ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
250148
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 513 หัวเรื่อง
ทุนนิยมและอาการจิตเภท
สมเกียรติ ตั้งนโม
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
The Midnight 's article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

อาการจิตเภทกับวัฒนธรรมกระแสทุน
ลัทธิทุนนิยมและอาการจิตเภท
Capitalism and Schizophrenia

เขียนโดย Jonah Peretti
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หมายเหตุ:
บทความชิ้นนี้นำมาจากเรื่อง
Capitalism and Schizophrenia
Contemporary Visual Culture and the Acceleration of Identity Formation/Dissolution

เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 25 หน้ากระดาษ A4)

 

หมายเหตุ : Schizophrenia อาการจิตเภท(บุคลิกแตกแยก)ตามรูปศัพท์เดิมทางจิตวิทยา หมายถึง อาการป่วยทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งมีอาการล้มเหลวในความสัมพันธ์ระหว่างความคิด อารมณ์ความรู้สึก และพฤติกรรม อันน้อมนำไปสู่การรับรู้ที่ผิดพลาด การกระทำและความรู้สึกอันไม่เหมาะสม จะมีอาการถอนตัวไปจากความเป็นจริง สู่อาการเพ้อฝันและหลงละเมอ (ความหมายทางจิตวิทยาเดิมๆนี้ อาจไม่ตรงกับเนื้อหาในบทความทั้งหมด ดังนั้น ผู้อ่านควรพิจารณาและทำความเข้าใจในระหว่างบรรทัดที่อ่าน)

This article demonstrates the psychological link between one-dimensionality and advertising.
บทความชิ้นนี้จะแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงในเชิงจิตวิทยา ระหว่าง"ลักษณะความเป็นมิติเดียว" กับ "การโฆษณา"

 

เกริ่นนำ
ในช่วงเวลาในการเขียนและตีพิมพ์งานวิชาการชิ้นนี้ การช็อปปิงผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้กลายมาเป็นวัฒนธรรมกระแสหลักไปแล้ว บริษัทที่สำคัญทุกๆบริษัทในโลก ต่างก็มีเว็ปไซต์ที่จะให้ข้อมูลสินค้าของตนเอง ซึ่งเป็นการโฆษณาในแบบอินเตอร์แอคทีฟ และเราสามารถที่จะซื้อสินค้าได้ผ่านระบบออน์ไลน์เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือลดราคา (www.amazon.com), การสั่งซื้อพิซซ่าโดยการมาส่งถึงบ้าน (www.PizzaNet.net), การซื้อขายหุ้นผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (www.schwab.com), และทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่คุณจะจินตนาการได้ (virtumall.com) ทั้งหมดนี้คุณสามารถซื้อหามันได้บนไซเบอร์สเปซ

ระบบอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีในการขยายตัวกลายเป็นแนวโน้มของลัทธิทุนนิยมไปในปัจจุบัน ซึ่งอันนี้ถือว่าเป็นฐานของความพยายามสำหรับงานวิชาการชิ้นนี้ ที่จะอธิบายและทำความเข้าใจให้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถึงการช็อพพิงบน World Wide Web ซึ่งทำให้เกิดอัตราเร่งในส่วนของผู้จับจ่ายที่สามารถจะได้มาซึ่งสินค้าต่างๆอย่างรวดเร็ว
เพียงสิ่งเดียวที่แยกการโฆษณาสินค้าเหล่านี้ไปจากการซื้อขายก็คือ การใช้เมาซ์และคลิกๆหนีไปนั่นเอง

