึ่งเพื่อจะรวมตัวกันกับเพศตรงข้าม และ การหยิบยกเรื่องความรักและเรื่องเพศที่สำคัญนี้ขึ้นมา เขาอ้างว่า ความรักจะช่วยเติมเต็มหรือทำให้ความต้องการในการรวมตัวกันระหว่างขั้วความเป็นชายและความเป็นหญิงบรรลุผลสมบูรณ์ที่สุด(Fromm 1956, pp. 27ff.)

ต่อด้วยรูปแบบที่สำคัญอย่างยิ่งนี้ ฟรอม์มได้อธิบายว่า อัตลักษณ์ของความเป็นชาย"มีคุณสมบัติต่างๆของการทะลุทะลวง, การนำทาง, กิจกรรมเคลื่อนไหว, ระเบียบวินัย, และการชอบเสี่ยงภัย; ส่วนอัตลักษณ์ของความเป็นหญิง(ถูกนิยาม)โดยคุณสมบัติของการเป็นผู้รับที่มีประสิทธิผล, การปกป้อง, ความจริง, ความอดทน, และมีความเป็นแม่(p.31). ฟรอม์มได้อธิบายคุณสมบัติอันนี้โดยบ่งชี้ว่า: "จะต้องระลึกในใจเสมอว่า ปัจเจกชนแต่ละคน อัตลักษณ์ทั้งคู่นี้(หมายถึงความเป็นชายและความเป็นหญิง)ต่างถูกคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน แต่จะมีอัตลักษณ์บางอย่างซึ่งมีอิทธิพลมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเพศของเขาหรือเธอนั่นเอง(ibid)

กระนั้นก็ตาม มันมีบางสิ่งเกี่ยวกับสารัตถะทางธรรมชาติในทัศนะของเขาเกี่ยวกับชายและหญิง สำหรับเขาชี้ว่า การรักร่วมเพศ(กะเทย)ไม่เคยบรรลุถึงการรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวของความเป็นชายและความเป็นหญิงนี้อย่างลึกซึ้ง เพราะเหตุว่าพวกเขาได้ผูกติดอยู่กับเพศเดียวกันนั่นเอง(Fromm 1956, p. 28) 00000000 ทัศนะต่างๆข้างต้นนี้ได้บ่งชี้ว่า มุมมองของฟรอม์มในเรื่องผู้ชายผู้หญิงได้รับการสร้างเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาอย่างลึกซึ้ง โดยอคติต่างๆเกี่ยวกับสถาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมของเขา และนั่นก็เหมือนๆกันกับนักทฤษฎีวิพากษ์ที่เป็นผู้ชายคนอื่นๆ ซึ่งพวกเขามีแนวโน้มที่จะหยิบเอาแง่คิดเกี่ยวกับความต้องการในเพศตรงข้ามขึ้นมาในการวิเคราะห์เรื่องเพศและเรื่องเซ็กซ์ (see Mills 1987)

เป็นความจริงที่ว่า ฟรอม์มได้วิจารณ์แนวคิดปิตาธิปไตยแบบสุดขั้วของฟรอยด์ ซึ่งได้น้อมนำฟรอยด์ไปสู่ข้อสันนิษฐานที่ว่า เรื่องเพศ(sexuality)ในเนื้อแท้ของตัวมันเองเป็นเรื่องของผู้ชาย และด้วยเหตุนี้มันจึงทำให้เขาเมินเฉยหรือไม่ให้ความเอาใจใส่เจาะจงลงไปในเรื่องเพศของผู้หญิง(female sexuality)(1956, p. 30). กระนั้นก็ตาม มันยังไม่ชัดเจนพอที่ว่า ฟรอม์มตัวเขาเองนั้นวิเคราะห์"เจาะจงลงไปในเรื่องเพศของผู้หญิง", ถึงแม้ว่าเขาจะวิเคราะห์ถึงเรื่อง"ความรักอย่างแม่"(motherly love) ซึ่งเขาเปรียบเทียบความต่างกับ"ความรักอย่างพี่น้อง"(brotherly love)

ที่น่าสนใจ ขณะที่ในการวิเคราะห์ของเขาเกี่ยวกับทฤษฎีมาตาธิปไตยของ Bachofen, หลักการแม่เป็นศูนย์กลางเป็นตัวแทนของความเสมอภาค ปัจจุบันมันคือความรักอย่างพี่น้อง(brotherly love)ซึ่งเป็นตัวแทนหลักการของมนุษยนิยม เป็นความรักในมนุษย์คนอื่นทั้งหมด และหลักการของการเอาใจใส่ ความเมตตากรุณา และความรับผิดชอบต่อมนุษย์ทั้งมวลในหลักจริยธรรมความเสมอภาคของมวลมนุษย์(egalitarian ethic). ความรักอย่างแม่, ในทางตรงข้าม, เป็นตัวแทนของการค่อยๆซึมซาบความรักเกี่ยวกับชีวิตในเด็ก และโดยสาระแล้ว เป็นเรื่องของการยึดหลักประโยชน์ของผู้อื่นและความไม่เห็นแก่ตัว(altruistic and unselfish), มาทว่าจะเกี่ยวกับการหลงใหลในตัวเอง(narcissistic) (Fromm 1956, pp. 41ff)
[หมายเหตุ: การจับคู่สมการของฟรอม์ม ระหว่าง"ความรักอย่างพี่น้อง"กับ"ความเสมอภาคและประชาธิปไตย" ในที่นี้เป็นเรื่องที่แปลก ในเมื่อช่วงต้นๆ เขาได้จับคู่สมการระหว่าง"ประชาธิปไตยและความเสมอภาค"กับ"คุณสมบัติต่างๆของการที่แม่เป็นศูนย์กลาง", มันเป็นสมการอันหนึ่งซึ่งเขาจะหวนกลับมาในงานเขียนชิ้นหลังๆด้วย[6] see, for instance, Fromm 1970, p. 103 (cited below) and Fromm 1986, pp. 21-22.]

อาจจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะคาดเดาว่า ทำไมฟรอม์มจึงได้ลงมือกระทำก่อนคนอื่นเกี่ยวกับเรื่องที่บรรดานักสตรีนิยม(พวกเฟมินิสท์)ทั่วไปในปัจจุบัน(บางพวก)เน้นในเรื่องของความเป็นแม่ แต่กระนั้นก็ล้มเหลวที่จะสำรวจไปถึงเรื่องเซ็กซ์ของผู้หญิง หรือความแตกต่างกันทางด้านเซ็กซ์. มันอาจจะน่าสนใจในการคาดเดาต่อไปอีกด้วยที่ว่า ทำไมฟรอม์มจึงเปลี่ยนแปลงอย่างถึงราก จากเรื่องของสตรีนิยมและเรื่องวัฒนธรรมในเรื่องเพศ(gender)ในช่วงทศวรรษที่ 1940s และช่วงต้นทศวรรษ 1950s ไปสู่ เรื่องของสารัตถนิยมและเรื่องของเพศตรงข้ามในหนังสือ Art of Loving.[7]

สำหรับหนังสือ Art of Loving, การวิเคราะห์ของเขาเต็มไปด้วยข้อกำหนดต่างๆที่เป็นเรื่องของบรรทัดฐานซึ่งสอดคล้องลงรอยกับแนวคิดอนุรักษ์นิยมเกี่ยวกับเรื่องเซ็กซ์ ดังเช่นเมื่อเขาเขียนว่า: "ความรัก โดยแก่นแท้แล้ว ควรที่จะเป็นการกระทำของเจตจำนง เกี่ยวกับการตัดสินใจที่จะมอบหรือผูกมัดชีวิตของเราอย่างสมบูรณ์กับบุคคลอื่นอีกคนหนึ่ง(1956, p. 47). การวิเคราะห์ของเขายังมีลักษณะเป็นอุดมคติด้วยและ หันเข้าสู่การวิเคราะห์อันยืดยาวเกี่ยวกับ"ความรักของพระผู้เป็นเจ้า" (pp. 53ff), แม้ว่าในบางโอกาส มันจะเป็นเครื่องหมายในเชิงวิพากษ์สังคมที่แหลมคมบางประการ ในการวิเคราะห์ของเขาเกี่ยวกับ"ความรัก และการไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ในสังคมตะวันตกร่วมสมัย (pp. 70ff)

บางครั้งบางคราว สำหรับงานในช่วงหลังๆ ฟรอม์มได้หวนคืนกลับไปสู่การเน้นเรื่องของสตรีนิยมและเรื่องวัฒนธรรมซึ่งเป็นประเด็นงานเขียนต่างๆของเขาในช่วงต้นๆ แม้ว่าในที่นี้เช่นกัน เป็นอีกครั้งหนึ่งซึ่งได้กล่าวถึงสารัตถนิยมและแนวคิดอนุรักษ์นิยมทางเพศ. ในเรื่อง The Anatomy of Human Destructiveness, ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือเล่มหลักๆในช่วงท้ายของเขา(1973) ฟรอม์มได้ทำซ้ำการประเมินค่าเอาไว้อย่างสูงเกี่ยวกับเรื่องของ"มาตาธิปไตย"ที่พบได้ในความเรียงต่างๆในช่วงทศวรรษที่ 1930s และได้ใช้ประโยชน์ซ้ำๆซากเกี่ยวกับเรื่องราวทางมานุษยวิทยาเพื่อวางเค้าโครงความแตกต่างกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิง

ในการสนทนาของเขาเกี่ยวกับเรื่องมานุษยวิทยา(especially pp. 155ff.) ฟรอม์มได้ทำการสำรวจถึง"บทบาทที่เป็นศูนย์กลางของแม่"ในหมู่บ้านต่างๆสมัยหินใหม่ และกล่าวว่า "การแบ่งแยกแรงงานในสมัยโบราณ ในยุคที่ผู้ชายออกไปล่าสัตว์ และผู้หญิงทำหน้าที่เก็บรวบรวมผลหมากรากไม้ เป็นไปได้มากที่สุดว่า"เกษตรกรรม"เป็นการค้นพบของผู้หญิง ขณะที่การเลี้ยงสัตว์เป็นการค้นพบของผู้ชาย" (p. 155) ("the older division of labor, where men hunted and women gathered roots and fruits, agriculture was most likely the discovery of women, while animal husbandry was that of men")

ในข้อความที่แทรกเข้ามาด้านข้าง เขาหมายเหตุเอาไว้ว่า: "เมื่อพิจารณาถึงบทบาทเบื้องต้นของเกษตรกรรมในพัฒนาการเกี่ยวกับอารยธรรมของมนุษย์, บางที มันจะไม่มีอะไรเกินเลยไปที่จะกล่าวว่า อารยธรรมสมัยใหม่(modern)ได้ถูกค้นพบโดยผู้หญิง(ibid)เช่นกัน. ฟรอม์มเสนอว่าความสามารถของผืนดินและของแม่ในการให้กำเนิด เป็นไปได้มากที่จะทำให้ผู้หญิงมีบทบาทสำคัญที่สุดอันดับแรกในสังคมยุคหินใหม่ และต่อจากนั้นได้อ้างถึงหลักฐานเกี่ยวกับ"บทบาทที่เป็นศูนย์กลางของผู้หญิง" (pp. 155ff.) และทฤษฎีมาตาธิปไตยของ Bachofen (pp. 58ff.)

ตามความคิดของ Mumford(1), Childe(2), และคนอื่นๆ, ฟรอม์มได้สนทนาต่อว่า "การปฏิวัติเมือง"(urban revolution) คือการเปลี่ยนผ่านไปสู่"สังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ซึ่งมามีอิทธิพลครอบงำ", เขาเขียนว่า, "การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองเหล่านี้ได้ถูกทำให้คลอเคลียไปกับการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งต่อบทบาทของผู้หญิงในสังคม และรูปลักษณ์ของแม่ในศาสนา
(1) Lewis Mumford 1895-1990 นักวิจารณ์สังคมและนักเขียน ผลงานของเขาอย่างเช่น The Culture of Cities (1938) และ The Conduct of Life (1951), ได้ประณามเทคโนโลยีที่ปราศจากความเป็นมนุษย์ และเรียกร้องให้มีการหวนกลับไปสู่คุณค่าทางศีลธรรมและสวัสดิภาพความเป็นมนุษย์
(2) Vere Gordon Childe 1892-1957 นักมานุษยวิทยาและนักโบราณคดีชาวอังกฤษ

