01

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 593 หัวเรื่อง
ทำความเข้าใจญี่ปุ่นโดยสังเขป
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์
สมาชิกกลุ่มจิตวิวัฒน์
ทความมหาวิทยาลยเที่ยงคืน
The Midnight 's article

R
relate topic
190648
release date
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 26000 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 2547 - ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
The Midnight
University

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 580 เรื่อง หนากว่า 7500 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อที่ midnightuniv(at)yahoo.com - midnight2545(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์ (การจัดส่งทางไปรษณีย์ จะลงทะเบียนทุกฉบับ)

เรียนรู้จากแดนซากุระโดยสังเขป
ทำความเข้าใจสังคมญี่ปุ่นผ่านประวัติศาสตร์
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์
สรุปความโดยคณะทำงาน โครงการจิตวิวัฒน์


บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 593

หมายเหตุ : เรียนรู้จากแกนซากุระ
เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ๑๙ มิถุนายน ๒๕๔๘
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 2.5 หน้ากระดาษ A4)



เรียนรู้จากแดนซากุระ
สรุปประเด็นการประชุมจิตวิวัฒน์ครั้งที่ ๒๒ (๖/๒๕๔๘)

การประชุมในวันจันทร์ที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ณ ห้องประชุมของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๓๐ น. เช่นเดิม ครั้งนี้ ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ สมาชิกกลุ่มจิตวิวัฒน์ซึ่งเดินทางกลับจากญี่ปุ่นมาใหม่หมาด หลังจากไปพำนักเพื่อทำงานวิจัยอยู่ในแดนอาทิตย์อุทัยกว่า ๖ เดือน เป็นผู้นำการพูดคุย
ทั้งนี้ คุณหมอโกมาตรได้เล่าถึงการทำความเข้าใจสังคมญี่ปุ่นผ่านประวัติศาสตร์ และแสดงข้อสังเกตต่อความหลากหลายทางด้านความเชื่อและศาสนาในสังคมญี่ปุ่น ตลอดจนวิธีคิดแบบญี่ปุ่น

คุณหมอโกมาตรกล่าวว่า การที่ตนเองได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยเกียวโตในครั้งนี้ เนื่องมาจากงานวิจัยเรื่อง "เสียงในชีวิตประจำวันของคนเลี้ยงช้าง จ.สุรินทร์" ที่อธิบายผลกระทบในเชิงความหมายที่มากับเสียง เช่น เสียงวัยรุ่นบิดมอเตอร์ไซค์ เสียงรถตัก และรถขุด ฯลฯ ว่าเป็นเสียงที่ตอกย้ำภาวการณ์ไร้อำนาจต่อรองและไร้ค่าของสตรีในท้องถิ่น โดยเฉพาะในวัยกลางคน และทำให้เกิดความเจ็บป่วยในที่สุด ได้รับความสนใจจากศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโตท่านหนึ่ง ซึ่งมีภรรยาเป็นนักดนตรีวิทยา และพบว่า

เสียงในชีวิตประจำวันสามารถมีสุนทรียภาพได้เช่นเดียวกับเสียงจากเครื่องดนตรี จึงเริ่มทำวิจัยเก็บเสียงที่กำลังจะหายไปในชีวิตประจำวันของญี่ปุ่น ๑๐๐ เสียง เช่น เสียงทะเลร้องไห้ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น เป็นต้น ทั้งนี้โดยให้คนในท้องถิ่นเสนอว่า เสียงอะไรที่ความสำคัญต่อท้องถิ่น และกำลังจะหายไป

การมองญี่ปุ่นด้วยสายตาของคนนอกจากใจกลางดินแดนและผู้คนในวัฒนธรรมนั้น ทำให้คุณหมอโกมาตรได้พบข้อสังเกตที่น่าสนใจอย่างมากหลายประการ แต่การจะทำความเข้าใจกับสังคมญี่ปุ่นได้นั้น จำต้องรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของประเทศนี้เสียก่อนเป็นเบื้องต้น โดยเฉพาะการเดินทางของพุทธศาสนา (ทั้ง ๓ นิกายหลัก คือหีนยาน วัชรยาน แต่ส่วนใหญ่เป็นมหายาน) ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๑,๐๐๐ ปีเคลื่อนตัวจากดินแดนชมพูทวีปเข้าสู่ญี่ปุ่นในราวปี ค.ศ.๕๒๐-๕๕๐ ก่อนที่จะคลี่คลายขยายตัวจนเป็นศาสนาหลักและมีอิทธิพลต่อสังคมญี่ปุ่นอย่างยิ่งในกาลต่อมา