ความตั้งใจซึ่งเป็นแกนกลางสำคัญเกี่ยวกับงานเขียนชิ้นนี้ของข้าพเจ้าก็คือ ยุคหลังทุนนิยมนั้น ไม่เพียงทำให้เกิดการไหลเลื่อนของทุนเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดอัตราเร่งในการบริโภค ซึ่งบรรดาผู้คนทั้งหลายยึดครองอัตลักษณ์ต่างๆเอาไว้ การสร้างอัตลักษณ์อันนี้ ได้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับแรงกระตุ้นที่จะบริโภคอย่างแยกไม่ออก และด้วยเหตุนี้ การก่อตัวขึ้นมาของทุนนิยมจึงบังคับให้เกิดอัตราเร่งที่เพิ่มขึ้นของปัจเจกชนทั้งหลาย ที่จะยึดครองอัตลักษณ์และสลัดหลุดจากอัตลักษณ์ต่างๆอันนั้น
อินเตอร์เน็ตถือเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ทั้งหลายหลังทุนนิยม ที่ยินยอมให้มีความยืดหยุ่น ความรวดเร็ว และกลไกการทำกำไรเกี่ยวกับการสร้างอัตลักษณ์ต่างๆมากยิ่งขึ้น

ความเชื่อมโยงกันของลัทธิทุนนิยมและการสร้างอัตลักษณ์ ดูเหมือนว่าจะทำให้เกิดบริบทในลักษณะที่คลุมเครือ ส่วนของข้อพิจารณาอันหนึ่งเกี่ยวกับความเรียงชิ้นนี้ จะให้ความสนใจไปที่การลุยข้ามน้ำที่ขุ่นคลักของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของลากองเนียน และหลังลากองเนียน(lacanian and post-lacanian)

นอกจากนี้จะมีการประเมินถึงทฤษฎีต่างๆที่สัมพันธ์กันเกี่ยวกับการทำให้เกิดอัตลักษณ์ ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญในโครงการของข้าพเจ้า ในที่นี้จะมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการทำให้เกิดอัตลักษณ์ว่า หมายความว่าอะไร? คำถามแรกสุดอันนี้ ถือเป็นข้อมูลการสนทนาถึงเรื่องการก่อเกิดอัตลักษณ์ว่า มันมีหน้าที่อย่างไรในโลกที่เต็มไปด้วยสื่อต่างๆของยุคหลังทุนนิยม และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวกับอัตลักษณ์ต่างๆ มันได้รับการสนับสนุนอุ้มชูอย่างไร?

1. ลัทธิทุนนิยมและอาการจิตเภท
Capitalism and Schizophrenia
ข้าพเจ้าจะเน้นการสนทนาเกี่ยวกับการทำให้เกิดอัตลักษณ์ โดยการเปรียบเทียบเนื้อหาข้อมูลที่ขัดแย้งหรือตรงข้ามกันสองเรื่อง

- เรื่องแรก เป็นความเรียงในลักษณะบุกเบิกโดย Fredric Jameson ชื่อเรื่อง "Postmodernism and consumer Society"(1983)
- ส่วนเรื่องที่สอง Anti-Oedipus เป็นหนังสือที่มีการโต้เถียงกันมากของ Gilles Deleuze และ Felix Guattari (1983)

ความเรียงของ Jameson และ Anti-Oedipus ได้นำเสนอทัศนียภาพที่แตกต่างกัน ในเรื่องของตัวตนที่สร้างอัตลักษณ์ต่างๆขึ้นมาในช่วงยุคปลายทุนนิยม แม้ว่าผลงานทั้งสองเล่มนี้จะแตกต่างกันมาก แต่งานทั้งคู่ได้ศึกษาเรื่องของการทำให้เกิดอัตลักษณ์ โดยผ่านการวิเคราะห์เกี่ยวกับ"อาการจิตเภท"และ"ลัทธิทุนนิยม"เหมือนกัน

สำหรับการสำรวจต่อมาเกี่ยวกับงานทั้งสองเรื่อง ข้าพเจ้าได้วางเนื้อหาข้อมูลเหล่านี้ลงในการสนทนาระหว่างกันและกัน และสลับกับเนื้อหาข้อมูลอื่นๆที่โฟกัสให้มันแคบเข้า โดยการเจาะจงลงไปที่การศึกษาเชิงจิตวิเคราะห์เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตาร่วมสมัย (ดังนั้น ในการศึกษางานชิ้นนี้ ผู้อ่านจึงต้องพิจารณาส่วนต่างๆสลับปรับเปลี่ยนกันไปมาอย่างระมัดระวังตามสมควร)

