H

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
หรือหน้าสารบัญ ซึ่งมีอยู่ 2 หน้า
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่อการศึกษาสำหรับสังคมไทย :

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 341 หัวเรื่อง
แนวความคิดเกี่ยวกับยูโทเปีย
โดย Karen Demavivas
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

(บทความนี้ยาวประมาณ 10 หน้า)
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้

บทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สามารถคัดลอกไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ หากนำไปใช้ประโยชน์ กรุณาแจ้งให้ทราบที่

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com

080147
release date
R
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
Wisdom is the ability to use your experience and knowledge to make sensible decision and judgements

บทความเกี่ยวกับปรัชญาศิลปะ
The Concept of Utopia : Utopia Station
แนวความคิดเกี่ยวกับยูโทเปีย : ฐานปฏิบัติการยูโทเปีย

By Graduate Student of Art History & Criticism: Karen Demavivas, Hunter College, New York

บรรยายพิเศษให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ระดับปริญญาตรี, กระบวนวิชาศิลปะวิจารณ์
ผู้ควบคุมกระบวนวิชา: สมเกียรติ ตั้งนโม
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2003, เวลา 09.30 น. - 11.30 น.)

บทความนี้ยาวประมาณ 10 หน้ากระดาษ A4
เผยแพร่ครั้งแรกบทเว็ปมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ 8 มกราคม 2547

 

ทำไมต้อง"ยูโทเปีย"? และทำไมต้องเดี๋ยวนี้?

แนวความคิดเกี่ยวกับ"ยูโทเปีย" โดยผ่านรูปแบบในเชิงอุดมคติมากมายของแนวคิดดังกล่าว ได้ประสบกับความล้มเหลวมาโดยตลอดครั้งแล้วครั้งเล่า กระนั้นก็ตามมันยังคงมีชีวิตชีวามาก ตราบเท่าที่ผู้คนยังคงใช้ความคิดและมีความหวัง

นิยามความหมายจากพจนานุกรม Webster ได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับคำว่า"ยูโทเปีย"เอาไว้ดังนี้
1. ยูโทเปีย, หมายถึง สถานที่แห่งความสมบูรณ์ในเชิงอุดมคติ และ
2. แบบแผนในจินตนาการสำหรับสังคมที่สมบูรณ์แบบสังคมหนึ่ง

ในห้วงเวลาในยุคโลกาภิวัตน์และสงครามกับผู้ก่อการร้าย สิทธิมนุษยชนต่างๆกำลังถูกคุกคามในหลายระดับ ช่องว่างต่างๆกำลังถ่างกว้างออกระหว่างโลกที่พัฒนาแล้ว กับประชาชาติที่ด้อยพัฒนา อันนี้รวมไปถึงช่องว่างระหว่างคนรวยจำนวนน้อย และคนจนจำนวนมากด้วย. ทรัพยากรต่างๆและสิ่งแวดล้อมกำลังสูญเสียไปอย่างรวดเร็วท่ามกลางความเจ็บป่วยอื่นๆอีกมากมาย. โลกตอนนี้กำลังอยู่ในภาวะของความทุกข์ยากลำบาก และผู้คนทั้งหลายกำลังแสวงหาหนทางต่างๆที่จะปรับปรุงสภาวะเงื่อนไขของโลกในปัจจุบัน

ในการแสวงหานี้ "ความคิดสร้างสรรค์"นับเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง มันมีความเป็นไปได้ต่างๆมากมาย. ไม่ว่าจะเป็นการสรรค์สร้างยูโทเปียต่างๆของตัวของพวกเราเอง หรือการสร้างชุมชนสนทนาเล็กๆต่างๆขึ้น หรือการพัฒนาระเบียบโลกใหม่อันหนึ่งขึ้นมา ประเด็นคือว่า ผู้คนต่างกำลังวิพากษ์วิจารณ์ความเป็นไปที่เกิดขึ้น

"ยูโทเปีย"เดี๋ยวนี้, ในฐานะที่เป็นแนวความคิดหนึ่ง มันได้เรียนรู้ถึงความยืดหยุ่น ซึ่งในอดีตไม่มี ท่ามกลางอุดมคติต่างๆที่แข็งทื่อ. มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับความฝัน การรวมตัวกันอย่างเป็นระบบและการสร้าง. อย่างมีนัยสำคัญ ยูโทเปียมักจะทำให้มนุษยชาติมีความมั่นใจขึ้นมาอีกครั้งเกี่ยวกับทางเลือกอื่นๆในเชิงอุดมคติในห้วงเวลาต่างๆที่มีปัญหา

วันนี้ ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะสำรวจลำดับการณ์ทางความคิดของบรรดานักคิดยูโทเปียทั้งหลาย นับจากช่วงเวลาคลาสสิคของเพลโต จนกระทั่งถึง นิทรรศการที่ได้รับการเรียกขานว่า"ฐานปฏิบัติการยูโทเปีย"(Utopia station)ของงานแสดงศิลปะ Venice Biennale ของปีนี้. ข้าพเจ้าจะตรวจตราถึงมรดกตกทอดเกี่ยวกับยูโทเปียในโลกตะวันตก และความคิดที่สอดคล้องกันบางอย่างในคำสอนของพุทธศาสนานิกายเถรวาท

นอกจากนี้ ข้าพเจ้าจะล่วงไปสัมผัสถึง ความคิดของนักคิดยูโทเปียที่ได้แสดงบทบาทอย่างสำคัญในขบวนการปฏิวัติ 2 ขบวนการของเอเชียอาคเนย์ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 20 ด้วย. และตลอดเวลาของการบรรยายครั้งนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงภาพต่างๆที่เกี่ยวกับแนวคิดศิลปะร่วมสมัย ซึ่งแสดงอยู่ ณ ฐานปฏิบัติการยูโทเปียในช่วงเดียวกัน

ในคริสตศตวรรษที่ 16 นักปรัชญามนุษยนิยมชาวอังกฤษ Sir Thomas More ได้สร้างศัพท์คำว่า"ยูโทเปีย"(Utopia)ขึ้นมาจากคำในภาษากรีก eu-topia ซึ่งหมายถึง"Good Place"(สถานที่ที่ดี) และเสียงของคำนี้ได้ไปพ้องกับคำในภาษากรีกว่า ou-topia ซึ่งหมายความว่า"No-place"(ไม่มีที่ใด)