รูปลักษณ์ของแม่ในศาสนาไม่ใช่เรื่องของความอุดมสมบูรณ์ของผืนแผ่นดินอีกต่อไปแล้ว อันเป็นต้นตอกำเนิดของสรรพชีวิตและการสร้างสรรค์, แต่มันกลายมาเป็นเรื่องของสติปัญญาซึ่งได้สร้างประดิษฐ์กรรมใหม่ๆ, ได้สร้างเทคนิค, ความคิดนามธรรม, และกฎหมายแห่งรัฐขึ้นมา. มันไม่ใช่เรื่องของมดลูกหรือครรภ์มารดาอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นเรื่องของจิตใจซึ่งได้กลายมาเป็นพลังในการสร้างสรรค์, และด้วยสิ่งนี้, มันจึงไม่ใช่ผู้หญิง, แต่เป็นผู้ชายที่ครอบงำสังคม (pp. 163-164)

ดังนั้น ฟรอม์มจึงจำแนกผู้หญิงในที่นี้ ในแบบที่ค่อนข้างเป็นสารัตถนิยมและปิตาธิปไตย กับ มดลูกหรือครรภ์มารดา, ขณะที่ผู้ชายได้ถูกจำแนกให้อยู่ด้านของจิตใจ เป็นการพลิกกลับการอุปมาอุปมัยของปรัชญาความเป็นผู้ชายที่เสนอผ่าน Plato, Aristotle, Aquinas, และคนอื่นๆ

อย่างที่ปรากฎออกมาให้เห็น เมื่อตอนที่อรรถาธิบายถึงพลังอำนาจของจิตใจ ฟรอม์มได้กำหนดมันโดยลักษณ์เฉพาะเกี่ยวกับเรื่องเซ็กซ์ของผู้ชาย ดังที่เขาเขียนเกี่ยวกับ "ความแข็งแกร่งและความละเอียดอ่อนของการแทงทะลุ, ความคิดในเชิงทฤษฎี(p.159); อันที่จริง, "การแทงทะลุ"(penetration)เป็นหนึ่งในคำศัพท์ที่เขาชอบนำมาใช้สำหรับการบรรลุถึงความสัมฤทธิ์ทางสติปัญญา(intellectual achievement) ด้วยเหตุนี้ มันจึงแสดงให้เห็นในทัศนะความคิดแบบองคชาติเป็นศูนย์กลาง(a phallocentric view of thought)

กระนั้นก็ตาม การวิเคราะห์ของเขาในเรื่อง Anatomy of Human Destructiveness ยังคงดำเนินต่อไปถึงการนำเสนอการวิพากษ์เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ปิตาธิปไตย "ซึ่งหลักการของการควบคุมมีอยู่อย่างถาวรมาโดยตลอด: เช่น การควบคุมธรรมชาติ, การควบคุมผู้หญิงและเด็ก (p.164). แต่ก็คล้ายๆกันกับบรรดานักทฤษฎีคนอื่นๆ แม้ว่าเขาจะได้นำเสนอข้อวิจารณ์ที่ดีเยี่ยมเกี่ยวกับการครอบงำ รวมไปถึงอิทธิพลของปิตาธิปไตย ฟรอม์มกลับล้มเหลวที่จะพัฒนามุมมองที่ดีพอในเรื่องเพศ(gender). และเป็นไปได้มากที่ว่า ความเชื่อมโยงที่สำคัญที่สุดของเขากับทฤษฎีสตรีนิยมร่วมสมัย มีหลักฐานอยู่ในหนังสือเล่มนี้และตำรับตำราอื่นๆอีกมากมายในช่วงทศวรรษที่ 1960s และ 1970s: ซึ่งได้วิจารณ์เกี่ยวกับความก้าวร้าว และได้ให้การสนับสนุนคุณค่าต่างๆของสันติภาพและการปลดอาวุธ

ฟรอม์ม, ขบวนการสันติภาพและสตรีนิยม
Fromm, the Peace Movement and Feminism
ฟรอม์มเป็นสมาชิกคนหนึ่งของ SANE และกลุ่มเคลื่อนไหวอื่นๆที่ต่อสู้เพื่อให้มีการปลดอาวุธ และได้ให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อขบวนการต่อต้านสงครามในช่วงทศวรรษที่ 1960s ซึ่งพุ่งตรงสวนทางกับความก้าวร้าวของอเมริกันในเวียดนาม. ในหนังสือเรื่อง May Man Prevail (1961) เขาได้วิพากษ์มายาคติของสงครามเย็นและวิเคราะห์ถึง "Sane versus Pathological Thinking in Politics" (การต่อสู้กันระหว่าง SANE กับ ความคิดที่ป่วยเป็นโรคในทางการเมือง)" ซึ่งเขาได้วิพากษ์วิจารณ์ความคิดจิตบกพร่องเกี่ยวกับความหวาดระแวง(paranoid thinking), การวางแผน, และความคิดแบบมนุษย์กล(automaton thinking) ซึ่งยังคงเป็นประโยชน์อยู่มากในการวิเคราะห์วาทกรรมและสัจธรรมทางการเมืองร่วมสมัย

แนวความคิดเหล่านี้ เช่นเดียวกับการวิเคราะห์ของเขาเกี่ยวกับเรื่อง"กามวิตถารที่ชอบร่วมเพศกับศพ"(necrophilia)และเรื่อง"สัญชาตญานในการสงวนชีวิต"(biophilia)(1973) ได้เชื่อมโยงฟรอม์มกับแนวโน้มที่สำคัญๆในลัทธิสตรีนิยม ซึ่งได้โฟกัสในการวิจัยเรื่องสันติภาพ เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับความก้าวร้าว และความเป็นไปได้ต่างๆเกี่ยวกับการทำลายล้างของมนุษย์ที่เป็นข้อจำกัด

อันที่จริง ในช่วงปลายของฟรอม์ม เราค้นพบการหวนคืนกลับไปสู่มุมมองที่ก้าวหน้าในเรื่องเพศ(gender) และการอ้างอิงในเชิงบวกต่อขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพของผู้หญิง. ในความเรียงเรื่องหนึ่งที่ชื่อว่า "The Significance of Mother Right for Today" ในหนังสือ The Crisis of Psychoanalysis (1970), ฟรอม์มได้ให้เหตุผลว่า หลักการต่างๆที่แม่เป็นศูนย์กลางที่วางเค้าโครงในงานของ Bachofen เป็น"พื้นฐานของหลักการเกี่ยวกับอิสรภาพและความเสมอภาคที่เป็นสากล มันเกี่ยวกับสันติภาพและความเป็นมนุษย์ที่ละมุนละไม และนอกจากนี้ ยังเป็นรากฐานความห่วงใยที่สำคัญต่อความสุขสบายในทางวัตถุและความสุขทางโลกด้วย"(1970, p. 103)