Jameson เกี่ยวข้องกับเรื่องของสุนทรียภาพหลังสมัยใหม่และขบวนการต่างๆทางวัฒนธรรม ด้วยการจัดแยกหมวดหมู่จิตวิเคราะห์เกี่ยวกับจิตเภท โดยการหยิบยืมมาจากลากอง Jameson นิยามอาการจิตเภทในฐานะที่เป็น "ความล้มเหลวของทารก ที่จะยอมรับสู่อาณาจักรของภาษาและการใช้คำพูดอย่างเต็มที่" (Jameson 118)

ผู้ป่วยจิตเภทซึ่งเป็นเด็กที่มีอายุยังไม่ถึงขวบปี ล้มเหลวที่จะยึดครองภาษาได้อย่างเต็มที่ และจากผลลัพธ์อันนั้น จึงทำให้ทารกไม่สามารถสร้างตัวตนขึ้นมาในฐานะที่เป็นปัจเจกได้ เพราะทารกจักต้องเข้าสู่ขอบเขตของสังคม/ภาษา เพื่อพัฒนาตัวตนหรืออีโก้อันหนึ่งขึ้นมาก่อนนั่นเอง. Jameson เขียนเอาไว้ว่า:

ประสบการณ์เกี่ยวกับอาการจิตเภทเป็นประสบการณ์ของการแยกตัว, การตัดขาด, ความไม่ต่อเนื่องกับรูปสัญญะ(discontinuous material signifiers) ซึ่งทำให้เกิดความล้มเหลวที่จะเชื่อมโยงสู่ความสอดคล้องเกี่ยวเนื่อง. ด้วยเหตุนี้ อาการจิตเภทจึงไม่รู้จักอัตลักษณ์ส่วนตัวในความหมายของพวกเรา เพราะความรู้สึกของเราเกี่ยวกับอัตลักษณ์ ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของเราเกี่ยวกับการยืนยันเกี่ยวกับ"ฉัน"และ"ตัวฉัน"ตลอดเวลา (119)

ตามข้อความข้างต้นของ Jameson, ลักษณะอาการจิตเภทเป็นอาการที่ขาดเสียซึ่งอัตลักษณ์ส่วนตัว จึงทำให้ไม่สามารถแยกแยะความต่างระหว่างตัวตนและโลกภายนอกได้ และผลของอันนี้ทำให้ไม่สามารถมีประสบการณ์ต่อเนื่องเกี่ยวกับเวลาได้

มันมีเหตุผลหลายหลากที่ว่า ทำไม Jameson จึงไปเกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้ เกี่ยวกับ"อาการจิตเภท"กับ"ลัทธิหลังสมัยใหม่"และ"ช่วงปลายของลัทธิทุนนิยม" ในหลายๆแง่มุม วัฒนธรรมสื่อของปลายคริสตศตวรรษที่ 20 ได้ลอกเลียนประสบการณ์ของผู้ป่วยจิตเภท. ความต่อเนื่องที่วูบวาบรวดเร็วของรูปสัญญะต่างๆ(signifiers)ในแบบฉบับของ MTV ได้กัดกร่อนความรู้สึกของผู้ดูเกี่ยวกับความต่อเนื่องในเรื่องของเวลา

