การวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องของอำนาจ ควรจะละเว้นการตั้งคำถามที่ยุ่งยากดั่งเขาวงกต ซึ่งไม่สามารถที่จะตอบคำถามได้เสีย: เช่น ใครคือผู้ที่มีอำนาจ และเขาคิดอะไรอยู่ ? อะไรคือเป้าหมายของคนที่ครอบครองอำนาจ ?
ด้วยเหตุนี้ ขอให้เราอย่าถามว่า ทำไมผู้คนเหล่านั้นต้องการที่จะครอบงำ, พวกเขาแสวงหาอะไร, อะไรคือแผนการทั้งหมดของพวกเขา. ขอให้เรามาตั้งคำถามกันว่า สิ่งต่างๆมันทำงานอย่างไรในเรื่องเกี่ยวกับการปราบปรามหรือการทำให้เชื่อฟัง ขอให้เรามาดูถึงความต่อเนื่องเหล่านั้น และกระบวนการต่างๆที่ไม่มีการขัดจังหวะ ซึ่งได้มาควบคุมร่างกายของเรา, ปกครองหรือกำกับอากัปกริยาของเรา, รวมทั้งมาบงการพฤติกรรมของเรา เป็นต้น
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิกที่ปุ่ม member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ปุ่ม contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
(midnightuniv(at)yahoo.com)
ดังชื่อหัวข้อรองคือ, "ความพยายามกบฎต่อโครงสร้างอำนาจ"
บทความนี้ ใจความสำคัญอยู่ที่การตรวจสอบประเด็นเรื่องของ"อำนาจ" ว่ามันครอบงำเราอย่างไร
ณ จุดเริ่มต้นของเรื่อง "อำนาจ, ฟูโก, และ แฟรงค์เฟริทสคูล" ผู้เขียนจะพาเราไปสำรวจอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง"อำนาจ"ของ Foucault และ the Frankfurt School ว่า ต่างกันอย่างไร ? จากนั้นก็ค่อยๆพาเราลงไปในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องของ"อำนาจ" โดยสาธยายความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปตามลำดับ เริ่มจากการวิเคราะห์เรื่อง"อำนาจ"ในทัศนะของฟูโกก่อน แล้วต่อด้วยแนวคิด แฟรงค์เฟริทสคูล โดยเน้นที่แนวคิดของอาดอร์โน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้เขียนให้ความสำคัญต่อแนวคิดของอาดอร์โน ในเรื่อง หลักวิภาษวิธีเชิงนิเสธ(Negative Dialectics) ในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการตั้งคำถามและท้าทายต่อ"อำนาจ"และ"การครอบงำ". โดยเฉพาะการครอบงำนั้น มันมาพร้อมกันกับเหตุผล
สำหรับ "วิภาษวิธีเชิงนิเสธ"( Negative Dialectics) คือการกลับไปฟื้นคืน และการคิดใหม่อีกครั้งเกี่ยวกับไอเดียต่างๆที่ได้ตั้งมั่นหรือเป็นที่ยอมรับกันแล้วในยุคสว่าง(Enlightenment). โดยการตรวจตราถึงความไม่เสมอภาคทางสังคม และความไม่ดีพอที่ปรากฏขึ้นมาจากยุคนี้
Adorno อ้างว่า ปรัชญาหลังยุคสว่างขึ้นอยู่กับคุณลักษณ์ต่างๆเกี่ยวกับความคิดในเชิงเหตุผล โดยที่ไม่เคยตั้งคำถามกับตัวของเหตุผลเองเลย และ"อันนี้ได้น้อมนำไปสู่ความคับแคบของปรัชญา และเมื่อไม่มีการตั้งคำถาม"เหตุผล" เราจึงตกอยู่ในภาวะที่ยอมจำนนโดยไม่รู้ตัว. หลักวิภาษวิธีเชิงนิเสธจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาจุดอ่อนตรงนี้ และทำให้เราไปถึงจุดของความมีอิสรภาพอย่างแท้จริง
ที่ชัดเจนมาก ในบทความนี้ได้ให้ตัวอย่างเกี่ยวกับประสบการณ์จริงที่ Nancy Welch ซึ่งได้ประสบมา จากการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ภาควิชาภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. เธอรู้สึกไม่เห็นด้วยกับอำนาจที่ครอบงำบรรดานักศึกษาอยู่ และได้ท้าทายกับมัน แต่สุดท้ายเธอแพ้
ข้อสำคัญไม่ได้อยู่ตรงที่เธอแพ้ แต่เป็นวิธีการของเธอที่กล้าตั้งคำถาม ซึ่งมันจะเป็นชนวนสำคัญในการสั่งสมของความกล้าหาญ ความกล้าท้าทายต่อ"อำนาจ"อันไม่ชอบธรรม ซึ่งจะน้อมนำเราไปสู่"อิสรภาพ"อย่างแท้จริง
สมเกียรติ ตั้งนโม (แปลและเรียบเรียง)
(หมายเหตุ : การแปลบทความชิ้นนี้
ได้ตัดเอาบางส่วนที่ไม่จำเป็นออก เพื่อลดความซับซ้อนของแนวคิดทางปรัชญาของ Theodor
Adorno ลง หากสนใจต้นฉบับของบทความชิ้นนี้ โดยไม่มีการตัดทอนในภาษาอังกฤษ กรุณา
คลิกไปที่
http://english.ttu.edu/
courses/ 5362/paper1/
mike.paper1.html)
โดยไม่มีเว้นวรรค
บทความนี้ยาวประมาณ 11 หน้ากระดาษ A4
เริ่มเรื่อง
อำนาจ,ฟูโก,และแฟรงค์เฟริทสคูล
(ความพยายามกบฎต่อโครงสร้างอำนาจ)
ในขณะที่วาทกรรมหลังสมัยใหม่(postmodern)ได้มีการนำเสนอต่อบรรดานักวิชาการทั้งหลายด้วยความน่าตื่นเต้น
บ่อยทีเดียว ลักษณะแนวคิดที่เป็นการปฏิวัติเช่นนี้ได้ท้าทายต่อความรู้ทางภววิทยาและญานวิทยาอย่างมาก
ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนความคิดแบบสมัยใหม่(modern) และไม่มีประเด็นใดอีกแล้วของแนวคิดเหล่านี้
ที่ทำให้เกิดการโต้เถียงกันอย่างเข้มข้นมากเกินไปกว่าประเด็นเรื่องของ"อำนาจ"(power).