ถัดจากนั้น เขาได้ให้เหตุผลต่อว่า หลักการเหล่านี้เป็นเรื่องที่สอดคล้องในการวิเคราะห์ถึง"ความล้มเหลวของระบบอำนาจเบ็ดเสร็จแบบปิตาธิปไตย (patriarchal-authoritarian system) ที่จะบรรลุถึงบทบาทหน้าที่ของมัน"; การปฏิวัติประชาธิปไตย; การปฏิวัติของผู้หญิง; การปฏิวัติของเด็กและวัยรุ่น; การปฏิวัติของเยาวชนหัวรุนแรง; และการปฏิวัติเรื่องเซ็กซ์ ทั้งหลายเหล่านี้ เป็นการให้เหตุผลเกี่ยวกับหลักการต่างๆที่แม่เป็นศูนย์กลางในการปฏิวัติร่วมสมัย

ฟรอม์มยังวิจารณ์ต่อไปด้วยว่าเป็นความต่อเนื่องของการครอบงำในแบบปิตาธิปไตย: "สังคมแบบปิตาธิปไตยอันบริสุทธิ์ ไม่ได้กังวลใจในเรื่องความรักและความเสมอภาค; มันเพียงแต่สนใจกฎเกณฑ์ต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้นเท่านั้น, มันเอาใจใส่ในเรื่องรัฐ, หลักการที่เป็นนามธรรม, การเชื่อฟังหรือการอยู่ในโอวาท. มันได้รับการอธิบายเอาไว้อย่างดงามในเรื่อง Antigone ของ Sophocles ในเรื่องเกี่ยวกับคนและระบบของ Creon, ซึ่งเป็นแม่แบบหรือรูปแบบดั้งเดิมของผู้นำแบบฟาสซิสท์ (Fromm 1970, p. 106)

อย่างไรก็ตาม ฟรอม์มสรุปความเรียงของเขา ด้วยการเรียกร้องให้มีการสังเคราะห์หลักการแม่เป็นศูนย์กลางและพ่อเป็นศูนย์เข้าด้วยกัน และรวมเอาคุณค่าในแบบแม่เป็นศูนย์กลางเข้ากับความยุติธรรมและความมีเหตุผล ผสมผสานกับความเสมอภาคและความเมตตาแบบแม่เป็นศูนย์กลาง(ibid)

ทัศนะแบบเฮเกลเลี่ยนนี้เกี่ยวกับการสังเคราะห์ระหว่างหลักการที่ตรงข้ามกัน ได้ไปรื้อโครงสร้าง(deconstruct)ความแตกต่างทางเพศที่แท้จริง และได้ให้แนวทางสำหรับการสร้างบุคลิกภาพต่างๆขึ้นมา ซึ่งรวมเอาสิ่งที่เรียกว่าลักษณะเฉพาะของผู้ชายและผู้หญิงเข้าด้วยกัน และการสร้างสังคมหนึ่งขึ้นมา ซึ่งได้รวมเอาหลักการที่แม่เป็นศูนย์กลางและพ่อเป็นศูนย์กลางมาไว้ด้วยกัน

ฟรอม์มยังได้สร้างภาพสเก็ตทัศนะของเขาอันนี้ในงานหนังสือเล่มหลังของเขา เรื่อง For the Love of Life ที่ที่เขาได้ทำการวินิจฉัยอีกครั้งถึง "วิกฤตของกฎเกณฑ์แบบปิตาธิปไตย" และได้ให้เหตุผลในแง่บวกต่อ"การปฏิวัติของผู้หญิง" และ"ความก้าวหน้าที่น่าสนใจ"นี้

ผู้หญิง ก็เหมือนกับเด็กๆ มักจะได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นวัตถุ, เป็นสมบัติของสามีของพวกเธอ. ข้อพิจารณาเช่นนี้กำลังเปลี่ยนไป พวกเธออาจยังตกอยู่ในสถานะที่เสียเปรียบในโลกของผู้ชาย ตัวอย่างเช่น พวกเธอได้รับค่าจ้างที่น้อยกว่าผู้ชายสำหรับงานชนิดเดียวกัน; แต่สถานะทั้งหมดของพวกเธอ, ความสำนึกของพวกเธอ, เข้มแข็งกว่าที่เป็นอย่างน่าพิจารณา. และเครื่องหมายต่างๆทั้งหมด ดูเหมือนว่า การปฏิวัติของผู้หญิงจะก้าวไปข้างหน้า เทียบเคียงกับการปฏิวัติของเด็กและเยาวชนที่กำลังก้าวหน้าไปเรื่อยๆ. พวกเธอจะยังคงให้คำจำกัดความต่อไป, และเปล่งเสียงออกมาอย่างชัดถ้อยชัดคำ และลุกยืนขึ้นเพื่อสิทธิของพวกเธอเอง (Fromm 1986, p. 25)

การตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ในอิตาลีช่วงปี ค.ศ.1975 ฟรอม์มได้แสดงข้อคิดเห็นตรงๆเกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวสตรีนิยม. เมื่อถูกถามความคิดเห็นต่อการรับรู้เกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวสตรีนิยมในฐานะ"การเปิดให้มีการต่อสู้ด้วยความรุนแรงกับผู้ชาย" ฟรอม์มตอบว่า:

ไม่มีใครเข้าใจจิตวิทยาของผู้หญิง และในทำนองเดียวกันนั้น ก็ไม่มีใครเข้าใจจิตวิทยาของผู้ชาย และไม่มีสักคนที่เข้าใจธาตุแท้ของซาดิสม์ เกี่ยวกับความเป็นปรปักษ์และการทำลายล้างในผู้ชายและผู้หญิง ถ้าคนๆนั้นไม่พิจารณาถึงว่า มันมีสงครามอันหนึ่งระหว่างเพศที่ดำเนินมาในหกพันปีหลังนี้ มันเป็นสงครามกองโจรชนิดหนึ่ง ผู้หญิงได้ถูกทำให้แพ้พ่ายโดยลัทธิปิตาธิปไตยเมื่อหกพันปีมาแล้ว และสังคมได้สร้างตัวของมันขึ้นมาด้วยอิทธิพลครอบงำของผู้ชาย.