ศัพท์คำว่า"ยูโทเปีย"ได้ขยายความมาจากความหมายพื้นฐานทั้งสองนี้. อันที่จริง เกาะที่สรรสร้างขึ้นมาของ More ที่เรียกว่ายูโทเปีย เป็นทั้ง"สถานที่ที่ดี"และ"สถานที่ซึ่งไม่มีอยู่"(a good place and a no place)ในเวลาเดียวกัน ดังที่มันมีอยู่เพียงในจินตนาการของเขาเท่านั้น

แนวความคิดเกี่ยวกับยูโทเปีย ได้ยึดครองรูปแบบของสังคมอุดมคติที่เป็นไปได้ต่างๆเอาไว้ และเป็นความคิดในลักษณะปรุงแต่ง ซึ่งต้องการที่จะวิพากษ์วิจารณ์สังคมร่วมสมัยในเวลานั้น. อันนี้สามารถที่จะพบเห็นได้ในศิลปะเกี่ยวกับการเมืองในทุกวันนี้ อย่างเช่นผลงานของ Martha Rosler [Martha Rosler, Speculations and speculative Fictions, 2003 - Impired by utopian science fiction, she gathered a community together to discuss and investigate time, travel, and visions of social transformation.]

ไอเดียหรือความคิดเกี่ยวกับยูโทเปียในฐานะที่เป็น"สถานที่ที่ดี"(Good-place) คือความหวังอันหนึ่งเกี่ยวกับความสุขและความรอด(salvation). ในตะวันตก มันถูกฝันถึงในหลายรูปแบบที่แตกต่างกันมากมาย. ในช่วงยุคกลาง ยูโทเปียคือหมู่บ้านหนึ่ง ที่ซึ่งความปรารถนาทางโลกทั้งหมดสามารถที่จะได้รับการเติมเต็มหรือทำให้บรรลุผลได้. ส่วนในคริสตศตวรรษที่ 18 "ความรอด"ได้รับการมองว่าเป็นความสมบูรณ์เกี่ยวกับสภาพเงื่อนไขทางโลกของมนุษย์โดยผ่านความก้าวหน้าในยุคสมัยใหม่(modern progress). และในคริสตศตวรรษที่ 19 ยูโทเปียได้ยึดครองรูปแบบเกี่ยวกับคอมมูนหรือชุมชนทางศาสนาต่างๆ ในการเสาะแสวงหาทางจิตวิญญานสำหรับสวรรค์ในชีวิตหลังความตาย

ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ผู้คนแสวงหาความหลุดพ้นทางโลกและทางจิตวิญญานจากความทุกข์ ในแนวคิดเรื่องทุกข์ของศาสนาพุทธ. พวกเขาจินตนาการถึงความสุขของสวรรค์บนดิน, สวรรค์ต่างๆ, อาณาจักรที่ได้รับการปกครองโดยกษัตริย์ที่ทรงสถิตความยุติธรรม. ความสุขของชาวพุทธได้ดำเนินรอยตามชาดกต่างๆที่ถูกนำมาร้อยเรียง ซึ่งน้อมนำไปสู่นิรวาน(หรือพระนิพพาน)อันไม่อาจอธิบายได้. [Collins: 116]

นิรวานหรือพระนิพพานในฐานะที่เป็นแนวคิดหนึ่ง สามารถนำไปสัมพันธ์กับความคิดเกี่ยวกับยูโทเปียได้ ในฐานะที่เป็น"No-place"(ไม่มีที่ใด) เพราะมันดำรงอยู่นอกเหนือกาละและเทศะ(ไร้กาลเวลาและสถานที่) หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดหรือวงจรสังสารวัฏฏ. มันเป็นการปลดเปลื้องจากความทุกข์ ไปสู่ภาวะนิ่งสงบที่สุดหรือภาวะแห่งสุญญตา มากกกว่าสรวงสวรรค์ชั้นฟ้าของพระผู้เป็นเจ้าของชาวคริสเตียน

ความคิดเกี่ยวกับยูโทเปีย ในสถานะที่ไม่มีอยู่ ณ ที่ใด(No-place) สามารถอ้างอิงถึงพื้นที่ต่างๆในจินตนาการได้. รูปแบบล่าสุดของมันก็คือ"ฐานปฏิบัติการยูโทเปีย"(Utopia Station)ในเวนิส. มันคือจุดพบปะกันชั่วคราว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนาที่ดำเนินไปเกี่ยวกับความเป็นไปได้และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ณ ฐานปฏิบัติการยูโทเปีย นักประวัติศาสตร์ศิลป์ Linda Nochlin กล่าวว่า "ความคิดเกี่ยวกับ"ยูโทเปียไเป็นเรื่องในเชิงนัยะมากกว่าเรื่องอะไรที่ชัดเจน"(implicit rather than explicit), มีลักษณะที่เป็นรูปเป็นร่างมากกว่าเพียงแค่ตัวอักษร"(Nochlin: 179)

ขณะที่นิรวานหรือพระนิพพาน เป็นความหลุดพ้นจากวัฏฏะของชีวิต, ฐานปฏิบัติการยูโทเปียกลับเป็นสิ่งที่เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องบนวัฏฏะของความคิดและรูปลักษณ์ที่เป็นพลวัต. Nochlin ได้อธิบายถึงมันในฐานะที่เป็นสิ่งซึ่งมีอัตลักษณ์และเนื้อหาอันหลากหลาย, รูปแบบที่หลายหลาก, ทั้งภายในและภายนอก(กลางแจ้ง), เป็นนิทรรศการเกี่ยวกับวัตถุต่างๆที่มีขนาดใหญ่, ผลงานติดตั้ง(installation), ภาพยนตร์, วิดีโอ, และการแสดงโดย 60 ศิลปินและกลุ่มศิลปินต่างๆ (Nochlin: 179)