การใช้คำๆเดียวกันที่ Jameson ใช้เพื่ออธิบายประสบการณ์ทางจิตเภท ภาพต่างๆที่แวบวาบที่เข้ามาสู่เรตินาของผู้ชม MTV เป็นการแยกออก ตัดขาดความไม่ต่อเนื่องของรูปสัญญะ ซึ่งอันนี้ทำให้ล้มเหลวที่จะเชื่อมโยงกับลำดับการที่ต่อเนื่อง. การปะติดปะต่อในลักษณะ montage (ภาพที่ไม่ต่อเนื่องหรือเกี่ยวข้องกันนำมาวางต่อกัน)ของหลังสมัยใหม่ สามารถมีผลเกี่ยวกับความสับสนจับต้นชนปลายไม่ถูกของตัวตน และอาจทำให้เกิดการไม่มีอีโก้ ซึ่งนั่นคือ"คุณลักษณะของอาการจิตเภท"

Jameson สนใจว่า การปรากฎตัวขึ้นของรูปแบบต่างๆของศิลปะหลังสมัยใหม่ ขาดเสียซึ่งลักษณะของการล้มล้าง หรือบทบาทหน้าที่ในเชิงวิพากษ์ซึ่งศิลปะสมัยใหม่ได้ทำหน้าที่นั้น "ลัทธิสมัยใหม่เป็นศิลปะในเชิงตรงข้าม"กับศิลปะก่อนหน้ามัน Jameson ยืนยัน. มันไม่ได้ไปด้วยกันได้ดีกับเฟอร์นิเจอร์ในสมัยวิคตอเรียที่ดูหนักแน่น, และไม่ได้ไปด้วยกันกับข้อห้ามทางศีลธรรมสมัยวิคตอเรียน หรือกับขนบธรรมเนียมต่างๆเกี่ยวกับมารยาททางสังคม (123-124)

ในปัจจุบันลัทธิสมัยใหม่สูญเสียธรรมชาติการล้มล้างของมันไป และกลายเป็นเรื่องของนักบุญทางศิลปะ (ยกตัวอย่างเช่น การยกย่อง Picasso, Elliot, Sartre, ฯลฯ เป็นต้น) มันเป็นบรรยากาศที่ไม่ชัดเจนที่ลัทธิหลังสมัยใหม่ได้เข้ามาเติม ในฐานะขบวนการทางสังคม/การเมืองที่สุดขั้วอันหนึ่ง. ศิลปะหลังสมัยใหม่ทำลายล้างความแตกต่างระหว่าง"ศิลปะชั้นสูง"กับ"ศิลปะชั้นต่ำ", ในขณะเดียวกัน วัฒนธรรมหลังสมัยใหม่สามารถที่จะบูรณาการหรือผสมผสานตัวของมันเองเข้าไปสู่วัฒนธรรมมวลชนทุนนิยมได้ ซึ่งกรณีของ MTV สามารถที่จะยกมาเป็นกรณีตัวอย่างของเราในเรื่องนี้ได้

สำหรับความชัดเจน ทั้งหมดของ MTV ล้มเหลวที่จะช็อค แต่กลับให้การสนับสนุนวัฒนธรรมกระแสทุนมากกว่าที่จะคุกคามมัน ด้วยเหตุนี้ Jameson จึงสรุปว่า "ลัทธิหลังสมัยใหม่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ…ลัทธิทุนนิยมตอนปลาย(125). ที่ที่ลัทธิสมัยใหม่โจมตีสังคมของชนชั้นกลางอยู่บ่อยๆ ซึ่งมันปรากฎตัวขึ้นมา, ลัทธิหลังสมัยใหม่ "กลับทำสำเนา หรือผลิตซ้ำ… (และ)เสริมเพิ่มพลัง…ตรรกะของลัทธิทุนนิยมบริโภค"(125)

Jameson เปิดให้มีความเป็นไปได้ที่ว่า มันมีหนทางอันหนึ่งเช่นกันที่ลัทธิหลังสมัยใหม่ จะต่อต้าน ตรรกะของลัทธิทุนนิยม แต่อย่างไรก็ตาม ในเวลาเดียวกันเขาก็ได้เผยให้เห็นถึงเบื้องหลังความเป็นมาร์กซิสท์ และความเอนเอียงในฐานะโมเดิร์นนิสท์ โดยผ่านความสงสัยของเขาต่อศักยภาพทางการเมืองของลัทธิหลังสมัยใหม่