[หมายเหตุ : 1. ภววิทยา(ontology) สาขาหนึ่งของอภิปรัชญาที่ศึกษาว่าอะไรคือสิ่งที่เป็นจริง-ศึกษาธรรมชาติของสิ่งที่เป็นจริงในฐานะที่เป็นสากล-ไม่ใช่ระดับ
particular) 2. Epistemology(ญานวิทยา) ปรัชญาความรู้ ว่าด้วยเรื่องบ่อเกิดความรู้
ลักษณะหน้าที่ ระเบียบวิธี และความสมเหตุสมผลของความรู้ บางทีใช้คำว่า theory
of knowledge]
ในขณะที่ Locke, Descartes, และ Hegel ยอมรับหลักการเกี่ยวกับโลกทัศน์อันหนึ่ง ซึ่งให้สิทธิพิเศษแก่เรื่องของ"มูลเหตุขั้นต้น"(first causes), และ"ความจริง"(truth) ซึ่งดูเหมือนว่าดำเนินการไปอย่างที่ไม่มีการโต้แย้ง และบรรดานักปรัชญานั้นต่างมั่นใจถึงความมีเหตุผลของเงื่อนไขที่มีอยู่ก่อนแล้วเหล่านี้, บรรดานักคิดหลังสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักคิดหลังโครงสร้างนิยม(poststructuralist) ต่างพูดออกมาอย่างชัดเจนถึงสถานะตำแหน่งที่แตกต่างออกไปอย่างเด่นชัดอันหนึ่ง
ปัญหาต่างๆอย่างเช่น การถูกกำหนดมาก่อนแล้วอย่างมีวัตถุประสงค์, ระดับชั้นทางสังคมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ที่พัฒนาขึ้นมาจากการลดหลั่นลงมาอย่างได้สัดส่วน, ความเข้าใจต่างๆที่ถูกทำให้ง่ายและสะดวก, บรรดานักทฤษฎีฝรั่งเศส อย่างเช่น Michel Foucault และบรรดานักคิดรากฐานเยอรมัน Frankfurt School ได้หยิบยกคำถามที่ยุ่งยาก(และอันตราย)ต่างๆขึ้นมา ซึ่งความคิดในแบบยุคสว่างและเหตุผลนิยมได้ตัดโอกาสไม่ยอมให้มีการพูดถึง
แน่นอน! อะไรคือ"ความจริง" และใครที่ถูกลงโทษ, และใครคือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจให้พูด ? การเข้าไปสำรวจอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับ Foucault และ the Frankfurt School ในเรื่องของคำถามเกี่ยวกับคำว่า"อำนาจ" จะเปิดเผยไม่เพียงเรื่องของการบีบคั้น, ไอเดียต่างๆของชนชั้นสูงของยุคสว่าง(the Enlightenment) แต่ยังได้เผยถึงความแตกต่างที่สำคัญหลากหลาย และอย่างมีนัยสำคัญมาก ระหว่างความคิดแบบ Foucauldian และ Frankfurtian thought. ความแตกต่างกันเหล่านี้ ในบทความที่ท่านจะอ่านต่อไป ได้รับการวางขึ้นมาเพื่อให้มีการถกเถียง, และเพื่อแสดงให้เห็นว่า...
ขณะที่ Foucault ขยายกว้างในเรื่องความรู้ของคนๆหนึ่งอย่างค่อนข้างชัดที่ว่า "อำนาจ" ได้ถูกทำให้เป็น"แนวคิด"ขึ้นมาได้อย่างไร, the Frankfurt School ค่อนข้างจะมีลักษณะที่เป็นจริงในเชิงปฏิบัติ, โดยการพยายามอธิบายว่า อำนาจได้ถูกทำให้เป็น"สถาบัน"อย่างไร
ยิ่งไปกว่านั้น การสำรวจของ the Frankfurt School เกี่ยวกับความสัมพันธ์กันอย่างสมมาตรระหว่าง "อำนาจ" และ "การมีอิทธิพลครอบงำ" (- ซึ่งเป็นความเชื่อมต่อกันอันหนึ่งที่ Foucault บอกปัดและไม่ยอมพิจารณามันเลย -) ได้สร้างสื่อนำที่ดีอันหนึ่งขึ้นมาสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อสังคม
ในขณะที่บรรดานักคิดที่ยิ่งใหญ่เป็นจำนวนมากได้สนับสนุนต่อพัฒนาการทางความคิดหลังสมัยใหม่ แต่มีอยู่เพียงไม่กี่คนที่ได้รับการอ้างหรือยอมรับกันอยู่บ่อยๆ และได้รับการเคารพมากกว่าคนอื่นๆ. หนึ่งในนั้นก็คือ Michel Foucault ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการตามรอยของเขาไปในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องเพศ หรือการกำเนิดคุก, การวิเคราะห์และข้อถกเถียงในเชิงเหตุผลต่างๆของเขาในขอบเขตความรู้ต่างๆ ได้ทอดเงาของมันลงบนทิวทัศน์ของ postmodern
ทิวทัศน์อันนี้ Foucault ปรารถนาที่จะค้นหาต้นตอกำเนิด ในสิ่งที่เขารู้สึกว่าเป็นความล้มเหลว, มันคือหลักการต่างๆที่ผิดปกติเกี่ยวกับความคิดของยุคสว่าง. สำหรับ Foucault แล้ว ตัวเขาได้ให้ความเชื่อถือต่อ Immanuel Kant ในส่วนของงานเขียนต่างๆที่เป็นคำอธิบายทางปรัชญา, ความพยายามอย่างหาญกล้าของเขาที่จะไกล่เกลี่ยลัทธิเหตุผลนิยมกับประสบการณ์นิยม
Thomas McCarthy เป็นตัวอย่าง, ในบทความที่เขียนขึ้นมาอย่างประณีตชิ้นหนึ่ง "The Critique of Impure Reason,"(การวิพากษ์เหตุผลที่ไม่บริสุทธิ์) กล่าวว่า, Foucault เห็นว่า ความเรียงของ Kant ในปี 1784 เรื่อง "Was ist Aufklarung?" เป็นการนำเสนอบทนำที่เป็นมิติใหม่อันหนึ่งของความคิดทางปรัชญา กล่าวคือ มันเป็นบทวิเคราะห์ในเชิงวิพากษ์ชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับการนำเสนอประวัติศาสตร์ของเรา และการนำเสนอตัวของเราเอง.
อันที่จริงสำหรับ Foucault, เขาเชื่อว่า เมื่อ Kant ตั้งคำถามว่า"อะไรคือยุคสว่าง ?" เขาหมายความว่า... อะไรที่มันกำลังดำเนินไปในตอนนี้ ? มีอะไรเกิดขึ้นกับเรา ? อะไรคือยุคสมัยนี้, ช่วงเวลาที่เด่นชัดตอนนี้ ซึ่งเรากำลังดำรงชีวิตอยู่คืออะไร ? หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ"เราคือใคร ?
Foucault ถือว่า การสำรวจตรวจตราดังกล่าวเป็นการขยายคำถามที่จำเป็นอันหนึ่งเกี่ยวกับคำถามทั่วๆไปมากๆ ของบรรดา Cartesian (ผู้นิยมปรัชญาของ Decartes)ที่ว่า "ฉันคือใคร ?" คำถามอันหนึ่งซึ่ง Foucault รู้สึกว่ามันได้เข้ามาแทนที่บริบทต่างๆทางประวัติศาสตร์/วัฒนธรรมที่สนับสนุนความเป็นสากลของเหตุผลนิยม.
กระนั้น Foucaulth ยังรู้สึกอย่างเจ็บปวดด้วยดังที่ McCarthy บันทึกไว้ว่า "นับแต่ยุคสว่างเป็นต้นมา, แบบฉบับอันนี้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่สะท้อนออกมาถึงปัจจุบัน มันมีรูปแบบของประวัติศาสตร์ของเหตุผล, หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ มันกลายเป็นการดูดซับหรือรวมเข้าไปอยู่ภายใต้กระบวนทัศน์ที่อ่อนกำลังและทรุดโทรม (โครงสร้างอำนาจ) ซึ่งได้ขับไล่หรือเนรเทศคำถามต่างๆที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง ที่ Foucault ได้ตีความ Kant ว่า, kant เป็นผู้ตั้งคำถามว่า - "อะไรคือเหตุผลอันนี้ที่เราใช้อยู่ ? อะไรคือผลหรืออิทธิพลในเชิงประวัติศาสตร์ของมัน ? อะไรคือข้อจำกัดของมัน, และอะไรคืออันตรายของมัน ?"(What is this Reason that we use? What are its historical effects? What are its limits, and what are its dangers?"
เงียบเชียบ, ไม่มีคำตอบใดๆปรากฏออกมา. ด้วยเหตุนี้, Foucault ไม่ได้ผิดพลาดมากมายอะไรไปกว่า Kant ในสภาวะแวดล้อมทางวัฒนธรรมของเขา สำหรับการถูกสะกัดกั้นเกี่ยวกับการตั้งคำถามที่จำเป็นเหล่านี้. แรงกระตุ้นที่อยู่เบื้องหลังการยับยั้งอันนี้, Foucault ได้ให้เหตุผลว่า, คือ"ระบบอำนาจ"ซึ่ง"ได้รับผลประโยชน์"จากการสร้างสรรค์และความต่อเนื่องของมัน.
