ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 3-50000 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนมิถุนายน 2548 - ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่
นักศึกษา สมาชิกและผู้สนใจ หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 620 เรื่อง หนากว่า 8200 หน้า
ในรูปของ CD-ROM ในราคา 200 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50202 และอย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

การเมือง ศีลธรรม และประชาชน
ประชารัฐประชาธิปไตย
กำพล จำปาพันธ์
นักวิชาการอิสระ สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ได้รับมาจากผู้เขียนเพื่อเผยแพร่บนเว็ปไซต์แห่งนี้
บทความฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 641
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๘

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 2.5 หน้ากระดาษ A4)

 

 

ประชารัฐประชาธิปไตย
เป็นอันยุติลงสำหรับเพลงชาติฉบับแกรมมี่, แต่กรณีที่คุณทักษิณให้สัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ว่าตนข้องใจอยู่นิดนึง ตรงที่เนื้อเพลงมีคำร้อง "ประชารัฐ" ขัดกับรัฐธรรมนูญซึ่งระบุว่า เป็น "ราชอาณาจักร" ตกลงประเทศไทยเราเป็นอะไรกันแน่ ? มีข้อน่าสังเกตอยู่ว่าปัญหานี้สะท้อนความไม่ลงรอยในสำนึกความเป็นชาติ ซึ่งมีบริบทของการให้ความหมายได้มากกว่าหนึ่ง ไม่น่าเชื่อว่าปัญหานี้จะเกิดขึ้นแม้แต่กับนายกฯ

"โอ้นี่ท่านไม่รู้เชียวหรือว่าตัวท่านเองเป็นใหญ่ได้ก็ด้วยภายใต้บริบทความเป็นชาติแบบใด ?"

เราไม่จำเป็นต้องเลือกตอบเพียงคำตอบใดคำตอบหนึ่งแล้วยกให้เป็นคำตอบสุดท้ายที่ถูกต้องที่สุด จะเถียงจะแย้งอีกไม่ได้ เช่น ที่รายการเกมส์โชว์หนึ่งพยายามนำเสนอ ขณะเดียวกันความจำเป็นที่จะต้องให้ความกระจ่างต่อเรื่องนี้ก็ยังมีอยู่…

ทั้ง "ประชารัฐ" และ "ราชอาณาจักร" ต่างก็เป็นคำที่มีความหมายและสำคัญยิ่งทั้งทางประวัติศาสตร์และการเมืองการปกครอง หากผู้นำมีความเห็นโน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่งแล้วนำความเห็นนั้นถ่ายทอดสู่ผู้ตามของเขา จนถึงระดับชาวบ้าน แล้วล่ะก็… มีความเป็นไปได้อย่างมากที่สำนึกเรื่องความเป็นชาติจะเปลี่ยนไปเพราะเรื่องนี้

อันที่จริง "ประชารัฐ" ไม่ใช่คำที่หลวงสารานุประพันธ์นำมาใส่เป็นเนื้อร้องเพลงชาติฉบับปัจจุบันนี้. จากบทความ "เนื้อร้องเพลงชาติ 82" พิมพ์ใน วรรณคดีสาร ฉบับเดือนมิถุนายน พ.ศ.2486 ซึ่งเป็นงานที่หลวงสาราฯ เขียนเล่าถึงเกียรติประวัติของตนที่เป็นผู้แต่งเพลงชาตินั้น ร่างคำร้องฉบับสุดท้ายที่ส่งเข้าประกวด วรรคที่ 2 คือ "เป็นประชาธิปไตยของไทยทุกส่วน" ส่วนสาเหตุที่เพี้ยนมาเป็น "เป็นประชารัฐไผทของไทยทุกส่วน" เช่นปัจจุบันนี้ก็เนื่องจากการแก้ไขโดยพลการ [ไม่แจ้งให้หลวงสาราฯ ทราบเสียก่อน] โดยหลวงวิจิตรวาทการกับพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ

ถึงกระนั้นหลวงสาราฯ ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร แม้จะถูกแก้อยู่หลายจุด หากแต่ที่เป็น "ความเสียใจ" ของหลวงสาราฯ นั้นอยู่ตรงที่การแก้วรรคที่ 6 จาก "ข่มขี่" เป็น "ย่ำยี" เพราะเห็นว่าผิดหลักวิชาบัญญัติลักษณะกลอนที่คำท้ายของวรรคต้องเป็นเสียงเอก จะเป็นวรรคธรรมดา เช่น "ย่ำยี" [เอกราชจะไม่ให้ใครย่ำยี ] ไม่ได้ หลวงสาราฯ จึงเล่าต่อไปว่าตนเป็นผู้จัดการร้องขอให้เปลี่ยนกลับเป็นคำเดิม [คือ "ข่มขี่"] ซึ่งก็น่าสังเกตว่าเป็นไปได้อย่างไรที่หลวงสาราฯ ละเลยการแก้ไขในวรรค 2 [คือ จาก "ประชาธิปไตย" เป็น "ประชารัฐ"] เพราะว่าไปแล้วตรงนั้นมันสำคัญกว่าวรรค 2 อยู่มาก ?

คำอธิบายที่พอจะใช้ได้บ้างมีอยู่อย่างคือ คิดในแง่กลับกันหลวงสาราฯ เล่าถึงการแก้ไขวรรค 6 ว่าเป็นการกระทำที่ประสบผลสำเร็จ แง่หนึ่งจึงเป็นไปได้ว่าการแก้ไขวรรค 2 นั้นไม่ประสบผลสำเร็จ หลวงสาราฯ จึงไม่อยากเล่าถึงนั่นเอง ในแง่นี้จึงไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการพยายามแก้ไขให้เปลี่ยนเป็นคำเดิม [คือคำว่า "ประชาธิปไตย" ] นึกดูแล้วกว่าจะเป็นเพลงชาติฉบับเช่นปัจจุบันนี้มันมีความยุ่งยากไม่น้อย

ด้วยเหตุที่เดิม "ประชาธิปไตย" เป็นคำที่มีความหมายบ่งชี้ถึงระบอบการปกครองแบบไร้กษัตริย์ หลวงวิจิตรวาทการเองในงานเขียนสำคัญ เช่น "การเมืองการปกครองของกรุงสยาม" ก็ยังสะท้อนว่าประชาธิปไตยนั้นเท่ากับ "รีปับลิก" หลวงพิบูลสงคราม นายกฯ สมัยนั้น ซึ่งสนับสนุนการแต่งคำร้องเพลงชาติใหม่ บางครั้งก็พยายามหลีกเลี่ยงนัยที่รุนแรงของ "ประชาธิปไตย" เสมอ
และเมื่อจำเป็นต้องใช้อย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ก็มีบ่อยครั้งที่คณะราษฎร [โดยเฉพาะปรีดี พนมยงค์] จะหันไปใช้ "ราชาธิปไตยใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ" แทน ภายหลังจากการขึ้นสู่อำนาจเต็มที่ของหลวงพิบูลสงครามเวลาต่อมา โดยที่ฝ่ายกษัตริย์นิยมอ่อนแอลงเนื่องจากถูกปราบปรามอย่างหนักจากคณะราษฎร "ประชาธิปไตย" จึงค่อยแพร่หลายเป็นที่นิยมใช้กันอย่างเปิดเผย ขนาดที่กลายเป็นชื่ออนุสาวรีย์ ชื่อวัด ชื่อถนน ฯลฯ

ส่วน "ราชอาณาจักร" นั้นก็คล้ายคลึงกันคือ เดิมรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ก็ไม่มีคำว่า "ราชอาณาจักร" ภายหลังฉบับที่ 2 ที่ประกาศใช้เป็นฉบับถาวรเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 จึงระบุไว้ในมาตรา 1 ว่า "สยามประเทศเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกัน จะแบ่งแยกมิได้" และดังที่ทราบกันคือ รัฐธรรมนูญ 10 ธันวา' เป็นการประนีประนอมกันระหว่างคณะราษฎรกับพระปกเกล้าฯ ความหลากหลายทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม และศาสนา

ในประเทศสยามสำหรับชนชั้นนำ แล้วสร้างปัญหาอย่างสำคัญในทางการเมืองการปกครองมาแต่ครั้งสมบูรณาญาสิทธิราช ปัญหาว่าจะเอาอะไรมาเป็นเครื่องยึดโยงผู้คนหลากหลายเหล่านั้น ให้ขึ้นตรงต่ออำนาจรัฐส่วนกลาง? คณะราษฎรเห็นพ้องกันว่า ต้องหันกลับไปใช้พระบารมีเดิมขององค์มหากษัตริย์ เหตุนี้การประนีประนอมกับสถาบันจึงแลกมาด้วยความสูญเสียทางด้านอุดมการณ์และวัฒนธรรมร่วมสมัย

ภายใต้ราชอาณาจักร, ความหลากหลายของพลเมืองจะถูกหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านจากรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์สู่รัฐประชาชาติ ทีนี้ว่าในเมื่อกษัตริย์ยังมีอำนาจ [แม้อาจเพียงในนามก็ตาม ] อะไรจะเป็นปัจจัยชี้วัดถึงรูปแบบรัฐที่แท้จริง ?