Jameson ได้เชื่อมโยงเรื่องของ"จิตเภท"กับ"ลัทธิหลังสมัยใหม่" และ"ลัทธิหลังสมัยใหม่"กับ"ลัทธิทุนนิยมบริโภค"เข้าด้วยกัน. เขากำลังพูดถึงความจริงในเชิงปฏิบัติที่ว่า ลัทธิทุนนิยมร่วมสมัยนั้น ได้แผ่ขยายอาการต่างๆเกี่ยวกับจิตเภทไปสู่มวลชนทั้งหลาย ในรูปของวัฒนธรรมหลังสมัยใหม่

หลักการของเขามองว่า ทั้ง"ลัทธิหลังสมัยใหม่"และ"อาการจิตเภท" เป็นพลังทางวัฒนธรรมที่ผสมผเสและยุ่งเหยิงสับสน ความยุ่งเหยิงสับสนในลักษณะจิตเภททำลายความเป็นไปได้เกี่ยวกับมุมมองในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ไป อย่างเช่น สิ่งเหล่านั้นซึ่งพบได้ในขนบจารีตแบบโมเดิร์น. ในสภาวะแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่แตกออกเป็นชิ้นๆ วัฒนธรรมทุนนิยม วัฒนธรรมบริโภคนิยม สามารถที่จะเจริญงอกงามขึ้นมาได้โดยไม่มีใครท้าทาย

เมื่อ Jameson วินิจฉัยวัฒนธรรมของเราในฐานะที่เป็นอาการจิตเภท เขากำลังบอกกับเราว่า วัฒนธรรมของเรา"ไม่ใช่วัฒนธรรมของคนเต็มคน" วัฒนธรรมแบบจิตเภทล้มเหลว"ที่จะยอมรับการเข้าไปสู่อาณาจักรของภาษาและคำพูดอย่างเต็มที่"(118) คล้ายกับอาการจิตเภท วัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ไร้ราก ถูกแยกจากประวัติศาสตร์ และอยู่นอก"ห้วงเวลาของมนุษย์"(119)

คล้ายคลึงกับ Jameson, Deleuze และ Guattari มองเห็นความคล้องจองกันระหว่างลัทธิทุนนิยมกับอาการจิตเภท แม้ว่าพวกเขาจะได้สร้างแนวคิดความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันไปเลยทีเดียวก็ตาม. แนวทางที่ต่างกันนี้ ในระดับหนึ่งเนื่องมาจากปรัชญาของพวกเขานั่นเอง. ขณะที่ Jameson เป็นมาร์กซิสท์คนหนึ่งซึ่งรู้สึกเห็นอกเห็นใจพวกสมัยใหม่, Deleuze และ Guattari อาจถูกจัดให้เป็นพวกหลังสมัยใหม่ หรือหลังโครงสร้างนิยม

แน่นอน Jameson คงจะพิจารณาผลงานของนักเขียนเหล่านี้ในฐานะ ที่เป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตทางวัฒนธรรมของหลังสมัยใหม่(อาการจิตเภท). ยิ่งไปกว่านั้น Jameson ยังเป็นปัญญาชนสมัยใหม่คนหนึ่งซึ่งศึกษาลัทธิหลังสมัยใหม่ ในขณะที่ Deleuze และ Guattari สามารถได้รับการอธิบายในฐานะที่เป็นนักทฤษฎีหลังสมัยใหม่. ด้วยเหตุนี้เมื่อ Deleuze และ Guattari พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่าง"อาการจิตเภท"กับ"ลัทธิทุนนิยม" ความรู้สึกแบบหลังสมัยใหม่อันหนึ่งมักจะกำลังซุ่มซ่อนและแอบแฝงอยู่เบื้องหลังเสมอๆ

