ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
050648
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 583 หัวเรื่อง
มองต่างมุมในสายตาคอมมิวนิสท์
บทความสัมภาษณ์เลขาธิการ
พรรคคอมมิวนิสต์(ไทย) ธง แจ่มศรี

นำมาจากนิตยสารไฟลามทุ่ง
The Midnight 's article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

สัมภาษณ์ธง แจ่มศรี
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
มองสังคมต่างมุมในสายตาคอมมิวนิสท์
บทสัมภาษณ์โดยบรรณาธิการหนังสือไฟลามทุ่ง

หมายเหต ุ: กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับบทสัมภาษณ์นี้มาจาก
Kanokrat Lertchoosakul, Lecturer Department of Government
Faculty of Political Science Chulalongkorn University Bangkok, Thailand


เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 10 หน้ากระดาษ A4)




เรียน เพื่อนผู้ร่วมเส้นทาง ผมมีบทสัมภาษณ์ธง แจ่มศรี คิดว่า มีทัศนะที่น่าแลกเปลี่ยน (ได้มาจากบรรณาธิการหนังสือไฟลามทุ่ง)
จึงอยากให้เพื่อนมิตรช่วยคอมเมนต์ในเว็บบอร์ด เว็บไซต์ไทยโซลิดาริตี้ www.thaisolidarity.org http://www.thaisolidarity.org/webboard/showquestion.php?q_id=151
ด้วยความเชื่อมั่นในพลังประชาชน : นิติรัตน์

บทนำ
หลังจากคุณธง แจ่มศรี เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้ให้สัมภาษณ์ในหนังสือนิตยสารสารคดี เมื่อกลางปี 2547 กองบรรณาธิการหนังสือไฟลามทุ่ง ได้มีความคิดเห็นร่วมกันที่จะขอเรียนสัมภาษณ์ ท่านเลขาธิการฯ เพื่อตอบคำถามของมิตรสหายและสมาชิกทั่วประเทศที่ได้รวบรวมไว้ ในที่สุด ก็ได้รับเกียรติให้สัมภาษณ์พิเศษในเวลาต่อมา ณ สถานที่กลางแห่งหนึ่ง ดังรายละเอียดที่นำเสนอไว้ในฉบับนี้อย่างครบถ้วน การเข้าสัมภาษณ์ครั้งนี้ ได้มีการสนทนาถึงปัญหาและอุปสรรคสำคัญ ๆ ในขณะนี้ด้วย ซึ่งได้แก่

1. เจ้าหน้าที่ระดับสูงอ้างกฎหมายของชาติ ไม่ยอมให้จดทะเบียนในนามพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย รวมทั้งห้ามใช้คำว่า "สังคมนิยม" และ/หรือ "แห่งประเทศไทย" ด้วย ดังนั้น แม้ว่า พ.ร.บ.ป้องกันและปรามปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ฉบับต่าง ๆ จะถูกยกเลิกไปอีกครั้งหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย "พ.ร.บ.พรรคการเมือง" ได้ นี่เป็นรูปธรรมหนึ่งในการพิสูจน์ว่า รัฐบาลมีความจริงใจเพียงใดที่จะเปิดเวที "บนดิน" ให้ต่อสู้ได้อย่างแท้จริง

ทุกวันนี้ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจึงยังคงอยู่ในสถานะของพรรค การเมืองที่ผิดกฎหมาย เป็นช่องว่างที่เจ้าหน้าที่บ้านเมือง สามารถนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการจับกุมดำเนินคดีได้เหมือนเดิม ด้วยเหตุนี้ จึงไม่สามารถตอบคำถามได้อย่างชัดแจ้งตรงไปตรงมาว่า พรรคฯ ยังคงอยู่ และมีกิจกรรมทางการเมืองอะไรบ้างที่เป็นรูปธรรม ตามที่มิตรสหายบางส่วนอยากจะทราบ

2. สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้แตกต่างจากเมื่อครั้งประชุมสมัชชา 4 ในปี พ.ศ. 2525 เป็นอย่างมาก ดัง นั้นจึงต้องมีการวิเคราะห์สังคมไทยและปรับปรุงแนวทางนโยบายสำคัญ ๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน แต่เลขาธิการพรรคฯ ไม่มีอำนาจกระทำการดังกล่าวได้โดยลำพัง จึงยังไม่มีรูปธรรมใหม่ ๆ ในขณะนี้

3. พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยภายใต้การนำขององค์การนำชุดที่ได้รับเลือกจากสมัชชา 4 นั้น กล่าวให้ ถึงที่สุดก็คือ พ่ายแพ้ทางการเมืองและเพลี่ยงพล้ำทางการทหารในเวลาต่อมา ไม่สามารถสร้างผลงานที่สำเร็จเป็นจริงและเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้ ดังนั้นการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ต่อแนวทางนโยบาย ของประเทศสังคมนิยมต่าง ๆ ในทาง สาธารณะนั้น จึงขอสงวนความคิดเห็นบางประการไว้ และยังอยู่ในระหว่างทำการติดตามศึกษาอย่างใกล้ชิด