แต่อย่างไรก็ตาม ที่น่าสนใจก็คือ ความใส่ใจของ Foucault ไม่ใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับเอกลักษณ์และเรื่องของแรงกระตุ้นต่างๆ(identities and motivations)ของการตอบโต้เหล่านี้ สำหรับการก่อตัวขึ้นมาของโครงสร้างอำนาจ. ดังที่เขาได้ยืนยันในการบรรยายเมื่อวันที่ 14 มกราคม 1976, นั่นคือ เขารู้สึกทึ่งแกมประหลาดใจมากเกี่ยวกับการทำงานและกลไกต่างๆของอำนาจนั้น: ด้วยเหตุนี้เขาจึงค้นหาเพื่อจะค้นให้พบตัวอย่างต่างๆ มากกว่าพยายามที่จะค้นหาว่า "ที่ไหน"หรือ"อย่างไร" ที่สิทธิเกี่ยวกับการลงโทษได้รับการค้นพบในอำนาจรัฏฐาธิปปัตย์, มันถูกนำเสนออย่างไรในทฤษฎีเกี่ยวกับอำนาจของกษัตริย์ หรือในอำนาจหรือสิทธิตามระบอบประชาธิปไตย
อันนี้เราจะพยายามมาดูกันว่า วิธีการใดที่การลงโทษและอำนาจในการลงโทษได้รับการก่อตัวขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่างอย่างมีประสิทธิภาพ ในสถาบันต่างๆ ทั้งในระดับท้องถิ่น, ภูมิภาค และในด้านเนื้อหาสาระสำคัญ. เขาพูดเน้นมากถึงท่าทีของเขาโดยการแสดงข้อคิดเห็นว่า...
การวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องของอำนาจ ไม่ควรที่จะผูกตัวของมันเองอยู่ที่ระดับสำนึก, หรือความตั้งใจของการตัดสิน; นั่นคือ ไม่ควรที่จะพยายามพิจารณาอำนาจจากข้อคิดเห็นภายในของมัน และควรจะละเว้นจากการตั้งคำถามที่ยุ่งยากดั่งเขาวงกต ซึ่งไม่สามารถที่จะตอบคำถามได้เสีย: เช่น ใครคือผู้ที่มีอำนาจ และเขาคิดอะไรอยู่ ? อะไรคือเป้าหมายของคนที่ครอบครองอำนาจ ?.
ด้วยเหตุนี้ ขอให้เราอย่าถามว่า ทำไมผู้คนเหล่านั้นต้องการที่จะครอบงำ, พวกเขาแสวงหาอะไร, อะไรคือแผนการทั้งหมดของพวกเขา. ขอให้เรามาตั้งคำถามกันว่า สิ่งต่างๆมันทำงานอย่างไรในเรื่องเกี่ยวกับการปราบปรามหรือการทำให้เชื่อฟัง ขอให้เรามาดูถึงความต่อเนื่องเหล่านั้น และกระบวนการต่างๆที่ไม่มีการขัดจังหวะ ซึ่งได้มาควบคุมร่างกายของเรา, ปกครองหรือกำกับอากัปกริยาของเรา, รวมทั้งมาบงการพฤติกรรมของเรา ฯลฯ เป็นต้น
จากนั้น Foucault ได้เรียกร้องให้เราวิเคราะห์ถึงเรื่อง"อำนาจ" ในฐานะบางสิ่งซึ่งมีการไหลเวียน, หรือค่อนข้างจะเป็นบางสิ่งที่มีบทบาทหน้าที่ในรูปลักษณ์ของสายโซ่อันหนึ่ง. มันคือสายโซ่ที่สมบูรณ์, ไม่ใช่ในการเชื่อมโยงต่างๆที่เฉพาะเจาะจง และแรงกระตุ้นต่างๆที่ส่งต่อความเชื่อมโยงของพวกมัน, แต่เขาเชื่อว่า มันได้จัดหาหรือนำเสนอความเข้าใจอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับตัวตน
แน่นอน วิธีการเข้าถึง"เรื่องอำนาจ"อันนี้ได้วาง Foucault เอาไว้สวนกันกับตำแหน่งของแนวคิดมาร์กซิสท์ ทั้งนี้เพราะมันได้แสดงนัยะคือ ถ้าไม่เป็นสองขั้ว(dichotomy)ระหว่าง"อำนาจ"และ"การครอบงำ"(power and domination), อย่างน้อยที่สุดมันก็เป็นนามธรรมมาก, ซึ่งไม่มีหลักการพื้นฐานเศรษฐกิจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพวกมันเลย. แต่ Foucault ไม่ได้ชัดเจนพอเกี่ยวกับความแตกต่างกันอันนี้; ในข้อเท็จจริง, เขาได้รวบมันเข้ามาในวงล้อม โดยให้เหตุผลว่า บรรดามาร์กซิสท์ได้สนับสนุนหลักการที่ทั่วๆไปมากเกินไป เกี่ยวกับโครงร่างสัณฐานอันหนึ่งของการทำงานต่างๆของอำนาจ(และมีแรงกระตุ้นที่อยู่ข้างใต้ภายในอำนาจ).
"ผมเชื่อว่า", เขาเขียน, "อะไรก็ตาม ก็สามารถที่จะถูกสรุปหรือลงความเห็นได้ จากปรากฏการณ์ทั่วๆไปเกี่ยวกับการมีอิทธิพลครอบงำของชนชั้นกลาง". ในการสนทนาของเขาเกี่ยวกับเรื่องเพศของทารก, เป็นตัวอย่าง, เขาได้วิจารณ์สิ่งที่เป็นลักษณะแบบฉบับการอ่านหรือความเข้าใจในแบบมาร์กซิสท์เกี่ยวกับหัวข้อนี้ - นั่นคือ, นับตั้งแต่ "เรือนร่างของมนุษย์, โดยสาระแล้ว, กลายเป็นพลังอันหนึ่งของการผลิตจากศตวรรษที่ 17 -18, ทุกๆรูปแบบของค่าใช้จ่ายของมัน ซึ่งไม่ได้มีคุณภาพของตัวมันเองแก่การก่อตัวหรือเป็นรากฐานของอำนาจการผลิต ... มันจะถูกห้าม, กันออกไป, และระงับ". (เช่น ผู้หญิงเป็นแรงงานชั้นสอง ดังนั้น ผู้ชายจึงเป็นแรงงานที่สำคัญและเป็นที่ต้องการมากกว่า อุปสงค์เช่นนี้ ส่งผลไปถึงเรื่องเพศของทารก)
การนิรนัยหรือข้อสรุปเหล่านี้, เขาบันทึก, มันจะเป็นไปได้เสมอและได้รับการตั้งเป็นสมมุติฐานบ่อยๆ, แต่ในท้ายที่สุดแล้ว มันง่ายหรือคล่องเกินไป เพราะ ใครคนหนึ่งมักจะสามารถกระทำในทางตรงข้ามกันเลยได้เสมอ และแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนได้ โดยดึงไปสู่หลักการเกี่ยวกับการครอบงำของชนชั้นกลาง, รูปแบบต่างๆอันนั้นของการควบคุมเกี่ยวกับเรื่องเพศของทารก ไม่มีทางที่จะคาดเดาได้. เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆนั่นเอง. Foucault สรุปว่า, การจ้างงานของพวกเขา บ่อยครั้งส่งเสริมให้เกิดความยุ่งเหยิงมากกว่าการให้ความกระจ่างในแผนการต่างๆของอำนาจ.
อย่างไรก็ตาม, ประเด็นเกี่ยวกับ"เรื่องอำนาจ" ได้รับการนำมาพิจารณาในฐานะที่เป็นสิ่งที่เห็นหรือรับรู้ได้ เช่น หน้าที่ทางสังคมที่มีเล่ห์กระเท่ห์ของ"อำนาจ"ในงานของแนวคิด the Frankfurt School. ดังที่ McCarthy ได้ให้ข้อสังเกตุ, ขณะที่ Foucault "ตั้งเป้าเพื่อวิเคราะห์สถาบันต่างๆทางสังคมอย่างถี่ถ้วนเป็นลำดับศักดิ์ ซึ่งได้ถูกสังเกตุพิจารณาอย่างชัดเจนโดยลำดับชั้นสูงต่ำของอำนาจ, แนวความคิดของ Foucault เองเกี่ยวกับ"อำนาจ" เป็นเครือข่ายของความสัมพันธ์กันอันหนึ่ง ซึ่งพวกเราทั้งหมดมักจะไปพัวพันกับคำถามต่างๆที่ไม่ค่อยจะมีคุณค่าที่ว่า ใครคือผู้ที่ครอบครองอำนาจ และด้วยสิทธิอะไร, หรือเกี่ยวกับใครได้ประโยชน์หรือกำไรเกี่ยวกับการได้รับผลกระทบจากมัน, และอะไรทำนองนี้เสมอ.