ผู้หญิงเป็นสมบัติครอบครองต่างๆ และจะต้องยินดีต่อการเป็นผู้ยอมจำนนที่ผู้ชายทำกับพวกเธอ. แต่ความจริง มันไม่มีอิทธิพลของมนุษยชาติส่วนหนึ่งส่วนใดที่จะมาครอบงำอีกส่วนหนึ่งได้ ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นทางสังคม หรือประชาชาติหนึ่งต่อประชาชาติหนึ่ง หรือเพศๆหนึ่งเหนือกว่าเพศอีกเพศหนึ่ง เว้นแต่ มันจะมีการกบฎอยู่ข้างใต้ มีความเดือดดาล ความเกลียดชัง และปรารถนาที่จะแก้แค้นกับคนเหล่านั้นซึ่งมากดขี่บีฑาและตักตวงผลประโยชน์ และมันมีความกลัวในความไม่มั่นคงในหมู่ผู้ที่ทำการตักตวงผลประโยชน์ และต้องการปราบปรามควบคุม(Fromm 1975, p. 59).[8]

ในคำถามเกี่ยวกับผู้หญิงที่ว่า มีความไร้เดียงสา และมีลักษณะเฉพาะในขนบจารีตเกี่ยวกับการยั่วยวน ซึ่งมีบางคนให้เหตุผลว่าผู้หญิงเป็นเช่นนั้น, ฟรอม์มตอบว่า:

ผู้หญิงได้ถูกกดขี่มาโดยตลอด ซึ่งพวกเธอต่างยอมรับมันอย่างไร้สำนึกถึงบทบาทซึ่งเพศที่มีอำนาจปกครองหรือพวก ผู้ชายได้ให้กับพวกเธอ. พวกเธอเชื่อในคำโฆษณาชวนเชื่อของผู้ชาย ซึ่งมันคล้ายคลึงกันมากกับการโฆษณาชวนเชื่อในสงครามอื่นๆ เช่น สงครามต่างๆที่มีต่อผู้คนในอาณานิคม เป็นต้น. ผู้หญิงได้ถูกพิจารณาว่าเป็นคนที่ไร้เดียงสา: ฟรอยด์กล่าวเอาไว้ว่า พวกเธอเป็นพวกที่หลงใหลในรูปลักษณ์ของตัวเอง(narcissistic), ขาดความสนใจในความจริง, อ่อนแอขี้ขลาด, รู้สึกด้อยกว่าผู้ชายในเรื่องกายวิภาค, สติปัญญาน้อยกว่า, และศีลธรรมจรรยาน้อยกว่า.

ข้อเท็จจริงก็คือว่า ผู้หญิงเป็นคนที่หลงใหลในรูปลักษณ์ของตัวเองน้อยกว่าผู้ชาย สำหรับเหตุผลง่ายๆก็คือว่า เกือบจะไม่เคยเลยที่ผู้ชายจะทำอะไร ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์ของการสร้างความประทับใจขึ้นมา. แต่ผู้หญิงทำอะไรมากมาย หลายสิ่งหลายอย่างกระทำไปโดยปราศจากแรงกระตุ้นอันนี้ และในความเป็นจริง สิ่งที่คุณเรียกว่าเป็นความหยิ่งยะโสถือตัวของผู้หญิง มันเป็นเพียงความจำเป็นที่เธอจะทำให้ผู้ชนะพึงพอใจเท่านั้น(what you might call women's vanity is only the necessity to please the victors).

และการกล่าวว่า ผู้หญิงขาดความสนใจในความจริง สิ่งที่พวกเราควรจะกล่าวเกี่ยวกับความสนใจในความจริงของผู้ชายในยุคหนึ่งก็คือ รัฐบาลของประเทศตะวันตกทั้งหลาย, ที่ประกอบด้วยผู้ชาย, ต่างใช้จ่ายเงินทองของพวกเขาไปกับการสร้างระเบิดปรมาณู แทนที่จะให้ความเอาใจใส่ต่อการคุกคามผู้หญิง แทนที่จะหลีกเลี่ยงหายนะและภัยพิบัติซึ่งคุกคามโลกทั้งมวล ? (Fromm 1975, pp. 59 and 94)

สงครามระหว่างเพศ ฟรอม์มเชื่อว่า ได้สร้างความเกลียดชังและความซาดิสม์ขึ้นมาอย่างมากทั้งสองฝ่าย: "การตักตวงผลประโยชน์และผู้ที่ตักตวงผลประโยชน์ทั้งหลาย ทั้งสองฝ่ายอยู่บนเรือลำเดียวกันหรือเป็นอย่างเดียวกันกับนักโทษกับคนดูแลนักโทษ: พวกเขาทั้งคู่ต่างคุกคามซึ่งกันและกันและก็เกลียดชังกัน พวกเขาต่างก็เกรงกลัวการโจมตีของอีกฝ่ายหนึ่ง. ด้วยเหตุที่กล่าวนี้ ผู้ชายจึงเกรงกลัวผู้หญิง และพวกเขาหลอกลวงตัวเองว่าไม่เท่านั้น" (Fromm 1975, p. 94)

อย่างไรก็ตาม ฟรอม์มได้สรุปการสัมภาษณ์โดยวิพากษ์ขบวนการเคลื่อนไหวสตรีนิยมที่แพร่หลายอยู่ทั่วไป ในฐานะที่เป็นการปฏิรูปชนิดหนึ่งที่ไม่รุนแรงจนเกินไปนัก ซึ่งผู้ชายจะมีส่วนร่วมปันในอำนาจ และคุณค่าแบบปิตาธิปไตยจะไม่ถูกล้มล้างทิ้งไป แต่ค่อนข้างจะมี"จุดมุ่งหมายในการปฏิวัติที่ผู้หญิงจะปลดปล่อยตัวเองให้มีอิสรภาพในความเป็นมนุษย์"(ibid). การจำแนกขบวนการเสรีภาพของผู้หญิงโดยปีกของการปฏิรูป เป็นไปได้ที่มันเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยยุติธรรมหรือถูกต้องนัก แม้ว่าข้อคิดเห็นคำวิจารณ์ของฟรอม์มจะเป็นไปอย่างเหมาะสม ซึ่งทำให้หลายสิ่งหลายอย่างที่รู้จักกันว่า"liberal feminism"(สตรีนิยมเสรี)มีอัตลักษณ์ขึ้นมา