ต่อไปนี้คือบทสัมภาษณ์ภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ว่านี้

ถาม ปัจจุบัน พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พ.ค.ท.) ยังเป็นพรรค การเมืองหรือมีการจัดตั้งในลักษณะที่เป็น พรรคการเมืองหรือไม่

ตอบ พ.ค.ท.เป็นพรรคการเมืองซึ่งมีคุณลักษณะพรรคที่ต่อสู้ด้วยอุดมการณ์ มีทิศทางการต่อสู้ มีทฤษฎีและจุดยืนที่ แน่วแน่ เป็นพรรคการเมืองที่ได้พัฒนาท่ามกลางการต่อสู้ด้วยความเสียสละ มีประสบการณ์บทเรียน มีการจัดตั้ง มีมิตรสหาย มีมวลชนและผู้ปฏิบัติงาน เป็นพรรคการเมืองที่ดำรงอยู่ภายใต้เงื่อนไขทางประวัติศาสตร์อันยาวนานทั้งในประเทศและสากล

แต่เนื่องจากในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา พรรคฯ ต้องประสบวิกฤติ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ต้องถอยร่น สหายและผู้ปฏิบัติงานและการจัดตั้ง ตกอยู่ในสภาพที่กระจัดกระจาย ส่วนหนึ่งยังคงยืนหยัดต่อสู้ต่อไปด้วย ความมั่นคง ส่วนหนึ่งลังเล ส่วนหนึ่งเสื่อมถอย ความคิดแปรเปลี่ยนไป ตกอยู่ในสภาพที่เหินห่างการจัดตั้ง ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจ ผ่านกระบวนการทดสอบหล่อหลอม สรุปบทเรียนปรับปรุงแก้ไขดัดแปลงภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

ท่ามกลางความยากลำบากและอุปสรรคนานัปการ ซึ่งก็คงต้องใช้ระยะผ่านพอ สมควร ในขณะที่ต้องมองไปข้างหน้าแต่ก็ต้องเหลียวหลังด้วยความระมัดระวัง สร้างสรรค์ความสามัคคี ช่วยกัน คิด ช่วยกันแก้ ช่วยกันทำ คิดว่าคงไม่นานที่จะนำปัญหาต่าง ๆ เสนอให้พวกเราช่วยกันพิจารณาได้

ถาม ขณะนี้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ถูกยกเลิกไปแล้ว เปิดให้มีการจดทะเบียนพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายได้ มีแนวคิดที่จะจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมาย หรือมีแนวคิดต่อปัญหานี้อย่างไร

ตอบ การยกเลิกพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นผลจากการต่อสู้เรียกร้องของประชาชน และการเปลี่ยนไปซึ่งนโยบายของรัฐในการปราบปรามคอมมิวนิสต์ รวมทั้งสถานการณ์ภายในและสถานการณ์ภายนอกที่ได้เปลี่ยนแปลงไป

ในสภาพการณ์ทางการเมืองที่มีความเป็นประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ สามารถต่อสู้ทางการเมืองอย่างสันติและเปิดเผยได้ ก็มีแนวคิดที่จะจดทะเบียนทางกฎหมาย แต่เนื่องจากปัจจุบันสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของประชาชนยังมีข้อจำกัดทางกฎหมายและความเป็นประชาธิปไตยอยู่ จึงต้องศึกษาค้นคว้าและติดตามสถานการณ์อย่างรอบคอบให้ดีก่อน อนาคตของพรรคจะเป็นอย่างไรต่อไปนั้น ต้องฟังความคิดเห็นจาก สหายภายในพรรคด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีแนวความคิดของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ที่จะร่วมกันก่อตั้งพรรคการเมืองที่ก้าวหน้า ซึ่งเป็นแนวคิดหนึ่งที่น่าจะสนับสนุน เพราะเป็นแนวทางใหม่ที่น่าสนใจ

ถาม ปัจจุบัน พ.ค.ท. วิเคราะห์สังคมหรือสถานการณ์อย่างไร

ตอบ ลักษณะสังคมของประเทศไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี พ.ศ. 2475 มาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยถูกปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่อยู่ภายใต้อำนาจของศักดินานิยม อำนาจเผด็จการ อำนาจทุนนิยมนายหน้า ทุนนิยมขุนนาง และทุนนิยมต่างประเทศหรือทุนข้ามชาติ จนปัจจุบันได้พัฒนาเป็นสังคมทุนนิยมที่กำลังพัฒนา หรือที่นักวิชาการเรียกว่าทุนนิยมชายขอบ

กล่าวตามหลักทฤษฎีแล้ว ในขั้นนี้ยังเป็นการปฏิวัติในขอบข่ายประชาชาติประชาธิปไตยของชนชั้นนายทุน ซึ่ง ต้องช่วยผลักดันสังคมให้พัฒนาก้าวไปตามกฎเกณฑ์ของประวัติศาสตร์ที่ไม่หยุดนิ่ง แม้ประเทศไทยหรือสังคมไทยจะเป็นทุนนิยมก็ยังเป็นทุนนิยมที่ไม่สมบูรณ์ ยังถูกครอบงำด้วยทุนต่างประเทศ ไม่สามารถเป็นอิสระได้ ในแง่นี้โดยยุทธศาสตร์ต้องทำให้เป็นอิสระ มีเอกราช อธิปไตย และเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ไม่ถูกอิทธิพลจักรพรรดินิยมครอบงำ

