ทะลุทะลวงความสัมพันธ์เชิงอำนาจ กรณีโครงสร้างระบบสุขภาพ / บทความถอดเทปใหม่ ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความถอดเทปนี้ เป็นการสนทนากันระหว่าง นักศึกษาพยาบาลที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหิดล ติดต่อมาเพื่อขอร่วมพูดคุยกับคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2544 เวลา 14.00-17.00 น. มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเห็นว่า การสนทนากันครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจโครงสร้างระบบสุขภาพ และความสัมพันธ์เชิงอำนาจเกี่ยวกับบุคลากรในวงการสาธารณสุข จึงนำมาเผยแพร่ในที่นี้สำหรับนักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน

โครงสร้างการรักษาพยาบาลที่ Foucault พูดถึงนี่ มันเป็นโครงสร้างอำนาจ ไม่ใช่โครงสร้างของการดูแลตัวเอง หรือเป็นนายตัวเอง อันนี้ไม่ใช่. โครงสร้างสุขภาพที่เราจัดการมาในสองสามร้อยปีที่ผ่านมา มันเป็นโครงสร้างอำนาจโดยมีโรงพยาบาลเป็นกระทรวงกลาโหมของโครงสร้างอันนี้ อันนี้คือประเด็นที่ผมอยากพูดถึง....

แต่ถ้าพยาบาลคิดว่า ตัวน่าจะมีบทบาทอยู่ในสถาบันที่พวกหมอได้สัมปทานไปหมดแล้ว ผมว่ามันไม่มีทาง. นอกจากว่าต้องสู้กันอย่างหนัก ล้มล้างกัน ทะเลาะกัน ทำสงครามกัน เพื่อจะชิงเอาตัวสถาบันนี้กลับคืนมา และผมไม่แน่ใจว่าไอ้ตัวสถาบันแบบนี้ ตกอยู่ในมือพยาบาลจะดีกว่าตกอยู่ในมือหมอ

นิธิ เอียวศรีวงศ์

CP
MP
WB
contents P.
member P.
webboard
หากภาพ และ ตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลงมา จะแก้ปัญหาได้
ภาพประกอบโดย Marcel Paquet Botero ชื่อภาพ The Grandmother เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ 1982.
H
home
181044
release date

his
midnight's
history
Free Remote Education for All : Midnight University 2001
next page

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ขอเชิญ นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน
เข้าร่วมในพิธีมอบ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตและรางวัลชุมชนเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ในวันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม 2544
กิจกรรมอันเนื่องในวาระพิเศษนี้ เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 09.30 - 16.30 น.
ณ รีสอร์ท ลุงสมคิด สนธิ อ.บ้านกรูด จ.ประจวบคีรีขันธ

คณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน จะเดินทางไปยังชุมชนบ้านกรูด จ.ประจวบคีรีขันธ์
เพื่อทำพิธีมอบ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต เป็นครั้งแรก แก่
คุณจินตนา แก้วขาว และ คุณเจริญ วัดอักษร
พร้อมทั้งรางวัลชุมชนเข้มแข็งแก่ ชาวชุมชนบ้านกรูดและบ่อนอก

สำหรับกำหนดการในพิธีดังกล่าว ประกอบด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้

วันที่ 22 ตุลาคม 2544

09.00 น. เปิดการเสวนามหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ในหัวข้อเรื่อง
"นโยบายพลังงานที่มีผลกระทบต่อชุมชนในท้องถิ่น"
นำเสวนาโดย นิธิ เอียวศรีวงศ,์ ภินันท์ โชติรสเสรณี, นพ. ราษฎร์ ประดิษบ์สถาวงศ์
และ ชาวบ้านกรูด - บ่อนอก

11.30 น. พิธีมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน แก่
จินตนา แก้วขาว และ เจริญ วัดอักษร

11.33 น. พิธีมอบรางวัลชุมชนเข้มแข็ง แก่ ชุมชนบ้านกรูด - บ่อนอก(โดย สุลักษณ์ ศิวรักษ์)

11.35 น. สุนทรกถา โดย สุลักษณ์ ศิวรักษ์

12.00 น. เลี้ยงอาหารกลางวันแบบประหยัดแก่ชาวบ้านกรูดและบ่อนอก

13.30 น. อภิปรายเรื่อง "ถ้าไม่มีโรงไฟฟ้า บ้านกรูดและบ่อนอกจะอยู่อย่างไร ?"
โดย จินตนา แก้วขาว, เจริญ วัดอักษร, สุชิน ช่อระหงษ์
และ แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นโดยชาวบ้านกรูด - บ่อนอก

