H

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่อการศึกษาสำหรับสังคมไทย :

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 3190 หัวเรื่อง
กระบวนการสร้างสื่อ

สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

(บทความนี้ยาวประมาณ 16 หน้า)
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้

บทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สามารถคัดลอกไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ หากนำไปใช้ประโยชน์ กรุณาแจ้งให้ทราบที่
midnightuniv(at)yahoo.com

281046
release date
R
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
Wisdom is the ability to use your experience and knowledge to make sensible decision and judgements
ภาพประกอบดัดแปลง ผลงานของ Paul Cezanne จิตรกรชาวฝรั่งเศส เพื่อใช้ประกอบบทความฟรีของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เรื่อง: "กระบวนการสร้างสื่อ"
ภาพยนตร์ร่วมสมัยต่างๆ บ่อยครั้ง ได้หันไปใช้ฟิล์มภาพขาวดำ หรือใช้กล้องมือถือในการถ่ายทำ ซึ่งนั่นมีจุดประสงค์ที่จะถ่ายทอดความรู้สึกอันหนึ่งเกี่ยวกับความแท้จริง เทคนิคการทำภาพยนตร์ที่เป็นการบันทึกหรือเก็บหลักฐานเหล่านี้(documentary film-making), สัมพันธ์กับการเป็นตัวแทนการนำเสนอข้อเท็จจริง(factual representation)มากกว่าที่จะให้เป็นเรื่องที่แต่งขึ้น(fiction) ซึ่งอาจเรียกว่า mockumentary (mock - หลอกลวง ล้อเลียน)

กระบวนการสร้างสื่อ : Process of Media Construction
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
กระบวนการสร้างสื่อ : Process of Media Construction

แปลและเรียบเรียงจาก Chapter 5 mediation and representation
จากหนังสือ Media and Society
Michael O' Shaughnessy, Jane Stadler,
Oxford University press, 2002
(บทความนี้ยาวประมาณ 16 หน้ากระดาษ A4)


mediation & representation - การเป็นสื่อกลางและการเป็นตัวแทนนำเสนอ
การเป็นตัวแทนนำเสนอ(Representation)
อย่างที่ทราบกันเกี่ยวกับคำอ้างในเชิงที่ว่า "ภาษา"ได้สร้างโลกใบนี้และความจริงขึ้นมาโดยการตั้งชื่อ และด้วยเหตุนี้ มันจึงได้ประเมินคุณค่า, จัดแยกประเภท, ให้นิยาม, และทำหน้าที่ตัวแทนนำเสนอออกมา

สื่อต่างๆเป็นองค์ประกอบของระบบภาษาอันหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเราพูดถึงภาษา มันจึงประยุกต์ใช้กับสื่อได้ด้วย. ภาษาและสื่อคือระบบของการเป็นตัวแทนนำเสนอ. "การเป็นตัวแทนนำเสนอ"จึงเป็นแนวความคิดหลักอันหนึ่งในการศึกษาเกี่ยวกับสื่อ ซึ่งมีอยู่ 3 ความหมายคือ

1. ดูเหมือน หรือคล้ายคลึง
2. เป็นตัวแทนสำหรับบางสิ่งบางอย่าง หรือบางคน
3. นำเสนอเป็นครั้งที่สอง - เสนอซ้ำ(re-present)

การเป็นตัวแทนของภาษาและสื่อ กระทำทั้ง 3 ความหมายนี้

เรารู้จักและเข้าใจโลกโดยผ่านภาษา และโดยผ่านตัวแทน. อันนี้มิได้เป็นการปฏิเสธว่า มีโลกของความเป็นจริงดำรงอยู่ - แน่นอน มีโลกของความจริง - แต่ในที่นี้ต้องการจะกล่าวว่า การเรียนรู้ทั้งหมดของเราเกี่ยวกับโลกได้ถูกสื่อโดยภาษา. มันเป็นความสัมพันธที่สลับซับซ้อนอันหนึ่ง ระหว่าง"การเป็นตัวแทนนำเสนอ"กับ"ความเป็นจริง"

ดังที่ Richard Dyer เสนอ:
มันคือดินแดนที่ยุ่งยาก ข้าพเจ้ายอมรับว่า คนเราเข้าใจความจริง เพียงผ่านตัวแทนต่างๆของความเป็นจริง: ผ่านตำราหรือหนังสือ, วาทกรรม, ภาพต่างๆ; ไม่มีสิ่งนั้นที่เข้าหาความจริงโดยไม่ผ่านสื่อ. แต่เพราะว่าเราสามารถมองเห็นความจริงเพียงผ่านตัวแทนเท่านั้น มันไม่ได้หมายความตามมาว่า เราไม่อาจเห็นความจริงได้… ความจริงมักจะกว้างขวางเสมอและสลับซับซ้อนเกินกว่าระบบตัวแทนใดๆที่จะสามารถเข้าใจมันได้ และด้วยเหตุนี้ เรามักจะรู้สึกว่า"การเป็นตัวแทน"จึงไม่เคยบรรลุถึง"ความจริง" ซึ่งอันนี้คือเหตุผลที่ว่า ทำไมประวัติศาสตร์ของมนุษย์จึงสร้างขึ้นมาในหนทางที่แตกต่างกันมาก และมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการต่างๆเกี่ยวกับความพยายามที่จะบรรลุถึงมัน (Dyer 1993, p.3)

สิ่งที่ Dyer นำเสนอในที่นี้คือ เมื่อเรารู้สึกว่า "ภาษา"และ"ตัวแทน"มันไม่ได้กระทำการอย่างเที่ยงธรรม ตรงไปตรงมาต่อผัสสะของเราเกี่ยวกับความจริง เราจึงต้องค้นหาหนทางใหม่ๆเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนหรือการนำเสนอมัน และอันที่จริง อันนี้คือประวัติศาสตร์เกี่ยวกับวัฒนธรรมของมนุษย์ ซึ่งพัฒนาแบบหรือวิธีการใหม่ๆขึ้นมาอยู่อย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับการเป็นตัวแทน และได้ค้นพบหนทางใหม่ๆเกี่ยวกับการมองความเป็นจริง

ในที่นี้คือตัวอย่างอีกอันหนึ่งซึ่งบอกกับเราว่า เราไม่ได้ถูกทำให้ติดกับหรือติดตายทั้งหมด เหมือนกับซี่ล้อหรือฟันเฟืองต่างๆในระบบของการเป็นตัวแทน เราสามารถที่จะต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้นิยามภาษาขึ้นมาใหม่ เพื่อประดิษฐ์คิดสร้างภาษาใหม่ต่างๆ. แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่เป็นแกนกลางของเรื่องนี้ก็ยังคงอยู่ ที่ว่า เรายังคงล่วงรู้ความจริงโดยผ่านตัวแทนหรือการนำเสนอต่างๆอยู่นั่นเอง: มันไม่มีสิ่งนั้น ที่เข้าถึงความจริงได้โดยไม่ผ่านสื่อ (there is no such thing as unmediated access to reality" (Dyer 1993)

เราสามารถที่จะ"ปราศจากอคติ"ได้ไหม เกี่ยวกับการนำเสนอภาพตัวแทนของโลกในลักษณะที่เป็นภววิสัย? คำตอบก็คือ"ไม่ได้". เพราะว่าการนำเสนอหรือการเป็นตัวแทนนั้นมาจากมนุษย์ มันมาจากฐานะตำแหน่งที่เฉพาะบางอย่าง ดังนั้น มันจึงมีลักษณะสัมพันธ์; มันจะนำพาเอาอคติบางอย่างของคนๆนั้นหรือกลุ่มคนกลุ่มนั้นมาด้วย เช่นเดียวกับบทความชิ้นนี้ที่ได้นำพาเอาอคติและฐานะตำแหน่งบางอย่างมาเช่นเดียวกัน

ถ้าเช่นนั้น ตัวแทนและการนำเสนอ"ความจริง"สามารถเป็นไปได้หรือไม่ และอย่างไร? ในท้ายที่สุด อันนี้คือบางสิ่งบางอย่างที่เราต้องตัดสินเพื่อตัวเราเอง

เราอาจตัดสินใจว่าการนำเสนอหรือการเป็นตัวแทนชุดหนึ่ง เป็นความจริง หรือนั่นมันเป็นความจริงมากกว่าอันอื่นๆเท่านั้น - กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ นั่นมันคือสิ่งที่ดีที่สุดที่เราสามารถทำได้เพียงเท่านี้. อันนี้คือฐานะตำแหน่งของข้าพเจ้า. ขณะที่เราเติบโตขึ้นมาและเรียนรู้ เราค้นพบแบบจำลองต่างๆที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเราว่า จะมองโลกและเข้าใจโลกนี้อย่างไร?