ในคริสตศตวรรษที่ 16 ไอเดียหรือความคิดเกี่ยวกับความก้าวหน้า ได้เริ่มต้นเจริญเฟื่องฟูขึ้นเป็นครั้งแรกในตะวันตก. ประดิษฐกรรมเกี่ยวกับแม่เหล็กและเข็มทิศทำให้การค้าโลกและการล่าอาณานิคมมีความเป็นไปได้. ประดิษฐกรรมเกี่ยวกับการพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ทำให้ความรู้แพร่กระจายออกไปสู่มวลชนเป็นจำนวนมาก และสามารถเผยแพร่ออกไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งกว่าที่เคยเป็นมาก่อน [มันทำให้มีความเป็นไปได้อย่างถึงที่สุด ในอิสรภาพสำหรับความรู้ทั้งมวล ซึ่งจะพบได้ในโปสเตอร์ต่างๆของฐานยูโทเปีย]

ในช่วงระหว่างยุคเรอเนสซองค์นั้น ความคิดต่างๆเกี่ยวกับยูโทเปียได้ปรากฎตัวขึ้นมาพร้อมกับความก้าวหน้า จุดมุ่งหมายก็เพื่อปรับปรุงสังคมในหนทางที่สุดขั้ว. คนแรกๆของบรรดานักคิดยูโทเปียคือ Sir Thomas More ซึ่งเขานำเสนอเกาะในเชิงอุดมคติเกี่ยวกับยูโทเปีย(conceptual island of Utopia). มันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ถึงสังคมร่วมสมัยของเขาในประเทศอังกฤษ และยังเป็นการนำเสนอรูปแบบซึ่งเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของสังคมที่สมบูรณ์แบบด้วย

ในโลกหรือเกาะแห่งนี้ แรงงานในทุกๆรูปแบบ ทั้งแรงงานฝีมือและแรงงานปกติ ต่างได้รับการยกย่อง ให้เกียรติ และเพศสภาพต่างๆ(ชาย-หญิง)ล้วนมีความเท่าเทียมกัน. ไอเดียเกี่ยวกับยูโทเปียในยุคเรอเนสซองค์ คือสังคมในกาลก่อนที่ถูกทำให้สมบูรณ์ ไม่ต้องการความก้าวหน้ามากไปกว่านี้ เพียงต้องการให้มีเสถียรภาพมั่นคงเท่านั้น

ในคริสตศตวรรษที่ 17 นักคิดผู้ยิ่งใหญ่ Francis Bacon ได้นำเสนอและเร่งให้เกิดระบบคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และมันได้ครอบงำหรือมามีอิทธิพลเหนือความคิดตะวันตก. แต่อย่างไรก็ตาม นักปรัชญา Thomas Hobbes ในงานวรรณกรรมของเขา Leviathan (1651) ได้ถกว่า "ความมั่นคงและเสถียรภาพ"คือสิ่งที่สำคัญเหนือกว่า"การแข่งขันและความก้าวหน้า" ซึ่งอย่างหลังนี้ได้ปลุกเร้าความอิจฉาริษยา และปราศจากความร่วมมือกันในท่ามกลางมนุษย์. ทั้ง Hobbes และบรรดานักคิดยูโทเปียของคริสตศตวรรษที่ 16 ต่างเสาะหาความมีเสถียรภาพขั้นสูงสุดสำหรับสังคม

เพื่อที่จะมั่นใจในความมีเสถียรภาพอันนี้, Hobbes ได้ให้เหตุผลว่า รัฐขนาดใหญ่(a leviathan state - รัฐที่มีขนาดใหญ่และมีอำนาจมาก) ควรปกครองเหนือประชากรของตนด้วยอำนาจเผด็จการ. วิธีการของผู้เผด็จการนี้คล้ายคลึงกับระบบสังคมอุดมคติของเพลโต (ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตศักราช) ซึ่งเขาได้อรรถาธิบายในเรื่องอุตมรัฐ(Republic)ของเขา. กษัตริย์นักปรัชญาทั้งหลาย(philosopher-rulers)ของเพลโต ด้วยการช่วยเหลือของทหาร ปกครองสังคมอย่างเข้มงวดเพื่อความดีงามของสังคม. นักปกครองทั้งหลายควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างนับตั้งแต่ทรัพย์สินไปจนกระทั่งถึงการสืบเผ่าพันธุ์ของพลเมือง

ตรงกันข้ามกับ Hobbes ในคริสตศตวรรษที่ 18 นักปรัชญาชาวเยอรมันที่ยิ่งใหญ่ Immanuel Kant และนักเศรษฐศาสตร์ชาวสก๊อต Adam Smith ได้ให้คุณค่าแก่"ความก้าวหน้าและการแข่งขัน"เหนืออื่นใด. ทั้งสองเชื่อว่า"การแข่งขัน"คือสิ่งที่ขับเคลื่อนให้ปัจเจกบุคคลปรับปรุงตัวของพวกเขาเองและสังคม. ระเบียบสังคมได้รับการธำรงรักษาโดยแรงกระตุ้นส่วนตัวของปัจเจกบุคคล: คนๆหนึ่งได้ให้กับสังคม และได้รับผลตอบแทนคืนมาในทางส่วนตัว

ในทัศนะนี้ ผู้คนทำงานด้วยกันเนื่องจากผลประโยชน์ต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน แต่ก็ยังคงสงวนสถานะความเป็นส่วนตัวของพวกเขาเอาไว้ได้. Kant และ Smith รู้สึกว่า เส้นทางอันนี้ของวิทยาศาสตร์และความก้าวหน้า ในท้ายที่สุดแล้ว จะน้อมนำไปสู่ความมีเสถียรภาพและบ่มเพาะมนุษย์ให้งอกงามขึ้น. ในช่วงระหว่างยุคแห่งความสว่างทางปัญญานี้(the Enlightenment), บรรดานักปรัชญาทั้งหลายเห็นว่า โดยผ่านความสามารถทางด้านเหตุผลของมนุษย์ ยูโทเปียบนดินสามารถที่จะบรรลุถึงได้

