จากการพูดคุย ที่ Z Media Institute / มิถุนายน 1997 / โดย นอวม ชอมสกี้
From a talk at Z Media Institute June 1997 By Noam Chomsky
content page
member page
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง / ความยาวประมาณ 11 หน้ากระดาษ A4

เหตุผลส่วนหนึ่งที่ว่า
ทำไมผมถึงเขียนเกี่ยวกับเรื่อง"สื่อ"
ก็เพราะ ผมสนใจใน
วัฒนธรรมทางปัญญาทั้งหมด,
และในส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม
ทางปัญญานั้น สิ่งที่ง่ายที่สุด
ในการศึกษาก็คือเรื่องของ"สื่อ"

นอวม ชอมสกี้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

Studying the Media
What Makes Mainstream Media Mainstream
From a talk at Z Media Institute June 1997 By Noam Chomsky

การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสื่อ
สิ่งที่ทำให้สื่อกระแสหลัก เป็น กระแสหลัก
จากการพูดคุย ที่ Z Media Institute / มิถุนายน 1997
โดย นอวม ชอมสกี้

เหตุผลส่วนหนึ่งที่ว่า ทำไมผมถึงเขียนเกี่ยวกับเรื่อง"สื่อ" ก็เพราะ ผมสนใจใน วัฒนธรรมทางปัญญาทั้งหมดนั่นเอง, และในส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางปัญญาเหล่านั้น สิ่งที่ง่ายที่สุดในการศึกษาก็คือเรื่องของ"สื่อ". มันพรั่งพรูออกมาทุกวัน. คุณสามารถที่จะสืบสวนหรือค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้อย่างเป็นระบบ. คุณสามารถที่จะเปรียบเทียบเรื่องราวของเมื่อวานนี้กับเรื่องราวในวันนี้ได้. มันมีหลักฐานมากมายเกี่ยวกับสิ่งที่แสดงออกมา และอะไรที่ไม่ได้ถูกนำออกมาแสดง และวิธีการที่สิ่งต่างๆได้รับการวางโครงสร้างเอาไว้

ความประทับใจของผมก็คือ "สื่อ"ไม่ได้มีอะไรแตกต่างไปจากความรู้ในทางวิชาการ หรือจากวารสารต่างๆเกี่ยวกับข้อคิดเห็นทางปัญญาเลย - แม้ว่ามันจะมีข้อจำกัดที่พิเศษบางอย่าง - แต่โดยรากแล้วมันไม่มีอะไรแตกต่างกัน.

ให้คุณลองมองไปที่สื่อ หรือสถาบันใดที่คุณต้องการจะทำความเข้าใจ. คุณตั้งคำถามเกี่ยวกับโครงสร้างภายในของสถาบันนั้นๆ. คุณต้องการที่จะทราบบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับการจัดการของมันในสังคมที่กว้างกว่า. ดูว่ามันมีความสัมพันธ์กับระบบอำนาจและหน้าที่อื่นๆอย่างไร ? ถ้าคุณโชคดี, มันจะมีข้อสังเกตุภายในอันหนึ่งจากผู้นำในระบบข้อมูลข่าวสาร ซึ่งจะบอกกับคุณถึงสิ่งที่พวกเขาจะกระทำบางสิ่ง. นั่นไม่ได้หมายความถึงข่าวหรือโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่างๆ แต่สิ่งที่พวกเขาพูดถึงกันและกัน เกี่ยวกับอะไรที่พวกเขาจะทำ มันเป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากทีเดียว.

นั่นคือต้นตอหลักการของข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติของสื่อ. คุณต้องศึกษามันในหนทางที่ คล้ายๆกับ นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง จะทำการศึกษาถึงความซับซ้อนของโมเลกุลหรือบางสิ่งบางอย่าง. คุณเฝ้ามองลงไปที่โครงสร้าง และต่อจากนั้น ก็สร้างสมมุติฐานบางอย่างขึ้นมา โดยมีรากฐานอยู่บนโครงสร้างนั้น อย่างเดียวกับการผลิตสื่อ ดูถึงความเป็นไปได้ที่มันดูเหมือนอะไร.

ต่อจากนั้น คุณก็ทำการสืบสวน media product และดูว่ามันสอดคล้องกับสมมุติฐานอย่างไร. โดยแท้จริงแล้ว งานทั้งหมดในการวิเคราะห์สื่อก็คือส่วนสุดท้ายนี้ - พยายามศึกษาอย่างระมัดระวัง ถึงสิ่งที่ media product เป็น} และไม่ว่ามันจะสอดคล้องกับข้อสันนิษฐานต่างๆที่ชัดเจน เกี่ยวกับธรรมชาติและโครงสร้างของสื่อหรือไม่ก็ตาม

แล้วคุณพบอะไรบ้างล่ะ ? อันดับแรกสุด, คุณได้พบว่ามันมีสื่อที่แตกต่างกัน ซึ่งกระทำในสิ่งที่แตกต่าง, ก็เหมือนๆกันกับโลกบันเทิง/ฮอลลีวูด, ละครน้ำเน่าตามทีวีหรือวิทยุ,และอื่นๆ, หรือแม้กระทั่งหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ในประเทศ. พวกมันกำลังกำกับทิศทางหรือควบคุมมวลชนผู้บริโภคสิ่งเหล่านี้.

ยังมีสื่อในอีกเซ็คเตอร์หนึ่ง นั่นคือสื่อของพวกชนชั้นสูงหรือพวกหัวกระทิ(elite), บางครั้งสื่อพวกนี้ได้รับการเรียกว่า agenda-setting media (สื่อที่สามารถกำหนดญัตติสาธารณะขึ้นมาได้) เพราะพวกมันคือพวกๆหนึ่งที่เป็นแหล่งต้นตอหรือทรัพยากรแหล่งใหญ่, มันมักจะทำหน้าที่จัดสรรโครงร่างหรือวางกรอบที่คนทุกคนปฏิบัติ.

The New York Times และ CBS, จัดเป็นสื่อประเภทนี้. ผู้ติดตามงานของสื่อประเภทนี้ ส่วนใหญ่แล้วเป็นพวกอภิสิทธิ์ชน. ผู้คนซึ่งอ่าน New York Times - เป็นคนที่มั่งคั่งร่ำรวย หรือส่วนหนึ่งซึ่งบางครั้งถูกเรียกว่า political class (ชนชั้น[ที่สนใจ]การเมือง) - ที่จริงแล้ว พวกเขาเกี่ยวข้องอยู่กับระบบการเมืองในแบบต่อเนื่อง, บรรดาผู้จัดการที่จบการศึกษาระดับด็อกเตอร์ (คล้ายๆกับบรรดาศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย), หรือพวกนักเขียนในนิตยสาร บุคคลเหล่านี้จะเป็นผู้ที่ถูกนำไปเกี่ยวข้องกับการระดมความคิด หรือรวบรวมสิ่งต่างๆที่เป็นวิธีที่ผู้คนทั้งหลายคิด และมองดูสิ่งต่างๆ.

สื่อของชนชั้นสูงหรือพวกหัวกระทิ ได้วางกรอบอยู่ในส่วนของการปฏิบัติการด้านอื่นๆด้วย. ถ้าหากว่าคุณเฝ้าดู the Associated Press, ผู้ซึ่งค่อยๆละเลียดผลิตข่าวที่ไหลเลื่อนออกมาอย่างต่อเนื่อง. ในช่วงหลังเที่ยงนั้น จะเป็นเวลาหยุดพัก และมันมีบางสิ่งบางอย่างที่ก้าวหน้าปรากฎขึ้นทุกๆวัน ที่เรียกว่า"Notice to editors หรือ ข้อสังเกตุแก่บรรดาบรรณาธิการทั้งหลาย : จากกระบวนการนี้ the New York Times ของฉบับวันรุ่งขึ้น ก็จะมีเรื่องราวตามมาบนหน้าแรก".