(หมายเหตุ : กำหนดการและวิทยากร บางรายการอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความเหมาะสม)

รายงานบรรยากาศการมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิต
และรางวัลชุมชนเข้มแข็ง บ่อนอก และ บ้านกรูด จ.ประจวบคีรีขันธ์

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอแถลงว่า มหาวิทยาลัยไม่เห็นด้วยกับความรุนแรงทุกรูปแบบ อย่างไรก็ตาม การประกาศต่อต้านการใช้ความรุนแรงเฉยๆ ย่อมไม่อาจยุติการใช้ความรุนแรงได้ จำเป็นที่สังคมควรเข้าใจโครงสร้างความรุนแรงทั้งระบบ มากกว่าการหยิบเอาอุบัติการณ์แต่ละครั้งขึ้นมาประณาม

เมื่อรัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมาตัดสินใจอนุมัติให้บริษัทต่างชาติสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่บ่อนอกและบ้านหินกรูด รัฐบาลเพียงแต่อนุมัติตามข้อเสนอของบริษัทว่าทำเลทั้งสองเหมาะสมที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ด้วยเหตุผลทางธุรกิจเป็นสำคัญ นั่นก็คือมีทะเลซึ่งสามารถสร้างสะพานลำเลียงถ่านหินจากเรือได้สะดวก สามารถซื้อหาที่ดินได้ในราคาไม่แพงเกินไป ตั้งอยู่ในทำเลที่เป็นรอยต่อของภาคใต้และภาคกลางซึ่งจะทำให้มีการสูญเสียพลังไฟฟ้าในสายส่งน้อยที่สุด ไม่ว่าจะส่งไฟฟ้าลงภาคใต้หรือขึ้นมาสู่ภาคกลาง

รัฐบาลไม่เคยพิจารณาว่า วิถีชีวิตของชาวบ้านในบ่อนอกและหินกรูดเป็นอย่างไร เป็นวิถีชีวิตที่สอดคล้องหรือไม่กับการมีโรงไฟฟ้าถ่านหินในท้องถิ่น และวิถีชีวิตเช่นนั้นมีทางเลือกในการพัฒนาอะไรอีกบ้าง ทางเลือกเหล่านี้จะถูกขัดขวางให้เป็นไปไม่ได้เพราะการสร้างโรงไฟฟ้ามากน้อยเพียงไร

กล่าวโดยสรุป รัฐบาลเอาข้อได้เปรียบในเชิงพาณิชย์ของทุนขนาดใหญ่เป็นตัวตั้ง แล้วคาดหวังว่าความได้เปรียบทั้งหลายของชาวบ้าน หากจะมีอยู่ประการใด ต้องโอนอ่อนไปตามความได้เปรียบเชิงพาณิชย์ของทุนจนหมดประตู เช่นถ้ามีการประมงชายฝั่งที่อุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านก็ต้องสังเวยความอุดมสมบูรณ์นี้ให้แก่บริษัทโรงไฟฟ้าซึ่งจะสามารถลดต้นทุนเบื้องต้นไปได้นิดหน่อย

แท้จริงแล้ว หากต้องมีฝ่ายใดลงทุนเบื้องต้นเพิ่มขึ้น ทุนขนาดใหญ่อย่างบริษัทโรงไฟฟ้าสามารถดูดซับทุนที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ไม่ยากเลย เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณของทุนทั้งหมดที่ต้องใช้แล้วมีจำนวนน้อยนิดเดียว เช่นถ้าเลือกทำเลอื่นที่มีผลกระทบน้อย แต่ต้องสร้างระบบลำเลียงถ่านหินสูงขึ้น ก็เป็นสัดส่วนเพียงนิดเดียวของทุนโรงไฟฟ้าทั้งหมด แต่รัฐบาลก็เลือกที่จะช่วยให้ทุนขนาดใหญ่ประหยัด โดยผลักภาระเหล่านี้ให้แก่คนเล็กๆ ที่เป็นชาวประมง ซึ่งไม่มีกำลังเงินที่จะเปลี่ยนเรือและเครื่องเพื่อไปทำประมงในทำเลไกลๆ ได้เลย

นี่เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างประการแรกที่ครอบงำทุกคนไปหมด และภายใต้โครงสร้างเช่นนี้ ก็ยากมากที่ทุกฝ่ายจะหลีกเลี่ยงความรุนแรงได้

การตัดสินใจของคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติที่จะกระจายแหล่งเชื้อเพลิงของการผลิตไฟฟ้าเป็นถ่านหิน ก็เป็นการตัดสินใจที่พิจารณาทางเลือกอื่นๆ น้อยมาก จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่มีใครเคยเห็นผลการศึกษาอย่างละเอียดของกพช.ว่า ได้พิจารณาประเมินแหล่งพลังงานต่างๆ รวมทั้งพลังงานทางเลือกไว้อย่างไร ไม่ว่าจะในทางเศรษฐกิจ, ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม การตัดสินใจของกพช.จึงไม่ได้เป็นไปตามหลักวิชาอะไรทั้งสิ้น นอกจากการชี้นำของเจ้าหน้าที่ประจำ

การตัดสินใจนโยบายสาธารณะในลักษณะนี้เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่อันตรายเช่นกัน เพราะผู้ตัดสินใจนโยบายที่กระทบต่อผู้คนอย่างไพศาล ไม่ต้องรับผิดชอบชี้แจงการตัดสินใจของตนให้สังคมได้ตรวจสอบเลย สังคมจะยับยั้งการตัดสินใจผิดพลาดโดยสันติได้อย่างไร

เมื่อรัฐบาลตัดสินใจอนุมัติให้บริษัททุนขนาดใหญ่สร้างโรงไฟฟ้าที่บ่อนอกและหินกรูดแล้ว ก็เท่ากับเปิดให้ทุนขนาดใหญ่ลงมาเผชิญกับชาวบ้านตัวเล็กๆ ในท้องถิ่นโดยไม่มีรัฐคอยควบคุมตรวจสอบ และดังที่ทราบกันทั่วไปอยู่แล้วว่า เจ้าหน้าที่รัฐนั้นซื้อได้ ฉะนั้นบริษัทจึงยิ่งสามารถผลักภาระต้นทุนไปให้แก่สังคมได้มากขึ้น นับตั้งแต่การรังวัดที่ดินและลำรางสาธารณะซึ่งมีข้ออันควรเชื่อได้ว่าถูกรังวัดเข้าไปในเขตเช่าหรือเขตที่ดินของบริษัท หรือการทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีคุณภาพและถูกชาวบ้านจับความผิดพลาดได้เป็นอันมาก จนแม้แต่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ก็ไม่สามารถผ่านการอนุมัติให้แก่ผลการศึกษานั้นได้

ความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านและบริษัทบานปลายออกไปทุกที โดยไม่มีรัฐบาลใดลงมาเป็นคนกลางที่เที่ยงธรรม เพื่อหาทางระงับความขัดแย้งนั้นไม่ให้นำไปสู่ความรุนแรง แม้แต่จัดเวทีประชาพิจารณ์ ก็จัดในลักษณะที่ไม่เป็นที่ยอมรับของชุมชนในท้องถิ่น ซึ่งเท่ากับเป็นการสูญเสียเงินเปล่าประโยชน์ การปล่อยให้ความขัดแย้งดำเนินไปโดยผู้รับผิดชอบไม่ลงมาทำให้ทุกอย่างขาวสะอาดโปร่งใส ก็เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่ยากจะหลีกเลี่ยงการใช้กำลังเข้าปะทะกัน

ด้วยเหตุดังนั้น ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา ชาวบ้านได้เผชิญกับการใช้ความรุนแรงในหลายรูปแบบ นับตั้งแต่ลอบยิงผู้นำ, เผาบ้าน, และข่มขู่ด้วยอาวุธสงคราม หรือการจ้างมือปืนจากต่างถิ่นมาคุกคามชาวบ้านด้วยประการต่างๆ ถ้านักการเมืองจะพูดว่าชาวบ่อนอกบ้านกรูดทำตัวเป็นรัฐอิสระ ผู้บริหารบ้านเมืองเองนั่นแหละที่ปล่อยให้เกิดสภาพรัฐอิสระเช่นนี้มานานแล้ว เพราะคดีที่ชาวบ้านถูกทำร้ายร่างกายและทรัพย์สิน ยังไม่เคยจับตัวคนร้ายได้เลยสักคดีเดียว

ใครที่ต้องใช้ชีวิตในรัฐอิสระที่เต็มไปด้วยความหวาดระแวงต่อกันเช่นนี้จะทำอย่างไร หนทางเดียวคือการรวมกลุ่มกันเพื่อรักษาผลประโยชน์และไม่หวังพึ่งความเป็นธรรมจากรัฐ และในขณะเดียวกันก็อาจใช้ความรุนแรงตอบโต้ในบางกรณี ซึ่งนับว่าน่าเสียใจ อย่างไรก็ตาม เมื่อดูถึงกรณีที่ชาวบ้านใช้ความรุนแรงตอบโต้กับความรุนแรงที่ตนเผชิญอยู่ ก็น่าจะถือว่าชาวบ้านบ่อนอกและหินกรูดมีความอดทนเป็นเยี่ยมอยู่แล้ว