ในคริสตศตวรรษที่ 18 นักปรัชญาเชื้อสายฝรั่งเศส-สวิสส์ Jean-Jacques Rousseau [ใน Discourse on the Origin and Foundations of Inequality among Men ในปี 1775 ของเขา] ได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับ Kant และ Smith. เขาคิดว่า "ความก้าวหน้าและการแข่งขัน"เป็นสาเหตุของ"ความขัดแย้ง"ท่ามกลางผู้คนทั้งหลาย

คล้ายๆกับปัญญาชนร่วมสมัยคนหนึ่ง Erasmus ซึ่งได้วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับยุคโลกาภิวัตน์, เขาเชื่อว่า "ความก้าวหน้าและการแข่งขัน"นั้น มันทำให้มนุษย์ถูกกีดกันให้พ้นไปจากความเป็นมนุษย์ในเชิงคุณภาพ. ในยุคของเขาและของพวกเราด้วย ผู้คนโดยถัวเฉลี่ยทำงานไปจนกระทั่งถึงวันตายในงานต่างๆซึ่งเป็นที่ต้องการของพวกเขาเอง "เพื่อพร้อมที่จะอยู่" (Erasmus: 29) ผู้คนต่างทำงานเพื่อบรรลุถึงสิ่งที่ไม่มีแก่นสารใดๆเพื่อสถานภาพทางสังคม

ทุกวันนี้ สื่อสารมวลชนทั้งหลายต่างขับเคลื่อนผู้คนไปสู่การบริโภคสินค้าที่ไม่จำเป็นมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาก่อน ในตลาดที่ถูกทำให้เป็นโลกาภิวัตน์. Rousseau, เหมือนๆกันกับนักคิดยูโทเปียสังคมนิยมซึ่งมาที่หลังเขา, เริ่มต้นว่า ความเจริญงอกงามของความต้องการต่างๆ ควรจะถูกควบคุมอย่างมีเหตุผล เขามองเห็นว่า รัฐทุนนิยมได้ทำให้ความไม่เสมอภาคเป็นอมตะขึ้น ระหว่างความรวยและความจน โดยทำให้ความไม่เท่าเทียมหรือความไม่เสมอภาคกลายเป็นสถาบันขึ้นมาในเรื่องสิทธิในด้านทรัพย์สิน (Erasmus: 30)

Rousseau เป็นผู้ที่ได้รับความสนใจและเป็นผู้มีอิทธิพลอย่างสำคัญคนหนึ่งต่อลัทธิโรแมนติคของเยอรมันและอังกฤษ ทั้งนี้เนื่องมาจากสถานการณ์ที่ไม่ค่อยดีนักเกี่ยวกับมนุษยชาติ. เขาเชื่อว่ามนุษย์ไม่ได้เป็นคนที่เห็นแก่ตัวโดยธรรมชาติตามที่ลัทธิทุนนิยมเชื่อ, ตรงข้าม มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่มีจิตใจดีงาม, เป็นสิ่งมีชีวิตที่ร่วมไม้ร่วมมือกัน ซึ่งสังคมที่เหมาะสมสามารถอบรมบ่มเพาะได้

ในสังคมอุดมคติของ Rousseau กฎเกณฑ์ต่างๆได้รับความไว้วางใจให้อยู่ในมือของผู้คนทั้งหลาย. สังคมโดยตัวของมันเองจักต้องมีขนาดเล็ก. กฎหมายต่างๆถูกสร้างขึ้นมาโดยตรงจากเจตจำนงทั่วๆไปของผู้คน โดยผ่านที่ประชุมขนาดเล็ก [ฐานปฏิบัติการยูโทเปีย ก็มีความคล้ายคลึงกับการพบปะกันในเมืองอุดมคติเหล่านี้ ซึ่งมันได้สร้างกฎเกณฑ์ต่างๆขึ้นมา, รวมไปถึงกิจกรรมหลายหลาก, และผลงานติดตั้งต่างๆ ดั่งที่มันดำเนินไป]. ความเป็นปัจเจกจะหลอมรวมเข้ากับอัตลักษณ์ของกลุ่ม. ทุกๆคนจะต้องรับผิดชอบ และมีคำอธิบายที่มีเหตุผล ด้วยเหตุนี้ มันจึงไม่มีห้องว่างสำหรับการขาดความรับผิดชอบและความไม่ซื่อสัตย์สุจริต

ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19 การปฏิวัติทางการเมืองและอุตสาหกรรมในทวีปยุโรป ได้นำไปสู่การพัฒนาเกี่ยวกับนักคิดยูโทเปียสังคมนิยม ผู้ซึ่งไม่เหมือนกับบรรดานักคิดยูโทเปียก่อนหน้านั้น พวกเขาเรียกร้องต้องการสังคมใหม่ในทางปฏิบัติที่เป็นจริง. ความแตกต่างหลากหลายอันหนึ่งของปัจเจกบุคคล อย่างเช่น Charles Fourier จากฝรั่งเศส และ Robert Owen จากอังกฤษ ไม่เพียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับสังคมเท่านั้น แต่ยังนำเสนอแผนการณ์ที่แน่นอนตายตัวสำหรับระบบสังคมในอุดมคติอันหนึ่งด้วย

ทั้งคู่เชื่อในความร่วมมือกันของกลุ่มคน แต่ Fourier ให้อำนาจปกครองที่เป็นอิสระต่อปวงชนมากกว่ามอบอำนาจอธิปปัตย์ให้ไปอยู่ในมือของผู้เผด็จการ ซึ่งทัศนะอันหลังนี้ Owen ให้การสนับสนุน

ลัทธิสังคมนิยมแสดงปฏิกริยาโต้ตอบกับความยากจนข้นแค้น ซึ่งเกิดขึ้นมาจากความก้าวหน้าของลัทธิทุนนิยม. Karl Marx และ Federich Engels มองว่า ความก้าวหน้านี้เป็นทั้งคุณและโทษ มีทั้งดีและเลว. แต่อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุด พวกเขารู้สึกว่า ความเลวร้ายได้เป็นมูลเหตุทำให้มนุษย์ถูกกดขี่ และต้องการที่จะหยุดยั้งมันลงโดยการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ

คล้ายคลึงกันกับ Rousseau, พวกเขามีทัศนะว่า มนุษยชาติมีพื้นฐานที่ดีโดยธรรมชาติ. Marx และ Engels เชื่อว่า ความร่วมมือกันทั้งสองฝ่ายท่ามกลางผู้คน เป็นธรรมชาติมากกว่าเสรีภาพส่วนตัวหรือของปัจเจกและการแข่งขัน ซึ่งจะนำไปสู่ความยากจน, ความไม่เสมอภาค, ความไม่ไว้วางใจกัน, และความทุกข์ยากในที่สุด

บรรดานักสังคมนิยมเชื่อว่า ผู้คนทั้งหลายสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนแบบคอมมูนได้ โดยการเสียสละอิสรภาพส่วนตัวเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีร่วมกันของสังคม. ลัทธิสังคมนิยมแนวจารีตมองว่าสังคมหนึ่งๆนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานชีวิตแบบชนบท(ชุมชนเกษตรกรรม). ที่ดินในฐานะทรัพย์สินส่วนรวมเป็นสิ่งที่เชื่อมร้อยผู้คนทั้งหลายเข้าหากัน

ในคริสตศตวรรษที่ 20 มโนคติเกี่ยวกับยูโทเปียของลัทธิสังคมนิยมและลัทธิคอมมิวนิสม์ ได้มีอิทธิพลต่อประเทศอาณานิคมต่างๆในทวีปเอเชีย ซึ่งกำลังต่อสู้เพื่อปลดปล่อยตัวของพวกเขาเองให้ได้รับอิสรภาพจากผู้กดขี่ชาวยุโรปของพวกเขา. อุดมคติที่แข็งแกร่งของโฮจิมินห์, ส่วนผสมอันหนึ่งของลัทธิมาร์กซ์-เลนิน และลัทธิขงจื้อ, ได้น้อมนำให้กลุ่มคอมมิวนิสต์ในเวียดนามไปสู่ชัยชนะที่มีลักษณะพิเศษอันหนึ่งต่ออำนาจจักรพรรดิ์นิยมฝรั่งเศส และถัดจากนั้นจากสหรัฐอเมริกา

แต่อย่างไรก็ตาม คนที่เสียชีวิตจำนวนมากท่ามกลางคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือ มีจำนวนที่สูงอย่างมีนัยสำคัญกว่าผู้คนที่ล้มตายที่เป็นศัตรูในช่วงระหว่างสงครามเวียดนาม ซึ่งเกิดขึ้นมาในช่วงปี ค.ศ. 1954-1975. ชัยชนะของพวกเวียดกง และทหารคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือ เป็นเรื่องหนึ่งที่เหลือเชื่อ ซึ่งปัจเจกชนแต่ละคนต่างยอมสังเวยและเสียสละชีวิตของตนเองเพื่อสิ่งที่ดีกว่าของกลุ่มและสังคม

แต่ลัทธิอุดมคติเกี่ยวกับยูโทเปียนั้น สามารถเปลี่ยนไปสู่การรับใช้ในหนทางที่สวนกระแสกับความอยู่ดีกินดีของชุมชนได้. นับจากปี ค.ศ.1976-1979 ระบอบการปกครองคอมมิวนิสต์ของเขมรแดง ซึ่งนำโดยพอลพต ได้ฆาตกรรมหมู่ผู้คนชาวกัมพูชาของตนเอง ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 1 ล้าน 5 แสนคนทีเดียว

พวกเขามองมันในฐานะที่เป็นความพยายามอันหนึ่ง ที่จะทำให้กัมพูชาบริสุทธิ์จากการคอรัปชั่นในเชิงอุดมคติ. เขมรแดงต้องการที่จะสร้างสังคมเกษตรกรรมขึ้นมา ซึ่งเป็นการขจัดอิทธิพลของต่างๆชาติออกไป. พวกเขาต้องการยูโทเปียแบบชนบทที่สอดประสานกับลัทธิสังคมนิยมแนวจารีต

ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการดังกล่าว, เมืองต่างๆได้ถูกโยกย้าย, โรงเรียนทั้งหลายและโรงงานต่างๆถูกปิดลง, และประชากรได้ถูกต้อนเข้าไปสู่นารวม(collective farms). เพื่อขจัดแอกในฐานะประเทศที่เคยมีอดีตอันด่างพร้อยเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดิ์นิยมของมันทิ้งไป บรรดาปัญญาชนและคนงานที่มีทักษะทั้งหลายจึงถูกประหารเป็นพวกแรกอย่างเป็นระบบ และผู้คนเหล่านี้อีกจำนวนมากต้องถูกฆ่าตายตามมา

ดังเช่นในกรณีของเขมรแดง อุดมคติยูโทเปียสามารถที่จะเปลี่ยนจากการควบคุมด้วยจิตเมตตาไปสู่ฆาตกรรมหมู่ได้อย่างน่าเศร้า เมื่ออยู่ในมือของปัจเจกชนที่ผิดพลาด. บรรดานักวิจารณ์เกี่ยวกับยูโทเปีย บ่อยครั้ง มักจะระมัดระวังเกี่ยวกับลัทธิอำนาจเผด็จการในความคิดเกี่ยวกับยูโทเปียเสมอ

ไอเดียหรือความคิดเกี่ยวกับลัทธิอำนาจเผด็จการ เพื่อประโยชน์ของความมั่นคงปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ตรงประเด็นหรือสอดคล้องกับสหรัฐอเมริกา ที่ซึ่งสงครามกับผู้ก่อการร้ายของรัฐบาล กำลังขุดเซาะหรือทำลายสิทธิของผู้คนลงไปทีละเล็กทีละน้อย ทั้งเรื่องความลับส่วนตัวและอิสระในการพูดและแสดงความคิดเห็น

บรรดานักวิจารณ์เกี่ยวกับยูโทเปียมองไปที่ การริเริ่มของปัจเจก, ความเป็นตัวของตัวเอง, และอิสรภาพเกี่ยวกับการเลือก ที่สวนกระแสกับการบงการหรือการชี้นำแบบเผด็จการ โดยสาธารณชนหรืออำนาจส่วนตัว (Richter: 19) สิ่งที่พวกเขากำลังแสวงหา ไปพ้นจากลัทธิทุนนิยม, ลัทธิสังคมนิยม, และลัทธิคอมมิวนิสม์…