ประเด็นข้างต้นนั้นก็คือ, ถ้าหากว่าคุณเป็นบรรณาธิการงของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นสักฉบับหนึ่ง ใน Dayton, Ohio และคุณไม่มีทรัพยากรหรือแหล่งข้อมูลอะไรมากมายนัก ที่จะทำออกมาเป็นข่าว หรือคิดว่าข่าวควรจะเป็นเรื่องอะไร, หรือถ้าคุณไม่ต้องการที่จะคิดอะไรแล้ว, อันนี้จะบอกแก่คุณว่า ข่าวความเป็นเรื่องอะไร ?. เหล่านี้คือเรื่องราวต่างๆสำหรับเนื้อที่หนึ่งในสี่ของหน้ากระดาษ ซึ่งคุณจะอุทิศให้กับบางสิ่งบางอย่าง นอกไปจากเรื่องราวเหตุการณ์ของท้องถิ่น หรือการเบี่ยงเบนผู้อ่านของคุณออกไปได้.

สิ่งเหล่านี้คือเรื่องราวต่างๆที่คุณเสนอมันก็เพราะ นั่นคือสิ่งที่ the New York Times บอกแก่คุณว่า อะไรคือสิ่งที่คุณควรให้ความเอาใจใส่เกี่ยวกับวันพรุ่งนี้. ถ้าเผื่อว่า คุณคือบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นใน Dayton, Ohio, คุณค่อนข้างที่จะต้องทำตามสิ่งนั้น, เพราะว่าคุณไม่ได้มีช่องทางมากมายอะไรนักเกี่ยวกับแหล่งต้นตอหรือที่มาของข้อมูล. ถ้าหากว่าคุณออกจากเส้นทางดังกล่าว ไม่สนใจหรือทิ้งมันไปเสีย, ถ้าคุณกำลังผลิตเรื่องราวต่างๆที่หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ไม่ชอบใจ, คุณก็จะได้รับอะไรบางอย่างในไม่ช้า.

ในความเป็นจริง, นั่นเพิ่งเกิดขึ้นกับ the San Jose Mercury News ซึ่งเป็นตัวอย่างที่น่าเร้าใจอันหนึ่งสำหรับเรื่องนี้. มันมีช่องทางมากมายซึ่งเป็นกโลบายต่างๆในการเล่นกับอำนาจ พวกเขาสามารถขับเคลื่อนคุณให้หวนกลับไปสู่เส้นทางเดิมได้ ถ้าคุณเคลื่อนออกมา. ถ้าหากว่าคุณพยายามยุติการเดินตามหนทางนั้น, คุณก็จะอยู่ได้ไม่นานนัก. โครงร่างอันนั้นทำงานได้ดีทีเดียว, และมันเป็นที่เข้าใจได้ว่า นั่นมันเป็นภาพสะท้อนอันหนึ่งของโครงสร้างอำนาจที่ชัดเจน.

โดยพื้นฐานแล้ว สื่อสารมวลชนโดยทั่วไปนั้น พยายามที่จะสร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้อ่าน. มีคำพูดที่ว่า "ปล่อยให้พวกเขาทำอะไรบางอย่างไป, แต่อย่าให้มันมารบกวนหรือทำให้เรารู้สึกรำคาญ" (เราในที่นี้คือผู้คนที่อยู่ในภาคการนำเสนอ). ปล่อยให้พวกเขาสนใจในเรื่องกีฬาอาชีพ เป็นตัวอย่าง. ทำให้ทุกคนคลั่งในกีฬาหรือเรื่องอื้อฉาวทางเพศ หรือบุคลิกภาพต่างๆและปัญหาของพวกเขา หรือบางสิ่งบางอย่างอะไรทำนองนั้น. ทุกสิ่งซึ่ง ตราบใดที่มันไม่ใช่เรื่องจริงจัง, แน่นอน, แก่นแท้ที่เป็นเรื่องจริงๆจังๆหรือเป็นเรื่องเครียดๆ มันเป็นหน้าที่สำหรับคนใหญ่ๆโตๆ. ซึ่งสำหรับพวกเราแล้ว คือคนที่"เอาใจใส่เกี่ยวกับสิ่งนั้น.

อะไรคือสื่อสำหรับชนชั้นสูงหรือพวกหัวกระทิ, ซึ่งเรียกว่า agenda-setting (สื่อที่กำหนดญัตติสาธารณะขึ้นมาได้) ? The New York Times และ CBS, เป็นตัวอย่าง. แน่นอน, ก่อนอื่นใดทั้งหมด, หน่วยงานเหล่านี้ คือบริษัทสำคัญหลักๆที่ได้สร้างผลกำไรได้ดีมาก. ยิ่งไปกว่านั้น, ส่วนใหญ่ของบริษัทเหล่านี้ ได้รับการเชื่อมโยงกับ, หรือถูกเป็นเจ้าของอย่างเปิดเผย โดยบริษัทต่างๆที่ใหญ่ขึ้นไปกว่านั้นอีก, อย่างเช่น General Electric, Westinghouse และอื่นๆ.

บริษัทเหล่านี้คือช่องทางที่จะก้าวขึ้นไปสู่จุดสุดยอดของโครงสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจส่วนตัว ซึ่งมันเป็นโครงสร้างที่เป็นเผด็จการทรราชเอามากๆ. โดยพื้นฐานแล้ว บริษัทพวกนี้ก็คือ พวกเผด็จการทรราช, มีการแบ่งลำดับชั้นแบบสูงต่ำ, และถูกควบคุมมาจากข้างบน. ถ้าหากว่าคุณไม่ชอบในสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่ เขาก็จะบอกกับคุณว่า "คุณก็ออกไปเสีย". สื่อหลักๆ ก็คือส่วนหนึ่งของระบบอันนั้นนั่นเอง.

การจัดการในรูปสถาบันของพวกเขาเป็นอย่างไร ? โดยกว้างๆ มันเกือบจะคล้ายกันมากเลยทีเดียว. สิ่งที่พวกเขามีปฏิสัมพัทธ์กัน และสัมพันธ์ด้วย ก็คือ ศูนย์กลางอำนาจหลักอื่นๆ - เช่น รัฐบาล, บริษัทขนาดใหญ่อื่นๆ, หรือมหาวิทยาลัยต่างๆ. เพราะว่า สื่อนั้นเป็นระบบเกี่ยวกับหลักคำสอนหรือความรู้(doctrinal system) พวกเขามีปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมากกับมหาวิทยาลัยต่างๆ.

ยกตัวอย่างเช่น คุณเป็นผู้สื่อข่าวคนหนึ่งที่เขียนเรื่องเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออัฟริกา, หรืออะไรบางอย่างทำนองนั้น. คุณจะถูกทึกทักเอาว่าจะไปที่มหาวิทยาลัยใหญ่ๆ และพบกับผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่ง หรือหลายคน ผู้ซึ่งจะบอกกับคุณว่าคุณควรจะเขียนอะไร, หรือมิฉะนั้น คุณจะไปยังมูลนิธิแห่งหนึ่ง, อย่าง Brookings Institute หรือ American Enterprise Institute และพวกเขาก็จะให้คำพูดต่างๆกับคุณ ซึ่งคุณควรจะเขียนออกมา. สถาบันภายนอกต่างๆเหล่านี้ มีความคล้ายคลึงกันมากกับสถาบันสื่อ.

มหาวิทยาลัยต่างๆ, อันที่จริง ก็ไม่ใช่สถาบันที่เป็นอิสระจริงจังอะไรหรอก. บางทีมันอาจจะมีผู้คนหรือนักวิชาการที่เป็นอิสระเดินกระจัดกระจายอยู่รายรอบในสถาบันเหล่านั้นบ้าง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้คนเหล่านี้ไม่ต้องขึ้นอยู่กับใคร โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในรัฐต่างๆที่เรียกว่า Fascist states หรือ รัฐเผด็จการ.

มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษา ในตัวมันเองมีลักษณะเป็นกาฝาก. มันขึ้นอยู่กับแหล่งต้นตอภายนอกในการให้การส่งเสริมสนับสนุน, อย่างเช่น การสนับสนุนจากคนที่ร่ำรวย, บรรษัทขนาดใหญ่ โดยการให้เงินทุนช่วยเหลือต่างๆ, และรัฐบาล(ซึ่งได้ถูกนำไปเชื่อมโยงกันและกันอย่างใกล้ชิดมากกับอำนาจบริษัท ซึ่งคุณสามารถที่จะจำแนกแยกแยะมันได้อย่างหมดเปลือก), โดยสาระแล้ว สิ่งเหล่านี้ที่กล่าว คือสิ่งที่มหาวิทยาลัยต่างๆเป็นอยู่

ผู้คนภายในองค์กร, ผู้ซึ่งไม่ปรับตัวเข้ากับโครงสร้างอันนั้น, ผู้ซึ่งไม่ยอมรับ หรือยอมเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างภายในของมัน ผู้คนที่ไม่กระทำเช่นนั้น เป็นไปได้ที่จะถูกขจัดออกไปตามเส้นทางการศึกษาที่ไต่ขึ้นมา, เริ่มต้นจากโรงเรียนอนุบาล, และไต่เต้าขึ้นมาตามลำดับตลอดสาย. (อันที่จริง คุณไม่สามารถที่จะทำงานกับมันได้ เว้นแต่คุณจะเป็นส่วนหนึ่งภายในโครงสร้าง และเชื่อมั่นในมัน);

มันมีเครื่องกรองต่างๆทุกชนิดที่จะกำจัดผู้คนซึ่งทำให้รู้สึกระคายเคือง และคิดเป็นอิสระออกไป. คนเหล่านั้นในหมู่พวกคุณ ผู้ซึ่งผ่านมาถึงมหาวิทยาลัยต่างรู้ว่า ระบบการศึกษานั้น เป็นเครื่องมือสำคัญมากๆที่จะให้รางวัลแก่ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความลงรอยประนีประนอม และความเชื่อฟังอยู่ในโอวาท; ถ้าหากว่าคุณไม่ทำเช่นนั้น, คุณก็จะเป็นตัวสร้างปัญหา. ดังนั้น, มหาวิทยาลัยต่างๆ มันจึงมีสภาพที่ไม่ต่างอะไรไปจากเครื่องกรองเครื่องหนึ่ง ซึ่งจะจบลงที่ ผู้คนซึ่งจบออกมา จะยอมเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างภายในอย่างซื่อสัตย์จริงๆ โครงร่างหรือกรอบความเชื่อ และทัศนคติต่างๆเกี่ยวกับระบบอำนาจที่อยู่รายรอบในสังคม.

สถาบันของชนชั้นหัวกระทิ ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัย Harvard และ Princeton และมหาวิทยาลัยขนาดเล็กต่างๆลงมา ค่อนข้างที่จะเป็นเครื่องมือช่วยในการขัดเกลาผู้คนให้เข้ากับสังคมเอามากๆ(คือเหมาะที่จะอยู่ในสังคม และอยู่ภายใต้กรอบของสังคม). ถ้าหากว่าคุณผ่านสถาบันอย่าง Harvard, ส่วนใหญ่แล้ว สิ่งที่ดำเนินไปในแวดวงนั้น คือ"การสอนเรื่องมารยาทและทัศนคติต่างๆ; เช่น ทำอย่างไรจึงจะประพฤติตัวให้เหมือนกับการเป็นสมาชิกคนหนึ่งของพวกชนชั้นสูง, หรือ ควรจะคิดอย่างไรจึงจะเป็นความคิดที่ถูกต้อง, และอื่นๆ. ก็เท่านั้นเอง

ถ้าหากว่าคุณอ่านเรื่อง Animal Farm ของ George Orwell ซึ่งเขาเขียนขึ้นมาเมื่อกลางทศวรรษที่ 1940, สำหรับนวนิยายเรื่องนี้ มันเป็นการเสียดสีต่อระบอบการปกครองของสหภาพโซเวียต, อันเป็นรัฐเผด็จาการ. ซึ่งนวนิยายเรื่องนี้ฮิตมาก. ทุกคนต่างหลงรักมัน. ปรากฏว่า ในส่วนของคำนำที่เขาเขียนเกี่ยวกับเรื่อง Animal Farm คือ หนังสือเล่มนี้ตอนแรกนั้น มันได้ถูกสั่งห้าม. แต่มันปรากฏตัวขึ้นมาในอีก 30 ปีต่อมา.

การแนะนำถึงเรื่อง Animal Farm ในฐานะที่เป็น"งานวรรณกรรมที่ถูกเซ็นเซอร์ในประเทศอังกฤษ" และในบทนำนั้นกล่าวอย่างชัดเจนว่า หนังสือเล่มนี้เป็นการเยาะเย้ยถากถางสหภาพโซเวียตและโครงสร้างที่เป็นเผด็จการของประเทศนี้. แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เขาพูดเกี่ยวกับประเทศอังกฤษ ก็ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างไปมากนัก. พวกเราไม่มีสายลับ KGB มาจ่ออยู่ที่คอหอย, แต่ผลสุดท้ายที่ออกมาก็คล้ายกันมากทีเดียว. ผู้คนซึ่งมีไอเดียที่เป็นอิสระไม่เหมือนใคร หรือคนที่คิดแตกต่างไปจากคนอื่นๆจะถูกขจัดออกไป.

เขาได้พูดถึงเรื่องดังกล่าวเพียงเล็กน้อย, ประมาณสัก 2 ประโยค เกี่ยวกับโครงสร้างของสถาบัน. เขาได้ตั้งคำถามขึ้นว่า, ทำไมอันนี้มันจึงเกิดขึ้นมาได้ ? เหตุผลข้อหนึ่งก็เพราะว่า หนังสือพิมพ์ถูกเป็นเจ้าของโดยคนที่ร่ำรวย ผู้ซึ่งเพียงต้องการให้บางสิ่งบางอย่างส่งไปถึงสาธารณชน (และบางอย่างต้องการเก็บงำเอาไว้). อีกสิ่งซึ่งเขากล่าวก็คือว่า เมื่อคุณผ่านระบบการศึกษาแบบชนชั้นหัวกระทิ(elite education system), เมื่อคุณผ่านระบบการศึกษาต่างๆที่เหมาะสมใน Oxford, คุณก็จะเรียนรู้ว่า มันมีบางสิ่งมันไม่เหมาะที่จะพูด และมันมีความคิดบางอย่างที่ไม่เหมาะที่จะมี. นั่นคือบทบาทของการถูกขัดเกลาให้อยู่ในสังคมของสถาบันหัวกระทิเหล่านี้ และถ้าหากว่าคุณไม่ปรับตัวเข้ากับมัน, โดยทั่วไปแล้วหรือตามปกติ คุณก็จะต้องออกไปเสีย. สองประโยคนั้นได้บอกอะไรกับเราได้มากมายทีเดียว.

เมื่อคุณวิพากษ์วิจารณ์สื่อ และคุณกล่าวว่า, ดูซิ, นี่ไง มันเป็นสิ่งที่ Anthony Lewis หรือใครบางคนได้เขียนเอาไว้, พวกผู้ผลิตสื่อก็จะโกรธเอามากๆ. พวกเขาจะบอกกับคุณว่า, "ถูกต้องทีเดียว, ไม่มีใครเคยต้องบอกฉันว่า อะไรที่ฉันควรจะเขียน, ฉันจึงเขียนในสิ่งต่างๆที่ฉันชอบ. ความเป็นธุระอันนี้ทั้งหมดเกี่ยวกับแรงกดดันและข้อจำกัดต่างๆถือว่าเป็นเรื่องที่ไร้สาระ เพราะฉันไม่เคยตกอยู่ภายใต้แรงกดดันอันนั้นเลย".