ในผลงานของ the Frankfurt School, การวิจารณ์ของมาร์กซิสท์เกี่ยวกับอุดมการณ์ต่างๆ ได้รับการอ้าแขนรับอย่างกระตือรือร้น. เพื่อเข้าใจอย่างเต็มที่ถึงความแตกต่างกันอันนี้, ภูมิหลังสั้นๆพอสังเขปเกี่ยวกับปรัชญา Frankfurtian และกำเนิดของมันจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เราควรทราบในที่นี้
หนึ่งในงานเขียนที่เป็นแกนกลาง(แม้ว่าจะไม่มีอิทธิพลมากนัก)ของ the Frankfurt School ก็คือเรื่อง Negative Dialectics ของ Theodor Adorno (นักวิชาการได้จัดให้ Adorno อยู่ในกลุ่มของนักคิด Post-Marxism เช่นเดียวกับ Habermas ที่อยู่ในกลุ่ม แฟรงค์เฟริทสคูล ด้วยกัน) . เนื้อหางานเขียนชิ้นนี้เป็นการเรียกร้องที่เสียงดังฟังชัด ให้หวนกลับไปสู่รูปแบบการคาดการณ์ความจริงของปรัชญา(speculative form of philosophy), หรือความคิดก่อนยุคสว่าง(pre-enlighted thought).
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันเป็นขบวนการอันหนึ่งเพื่อค้นให้พบช่วงขณะสำคัญที่ความคิดแบบยุคสว่าง(enlightened thought)ล้มเหลว, มันไม่ใช่กระบวนการเกี่ยวกับการเริ่มต้นขึ้น หรือระบบหนึ่งของความคิดใหม่. อันที่จริง, "วิภาษวิธีเชิงนิเสธ"( Negative Dialectics) คือการกลับไปฟื้นคืน และการคิดใหม่อีกครั้งเกี่ยวกับไอเดียต่างๆที่ได้ตั้งมั่นหรือเป็นที่ยอมรับกันแล้วในยุคสว่าง(Enlightenment). โดยการตรวจตราถึงความไม่เสมอภาคทางสังคม และความไม่ดีพอที่ปรากฏขึ้นมาจากยุคนี้
Adorno เชื่อว่า, การเปิดเผยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เป็นระบบระหว่าง"อำนาจ"และ"การครอบงำ"(power and domination) บ[โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิธี"การครอบงำ" เชื่อมั่นและไว้วางใจในการทำให้มีเหตุผล] กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้. ในช่วงที่เป็นการเปิดเรื่อง Negative Dialectics - "The Possibility of Philosophy"(ความเป็นไปได้ของปรัชญา) - ยืนยันว่า ปรัชญาได้ผ่านกระบวนการอันหนึ่งเกี่ยวกับการสะท้อนถึงตัวเอง. กระบวนการอันนี้เริ่มต้นขึ้น, Adorno อธิบาย, โดยการสืบย้อนไปถึงวิธีการที่ปรัชญาได้ล้มเหลวมาก่อน โดยผ่าน Kant และ Hegel (ขณะที่ Foucault ระบุหรืออ้างถึง Kant ในสถานะที่พิเศษ ค่อนข้างอยู่ในสถานะที่ได้รับความเคารพในคำอธิบายทางปรัชญา), Adorno สรุปว่า Kant ไม่เคยหันไปพึ่งพาอาศัยต่อความเป็นจริง(reality) เพราะแนวความคิดต่างๆของเขาได้รับการวางอยู่บนพื้นฐาน "schooled" thought (ความคิดในแบบโรงเรียน), ด้วยเหตุนี้, มันจึงไม่ได้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ใช้สอยในฐานะที่เป็นแนวคิดต่างๆทางสังคมหรือเกี่ยวกับโลก
ในอีกด้านหนึ่ง, Adorno รู้สึกว่า Hegel ได้ให้การสนับสนุนหลักปรัชญาอันหนึ่งที่มีพื้นฐานอยู่บนความเป็นจริง(reality-base), แต่ทว่า ความจริงอันนี้ มีรากเหง้าอยู่ในเทอมต่างๆของความคิดที่มีมาก่อน, เป็นการถูกตัดสินโดยผ่านเหตุผล ซึ่งในท้ายที่สุดเป็นสิ่งที่มาจำกัดความคิดแบบ Hegelian. ในคำพูดของ Herbert Marcuse: "Hegel เพียงแต่กำลังดึงเอาข้อสรุปอันหนึ่งมาจากขนบประเพณีทางปรัชญาทั้งหมด เมื่อเขาจำแนกแยกแยะเหตุผลและอิสรภาพ".
ระบบของ Hegel เกี่ยวกับหลักการวิภาษวิธีล้มเหลว
เพราะ มันเพียงปฏิบัติการอยู่บน และภายในไอเดียต่างๆที่ได้รับการยืนยันหรือพิสูจน์แล้วในความคิดเชิงเหตุผล,
และอันนี้คือประเด็นสำคัญที่ปรัชญาได้สูญเสียคุณความดีที่เป็นต้นตอเกี่ยวกับการกระทำในลักษณะคาดการณ์ความจริง(speculative
action)ของมันไป.
[หมายเหตุ : speculation
หมายถึง การคาดการณ์ความจริง เป็นวิธีการแสวงหาความรู้โดยการคาดคะเนความจริงโดยไม่อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์]
Adorno อ้างว่า ปรัชญาหลังยุคสว่างขึ้นอยู่กับคุณลักษณ์ต่างๆเกี่ยวกับความคิดในเชิงเหตุผล โดยที่ไม่เคยตั้งคำถามกับตัวของเหตุผลเองเลย และ"อันนี้ได้น้อมนำไปสู่ความคับแคบของปรัชญา ... แต่ การสะท้อนตัวเองในเชิงวิพากษ์ของมันจะต้องไม่ชะงักงันก่อนไปถึงจุดสูงสุดหรือเพดานบนสุดของประวัติศาสตร์. ภารกิจของมันก็คือถามไถ่หรือสืบสวนว่า มันยังคงสามารถเป็นปรัชญาได้หรือไม่ และอย่างไร. ด้วยเหตุนี้, ปรัชญาจะต้องเริ่มต้นด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ความเชื่อมั่น หรือความไว้วางใจของตัวมันเองบนความคิดต่างๆที่ถูกทำให้เข้มแข็ง ซึ่งในท้ายที่สุด เป็นสิ่งที่ต้องรับผิดชอบสำหรับการประกาศเกี่ยวกับการมีอิทธิพลหรือการครอบงำที่สมบูรณ์
ความนึกคิดอันนี้ที่ว่า ปรัชญาได้ถูกน้อมนำไปผิดทางจากวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของมัน ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ของหลักวิภาษวิธีเชิงนิเสธ(Negative Dialectics). ในข้อเท็จจริง, จำนวนมากของรากฐานในเชิงทฤษฎีสำหรับโครงสร้างความคิดของ Adorno ได้รับการสถาปนาขึ้นก่อนหน้านั้น โดยผ่านความร่วมมือของเขากับ Max Horkheimer ในเรื่อง Dialectic of Enlightenment(ลักษณะวิภาษวิธีของยุคสว่าง), ซึ่งเป็นงานเขียนในลักษณะปฏิวัติที่ไปเกี่ยวข้องกับฟาสซิสม์อย่างเร่าร้อนและมีอารมณ์
ในช่วงบทนำได้กล่าวถึงงานของพวกเขาว่า มันได้น้อมนำพวกเขาไปสู่การค้นพบเหตุผลที่ว่าทำไมมนุษยชาติ, แทนที่จะเข้าไปสู่เงื่อนไขความเป็นมนุษย์ที่แท้, มนุษย์กลับจ่อมจมลงไปสู่ความป่าเถื่อนชนิดใหม่อันหนึ่ง. รัฐใหม่อันนี้ที่ดำรงอยู่ได้ มันได้ถูกครอบงำด้วยการสร้างตัวมันขึ้นมาอย่างสมบูรณ์ โดยมีรากฐานสำคัญอยู่ในความคิดเชิงเหตุผล(rational thought). ผลที่ตามมา, การปรากฎตัวขึ้นมานี้เกี่ยวกับ"เงื่อนไขมนุษย์ที่แท้"(truly human condition) - ซึ่งได้รับการทึกทักว่าสืบทอดมาจากยุคสว่างบนเรื่องของเหตุผล - อันที่จริงตามที่ปรากฏ ได้ก่อให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า การครอบงำของการทำให้เป็นเหตุเป็นผล(rationalization of dominance):...