พวกเขากำลังค้นหาสำหรับรัฐๆหนึ่งที่เป็นอนาธิปไตย: การปฏิเสธเกี่ยวกับสถาบันต่างๆทั้งหมด เพื่อประโยชน์ของความเสมอภาค, ชุมชน, อิสรภาพ และให้ความไว้เนื้อเชื่อใจในคุณความดีของมนุษยชาติ. ในคริสตศตวรรษที่ 20 บางกรณีที่เด่นๆของชุมชนอนาธิปไตยได้เจริญเติบโตขึ้นในยุโรป, ทั้งหมดของชุมชนเหล่านั้นมีขนาดเล็กกระทัดรัด

โดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ฐานปฏิบัติการยูโทเปียเป็นส่วนหนึ่งของมรดกตกทอดเชิงสถาบันที่ยิ่งใหญ่ของ Venice Biennale, อนาธิปไตย ยังคงสามารถอธิบายได้ดีที่สุดในฐานะเป็นคุณภาพอื่นๆของมัน. ดังที่ Nochlin โน้มเอียงที่จะบรรยายถึงมัน "ในฐานะเรื่องหยุมหยิม, เป็นเรื่องชั่วคราว, (ไม่มั่นคงถาวร)… เป็นสิ่งที่ยังไม่เสร็จสิ้น, ต่อต้านลักษณะที่เป็นอนุสาวรีย์, ต้องการจะเป็นประโยชน์, อาจไม่น่ารัก … ทั้งหมดแสดงบทบาทหนึ่งในเค้าโครงแนวคิดเกี่ยวกับความคิด, ในเชิงประกอบสร้างหรือรื้อสร้าง, เกี่ยวกับโลกที่ดีกว่าใบหนึ่งขึ้นมา (Nochlin: 179)

ยูโทเปียต่างๆในอดีตประสบกับความล้มเหลว เพราะพวกมันหนีห่างออกจากปัญหาสมัยใหม่ของสังคม มากกว่าที่จะพยายามปรับปรุงสังคมเหล่านั้นในเชิงวิพากษ์. ในการขานรับต่อความเร่าร้อนที่กำลังงอกงามขึ้นเกี่ยวกับปัญหาต่างๆด้านสิ่งแวดล้อมและมนุษย์บนโลกทุกวันนี้ ทางรอดใหม่สุดได้ถูกแสดงบนแผ่นโปสเตอร์ ที่มีชื่อว่า Arcagrup (the art-architects collective) ซึ่งเป็นการนำเสนอเรือลำหนึ่ง ที่ทำขึ้นมาจากวัสดุซึ่งหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ และพลังงานต่างๆจากธรรมชาติ. มันบรรทุกเอาความเชื่อ ความฝัน และสิ่งของต่างๆของมนุษย์. คล้ายกับเรือของโนอาห์(Noah's arc) มันจะนำพาสิ่งเหล่านั้นไปบนเรือ จากความสิ้นสูญสู่ความรอด

ต่อมา แนวความคิดเกี่ยวกับยูโทเปียสามารถจะมีผลกระทบต่อสังคมที่มีปัญหาทุกวันนี้ได้อย่างไร? เราสามารถเริ่มต้นด้วยผลกระทบที่มีต่อสัดส่วนขนาดเล็ก ดังที่ Rousseau ได้นำเสนอ. ยูโทเปียในทางปฏิบัติที่เป็นจริงในอดีต เคยประสบความสำเร็จเพียงในสเกลที่เป็นส่วนตัวเท่านั้น

การปฏิวัติเล็กๆที่สอดแทรกเข้าไปในชีวิตประจำวัน จะเพิ่มเติมการต่อต้านมากขึ้น (คล้ายดังภาพ Cirugeda ของ Karl Holmquist เขาได้ปะปิดเครื่องหมายของตัวเขาเองเกี่ยวกับการต่อต้านในลักษณะล้มล้างลงบนพื้นที่อาคารเครือข่ายธุรกิจ อย่าง 7- eleven store ซึ่งปัจจุบันสามารถพบเห็นได้เกือบทุกมุมเมืองของประเทศไทย และส่วนอื่นๆของโลก)

ศิลปินบางคนได้ไปไกลกว่านั้น ในการฉีดงานศิลปะของพวกเขาเข้าสู่ชีวิต. ต่อพวกเขา มันไม่มีความแตกต่างระหว่างเขาทั้งสอง. ศิลปินอย่าง Liam Gillick และ Atelier van Lieshout ได้ออกแบบวัตถุที่มีประโยชน์ใช้สอยขึ้นมา. Gillick มองว่า งานของเขาสำหรับฐานปฏิบัติการยูโทเปีย, ม้านั่งและโต๊ะที่ทำด้วยไม้ เป็นเฟอร์นิเจอร์พื้นๆธรรมดาสำหรับผู้มาเยี่ยมชมงานศิลปะจะได้ใช้ประโยชน์. ส่วน Atelier van Lieshout งานของศิลปินนี้เป็นห้องสุขาซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับผู้มาเยี่ยมชมงานศิลปะที่ฐานปฏิบัติการยูโทเปีย

Gillick และ Atelier van Lieshout ดำเนินรอยตามความคิดประโยชน์นิยมของ William Morris, ศิลปินและนักปฏิวัติสังคมของขบวนการเคลื่อนไหวทางด้านศิลปะและหัตถกรรม(Arts and Crafts Movement)ในอังกฤษ ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของคริสตศตวรรษที่ 20. ในโลกของนักคิดยูโทเปีย Morris เห็นว่าศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงอยู่ในชีวิตประจำวัน (Nochlin: 251)