ซึ่งนั่นมันเป็นความจริงโดยสมบูรณ์, แต่ประเด็นก็คือว่า เขาจะไม่เขียนอย่างนั้นหรือยังอยู่ที่นั่นได้ก็เพราะ เว้นแต่พวกเขาได้แสดงให้เห็นว่า ไม่ต้องมีใครมาบอกพวกเขาว่าควรจะเขียนอะไร เพราะพวกเขากำลังเขียนหรือพูดถึงในสิ่งที่ถูกต้อง(คือไม่ขัดต่อกรอบของสังคม).

ถ้าพวกเขาเริ่มต้นที่โต๊ะที่ Metro, หรือที่ใดสักแห่ง, และดำเนินการไปตามเรื่องราวที่ผิดชนิดหรือผิดประเภท, เขาก็จะไม่อาจทำเช่นนั้นได้ ณ ตำแหน่งที่พวกเขายังดำรงอยู่, ซึ่งตอนนี้ สามารถจะพูดถึงสิ่งต่างๆที่พวกเขาชอบได้. ส่วนใหญ่แล้ว มันก็เป็นจริงอย่างเดียวกันนี้ในคณะวิชาต่างๆของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาทั้งหลาย ซึ่งในทางระเบียบปฏิบัติ มันมีความเป็นอุดมคติมากกว่า. พวกผู้คนเหล่านี้ จริงๆแล้วได้ผ่านระบบขัดเกลาที่ทำให้อยู่ในกรอบของสังคมมาแล้วนั่นเอง.

โอเค, คุณมองไปที่โครงสร้างของระบบทั้งหมดอันนั้น. อะไรล่ะที่คุณคาดหวังให้ข่าวต่างๆเป็น ? แน่นอน, มันแจ่มชัดมากทีเดียว. หยิบ New York Times ขึ้นมา. มันเป็นบริษัทหนึ่ง และขายสินค้าตัวหนึ่ง. สินค้าของมันก็คือ"ผู้อ่านทั้งหลาย"นั่นเอง.

พวกเขาไม่ได้ทำเงินเมื่อคุณไปซื้อหนังสือพิมพ์. พวกเขามีความสุขที่จะเสนอมันบน worldwide web เพื่ออ่านกันฟรีๆ. อันที่จริงพวกเขาสูญเสียเงินเมื่อคุณไปซื้อหนังสือพิมพ์เสียด้วยซ้ำ. แต่ผู้อ่านคือสินค้า. สินค้านั้นคือผู้คนที่พิเศษหรืออภิสิทธิ์ชน(priviledge people), เหมือนกับผู้คนที่กำลังเขียนหนังสือพิมพ์อยู่, อันนี้คุณก็รู้, ผู้คนที่ตัดสินใจในระดับสูงสุดในสังคม.

คุณต้องขายสินค้าตัวหนึ่งสู่ตลาด, และตลาดนั้นก็คือ, แน่นอน, นักโฆษณาต่างๆ(นั่นคือ, ธุรกิจอื่นๆ). ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์ หรืออะไรก็ตาม พวกเขากำลังขายผู้ชมและผู้อ่าน. บริษัทต่างๆ ขายผู้ชมและผู้อ่านให้กับอีกบริษัทหนึ่ง. ในกรณีของสื่อสำหรับอภิสิทธิ์ชนหรือชนชั้นหัวกระทิ, มันคือธุรกิจขนาดใหญ่.

เอาล่ะ, คุณคาดหวังว่าอะไรจะเกิดขึ้น ? อะไรที่คุณคาดการณ์หรือทำนายเกี่ยวกับธรรมชาติของ media product, หรือเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ? สิ่งที่เป็นสมมุติฐานอันไม่ถูกต้อง, การคาดเดาที่คุณนึกเอาเอง มันจะไม่นำพาไปสู่อะไรเลย อันนี้ต้องระวัง.

ข้อสันนิษฐานที่แจ่มชัดก็คือว่า media product, สิ่งที่ปรากฏ และสิ่งที่ไม่ปรากฎ, ช่องทางที่มันถูกทำให้แฉลบหรือเฉไฉไป, จะสะท้อนความสนใจของผู้ซื้อและผู้ขาย, ผลประโยชน์, สถาบัน, และระบบอำนาจต่างๆ ที่อยู่รายรอบตัวของพวกเขา. ถ้าหากว่านั่นไม่ได้เกิดขึ้น, มันก็จะเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์เลยทีเดียว.

โอเค, มาถึงงานที่หนักหนาสาหัสมากขึ้นอีกนิด. คุณอาจตั้งคำถามว่า, มันกระทำไปในหนทางที่คุณได้ทำนายเอาไว้แล้วใช่ไหม ? แน่นอน คุณสามารถที่จะตัดสินได้ด้วยตัวของคุณเอง. มันเต็มไปด้วยเนื้อหาสาระบนข้อสมมุติฐานที่แจ่มชัดอันนี้ ซึ่งได้รับการควบคุมโดยการทดสอบกับทุกๆคนที่สามารถจะคิดเช่นนั้น และมันยังคงโดดเด่นอย่างน่าสังเกตุ. แต่ตามความเป็นจริงแล้ว คุณไม่เคยพบสิ่งใดเลยในทางสังคมศาสตร์ ที่มาสนับสนุนอย่างแข็งขันจริงๆต่อข้อสรุปใดๆ ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจอะไรนัก เพราะมันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างอัศจรรย์ ถ้าเผื่อว่ามันไม่ได้เป็นไปตามหนทางที่อำนาจบีบคั้นอันนั้นปฏิบัติการอยู่.

สิ่งต่อมาที่คุณค้นพบก็คือว่า หัวข้อทั้งหมดนี้เป็นเรื่องต้องห้ามอย่างสมบูรณ์. ถ้าหากว่าคุณได้เข้าศึกษาที่ the Kennedy School of Government หรือที่ Stanford, หรือที่ใดก็ตาม และคุณได้เข้าศึกษาในคณะวารสารและสื่อสารมวลชน หรือวิชารัฐศาสตร์, และอื่นๆ, คำถามต่างๆเหล่านี้ เป็นไปได้ที่ว่ามันจะไม่เกิดขึ้น. นั่นคือ ข้อสมมุติฐานดังกล่าว ทุกๆคนจะข้ามมันไปโดยไม่ทันรู้ตัวด้วยซ้ำ กล่าวคือ มันไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงออกมา, และพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับมัน ก็ไม่สามารถเอามาพูดคุยถึงมันได้.

แน่ล่ะ คุณก็ทำนายเอาไว้อย่างนั้นเช่นเดียวกัน. ถ้าหากคุณมองไปที่โครงสร้างของสถาบัน, คุณอาจจะกล่าวว่า, เย่, ใช่, นั่นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาอย่างนั้น. เพราะว่า ทำไมคนเหล่านี้จึงต้องการที่จะได้รับการเปิดเผยล่ะ ? ทำไมพวกเขาจึงมาวิเคราะห์วิจารณ์ เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาทำให้มันเกิดขึ้นมาเองล่ะ ? คำตอบก็คือว่า มันไม่มีเหตุผลหรอกว่า ทำไมพวกเขาควรจะยอมรับอันนั้น และ ในข้อเท็จจริง พวกเขาไม่ยอมรับเลย.