"สำหรับปัจเจกบุคคล, การครอบงำปรากฏตัวขึ้นมาหรือแสดงตัวโดยเป็นลักษณะสากล
นั่นคือ "เหตุผลคือความเป็นจริง". มันกลายเป็นสิ่งที่ชัดเจนขึ้นมา, ที่ว่า Dialectic
of Enlightenment ได้เผยให้เห็นอาการหรือเครื่องบ่งชี้เกี่ยวกับไอเดียต่างๆในยุคสว่าง,
ในขณะที่ Negative Dialectics พยายามที่จะตอบโต้ต่อความเคลื่อนไหวอันนี้ และให้การแก้ไขบางอย่างที่เป็นจริงและปฏิบัติได้.
...........................
สังเวียนหนึ่งที่ระบบเกี่ยวกับวิภาษวิธีเชิงนิเสธ(Negative Dialectics) ได้นำประโยชน์มาให้ ซึ่งในที่นี้จะขอยกเรื่องของ Nancy Welch ขึ้นมากล่าว, คือ: ในการศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต(graduate school) มันเป็นภูมิประเทศของตำรับตำราอันกว้างใหญ่ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยประเด็นอันซับซ้อนเกี่ยวกับอำนาจและการครอบงำ. นักศึกษามหาบัณฑิตพบว่า ตัวของพวกเขาเองนั้น ทุกๆวันจ่อมจมอยู่ในระบบที่หายใจหายคอไม่ออกบ่อยๆ หมกมุ่นอยู่กับการตักตวงหาผลประโยชน์; เช่น การเป็นผู้ช่วยสอน, โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาควิชาภาษาอังกฤษ, ทำการสอนนักศึกษาใหม่เป็นพันๆคน ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนการวิจัยของบรรดาผู้ที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
ในบริบทนี้ นักศึกษามหาบัณฑิตได้พบว่า ตัวของพวกเขาเองนั้นตกอยู่ในข้อผูกมัดที่ยุ่งยากเป็นสองเท่า: นั่นคือ พวกเขาต้องการประสบการณ์เกี่ยวกับการสอนที่ขายได้อย่างมาก เช่นเดียวกับหนังสือแนะนำที่เปล่งแสงจากคณะกรรมการเกี่ยวกับปริญญานิพนธ์ของพวกเขา เพื่อเป็นความหวังเกี่ยวกับการจ้างงานที่มั่นคงหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาในอนาคต
ผลที่ตามมา, มหาบัณฑิตเป็นจำนวนมากได้ส่งตัวของพวกเขาเองไปสู่สถานะรองหรือตำแหน่งที่สอง, นั่นคือ ตำแหน่งที่อยู่ชายขอบของโครงสร้างอำนาจที่มาบงการพฤติกรรมของพวกเขา รวมทั้งท่าทีต่างๆของพวกเขาอย่างหนีไม่พ้น. การตั้งคำถามที่รุกล้ำ"ความเป็นทั้งหมด"(totality)หรือความเป็นหนึ่งเดียว และการท้าทายรากฐานของมัน รวมถึงแรงกระตุ้นต่างๆเหล่านั้น, คือระบบที่แท้ของการปฏิเสธ ซึ่ง Adorno ให้การสนับสนุน. แต่จริงๆแล้วแทบจะไม่ได้ถูกนำมาใช้โดยนักศึกษามหาบัณฑิตเหล่านี้เลย.
ด้วยอาชีพการงาน, ซึ่งไม่ต้องพูดถึงจำนวนเงินที่ต้องใช้จ่ายมากและเวลาที่ต้องเสียไป, ที่ขึ้นมาข่มขี่อยู่บนความสำเร็จหรือเรียนจบโปรแกรมการศึกษา, มหาบัณฑิตจำนวนมาก พบว่า มันง่ายกว่าที่จะยอมให้ปรับโทษสิทธิ(อิสรภาพ)ของพวกเขาลงมา เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการคาดการณ์หรือสงสัยต่อความเป็นจริง พวกเขายอมละทิ้งสิ่งเหล่านั้น และกลายเป็นทาสต่อเรื่องที่ลึกลับของอำนาจ ประหนึ่งว่า"อำนาจต่างๆ"ที่มีอยู่แต่เดิมก่อนพวกเขามันเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ และพวกเขาต้องยอมตามอย่างประจบสอพลอ.
อันที่จริง, การเข้าไปเรียนในระดับมหาบัณฑิตซึ่งโดยปกติเพื่อนๆนักศึกษามหาบัณฑิตทั้งหลาย, ต่างถูกปรับตัวให้คุ้นชินกับบรรยากาศเช่นนั้นอยู่แล้วสู่หนทางที่สิ่งต่างๆดำเนินไป และการกระทำต่างๆ ความคิดต่างๆ ซึ่งได้รับอนุญาต และไม่ได้รับอนุญาต ที่มีอยู่ก่อนแล้ว. อย่างไรก็ตาม นี่คืออันตรายที่ชัดเจนที่ผู้ยึดมั่นแนวคิด Frankfurt School - ซึ่งไม่เหมือนกับปรัชญา Foucauldian - สามารถที่จะมาช่วยแก้ปัญหานี้ได้, แม้ว่าจะไม่สามารถขจัดมันได้อย่างเกลี้ยงเกลาได้ทั้งหมด. โดยการได้รับการปลูกฝังความเชื่อ เข้าไปสู่การวางแผนอย่างแยบยลเกี่ยวกับอำนาจและในตำรับตำราของการศึกษาระดับมหาบัณฑิต ซึ่งเป็นการปรับโทษสิทธิและอิสรภาพกับคนเหล่านี้, นักศึกษามหาบัณฑิตจึงไร้ซึ่งอำนาจ พวกเขาถูกปลูกฝังให้ต้องคำนึงถึง"เอกลักษณ์ต่างๆของหมู่คณะ"(collective identities) และต้องยอมมอบอำนาจอธิปไตยของพวกเขาไปสังเวยกับเรื่องนี้
ขณะที่กลไกการศึกษามหาบัณฑิตกลับฝังตรึงมากขึ้น การทำงานของมันได้เข้าครองสถานะอันหนึ่ง ซึ่งวลีในความทรงจำของ Walter Benjamin, กล่าวว่า (มันเป็น)"การไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ทางประวัติศาสตร์" (historical inevitability)อันหนึ่ง'. คล้ายคลึงกันกับการวิเคราะห์ของ Adorno เกี่ยวกับการทำให้เป็นเหตุผลของยุคสว่างของอิทธิพลที่มาครอบงำ, คำประกาศของมันเกี่ยวกับ"ความจริง"ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยอำนาจ ซึ่งอิทธิพลครอบงำอันนั้นเป็นมิติหนึ่งที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ของแบบแผนทางสังคม
Benjamin ได้ให้เหตุผลว่า โดยผ่านการปฏิเสธเรื่องปรัชญา(Philosophical negation)เกี่ยวกับโครงสร้างต่างๆของอำนาจ - และการตระหนักถึงการสร้างตัวขึ้นมาทางสังคม - สามารถทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้. ถ้าเราปราศจากคำถามในลักษณะมุ่งกระทำ, ปราศจากหลักวิภาษวิธีในเชิงนิเสธ(negative dialectics)ที่นำเสนอโดย Adorno เจตจำนงของการกดขี่มันจะถูกยอมรับไปตลอด โดยข้ออ้างที่มาครอบงำในฐานะที่เป็นสิ่งจำเป็น, และจะทำให้อำนาจ(กดขี่)นั้นมันสามารถที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้