พูดในความหมายทางประวัติศาสตร์แล้วก็คือปัญหาแยกมิตรแยกศัตรู คงไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ทาง ยุทธวิธี แนวทางนโยบายอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ดังเช่นการต่อสู้ด้วยอาวุธที่จำเป็นต้อง ใช้ในสถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นเผด็จการ แต่เมื่อสถานการณ์การเมืองเปลี่ยนแปลงไป เราก็ต้องปรับให้สอดคล้องกับเงื่อนไขทางการเมืองในปัจจุบันให้เป็นประโยชน์

แนวทางใหญ่ยังคงเป็นการสามัคคีประชาชนส่วนใหญ่ ยึดหลัก "แสวง จุดร่วม สงวนจุดต่าง" ที่ต้องให้มิตร สหายเข้าใจข้อนี้ ส่วนเรื่องนโยบายนั้นต้องให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งกำลังรวบรวมความคิดเห็นเพื่อร่วมกันกำหนดนโยบายใหม่ออกมา หากมิตรสหายมีความคิดเห็นอย่างไรก็ขอให้ช่วยกันพิจารณากำหนดให้รอบด้านยิ่งขึ้น

ถาม เมื่อ พ.ค.ท.ยังอยู่ มีการเคลื่อนไหวอะไรบ้าง และเหตุใดจึงไม่มีการโฆษณาความคิดหรือแนวทางของพรรคฯ ให้ประชาชนทราบบ้าง

ตอบ ช่วงนี้เป็นช่วงที่เรากำลังผ่านพ้นภาวะวิกฤติ งานช่วงนี้จึงเป็นการค้นคว้าศึกษาสรุปบทเรียน อะไรผิดอะไรถูก ฟื้นฟูงานด้านต่าง ๆ เพื่อจะก้าวเดินต่อไป ภายใต้สถานการณ์ภายในประเทศและสถานการณ์โลกที่เปลี่ยน แปลงไปและมีสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น แนวทางนโยบายของพรรคจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ แต่ เนื่องด้วยข้อจำกัดหลายประการ ทำให้การโฆษณาความคิดหรือแนวทางของพรรคฯ ทำได้ไม่กว้างขวาง มิตร สหายและประชาชนทั่วไปจึงไม่ทราบความคิดเห็นและแนวทางของพรรคฯ อย่างทั่วถึง แต่ในอนาคตปัญหาข้อนี้คงจะได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น

ถาม ท่านเองยังต้องการต่อสู้ทางการเมืองต่อไปอีกหรือไม่ เพราะเหตุใด

ตอบ เฉพาะตัวเองนี้ การต่อสู้ทางการเมืองไม่ใช่เรื่องสมัครเล่น เป็นเรื่องสมัครใจที่ทำไปตลอดชีพ แต่ไม่ได้เรียกร้องฐานะตำแหน่ง ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองได้ก็ยินดีจะทำ แต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องฟังความเห็นทั้งของพรรคและมิตรสหายว่าจะให้ทำอะไร หรือให้วางตัวอย่างไร

ถาม มิตรสหายที่เคยเข้าร่วมกับพรรคฯ ควรวางตัวและมีบทบาทอย่างไรในสภาพสังคมปัจจุบัน

ตอบ การวางตัวนั้น

1. ต้องให้เหมาะสมกับสภาพที่เป็นจริงในสังคมปัจจุบันของแต่ละคน
2. ต้องเข้มงวดต่อตนเอง รักษาคุณธรรมปฏิวัติของเราเอาไว้ให้ได้ ปฏิบัติตัวในแนวทางที่ถูกต้อง เป็นแบบอย่างที่ดี

3. ต้องยืนหยัดในภารกิจของตนเองต่อไป แม้จะเผชิญสภาพยากลำบากแค่ไหนก็ต้องฟันฝ่า ร่วมกันคิดร่วมกัน ทำ สัมพันธ์มวลชนรอบตัวอย่างแน่นแฟ้น

4. พวกเราที่เป็นลูกหลาน อย่างน้อยก็ต้องยึดหลักศีลธรรมอันดีงามของประชาชนไว้ให้ถึงที่สุด ส่วนเรื่องบทบาทนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถในการปรับตัวของแต่ละคน จะต้องสามัคคีคนอื่น ๆ และใช้ความดีของเราส่งผลสะเทือนต่อมวลชน ถือว่าเป็นคุณธรรมเบื้องต้น

ถาม มิตรสหายที่เคยเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคฯ และยังต้องการจะต่อสู้ทางการเมืองต่อไป ควรจะต่อสู้ด้วยรูปแบบไหน ในปริมณฑลอะไร

ตอบ รูปแบบการต่อสู้ไม่ตายตัว ไม่ควรเริ่มจากความต้องการของเรา หากแต่ควรเริ่มจากการพิจารณาสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง

1. เริ่มจากแก้ปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ในทางที่ถูกต้อง
2. ถ้าสร้างเศรษฐกิจ - สร้างตัวได้ สามารถแนะนำแก้ปัญหาให้คนอื่นได้ก็ยิ่งดี
3. มิตรสหายบางส่วนอาจไปเป็น อบต. หรืออย่างอื่น ใช้ความคิดในการทำงานสร้างผลงานได้มากมาย มีคน ยกย่อง ทำงานอะไรต้องโปร่งใส - ซื่อตรง

4. ประหยัดมัธยัสถ์ นำพาประชาชนก้าวไปในทิศทางที่ถูกต้อง มีประสบการณ์
5. รู้จักใช้นโยบายบางด้านของรัฐบาลให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน การต่อสู้นี้ไม่ได้จำกัดในปริมณฑลใด หากเงื่อนไขต่าง ๆ เอื้ออำนวยก็ต้องต่อสู้ในทุกปริมณฑลทั้งด้านความคิด เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม

ถาม ท่านคิดว่าลัทธิมาร์กซ ยังคงใช้ได้กับโลกยุคโลกาภิวัฒน์หรือไม่ เพราะเหตุใด

ตอบ ลัทธิมาร์กซยังคงใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย เพราะหลักการวิทยาศาสตร์สังคมของลัทธิมาร์กซ ที่สอดคล้องกับหลักการวิทยาศาสตร์ธรรมชาตินั้น เป็นหลักการใหญ่ ๆ ที่ยังถูกต้อง ยุคไหน ประเทศไหนก็ใช้ได้ ยุคโลกาภิวัฒน์นั้นเปลี่ยนแปลงแต่เทคโนโลยี แต่ความขัดแย้งทางชนชั้นยังคงสูงอยู่เหมือนเดิม เราจึงต้องรู้จักใช้ รู้จักพลิกแพลง ต้องไม่ตายตัว ปัญหาอยู่ที่ว่าพรรคปฏิวัติในประเทศต่าง ๆ สามารถยึดกุม หลักทฤษฎีลัทธิมาร์กซ-เลนินไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่ ปัญหาอยู่ที่ผู้นำไปใช้ และใช้อย่างไร มิใช่หลักการลัทธิมาร์กซนั้นใช้ไม่ได้แล้ว

ถาม ลัทธิมาร์กซในยุคปัจจุบัน ต้องปรับปรุงอะไรบ้างหรือไม่ ควรเป็นอย่างไร

ตอบ หลักการพื้นฐานลัทธิมาร์กซยังคงใช้ได้ แต่การใช้ลัทธิมาร์กซต้องใช้อย่างพัฒนา ไม่หยุดนิ่ง ไม่ตายตัว มองในแง่ก้าวไปข้างหน้า ใช้ให้เป็นคุณประโยชน์ เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมหนึ่งได้ผลแล้ว ก็สรุปยกระดับขึ้นมา ถือเป็นการพัฒนาลัทธิมาร์กซ ในปัจจุบันมีการนำลัทธิมาร์กซมาพัฒนาสร้างผลงานใหม่ ๆ

เช่นการที่เติ้งเสี่ยวผิงเอาหลักลัทธิมาร์กซมาใช้แก้ปัญหาในจีน โดยมีแนวคิดว่า สังคมนิยมนั้นไม่ใช่สังคมที่จะแบ่งปันความยากจน หากแต่เป็นสังคมที่แบ่งปันความสุข สังคมนิยมต้องก้าวหน้ากว่าทุนนิยม และจุดหนักในการพัฒนาสังคมนิยมของจีนในช่วงนี้มิใช่อยู่ที่การต่อสู้ทางชนชั้น หากแต่เป็นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เป็นต้น เพราะมาร์กซเสนอว่า เราทำการปฏิวัติก็เพื่อผลักดันให้พลังการผลิตพัฒนาก้าวหน้า สังคมมนุษย์ก้าวหน้าไป

ถาม ในสภาวะที่ลัทธิมาร์กซล่มสลายทั่วโลก ไม่ว่าที่รัสเซีย ยุโรปตะวันออก หรือแม้แต่จีนก็เปลี่ยนแปลงไปมาก ท่านยังเชื่อว่าจะมีการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพขึ้นใหม่อยู่อีกหรือไม่ เพราะเหตุใด

ตอบ การเปลี่ยนแปลงนั้นเห็นชัดเจนอยู่แล้ว ยุคนี้เป็นยุคที่ต้องปรับตัว การล่มสลายในสหภาพโซเวียต เนื่องจากมีการแปรเปลี่ยนจากเหตุภายใน โดยมีอิทธิพลภายนอกบีบ ที่ผ่านมาจักรพรรดินิยมเปลี่ยนยุทธวิธีจากการใช้สงครามมาล้มล้าง-ทำลายอำนาจรัฐของชนชั้นกรรมาชีพโดยตรง ใช้วิธีทำให้ผู้นำในรุ่นที่สามที่สี่เปลี่ยนแปลงความคิดและบ่อนทำลายจากภายใน จนสามารถแปรเปลี่ยนได้อย่างสันติ ทั้งระบอบการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ถือว่าเป็นบทเรียนสำคัญของพวกเรา เป็นปัญหาในเรื่องของการนำไปใช้ แต่ถูกทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นการล่มสลายของหลักการลัทธิมาร์กซ

ส่วนการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพในอนาคตนั้น แน่นอนว่า เมื่อยังมีการกดขี่ขูดรีดทางชนชั้น การต่อสู้ทางชน ชั้นก็ย่อมจะต้องเกิดขึ้น ทางการไทยก็รับเอาแนวคิดเช่นนี้มาใช้ ระดมทุกอย่างให้เราเปลี่ยนความคิดทฤษฎี เปลี่ยนอุดมการณ์ให้เจือจาง การโฆษณาว่าลัทธิมาร์กซล้าสมัยหรือให้เชื่อว่าหมดยุคของการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพแล้ว เป็นส่วนหนึ่งของแผนการเหล่านี้ ถ้าเราเชื่อถือ-ถอยหลัง ก็หมดสภาพ จึงต้องเรียกร้องให้เราศึกษาค้นคว้าปัญหานี้อย่างจริงจัง

สำหรับชาวพรรคคอมมิวนิสต์แล้ว ต้องปรับตัวอย่างมากและให้ทันสถานการณ์ด้วย ปัญหาใหญ่ข้อหนึ่งคือ ภายในของเราเองต้องสรุปบทเรียนอย่างจริงจัง เพื่อให้รู้ว่าที่ผ่านมาเราทำอะไรถูก อะไรผิด และในแง่ไหนบ้าง จะได้ก้าวต่อไปได้ถูกทาง จึงต้องเรียกร้องให้สนใจศึกษาค้นคว้าให้กว้าง โดยยึดท่วงทำนองใหญ่ 3 ประการไว้ให้มั่น คือ

1. ศึกษาทฤษฎีประสานความเป็นจริง ปัญหาความขัดแย้งในการมองสังคมไทยที่เกิดขึ้นก็เป็นตัวอย่างของ ปัญหาข้อนี้
2. สัมพันธ์มวลชนอย่างแนบแน่นสนิท สมาชิกพรรคฯ แต่ละคนต้องมีคนรักใคร่เชื่อถือมาก จึงจะมีพลัง
3. ใช้อาวุธวิจารณ์ วิจารณ์ตนเอง อย่างสม่ำเสมอ เพื่อยกระดับความรับรู้ ไม่ห่างเหินมวลชน เราก็จะมีกำลังเพิ่มขึ้น และเพื่อประกันการนำของเราให้ลักษณะดีมากขึ้น ความเสื่อมถอยน้อยลง

อีกข้อหนึ่งคือ เรื่องถูกกฎหมายกับผิดกฎหมาย เป็นด้านสองด้านของเหรียญ เราพยายามช่วงชิงทำในเรื่องที่ ถูกกฎหมาย แต่เราก็ต้องเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างกระทันหัน เช่น ถ้ามีการรัฐ ประหาร รัฐบาลใหม่เปลี่ยนแปลงนโยบายสำคัญ ๆ ทางการเมือง ไม่เปิดหนทางประชาธิปไตยให้เดิน เราจะต้องทำอะไร ต้องคิดทางหนีทีไล่ไว้ ไม่ตายตัวเกินไป

ในทางปรัชญาก็ต้องรู้ว่ามีสองด้าน เพียงแต่ใช้ด้านไหนในสถานการณ์ใดจึงจะเหมาะสม เฉพาะหน้าให้สนใจสถานการณ์ความเป็นจริงของประเทศ โดยเฉพาะความขัดแย้งหลักระหว่างกลุ่มทุนเก่า และอิทธิพลศักดินาฝ่ายหนึ่ง กับ กลุ่มทุนใหม่อีกฝ่ายหนึ่ง ไม่โน้มเอียงจนกลายเป็น ช่วยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอย่างหลับหูหลับตา อาจจะทำให้ยิ่งย่ำแย่

หากมีการรัฐประหารที่มีท่าทีว่าก้าวหน้า ต้องดูให้ดีว่าเป็นพวกถอยหลังเข้าคลองหรือไม่ ถ้าไปเข้าร่วมโดยไม่ พิจารณาให้ดีอาจเป็นผลเสีย สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนที่จอมพล ป. ร่วมกับญี่ปุ่นก่อสงครามขึ้น ภายในของพวกเราก็ต่อสู้กันทางความคิด เพราะฝรั่งเศสเป็นจักรวรรดินิยม เคยรุกรานเวียดนามและอินโดจีน รวมทั้งสยามด้วย จอมพล ป. จึงดูเหมือนว่าจะทำถูกต้อง เหมือนกับว่าก้าวหน้า แต่ก็กลายเป็นร่วมมือกับกลุ่มอักษะที่รุกรานไปทั่วโลก จึงสรุปว่า เราต้องคัดค้าน ฉะนั้นต้องมองให้เห็นส่วนทั้งหมด มองเฉพาะส่วนไม่ได้ ต้องไม่ไปเข้าแถวอยู่ในกลุ่มพวกถอยหลังเข้าคลอง

ถาม เมื่อเป็นรัฐสวัสดิการแล้ว การต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพก็หมดไป ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร

ตอบ การต่อสู้ที่น้อยลงนั้น เข้าใจว่า

1. เมื่อทุนนิยมพัฒนาไป โครงสร้างการใช้แรงงานก็เปลี่ยนแปลงไป ผู้ใช้แรงงานแบกหามรวมทั้งเกษตรกร ชาวนาก็น้อยลง แต่กลุ่มผู้ขายแรงงานด้านบริการและกลุ่มคอปกขาวที่รับจ้างใช้สมองมีมากขึ้น ปัจจุบันก็ใช้ คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ มาทดแทนแรงงานบางส่วนอีกด้วย

2. มีการให้กรรมกรถือหุ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ถือว่ามีส่วนเป็นเจ้าของโรงงานกับเขาแล้ว ฉะนั้นการเคลื่อนไหวของ ชนชั้นกรรมกรอย่างในอดีตเช่น นัดหยุดงานใหญ่ก็จะเกิดขึ้นน้อยลง

3. เอาข้อดีของลัทธิมาร์กซ มาแก้ปัญหาของทุนนิยม เช่น สวัสดิการ หรือการลอกเลียน"วิธีการแก้ปัญหา เศรษฐกิจแบบโครงการระดับชาติของโลกสังคมนิยม"มาใช้ เป็นต้น


จักรพรรดินิยมอเมริกาลอกเลียน เอา "เศรษฐกิจโครงการที่มีการวางแผนล่วงหน้า" ของสหภาพโซเวียตมาถ่วงดุลเศรษฐกิจการตลาด ทำให้วิกฤติเศรษฐกิจทุนนิยมผ่อนปรนไปได้ระยะหนึ่ง

4. ใช้นักวิชาการมาบิดเบือนทฤษฎีลัทธิมาร์กซให้ลดความร้อนแรงลง เช่น ว่าล้าสมัยใช้ไม่ได้แล้ว หรือกระทั่ง บิดเบือนไปเสียจากหลักการพื้นฐาน ทำให้คนเอาไปใช้ผิด ๆ

5. ซื้อตัวผู้นำกรรมกร ให้หันเหทิศทางไม่ไปมุ่งโค่นล้มระบอบทุนนิยม เพื่อยืดอายุให้ยาวนานออกไป เพราะไม่ สามารถใช้วิธีปราบเหมือนในประเทศเมืองขึ้นกึ่งเมืองขึ้น

6. สกัดกั้นทุกวิถีทางมิให้พรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกเจริญเติบโต สมาชิกพรรคฯ คนไหนเอาการเอางานก็ พยายามให้นายทุนซื้อตัวไป หากซื้อไม่ได้ก็บีบบังคับ หรือสร้างเงื่อนไขยั่วยวนให้ทำผิดศีลธรรมเช่น เรื่อง ผู้หญิง เงิน อบายมุข ฯลฯ มาทำลาย เป็นเหตุให้ดูเหมือนอยู่อย่างเงียบ ๆ ไม่มีอะไรแล้ว

7. หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จักรพรรดินิยมพยายามสร้างองค์กรในรูปแบบต่าง ๆ มาเคลื่อนไหวแทรกแซง มี บทบาทหันเหทิศทางการต่อสู้ ทำให้ขบวนการสับสน หรือแยกเป็นกลุ่มย่อยจนไม่สามารถรวมกันเป็นพรรค ปฏิวัติ กระทั่งบางส่วนถึงกับเสนอว่า ไม่จำเป็นต้องมีพรรคของชนชั้นกรรมาชีพมานำก็ได้

8. กลุ่มทุนข้ามชาติใช้วิธีการแยกสลายการต่อสู้ทุกรูปแบบ ไม่เว้นแม้แต่การมอมเมาให้เยาวชนหลงใหล ไม่ สนใจเรื่องการเมือง เอาแต่บันเทิงเริงรมย์ เช่น ใช้ภาพโป๊ในอินเตอร์เนต เกมส์คอมพิวเตอร์ มาล่อ เป็นต้น

ถาม มีการวิเคราะห์ว่า "การต่อสู้ทางชนชั้นทางสากลไม่มี มีแต่การต่อสู้แบบชาตินิยมเท่านั้น (เช่น จีนชนะญี่ปุ่น เวียดนามและอินโดจีนชนะสหรัฐอเมริกาแล้ว ก็จบ)" ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ตอบ ประเด็นนี้ ปัญหาใจกลางคือเรื่องสากลนิยมชนชั้นกรรมาชีพ ที่รู้สึกว่า ได้ดีแล้วไม่ช่วยเหลือพวกพ้อง แต่อยากให้เข้าใจว่า ข้อสรุปข้อหนึ่งที่เราเพลี่ยงพล้ำอย่างหนักก็เพราะ ยังพึ่งตนเองไม่ได้เป็นด้านหลัก ไม่ควรจะไปเน้นหนักที่ปัญหาภายนอก เพราะบทบาทภายในเป็นหลัก ต้องวิจารณ์ตนเองว่ายังไม่เข้มแข็ง ยังอ่อนแอ ยังต้องไปพึ่งเขา เมื่อเขาไม่ช่วยเราจึงยากลำบากมาก ปัญหานี้เลนินเคยกล่าวว่า "สากลนิยมก็คือพรรคแต่ละพรรคทำงานของตนให้ดีที่สุด ก็จะเป็นการหนุนช่วยกันทางสากลอย่างหนึ่ง"

ถาม มีแนวคิดว่า ถ้าสังคมเปลี่ยนไปเป็นเสรีนิยมแล้ว การต่อสู้ทางชนชั้นก็จะหยุดไปเอง อย่างเช่นในสหรัฐ อเมริกาที่ไม่มีกรรมกรลุกขึ้นมาต่อสู้แล้ว หรือในนอร์เวย์, สวีเดน, และประเทศที่เป็นรัฐสวัสดิการอื่น ๆ ก็ไม่มี กรรมกรลุกขึ้นมาต่อสู้เช่นกัน ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ตอบ เรื่องนี้เป็นความเข้าใจต่อสถานการณ์ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเหนือและสหรัฐอเมริกาที่ใช้นโยบายรัฐสวัสดิการ เพื่อผ่อนคลายการต่อสู้ทางชนชั้น แต่มิได้แก้ปัญหาเรื่องการต่อสู้ทางชนชั้น เมื่อทุนนิยมเกิดวิกฤติอย่างต่อเนื่องก็ไม่สามารถจะสร้างหลักประกันด้านสวัสดิการสังคมได้ ดังนั้นในที่สุดกรรมกรก็ต้องลุกขึ้นต่อสู้จนได้

เพราะความขัดแย้งหลักในสังคมทุนนิยมยังเป็นการผลิตแบบสังคม แต่ผลประโยชน์เป็นของกลุ่มทุนหยิบมือ เดียว "เสรีนิยม"ลดความขัดแย้งทางชนชั้นลงไม่ได้ ชีวิตความเป็นอยู่ของกรรมกรยังคงยากลำบาก ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ไม่ช้าก็เร็ว เพียงแต่การนำมวลชนขึ้นต่อสู้ต้องทำให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในแต่ละประเทศ ต้องไม่สนับสนุนบทบาทค้ำชูให้ชนชั้นนายทุนอยู่ยาวนานต่อไป

ภายในพรรคของชนชั้นกรรมาชีพต้องชำระสะสางความคิดเสรีนิยมนี้ ความคิดนี้มีบทบาทเบื่อเมา เป็นบทบาท ที่ทำลาย ทำให้ความคิดที่จะต่อสู้จริงจังน้อยลง เพราะไม่ขึ้นต่อก็ได้ ไม่ต้องจัดตั้งเป็นพรรคฯ ก็ได้ อย่างนี้จะนำมวลชน ลุกขึ้นต่อสู้ได้อย่างไร พวกจักรพรรดินิยมจึงส่งเสริมความคิดนี้ให้ขยายในหมู่นักปฏิวัติทั่วโลก

เสรีนิยมในระบอบทุนนิยมไม่มีอยู่จริง (ถ้าไม่มีเงิน) จะมีเสรีภาพในโลกทุนนิยมต้องมีเงิน ไปห้างฯ ต้องมีเงิน ถ้าไม่มีเงินก็ไม่มีเสรีที่จะซื้อของ แม้จะยอมให้มีเสรีภาพในบางด้าน อย่างเช่น การเลือกตั้ง การพูด-เขียน-พิมพ์ แต่ในทางเศรษฐกิจไม่มีเสรี ไม่มีเสรีที่จะสู้กับกลุ่มนายทุนใหญ่ กล่าวให้ถึงที่สุดก็ไม่มีเสรีภาพอย่างแท้จริง

ถ้ารัฐสวัสดิการแก้ปัญหาสวัสดิการไม่ได้ ทำให้ประชาชนมีชีวิตดีขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ได้ การต่อสู้ก็จะเกิดขึ้นใหม่ กรรมกรในสังคมที่กล่าวถึงเหล่านั้น แม้จะมีสวัสดิการตั้งแต่เกิดถึงตายก็จริง แต่ก็มาจากเงินของคนงานด้วย กัน เมื่อมีการเพิ่มเทคโนโลยี คนว่างงานเพิ่มขึ้น คนที่ทำงานหาเงินจ่ายให้รัฐมีน้อยลง เงินที่จะจ่ายเป็นสวัสดิการสังคมจึงเริ่มไม่พอ ต้องมีการตัดสวัสดิการสังคม ทำให้คนทำงานไม่พอใจ หากขยายตัวไป การต่อสู้ของ กรรมกรก็จะต้องเกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ หรืออย่างในญี่ปุ่นก็เริ่มมีปัญหาที่จะเอาเงินคนหนุ่มสาวมาเลี้ยงคนแก่ที่มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม มีแต่เมื่อสังคมพัฒนาไปถึงสังคมยุคคอมมิวนิสต์ข้างหน้าแล้วเท่านั้น จึงจะมีเสรีภาพทุกด้านที่ แท้จริงได้

ถาม มีผู้วิจารณ์ว่า พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนมิใช่พรรคลัทธิมาร์กซ และประเทศจีนก็มิได้เป็นประเทศ สังคมนิยม แต่เป็นประเทศทุนนิยม หรือบ้างก็ว่าเป็นทุนนิยมแห่งรัฐ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ตอบ เป็นเรื่องที่ยังต้องค้นคว้าถึง"ปัญหาระยะผ่าน" เมื่อจะปฏิวัติเพื่อก้าวไปสู่สังคมนิยม พรรคปฏิวัติต่าง ๆ ก็ล้วนยังไม่เคยผ่าน ไม่เคยมีบทเรียน จีนในปัจจุบันถือว่าตัวเองยังเป็นสังคมนิยมขั้นต้น ต้องมีการควบคุมทุนให้ก้าวไป ตามหนทางที่จะสร้างสรรค์สังคมนิยม เพราะทุนที่เติบใหญ่ขึ้นมาอย่างอิสระ อาจจะส่งผลกระทบทางการเมือง ทั้งนี้ทุกอย่างยังเป็นของใหม่ที่ต้องทดลองทำ รัฐสังคมนิยมก็สามารถนำรูปแบบการตลาดของทุนนิยมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

ของฝากจากเลขาพรรคฯ 5 ข้อ

1. เนื่องจากสถานการณ์ใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงอยากฟังความคิดเห็นของพี่น้องที่เคยต่อสู้ร่วมกันในเรื่อง
ปรับแนวทางต่อสู้อย่างสันติถูกกฎหมาย
2. ต้องระมัดระวังตัว เพราะด้านหนึ่งเราเพิ่งเพลี่ยงพล้ำ ยังมีความพยายามยุแหย่ แบ่งแยกและทำลาย สร้างความเสียหายกับเรา
3. ต้องรู้เท่าทันเล่ห์กลของฝ่ายตรงข้าม
4. ช่วงนี้เราจะต้องสามัคคีกันเพื่อสร้างผลงานให้กับประชาชนต่อไป
5. ต้องยืนหยัดต่อไป รักษาตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดี รักษาคุณธรรมปฏิวัติเอาไว้

----- End forwarded message -----
Kanokrat Lertchoosakul Lecturer Department of Government Faculty of Political Science Chulalongkorn University Bangkok, Thailand

 

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 580 เรื่อง หนากว่า 7500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

H

พ.ค.ท.เป็นพรรคการเมืองซึ่งมีคุณลักษณะพรรคที่ต่อสู้ด้วยอุดมการณ์ มีทิศทางการต่อสู้ มีทฤษฎีและจุดยืนที่ แน่วแน่ เป็นพรรคการเมืองที่ได้พัฒนาท่ามกลางการต่อสู้ด้วยความเสียสละ มีประสบการณ์บทเรียน มีการจัดตั้ง มีมิตรสหาย มีมวลชนและผู้ปฏิบัติงาน เป็นพรรคการเมืองที่ดำรงอยู่ภายใต้เงื่อนไขทางประวัติศาสตร์อันยาวนานทั้งในประเทศและสากล แต่ช่วงเวลาที่ผ่านมา พรรคฯ ต้องประสบวิกฤติ

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 580 เรื่อง หนากว่า 7500 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง
สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

ถาม...ท่านคิดว่าลัทธิมาร์กซ ยังคงใช้ได้กับโลกยุคโลกาภิวัฒน์หรือไม่ เพราะเหตุใด? ตอบ... ลัทธิมาร์กซยังคงใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย เพราะหลักการวิทยาศาสตร์สังคมของลัทธิมาร์กซ ที่สอดคล้องกับหลักการวิทยาศาสตร์ธรรมชาตินั้น เป็นหลักการใหญ่ ๆ ที่ยังถูกต้อง ยุคไหน ประเทศไหนก็ใช้ได้ ยุคโลกาภิวัฒน์นั้นเปลี่ยนแปลงแต่เทคโนโลยี แต่ความขัดแย้งทางชนชั้นยังคงสูงอยู่เหมือนเดิม เราจึงต้องรู้จักใช้ รู้จักพลิกแพลง ต้องไม่ตายตัว ปัญหาอยู่ที่ว่าพรรคปฏิวัติในประเทศต่าง ๆ สามารถยึดกุม หลักทฤษฎีลัทธิมาร์กซ-เลนินไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่ ปัญหาอยู่ที่ผู้นำไปใช้ และใช้อย่างไร มิใช่หลักการลัทธิมาร์กซนั้นใช้ไม่ได้แล้ว (คัดลอกมาจากบทสัมภาษณ์)

ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ
เจ้าของพื้นที่ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ
เว็ปไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้กับ Display properties : screen area 600 X 800 pixels ซึ่งจะให้ภาพที่คมชัดและสมบูรณ์ที่สุด