จนกระทั่งการถึงแก่กรรมของเขาในปี ค.ศ.1980 ฟรอม์มยังคงฉายให้เห็นมุมมองที่เต็มไปด้วยความหวังในเสรีภาพของมนุษย์ และได้ให้การสนับสนุนความรักในชีวิต ขณะเดียวกันก็โจมตีแนวคิดแบบปิตาธิปไตย การล่วงละเมิด และการทำลาย

ความเชื่อมโยงที่ลึกซึ้งที่สุดของฟรอม์มกับสตรีนิยม พำนักอยู่ในมุมมองต่างๆของเขาที่มีต่อชีวิตและสันติภาพ และคำวิจารณ์ของเขาเกี่ยวกับปิตาธิปไตยและการล่วงละเมิด. ขณะที่เขาไม่เคยพัฒนามุมมองมากพอในเรื่องเพศ(gender), อย่างน้อยที่สุด เขาพยายามจะเผชิญหน้ากับประเด็นปัญหาและต่อสู้อย่างต่อเนื่อง, โดยการย้อนกลับมาสู่มุมมองปัจจุบันในเรื่องเพศ ที่จะรวมเอามุมมองสตรีนิยมกับทฤษฎีวิพากษ์สังคมเข้าด้วยกัน. ด้วยเหตุดังนั้น ฟรอม์มจึงได้ลงมือกระทำการบางอย่างก่อนเกี่ยวกับการสังเคราะห์ทฤษฎีวิพากษ์และสตรีนิยมเข้าด้วยกัน ซึ่งมันยังคงเป็นหนึ่งในภารกิจหลักต่างๆของทฤษฎีวิพากษ์ทุกวันนี้

ภาคผนวก
การสังเคราะห์ที่เป็นไปได้
A Possible Synthesis?

ข้าพเจ้าใคร่จะสรุปด้วยข้อสังเกตชุดหนึ่งเกี่ยวกับเหตุผลที่ว่า ทำไมข้าพเจ้าจึงคิดว่า การสังเคราะห์ระหว่างทฤษฎีวิพากษ์กับสตรีนิยมจึงมีความเป็นไปได้และเป็นเรื่องที่น่ายินดี. โดยเริ่มต้น, หลักวิภาษวิธีของทฤษฎีวิพากษ์เรื่องของ"การครอบงำ" และ "เสรีภาพ" ได้ให้กรอบความคิดอันหนึ่งสำหรับทฤษฎีสังคมของสตรีนิยม แม้ว่าการวิจารณ์เกี่ยวกับการครอบงำได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยทฤษฎีวิพากษ์แนวคลาสสิค ซึ่งเรียกร้องส่วนเสริมต่างๆของการวิจารณ์แนวสตรีนิยมซึ่งมีต่อปิตาธิปไตยและมุมมองต่างๆในเรื่องเสรีภาพของผู้หญิง

ในเอกสารฉบับนี้ ข้าพเจ้าได้ให้เหตุผลว่า พื้นที่ทางความคิดสำหรับโครงการอันนั้นได้ถูกนำเสนอเรียบร้อยแล้วโดยการวิเคราะห์(ซึ่งอาจจะยังไม่มากพอก็ได้)เกี่ยวกับความสัมพันธ์กันระหว่าง"ปิตาธิปไตย" กับ"การครอบงำทางสังคม"ที่มีอยู่ภายในทฤษฎีวิพากษ์ ซึ่งจะสรุปและจะสนทนากันเกี่ยวกับความพยายามบางอย่างโดยผู้หญิง เพื่อผสมหรือรวมเอา"ทฤษฎีวิพากษ์"และ"สตรีนิยม"เข้าด้วยกันในสหรัฐอเมริกา [9]
[ข้าพเจ้าทราบว่า มันมีการสังเคราะห์กันระหว่าง"ทฤษฎีวิพากษ์"และ"สตรีนิยม"เข้าด้วยกันในเยอรมันนีและในที่อื่นๆของยุโรป, แต่สิ่งที่ข้าพเจ้าสนทนาถึงในที่นี้ เป็นเพียงความพยายามที่จะสังเคราะห์เรื่องเหล่านี้ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ซึ่งเป็นที่ที่ข้าพเจ้ามีความคุ้นเคย]

Seyla Benhabib และ Drusilla Cornell ได้เรียบเรียงหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า Feminism as Critique (1987) ซึ่งเป็นการรวมตัวระหว่างมุมมองของ"สตรีนิยม"และ"ทฤษฎีวิพากษ์"เข้าด้วยกัน. งานเขียนต่างๆที่รวบรวมมาจากนักเขียนหลายคนในหนังสือเล่มนี้ ได้พัฒนาประเด็นต่างๆของสตรีนิยมในบริบทของทฤษฎีสังคมเชิงวิพากษ์

อย่างในเรื่อง Critique, Norm, and Utopia, Benhabib (1987) จบลงตรงที่การวิจารณ์เกี่ยวกับ"ความขัดแย้งภายในต่างๆของทฤษฎีวิพากษ์" โดยการเรียกร้องให้พัฒนา"การเมืองที่มีลักษณะปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากข้อจำกัดในปัจจุบัน ซึ่งจะรวมเอามุมมองเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายแบบประชาธิปไตยมูลฐานในองค์กรชีวิตแบบสถาบัน กับ การวิพากษ์ศีลธรรม-วัฒนธรรมเกี่ยวกับปิตาธิปไตย และการตักตวงผลประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมของธรรมชาติที่อยู่ภายใน และปราศจากตัวเราเข้าด้วยกัน". Benhabib ได้ให้ความสนใจที่จะพัฒนาจริยธรรมและทฤษฎีสังคมขึ้นมาภายในกรอบโครงเกี่ยวกับทฤษฎีวิพากษ์สังคม ที่ยินยอมให้นักสตรีนิยมมีส่วนเกี่ยวข้อง

ในหนังสือของเธอ Unruly Discourses (1990), Nancy Fraser ได้เสนอบทวิพากษ์ระบบคิดสตรีนิยมของ Foucault, Lyotard, Habermas, Rorty, และ Derrida จากจุดยืนของการพัฒนาทฤษฎีสังคมแนวสตรีนิยมอันหนึ่ง. เธอได้ฝึกฝนมาตามขนบจารีตของแฟรงค์เฟริทสคูลเกี่ยวกับการวิพากษ์ระบบคิด หากแต่ว่าได้นิยาม"การวิพากษ์"ในความหมายของมาร์กซ์ในช่วงต้นที่ว่า "การวิพากษ์ คือ การทำให้ตัวเองชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับการต่อสู้และความปรารถนาแห่งยุคสมัย" (Fraser 1989, p. 2)