ดังในสมัยหนึ่ง ถึงกับมีกองทัพพระอย่างเป็นเอกเทศและเข้าไปมีส่วนในเหตุการณ์ทางการเมืองมาตลอด ก่อนจะถูกทำลายลงอย่างราบคาบในสมัยโตกุกาวา (ค.ศ.๑๖๐๐ - ๑๘๖๘) เช่นเดียวกับศาสนาคริสต์ แม้ว่าจะเพิ่งเริ่มเผยแพร่เข้ามาในปี ค.ศ.๑๕๗๕ ก็ตาม

กล่าวได้ว่า ยุคโตกุกาวาเป็นยุคที่ชนชั้นปกครองสามารถรวมประเทศและยุติการทำสงครามขนาดใหญ่ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องนับร้อยปีลงได้อย่างเด็ดขาด โดยสร้างระบบการแบ่งวรรณะของคนตามอาชีพอย่างแน่นอนตายตัว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดชีวิต การออกกฎห้ามเดินทางโดยไม่ได้รับอนุญาต และโดยเฉพาะอย่างการปิดประเทศ เป็นเครื่องมือในการควบคุม

กล่าวเฉพาะในทางศาสนา แม้จะมีการกำหนดให้ประชาชนทุกคนต้องสังกัดวัด ๑ แห่ง แต่วัดเหล่านั้นกลับไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐแต่อย่างใด ทำให้วัดต้องพึ่งตนเองในทางเศรษฐกิจโดยการให้เช่าที่ดินเพื่อทำการค้านับแต่นั้นมา

สังคมญี่ปุ่นดำเนินไปในลักษณะดังกล่าวนานเกือบ ๓๐๐ ปี จนเมื่อนายพลแมธธิว เพอร์รี จากประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้เรือดำเข้ามาบีบบังคับให้เปิดประเทศ ในปี ค.ศ.๑๘๕๓ ญี่ปุ่นจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ จนทำให้ระบอบโตกุกาวาล่มสลายลงไปในที่สุด ก่อนจะเข้าสู่ญี่ปุ่นยุคใหม่ที่มีองค์พระจักรพรรดิเป็นประมุขของประเทศมาจนถึงปัจจุบัน

และแม้จะมีศาสนาอยู่มากมายหลากหลายในญี่ปุ่น แต่สังคมญี่ปุ่นก็สามารถร้อยผสานความแตกต่างเหล่านั้นไว้ในวิถีชีวิตได้ เป็นต้นว่า คนญี่ปุ่นมักจะทำพิธีเกี่ยวกับการเกิดและแต่งงานที่ศาลเจ้าชินโต และทำพิธีเกี่ยวกับการตายที่วัดพุทธ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากวัชรยาน

ญี่ปุ่นเองมีทุนทางวัฒนธรรมเหล่านี้อยู่มาก ซึ่งปรากฏอยู่ในรูปของตำนาน เรื่องเล่า นิทานปรัมปรา นิยาย และมีการทำซ้ำผ่านงานประเพณีและเทศกาลต่าง ๆ ทำให้เกิดการซึมซาบเรื่องราวของวีรบุรุษท้องถิ่น แต่ขณะเดียวกันวัฒนธรรมเหล่านี้ก็มีความรุนแรงซ่อนเร้นแอบแฝงอยู่ในแง่มุมของประวัติศาสตร์ เป็นต้นว่า แก้วหลายสี ซึ่งเป็นของที่ระลึกเมืองโอกินาวา เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่เกาะดังกล่าวถูกถล่มด้วยระเบิดและมีคนตายมากกว่าที่ฮิโรชิมาและนางาซากิรวมกันเสียอีก หลังสงครามผู้คนในเมืองต้องนำเศษแก้วหลากหลายสีที่แตกกระจายมาหลอมรวมกันเพื่อใช้งาน จึงเกิดเป็นแก้วหลายสีดังกล่าวขึ้น

