สหรัฐอเมริกามองว่า การปล่อยให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบบเปิดนั้นจะทำให้ประเทศทั้งหลายขาดเอกภาพ และเท่ากับเปิดช่องให้พลังคอมมิวนิสต์เข้าแทรกแซงได้โดยง่าย ดังนั้นสหรัฐอเมริกาจึงสนับสนุนให้เหล่าอำนาจนิยมพากันยึดอำนาจ สหรัฐฯ ได้เลือกสนับสนุนเหล่าเผด็จการทหารเช่น จอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ ในประเทศไทย ซูฮาโต้ในอินโดเนเซีย มาร์กอส ในฟิลิปปินส์ ยึดอำนาจจากรัฐบาลประชาธิปไตย โดยมุ่งหวังจะใช้อำนาจเผด็จการสร้างเอกภาพขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะได้เกิดพลังในการต่อสู้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์เสียแต่ต้นลม
อย่างไรก็ตาม คำอธิบายเพียงเท่านี้ อาจไม่เพียงพอต่อการอธิบายพลวัตรทางการเมืองภายหลังเอกราชของภูมิภาคนี้
อาจเป็นการยากหากจะกำหนดว่า
การพิจารณาถึงการเมืองสมัยใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉีจยงใต้นั้น ต้องมองย้อนประวัติศาสตร์กลับไปไกลเพียงไหน
?
เท่าที่มีการศึกษากัน มักเริ่มมองจากยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่รัฐต่างๆ ได้รับเอกราช และพากันสถาปนาระบอบการปกครองในรูปแบบใหม่
แม้ประเทศไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้น ทว่าอาจถูกศึกษาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆได้
เนื่องจากทิศทางการดำเนินการทางการเมืองของไทย ไม่แตกต่างจากอดีตประเทศอาณานิคมทั้งหมด
ที่พยายามก้าวเท้าแรกสู่หนทางประชาธิปไตย
อาจเป็นการยากหากจะกำหนดว่าการพิจารณาถึงการเมืองสมัยใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉีจยงใต้นั้นต้องมองย้อนประวัติศาสตร์กลับไปไกลเพียงไหน ?
เท่าที่มีการศึกษากัน
มักเริ่มมองจากยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่รัฐต่างๆ
ได้รับเอกราช และพากันสถาปนาระบอบการปกครองในรูปแบบใหม่ แม้ประเทศไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้น
ทว่าอาจถูกศึกษาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆได้ เนื่องจากทิศทางการดำเนินการทางการเมืองของไทยไม่แตกต่างจากอดีตประเทศอาณานิคมทั้งหมดที่พยายามก้าวเท้าแรกสู่หนทางประชาธิปไตย
ภายหลังเอกราช
ทุกประเทศในเอเชียอาคเนย์พยายามสถาปนาระบอบประชาธิปไตย ทั้งในพม่า ฟิลิปปินส์
อินโดนีเซีย มาเลเชีย และในประเทศไทย กระแสการก่อร่างประชาธิปไตยและการพัฒนาภูมิภาคของประเทศทั้งหมดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ดังที่ทราบกันทั่วไปว่า ประเทศต่างๆภายหลังได้รับเอกราชต่างพยายามสถาปนาระบอบการปกครองแนวประชาธิปไตย
แต่อย่างไรก็ตาม ความพยายามเหล่านี้ต่างก็ประสบกับความล้มเหลว
ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองไม่นาน รัฐต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ล้วนกลายเป็นรัฐเผด็จการ คำถามมีว่า เพราะเหตุใดสถานการณ์จึงพลิกผันไปเช่นนั้น ?
มีการพยายามหาคำตอบจากสภาพที่พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือนี้ บ้างตอบว่า การที่ประเทศทั้งหลายกลายเป็นเผด็จการ แทนที่จะเป็นประชาธิปไตยภายหลังได้รับเอกราชนั้น เป็นเพราะสงครามเย็นที่กำลังเริ่มขึ้น ขณะนั้นอุดมการณ์คอมมิวนิสต์เริ่มเผยแพร่สู่ทุกรัฐ มีการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทุกประเทศในด้านหนึ่ง
ส่วนอีกด้านหนึ่งนั้นภายหลังได้เอกราชและสถาปนาการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ปรากฏการณ์ของความขัดแย้งของชนกลุ่มต่างๆ และความขัดแย้งกันเองในกลุ่มชนชั้นนำ ได้นำมาซึ่งความปั่นป่วนทั่วดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตรงนี้สหรัฐอเมริกามองว่า การปล่อยให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประชาธิปไตยซึ่งเป็นระบบเปิดนั้นจะทำให้ประเทศทั้งหลายขาดเอกภาพ และเท่ากับเปิดช่องให้พลังคอมมิวนิสต์เข้าแทรกแซงได้โดยง่าย ดังนั้นสหรัฐอเมริกาจึงสนับสนุนให้เหล่าอำนาจนิยมพากันยึดอำนาจ สหรัฐฯ ได้เลือกสนับสนุนเหล่าเผด็จการทหารเช่น จอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ ในประเทศไทย, ซูฮาโต้ในอินโดเนเซีย, มาร์กอส ในฟิลิปปินส์, ยึดอำนาจจากรัฐบาลประชาธิปไตย โดยมุ่งหวังจะใช้อำนาจเผด็จการสร้างเอกภาพขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะได้เกิดพลังในการต่อสู้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์เสียแต่ต้นลม
อย่างไรก็ตาม คำตอบเพียงเท่านี้อาจไม่เพียงพอต่อการอธิบายพลวัตรทางการเมืองภายหลังเอกราชของภูมิภาคนี้ ดังนั้น การจะเข้าใจถึงความล้มเหลวของประชาธิปไตยของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังสงครามโลกครั้งที่สอง และการที่รัฐบาลเผด็จการสามารถสถาปนาอำนาจขึ้นมาได้นั้น จะต้องเข้าใจว่าจริงๆแล้ว แม้จะมีความพยายามในการสร้างระเบียบทางการเมืองแบบสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่อย่างไรก็ตามแท้จริงแล้วการเมืองในเอเชียตะวันยออกเฉียงใต้ยังผูกติดกับธรรมเนียมปกครองแบบโบราณอยู่
จารีตทางการเมืองแบบดั้งเดิมของภูมิภาคนี้ ยังคงเป็นพลังที่สำคัญในการกำหนดทิศทางในทางการเมืองของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังได้รับเอกราช"ขาดชนชั้นกลางที่เป็นอิสระจากรัฐ" ในขณะเดียวกันโครงสร้างทางชนชั้นที่สำคัญในสังคมก็ยังคงเป็นแบบดั้งเดิมนั้นก็คือ การที่มีชนชั้นสูง( ซึ่งเป็นผู้ถือครองอำนาจ ) และชาวบ้าน ( ที่ถูกกันออกไปจากวงจรของอำนาจ ) ที่แบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจน
ผู้ปกครองรัฐคือชนชั้นสูงที่มีลักษณะการสืบทอดทางการเมืองรูปแบบเดิม กล่าวคือฝ่ายใดมีพลังมากกว่า ก็สามารถเข้าแย่งชิงและยึดครองอำนาจรัฐหรืออำนาจการปกครองในสังคมไว้ได้ ตัวอย่างเช่น ในประเทศไทย เมื่อรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ ครองอำนาจอยู่ได้ไม่นานก็ถูกรัฐประหารโดยกลุ่มซอยราชครู ภายใต้การนำของจอมพลผิน ชุณหะวัณและพลเอกเผ่า ศรียานนท์ ต่อมาจึงเกิดความขัดแย้งระหว่างพลตำรวจเอกเผ่ากับจอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ การเปลี่ยนถ่ายอำนาจเช่นนี้สังเกตได้ว่าเป็นการต่อสู้กันระหว่างชนชั้นบนของสังคมทั้งสิ้น และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่สามารถมีระบอบประชาธิปไตยได้ เนื่องจากการสืบทอดการเมืองในแบบดั้งเดิมนี้เอง
ความเข้าใจประการต่อมาก็คือ ความขัดแย้งทางการเมืองที่เห็นได้ชัดเกี่ยวกับความขัดแย้งที่เกิดจากความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ซึ่งสามารถอธิบายได้จากการย้อนกลับไปเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของศูนย์อำนาจแต่ดั้งเดิมของดินแดนแถบนี้ นั่นก็คือก่อนถูกยึดครองเป็นอาณานิคม เอกภาพที่แท้จริงไม่เคยปรากฏขึ้น เนื่องเพราะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เต็มไปด้วยศูนย์กลางอำนาจใหญ่น้อยที่เป็นอิสระและกึ่งอิสระ การที่ศูนย์อำนาจหนึ่งขึ้นต่อศูนย์อำนาจหนึ่งเป็นเรื่องสวามิภักดิ์ หาใช้การกลืนเป็นเนื้อเดียวกันไม่
หน่วยทางการเมืองที่เจ้าอาณานิคมสถาปนาขึ้นซึ่งจะกลายเป็นพม่า อินโดเนเซีย ฟิลิปปินส์ หรือกระทั้งไทย ล้วนสถาปนาขึ้นบนศูนย์อำนาจต่างๆ ซึ่งแม้แต่พลังชาตินิยมที่เป็นพลังในการปลดปล่อยอาณานิคมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ไม่สามารถสมานลักษณ์บรรดาศูนย์อำนาจเดิมซึ่งจะกลายเป็นกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ เหล่านี้ได้ ดังนั้นประชาธิปไตยอันเป็นระบบการปกครองที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเอกภาพและการจัดระเบียบเชิงสถาบันที่ไม่ขึ้นกับผู้ใดหนึ่ง ภายในสังคมหนึ่งๆ หรือรัฐหนึ่งๆ จึงไม่สามารถสถาปนาขึ้นมาได้
เผด็จการอำนาจนิยมที่เสริมพลังด้วยอาวุธและเงินทุนจากสหรัฐอเมริกาจึงสามารถสถาปนาอำนาจ ทีอาจเรียกว่าอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์ต่างๆที่ใหญ่โตที่สุดเท่าที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เคยมีมา ขึ้นมาได้
และนี่คือคำตอบว่า เหตุใดหลังได้รับเอกราชเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงไม่สามารถสถาปนาระบบประชาธิปไตยขึ้นมาได้ และโครงสร้างการเมืองในภูมิภาคนี้จึงย้อนกับไปพัฒนาเชื่อมต่อกับโครงสร้างทางการเมืองตามแบบดั้งเดิม
การเมืองของภูมิภาคระหว่างพุทธศักราช 2500-2520 แสดงความหยุดนิ่ง (Static) ไม่มีความซับซ้อนเนื่องจากพลวัตรถูกกดไว้ด้วยระบอบเผด็จการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ขณะที่การเมืองหยุดนิ่ง เศรษฐกิจกลับมีพลวัตร (Dynamic) ชัดเจน ทั้งนี้เกิดจากการที่สหรัฐอเมริกาได้เข้าสนับสนุนเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมควบคู่ไปกับการหนุนหลังเผด็จการ มีการเน้นย้ำทุนนิยมเสรี สนับสนุนด้านทุน และส่งเสริมบรรษัทข้ามชาติให้เข้ามาลงทุน
ทฤษฎีของ W. W. Rostow เป็นทฤษฎีพัฒนาการที่สหรัฐอเมริกาใช้อ้างในการพัฒนาเศรษฐกิจตามแบบทุนนิยมเสรีอย่างเป็นขั้นตอน นำไปสู่กำเนิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐต่างๆ เช่น ไทย อินโดนีเซีย เป็นต้น ความจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงรัฐเผด็จการนี้ได้ก่อให้เกิดปัจจัยใหม่อย่างน้อยสองประการ ได้แก่
การก่อตัวของกลุ่มทุนที่หลากหลายกว่าในอดีตทั้งกลุ่มทุนส่วนกลางและกลุ่มทุนท้องถิ่น ( ซึ่งเป็นอิสระจากรัฐ ) และการขยายตัวของบรรดาชนชั้นกลางทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน การขยายตัวนี้เกิดขึ้นในประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( ยกเว้นอินโดจีนและพม่า ในกรณีของพม่ารัฐบาลเผด็จการทหารภายใต้การนำของประธานาธิบดีเนวินได้ปิดประเทศ ไม่ดำเนินทิศทางการพัฒนาแบบตะวันตก โดยเสนอนโยบายชาตินิยมที่เรียกว่าสังคมนิยมแบบพม่าขึ้นมา )
กลุ่มคนต่างๆดังกล่าวเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และโครงสร้างทางการเมืองเผด็จการในแบบเดิมไม่สามารถสนองต่อกลุ่มคนที่หลากหลายเหล่านี้ได้ ทั้งนี้เนื่องจากโครงสร้างของระบอบเผด็จการนั้น มักสนองประโยชน์แต่กับคนเพียงกลุ่มเดียวคือกลุ่มที่สังกัดอยู่กับตัวเอง ไม่เปิดโอกาสให้กลุ่มอื่นๆ ใช้ประโยชน์จากอำนาจรัฐ ดังนั้นความร่ำรวยจึงตกแก่ผู้นำและกลุ่มพรรคพวกของเผด็จการสฤษฎิ์ ถนอม-ประภาส ซูฮาร์โต มาร์กอส จึงเป็นธรรมดาที่กลุ่มทุนใหม่ที่เป็นอิสระจากรัฐที่เติบโตขึ้นมานี้ ต้องการที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในอำนาจกำหนดนโยบายทางการเมืองเพื่อสนองประโยชน์ของกลุ่มตนบ้าง
ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นทั้งในประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ กลุ่มหลากหลายที่กำลังก่อตัวมีอิทธิพลทำให้การเมืองของภูมิภาคในช่วงสองทศวรรษนี้มีพลวัตรสูง จากเดิมที่รัฐต่างๆเคยถูกปกครองภายใต้ระบบราชการและทหาร (Bureaucratic Polity) ตามแบบสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่ มาช้านาน กลุ่มชนต่างๆเริ่มแสดงบทบาทต่อการเมืองเพื่อจัดสรรและแบ่งปันอำนาจมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อจัดโครงสร้างแห่งอำนาจที่เปิดโอกาสให้คนกลุ่มต่างๆ แข่งขันกันครองอำนาจรัฐเพื่อใช้อำนาจนั้นสนองประโยชน์ของกลุ่มตนนั้น เริ่มจากประเทศไทยเป็นแห่งแรก เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 คือสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อสถาปนาโครงสร้างแห่งอำนาจแบบใหม่ ภายหลังจากนั้นจึงถึงคราวฟิลิปปินส์ที่โค่นล้มรัฐบาลเฟอร์ดินาน มาร์กอส และต่อมาเมื่อเร็วๆ นี้ซูฮาร์โตของอินโดนีเซียถูกกำจัดออกไป และมีการสถาปนาโครงสร้างทางการเมืองแบบใหม่ขึ้น
เราจะพบว่ากองหน้าของกระบวนการต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวล้วนเป็นนักศึกษา ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนและภาพสะท้อนของชนชั้นกลาง เป็นตัวเบิกทางให้กลุ่มอื่นเข้าสู่อำนาจ และเปิดฉากการเมืองที่ถูกเรียกว่าประชาธิปไตย พม่าซึ่งดูคล้ายว่าในที่สุดอาจเลี่ยงกระแสตะวันตกไม่พ้นได้เกิดการต่อสู้โดยหมู่นักศึกษา เช่นเดียวกับที่ทั้งซูฮาร์โต และมาร์กอสถูกโค่นล้มโดยนักศึกษา แต่เนื่องจากขนาดชนชั้นกลางซึ่งมักเป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการปกครองมีเพียงเล็กน้อย ผนวกกับความเติบโตทางเศรษฐกิจที่ถดถอย ทำให้คาดว่าการเปลี่ยนแปลงใดๆ จะเกิดขึ้นได้ยาก ในกรณีของพม่าปัจจุบัน
แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลร่างกุ้งกำลังเผชิญหน้ากับกลุ่มพลังใหญ่ 3 พลังด้วยกัน พลังแรกคือชนกลุ่มน้อยซึ่งเป็นปัญหาดั้งเดิมที่สุด พลังต่อมาคืออุดมการณ์ประชาธิปไตยนำโดยฝ่ายนักศึกษาและนางออง ซาน ซู จี และพลังสุดท้ายคือแรงกดดันจากภายนอก ได้แก่ประชาคมโลก
ลำพังนางออง ซาน ซู จีและนักศึกษาไม่สามารถต่อกรกับรัฐบาลทหารพม่าได้ ขณะที่ความหวังของชนกลุ่มน้อยในการต่อกรกับรัฐบาลก็ริบหรี่ โดยรวมแล้วรัฐบาลทหารพม่ายังควบคุมสถานการณ์ภายในไว้ได้ในมือ ดังนั้น หากการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในประเทศนี้ ย่อมเป็นการยากที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน พลังพลักดันความเปลี่ยนแปลงจากภายนอกจะส่งผลได้มากกว่า
ในที่สุด "สิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตย" ก็ได้ถูกสร้างขึ้นในรัฐใหญ่ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สาเหตุที่เรียกว่า "สิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตย" นั้นก็เพราะว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมีความคล้ายประชาธิปไตย หรือถูกคาดหวังให้เป็นประชาธิปไตย แต่โดยแท้จริงแล้วหาได้เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่
"สิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตย" นี้เกิดเป็นการเมืองที่มีลักษณะเปิดในระดับหนึ่ง ผู้ที่ได้ประโยชน์คือกลุ่มทุนต่างๆ ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นที่ต่อมารวมตัวเป็นพรรคการเมืองปัจจุบัน พรรคการเมืองเหล่านี้แก่งแย่งกันขึ้นสู่อำนาจ เพื่อจะได้กำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของตนเอง สิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมคือระบบการเลือกตั้งฉ้อฉลที่เป็นอยู่ในภูมิภาคนี้
อย่างไรก็ตาม สภาพปัจจุบันเกิดปรากฏการณ์การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ตัวอย่างของพลังภาคประชาชนนี้ก็ดังเช่นกรณีที่ พลเอกสุจินดา คราประยูร และคณะ รสช. กระทำรัฐประหารเพื่อพลิกการปกครองประชาธิปไตยให้กลับกลายเป็นการเมืองที่ทหารและข้าราชการมีอำนาจ การต่อต้านจากภาคประชานจึงได้เกิดขึ้น และขจัดเขาและคณะออกจากอำนาจในที่สุด
และเมื่อประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราดา ผู้ซึ่งหาเสียงเข้าข้างชาวบ้าน กลับกระทำตนเป็นผู้นำที่ฉ้อฉลตามแบบยุค เฟอร์ดินาน มาร์กอส ภาคประชาชนก็ได้โค่นล้มเอสตราดาลง