ขณะเดียวกันก็มีกระบวนการอันหนึ่งซึ่งท้าทายต่ออำนาจต่างๆของโปรแกรมการศึกษามหาบัณฑิต และพยายามจะขุดเซาะ"ความจริงต่างๆ"ของสิ่งเหล่านั้นที่ขับเคลื่อนอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม มันช่างเป็นแสงที่ริบหรี่ที่ปลายอุโมงค์และคล้ายกับว่าจะเป็นความพยายามอันสิ้นหวังมาแต่ต้น. (ด้วยเหตุนี้ นักศึกษาเป็นจำนวนมากจึงคิดว่า ตัวของพวกเขาเองไม่ควรมองอะไรไปไกลเกินกว่าหน้าหนังสือต่างๆที่ต้องอ่านในสาขาวิชาภาษาอังกฤษ เพราะมันจะน้อมนำบรรดานักศึกษาเหล่านั้นไปสู่คำมั่นสัญญาอันหนึ่ง นั่นคือความสำเร็จในวิชาชีพ)
ตัวอย่างหนึ่งซึ่ง Nancy Welch ได้เขียนเอาไว้ในบทความของเธอชื่อ "Resisting the Faith: Conversion, Resistance, and the Training of Teachers,"(การขัดขืนต่อศรัทธา : การเปลี่ยนแปลง, การต่อต้าน, และการฝึกฝนของการเป็นครู), ได้เปล่งเสียงการปฏิเสธของเธอออกมาอย่างชัดถ้อยชัดคำ เกี่ยวกับโปรแกรมการศึกษาระดับปริญญาเอกภาษาอังกฤษ บนการยืนหยัดของนักศึกษาส่วนใหญ่ที่อยู่บนความเป็นศิษย์ ผู้ซึ่งยินยอมต่อโครงสร้างต่างๆของอำนาจ, ไม่มีลักษณะวิพากษ์วิจารณ์ในฐานะนักคิดที่ตั้งคำถามกับมัน
การอธิบายประสบการณ์อันยุ่งยากของเธอที่ไม่ระบุชื่อ "University B," Welch ได้อธิบายว่า ช่วงแรกๆในการปรับตัวของเธอในฐานะผู้ช่วยสอนใหม่คนหนึ่ง เธอและเพื่อนนักศึกษาได้รับการกระตุ้นให้ยอมรับต่อ"ทฤษฎีที่มาบรรจบกัน" (convergent theory) เกี่ยวกับการสั่งสอนของครู Wendy Bishop. "แบบจำลองการมาบรรจบกัน"(convergent model).
Welch กล่าวว่า, "เธอได้ขอร้องให้บรรดาครูบาอาจารย์ทั้งหลายให้มามีส่วนร่วมอยู่ในลำดับการอันหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงเอกลักษณ์(identity-changing), โดยได้ตั้งสมมุติฐานต่างๆในเชิงอุดมคติเกี่ยวกับภาษาและการเรียนรู้, เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกและสถาบัน, เกี่ยวกับการสร้างความรู้และการสร้างตัวตน. การบรรยายของ Welch ได้ตามรอยการต่อสู้ของเธอเองไป "เพื่อเข้าร่วม และถัดมาต่อต้านการทำให้เป็นสังคม ไปสู่วัฒนธรรมอันนี้โดยเฉพาะ" และ, ในกระบวนการดังกล่าว, ได้นำเสนอภาพที่ไม่ค่อยได้เห็นกันภาพหนึ่งของเอกภาพทางสังคม(social unity) ที่อยู่ข้างใต้ระบบของ Adorno เกี่ยวกับหลักวิภาษวิธีเชิงนิเสธ.
ความเบี่ยงเบนอันดับแรกของ Welch เกี่ยวกับกระบวนการล้างสมอง เธอยืนยันคือเป้าหมายของ University B เกิดขึ้นมาเมื่อตอนวันแรกของการเปิดให้มีการปรับตัวของเธอ, เมื่อชั้นเรียนระดับมหาบัณฑิตของเธอถูกขอร้องให้พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับ"ความสัมพันธ์ที่มีต่อทฤษฎี"ของมัน. "เมื่อความหันเหของฉันเกิดขึ้น" เธอรำลึก "ฉันได้พูดถึงบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับ [Peter] Elbow และ [Anne] Berthoff และ บางทีจะพูดถึง Bakhtin, ความรู้สึกปลอดภัยที่ฉันได้รับการรู้จักและได้รับการยอมรับ".
แต่อย่างไรก็ตาม หนึ่งในผู้ทำการสอนนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตได้ย้อนตอบอย่างเหน็บแนมว่า "โอ้, ด้วยเหตุนี้เธอจึงคล้ายดั่งกับ Peter Elbow." ภายหลังต่อมาในการปรับตัว, หลังจากกล่าวถึง การเข้าถึง"ภาพยนตร์ของจิตใจ"ของ Elbow ที่สามารถจะเป็นเครื่องมือหรือสื่ออันมีประสิทธิภาพอันหนึ่งสำหรับการช่วยให้นักศึกษาโต้ตอบกับงานเขียน, ผู้สอนอีกคนหนึ่งตอบว่า "ฉันได้ถูกรบกวนโดยลัทธิต่อต้านปัญญาชนของ Elbow, และเธอได้นำตัวเธอเองไปสู่อันตราย โดยการไปให้ความไว้วางใจในตัวเขา"
ตัวอย่างนิดๆหน่อยๆเหมือนกันนี้, เธอบันทึกเอาไว้ - พร้อมด้วยการถูกปิดป้ายฉลากว่า "ไร้เดียงสา"(naive), "ต่อต้าน", และ"ขาดความอดกลั้น" - ได้ตีราคาความสงสัยของเธอ. โปรแกรมการศึกษาในระดับปริญญาเอกที่มีการคัดลอกหรือสำเนาให้เหมือนๆกัน, มันไม่ใช่โปรแกรมการศึกษาของบรรดานักคิดอิสระทั้งหลาย. ในข้อเท็จจริง, เธอกล่าวว่า การตอบโต้ของผู้สอนคนหนึ่งที่พุ่งมายังที่ตัวเธอในฐานะนักศึกษามหาบัณฑิตใหม่คนหนึ่ง กล่าวว่า "ถ้าหากว่าเธอไม่ต้องการ [เปล่งเสียงในวาระการผนึกรวมตัวเป็นองค์กรเดียวกันออกมาอย่างชัดถ้อยชัดคำ และสมมุติฐานในเชิงอุดมคติในองค์ประกอบของการเป็นนักศึกษาใหม่], หากเป็นเช่นนั้น เธออาจจะไม่ใช่เป็นคนของที่นี่" อันนี้เป็นการขีดเส้นใต้หรือยืนยันสิ่งที่เธอพูดและถูกคนอื่นคิด: กล่าวคือ, "พวกเราบางคนอยู่"ข้างใน" และมีทฤษฎีอันนั้น แต่บางคนในหมู่พวกเราอยู่"ข้างนอก"และไม่ได้มีเค้าโครงและกลุ่มคำศัพท์ที่พวกเราควรมี
การปรับตัวนั้น เปิดเผยให้ Welch ทราบถึงธรรมชาติของแรงกดดันและอุดมการณ์ถอดถอนเอกลักษณ์(identity-depriving ideologies)ต่างๆ ที่ห่อหุ้มวิธีการของ University B เอาไว้ สำหรับการศึกษาระดับมหาบัณฑิต. และขณะที่เธอเข้ารับการปรับตัวนั้น เธอได้ใช้เวลาในภาคการศึกษาแรกให้หมดไป ด้วยการขจัดสิ่งลวงตา ในความพยายามที่จะร่วมใน"การถูกเปลี่ยน", ซึ่งท้ายที่สุด เธอไม่สามารถที่จะเข้ากับมันได้.