ในการศึกษาของเธอ Fraser ได้ให้คุณค่าการต่อสู้ที่เป็นรูปธรรมในฐานะที่เป็นระเบียบวาระสำหรับทฤษฎีวิพากษ์; ซึ่งวางไว้หรือเสนอขึ้นมาเพื่อพิจารณาต่อขบวนการทางสังคม ในฐานะที่เป็นหัวข้อหรือประเด็นของการวิพากษ์; และให้เหตุผลว่า มันอยู่ระหว่างการทดสอบที่รุนแรงของปฏิบัติการทางการเมือง ที่บรรดาทฤษฎีต่างๆจะได้พานพบกับการทดสอบอย่างถึงที่สุดเกี่ยวกับความสมบูรณ์หรือการนำมาใช้ได้. ในหนทางเหล่านี้ เธอทำให้ทฤษฎีวิพากษ์เป็นเรื่องการเมือง และให้มิติหนึ่งแก่สตรีนิยม ซึ่งไปเชื่อมโยง"ทฤษฎี"กับ"การปฏิบัติ"ที่มีพลังอำนาจมากกว่าทฤษฎีบางอันที่เป็นนามธรรมกว่า และเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองของทฤษฎีวิพากษ์

นอกจากนี้ ทฤษฎีวิพากษ์ยังไปบรรจบกับขนบประเพณีอันหนึ่งของความคิดสตรีนิยม ในการวิจารณ์ของมันเกี่ยวกับหนทางที่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ไปรับใช้ผลประโยชน์ต่างๆเกี่ยวกับการครอบงำของมนุษย์ และได้ไปบรรจบกับข้อสันนิษฐานของมันเกี่ยวกับคุณค่าต่างๆที่เป็นทางเลือกหนึ่งเกี่ยวกับการประนีประนอม, ความปิติยินดี, และสันติภาพ

ในข้อเท็จจริง แนวเรื่องหลักอันหนึ่งของ Dialectic of Enlightenment ก็คือ การวิพากษ์ที่รุนแรงของมันต่อวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, และความมีเหตุมีผลที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งยังคงมีคุณค่าอยู่ช่วงระหว่างยุคหนึ่งเมื่อแนวโน้มต่างๆได้ถูกอธิบายโดย Horkheimer และ Adorno ที่กำลังเพิ่มเติมในการขยายขอบเขตและความเข้มข้นขึ้น. การวิพากษ์อันนี้ ต่อมาภายหลังได้รับการหยิบขึ้นมาโดย Marcuse และ Habermas ด้วย และได้ให้พื้นที่สำคัญอันหนึ่งเกี่ยวกับจุดบรรจบกันระหว่างทฤษฎีวิพากษ์และสตรีนิยม

มันมีความพยายามร่วมสมัย ในการที่จะรวมเอา"ทฤษฎีวิพากษ์"กับ"สตรีนิยม"และ"จิตวิเคราะห์"เข้าหากัน. Jessica Benjamin ในความเรียงหลายๆชิ้นช่วงแรก(1977 และ 1978) และหนังสือเรื่อง The Bonds of Love (1988) ได้ทำการพัฒนาอย่างเป็นระบบในเรื่องของสตรีนิยมเชิงจิตวิเคราะห์(psychoanalytic feminism) โดยอาศัยรากต่างๆในทฤษฎีวิพากษ์. Benjamin ได้สร้างคำวิจารณ์ขึ้นมาชุดหนึ่งเกี่ยวกับอิทธิพลครอบงำ ที่มีพื้นฐานอยู่บนทฤษฎีที่ได้แรงบันดาลใจมาจากแนวคิดสตรีนิยมและจิตวิเคราะห์เกี่ยวกับความรัก, ครอบครัว, และชีวิตประจำวัน. ด้วยเหตุนี้ เธอจึงได้ให้มุมมองหรือทัศนียภาพที่เป็นระบบเกี่ยวกับแนวนี้ แม้ว่าได้มีคนที่ทำมาก่อนเป็นคนแรกแล้วในทฤษฎีวิพากษ์ นั่นก็คือ ฟรอม์ม นั่นเอง, แต่เธอค่อนข้างที่จะได้รับอิทธิพลมาจาก Marcuse และ Adorno.[10]
[หมายเหตุ] Benjamin ได้โต้ตอบ Fromm สั้นๆ ในบันทึกหมายเหตุอันหนึ่งในการวิเคราะห์ของแฟรงค์เฟริทสคูลเกี่ยวกับอำนาจและฟาสซิสม์, เธอเขียนเอาไว้ว่า: "การปฏิเสธทฤษฎีสัญชาตญาน, แต่ใช้ความคิดของฟรอยด์เกี่ยวกับผู้นำมวลชน... อีริค ฟรอม์ม ได้พัฒนาไอเดียเกี่ยวกับการค้นหาสำหรับ"ผู้ช่วยวิเศษ"(magic helper)ในหนังสือเรื่อง Esacape from Freedom.

ในท้ายที่สุด ดังที่ข้าพเจ้าได้ให้เหตุผลในหนังสือของข้าพเจ้าเรื่อง Critical Theory, Marxism and Modernity, มุมมองต่างๆในแนวปลดปล่อยของทฤษฎีวิพากษ์ ได้ให้ที่มั่นในการเมืองเชิงวัฒนธรรมและการเมืองเรื่องเพศ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวโยงกับแนวโน้มที่ก้าวหน้ามากบางอย่างในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่ๆ - รวมถึงขบวนการสตรีนิยม - ซึ่งได้เสนอวิธีการแก้ไขต่อภาวะขาดแคลนต่างๆอยู่เสมอ ที่อย่างน้อยที่สุด ในขบวนการเคลื่อนไหวใหม่ๆบางอย่าง