จึงเห็นได้ว่า ภาคประชาชนเป็นตัวแปรในทางการเมืองที่สำคัญขึ้น
อย่างไรก็ตามพลวัตรทางการเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ได้หยุดอยู่เพียงการขึ้นมาของกลุ่มทุนและการเกิดขึ้นของภาคประชาชนเท่านั้น "สิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตย" ยังได้นำมาซึ่งการเปิดตัวของกลุ่มคนที่ไม่เคยปรากฏอย่างมีนียสำคัญมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั่นคือ"ชาวบ้าน"ซึ่งในอดีตปรากฏตัวแต่เพียงน้อยครั้งในช่วงวิกฤติการเมืองเมื่อผู้นำขาดธรรมะ และมีความปั่นป่วนภายใน ดังเช่นที่เคยเกิดกบฏไพร่ ต่างๆ ขึ้น ชาวบ้านดังกล่าวปรากฏตนเพื่อแสดงบทบาทเป็นครั้งคราว จากนั้นจึงสลายตัวไปเมื่อสิ้นวิกฤตการณ์นั้นๆ
แต่ในปัจจุบันดังในกรณีของไทย การลุกขึ้นมาต่อสู้ของชาวบ้านไทยในกรณีเขื่อนต่างๆ หรือดังเช่นกรณีท่อก๊าสไทย-มาเลเซีย หรือกรณีโรงงานไฟฟ้าที่หินกรูด เป็นต้น คือการปรากฏตัวของชาวบ้านในพื้นที่การเมืองที่อาจมีนัยที่สำคัญยิ่ง
ในขณะเดียวกันทั่วโลกกำลังจับตามองอินโดนีเซียในฐานะแผ่นดินโกลาหลที่มองอนาคตไม่ออก หลังจากการลงจากอำนาจของประธานาธิบดีซูฮาร์โต แรงซึ่งเคยเกาะเกี่ยวประเทศกว้างใหญ่และเต็มไปด้วยหมู่เกาะและชาติพันธุ์ก็สลายลง ปรากฏเป็นปรากฏการณ์การประทุขึ้นของคนกลุ่มต่างๆ เช่นบนเกาะ"อัมบน" ที่นับถือคริสตศาสนา ดินแดนอาเจะห์ เกาะบอร์เนียวซึ่งเป็นถิ่นของชนเผ่าดายัค รวมถึงติมอร์ตะวันออกที่กลายเป็นรัฐอิสระในที่สุด สิ่งเหล่านี้เป็นพยานของความล้มเหลวในการที่รัฐไม่สามารถควบคุมพลังต่างๆได้อีกต่อไป
การเมืองที่เปิดออกในอินโดนีเซียเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มต่างๆแสดงพลังที่รัฐบาลของประธานาธิบดีวาฮิดไม่อาจทำอะไรได้ จึงเป็นการยากที่จะคาดเดาว่าสภาพการณ์ต่อไปของอินโดนีเซียจะเป็นเช่นไร ประเทศอาจแตกออก
เราจะพบว่าในสถานการณ์ปัจจุบันการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังอยู่ภายใต้พลวัตรอย่างสูง เกิดปรากฏการณ์ของการปรากฏตัวขึ้นของคนทุกกลุ่มในทางการเมือง ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน แน่นอนว่าอำนาจยังคงอยู่ในมือของกลุ่มทุน ( และยังอยู่กับกลุ่มเผด็จการทหารในกรณีของพม่า ) แต่ทว่าคนกลุ่มอื่นๆ รวมทั้งชาวบ้านก็เริ่มที่จะแสดงบทบาทของตนมากขึ้น
ดูเหมือนว่า การสถาปนาโครงสร้างทางการเมืองในแบบอื่นๆ ที่มิใช่จำกัดการครองอำนาจอยู่แต่เพียงโดยกลุ่มทุนและทหารข้าราชการเป็นจะสิ่งที่จำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อให้โครงสร้างแห่งอำนาจแบบใหม่นี้สถาปนาความยุติธรรม มีความเสมอภาค และสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร จะเป็นหนทางที่ไม่ทำให้การต่อสู้ทางการเมืองนำไปสู่ความรุนแรง ดังเช่นที่มีแนวโน้มให้เห็นถึงความรุนแรงอยู่ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
กลับไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com