อีกครั้ง, มันไม่ใช่เรื่องของการเจตนาที่จะตรวจสอบหรือเซ็นเซอร์. มันเป็นเพียงแต่ว่า คุณไม่ได้ทำให้มันได้อยู่กับร่องกับรอยเท่านั้น. นั่นรวมทั้งพวกฝ่ายซ้าย, เช่นเดียวกับพวกฝ่ายขวา. เว้นแต่ว่าคุณได้ถูกครอบหรือขัดเกลาให้อยู่ในสังคมและถูกฝึกมา เพื่อว่าความคิดบางอย่าง คุณเพียงแต่ต้อง"ไม่มีมัน"เท่านั้น, เพราะถ้าเผื่อว่าคุณมีความคิดพวกนี้ คุณก็ไม่อาจจะอยู่ที่นั่นต่อไปได้.

สิ่งสุดท้ายที่จะดูในที่นี้ก็คือ เค้าโครงการเรียนการสอนหรือทฤษฎีต่างๆซึ่งมันได้ดำเนินการอยู่. ผู้คนในระดับสูงที่อยู่ในระบบข้อมูลข่าวสาร รวมไปถึงสื่อและการโฆษณา และทางด้านรัฐศาสตร์ และอื่นๆ, บุคคลเหล่านี้มีภาพว่า อะไรควรจะเกิดขึ้นไหม เมื่อพวกเขากำลังหยิบปากการขึ้นมาเขียน (ไม่ใช่ตอนที่พวกเขากำลังร่างสุนทรพจน์ตอนจบการศึกษา) ? เมื่อตอนที่คุณร่างคำพูดสำหรับพิธีรับปริญญา, มันจะเต็มไปด้วยถ้อยคำและสัพเพเหระ. แต่เมื่อพวกเขากำลังเขียนเพื่อคนอีกคนหนึ่ง, อะไรล่ะที่ผู้คนจะกล่าวเกี่ยวกับมัน ?

โดยพื้นฐานแล้ว มันมีข้อที่น่าตรวจตราดูทั่วๆไปอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน.
อันแรกคือ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์, คุณรู้ว่า มันเป็นอุตสาหกิจหลักของการโฆษณาชวนเชื่อ. แต่ อะไรคือสิ่งที่บรรดาผู้นำของอุตสาหกรรมด้านประชาสัมพันธ์กำลังพูด ? (อันนี้ให้คุณจับตาดู)
อันที่สองที่ควรจะมองก็คือ ผู้คนที่ได้รับการเรียกว่า"ปัญญาชนสาธารณะ"(public intellectuals), หรือบรรดานักคิดใหญ่ทั้งหลาย, ผู้ซึ่งข้อเขียนของพวกเขาจะวางอยู่ตรงข้าม(op-eds)หรือใกล้กับบทบรรณาธิการ และอะไรเทือกนั้น. ดูว่าพวกเขาพูดเรื่องอะไร ? ผู้คนที่เขียนหนังสือซึ่งเป็นที่ประทับใจเกี่ยวกับธรรมชาติของประชาธิปไตย และสาระเรื่องราวอะไรทำนองนั้น.
อันที่สามให้คุณมอง ลองมองไปที่กระแสทางวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเรื่องทางการเมืองหรือรัฐศาสตร์ ซึ่งได้เกี่ยวพันอยู่กับการสื่อสารและข้อมูลข่าวสารต่างๆ และอะไรเหล่านั้น ซึ่งได้เป็นสาขาวิชาหนึ่งของรัฐศาสตร์มาเมื่อประมาณ 70-80 ปีให้หลังมานี้.

ดังนั้น มองไปที่ทั้งสามส่วนนี้ และดูว่าพวกเขาพูดอะไร และมองดูว่าบุคคลชั้นนำทั้งหลายนี้ ผู้ซึ่งได้เขียนอะไรเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว. พวกเขาทั้งหมดต่างพูดว่า, -(ผมขอยกเอาคำพูดมาอ้างบางส่วน) ประชาชนโดยทั่วไปเป็นพวกที่ "เมินเฉย และเป็นคนนอกที่ชอบยุ่งหรือชอบเสือก"-. พวกเราต้องกันพวกคนเหล่านี้ออกไปจากเวทีสาธารณะ เพราะ คนพวกนี้โง่เง่าเกินไป และถ้าหากว่าพวกเขาเข้ามาเกี่ยวพัน ก็รังแต่จะสร้างปัญหาขึ้นมาเท่านั้น. งานของพวกเขาก็คือ เป็นได้เพียงแค่"ผู้สังเกตุการณ์", ไม่ใช่เป็น"ผู้มีส่วนร่วม".

พวกเขาซึ่งในที่นี้หมายถึงประชาชนคนธรรมดาทั่วไป ได้รับการยินยอมให้โวทหรือออกเสียงได้เป็นครั้งคราว เพื่อคัดสรรคนๆหนึ่งในหมู่พวกเราที่เป็นคนฉลาด. แต่ต่อจากนั้น พวกเขาจะได้รับการบอกให้กลับไปบ้านเสีย และทำบางสิ่งบางอย่าง เช่น ดูฟุตบอล ดูละครทีวี หรืออะไรก็ได้ทำนองนั้น.

"การเป็นคนที่เมินเฉย และการเป็นคนนอกที่ชอบยุ่งชอบสอด"เป็นได้ก็เพียงผู้สังเกตุการณ์ ไม่ใช่เข้ามามีส่วนร่วม. "การมีส่วนร่วม"นั้น คือสิ่งที่ได้รับการเรียกว่า"คนที่รับผิดชอบ" และ, แน่นอน, พวกนักเขียน มักจะเป็นหนึ่งพวกนั้นเสมอ.

คุณไม่เคยตั้งคำถามว่า ทำไมผมจึงเป็น"คนที่รับผิดชอบ" และทำไมบางคนจึงอยู่ในคุก ? คำตอบมันชัดเจนมาก. มันเป็นเพราะว่าคุณเป็นแค่ผู้เชื่อฟังคำสั่งและเป็นชนชั้นรองในเรื่องของอำนาจ และคนอื่นๆอาจเป็นอิสระ, และอื่นๆ.

แต่คุณก็ไม่ตั้งคำถาม, แน่นอน. ด้วยเหตุนี้ จึงมีคนที่ฉลาดบางคน ผู้ที่ได้รับการทึกทักเอาว่าเป็นผู้เล่นบทบาทอันนั้น และพวกที่เหลือได้รับการเข้าใจว่าอยู่ข้างนอกหรือเป็นคนนอก และคุณไม่ควรจะยอมจำนนต่อ... (ซึ่งผมได้อ้างอิงคำพูดมาจากบทความวิชาการ) พวกยึดถือคัมภีร์ประชาธิปไตยที่ว่า มนุษย์เป็นตัวตัดสินที่ดีที่สุดเกี่ยวกับผลประโยชน์ของพวกเขา["men being the best judges of their own interest."] พวกเขาไม่ใช่. พวกเขาคือตัวตัดสินที่น่าเกรงขามเกี่ยวกับผลประโยชน์ต่างๆของพวกเขา ดังนั้น พวกเราจึงต้องกระทำมันเพื่อพวกเขา เพื่อผลประโยชน์ของพวกเขาเอง.

ตามความเป็นจริง มันมีความคล้ายคลึงกันมากกับลัทธิเลนินนิสม. "พวกเราทำสิ่งต่างๆเพื่อพวกคุณ และพวกเรากำลังกระทำมันเพื่อผลประโยชน์ของทุกๆคน" และอื่นๆ. ผมสงสัยว่า นั่นเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลที่ว่า ทำไมมันจึงง่ายดายเหลือเกินสำหรับผู้คนในประวัติศาสตร์ ที่จะเลื่อนขึ้นและย้อนกลับจากภาวะ, ของการเป็นสตาลินนิสทที่กระตือรือร้น และเปลี่ยนไปสู่การเป็นผู้ให้การสนับสนุนอย่างมากเกี่ยวกับพลังอำนาจของอเมริกัน.