และเนื่องจากช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อเมริกาเป็นผู้วางระบบรัฐธรรมนูญให้กับญี่ปุ่นและเปิดเสรีทางศาสนา เพื่อแยกรัฐกับศาสนจักรออกจากกัน รัฐจึงมิได้เป็นผู้อุปถัมภ์ศาสนาอีกต่อไป วัดต่างๆ จึงต้องดิ้นรนไปในด้านการตลาด เพื่อที่จะดูแลศาสนสถานของตน

เมื่อศาลเจ้าและวัดมุ่งไปทางพาณิชย์มากขึ้น ผู้คนจึงเสื่อมศรัทธาและแสวงหาเส้นทางใหม่ เป็นโอกาสให้เกิดศาสนาและนิกายแบบใหม่จำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีศาสดาเป็นผู้นำที่มีบารมี บ้างก็ชักจูงให้หลงใหลไปในทิศทางรุนแรง

ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นไปพร้อมกันกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม ซึ่งประกอบด้วยประชากรผู้สูงอายุจำนวนมาก มีประสบการณ์และทัศนะที่แตกต่างขัดแย้งกับหนุ่มสาวยุคใหม่ค่อนข้างมาก ขณะเดียวกันนั้น ก็มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและวิถีชีวิตที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีทันสมัยไปพร้อม ๆ กัน

ในตอนท้าย คุณหมอโกมาตรได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับวิธีคิดของชาวญี่ปุ่น ว่าตั้งอยู่บนพื้นฐานของปรัชญาแบบวาบิ ซาบิ คือ เรียบง่าย และเก่าแก่ โดยเน้นการเสพสุนทรียะผ่านประสาทสัมผัสทั้งทางตา หู จมูก ปาก ดังแสดงให้เห็นในวัฒนธรรมอาหาร ซึ่งเสพผ่านตาและลิ้น หรือพิธีกำยาน ซึ่งมุ่งเน้นกลิ่น

ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับความสนใจเรื่องจิตวิญญาณของชาวญี่ปุ่น ต่างมองว่า การเกิดขึ้นของลัทธินิกายใหม่ในญี่ปุ่นนั้น เป็นดัชนีชี้ให้เห็นความไม่มั่นคงภายในของชาวญี่ปุ่น เพราะแม้จะเป็นประเทศผู้นำทางด้านเทคโนโลยี แต่คนญี่ปุ่นกลับสนใจและหมกมุ่นกับตนเองค่อนข้างมาก เน้นการบำเรอผ่านอายตนะของตนเป็นหลัก มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างค่อนข้างน้อย ดังที่มีความสนใจเกี่ยวกับความเป็นไปในโลกน้อย และไม่เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์บาดแผล และแม้จะมีอัตราอาชญากรรมต่ำ แต่อัตราการฆ่าตัวตายก็สูงมาก สภาพชีวิตที่เต็มไปด้วยวัตถุที่ตอบสนองความต้องการทางกายอยู่ตลอดเวลา ก็ทำให้มีการดำเนินชีวิตที่กลวงเปล่าและพร่อง น่าที่สังคมไทยจะสำเหนียกไว้ว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ดำเนินไปบนเส้นทางนั้น

คณะทำงาน โครงการจิตวิวัฒน์

 

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 590 เรื่อง หนากว่า 7800 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

 

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ

เมื่อศาลเจ้าและวัดมุ่งไปทางพาณิชย์มากขึ้น ผู้คนจึงเสื่อมศรัทธาและแสวงหาเส้นทางใหม่ เป็นโอกาสให้เกิดศาสนาและนิกายแบบใหม่จำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีศาสดาเป็นผู้นำที่มีบารมี บ้างก็ชักจูงให้หลงใหลไปในทิศทางรุนแรง
เกี่ยวกับวิธีคิดของชาวญี่ปุ่น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของปรัชญาแบบวาบิ ซาบิ คือ เรียบง่าย และเก่าแก่ โดยเน้นการเสพสุนทรียะผ่านประสาทสัมผัสทั้งทางตา หู จมูก ปาก

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
H
ภาพประกอบดัดแปลง เพื่อใช้ประกอบบทความฟรีของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เว็ปไซต์นี้ สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้... โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle@yah
oo.com พร้อมเขียนประวัติส่วนตัวเล็กน้อย