อีกหนทางหนึ่งในการเริ่มต้นยูโทเปียเล็กๆคือ การสร้างพื้นที่ที่เป็นส่วนตัวและคุ้นเคยของชุมชนขึ้นมาให้เป็นรูปเป็นร่าง. ดังที่ได้มีการพูดเอาไว้ในความเรียงชิ้นหนึ่งชื่อว่า "Blueprint for Survival"(พิมพ์เขียวสำหรับความอยู่รอด)(1972), ความรับผิดชอบอย่างสูงเกี่ยวกับสังคมขนาดเล็ก เมื่อรวมเข้ากับระดับใหญ่, การเคลื่อนไหวในเชิงพื้นที่, ประชากรมนุษย์จะบริโภคเกินปกติน้อยลง และอันตรายจากสิ่งแวดล้อมจะลดลง (Erasmus: 41) ด้วยเหตุนี้ โดยการเริ่มต้นเล็กๆ การเกาะกันของชุมชน และความรับผิดชอบร่วมกัน จะถูกทำให้เป็นธรรมชาติมากกว่าสิ่งที่แพร่หลายในปัจจุบันที่ยอมรับกัน, เช่น ความวุ่นวายสับสนของเมืองซึ่งผู้คนอาศัยอยู่ด้วยการแข่งขัน

ความคิดอันหนึ่งที่ได้รับการแสดงออกโดย Archigram, ซึ่งเป็นกลุ่มสถาปนิกยูโทเปียในช่วงทศวรรษที่ 1960s กลุ่มหนึ่ง เป็นสังคมขนาดเล็ก, เคลื่อนที่ได้ในลักษณะเสียบต่อหรือหน่วยของการอยู่อาศัย(plug-ins or living units). หน่วยต่างๆเหล่านี้เสียบต่อเข้ากับอีกหน่วยหนึ่งได้อย่างอิสระ เช่นเดียวกับโครงสร้างทั้งหมด. แผนการณ์นั้น โดยแก่นแท้แล้ว ได้สร้างชุมชนหนึ่งของชุมชนต่างๆขึ้นมา. ฐานปฏิบัติการยูโทเปีย ตัวของมันเองนั้น เป็นการเสียบต่อเล็กๆอันหนึ่งกับเครือข่ายโลกขนาดใหญ่กว่าอันหนึ่งของการพูดคุยหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

นอกจากนี้ยังมีศิลปินคนอื่นๆอีกที่แสดงให้เห็นถึงไอเดียหรือความคิดอันนี้เกี่ยวกับโครงสร้างขนาดเล็กที่มีลักษณะยืดหยุ่น, และร่อนแร่หรือท่องเที่ยวไป อย่างเช่นผลงานของ Nils Norman, ในผลงาน Geocruiser, 2003, เป็นพาหนะที่แท้จริงเกี่ยวกับความรับผิดชอบความเป็นอยู่ในทางนิเวศวิทยา. ส่วนผลงานอีกชิ้นหนึ่งเป็นภาพโปสเตอร์ ศิลปิน Didier Fiuza Faustino สนับสนุนไอเดียเกี่ยวกับ บ้านเนื้อที่หนึ่งตารางเมตร(One Square Meter House), เป็นสถานที่ซึ่งสามารถสร้างขึ้นที่ไหนก็ได้ที่ไปถึง

บรรดาศิลปินของ the Land Project (ซึ่งอยู่นอกเมืองเชียงใหม่)ได้รับการสร้างขึ้นมาในสัดส่วนขนาดเล็ก, เป็นบ้านหลายหลังซึ่งเคลื่อนที่ และเป็นสถานที่ซึ่งใช้ในการแลกเปลี่ยนความคิดและมีปฏิกริยาต่อกันในเชิงทฤษฎี. พวกเขาได้สร้างหมู่บ้านโลกเล็กๆแห่งหนึ่งขึ้นมา. บ้านต่างๆมีขนาดเนื้อที่เพียง 2 X 4 เมตรเท่านั้น ใหญ่กว่า One Square Meter House ของ Faustino ไม่มากนัก

ณ ฐานปฏิบัติการยูโทเปีย หนึ่งในบรรดาศิลปินของ the Land, Alicia Framis, ได้แสดงให้เห็นงานออกแบบบ้านของเธอ ที่สร้างขึ้นมาจากแผ่นป้ายโฆษณา (Alicia Framis, Billboard Thailand house, 2000. Wood and Billboards, architect in charge Paz Martin)

คล้ายๆกับโครงการ the Land, ฐานปฏิบัติการยูโทเปียเป็นสถานที่หนึ่งสำหรับผู้คนเพื่อหยุดพัก, สะท้อน, และมีปฏิกริยาต่อกันและกัน. มันถูกให้นิยามไม่เพียงโดยวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายต่างๆของตัวมันเท่านั้น แต่โดยกิจกรรมต่างๆซึ่งกระตุ้นเร้าภายใต้พื้นที่ดังกล่าวด้วย อย่างเช่น มีการบรรยาย, การแสดง, และโปรแกรมภาพยนตร์

การสนทนาที่ฐานปฏิบัติการหรือสถานียูโทเปียนั้น จะพูดคุยกันถึงสารัตถะทางสุนทรีย์ต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์บนโลกของเราใบนี้. ภัณฑารักษ์ของงานนี้มองแนวคิดเกี่ยวกับยูโทเปียในฐานะที่เป็นตัวเร่งปฏิกริยาสำหรับการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

[Dara Birnbaum. Poster for the International Banner of Peace by Nicolas Roerich. "ที่ใดที่มีสันติภาพ, ที่นั่นมีวัฒนธรรม, ที่ใดที่มีวัฒนธรรม, ที่นั่นมีสันติภาพ"(where There is Peace, There is Culture. Where There is Culture, There is Peace). ธงสันติภาพโลกได้รับการออกแบบขึ้นมาเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1935 เพื่อปกป้องพิพิธภัณฑ์ต่างๆ, โรงเรียน, และสถานที่ทางวัฒนธรรม(cultural landmark)จากการถูกทิ้งระเบิด. ในยุคของสงครามและการทำลายล้างช่วงนี้ มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำมันกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อีกครั้ง เพื่อปกปักรักษาความหวังและความคิดของมนุษยชาติเพื่อความอยู่รอด]

และมันมีความหวังสำหรับความเปลี่ยนแปลง --- สำหรับนักมานุษยวิทยาอย่าง Charles Erasmus กล่าวเอาไว้ว่า มนุษยชาติเป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดการณ์ได้และรู้จักการปรับตัว ด้วยความสามารถระดับสูงเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาต่างๆของโลกนี้. คล้ายคลึงกับบรรดานักคิดยูโทเปียทั้งมวลจากศตวรรษก่อนๆ ชุมชนของฐานปฏิบัติการยูโทเปียได้เสนอความเป็นไปได้ต่างๆสำหรับวิธีการหรือหนทางใหม่ๆของความคิดและการดำรงอยู่ให้กับผู้คน

 

BIBLIOGRAPHY for Utopia Lecture 12/15/03

Collins, Steven. Nirvana and other Buddhist felicities: utopias of the Pali imaginaire. Cambridge, NY: Cambridge University Press, 1998.