แผนที่ต่างๆตามขนบประเพณี มีแนวโน้มที่จะแสดงให้เห็นประเทศต่างๆอย่างไม่ถูกต้อง ในเรื่องของสัดส่วนเชิงเปรียบเทียบ ซึ่งอันนี้เนื่องมาจากผลประโยชน์เกี่ยวกับพลังอำนาจอาณานิคมของชาวยุโรปนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ทวีปต่างๆซึ่งอยู่ทางตอนใต้จะถูกนำเสนอให้เห็นว่ามีขนาดเล็กกว่าความเป็นจริง

- ทวีปยุโรปมีเนื้อที่ประมาณ 9.7 ล้านตารางกิโลเมตร แต่ปรากฎว่ามันมีขนาดใหญ่กว่าเนื้อที่ของอเมริกาใต้ทั้งหมดซึ่งมีเนื้อที่อยู่ถึง 17.8 ล้านตารางกิโลเมตร…

- อเมริกาเหนือซึ่งปรากฎในแผนที่ ถูกทำให้ใหญ่กว่าทวีปแอฟริกาอย่างน่าพิศวง ซึ่งมีเนื้อที่อยู่ราว 30 ล้านตารางกิโลเมตร ตามข้อเท็จจริงนั้น อเมริกาเหนือมีขนาดเล็กกว่า(มีเนื้อที่อยู่ราว 19 ล้านตารางกิโลเมตรเท่านั้น)

- สแกนดิเนเวีย มีเนื้อที่ประมาณ 1.1 ล้านตารางกิโลเมตร แต่ดูเหมือนว่ามันจะมีขนาดใหญ่เท่าๆกันกับประเทศอินเดีย ซึ่งมีเนื้อที่อยู่ถึง 3.3 ล้านตารางกิโลเมตร

ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแผนที่ใหม่ขึ้น ซึ่งได้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและไม่บิดเบือนเหมือนกับแผนที่ที่ใช้กันมาตามขนบจารีต… ไม่น้อยไปกว่าโลกทัศน์ของเราที่อยู่ระหว่างหน้าสิ่วหน้าขวาน… โดยการนำเสนอประเทศต่างๆทั้งหมดในขนาดที่เป็นจริงและตำแหน่งที่ตั้งซึ่งเป็นไปอย่างถูกต้อง แผนที่ใหม่นี้ยอมให้แต่ละประเทศ ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เป็นจริงบนโลก (New Internationalist 1998)

ประเด็นต่างๆข้างต้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง. ถ้าคุณสามารถบรรลุถึงสิ่งเหล่านี้ได้ คุณก็จะคาดคะเนเรื่องบางอย่างได้! ลองนำเรื่องเหล่านี้ไปพูดคุยกับคนอื่นๆ และพยายามสังเกตว่าคนเหล่านั้นจะรู้สึกอย่างไร ต่อประสบการณ์ของคุณเองเกี่ยวกับเรื่องภาษา, สื่อ, และความเป็นจริง. ไอเดียหรือความคิดต่างๆเหล่านี้ นอนเนื่องอยู่เบื้องหลังถ้อยแถลงที่สำคัญที่ว่า:

"สื่อไม่ได้ผลิต, นำเสนอ, หรือแสดงให้เห็นโลกของความเป็นจริง มันได้สร้างความจริงและทำซ้ำความเป็นจริงต่างหาก"

เครื่องมือของสื่อ(The Media Apparatus)
ตามพยัญชนะแล้ว คำว่า"สื่อ"(media)หมายถึง"กลาง"(middle). "สื่อ"คือ"สิ่งที่อยู่ระหว่างกลาง"ของการสื่อสาร หรือ"เป็นสื่อกลาง"การสื่อสาร. มันคือเครื่องมือหรือวิธีการ ซึ่ง"ผู้ส่งสาร"(message senders)สามารถติดต่อสื่อสารกับ"ผู้รับสาร"ได้(message receivers). ใครก็ตามที่ต้องการสื่อสาร จะเลือกสื่อกลางอันใดอันหนึ่งที่จะกระทำภารกิจดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน หรือรูปแบบบางอย่างที่นำเสนอด้วยภาพ(ภาพ, แผนภาพ, ภาพถ่าย, ภาพยนตร์ และอื่นๆ) หรือสื่อกลางอื่นๆ

ภาพข้างล่างต่อไปนี้จะทำให้เราเห็นชัดถึงวิธีการเกี่ยวกับการสื่อสาร ซึ่งได้ดัดแปลงมาจากหลักการของ Lasswell's formula

 WHO says                       What            by What Means                   to Whom 
    Sender      -----------> message             / mode       ----------->     receiver 
(Modification of Lasswell's model of communication)

ตามหลักการข้างต้น คำตอบของ What (อะไร) และ by What Means (โดยเครื่องมืออะไร), พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ message (สาร) และ the modes (วิธีการต่างๆ), ซึ่งเป็นองค์ประกอบของสื่อต่างๆในทุกวันนี้. ในสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่, สารต่างๆได้ถูกถ่ายทอดโดยผ่านเทคโนโลยีของการพิมพ์, ภาพยนตร์, วิดีโอ, โทรศัพท์, ระบบคอมพิวเตอร์, และอื่นๆ

เราต้องการเน้นกระบวนการเกี่ยวกับการเป็นสื่อกลาง. สื่อต่างๆมันยืนอยู่ระหว่าง"เรา"กับ"โลก"หรือ"ความเป็นจริง". เราสามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของเรากับโลก และสื่อต่างๆ ตามแบบจำลองหรือแผนภาพข้างล่างนี้

 The World Reality   <----------------->      The      Media    <------------------>   Audiences 
             Mediators in the Middle
Means of Communication
(for example, language, films, photographs)
(Model of media-world relationship, stressing the process of mediation)

ข้อสังเกต ลูกศรสองหัวในแบบจำลองนี้แสดงว่า โลกมีผลกระทบต่อสื่อ และผู้รับสื่อเป็นผู้กระทำในการสร้างความหมาย(audiences are active in making meanings) - พวกเขาไม่เพียงเป็นฝ่ายรับแบบยอมจำนนต่อมัน (they don't just passive receive them)

ในความสัมพันธ์กับสื่อทางสายตา(visual media) เช่น กับภาพถ่าย, ภาพยนตร์ วิดีโอ, และสื่อบันทึกเสียง มันถูกเสนอว่า พวกมันเป็นกลไกที่เป็นกลาง(neutral mechanisms) ซึ่งเป็นกระจกเงาหรือภาพสะท้อนเกี่ยวกับโลกที่แท้จริง มันเป็นเสมือนช่องหน้าต่างๆบานหนึ่งสำหรับเราหรือเป็นหูเป็นตาบนโลกใบนี้. ดังนั้น:

 The World  -------------> Media - Mirror  -------------->  The World 
  Reality   ----------->    Media - Window    ----------->       Reality 
(Model of the media-world relationship, suggesting that   the media  are neutral 
mechanisms that simply mirror the world)

การศึกษาเกี่ยวกับสื่อ(media studies)ปฏิเสธแบบจำลองอันนี้ โดยหันไปเน้นที่การสร้างสื่อ, การเลือกสรรและการตีความแทน เพื่อพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนและนำเสนอ

The World/Reality    <--------------->    Media Representations   <--------------->   Image/Text
Media Constructions
Media Interpretations the world --- cameras / projectors / video cameras / sound record ---- Image
(Model of the media-world relationship, stressing media construction, selection, and interpretation)

เราประสงค์ที่จะกล่าวซ้ำถึงประเด็นนี้อย่างแข็งขัน ในความสัมพันธ์กับสื่อทางสายตาที่มีฐานภาพยนตร์และสื่อที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกเสียง เนื่องจากคุณสมบัติที่มีลักษณะเฉพาะบางอย่างที่มีส่วนร่วมปันโดยภาพถ่าย, ภาพยนตร์, วิดีโอ และการบันทึกเสียง

สื่อและความจริง(The Media and Reality)
สื่อเป็นจำนวนมากและภาพการนำเสนอต่างๆทางด้านศิลปะ ได้อ้างอิงถึงสิ่งต่างๆที่มาจากโลกของความจริง. นวนิยาย, บทละคร, บทกวี, งานจิตรกรรม, ประติมากรรม, ภาพถ่าย, ภาพยนตร์, และวิดีโอ ทั้งหมดต่างมีเป้าประสงค์ที่จะสร้างวัตถุสิ่งของและผู้คนขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ซึ่งนั่นคือส่วนหนึ่งของโลกที่เราอาศัยอยู่

แต่ภาพถ่าย, ภาพยนตร์, วิดีโอ, และการบันทึกเสียงมีความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันอันหนึ่งกับโลกของความจริงยิ่งกว่าเครื่องมืออื่นของการเป็นตัวแทน อย่างเช่น ภาษา, จิตรกรรม, และประติมากรรม. พวกหลังนี้สามารถผลิตซ้ำความจริงในวิธีการล้อเลียนได้ และด้วยเหตุนี้ พวกมันจึงปรากฎออกมาในลักษณะที่แสดงให้เราเห็นว่าเป็น "ความจริงที่ไม่เป็นสื่อกลาง"(unmediated reality)

สื่อพวกแรก(ภาพถ่าย, ภาพยนตร์, วิดีโอ, และการบันทึกเสียง)เหล่านี้อาจใช้ความประทับใจต่างๆที่เกิดขึ้นมาจากโลกของความจริง, เปลี่ยนมันเป็นดิจิตอล, หรือนำเสนอมันในรูปของภาพยนตร์, วิดีโอ, หรือเทปบันทึกเสียง เพื่อสร้างภาพและเสียงต่างๆขึ้น. อันนี้ต่างไปจากการใช้คำหรือภาษา, จิตรกรรม, และประติมากรรม ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นมาโดยฝีมือและจินตนาการของศิลปิน

ภาพถ่าย, ภาพยนตร์, และวิดีโอ บันทึกความเป็นจริงที่ปรากฎ ซึ่งอยู่ ณ ที่นั้น. ขณะที่เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถทำให้ทุกอย่างปรากฎออกมาในลักษณะภววิสัย, เป็นสายตาของมนุษย์, เป็นหูของมนุษย์ที่ได้ยิน, และแน่นอน มือได้สร้างสิ่งที่เป็นอัตวิสัย มันเป็นการถอดความต่างๆเกี่ยวกับโลก. อันนี้มีแนวโน้มที่จะทำให้ผู้คนเชื่อในสัจนิยมเกี่ยวกับภาพต่างๆเหล่านี้(the realism of these images); เราคิดว่าเราเห็นหรือเราได้ยินความจริงนั้นจริงๆ เมื่อเรามองดูภาพถ่าย, ภาพยนตร์, และวิดีโอ หรือเมื่อเราได้ฟังบางสิ่งบางอย่างมาจากเครื่องบันทึกเสียงต่างๆ

เพราะสื่อเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อโยงกันอันหนึ่งระหว่าง"โลกของความจริง"กับ"วิธีการที่มันถูกประทับลงบนเซลลูลอยด์, การจัดแสง, หรือคลื่นเสียงต่างๆ มันเป็นความจริงบางอย่างในความเชื่อนี้ - และเป็นเพียงบางอย่างเท่านั้น(ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด). อันนี้เป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่จะต้องตระหนักถึงข้อเท็จจริงที่ว่า สื่อ"ความจริง"เหล่านี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาด้วย

1. สำหรับการเริ่มต้น เราไม่ได้เห็นความจริงที่เป็นสามมิติจริงๆ เราเพียงได้เห็นภาพสองมิติของความจริงเท่านั้น เช่นบนจอภาพยนตร์หรือทีวี เป็นต้น. Jean-Luc Godard กล่าวว่า: "นี่ไม่ใช่ภาพที่ถูกต้อง. ที่ถูกต้องคือมันเป็นภาพๆหนึ่งเท่านั้น"(This is not a just image. This is just an image).

คำพูดของเขานั้นหมายถึง 2 สิ่ง
อันดับแรก เขากำลังสร้างประเด็นทางการเมืองอันหนึ่งขึ้นมา ซึ่งภาพสื่อที่มาครอบงำของฮอลีวูดและสื่อกระแสหลักนั้น มันไม่ได้ให้ทัศนะที่ตรงไปตรงมาหรือถูกต้องเที่ยงธรรมเกี่ยวกับโลกในเทอมต่างๆของการเป็นตัวแทนและการนำเสนอของมัน และเกี่ยวกับความแตกต่างทางชนชั้นและทางสังคม

อันดับที่สอง เขากำลังพูดว่า ภาพต่างๆที่เราเห็น มันเป็นเพียงภาพเท่านั้น - พวกมันไม่สามารถให้ความจริงกับเราได้ หมายถึงสิ่งที่เป็นจริง. เขายังวิจารณ์ด้วยว่า "ภาพถ่ายไม่ได้เป็นการสะท้อนเกี่ยวกับความเป็นจริง แต่มันคือความจริงของการสะท้อนอันนั้น"(A photograph is not the reflection of reality, but the reality of that reflection)(Harvey 1978, p.71).

Rene Magritte ได้ดูดดึงความสนใจไปสู่ธรรมชาติที่เป็นมายาการของภาพต่างๆในงานจิตรกรรมของเขาเป็นจำนวนมาก, รวมถึงภาพที่มีชื่อเสียงของเขาที่ชื่อว่า"This is Not a Pipe". งานจิตรกรรมชิ้นนี้ได้ดึงความสนใจของเราไปสู่ข้อเท็จจริงที่ว่า ภาพกล้องยาสูบ(pipe)เป็นเพียงเส้นและสีง่ายๆที่ดูเหมือนกับกล้องยาสูบ(pipe), นั่นมันไม่ใช่ของจริงซึ่งมันอ้างถึง

2. ข้อต่อมา ภาพยนตร์ ภาพถ่าย และภาพวิดีโอ มันเพียงให้ภาพสิ่งที่เราเห็นแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น และมีลักษณะเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับสิ่งที่เรากำลังดูอยู่. เราเพียงเห็นมันจากมุมๆหนึ่งเท่า ด้วยภาพๆหนึ่งและด้วยแสงที่เฉพาะ. เราไม่สามารถโอบกอดความจริงทั้งหมดได้บนจอภาพ

มันมีกระบวนการมากมายเกี่ยวกับการคัดสรร และการคัดออกไป ในวิธีการที่สิ่งต่างๆถูกแสดงให้เราเห็น และวิธีการการถ่ายทำแต่ละครั้ง(ช็อต)ซึ่งแตกต่างกัน ถูกนำมาเสนอเข้าด้วยกัน. การตัดต่อหรือเรียบเรียง(editing) จะทำการคัดสรรและตัดเอาเนื้อหาหรือภาพบางส่วนออกไป. ทางเลือกต่างๆนั้นได้ถูกสร้างขึ้น ซึ่งมันได้ผลิตข้อคิดหรือแง่มุมที่มีลักษณะเฉพาะอันหนึ่งขึ้นมา และให้ความหมายที่จำเพาะบางอย่างต่อสิ่งที่เราเห็น. ข้อคิดเห็นหรือคำอธิบายภาพที่มาด้วยกันยังบอกถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในวิธีการที่มีลักษณะเฉพาะอันหนึ่ง. การบันทึกเสียงก็เป็นสิ่งที่มีเลือกสรรเท่าๆกัน.

3. ท้ายสุด ภาพต่างๆได้ถูกนำไปเชื่อมโยงเข้าด้วยกันกับระบบที่ใหญ่กว่าของการเล่าเรื่องและแบบฉบับ ซึ่งยังส่งผลกระทบต่อการที่เราเห็นมันอย่างไรด้วย. ในระบบต่างๆเหล่านี้ สื่อมีแนวโน้มที่จะซ่อนเร้นกระบวนการเกี่ยวกับการสร้างในตัวของมันเอง(hide their own process of construction). โดยนัยนี้เราหมายความว่า เมื่อพวกเขาแสดงภาพเหตุการณ์ต่างๆที่สื่อออกมาให้เห็น พวกเขามีจุดประสงค์ที่จะทำให้มันไหลไปอย่างราบรื่น โดยไม่แสดงให้เราเห็นถึงกระบวนการสร้างที่มีความเป็นมาและเป็นไปอย่างไร

เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทั้งหมดของการนำเสนอ - เช่น ตัวหนังสือวิ่ง(autocue)ที่ผู้ประกาศข่าวใช้(อยู่หลังกล้อง), การจัดแสง, เครื่องเสียง, อุปกรณ์กล้อง, และอื่นๆ - จะถูกซ่อนจากสายตาของผู้ชม. เหตุการณ์ต่างๆดูเหมือนจะเผยออกมาอย่างเป็นธรรมชาติ ราวกับว่ามันกำลังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาเรา

ในข้อที่สามนั้น ไม่ค่อยจะจริงแล้วนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990s เป็นต้นมา. บางครั้ง สื่อได้เปิดเผยให้เห็นกระบวนการต่างๆเกี่ยวกับการสร้างตัวมันออกมาให้เห็นอย่างรอบคอบสุขุม: รายการยอดนิยมทางโทรทัศน์ที่จัดในสตูดิโอหลายรายการ แสดงให้เห็นกล้องถ่ายและกลุ่มคนที่อยู่เบื้องหลังฉาก, ด้วยเหตุนี้ มันจึงเป็นการเผยให้เห็นและอ้างอิงถึงกระบวนการต่างๆเกี่ยวกับการบันทึกภาพและการสร้าง