ผู้คนได้ปรับเปลี่ยนหรือสวิสท์ชตัวเองอย่างรวดเร็ว จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง, และความกังขาของผมก็คือว่า ที่มันเป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า โดยพื้นฐานแล้วมันเป็นตำแหน่งเดียวกันนั่นเอง. คุณไม่ได้ทำอะไรมากมายเลยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงฝักฝ่ายอันนี้. คุณเพียงแต่ประเมินความแตกต่างอันหนึ่งเกี่ยวกับว่า อำนาจ(ตอนนี้)มันวางอยู่ที่ไหนเท่านั้น. วาระแรกคุณคิดว่ามันอยู่ที่นี่ ส่วนในอีกวาระหนึ่ง คุณคิดว่ามันอยู่ที่นั่น. คุณเพียงเปลี่ยนไปถือครองตำแหน่งของอำนาจเดียวกันนั่นเอง.

อันนี้ทั้งหมดมันค่อยๆวิวัฒนาการขึ้นมาอย่างไร ? มันเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอันหนึ่ง. ส่วนมากมันหลุดออกมาจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่มาก. มันได้เปลี่ยนแปลงสถานะหรือตำแหน่งของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อโลกไปอย่างค่อนข้างมาก. ในคริสตศตวรรษที่ 18 สหรัฐฯก็เป็นสถานที่ซึ่งร่ำรวยที่สุดในโลกแล้ว.

คุณภาพชีวิต สุขภาพอนามัย และชีวิตที่ยืนยาว ไม่ได้บรรลุผลสำเร็จโดยชนชั้นสูงของสหราชอาณาจักรหรือชนชาวอังกฤษแต่อย่างใด จนกระทั่งมาถึงช่วงต้นของคริสตศตวรรษที่ 20 มานี้เอง, โดยไม่ต้องพูดถึงใครอีกเลยในโลกนี้. สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มั่งคั่งพิเศษ ด้วยผลประโยชน์และความได้เปรียบมากมายมหาศาล, และโดยช่วงสิ้นสุดศตวรรษที่ 19, มันก็กลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก. แต่มันไม่ใช่นักแสดงใหญ่ที่อยู่ในฉากความเป็นไปของโลก. พลังอำนาจของสหรัฐอเมริกาได้แผ่ขยายออกไปยังเกาะต่างๆของทะเลคาริบเบี่ยน, อันเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิค, แต่สหรัฐอเมริกาไม่ใช่พี่ใหญ่.

ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ความสัมพันธ์ต่างๆได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไป. และมันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าตื่นเต้นเร้าใจมากในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง. หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐอเมริกา เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นเจ้าโลก หรือครอบครองโลกทั้งหมดแล้ว.

แต่อย่างไรก็ตาม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มันก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้วเช่นกัน และ สหรัฐอเมริกา ได้ปรับเปลี่ยนจากการเป็นประเทศลูกหนี้มาสู่ความเป็นประเทศเจ้าหนี้. มันไม่ได้มากมายใหญ่โตอะไรนักเหมือนกับสหราชอาณาจักร แต่มันก็ได้กลายมาเป็นตัวแสดงตัวหนึ่งที่มีความสำคัญขึ้นมาในโลกเป็นครั้งแรก. นั่นคือความเปลี่ยนแปลงอันหนึ่ง, แต่ยังมีความเปลี่ยนแปลงอื่นๆอีกด้วย.

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นับเป็นครั้งแรกที่ได้เกิดมีการสร้างงระบบการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐ(state propaganda)ขึ้นมาอย่างมากมาย. สหราชอาณาจักรมีกระทรวงข่าวสาร, และอันที่จริงพวกเขาต้องการมันเพราะ พวกเขาต้องการให้ สหรัฐอเมริกา เข้าสู่สงครามร่วมกัน ถ้ามิฉะนั้นพวกเขาก็จะประสบกับปัญหาอันยุ่งยาก.

หลักๆแล้ว กระทรวงข่าวสารได้รับมอบหมายให้ส่งข้อความโฆษณาชวนเชื่อ, รวมไปถึงการคิดประดิษฐ์เกี่ยวกับ"ภาพลักษณ์อันโหดร้ายป่าเถื่อน"(Hun atrocities) และอื่นๆขึ้นมา.

ปัญญาชนชาวอเมริกันทั้งหลาย พวกเขากำลังเป็นเป้าหมาย บนสมมุติฐานที่มีเหตุผลว่า ผู้คนเหล่านี้ คือคนที่หลอกได้ง่ายที่สุด และเป็นไปได้มากที่จะเชื่อในโฆษณาชวนเชื่อ. และคนพวกนี้ยังเป็นคนพวกหนึ่งที่จะแพร่กระจายการโฆษณาชวนเชื่อไปสู่ระบบของพวกเขาเอง. ด้วยเหตุนี้ ส่วนใหญ่แล้วมันจึงได้รับมอบหมายภารกิจ ให้การกระทำต่างๆมุ่งสู่ปัญญาชนอเมริกัน และมันก็ทำงานได้ดีด้วย.

กระทรวงข่าวสารของสหราชอาณาจักรได้ออกเอกสาร (ซึ่งเอกสารจำนวนมาก ได้รับการตีพิมพ์ออกมา) เพื่อแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายของพวกเขา คือ [ดังที่มันได้เสนอออกมา] "เพื่อควบคุมความคิดของโลกทั้งหมด, ส่วนเป้าหมายรองลงมานั้น, ส่วนใหญ่ก็มุ่งไปที่อเมริกา". พวกเขาไม่ค่อยรู้สึกกังวลนักถึงสิ่งที่ผู้คนคิดในประเทศอินเดีย.

กระทรวงข่าวสารประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ในการหลอกลวงปัญญาชนอเมริกันที่เป็นคนสำคัญๆทั้งหลาย มาสู่การยอมรับการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับการโฆษณาชวนเชื่อของสหราชอาณาจักร. พวกเขามีความภูมิใจในเรื่องนี้มาก. แน่นอนที่ว่า มันช่วยปกป้องรักษา และสร้างความปลอดภัยต่อความเป็นอยู่ของพวกเขา. มิฉะนั้นแล้ว พวกเขาก็จะสูญเสียหรือประสบกับความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง.

ในสหรัฐอเมริกา มีสิ่งที่คล้ายกันมากอันหนึ่ง. Woodrow Wilson ได้รับการเลือกตั้งในปี 1916 บนนโยบายเกี่ยวกับการต่อต้านสงคราม. สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่รักสันติมากประเทศหนึ่ง. มันมักเป็นเช่นนั้นมาโดยตลอด. ผู้คนไม่ต้องการที่จะไปทำสงครามต่างๆในต่างประเทศ. ประเทศค่อนข้างจะต่อต้านและคัดค้านต่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และ Wilson ก็, อันที่จริง ได้รับการเลือกตั้งขึ้นมาบนฐานของการต่อต้านสงครามอันนี้. "สันติภาพโดยปราศจากชัยชนะ" ("Peace without victory") นั่นเป็นสโลแกนที่สำคัญ.

แต่เขากำลังตั้งใจที่จะไปสงคราม. ดังนั้น คำถามก็คือ, คุณจะทำอย่างไรให้ประชาชนที่รักสันติทั้งหลาย กลายเป็นคนที่ป่าเถื่อนไร้เหตุผล ซึ่งต่อต้านคนเยอรมันที่วิกลจริต เพื่อให้พวกเขาต้องการที่จะไปฆ่าชาวเยอรมันทั้งหมดให้ได้ ? คำตอบก็คือ ต้องใช้วิธีการโฆษณาชวนเชื่อ.

ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงได้มีการตระเตรียมบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา ซึ่งในครั้งแรก มันเป็นเพียงหน่วยงานหลักของรัฐในการโฆษณาชวนเชื่อในประวัติศาสตร์อเมริกา. คณะกรรมการเกี่ยวกับข้อมูลสาธารณะ ซึ่งมันได้รับการเรียกว่าอย่างนั้น, และยังได้รับการเรียกว่า the Creel Commission ด้วย. คนที่ดำเนินการนี้ได้รับการขนานนามว่า Creel. ภารกิจที่ได้รับมอบหมายนี้ก็คือ ทำการโฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนเกิดอาการฮิสทีเรียในเรื่องความรักชาติ(jingoist hysteria). มันทำงานได้ดีอย่างน่าเหลือเชื่อ. ภายในไม่กี่เดือน มันก็เกิดอาการฮีสทีเรียที่กระหายสงครามอย่างป่าเถื่อนไร้เหตุผลขึ้นมา และสหรัฐอเมริกาก็พร้อมแล้วที่จะเข้าสู่สงคราม.

ผู้คนเป็นจำนวนมากได้ถูกทำให้รู้สึกประทับใจโดยความสัมฤทธิผลต่างๆของการโฆษณาชวนเชื่อ. คนๆหนึ่งที่รู้สึกประทับใจในเรื่องนี้, และได้ยังผลไปสู่ความเกี่ยวพันกับอนาคตก็คือ ฮิตเลอร์.

ถ้าหากว่าคุณอ่าน Mein Kamp, เขาสรุปด้วยความมีเหตุมีผลบางอย่างว่า, การที่เยอรมันนีต้องพ่ายแพ้ในสงครามก็เพราะว่า มันได้พ่ายแพ้ในสงครามโฆษณาชวนเชื่อนั่นเอง. พวกเขาไม่อาจแข่งขันได้กับการโฆษณาชวนเชื่อของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีชัยอย่างท่วมท้นเหนือกว่าพวกเขาอย่างสมบูรณ์. พวกเขาได้ปฏิญานว่า ในรอบใหม่ พวกเขาจะมีระบบการโฆษณาชวนเชื่อของพวกเขาเอง, ซึ่งพวกเขาก็ได้ทำเช่นนั้นจริงๆ ในช่วงวันเวลาระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง.

สิ่งที่สำคัญมากสำหรับสหรัฐฯ, ก็คือ ชุมชนทางธุรกิจอเมริกันรู้สึกประทับใจมากด้วย ต่อความพยายามในการโฆษณาชวนเชื่อ. พวกเขามีปัญหาอันหนึ่งขึ้นมาในเวลานั้น. โดยทางการแล้ว ประเทศนี้กำลังกลายเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยมากขึ้น. ผู้คนมากมายสามารถที่จะโวทหรือออกเสียงในการเลือกตั้งได้. ประเทศกำลังมั่งคั่งมากยิ่งขึ้น และผู้คนจำนวนมากสามารถมีส่วนร่วม และผู้อพยพที่มาใหม่เป็นจำนวนมากกำลังหลั่งไหลเข้ามา, และอื่นๆ

ด้วยเหตุนี้ อะไรล่ะคือสิ่งที่คุณจะทำ ? มันเริ่มที่จะยากเย็นมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ที่จะกระทำสิ่งต่างๆในฐานะที่เป็นสโมสรส่วนตัว. ดังนั้น ชัดเจนที่ว่า คุณจะต้องควบคุมสิ่งที่ผู้คนคิดกัน. มันมีผู้เชี่ยวชาญต่างๆทางด้านการประชาสัมพันธ์ แต่มันไม่เคยมีอุตสาหกรรมการประชาสัมพันธ์เลย. มีคนๆหนึ่งที่รับจ้าง เพื่อสร้างภาพของ Rockefeller ให้มองดูแล้วดูดี สละสลวย และอะไรทำนองนั้น. แต่อุตสาหกรรมทางด้านการประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่, ซึ่งเป็นการคิดประดิษฐ์ของสหรัฐอเมริกาอันหนึ่ง และเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่โตน่ากลัวมาก เพิ่งจะผุดขึ้นมาหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนี้เท่านั้น.

บรรดาผู้นำในอุตสาหกรรมทางด้านนี้ก็คือ ผู้คนใน Creel Commission นั่นเอง. ตามข้อเท็จจริง ตัวหลักสำคัญคนหนึ่งก็คือ Edward Bernays, :ซึ่งมาจาก Creel Commission โดยตรง. เขามีหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ออกมา ภายหลังเรียกว่า Propaganda (การโฆษณาชวนเชื่อ).

สำหรับศัพท์คำว่า "Propaganda" นั้น บังเอิญว่า ในช่วงวันเวลาดังกล่าวมิได้มีความหมายไปในเชิงลบแต่อย่างใด. มันเป็นช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองมานี้เอง ที่ทำให้คำศัพท์ดังกล่าวกลายเป็นคำศัพท์ที่ต้องห้าม เพราะ มันได้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับประเทศเยอรมันนี, และอะไรที่มันเลวร้ายทั้งหมดเทือกนั้น. แต่ในช่วงเวลานี้, ศัพท์คำว่า propaganda (การโฆษณาชวนเชื่อ) เพียงหมายความถึงข้อมูลข่าวสาร(information) หรือบางสิ่งบางอย่างอะไรทำนองนั้น. ดังที่เขาได้เขียนเอาไว้ในหนังสือชื่อ Propaganda ราวปี 1925, และเริ่มต้นขึ้นมาโดยกล่าวว่า

เขาได้ประยุกต์ใช้บทเรียนต่างๆของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง. ระบบของการโฆษณาชวนเชื่อของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และภารกิจที่ได้รับมอบหมายอันนี้ ซึ่งเขาเป็นส่วนหนึ่งของการนำมันออกมาเผยแพร่, เขากล่าว, มันเป็นไปได้ที่จะ"จัดระเบียบหรือรวบรวมจิตใจของสาธารชนทุกๆดวงได้เช่นเดียวกันกับพวกทหารหาญใช้ในการรวมจิตรวมใจกรมกองของพวกเขา".

เทคนิคใหม่ๆเหล่านี้เกี่ยวกับการจัดระเบียบทางด้านจิตใจ, เขาพูด, มันจะต้องถูกนำมาใช้โดยคนกลุ่มน้อยที่มีสติปัญญา เพื่อที่จะทำให้เกิดความมั่นใจว่าพวกอุ้ยอ้ายและโง่เง่าทั้งหลาย จะยังคงอยู่ในแถวในแนวที่ถูกต้อง. พวกเราสามารถที่จะทำมันได้เลยตอนนี้ เพราะว่า เรามีเทคนิคใหม่เหล่านี้กันแล้ว.

อันนี้คือคู่มือที่สำคัญของอุตสาหกรรมการประชาสัมพันธ์. Berneys คือคุรุคนหนึ่ง. เขาคือเสรีนิยมตัวจริงของแนวทาง Roosevelt/Kennedy liberal. เขายังเป็นวิศวกรที่อยู่เบื้องหลังความมานะบากบั่นทางด้านการประชาสัมพันธ์ ในการสนับสนุนให้เกิดรัฐประหารของอเมริกาด้วย ซึ่งได้ล้มล้างรัฐบาลประชาธิปไตยของกัวเตมาลาลง.

การประสบความสำเร็จที่สำคัญของเขา, ที่จริงแล้ว หนึ่งในการขับเคลื่อนเขาขึ้นมาสู่ความมีชื่อเสียงในช่วงปลายทศวรรษที่ 1920 ก็คือ การทำให้ผู้หญิงสูบบุหรี่. ในช่วงวันเวลาดังกล่าว ผู้หญิงเป็นกลุ่มคนที่ไม่สูบบุหรี่ และเขาได้ทำการรณงค์ขึ้นมาอย่างขนานใหญ่สำหรับโครงการ Chesterfield. คุณต่างก็รู้ถึงเทคนิคทั้งหมดเหล่านั้น - นางแบบและดาราภาพยนตร์กับบุหรี่ที่ออกมาคาบให้เห็นบนปากอันงดงามของพวกเธอๆ และท่าทางต่างๆอะไรทำนองนั้น. เขาได้รับการยกย่องอย่างมากสำหรับเรื่องนี้. ด้วยเหตุดังนั้น เขาจึงได้ก้าวขึ้นมาสู่ผู้นำของอุตสาหกรรมดังกล่าว, และหนังสือของเขาก็กลายเป็นคู่มือหรือคัมภีร์ที่แท้จริงเล่มหนึ่ง.