Erasmus, Charles J. In Search of the Common Good: Utopian Experiments Past and Future. New York: Free Press, 1997.

Kanter, Rosabeth Moss. Commitment and Community: Communes and Utopias in Sociological Perspective. Cambridge, MA: Harvard University Press, 1972.

Loubere, Leo A. Utopian Socialism: Its History since 1800. Cambridge, MA: Schenkman, 1974.

More,Thomas. Utopia. London: Everyman, 1994.

Richter, Peyton E. Utopias: Social Ideals and Communal Experiments. Boston: Holbrook Press, 1971.

ภาพประกอบ 1.ผลงานภาพโปสเตอร์ ศิลปิน Didier Fiuza Faustino สนับสนุนไอเดียเกี่ยวกับ บ้านเนื้อที่หนึ่งตารางเมตร
(One Square Meter House), เป็นสถานที่ซึ่งสามารถสร้างขึ้นที่ไหนก็ได้ที่ไปถึง
ภาพประกอบที่ 2. Poster for the International Banner of Peace by Nicolas Roerich.
"ที่ใดที่มีสันติภาพ, ที่นั่นมีวัฒนธรรม, ที่ใดที่มีวัฒนธรรม, ที่นั่นมีสันติภาพ"

ภาพประกอบที่ 3. ความคิดอันนี้เกี่ยวกับโครงสร้างขนาดเล็กที่มีลักษณะยืดหยุ่น, และร่อนแร่หรือท่องเที่ยวไป ผลงานของ Nils Norman
ชื่อว่า Geocruiser, 2003, เป็นพาหนะเกี่ยวกับความรับผิดชอบความเป็นอยู่ในทางนิเวศวิทยา.
ภาพประกอบที่ 4. the Land Project (ซึ่งอยู่นอกเมืองเชียงใหม่)ได้รับการสร้างขึ้นมาในสัดส่วนขนาดเล็ก, เป็นบ้านหลายหลังซึ่งเคลื่อนที่ และเป็นสถานที่ซึ่งใช้ในการแลกเปลี่ยนความคิดและมีปฏิกริยาต่อกันในเชิงทฤษฎี. พวกเขาได้สร้างหมู่บ้านโลกเล็กๆแห่งหนึ่งขึ้นมา. บ้านต่างๆมีขนาดเนื้อที่เพียง 2 X 4 เมตรเท่านั้น ใหญ่กว่า One Square Meter House ของ Faustino ไม่มากนัก
Alicia Framis, ได้แสดงให้เห็นงานออกแบบบ้านของเธอ ที่สร้างขึ้นมาจากแผ่นป้ายโฆษณา
(Alicia Framis, Billboard Thailand house, 2000. Wood and Billboards, architect in charge Paz Martin)

 

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

จากบทความต้นฉบับภาษาอังกฤษ The Concept of Utopia : Utopia Station เขียนโดย Karen Demavivas
H

เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เปิดขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้ โดยไม่มีเงื่อนไขทางการศึกษา วัฒนธรรม การเมืองและเศรษฐกิจใดๆมาเป็นอุปสรรค และยังมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตความรู้ขึ้นมาเพื่อพัฒนาประเทศ อย่างยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรม
ภาพรวมของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ประกอบด้วย บทความทางวิชาการ บทความแปลและเรียบเรียง บทความถอดเทป บทความจากสมาชิกมหาวิทยา ลัยเที่ยงคืน ข่าว และกระดานแสดงความคิดเห็น (ในส่วนของกระดานความคิดเห็น เปิดบริการเพื่อเป็นช่องทางการนำเสนอข้อมูลอย่างหลากหลาย ทั้งข่าวท้องถิ่น ข่าวสารจากประเทศเพื่อนบ้าน บทความวิชาการที่น่าสนใจ)

แต่ลัทธิอุดมคติเกี่ยวกับยูโทเปียนั้น สามารถเปลี่ยนไปสู่การรับใช้ในหนทางที่สวนกระแสกับความอยู่ดีกินดีของชุมชนได้. นับจากปี ค.ศ.1976-1979 ระบอบการปกครองคอมมิวนิสต์ของเขมรแดง ซึ่งนำโดยพอลพต ได้ฆาตกรรมหมู่ผู้คนชาวกัมพูชาของตนเอง ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 1 ล้าน 5 แสนคนทีเดียว พวกเขามองมันในฐานะที่เป็นความพยายามอันหนึ่ง ที่จะทำให้กัมพูชาบริสุทธิ์จากการคอรัปชั่นในเชิงอุดมคติ. เขมรแดงต้องการที่จะสร้างสังคมเกษตรกรรมขึ้นมา
ในคริสตศตวรรษที่ 16 นักปรัชญามนุษยนิยมชาวอังกฤษ Sir Thomas More ได้สร้างศัพท์คำว่า"ยูโทเปีย"(Utopia)ขึ้นมาจากคำในภาษากรีก eu-topia ซึ่งหมายถึง"Good Place"(สถานที่ที่ดี) และเสียงของคำนี้ได้ไปพ้องกับคำในภาษากรีกว่า ou-topia ซึ่งหมายความว่า"No-place"(ไม่มีที่ใด) ศัพท์คำว่า"ยูโทเปีย"ได้ขยายความมาจากความหมายพื้นฐานทั้งสองนี้. (-080147-)