บรรดาผู้ชมทั้งหลายค่อนข้างจะรู้; พวกเขารู้สึกเพลิดเพลินไปกับการมองเห็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังฉาก และพวกเขาก็เข้าใจว่า มันมีการจัดการเกี่ยวกับสื่อและการสร้างมากมาย. ความเจริญงอกงามของการศึกษาเกี่ยวกับสื่อ ในตัวมันเองได้สนับสนุนในเรื่องนี้

โทรทัศน์ ABC ในรายการ Frontline (ซึ่งเป็นรายการที่สร้างขึ้นมาของออสเตรเลียเกี่ยวกับการผลิตรายการเหตุการณ์ปัจจุบันทางทีวี) ถือเป็นตัวอย่างที่ดีมากตัวอย่างหนึ่งเกี่ยวกับวิธีการที่สื่อ มาถึงตอนนี้ มันกำลังแสดงให้เห็นถึงกระบวนการต่างๆเกี่ยวกับการสร้าง และเผยให้เห็นถึงสิ่งที่อยู่เบื้องหลังฉากต่างๆ. ความเป็นที่นิยมของมันยืนยันและเป็นพยานถึงความสนุกสนานของผู้ชมทั้งหลาย ในการที่ได้เห็นถึงกระบวนการสื่อที่ได้ถูกรื้อหรือแกะออกมาให้ดู(deconstructed), ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากและเป็นไปอย่างน่าขบขัน:

- รายการนี้ได้แสดงให้เห็นว่า ข่าวไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาอย่างง่ายๆ: นั่นคือ มันถูกรวบรวมขึ้นและถูกคัดเลือก. ในหนทางนี้ เราสามารถเห็นถึงสิ่งที่ปรากฎขึ้นในฐานะความจริงว่าเป็นมาอย่างไร ซึ่งอันที่จริงแล้ว เป็นการประกอบขึ้นหรือเป็นการเรียบเรียงขึ้นมานั่นเอง(ถูกสร้าง-constructed) และมีการวางกรอบในหลายๆทาง ซึ่งสิ่งเหล่านี้บางส่วนได้ถูกกำหนดโดยข้อจำกัด หรือการบีบบังคับบางอย่างของของเวลาและการจัดการอย่างเป็นระบบ

- มันแสดงให้เห็นว่า แต่ละเรื่องหรือประเด็นนั้น ได้ถูกทำให้บิดเบือนไปเป็นการเฉพาะโดยวิธีการที่มันถูกถ่าย การตัดต่อ และการถูกวิจารณ์และเสนอความคิดเห็น(กระบวนการสร้างสื่อ). มันแสดงให้เห็นลำดับการที่ต่อเนื่องกันในการตัดต่อเรียบเรียงเป็นชุด โดยการละเว้นหรือข้ามคำอธิบายที่สำคัญๆไปในบางครั้ง หรือเพิ่มเติมบางอย่างเพื่อทำให้มันดูนานขึ้น หรือกระทั่งโดยการย้อนเหตุการณ์กลับไป ทำให้เหตุการณ์ต่างๆปรากฎออกมาในหนทางที่เฉพาะเจาะจงอันหนึ่ง

- มันแสดงให้เราเห็นว่า เรื่องราวหรือเหตุการณ์ปัจจุบัน อันที่จริง ได้ถูกกำหนดขึ้นมาโดยจำนวนคนดูข่าว(news rating - เรตติ้งข่าว) และผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ของโทรทัศน์ มากกว่าโดยความผูกพันกับความจริงเพื่อประโยชน์สาธารณะ(public good). เราเห็นอันนี้ ในวิธีการที่แรงกระตุ้นสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งทีมงานผู้ผลิตเหตุการณ์ปัจจุบันได้แสดงออกมาในรายการ Frontline. มันกระทำทุกอย่าง เป็นไปเพื่อเรตติ้งที่ดีหรือจำนวนคนดูที่มากนั่นเอง

- แน่นอนรายการ Frontline ในตัวมันเองก็คือ "งานสร้างชิ้นหนึ่ง". มันไม่จำเป็นต้องเป็นความจริงแต่อย่างใด. Frontline มีมุมมองของตัวมันเองในเรื่องสื่อ แต่มันได้แสดงให้เราเห็นถึงกระบวนการสร้าง(processes of construction)

1. ให้เราลองสังเกตดูแต่ละตอนของรายการในแบบ Frontline (ในประเทศของเรา) และบันทึกถึงตัวอย่างต่างๆเกี่ยวกับการสร้างสื่อขึ้นมาที่มันได้แสดงออกมาให้เห็น

2. พิจารณาถึงโอกาสซึ่งคุณหรือเพื่อนๆ / ญาติพี่น้องได้ถูกนำเสนอโดยสื่อ มองเข้าไปใกล้ๆที่การนำเสนอต่างๆเหล่านี้ และพิจารณาดูถึงการที่คุณถูกสร้างในกระบวนการนี้. การนำเสนอต่างๆเหล่านี้อาจรวมถึงภาพที่ปรากฎทางสายตาและข้อความในสื่อ เช่น ถูกพูดถึงในลักษณะข้อคิดเห็น หรือข้อความตัวหนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง

หากเราเป็นสมาชิกประจำที่ชอบดูโทรทัศน์ โดยเฉพาะข่าวต่างประเทศ เราคงจะเคยเห็นภาพงาน Mardi Gras (วันมาดิ กรา คือวันรื่นเริงทางคริสตศาสนา ตรงกับ Shrove Tuesday ซึ่งเป็นวันสุดท้ายก่อน Lent หมายถึงฤดูถือบวชในศาสนาคริสต์เพื่อเป็นการระลึกถึงพระเยซูในช่วงเดินป่า 40 วัน และจะมีการรับประทานผักในช่วงเวลาถือบวช). ในหนังสือ Sunday Times ปี 1996 ได้มีการบันทึกภาพชาวเกย์ ที่แต่งชุดทหารเรือตามสไตล์ของชาวเกย์และแสดงท่าวันทยาหัตถ์ สำหรับภาพนี้มีข้อความบรรยายว่า

"Well, hello sailors (หัวเรื่อง - ภาพชาวเกย์แต่งชุดเลียนแบบทหารเรือ ในชุดนุ่งน้อยห่มน้อย) การบันทึกภาพฝูงชนประมาณ 6 แสนคนที่เฝ้าดูขบวนพาเหรดในงาน"มาดี กรา"ของชาวเกย์และเลสเบี้ยน ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่แปด ที่ได้ออกมาเดินพาเหรดเมื่อคืนที่ผ่านมา

เจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าวว่า ฝูงชนจำนวนมาก โดยทั่วไป ประพฤติตัวเรียบร้อย. มีเพียงสองรายเท่านั้นที่ถูกจับกุม. รายหนึ่งที่ถูกจับนั้น เป็นผู้ชายซึ่งกระทำความผิดด้วยการแสดงความก้าวร้าว ส่วนอีกรายหนึ่งกระทำความผิด 4 กระทง เนื่องมาจากการทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีคน 15 คนถูกส่งตัวไปโรงพยาบาล และในจำนวนนี้ 13 คนป่วยในช่วงที่เดินพาเหรด รู้สึกแน่นหน้าอก และเนื่องมาจากอาการมึนเมา

เศษกระดาษ กระป๋อง และขวดต่างๆเป็นจำนวนหลายตัน รอให้เจ้าหน้าที่รักษาความสะอาดมาเก็บกวาดในวัน Australia Day."

เราสามารถแบ่งเรื่องนี้ออกเป็น 3 ส่วน: นั่นคือ ภาพถ่าย, คำอธิบายภาพ, และรายงานข่าว. โดยสรุปสั้นๆ ภาพถ่ายเป็นภาพเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองในลักษณะของความขบขันและความสุข. โดยตลอด ความตลกขบขันเหล่านี้สัมพันธ์กับการแต่งกายของผู้คนและการเต้นรำ ภาพสื่อที่สื่อออกมานั้น สำหรับบางคน อาจทำให้ถึงกับช็อคเกี่ยวกับโฮโมเซ็กส์ชวลหรือการรักร่วมเพศ และกามกิจของผู้ชาย

สื่อได้รายงานเกี่ยวกับงาน"มาดิ กรา"อย่างต่อเนื่อง ด้วยการประนีประนอมต่อความเสี่ยงเกี่ยวกับความขุ่นเคืองของผู้ดู ด้วยการใช้เรื่องความตลกขบขันเข้ามาแทรก เพื่อชดเชยในเรื่องอันตรายหรือความเสี่ยงนี้

แต่อย่างไรก็ตาม ขณะที่ส่วนซึ่งเป็นสาระสำคัญอันหนึ่งเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของงานวัน"มาดิ กรา"ก็คือ ต้องการที่จะกระตุ้นให้เกิดความสนุกสนานในทำนองเยาะเย้ย(poke fun)ในพลังอำนาจของผู้ชาย แต่ข้อความบรรยายข้างต้นนั้น ดูเหมือนจะเผยให้เห็นเรื่องราวที่ต่างออกไปเลยทีเดียว

หลังจากหัวเรื่องที่น่าขบขันและคำบรรยายที่เปิดประเด็นในเชิงบวกของย่อหน้าแรก การเลือกสรรเกี่ยวกับ"ข้อเท็จจริง"ก็ได้ถูกรายงานและพรรณาออกมาถึงเหตุการณ์นั้นในกรณีต่างๆเกี่ยวกับอาชญากรรม, อันตรายที่เกิดขึ้น, พฤติกรรมที่ขาดความรับผิดชอบ(การทำร้ายร่างกาย ความเรี่ยราด และความมึนเมา) และมีนัยะถึงความเสียหายทางสังคมและสาธารณะ(ไม่มีการพูดถึงการส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจแก่เมืองซิดนีย์เป็นอันมากสำหรับงานนี้ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้นำมาโดยผ่านการท่องเที่ยว)

การกล่าวถึงการทำความสะอาดวันออสเตรเลียในย่อหน้าสุดท้าย สามารถถูกอ่านออกมาได้ในฐานะที่เป็นประเด็นทางศีลธรรมที่ซ่อนเร้น(veiled moral point)ที่เสนอว่า ออสเตรเลียต้องถูกทำความสะอาดสำหรับเหตุการณ์ต่างๆเหล่านั้น. รายงานข่าวชิ้นนี้กลายเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเป็นไปในเชิงลบ และวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว อันนี้ได้เผยให้เห็นถึงตัวตัวอย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเลือกสรรและการสร้าง

ถ้าหากว่าคุณมีปัญหาในการคิดถึงเรื่องเกี่ยวกับตัวอย่างอันหนึ่งซึ่ง คุณ, ญาติพี่น้องของคุณ, หรือเพื่อนของคุณที่ถูกนำเสนอโดยสื่อต่างๆ ให้ลองคิดถึงภาพถ่ายคนในครอบครัวของคุณดู. ภาพถ่ายเหล่านี้คือการนำเสนอผ่านสื่อ / เป็นการสร้างเช่นเดียวกัน และมันเป็นต้นตออันหนึ่งที่ชวนหลงใหลให้ตรวจสอบ

เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะหมายเหตุลงไปถึง การใช้กล้องถ่ายรูปและกล้องถ่ายวิดีโอเพิ่มขึ้นเพื่อเก็บหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตครอบครัว - ผู้คนเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน ได้ถูกถ่ายวิดีโอนับจากช่วงขณะของการเกิดเลยทีเดียว - และให้ลองคาดเดาว่า อันนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้คนอย่างไรบ้าง

ลองดูไปที่ภาพถ่ายของครอบครัวคุณ คิดถึงสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาและการสื่อสารโดยผ่านภาพต่างๆเหล่านี้ และพิจารณาดูว่าพวกมันเหมาะสมกับความเป็นจริงที่คุณมีประสบการณ์อย่างไร

มีภาพถ่ายครอบครัวหนึ่ง ซึ่งเป็นภาพคนในครอบครัวทั้งหมดกำลังตัดหญ้าด้วยเครื่องตัดหญ้าและมาเข้าแถวหน้ากระดานกัน ภาพนี้ได้แสดงให้เห็นภาพของพ่อ แม่ และลูกชายสามคน ยืนเรียงหน้ากระดานอยู่ในสนามหญ้าที่กว้างขวางและกำลังบังคับเครื่องตัดหญ้าคนละตัว ด้านหลังสนามหญ้ามีต้นไม้ขนาดใหญ่ปลูกเป็นทิวแถว (คำบรรยายภาพ: ครอบครัวที่มีความสุข ภาพถ่ายครอบครัวแบบ snapshot - ภาพถ่ายที่ไม่เป็นทางการที่ถ่ายอย่างรวดเร็ว). ภาพถ่ายนี้ถ่ายเมื่อปี 1960 และเราสามารถมองดูมันได้สองวิธีเกี่ยวกับการนำเสนอที่ถูกสร้างขึ้นมานี้

1. ภาพดังกล่าวได้บอกถึงเรื่องราวที่เป็นอุดมคติของครอบครัวนี้. มันเน้นถึงความเป็นหนึ่งเดียวของครอบครัวในกรอบของปิตาธิปไตยหรือพ่อเป็นใหญ่; คนทั้ง 5 คนกำลังทำงานด้วยกัน แต่มันได้ถูกกำหนดไปตามลำดับชั้นสูงต่ำ(hierarchically)ทั้งในเชิงของส่วนสูงและอายุในเวลาเดียวกัน ภาพของพ่ออยู่ขวาสุด ต่อมาเป็นภาพแม่ ลูกชายคนโต คนกลาง และคนเล็ก - ภาพของผู้ชายผู้เป็นพ่อกำลังควบคุมเครื่องตัดหญ้าขนาดใหญ่ที่สุด ในฐานะที่เป็นผู้นำ ขณะที่คนที่เหลือของครอบครัวกำลังควบคุมเครื่องตัดหญ้าที่เล็กลงมาตามสัดส่วน. ภาพๆนี้ไม่เพียงยกย่องเรื่องครอบครัวเท่านั้น แต่ยังยังสะท้อนถึงค่านิยมของชนชั้นกลางด้วย เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของทรัพย์สินและการทำงาน: เบื้องหลังภาพนี้แสดงให้เห็นถึงสวนที่มีขนาดใหญ่และกระบวนการที่มันได้รับการเพาะปลูกและถูกควบคุม. ผู้ที่กำลังดูภาพนี้ได้รับการเชิญชวนให้รู้สึกยกย่องกระบวนการเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของทรัพย์สินนี้ เพื่อเป็นพยานและแสดงความยินดีต่อความสำเร็จและความสุขของครอบครัว

มันเป็นภาพตรงข้ามที่น่าสนใจกับการวิเคราะห์ของ John Berger ในหนังสือของเขา "Ways of Seeing")เกี่ยวกับงานภาพเขียนสีน้ำมันของ Gainsborough ในชื่อภาพ Mr and Mrs Andrew ซึ่งถือเป็นหนึ่งในการศึกษาในยุคบุกเบิกเกี่ยวกับเรื่องสื่อและการนำเสนอ (ดูภาพประกอบที่ 1)

Berger ได้ให้เหตุผลว่า ในคริสตศตวรรษที่ 18 งานจิตรกรรมสีน้ำมัน ถือเป็นสื่อที่สำคัญอันหนึ่งของช่วงวันเวลานั้น และเป็นวิธีการหนึ่งสำหรับชนชั้นที่เจ้าของทรัพย์สินใช้ในการนำเสนอและยกย่องพลังอำนาจและความเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติของพวกเขา. ภาพของ Mr. และ Mrs. Andrews มีนัยะบ่งถึงความรู้สึกอันหนึ่งเกี่ยวกับอำนาจที่มีเหนือผืนดินที่พวกเขาเป็นเจ้าของ. มันเป็นผืนดินสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ - Mr Andrews ออกไปล่าสัตว์(และปืนล่าสัตว์ที่อยู่ในมือของเขา เป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจแบบองคชาติ[his gun gives him symbolic phallic power]) - และการเพาะปลูก(เรามองเห็นทุ่งข้าวและฝูงแกะ). แต่ภาพที่เราเห็น อย่างชัดเจน สามีภรรยา Andrewses ไม่ได้มีส่วนร่วมในแรงงานด้านการเกษตรนี้ - พวกเขาเป็นเจ้าของและได้รับผลประโยชน์จากมัน

ในเทอมต่างๆของเพศสภาพ(gender) อีกครั้ง เราได้เห็นถึงภาพของผู้หญิงซึ่งเป็นรองในเทอมของความสูงต่ำ และเธอได้รับการสร้างหรือกำหนดโดยผ่านเครื่องแต่งกายในฐานะที่เป็นแหล่งต้นตอของความพึงพอใจ และการประดับตกแต่ง

งานจิตรกรรมสีน้ำมัน ถือเป็นสื่อกลางอันหนึ่งที่นำมาใช้สำหรับชนชั้นสูงเพียงกลุ่มเล็กๆเท่านั้น ซึ่งสามารถจัดหาให้มีได้. อย่างไรก็ตาม ในทางตรงข้าม ภาพถ่ายซึ่งมีขึ้นมาในคริสตศตวรรษที่ 20 นั้น ถือเป็นสื่อกลางที่มีความเสมอภาคอันหนึ่ง ทั้งในเทอมต่างๆของการจัดหาให้มีมันได้กับทุกๆคน และในเทอมของทักษะความชำนาญเกี่ยวกับมัน นั่นคือทุกๆคนสามารถถ่ายรูปได้:

"คุณเพียงกดปุ่ม แล้วเราจะทำในส่วนที่เหลือทั้งหมด", อันนี้เป็นคำโฆษณาของ Kodak ในช่วงแรกๆ

แต่ที่เหมือนกันคือ ภาพสื่อพวกนี้ยังคงถูกนำมาใช้เพื่อยกย่องครอบครัวและค่านิยมเกี่ยวกับด้านทรัพย์สินอย่างเป็นทางการ และอันนี้คือหนึ่งในกลไกที่สำคัญสำหรับการบันทึกหลักฐานที่เป็นเรื่องราวของครอบครัวในเชิงบวก โดยผ่านกาถ่ายภาพแบบ snapshot เกี่ยวกับการแต่งงาน, การทำพิธีชำระล้างบาป, เกี่ยวกับวันหยุดต่างๆ, ซึ่งภาพถ่ายเหล่านี้ได้ถูกเก็บรักษาเอาไว้เหนือหิ้งบนเตาผิง และในอัลบัมของครอบครัว

2. ย้อมกลับไปที่ภาพถ่ายครอบครัวในสนามหญ้า มันเป็นการเลือกมุม หรือมุมมองที่ต้องการให้รับรู้หรืออ่านอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับภาพถ่ายของครอบครัวนี้ และเป็นองค์ประกอบต่างๆที่ผู้ถ่ายภาพเลือกที่จะละเลย. ฉันอยู่ในภาพนั้น และฉันรู้เรื่องเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาที่อยู่เบื้องหลังภาพดังกล่าว, ความเป็นจริงทั้งหลายถูกซ่อนเอาไว้อยู่เบื้องหลัง พ่อกำลังมีความรักแบบที่ไม่ถูกทำนองคลองธรรม; ปีหนึ่งมาแล้วที่พ่อแม่รู้สึกแยกห่างจากกัน; เด็กสองคนในภาพไม่มีความสุขเลย; และมันมักเป็นเรื่องที่ต้องเถียงกันเสมอของพวกเด็กๆที่ถูกมอบหมายหน้าที่ให้ไปทำสวน!

สิ่งที่ภาพถ่ายภาพนี้ได้เผยออกมาคือ"กระบวนการสร้าง(ภาพ)" ซึ่งรวมถึงสิ่งที่เราอาจพิจารณาว่าเป็นภาพถ่ายที่ไร้เดียงสามากที่สุด - อย่างเช่น ภาพถ่ายแบบ snapshot ของครอบครัว

ประการแรก ในหนทางทั่วๆไป ภาพถ่ายแบบฉับพลันทันที(snapshot)เกี่ยวกับภาพครอบครัวได้ถูกสร้างขึ้น เพื่อยกย่องสรรเสริญคุณค่าต่างๆของครอบครัว เป็นการเสนอคำอธิบายเกี่ยวกับครอบครัวนี้;

ประการที่สอง ในรายละเอียดเกี่ยวกับภาพที่เฉพาะเจาะจงใดๆ คุณควรจะสามารถมองเห็นอะไรบางอย่างได้อย่างชัดเจนมาก เมื่อพิจารณาถึงว่า คุณได้ถูกนำเสนอและจัดการอย่างไรในการสร้างสื่อ(media construction). คุณรู้อยู่ว่า ความจริงคืออะไรและประวัติศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังการสร้างต่างๆอันนั้น และทราบเกี่ยวกับปัจจัยหรือองค์ประกอบต่างๆที่กล้อง หรือข้อความสื่อเลือกที่จะใช้และเมินเฉย

เรื่องที่เสกสรรค์หรือแต่งขึ้นต่างๆของสื่อ(media fictions)
จวบจนถึงบัดนี้ การสนทนากันส่วนใหญ่ยังเป็นเรื่องที่พูดถึงการเก็บหลักฐานด้วยสื่อเกี่ยวกับเหตุการณ์จริงต่างๆ. แล้วส่วนไหนล่ะ ที่เนื้อหาสื่อที่แต่งขึ้นมา(fictional media text) ซึ่งมันมาเข้ากันกับเรื่องนี้?

เรื่องที่แต่งหรือเสกสรรค์ขึ้นมาส่วนใหญ่ อ้างถึงโลกของความเป็นจริงที่เราดำรงชีวิตอยู่ ไม่ว่าจะเป็นที่ลอนดอน, ซิดนีย์, ลอสแองเจลิส และอื่นๆ - ซึ่งพวกเราสามารถที่จะสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงได้ระหว่าง"เนื้อหา"กับ"โลก"(the text and the world) เทคนิคต่างๆในการบันทึกภาพยนตร์และวิดีโอนั้น ยังคงเป็นการซ่อนเร้นกระบวนการเกี่ยวกับการสร้าง และพยายามที่จะสร้างเหตุการณ์ต่างๆขึ้นมา โดยการเปิดเผยหรือคลี่คลายออกมาอย่างราบรื่น และดูเป็นธรรมชาติต่อหน้าเรา ด้วยเหตุนี้ เราจึงหลงลืมเกี่ยวกับกระบวนการการสร้างและรู้สึกราวกับว่าเรากำลังเห็นความจริงที่เกิดขึ้นมาอย่างนั้นจริงๆ

สัจนิยมหรือความจริงโดยเนื้อในของภาพถ่าย, ภาพยนตร์, และวิดีโอ(ดังที่เราพูดคุยไปก่อนหน้านี้) ทำให้เหตุการณ์ทั้งหลายดูเหมือนจริง(lifelike) และตัวสื่อเอง, ในฐานะที่เป็นตัวกลางในการลำเลียงสาร(carrier of message), กลายเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฎกับสายตาหรือยังคงไม่เป็นที่สังเกต

อันนี้มันยอมให้ไอเดียบางอย่าง ค่านิยม และทัศนคติหรือข้อคิดเห็น(สิ่งที่เราจะอ้างถึงต่อไปภายหลัง ในฐานะที่เป็นอุดมคติหรือวาทกรรมต่าง) ปรากฎออกมาอย่างเป็นธรรมชาติจากเรื่องที่เสกสรรค์ขึ้นมา ในหนทางที่เป็นการกำบังหรืออำพรางการสร้าง(masks construction)

ด้วยเหตุดังนั้น ถ้าเผื่อว่าเราปรารถนาที่จะเข้าใจว่า เรากำลังถูกจัดการอย่างไร และคุณค่าชนิดใดกำลังถูกนำเสนอกับเรา มันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องมาแกะหรือรื้อถอนสื่อที่ถูกเสกสรรค์ขึ้นมา เช่นเดียวกับสื่อตามข้อเท็จจริง(deconstruct fictional media as well as factual media)

มันยังมีความเชื่อมโยงกันระหว่างโปรแกรมรายการที่สร้างขึ้นมา(fiction) กับโปรแกรมรายการที่เป็นข้อเท็จจริงต่างๆ(factual programs) และความเชื่อมโยงเหล่านี้มันเบลอๆ อันนี้หมายถึงความแตกต่างกันอย่างเด่นชัดระหว่าง"ข้อเท็จจริง"และ"เรื่องที่สร้างขึ้น". "เรื่องที่สร้าง"และเทคนิคต่างๆในการบันทึกหรือการเก็บหลักฐาน มันได้รับการผสมผสานเข้าด้วยกันมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น เรื่องราวที่เป็น"ข้อเท็จจริง"ซึ่งนำเสนอผ่านโทรทัศน์ จะมีการบันทึกหรือเก็บหลักฐานต่างๆ เพื่อทำให้การเล่าเรื่องเป็นที่รู้สึกชวนติดตามและตื่นเต้นมากขึ้น มีตัวละครหลักต่างๆ และนำเสนอเหตุการณ์ทั้งหลายด้วยสายตาอันหนึ่งที่เป็นค่านิยมของความบันเทิง โดยการใช้ภาพต่างๆที่ตื่นเต้นเร้าใจ และเสียงประกอบที่ดึงดูดจิตใจ(catchy soundtracks)

ในทางกลับกัน ภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ที่เป็น"เรื่องซึ่งเสกสรรค์"ขึ้นมา ก็จะใช้เทคนิคการเก็บข้อมูลหลักฐานต่างๆในความสัมพันธ์กับเนื้อหาสาระนั้นๆ ในฐานะที่เป็นการทำงานของกล้องและสไตล์ทางสายตา(visual style). คุณอาจสังเกตว่า ภาพยนตร์ร่วมสมัยต่างๆ บ่อยครั้ง ได้หันไปใช้ฟิล์มภาพขาวดำ หรือใช้กล้องมือถือที่ไม่มั่นคงในการถ่ายทำและลำดับเหตุการณ์ ซึ่งนั่นมีจุดประสงค์ที่จะถ่ายทอดความรู้สึกอันหนึ่งเกี่ยวกับความแท้จริงและเป็นไปอย่างฉับพลันนั่นเอง