สมาชิกอีกคนหนึ่งของ the Creel Commission ก็คือ Walter Lippmann. บุคคลซึ่งได้รับการยอมรับนับถือมากที่สุด ในวงการนิตยสารของอเมริกันมาประมาณครึ่งศตวรรษทีเดียว (ผมหมายความถึงนิตยสารอเมริกันที่มีเนื้อหา, หรือเสนอแง่คิดและมุมมองที่เอาจริงเอาจัง). นอกจากนี้ เขายังได้เขียนสิ่งที่เรียกว่าบทความเชิงก้าวหน้าเกี่ยวกับประชาธิปไตยด้วย, ซึ่งได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นการสนับสนุนอยู่เบื้องหลังความก้าวหน้าในช่วงทศวรรษที่ 1920. เขาเป็นอีกคนหนึ่งที่ได้มีการประยุกต์ใช้บทเรียนต่างๆของงานโฆษณาชวนเชื่อได้อย่างชัดเจนมาก. เขากล่าวว่า มันคือศิลปะรูปแบบใหม่ในแนวทางประชาธิปไตย ที่เรียกว่า การสร้างฉันทามติหรือความตกลงร่วมกัน(manufacture of consent). นั่นคือวลีของเขา.

ส่วน Edward Herman เติบโตมาจาก Lippmann. ดังนั้น, เขาจึงกล่าวว่า, มันคือศิลปะรูปแบบใหม่อันนี้ ในวิธีการของประชาธิปไตย, "การสร้างฉันทามติหรือความตกลงร่วมกัน(manufacture of consent)." โดยฉันทามติหรือการตกลงร่วมกันที่สร้างหรือประดิษฐ์ขึ้น, คุณสามารถที่จะครอบงำหรือเอาชนะข้อเท็จจริงที่ผู้คนเป็นจำนวนมาก โดยทางการแล้ว มีสิทธิในการลงคะแนนเสียงได้.

พวกเราสามารถทำให้มันเบี่ยงเบนไปได้ เพราะเราสามารถที่จะสร้างฉันทามติ และทำให้เกิดความมั่นใจว่า ทางเลือกของพวกเขา และท่าทีจะได้รับการวางเค้าโครงในหนทางนั้น ที่พวกเขามักจะกระทำเสมอๆในสิ่งที่เราบอกแก่พวกเขาให้ทำ, ราวกับว่า พวกเขามีหนทางที่เป็นทางการอันหนึ่งในการมีส่วนร่วม. ดังนั้น พวกเราจึงมีประชาธิปไตยอย่างแท้จริง. มันจะทำงานได้อย่างเหมาะสม. นั่นคือการประยุกต์บทเรียนต่างๆของหน่วยงานการโฆษณาชวนเชื่อมาใช้.

วิชาการสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์ก็มาจากสิ่งเดียวกันนี้. ผู้ก่อตั้งสิ่งที่ได้รับการเรียกขานว่าวิชาการสื่อสารและวิชาการรัฐศาสตร์ก็คือ Harold Glasswell. การประสบความสำเร็จหลักๆของเขาก็คือหนังสือเล่มหนึ่ง, เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการโฆษณาชวนเชื่อ. เขากล่าว, อย่างเปิดเผยตรงไปตรงมามากๆว่า สิ่งต่างๆที่ผมอ้างมาก่อนหน้านี้ - สิ่งเหล่านั้นไม่ได้เป็นการยอมจำนนต่อการยึดถือคัมภีร์ประชาธิปไตย, แต่มันมาจากวิชาการรัฐศาสตร์.

อีกครั้งที่เป็นการดึงมาจากบทเรียนต่างๆในประสบการณ์ช่วงสงคราม, พรรคการเมืองทั้งหลายก็ได้ดึงเอาบทเรียนพวกนั้นมาใช้, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พรรคอนุรักษ์นิยมในประเทศอังกฤษ. ผลงานในช่วงต้นๆของพวกเขา, และเพิ่งพิมพ์ออกมา ได้แสดงให้เห็นว่า พวกเขาตระหนักถึงความสำเร็จหรือสัมฤทธิผลต่างๆของกระทรวงข่าวสารของสหราชอาณาจักร. พวกเขาสำนึกว่า ประเทศได้มาสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และมันจะไม่ใช่คลับส่วนตัวของใคร. ด้วยเหตุนี้ ข้อสรุปก็คือว่า, ดังที่พวกเขาเสนอมัน, การเมืองจะต้องกลายเป็นสงครามการเมือง, การประยุกต์ใช้กลไกของการโฆษณาชวนเชื่อที่ทำงานได้อย่างชาญฉลาด ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในการควบคุมความคิดต่างๆของผู้คนได้เป็นอย่างดี.

นั่นเป็นด้านทฤษฎีหรือคำสอน และมันเข้ากันอย่างแนบแน่นกับโครงสร้างของสถาบัน. มันมีพลังในการทำนายเกี่ยวกับหนทางหรือวิธีการที่สิ่งต่างๆควรจะทำงานอย่างไร. และการทำนายต่างๆนั้นก็ได้รับการยืนยันอย่างดี. แต่ข้อสรุปทั้งหลายเหล่านี้, ก็ยังไม่ได้รับการยินยอมให้ถูกนำมาพูดคุยกัน.

ปัจจุบัน อันนี้เป็นส่วนทั้งหมดของงานเขียนกระแสหลัก แต่มันเป็นเพียงสำหรับผู้คนที่อยู่ข้างในหรือวงในเท่านั้น. เมื่อคุณเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัย คุณไม่ได้อ่านงานคลาสสิคเกี่ยวกับ "จะทำอย่างไรจึงจะควบคุมจิตใจของผู้คนเอาไว้ได้".

มันคล้ายคลึงกันมากกับการที่คุณไม่ได้อ่านสิ่งที่ James Madison พูด ในช่วงระหว่างการประชุมเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่ว่า เป้าหมายหลักของระบบใหม่ก็คือ ต้องเป็นการ"ปกป้องคุ้มครองคนกลุ่มน้อยที่มั่งคั่งร่ำรวยจากคนส่วนใหญ่(ที่ยากจน)", และจะต้องถูกออกแบบขึ้นมา เพื่อว่ามันจะได้นำไปสู่ความสำเร็จในเป้าหมายอันนั้น. อันนี้คือการก่อตัวขึ้นมาของระบบรัฐธรรมนูญ, ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีใครเลยได้ศึกษามัน. คุณไม่สามารถที่จะค้นหามันได้ในแวดวงวิชาการ เว้นแต่ว่าคุณจะค้นคว้ามันอย่างจริงจังและหนักหน่วงเท่านั้น.

นั่นคือภาพคร่าวๆ, ดังที่ผมได้เห็นมา, เกี่ยวกับหนทางที่ระบบอันนั้นเป็นไปในลักษณะของสถาบัน, ทฤษฎีหรือคำสอนต่างๆที่นอนเนื่องอยู่เบื้องหลัง, วิธีการที่มันผุดขึ้นมา. มันเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ควบคุมบรรดาคนนอกที่เมินเฉยและชอบสอดทั้งหลาย. นั่นคือความเบี่ยงเบนที่นำมาใช้ที่สำคัญ ของสิ่งๆหนึ่งมาสู่อีกสิ่งหนึ่ง. จากอันนั้น, ผมคิด, คุณสามารถที่จะคาดการณ์ได้ว่า อะไรที่คุณคาดหวังที่จะค้นหา.

กลับไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com