ทฤษฎีวิพากษ์ มักจะได้รับการนำไปผูกกับมิติทางกามวิสัยเชิงสุนทรีย์ของประสบการณ์(the aesthetic-erotic dimension of experience), และปกป้องความพึงพอใจ, ความสุข, การเล่น, และความยินดีในเรื่องกาม. การเน้นของมันในเรื่องของร่างกายและวัตถุนิยมที่โฟกัสลงบนความต้องการและศักยภาพต่างๆ ได้ปรับตัวของมันเองไปสู่การพูดคุยกันในเรื่องเกี่ยวกับการเมืองเรื่องเพศ(sexual politics) ซึ่งได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าโดยกลุ่มสตรีนิยมหัวก้าวหน้า

อันที่จริง ทฤษฎีวิพากษ์มักจะเน้นถึงความสำคัญของเรื่องเซ็กซ์ของมนุษย์เสมอ สำหรับชีวิตของปัจเจกบุคคล และได้เน้นความต้องการสำหรับสัมพันธภาพของมนุษย์ที่ดีกว่าระหว่างเพศต่างๆและภายในเพศเดียวกัน. บรรดานักทฤษฎีวิพากษ์ยังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของครอบครัวด้วย ในฐานะที่เป็นเครื่องมืออันหนึ่งของการทำให้เป็นสังคม และได้วิจารณ์หนทางต่างๆที่ครอบครัวแบบปิตาธิปไตยได้ผลิตบุคลิกภาพแบบเผด็จการหรืออำนาจเบ็ดเสร็จขึ้นมา ขณะเดียวกันก็ได้ไปกดขี่ผู้หญิงและเด็ก (see Kellner 1989b, Chapters 3 and 4)

ขณะที่บรรดานักทฤษฎีวิพากษ์(ที่เป็นผู้ชาย)บางคน บ่อยครั้งได้ฉายให้เห็นทัศนคติและการรับรู้ต่างๆแบบผู้ชายออกมาในงานของพวกเขา, คนอื่นๆ, อย่างเช่น Marcuse, กลับมีมุมมองต่างๆที่ค่อนข้างก้าวหน้าต่อการเมืองเรื่องเพศ(sexual politics), และได้ขานรับในเชิงบวกต่อขบวนการสตรีนิยมนับจากช่วงเวลาที่มันเกิดปรากฎการณ์ดังกล่าวขึ้นมาครั้งแรกเลยทีเดียว (see Kellner 1984)

อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีวิพากษ์ได้ยึดมั่นอย่างเหนียวแน่นกับพัฒนาการเกี่ยวกับเรื่องของการวิจารณ์แนวคิดปิตาธิปไตย และเรียกร้องเพื่อเสรีภาพของผู้หญิง ซึ่งได้ถูกทำให้ก้าวหน้าต่อมาโดยขบวนการสตรีนิยม. Mills (1987), Fraser (1989), และคนอื่นๆได้พูดคุยกันถึงข้อจำกัดต่างๆของทฤษฎีวิพากษ์แบบคลาสสิคจากมุมมองของสตรีนิยม ขณะที่ปัจเจกชนหลายหลากได้พยายามที่จะทำการสังเคราะห์ทฤษฎีวิพากษ์และสตรีนิยมเข้าด้วยกันในเมื่อไม่กี่ปีมานี้

อันนี้เป็นพัฒนาการที่มีอนาคตหรือความหวัง สำหรับหลังจากที่เราได้ยินการยกย่องสรรเสริญเกี่ยวกับความเป็นอื่น(otherness) และการแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยของความคิดระดับรากและการเมือง(fragmentation of radical thought and politics)ในช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1980s - การแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยและสงครามล้างผลาญกันและกัน ซึ่งโดยพื้นฐานเป็นประโยชน์ต่อปัญญาชนและการเมืองที่ได้รับการสถาปนาอย่างมั่นคงแล้ว(the intellectual and political establishments) - มันอาจเป็นช่วงเวลาของการเริ่มต้นเอาชนะความแตกต่าง, เริ่มต้นเข้าไปเกี่ยวข้องกับการพูดคุยกันอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น เพื่อสร้างการสังเคราะห์ใหม่ๆขึ้นมา

คำถามท้ายสุดที่ควรจะยกขึ้นมาถามก็คือ: ความเป็นอื่น(otherness)จะถูกทำให้เป็นเครื่องรางของขลังขึ้นมาได้ไหม และเราสามารถที่จะพัฒนาโครงการทางสติปัญญาและการเมืองขึ้นมาได้หรือไม่ ซึ่งให้การเคารพและให้คุณค่าต่อความเป็นปัจเจกภาพ, ความแตกต่าง, และความเป็นอื่น ที่ซึ่งในเวลาเดียวกันมีจุดมุ่งหมายที่ความเป็นหมู่คณะ, ความสามัคคี, และ ความเป็นชุมชนเดียวกัน? ข้าพเจ้ายอมรับว่า, อนาคตของทฤษฎีวิพากษ์จะขึ้นอยู่กับคำตอบทั้งหลายที่พวกเราตั้งคำถามต่างๆเหล่านี้...

Note
อ้างอิง ต่อจากบทความลำดับที่ 159

6. Fromm's equation of brotherly love with equality and democracy here is odd since he earlier equated democracy and equality with matricentric qualities, an equation which he would also return to in later writings; see, for instance, Fromm 1970, p. 103 (cited below) and Fromm 1986, pp. 21-22.

7. Rainer Funk suggested in conversation that perhaps Fromm's varying analyses of gender were related to his different relationships with women. In the 1930s and early 1940s, he was involved with two strong women in the psychoanalytic movement, Frieda Fromm-Reichmann and Karen Horney, both of whom were ten years older than him and extremely independent and creative women; Fromm's second wife, Henny Gurland was also a strong leftist, who escaped from France on the fateful trip in which Walter Benjamin committed suicide; she died in 1952 and his third wife, Annis Freeman, with whom he lived until his death, was more traditional and "feminine" than his previous wives who might have inspired him to take more feminist positions. We shall see, however, that even in the late Fromm there are some feminist impulses.

8. I am using the English text from which the interview was translated into Italian; thanks to Rainer Funk for providing this material to be from the Erich Fromm Archive.

9. I am aware that there have been syntheses of Critical Theory and Feminism in Germany and elsewhere in Europe, but I am only discussing here these efforts in the United States with which I am familiar.

10. Benjamin briefly discusses Fromm in a note on the Frankfurt School analyses of authority and fascism, writing: "Rejecting instinct theory, but using Freud's notion of the mass leader... Erich Fromm developed the idea of the search for the 'magic helper' in Esacape from Freedom.

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม