ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
020648
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 581 หัวเรื่อง
McJournalism ในระบบทักษิณ
เก็บความจากคำบรรยายของ
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
The Midnight 's article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

เก็บความและเรียบเรียงจากรายงานหนังสือพิมพ์
Mc Journalism ภายใต้ระบบทักษิณาธิปไตย
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
โครงการการสื่อสารแนวราบ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
รายงานนี้นำมาจาก http://www.manager.co.th

หมายเหตุ: บทความนี้เดิมชื่อ"McJournalism ภายใต้ระบบทักษิณาธิปไตย"
ชำแหละสื่อยุค "ทักษิณาธิปไตย" เสริมอำนาจเผด็จการ
เผยแพร่ครั้งแรกบนหน้าหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ช่วงหลังกลางเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๘
เกี่ยวเนื่องกับบทความลำดับที่ 580 ซึ่งอยู่ในโครงการการสื่อสารแนวราบ ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 8 หน้ากระดาษ A4)




"McJournalism ภายใต้ระบบทักษิณาธิปไตย"
ชำแหละสื่อยุค "ทักษิณาธิปไตย" เสริมอำนาจเผด็จการ

"รังสรรค์" ชำแหละสื่อภายใต้ระบบ"แม็ก เจอร์นัลลิซึม" หนุน "ทักษิณาธิปไตย" คุมสื่อเบ็ดเสร็จก้าวสู่เผด็จการเต็มขั้น เน้นข่าวแดกด่วนมากกว่าคุณภาพ พร้อมรุกคืบครอบงำทุกวงการแบบ "ครบวงจร" ปิดกั้นพื้นที่สาธารณะ ออกแบบยี่ห้อไทยรักไทย-เมนูประชานิยมครอบงำตลาดการเมือง

วันนี้ (17 พ.ค.48) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายรังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงปาฐกถาในวาระครบรอบมูลนิธิอิสรา อมันตกุล ในหัวข้อ "McJournalism ภายใต้ระบบทักษิณาธิปไตย" โดยแบ่งประเด็นในการปาฐกถา 3 ส่วน คือ

1.Mc Journalism
2.ระบอบทักษิณาธิปไตย และ
3.Mc Journalism ภายใต้ระบบทักษิณาธิปไตย

1.Mc Journalism
นายรังสรรค์ กล่าวว่า สื่อมวลชนหนังสือพิมพ์ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งในยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกา กำลังอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็น Mc Journalism หนังสือพิมพ์ไทยกำลังเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ข่าวได้ถูกแปรสภาพเป็นสินค้า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากพลังทุนนิยม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้กลุ่มทุนซึ่งครอบคลุมทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ตลอดจน Information technology อื่นๆ รวมทั้งภาพยนตร์ และดนตรี กลายเป็นกลุ่มทุนที่มีบทบาทยิ่งในสังคมประเทศที่พัฒนาแล้ว และในสังคมเศรษฐกิจโลก โดยที่กลุ่มทุนเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มทุนทางวัฒนธรรม

"การเติบใหญ่ของกระบวนการแปรสภาพข่าวเป็นสินค้า ประกอบกับการเติบใหญ่ของกลุ่มทุนสื่อสารมวลชน มีผลต่อการจัดระเบียบสื่อสารมวลชนระหว่างประเทศ ในทางระเบียบที่เป็นเชิงพาณิชย์ซึ่งเป็นแนวความคิดนี้มาจาก Mcdonization of society ของยอร์จ ริสเซอร์ ซึ่งนำมาจากแนวความคิดของ Max Weber ได้บอกว่า กระบวนการ Modernization หรือกระบวนการที่ทำให้ทันสมัย คือ กระบวนการที่ทำให้เกิดการตัดสินใจอย่างเป็นเหตุเป็นผล และยอร์จ ริสเซอร์ นักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน เขียนในงานหนังสือ Mcdonization of society บอกว่า สังคมมนุษย์ถูกครอบงำโดยกระบวนการที่เป็นเหตุเป็นผล (Rationalization) และต่อมาได้เรียกชื่อใหม่เป็น Mcdonaization"

นายรังสรรค์ กล่าวอีกว่า หากมีการแปลโดยไม่คิดถึงรายละเอียดเรียกว่า "แม็กโดนานานุวัตร" กล่าวโดยย่อ คือ หลักการบริหารจัดการ Fast food restaurant กำลังครอบงำสังคมเศรษฐกิจโลก อะไรคือสาระสำคัญของหลักการ Fast food restaurant ซึ่ง ริสเซอร์ ระบุว่า มีหลักการสำคัญ 4 ประการ คือ

1. หลักประสิทธิภาพ
2. หลักการคำนวณได้
3. หลักการคาดการณ์ได้
4. หลักการควบคุม

ถ้าพูดถึงหลักการประสิทธิภาพจะเห็นว่า Mcdonal มีหลักการบริหารจัดการที่เรียกว่า การบริหารแบบเป็นวิทยาศาสตร์ เป้าประสงค์ของธุรกิจอยู่ที่การผลิตอาหารอย่างรวดเร็ว ทันความต้องการของผู้บริโภคโดยเสียต้นทุนต่ำที่สุด คำโฆษณาของ Mcdonal ก็คือ ทำอย่างไรจะให้ผู้บริโภคที่หิวโหยได้รับการสนองตอบจนท้องอิ่ม

สื่อมวลชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือพิมพ์ไทย ให้ความสำคัญกับหลักการประสิทธิภาพมากขึ้นในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา การบริการจัดการธุรกิจสื่อมวลชนโดยเฉพาะธุรกิจหนังสือพิมพ์เปลี่ยนแปลงไปมาก การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจทำให้ธุรกิจสื่อมวลชนไทย จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับประเด็นประสิทธิภาพ และถูกผลักดันด้วยกลไกการตลาด สื่อมวลชนจึงต้องสนองตอบทำให้มีผลต่อการจัดองค์กรในการผลิต มีผลต่อการหาและการผลิตข่าว การนำเสนอข่าว พลังตลาดทำให้การบริหารจัดการสื่อมวลชน มีลักษณะเป็นธุรกิจมากขึ้น

"ระบบการบริหารจัดการหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน แตกต่างจากทศวรรษ 2490 ในยุคสมัยของคุณอิศรา อมันตกุล โดยสิ้นเชิง การลงขันเพื่อผลิตหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับ ไม่อาจจะกระทำได้โดยง่ายในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับปี 2490 เพราะทุนและเทคโนโลยีกลายเป็นอุปสรรคที่สำคัญ ด้วยเหตุนั้น หากการกระจุกตัวของทุนในธุรกิจสื่อมวลชนจะมีมากขึ้นในอนาคต ก็ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ"

อาจารย์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวอีกว่า ธุรกิจของสื่อมวลชน และธุรกิจหนังสือพิมพ์ กลายเป็นพื้นที่ของกลุ่มทุน และรอคอยการลงทุนของกลุ่มทุน ซึ่งคุณอิศราที่เรียกว่า "ธนบดีชน" ศัพท์นี้อยู่ในเรื่องสั้น "เท่ากับเท่าไหร่" โครงสร้างการเป็นเจ้าของธุรกิจหนังสือพิมพ์ เปลี่ยนแปลงไปมากในช่วงครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ในทศวรรษ 2490 สังคมไทยมีนายทุนหนังสือพิมพ์ที่มีจิตวิญญาณรับใช้ประโยชน์สาธารณะ ในปัจจุบันกลุ่มทุนสื่อสารมวลชน, มีสัญชาตญาณ Aminal sprit อย่างชัดเจน

"ในปี 2490-2500 ผู้ทรงอำนาจทางการเมือง และพรรคการเมือง ให้เงินอุดหนุนพรรคการเมืองจนเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า หนังสือพิมพ์ฉบับใดเป็นของพรรคการเมือง หรือผู้ทรงอำนาจคนใด อิศรา อมันตกุล กล่าวถึงปรากฏการณ์ที่หนังสือพิมพ์รับเงินอุดหนุนจากพรรคการเมืองในเรื่องสั้นชื่อ "แกะดำแห่งชนาธิปไตย" ในปัจจุบันเราไม่ทราบแน่ชัดว่า หนังสือพิมพ์ฉบับใดรับเงินอุดหนุนจากผู้ทรงอำนาจคนใด หรือพรรคการเมืองใด แต่เราพอทราบว่า หนังสือพิมพ์ฉบับใดสนับสนุนรัฐบาล และฉบับใดวิพากษ์รัฐบาล"

นายรังสรรค์ กล่าวต่อว่า ข่าวแปรสภาพเป็นสินค้า และหนังสือพิมพ์ต้องผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้หนังสือพิมพ์ในปัจจุบันจึงมีลักษณะเป็น Consumer Journalism โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือพิมพ์ที่เป็น National Newspaper ซึ่งต้องพึ่งผู้บริโภคในตลาดล่าง จึงไม่น่าประหลาดใจที่หนังสือพิมพ์เหล่านี้ให้ความสำคัญกับข่าวไลฟ์สไตล์ และผู้มีชื่อเสียง ไฮโซ ขณะที่ข่าวนอกกระแสตลาดจะมีพื้นที่ให้น้อย ทำให้เกิดสำนักข่าวทางเลือก เช่น สำนักข่าวประชาธรรม

น่าสังเกตว่า อิศรา อมันตกุล กล่าวถึงข่าวนอกกระแสตั้งแต่ปี 2490 ในเรื่องสั้นที่ชื่อ "ข่าวที่บรรณาธิการขว้างทิ้ง" เมื่อนักข่าวรายงานข่าวเกี่ยวกับประชาชนในระดับรากหญ้า เด็กผู้หญิงกอดหมาตายกลางห่าระเบิด บรรณาธิการขว้างข่าวชิ้นนั้นทิ้งโดยอ้างว่าไม่มีคนอ่าน ในปี 2540 พื้นที่ของประชาชนในระดับรากหญ้าในหน้าหนังสือพิมพ์มีอยู่ไม่มากนัก

อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์บางฉบับพยายามรักษาพื้นที่เอาไว้รวมถึงข่าวภูมิภาคด้วย ไม่ต้องพูดถึงการพึ่งพิงข่าวต่างประเทศของ International News Agancy โดยไม่ได้ตระหนักว่าสำนักข่าวต่างประเทศเหล่านี้มีอุดมการณ์ทางการเมือง และอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจที่ซ่อนเร้น พลังตลาดไม่เพียงมีผลต่อการหาข่าวและการผลิตข่าวเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อการนำเสนอข่าวอีกด้วย

พาดหัวข่าวต้องหวือหวาสร้างอารมณ์ดึงดูดความสนใจ ภาพประกอบข่าวที่มีขนาดใหญ่ มีสีสดงดงาม รายงานข่าวต้องสั้น เพราะผู้บริโภคไม่ต้องการอ่านข่าวยาวๆ พลังตลาดยังมีผลต่อการใช้ภาษาในการรายงานข่าวด้วย รายงานข่าวจะต้องใช้ Simple Sentence และลดทอน Complex Sentence ข่าวหน้าหนึ่งต้องจบภายในหน้า ไม่ต้องอ่านหน้าสอง เช่น USA TODAY ได้ชื่อว่าเป็น McPAPER

ลักษณะในการนำเสนอข่าวที่กล่าวมา คือการเขียนข่าวให้อ่านง่ายมีประโยคสั้นๆ ข่าวไม่ต้องยาว นอกจากนี้จะเห็นได้จากนิตยสาร TIME เราจะเห็นได้ว่า กระบวนการที่สื่อมวลชนกำลังเปลี่ยนเป็น Mc Journalism ไม่ได้เกิดกับหนังสือพิมพ์อย่างเดียว แต่เกิดกับสื่ออื่นๆ รวมทั้งโทรทัศน์มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการจัดองค์กร ในการสื่อข่าวการหา และการนำเสนอข่าว

นายรังสรรค์ กล่าวต่อว่า สำหรับหลักการที่ 2 ของ Mcdonalization คือ ความสามารถที่จะประเมินเป็นตัวเลขได้ การให้ความสำคัญกับสิ่งที่นับและประเมินเชิงปริมาณได้เป็นหลักการที่สำคัญ ผลของหลักการนี้ คือ ปริมาณสำคัญกว่าคุณภาพ Mcdonal เน้นเรื่อง Big Mac แต่ไม่ได้เน้นความอร่อย เวลาที่ fast food เหล่านี้โฆษณาไม่ได้มีการพูดถึงรสชาติ หนังสือพิมพ์ไทยให้เริ่มความสำคัญกับปริมาณ คือ ยอดพิมพ์จะกลายเป็นดัชนีวัดความสำเร็จ นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับจำนวนหน้า มีหลายเซกชันมากขึ้น มีโฆษณาหนาเป็นปึกๆ แม้จะไม่ได้มีรายได้เข้ามาชัดเจนก็ตาม

ส่วนหลักการที่ 3 การคาดการณ์หรือทำให้เกิดความคาดหวัง ซึ่ง Mcdonal พยายามสร้างลักษณะนี้ขึ้นมาเพื่อให้ผู้บริโภคคาดหวังได้ เช่น ร้านแมคโดนัลด์จะมีการตกแต่งเหมือนกันทุกร้าน เพื่อให้ผู้บริโภคคาดหวังได้ว่ารสชาติอาหารจะเป็นเช่นไร พนักงานมีพฤติกรรมอย่างไร เป็นการทำให้ผลผลิตมีมาตรฐานเดียวกัน (Standardization) : ซึ่งถูกควบคุมโดยเทคโนโลยีในสังคมตะวันตก

สื่อมวลชนได้มีการเปลี่ยนโฉมจากหนังสือพิมพ์แบบบอร์ดชีส เป็นแท็บลอยด์ เรียกว่ากระบวนการ Tabloidization ซึ่งมีความชัดเจนในสื่อมวลชนในอังกฤษและอเมริกา ในอังกฤษ ได้แก่ หนังสือพิมพ์เดอะซัน ส่วนในอเมริกาก็มีวอลล์สตรีทเจอร์นัล กระบวนการนี้กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน หลายฉบับมีการพิมพ์ฉบับแทบลอยด์เป็นฉบับแทรกอยู่ในหนังสือพิมพ์แบบบอร์ดชีส หนังสือพิมพ์ไทย เช่น หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ สำหรับหนังสือพิมพ์แบบแท็บลอยด์จะทำให้ผู้บริโภคคาดได้ว่า Agenda ของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้เป็นเรื่องอะไร เช่น เรื่องเกี่ยวกับดารา, กีฬา, สังคม กระบวนการทำข่าวให้เป็นเรื่องเซ็กมีอย่างแพร่หลาย

อาจารย์รังสรรค์ กล่าวถึงหลักการที่ 4 ของเมคโดนัลล์ว่า มีการควบคุมกำลังพนักงาน และผู้บริโภคโดยใช้เทคโนโลยี รูเพิร์ต เมอร์ด็อก และใช้เทคโนโลยีในการจัดการกับ สหภาพแรงงานได้ แต่หนังสือพิมพ์ไทยในเรื่องนี้ยังไม่มีปรากฏ แต่ Mc Journalism กำลังปรากฏในสังคมไทย สื่อโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์กำลังเปลี่ยนจากแรงกดดันของทุนนิยม โชคดีที่ยังไม่เป็น Junk journalism มีผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกระบวนการเหล่านี้

Mc Journalism ถูกกำกับโดยตลาด การผลิตข่าวเพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคจะเป็นเป้าหมายหลัก ข่าวไม่ได้ผลิตเพื่อสนองตอบประโยชน์สาธารณะ ความหลากหลายของข่าวมีน้อยลง และโครงสร้างข่าวของหนังสือพิมพ์หลายๆ ฉบับ มีแนวโน้มที่จะเหมือนกันมากขึ้น การนำเสนอข่าวมีลักษณะป้อนเข้าปาก เพราะตลาดไม่ต้องการข่าวที่เขียนละเอียด ซับซ้อน แต่ต้องการข่าวที่อ่านง่ายในเวลาอันสั้น

2.ระบอบทักษิณาธิปไตย
อาจารย์ธรรมศาสตร์ กล่าวอีกว่า ระบอบที่ 2 คือ ระบอบทักษิณาธิปไตย ซึ่งมีประเด็นสำคัญ 4 ประเด็น ประกอบด้วย

1. ระบอบทักษิณาธิปไตย ก่อเกิดได้อย่างไร
2. ระบอบทักษิณธิปไตย เติบโตได้อย่างไร
3. ระบอบทักษิณธิปไตยมีผลต่อการเมืองไทยอย่างไร และ
4. ระบอบทักษิณธิปไตยมีผลต่อสื่อมวลชนอย่างไร

รัฐธรรมนูญ ปี 2540 ตั้งความหวังที่จะพัฒนาระบอบการเมืองการปกครองของไทย ให้เป็นระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์มากกว่าเดิม แต่การเมืองการปกครองหลังปี 2540 แทนที่จะพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์กลับพัฒนาไปสู่ระบอบทักษิณาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบการเมืองการปกครองของ พ.ต.ท.ทักษิณ โดย พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ

ระบอบทักษิณาธิปไตย ก่อเกิดจากปัจจัยที่ประกอบกัน 3 อย่าง คือ

1. การออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อให้มี Strong Government (รัฐบาลเข้มแข็ง) และ Strong Prime Minister (นายกรัฐมนตรีเข้ม แข็ง) และเพื่อให้ระบบการเมืองการปกครองแปรเปลี่ยนจากระบบพหุพรรค ทวิพรรค

2. ความอ่อนแอของกลุ่มทุนการเมืองเดิม ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองเมื่อปี 2540 ที่มีผลในการทำลายกลุ่มทุนทางการเงินและกลุ่มทุนอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ และ

3. ฐานการเงินอันมั่นคงของ พ.ต.ท.ทักษิณ เอง

อาจารย์รังสรรค์ กล่าวว่า ระบอบทักษิณาธิปไตยเติบโตได้อย่างไร คิดว่าเติบโตจาก ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีที่สำคัญ 6 ประการ คือ

1. การสร้าง และขยายฐานการเมือง โดยเริ่มต้นด้วยการสถาปนาพรรคไทยรักไทย ตามมาด้วยกระบวนการ M&A คือ กระบวนการควบและครอบกลุ่มการเมือง และฐานพรรคการเมือง ซึ่งเป็นสิ่งจูงใจที่แฝงเร้นอยู่ในรัฐธรรมนูญปี 2540 และในรัฐธรรมนูญยังมีสิ่งจูงใจในการลงโทษพรรคการเมืองขนาดเล็ก เกื้อกูลการเติบโตของพรรคการเมืองขนาดใหญ่โครงสร้างสิ่งจูงใจเหล่านี้ ได้เสริมส่งให้พรรคการเมืองเลือกเส้นทางการเติบโตจากภายนอกมากกว่าเลือกการเติบโตจากภายในการสร้าง

และการขยายฐานการเมืองยังอาศัยวิธีการตลาดทางการเมือง โดยเฉพาะการสร้างยี่ห้อทางการเมือง การสร้างทักษิณและไทยรักไทยเป็นยี่ห้อการเมือง การสร้างทักษิโณมิกส์ให้เป็นยี่ห้อการเมือง และพยายามอาศัยวิธีการตลาดในการทำให้ประชาชนมีความภักดีต่อยี่ห้อ รวมทั้งการหมั่นตรวจสอบคะแนนนิยมของประชาชนด้วยการทำโพล และการประชาสัมพันธ์ทางการเมือง

2. การนำเสนอเมนูนโยบายประชานิยม ซึ่งมีผลในการเพิ่มพูนคะแนนนิยมในทางการเมือง และมีผลในการขยายฐานทางการเมืองของพรรคไทยรักไทย

3. เกิดจากการเกื้อหนุนของรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่มีบทบาท ในการเสริมส่งการเติบโตของระบบทักษิณาธิปไตย โดยมีส่วนส่งเสริม 3 ส่วนคือ

ประการแรก คือ การบังคับให้ผู้สมัคร ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง

ประการที่สอง มีอคติเกี่ยวกับขนาดของพรรค รัฐธรรมนูญปี 2540 มีอคติในการเกื้อกูลพรรคการเมืองขนาดใหญ่ และลงโทษพรรคการเมืองขนาดเล็ก และ

ประการสุดท้าย
ส่งเสริมให้อำนาจนายกรัฐมนตรี ในการแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรี ทำให้นายกรัฐมนตรี เป็น Strong Prime Minister

4. การครอบงำตลาดการเมืองทั้งตลาดพรรคการเมือง และนักการเมือง ครอบงำวุฒิสภา และครอบงำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งการครอบงำตลาดนักการเมืองส่วนหนึ่งเกิดจาก รัฐธรรมนูญบังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรค จึงทำให้ตลาดนักการเมือง เป็นตลาดของผู้ซื้อไม่ใช่ตลาดของผู้ขาย หรือไม่ใช่ตลาดของตัวนักการเมืองเอง

และการที่พรรคไทยรักไทยประสบความสำเร็จในการสร้างยี่ห้อพรรคไทยรักไทยและสามารถทำให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีความภักดีต่อยี่ห้อ ก็มีส่วนทำให้นักการเมืองมีความต้องการที่จะตบเท้าเข้าพรรคไทยรักไทย ด้วยเหตุนี้ พรรคไทยรักไทย และพ.ต.ท.ทักษิณ จึงมีอำนาจครอบงำตลาดนักการเมือง ส่วนในตลาดพรรคการเมือง พรรคไทยรักไทยได้อาศัยยุทธวิธีให้การเข้าควบและครอบกลุ่มพรรคการเมืองต่างๆ จนทำให้พรรคการเมืองที่มีชีวิตลดน้อยลง

อาจารย์รังสรรค์ กล่าวว่า จะเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคไทยรักไทย ประสบความสำเร็จในการครอบงำตลาดนักการเมืองและตลาดพรรคการเมือง และยังรุกคืบเข้าไปยึดพื้นที่ของวุฒิสภาและพยายามยึดพื้นที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะเห็นได้จากการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทักษิณเปิดเสรีให้ผู้สมัครสามารถใช้ยี่ห้อของพรรคไทยรักไทยได้ คนที่ชนะในที่สุดก็เป็นคนของพรรคไทยรักไทยที่แท้จริง

5. การครอบงำองค์กรรัฐธรรมนุยาภิบาล เป็นการรุกคืบเข้าไปครอบงำองค์กรที่กำกับสังคมการเมืองไทย เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช., ปปง., สตง., กกต., กทช. และการครอบงำกระบวนการนโยบาย

"พรรคไทยรักไทยประสบความสำเร็จในการครอบงำกระบวนการกำหนดนโยบาย ซึ่งเดิมผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการครอบงำคือ กลุ่มขุนนางนักวิชาการ แต่เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินปี 2540 บทบาทของเทคโนแครตก็เสื่อมสลายลดน้อยลง เทคโนแครตซึ่งมีภาพของความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นภาพของขุนนางข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถ ถูกทำลายไปโดยวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2540

ภาพของความซื่อสัตย์ สุจริต ถูกบั่นทอนไปเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ และเทคโนแครตเข้าไปหาประโยชน์จากการเกร็งกำไรซื้อขายหลักทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ แต่เมื่อเกิดวิกฤตการณ์การเงินปี 2540 ประชาสังคมไทยเริ่มตั้งข้อกล่าวหาเกี่ยวกับความสามารถในทางวิชาการของเทคโนแครตไทย ความจริงบทบาทของเทคโนแครตไทย ถูกบั่นทอนตั้งแต่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ แต่พอมาถึงรัฐบาลพรรคไทยรักไทย เทคโนแครตไม่รู้หายไปไหน"

6. ระบอบทักษิณาธิปไตย นายรังสรรค์กล่าวว่า มีผลต่อสังคมการเมืองไทยอย่างไร สังคมการเมืองไทยไม่สามารถพัฒนาไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ยั่งยืน และถาวรได้ หาแต่จะพัฒนาไปสู่ระบอบเผด็จการที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่จำเป็นต้องเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยเสมอไป การเลือกตั้งเป็นเพียงมรรควิถี ของการขึ้นสู่อำนาจระบบประชาธิปไตยไม่ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นการขึ้นสู่อำนาจเพียงส่วนเดียว แต่ยังให้ความสำคัญกับประเด็นการใช้อำนาจ

รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หากใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม ไม่ได้ใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ของราษฎร แต่เป็นการใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง เครือญาติ พวกพ้องและบริวาร รัฐบาลนั้นมิอาจได้ชื่อว่าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย

"ระบอบทักษิณาธิปไตย เป็นระบอบการเมืองการปกครองที่ปราศจาก Check & Balance (ตรวจสอบและถ่วงดุล) โอกาสที่จะใช้อำนาจในการฉ้อฉลและฉ้อราษฎร์บังหลวงมีมาก การแสวงหาส่วนเกินทางเศรษฐกิจจากกระบวนการกำหนดและบริหารนโยบายมีปรากฏทั่วไป การกำหนดนโยบายในทางเกื้อกูลผลประโยชน์ทั้งธุรกิจ และการเมืองของตนเองและพวกพ้อง เป็นสามัญกรณี ในฐานะที่เป็น Democratic Oligarchy (การปกครองระบอบคณาธิปไตย) ผู้ทรงอำนาจภายใต้ระบอบนี้จึงไม่ต้องการความเป็นธรรมาภิบาล"

3.Mc Journalism ภายใต้ระบบทักษิณาธิปไตย
นายรังสรรค์ กล่าวต่อว่า ระบอบทักษิณาธิปไตยจะมีผลต่อสื่อมวลชนอย่างไร ผู้ทรงอำนาจภายใต้ระบอบทักษิณาธิปไตยไม่ต้องการให้ผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครอง มีความเห็นต่างจากผู้ปกครอง หากผู้ปกครองชี้นำว่าระบบเศรษฐกิจต้องโต 7 เปอร์เซ็นต์ ผู้อยู่ใต้ปกครองก็ต้องยอมรับตัวเลข 7 เปอร์เซ็นต์ หากผู้ที่อยู่ใต้การปกครองมีความเห็นเป็นอย่างอื่นผู้ปกครอง จะหาวิธีการทำให้ผู้ที่อยู่ใต้ปกครองหุบปาก และจงอย่าได้เอื้อนเอ่ยถึงการหลุดพ้นจากกับดักจีดีพี

หรือหากผู้ปกครองชี้นำว่าไม่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงในกรณีสนามบินสุวรรณภูมิก็เป็นหน้าที่ของผู้ที่อยู่ใต้ปกครองต้องเชื่อฟังผู้ปกครอง เพราะผู้ปกครองได้มีผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าให้สินบนมายืนยันว่า ไม่ได้ให้สินบนแต่ประการใด

"ระบอบทักษิณาธิปไตย มีวิธีการควบคุมกำกับและตรวจสอบสื่อได้หลายวิธี

ประการที่หนึ่ง คือกลุ่มทุนทักษิณาธิปไตย รุกคืบเข้าไปยึดพื้นที่ในธุรกิจสื่อสารมวลชน

ประการที่สอง กลุ่มทุนทักษิณาธิปไตย ผนึกกำลังไม่ใช้จ่ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ในสื่อที่มีความคิดเป็นปรปักษ์กับระบอบประชาธิปไตย

ประการที่สาม ผู้ทรงอำนาจในระบอบทักษิณธิปไตย ควบคุมและกำกับการใช้จ่ายงบประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการ ให้เฉพาะแต่สื่อที่เป็นเด็กดี และไม่ให้งบประชาสัมพันธ์กับสื่อที่เกเร

ประการที่สี่ กลุ่มทุนสื่อสารมวลชน และนักหนังสือพิมพ์ต้องถูกตรวจสอบการเสียภาษีและการฟอกเงิน

ประการที่ห้า ผู้ทรงอำนาจในระบอบทักษิณาธิปไตย ใช้กลไกการประชาสัมพันธ์ของรัฐตอบโต้สื่อที่มีพฤติกรรมที่ไม่เป็นไทยรักไทย

ประการที่หก การใช้กฎหมายหมิ่นประมาทเป็นเครื่องมือ

อาจารย์รังสรรค์กล่าวว่า ในประการสุดท้ายคือ Mc Journatism ภายใต้ระบอบทักษิณาธิปไตย หาก Mc Journalism ยังคงขยายตัวภายใต้ระบอบทักษิณาธิปไตย สิ่งที่จะเกิดกับสังคมไทยคือ จะไม่มีพื้นที่สาธารณะสำหรับสาธารณประโยชน์ ด้วยกระบวนการเปลี่ยนแปลงสื่อมวลชน โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ให้เป็น Mc Journalism

การขยายตัวของ Mc Journalism จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของระบอบเผด็จการจากการเลือกตั้งในนามระบอบทักษิณาธิปไตย เมื่ออิศรา อมันตกุล เขียนเรื่องสั้นเรื่อง เค้าตะโกนถามนายกรัฐมนตรี ในทศวรรษ 2490 ท่านให้คำตอบว่าเสียงตะโกนนั้นไร้ความหมาย ภายใต้ระบอบทักษิณาธิปไตย เสียงตะโกนถามนายกรัฐมนตรี ยิ่งไร้ความหมายได้จริง เพราะแม้จะได้ยินแต่ไม่ได้ฟัง

 

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 580 เรื่อง หนากว่า 7500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

H

ธุรกิจหนังสือพิมพ์ กลายเป็นพื้นที่ของกลุ่มทุน... ซึ่งคุณอิศราที่เรียกว่า "ธนบดีชน" โครงสร้างการเป็นเจ้าของธุรกิจหนังสือพิมพ์ เปลี่ยนแปลงไปมากในช่วงครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ .ในทศวรรษ 2490 สังคมไทยมีนายทุนหนังสือพิมพ์ที่มีจิตวิญญาณรับใช้ประโยชน์สาธารณะ แต่ในปัจจุบันกลุ่มทุนสื่อสารมวลชน, มีสัญชาตญาณ Aminal sprit อย่างชัดเจน

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 580 เรื่อง หนากว่า 7500 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง
สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

สื่อมวลชนได้มีการเปลี่ยนโฉมจากหนังสือพิมพ์แบบบอร์ดชีส เป็นแท็บลอยด์ เรียกว่ากระบวนการ Tabloidization ซึ่งมีความชัดเจนในสื่อมวลชนในอังกฤษและอเมริกา ในอังกฤษ ได้แก่ หนังสือพิมพ์เดอะซัน ส่วนในอเมริกาก็มีวอลล์สตรีทเจอร์นัล กระบวนการนี้กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน หลายฉบับมีการพิมพ์ฉบับแทบลอยด์เป็นฉบับแทรกอยู่ในหนังสือพิมพ์แบบบอร์ดชีส หนังสือพิมพ์ไทย เช่น หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ สำหรับหนังสือพิมพ์แบบแท็บลอยด์จะทำให้ผู้บริโภคคาดได้ว่า Agenda ของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้เป็นเรื่องอะไร เช่น เรื่องเกี่ยวกับดารา, กีฬา, สังคม กระบวนการทำข่าวให้เป็นเรื่องเซ็กมีอย่างแพร่หลาย (ชำแหละสื่อยุคทักษิณาธิปไตย)

ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ
เจ้าของพื้นที่ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ
เว็ปไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้กับ Display properties : screen area 600 X 800 pixels ซึ่งจะให้ภาพที่คมชัดและสมบูรณ์ที่สุด