เทคนิคการทำภาพยนตร์ที่เป็นการบันทึกหรือเก็บหลักฐานเหล่านี้(documentary film-making), สัมพันธ์กับการเป็นตัวแทนการนำเสนอข้อเท็จจริง(factual representation)มากกว่าที่จะให้เป็นเรื่องที่แต่งขึ้น(fiction) ซึ่งใช้งบประมาณที่ต่ำมากสำหรับส่วนขยายนี้ ซึ่งอาจเรียกว่า mockumentary (คำนี้นำมาใช้ล้อคำว่า documentary หมายถึง การบันทึกหรือเก็บหลักฐานจำลอง(เลียนแบบ). คำว่า mock ยังแปลว่าหลอกลวง หรือเยาะเย้ยด้วย)

The Blair Witch Project เว็ปไซค์ The Blair Witch ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังและไม่แพง สำหรับการนำภาพยนตร์ออกขายในตลาด โดยความฉลาดแกมโกงในการทำให้เส้นแบ่งระหว่างข้อเท็จจริงกับเรื่องที่แต่งขึ้นมันเบลอๆ และยิ่งไปกว่านั้น ในบางขอบเขต ภาพยนตร์ดังกล่าว ต่อมา ได้ประสบกับปฏิกริยาย้อนกลับจากบรรดาผู้ดูทั้งหลาย ซึ่งรู้สึกว่า พวกเขาได้ถูกล่อลวงโดยการใช้เล่ห์เหลี่ยมที่ทำให้เชื่อว่ามันเป็นเรื่องจริงเรื่องหนึ่ง

สไตล์การบันทึกและการเก็บหลักฐานในเชิงสารคดี(documentary style)นี้ ยังเห็นกันอย่างโจ่งแจ้งด้วยในงานโฆษณาที่ช่ำชองจำนวนมาก และรายการโทรทัศน์อย่างเช่น NYPD Blue (เป็นเรื่องของตำรวจนิวยอร์ค), Wildside และ This Life. บรรดาผู้ผลิตรายการ Frontline ได้ใช้สไตล์การบันทึกภาพแบบสารคดี(documentary styles) และเทคโนโลยีต่างๆในการสร้างผลที่ให้ความรู้สึกสมจริง

ผู้ผลิตเหล่านี้รู้สึกว่าการบึกเหตุการณ์หรือการกระทำในลักษณะต่อเนื่อง ราวกับว่าเป็นสถานการณ์ในชีวิตจริงที่ถูกบันทึกเป็นหลักฐาน และการใช้กล้องวิดีโอ Hi-8 camera ซึ่งใช้กันเป็นธรรมเนียมในการสร้างภาพยนตร์สารคดี จะทำให้รายการมีพลังและดูสมจริง

ความเบลอหรือความไม่ชัดเจนอันนี้เกี่ยวกับเทคนิคและสไตล์ หมายมุ่งที่จะทำให้ ข้อเท็จจริงผ่านสื่อและสิ่งที่เสกสรรค์ขึ้นมาผ่านสื่อไม่อาจแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน; เรื่องราวผ่านสื่อทั้งคู่นี้ต้องการการรื้อถอนหรือแกะออกมาดูอย่างวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน

ความจริงเทียม(Simulations)
การสร้างและการยักย้ายเปลี่ยนแปลงของสื่อ อยู่กับเรามาตั้งแต่ภาพถ่ายและภาพยนตร์เริ่มเกิดขึ้น. ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ข่าวในช่วงแรกๆที่นำเสนอ, ในฐานะความจริง, ซึ่งแสดงภาพเหตุการณ์ของสงคราม, เหตุการณ์ที่เป็นเรื่องของอาชญากรรม, และหายนภัยทางธรรมชาติ ซึ่งบรรดาผู้ชมทั้งหลายต่างยอมรับมันในฐานะที่เป็นความจริง

ในที่นี้ อย่างน้อยมีอยู่ 3 สิ่งที่เกิดขึ้น นับจากทศวรรษที่ 1980s เป็นต้นมา ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงสถานการณ์ดังกล่าว:

1. อันแรก, ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น บรรดาผู้ดูทั้งหลายกลายเป็นคนที่อ่านสื่อและรู้เกี่ยวกับสื่อได้ดีขึ้น เป็นเพราะพวกเขาเข้าใจกระบวนการการผลิตสื่อมากขึ้น มันอาจจะไม่ง่ายนักที่จะทำให้พวกเขาเกิดความเข้าใจผิด. มันเป็นท่าทียอดนิยมแบบ cynicism (หรือทัศนคติที่มักจะคิดถึงความเลวร้ายของผู้คนและสิ่งต่างๆ) และรู้สึกคลางแคลงใจเกี่ยวกับความซื่อตรง ความถูกต้องของสื่อ มันเป็นความรู้เท่าทันเกี่ยวกับวิธีการสร้างสื่อหรือความจริงในมุมมองที่สื่อนำเสนอ

2. อันที่สอง, เทคโนโลยีเกี่ยวกับการสร้างความจริงยังคงปรับปรุงอยู่เสมอ. ขณะนี้เป็นไปได้โดยผ่านเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ที่จะประพันธ์ภาพถ่ายต่างๆให้ปรากฎออกมาเป็นจริง แต่อันที่จริงมันไม่ใช่ความจริง

Brain Winston ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า "เทคโนโลยีสำหรับการจัดการภาพแบบดิจิตอลกำลังกลายเป็นความยึดติดในสำนักงาน ของบรรดาหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆทั้งหมดอย่างรวดเร็ว". ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ "ในช่วงฤดูร้อนของปี 1993 สถานะของภาพถ่ายในฐานะหลักฐานได้กลับกลายเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือเป็นเพียงเศษกระดาษ(Winston 1995, p.5)

เทคนิคอันนี้(รู้จักกันในฐานะ scitexeing หมายถึงการเสริมแต่ง(retouch - ตกแต่ง) ด้วยดิจิตอล) ได้สร้างความโกลาหลอันหนึ่ง เมื่อบริษัทฟอร์ดในสหราชอาณาจักรโฆษณาในยุโรปตะวันออก. ภาพโฆษณาเดิมในอังกฤษสำหรับบริษัทนี้ ได้ถูกเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการทางคอมพิวเตอร์(morph)ด้วยการเปลี่ยนหน้าของคนดำ ให้กลายเป็นคนขาว

มีการโวยวายและประท้วงเกี่ยวกับเรื่องนี้ จากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆเกี่ยวกับการนำเสนอที่ผิดพลาด ซึ่งคัดค้านการชำระภาพดังกล่าวให้กลายเป็นสีขาว (ไม่น่าประหลาดใจเลยว่า บริษัทฟอร์ดไม่เต็มใจที่จะอนุญาตให้โปสเตอร์ดั้งเดิมได้รับการนำเสนอในหนังสือเล่มที่แปลนี้). ผลที่ตามมาเกี่ยวกับความสามารถอันนี้ในการยักย้ายเปลี่ยนแปลง(manipulate)ภาพถ่ายต่างๆก็คือ ความจริงผ่านสื่อได้กลายเป็นสิ่งที่เป็นปัญหาและน่าสงสัยมากยิ่งขึ้น

3. มีศัพท์ใหม่คำหนึ่งได้เข้ามาสู่การถกเถียงเกี่ยวกับการสร้างสื่อ: นั่นคือคำว่า "ความจริงเทียม"(simulation). ตอนนี้ เราต่างรู้กันว่าสื่อสามารถผลิตความจริงเทียมต่างๆขึ้นมาได้ - สิ่งต่างๆที่ดูเหมือนกับเหตุการณ์ที่เป็นจริง แต่เราต่างรู้ว่ามันไม่ใช่ความจริง - ด้วยความจริงเสมือน(virtual reality)และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์.

พวกเราเข้าใจในความจริงเทียมต่างๆ(simulations)เหล่านี้ ในฐานะที่เป็นรูปแบบต่างๆของความจริงที่เหนือธรรมดาหรือ hyper-reality. ความจริงเทียมทั้งหลายนั้นมันแตกต่างไปจากภาพตัวแทนต่างๆ(representations)

Jean Baudrillard ได้สร้างความแตกต่างอันหนึ่งระหว่าง"สิ่งที่ปรากฎ"(appearance)กับ"การเป็นตัวแทน"(representation). การเป็นตัวแทนหรือภาพตัวแทนต่างๆ(representations)อ้างอิงถึงความจริง; มันยังคงสืบทอดมาจากเหตุการณ์จริงๆที่อยู่พ้นไปจากกล้องถ่ายรูป หรือกล้องถ่ายวิดีโอ; พวกมันอ้างถึงความเชื่อมโยงอันหนึ่งกับโลกของความจริง และพวกเราเชื่อว่ามันเป็นโลกของความจริงบางส่วนซึ่งอยู่ ณ ที่นั้น

ในเชิงเปรียบเทียบ สิ่งที่ปรากฎหรือภาพปรากฎ(appearance)ไม่ได้อ้างว่ามันสืบทอดมาจากบางสิ่งบางอย่างที่พ้นไปจากตัวของพวกมันเอง; พวกมันเพียงอ้างอิงกับภาพที่ปรากฎอื่นๆ(other appearances)เท่านั้น - มันไม่มีความเชื่อมโยงกันโดยตรงกับโลกของความเป็นจริง(ซึ่งเราไม่เคยสามารถรู้ได้)(Baudrillard 1988, p.170). อันนี้คือส่วนหนึ่งของปรัชญาหลังสมัยใหม่. ด้วยเหตุนี้ ความจริงเทียมต่างๆ(simulations), ภาพที่ปรากฎ(appearances) และโลกเสมือนจริง(virtual world)ได้ถูกแยกออกจากความเป็นจริง. ศัพท์ต่างๆเหล่านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทางด้านวัฒนธรรม(cultural studies) ซึ่งถกเถียงกันเกี่ยวกับสิ่งที่สื่อทำขึ้นมา

สรุป (Conclusion)
ในฐานะนักวิเคราะห์สื่อ มันเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องรู้เท่าทันกระบวนการเกี่ยวกับการสร้างสื่อ เพื่อถามไถ่ว่า ภาพต่างๆมันได้รับการสร้างขึ้นมาอย่างไร และมุมมองเกี่ยวกับโลกแบบใด ที่เรากำลังถูกเชื้อเชิญให้มองและเผชิญความเป็นจริงของการผลิตต่างๆเหล่านี้. ดังนั้น เราจึงถูกนำเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการรื้อถอน(deconstruction)ภาพต่างๆที่เราจ้องมอง

ขออนุญาตกล่าวซ้ำอีกครั้งว่า ทำไมอันนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ:

- ในฐานะผู้ผลิตสื่อที่มีศักยภาพ - ไม่ว่าจะเป็น นักเขียนในอนาคต, บรรณาธิการ, ช่างภาพหรือตากล้อง, เว็ปมาสเตอร์ และอื่นๆ - คุณต้องรู้ถึงกลเม็ดหรือเครื่องมือต่างๆทางการค้า: คุณสามารถผลิตภาพต่างๆอย่างไร ที่จะทำให้ผู้ดูน้ำตาไหล โกรธ หรือสนุกสนาน: คุณรื้อถอนสื่อเพื่อที่จะรู้ว่า มีการใช้กล้องอย่างไร, การจัดแสงเป็นอย่างไร, การตัดต่อภาพ, และอื่นๆ เพื่อสร้างผลและความหมายเฉพาะต่างๆออกมา. คุณกำลังเรียนรู้สุนทรียศาสตร์และวิธีการทางเทคนิคเกี่ยวกับสื่อ "ภาษาของสื่อต่างๆ"

- ในฐานะนักวิจารณ์ คุณได้ยกระดับความซาบซึ้งของตัวคุณเกี่ยวกับผลิตผลต่างๆของสื่อ โดยผ่านความเข้าใจและวิถีทางที่มันทำงาน; ถัดจากนั้น คุณจึงจะสามารถสื่อสารเรื่องนี้กับคนอื่นๆได้

- โดยผ่านการรื้อถอน(deconstruction) คุณจะสามารถมองเห็นทัศนะทางการเมืองและสังคม ซึ่งบ่อยครั้งมักจะแสดงนัยะแฝง แต่ไม่ได้พูดออกมาตรงๆในการผลิตสื่อต่างๆ. ด้วยเหตุนี้ คุณจึงได้เผยถึงสารที่เป็นอุดมคติและความหมายต่างๆที่บรรจุอยู่ในสื่อ วิธีการที่พวกมันเข้าใจหรือให้ความหมายเกี่ยวกับโลกแก่พวกเรา โดยผ่านการแสดงให้เห็นถึงกระบวนการสร้างต่างๆ ความเกี่ยวพันกับสังคม การเมือง และอุดมคติซึ่งเป็นหัวใจของหนังสือเล่มนี้ ความเข้าใจทัศนะต่างๆของสื่อที่มีต่อโลก ที่เป็นการสร้างขึ้นมาต่างๆนั้น คือกุญแจดอกสำคัญในการวิเคราะห์เรื่องราวเกี่ยวกับสื่อในเชิงอุดมคติ

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

ในการะบวนการ"การผลิตสื่อ"ขึ้นมานั้น ผู้ผลิตต้องการให้สื่อปรากฎออกมาอย่างเป็นธรรมชาต ดังนั้นจึงมีการกำบังหรืออำพรางการสร้าง(masks construction)
เทคนิคอันนี้(รู้จักกันในฐานะ scitexeing หมายถึงการเสริมแต่ง(retouch - ตกแต่ง) ด้วยระบบดิจิตอล) ได้สร้างความโกลาหลอันหนึ่ง เมื่อบริษัทฟอร์ดในสหราชอาณาจักรโฆษณาในยุโรปตะวันออก. ภาพโฆษณาเดิมในอังกฤษสำหรับบริษัทนี้ ได้ถูกเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการทางคอมพิวเตอร์(morph)ด้วยการเปลี่ยนหน้าของคนดำ ให้กลายเป็นคนขาว มีการโวยวายและประท้วงเกี่ยวกับเรื่องนี้ จากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆเกี่ยวกับการนำเสนอดังกล่าว (สำหรับภาพตัวอย่างนี้ เป็นภาพของประธานาธิบดีบุช ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น หลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001)
ทุกวันนี้เราจะพบเห็นความเชื่อมโยงกันระหว่าง"งานที่แต่งขึ้น"(fiction) กับ"งานที่เป็นข้อเท็จจริงต่างๆ"(factual programs) และความเชื่อมโยงเหล่านี้มันเบลอๆ อันนี้หมายถึงความแตกต่างกันอย่างเด่นชัดระหว่าง "ข้อเท็จจริง"และ"เรื่องที่สร้างขึ้น". "เรื่องที่สร้าง"และเทคนิคต่างๆในการบันทึกหรือการเก็บหลักฐาน มันได้รับการผสมผสานเข้าด้วยกันมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เรื่องราวที่เป็น"ข้อเท็จจริง"ซึ่งนำเสนอผ่านโทรทัศน์ จะมีการบันทึกหรือเก็บหลักฐานต่างๆ เพื่อทำให้การเล่าเรื่องเป็นที่รู้สึกชวนติดตามและตื่นเต้นมากขึ้น มีตัวละครหลักต่างๆ และนำเสนอเหตุการณ์ทั้งหลายด้วยสายตาอันหนึ่งที่เป็นค่านิยมของความบันเทิง โดยการใช้ภาพต่างๆที่ตื่นเต้นเร้าใจ และเสียงประกอบที่ดึงดูดจิตใจ(catchy soundtracks)
ในคริสตศตวรรษที่ 18 งานจิตรกรรมสีน้ำมัน ถือเป็นสื่อที่สำคัญอันหนึ่งของช่วงวันเวลานั้น และเป็นวิธีการหนึ่งสำหรับชนชั้นที่เจ้าของทรัพย์สินใช้ในการนำเสนอและยกย่องพลังอำนาจและความเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติของพวกเขา. ภาพของ Mr. และ Mrs. Andrews มีนัยะบ่งถึงความรู้สึกอันหนึ่งเกี่ยวกับอำนาจที่มีเหนือผืนดินที่พวกเขาเป็นเจ้าของ. มันเป็นผืนดินสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ - Mr Andrews ออกไปล่าสัตว์(และปืนล่าสัตว์ที่อยู่ในมือของเขา เป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจแบบองคชาติ[his gun gives him symbolic phallic power]) - และการเพาะปลูก(เรามองเห็นทุ่งข้าวและฝูงแกะ). แต่ภาพที่เราเห็น อย่างชัดเจน สามีภรรยา Andrewses ไม่ได้มีส่วนร่วมในแรงงานด้านการเกษตรนี้ - พวกเขาเป็นเจ้าของและได้รับผลประโยชน์จากมัน. ในเทอมต่างๆของเพศสภาพ(gender) อีกครั้ง เราได้เห็นถึงภาพของผู้หญิงซึ่งเป็นรองในเทอมของความสูงต่ำ และเธอได้รับการสร้างหรือกำหนดโดยผ่านเครื่องแต่งกายในฐานะที่เป็นแหล่งต้นตอของความพึงพอใจ และการประดับตกแต่ง
ภาพประกอบที่ 1 ใช้สำหรับประกอบบทความ : ผลงานของ Gainsborough ชื่อภาพ Mr. and Mrs. Andrew วิจารณ์โดย John Berger ใน "Ways of Seeing"