สำหรับโปรแกรมการศึกษาของ University B, ผู้ช่วยสอนได้รับการคาดหวังในการเปลี่ยนแปลงแนวทางองค์ประกอบความเป็นนักศึกษาใหม่ของพวกเขา โดยเข้าไปสู่ห้องปฏิบัติการปลดเปลื้องความเป็นอิสระ และให้การ"สนับสนุนความรุนแรง", การต่อสู้, และสูญเสียการถือครองการกระทำใดๆที่มีอยู่แต่เดิมเกี่ยวกับการเขียนและการประพันธ์ไป. เธอได้ให้ข้อสังเกต, "อันนี้คือปฏิบัติการอันหนึ่งที่เธอไม่อาจและไม่มีวันที่จะเห็นด้วยกับมันได้
ผลลัพธ์ที่ตามมา, โดยดำเนินรอยตามการสังเกตการณ์อันหนึ่ง มันได้เตือนเธอว่า เธอกำลังตกอยู่ในอันตรายของการสูญเสียความเป็นผู้ช่วยสอนของเธอไป; กระนั้นก็ตาม การเตือนนั้น, สำหรับ Welch, เป็นการคุกคามอันหนึ่งที่ปราศจากความหมาย: "ฉันได้ส่งยิ้มให้มันน้อยๆ ... ฉันรู้ว่า ฉันจะไม่ได้กลับมาอีกในปีต่อไป. หนึ่งสัปดาห์หลังจากนั้น, ฉันได้ลาออกจากความเป็นผู้ช่วยสอน และถอนตัวออกมาจากโปรแกรมการศึกษาดังกล่าว, แม้ว่า ฉันจะรั้งรออยู่นานกว่าสองเดือนเพื่อสอนชั้นเรียนในระดับปริญญาตรีก็ตาม
ถึงแม้ว่า Welch ไม่ได้ทำให้ประสบการณ์ของเธอเป็นแนวคิดขึ้นมาในเทอมของ Frankfurtian, แต่ปฏิกริยาพื้นฐานของเธอที่มีต่อความซึมซาบได้แสดงให้เห็นร่องรอยของหลักการวิภาษวิธีเชิงนิเสธ. อันที่จริง, การประณามและการปฏิเสธของเธอเกี่ยวกับ"ความเป็นทั้งหมด"(totality)[ความเป็นหนึ่งเดียว]ของ University B, เกี่ยวกับ"แนวคิดต่าง"ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นมา และได้ตั้งเป็นสมมุติฐาน, ได้เป็นตัวแทนการเรียกร้องหรือปลุกเร้าที่ชัดเจนอันหนึ่ง - แม้ว่าจะเป็นไปโดยไม่รู้ตัวก็ตาม - เกี่ยวกับหลักการวิภาษวิธีเชิงนิเสธ
ความขัดแย้งกับหน้าที่หรืองานสอน และนโยบายของสถาบันที่ University B มันเป็นปฏิบัติการที่อันตรายอันหนึ่ง ซึ่งเธอถูกประทับตราว่า"ไม่อดทนนานมากพอ" - ไม่มีใครสักคนที่สามารถช่วยเธอได้ เธอได้รับการบันทึกในลักษณะเหน็บแนม เย้ยหยันเอาไว้เบื้องหลัง. Welch เป็นนักศึกษาที่ถูกประทับตราว่า "ไม่มีความอดทน" - ด้วยเหตุที่ ความผูกพันอย่างเข้มแข็งที่มีต่อความเชื่อของเธอ ซึ่งได้เผยให้เห็นถึง การไม่ค่อยที่จะอ้าแขนรับเกี่ยวกับ"ความไม่จริงของเอกลักษณ์"(untruth of identity)ของ Adorno.
Welch ได้ถ่ายทอดว่า ในขณะที่เพื่อนผู้ช่วยสอนของเธอจำนวนมากได้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์อันน่าอกสั่นขวัญหนีนี้ของเธอ, ในเวลาเดียวกัน เพื่อนเธอจำนวนมากก็ค่อยๆซึมซับรับเอาความคิดและการชี้แนะดังกล่าวไว้ และได้เปลี่ยนแปลงงานสอนของพวกเขาไปอย่างถึงราก. แน่นอน, ความเป็นไปได้นั้น บรรดาผู้ช่วยสอนเหล่านี้ต่อมาภายหลังได้ยอมรับประกาศิตของ University B หลังจากที่ได้ระมัดระวังแล้ว และมีความสุขุมรอบคอบที่พยายามจะเป็นอิสระไม่ขึ้นกับใคร แต่ก็ไม่สามารถทำได้. และอันที่จริงตัวของ Welch เองก็ยอมรับว่า เรื่องราวของเธอเป็นเพียงคำอธิบายที่มีอคติเรื่องหนึ่ง. แต่อย่างไรก็ตาม , มันดูเหมือนจะเป็นไปได้เท่าๆกันที่ว่า อย่างน้อยที่สุด บรรดาผู้ช่วยสอนหลายคนกลัวเกรงต่อชะตากรรมที่รอคอย Welch อยู่ พวกเขาจึงยอมจำนนต่อแรงกดดัน, เกมดังกล่าว, และ"ถูกเปลี่ยนแปลง"ไปในที่สุด
ดังที่ Adorno ได้ให้เหตุผล, สถานการณ์ต่างๆของกลุ่มความคิดนั้น - ได้ร่วมอยู่ในสังคมมากมายอย่างน่าเศร้า, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมเหล่านั้นที่มีพื้นฐานอยู่ในลัทธิทุนนิยม - ซึ่งได้แสดงให้เห็นการสูญเสียที่น่ากลัวมากอันหนึ่งเกี่ยวกับอิสรภาพของปัจเจกชนไป.
บรรดาผู้ช่วยสอนที่ยอมรับในแบบอย่างของโปรแกรมการศึกษาดังกล่าว, พวกเขาอาจได้รับประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น อาจได้รับทุนต่อเนื่อง และในท้ายที่สุดก็สำเร็จปริญญา, แต่การได้มาซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านั้น, สำหรับ Welch และ Frankfurt School, มันนำมาซึ่งการสูญเสียต่างๆมากมาย เพราะ ไอเดียและความเชื่อทั้งหลายของปัจเจกได้ถูกครอบทับลงเป็นชั้นๆ เพื่อธำรงความสอดคล้องกันอย่างพิลึกพิลั่น หรืออาจเรียกมันว่า"ระบบการสังวาสกันในเครือญาติ"(incestuous system). ปัจเจกชนแต่ละคนกลายเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในเอกลักษณ์ร่วมของหมู่คณะ(collective identity) ซึ่งโดยสาระแล้ว ต้องสูญเสียสิทธิในการใช้ความคิดในลักษณะคาดการณ์(หรือสาระสำคัญของปรัชญา)ไป.
อันนี้สำหรับ Adorno, มันคือชั่วขณะซึ่งความคิดได้หยุดชะงักลง. เขาเขียนว่า "อำนาจของสถานภาพที่เป็นอยู่ได้สร้างหน้าตาหรือรูปโฉมดังกล่าวขึ้น ซึ่งความสำนึกกลับล้มเหลว. จะต้องค้นหาช่องทางเพื่อที่จะพังทลายมันลงมา. อันนี้เพียงลำพังจะปลดปล่อยพื้นฐานหลักการเกี่ยวกับความลึกของเราให้เป็นอิสระ. "การอยู่รอด"นั้นคือ"ช่วงขณะของการคาดการณ์"(speculative moment) ... ที่ซึ่งความคิดได้อยู่เหนือขึ้นไปจากข้อผูกมัดต่างๆที่มันไปผูกติด - นั่นคืออิสรภาพของมัน. อิสรภาพที่ดำเนินไปตามแรงกระตุ้นของตัวตนที่แสดงตัวของมันเองออกมา".