ประชารัฐ หรือ ราชอาณาจักร ?
อย่างที่กล่าวตอนต้นคือเราไม่จำเป็นต้องมีคำตอบสำเร็จรูป สิ่งสำคัญนั้นอยู่ที่การให้ความหมายในแต่ละตัวแปร จากคำตอบที่อาจมีได้เพียงหนึ่ง เราก็อาจเห็นความเป็นไปได้ที่จะมีคำตอบอื่นที่อาจจะถูกต้องด้วยเหมือนกัน เช่น นอกจากประชารัฐกับราชอาณาจักรนี้แล้ว ก็อาจเป็นได้ทั้งสองอย่างพอ ๆ กับที่อาจไม่ใช่ทั้งสองอย่าง ขึ้นอยู่กับบริบทของการใช้เป็นสำคัญ…

ใครที่เชื่อเพลงชาติก็ร้องเป็น "ประชารัฐ" ใครที่ยึดถือตัวบทรัฐธรรมนูญก็อาจบอกเป็น "ราชอาณาจักร" ในเมื่อทั้งเพลงชาติและรัฐธรรมนูญต่างก็ใช้คนละบริบทกัน เพลงชาติที่ช่วยกันร้องบอก "ประเทศไทย…เป็นประชารัฐ" อาจมีประโยชน์อย่างน้อยก็ไว้กล่อมเด็กเวลายืนเข้าแถวหน้าเสาธง ส่วน "ราชอาณาจักร" ในรัฐธรรมนูญอาจมีความสำคัญอย่างน้อยก็ทำให้ผู้นำประเทศไม่เหลิงคิดว่าตนเป็นใหญ่ในแผ่นดินเพียงผู้เดียว เขาอยู่กึ่งกลางความสัมพันธ์อันล่อแหลมระหว่างอำนาจแหล่งใหญ่ของการเมืองสมัยใหม่และจารีตนิยมแบบไทย

แต่หากจะมองอะไรมากกว่านั้น, โดยเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์แล้วเราคงต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เกิดขึ้นในสังคมไทย พ.ศ. 2475 มีผลอย่างสำคัญต่อการเปลี่ยนองค์อธิปัตย์จากกษัตริย์เป็นประชาชน กล่าวได้ว่า "ประเทศไทย" ปัจจุบันมีความเป็นรัฐประชาชาติหรือประชารัฐ [ความหมายเดียวกัน] อยู่มากทีเดียว นายกฯ ไม่พึงสับสน



บทความวิชาการฟรีที่ผ่านมา ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 640 เรื่อง หนากว่า 8400 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

R
relate topic
160848
release date

คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่

เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้

เที่ยงวันคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความมืด เที่ยงคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้... โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com

ใครที่เชื่อเพลงชาติก็ร้องเป็น "ประชารัฐ" ใครที่ยึดถือตัวบทรัฐธรรมนูญก็อาจบอกเป็น "ราชอาณาจักร" ในเมื่อทั้งเพลงชาติและรัฐธรรมนูญต่างก็ใช้คนละบริบทกัน เพลงชาติที่ช่วยกันร้องบอก "ประเทศไทย…เป็นประชารัฐ" อาจมีประโยชน์อย่างน้อยก็ไว้กล่อมเด็กเวลายืนเข้าแถวหน้าเสาธง

ส่วน "ราชอาณาจักร" ในรัฐธรรมนูญอาจมีความสำคัญอย่างน้อยก็ทำให้ผู้นำประเทศไม่เหลิงคิดว่าตนเป็นใหญ่ในแผ่นดินเพียงผู้เดียว เขาอยู่กึ่งกลางความสัมพันธ์อันล่อแหลมระหว่างอำนาจแหล่งใหญ่ของการเมืองสมัยใหม่และจารีตนิยมแบบไทย

H