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆ เช่นกรณีที่ชาวบ้านบ่อนอกได้ทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ของโรงไฟฟ้า เมื่อเกิดการโต้เถียงกันด้วยพฤติกรรมที่น่าหวาดระแวงของฝ่ายโรงไฟฟ้า แท้จริงแล้วเป็นเพียงส่วนย่อยๆ ส่วนเดียวของความรุนแรงเชิงโครงสร้าง และกรณีใช้ความรุนแรงซึ่งทั้งสองฝ่ายกระทำต่อกันมาภายใต้โครงสร้างนั้นเป็นเวลานานแล้ว

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงใคร่เรียกร้องให้สังคมไทยช่วยกันสร้างความเข้าใจให้กระจ่างเกี่ยวกับความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ซึ่งผู้รับผิดชอบมีมากกว่าคู่พิพาทในกรณีต่างๆ โดยเฉพาะนักการเมืองที่อาสาเข้ามาบริหารบ้านเมือง เราไม่ควรหลงคารมของนักการเมืองที่กล่าวหาชาวบ้านว่าตั้งรัฐอิสระซึ่งตัวยอมไม่ได้ เพราะนั่นคือกลวิธีที่จะหลบหลีกความรับผิดชอบของตัวเท่านั้น หากยอมรับรัฐอิสระไม่ได้ เหตุใดในฐานะผู้บริหารบ้านเมือง จึงปล่อยความรุนแรงเชิงโครงสร้างเช่นนี้ให้ดำเนินไปโดยไม่ได้ขยับลงไปแก้ไขปรับปรุงแต่อย่างใดทั้งสิ้น

ไม่เฉพาะแต่ที่บ่อนอกและบ้านกรูดเท่านั้น คนไทยในท้องถิ่นต่างๆ กำลังเผชิญกับความรุนแรงในหลายรูปแบบ เพราะเราต่างถูกครอบงำอยู่ภายใต้โครงสร้างความรุนแรงเหมือนๆ กัน ยิ่งเราต่างตกอยู่ภายใต้การบริหารของนักการเมืองที่ปัดความรับผิดชอบอย่างพล่อยๆ หรือสร้างสปอตโฆษณาไปวันๆ ความรุนแรงเชิงโครงสร้างก็จะยิ่งผลิตความรุนแรงเป็นกรณีให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางไปทุกหย่อมหญ้า

ถ้าสังคมไทยเข้าใจเรื่องความรุนแรงเชิงโครงสร้างให้กระจ่างชัดดีแล้ว ก็จะสามารถร่วมมือกันกดดันให้ผู้บริหารบ้านเมืองหันมารับผิดชอบและจัดการแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างอยุติธรรมต่างๆ ซึ่งเป็นฐานให้แก่ความรุนแรงเชิงโครงสร้างได้อย่างจริงจัง และโดยวิธีนี้เท่านั้นที่เราจะสามารถเอาตัวรอดจากสันดานดิบของมนุษย์ที่จะต้องทำลายกันเองอย่างมืดบอด ภายใต้โครงสร้างความรุนแรงที่บั่นรอนทุกฝ่ายลงเหมือนๆกัน

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
๒๒ ตุลาคม ๒๕๔๔

(หากภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาด font ลงมา)
หากต้องการเข้าในรากฐานของ Postmodern thinking บุคคลหนึ่งที่เราควรทำความรู้จักก็คือ นิทเช่
ซึ่งฟูโกและเดอริดาได้นำเอาแนวคิดของเขามาใช้ เช่นวิธีการสืบค้นที่เรียกว่า วงศาวิทยา
และรวมไปถึงความคิดเกี่ยวกับการตีความความจริง ที่ทุกศาสตร์ และปรัชญาทุกลัทธิ รวมทั้งศาสนา ต่างก็ตีความความจริงกันทั้งสิ้น
ดังนั้น จึงไม่มีความจริงที่แท้. สิ่งที่กล่าวข้างต้นไม่ใช่ความสำคัญทั้งหมดของเขาที่มีอยู่
ดังนั้น จึงควรอ่านเนื้อความโดยละเอียด หากสนใจกรุณาคลิกที่แบนเนอร์
(ความยาวของบทความ ประมาณ 27 หน้ากระดาษ A4)

H
home