ประสบการณ์ของ Welch เป็นตัวแทนจุดที่ปะทะกันหรือความขัดแย้งกันระหว่าง "แบบฉบับของการแสดงออกของปัจเจก" กับ "การปลูกฝังความเชื่อของการศึกษามหาบัณฑิต". โดยการตั้งคำถามดังกล่าว, นักศึกษามหาบัณฑิตได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับอำนาจของสถาบันในฐานะที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ซึ่งพ้นสมัยเกี่ยวกับการแบ่งแยกของระบบความด้อยกว่าระบบหนึ่ง(an inferior system), โปรแกรมการศึกษามหาบัณฑิตเป็นการเปลี่ยนแปลงยักย้ายการรวมกันเป็นหมู่คณะ ไปสู่เครือข่ายอันหนึ่งของผู้ช่วยบาทหลวงในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ก็คือ ผลิตผลของโปรแกรมการศึกษามหาบัณฑิตต่างสนับสนุนสถานะต่างๆเกี่ยวกับเอกลักษณ์. เมื่อภาควิชาภาษาอังกฤษแห่งหนึ่งว่าจ้าง"คนระดับขุนนางชั้นดยุค"มาสอน, พวกเขารู้ว่า อะไรที่พวกเขาคาดหวังเกี่ยวกับการว่าจ้างนั้น แน่นอน มันย่อมส่งผลต่อการขานรับของผู้อ่านงานประพันธ์มาตรฐาน. มันเป็นความคาดหวังอันนี้(พร้อมด้วยเสน่ห์ดึงดูดใจ และเกียรติยศของท่าน"ดยุค") ที่รับประกันมหาบัณฑิตพวกนั้นเกี่ยวกับการจ้างงานในอนาคต
หลังจากนั้น สิ่งที่นายจ้างแต่ละคนทำ, ทั้งหมดต้องการที่จะรู้ชัดๆว่าสิ่งที่เงินกำลังซื้อหามานั้นคืออะไร. แต่เท่าที่ Welch และ Adorno สนใจเกี่ยวข้อง โดยการขยายคำอธิบายออกไปคือ, "การซื้อ"นี้ เป็นเพียงขั้นตอนหลังสุดในกระบวนการการทำให้เป็นสินค้า. บรรดานักศึกษามหาบัณฑิตจำนวนมาก"ขาย"ตัวของพวกเขาเองก่อนหน้านั้นไปแล้ว: นั่นคือ พวกเขาได้ขายตัวต่อข้อจำกัดของสถาบันและอุดมคติของโปรแกรมการศึกษาปริญญาเอกของพวกเขา. Welch จะไม่วางตลาดตัวของเธอเองในหนทางนั้นที่ University B ต้องการ, และเลือกที่จะสร้างปัญหาให้กับตัวเองขึ้นมาอันหนึ่ง, เธอดำเนินหนทางไปตามความเสี่ยง โดยการค้นหาโปรแกรมการศึกษาอีกโปรแกรมหนึ่ง
คำถามก็คือ การเริ่มต้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในแบบฉบับ Adorno มีขบวนการเคลื่อนไหวอย่างไร ? University B (และ totality (ความเป็นทั้งหมด)กำลังถูกรุกล้ำในเชิงสัญลักษณ์) เปลี่ยนแปลงปฏิบัติการต่างๆของมันไปใช่ไหม ? บางทีใช่, แต่บางทีไม่ใช่. แต่ทว่าสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นที่แน่นอน: การเปิดโปงเกี่ยวกับ University B ในหน้าหนังสือต่างๆของนิตยสารที่อ่านส่วนใหญ่ในสาขาภาษาอังกฤษ คือก้าวย่างหนึ่งในลักษณะวิภาษวิธีที่พุ่งเป้าตรงไปยังกระบวนการดังกล่าว และตีโต้การครอบงำที่แพร่หลายอยู่ทั่วไป ซึ่ง Welch ดูหมิ่นเหยียดหยาม และ Adorno เรียกร้องเราให้อยู่เหนือมันขึ้นไป.
ในท้ายที่สุด, การสนทนานี้เกี่ยวกับ Foucault, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง the Frankfurt School จะถูกนำมาประยุกต์ใช้กับโปรแกรมการศึกษามหาบัณฑิตอย่างไร อันนี้ได้เชื้อเชิญเราให้มาพิจารณาทบทวนความเข้าใจขนบประเพณีของเราเกี่ยวกับ"แม่บท"(text - ในที่นี้หมายถึงจารีตโครงสร้างอำนาจของสถาบันมหาบัณฑิตที่กล่าวมานี้). ดังที่ Foucault และ Adorno ได้แสดงนัยะ และบทความชิ้นนี้พยายามที่จะเสนอแนะว่า "แม่บทต่างๆ"(texts) สามารถได้รับการมอง ไม่ใช่เพียงสิ่งซึ่งแยกขาดออกไป, แต่เป็น"หนังสือ"ที่สัมผัสได้ หรือ"บทความต่างๆ"ที่จับต้องได้.
อันที่จริง ความเคลื่อนไหวทางปรัชญาทั้งหมด และ โครงสร้างอำนาจอันทรงพลังมันมี"ลักษณะที่เป็นตำราแม่บท"(textual) ในความหมายที่มันเป็นตัวแทนไอเดียต่างๆ หรือปฏิบัติการซึ่งปรากฏว่ากำหนดแน่นอน ตายตัว ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้, แม้ว่าจะคล้ายๆนวนิยายหรือหนังสือพิมพ์, ผลิตผลต่างๆของเจตจำนงที่มีลำดับชั้นสูงต่ำในเชิงอุดมคติบนสถานะอันหนึ่งที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเลยโดยตลอด.
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อรากฐานต่างๆอันนี้ของระบบโครงสร้างอำนาจได้ถูกตั้งคำถามอย่างมุ่งมั่น หลักการวิภาษวิธีเชิงนิเสธของ Adorno (เช่นเดียวกับวิธีการของ Welch คือเทคนิคที่มีความคล้ายคลึงสองอย่าง) สามารถทำให้ความไม่เสมอภาคของโครงสร้างอำนาจเปลี่ยนแปลงไปได้
หนังสืออ้างอิง : Works Cited
Adorno, Theodor. Negative
Dialectics. New York: Continuum, 1966.
Adorno, Theodor and Max Horkheimer. Dialectic of Enlightenment. Trans. Cumming.
New York: Continuum, 1944.
Benjamin, Walter. "Theses on the Philosophy of History." Illuminations. Hannah
Arendt. New York: Schocker, 1955.
Marcuse, Herbert. "Philosophy and Critical Theory." Critical Theory and Society.
Ed. Stephen Eric Bronner and Douglas MacKay Kellnor. New York: Routledge,
1989.
McCarthy, Thomas. "The Critique of Impure Reason: Foucault and the Frankfurt
School." Critique and Power. Ed. Michael Kelly.
Welch, Nancy. "Resisting the Faith: Conversion, Resistance, and the Training
of Teachers." College English 55 (1993): 387-401.
แปลและเรียบเรียงจาก Mike
McDermott ENG 5362: Textual Analysis Dr. Fred Kemp 9 March 1995 Power, Foucault,
and The Frankfurt School
http://english.ttu.edu/courses/5362/paper1/mike.paper1.html
(งานแปลและเรียบเรียงชิ้นนี้
เป็นส่วนหนึ่งของวัตถุดิบงานวิจัยเรื่อง
"ข้อเสนอการประยุกต์แนวคิดทางปรัชญาของกลุ่มแฟรงค์เฟริทสคูล มาใช้เป็นฐานคิดการสร้างสรรค์งานศิลปะหลังสมัยใหม่ในประเทศไทย"
สมเกียรติ ตั้งนโม)
กลับไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com