Deleuze และ Guattari มีปฏิกริยาอย่างแข็งขันในเชิงที่สวนทางกับวิธีปฏิบัติของพวกฟรอยเดียน และลากองเนียนเกี่ยวกับอาการจิตเภท. ในคุณลักษณะเฉพาะทางภาษาเชิงโต้เถียงและล้อเล่น พวกเขาเตือนเราถึงความรังเกียจและไม่ค่อยพอใจนักของฟรอยด์เกี่ยวกับอาการจิตเภท :

สำหรับเราแล้วจะต้องไม่ลวงหลอกตัวเอง: ฟรอยด์ไม่ชอบอาการจิตเภทต่างๆ. เขาไม่ชอบการต่อต้านของผู้ป่วยเหล่านี้ที่ถูกบำบัดแบบออดิปัส(oedipalize), และมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติกับพวกเขาเกือบๆจะเช่นเดียวกับสัตว์
ผู้ป่วยจิตเภท พวกเขาผิดพลาดในการใช้คำพูดที่ใช้เรียกสิ่งต่างๆ, ฟรอยด์กล่าว. พวกเขาเฉยเมย, หลงใหลในตนเอง ตัดตัวเองออกไปจากความจริง, ไม่สามารถที่จะโยกย้ายจากเรื่องหนึ่งไปยังอีกเรื่องหนึ่งได้; ดูๆแล้วผู้ป่วยเหล่านี้คล้ายคลึงกับนักปรัชญา…"ซึ่งเป็นความคล้ายคลึงอันไม่พึงปรารถนา"(23)

ตามความคิดของ Deleuze และ Guattari, ฟรอยด์ไม่ค่อยชอบอาการจิตเภทเพราะว่า เขาหรือเธอปรามาสหรือสบประมาทโดยตรงต่อวิธีการทางจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์. อาการจิตเภทไม่มีการพัฒนาอีโก้ขึ้นมา หรือพัฒนาไปสู่กระบวนการออดิปัสของปัจเจกภาพ. ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยจิตเภทจึง"อยู่ในที่บางแห่ง, ที่อยู่เหนือ อยู่ล่าง หรืออยู่ข้างหลัง" ลักษณะ 3 ออดิปัสนั้น เป็นกึ่งกลางมากๆต่อการวิเคราะห์ของฟรอยเดียน(23). ผู้มีอาการจิตเภทไม่มี"ตัวฉัน" และด้วยเหตุดังนั้น จึงไม่มีจิตไร้สำนึกซึ่งถูกครอบงำโดยด้วยละครออดิปัสของพ่อ แม่ และตัวฉัน

ในความพยายามที่จะบำบัดรักษาอาการจิตเภทต่างๆ จิตวิเคราะห์แบบฟรอยเดียน บ่อยครั้ง พยายามน้อมนำอาการจิตเภทให้เลื่อนไหลลงมาสู่แนวทางการสร้างอีโก้ และความเป็นปกติ. บ่อยทีเดียว อันนี้หมายความว่า เป็นการยัดเยียดวัฏจักรออดิปัสโดยการใช้กำลัง ซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะที่เชื่อกันโดยทั่วไปเกี่ยวกับพัฒนาการทางจิตที่เป็นปกติ

บางที Melanie Klein จะเป็น"นักวิเคราะห์ที่โน้มเอียงน้อยที่สุดที่จะมองทุกๆสิ่งในเทอมต่างๆของออดิปัส"(Deleuze และ Guattari 45). แต่อย่างไรก็ตาม เธอไม่เคยหยุดความพยายามต่างๆที่จะทำออดิปัสกับคนไข้ทางจิตทั้งหลายของเธอ. เมื่อเด็กที่มีอาการป่วยทางจิตคนหนึ่งชื่อว่า Dick ได้มาพบเธอเพื่อการบำบัด เธอกระตุ้นให้เขาเล่นกับรถไฟเด็กเล่น. Deleuze และ Guattari ได้อ้างอิงรายงานส่วนตัวชิ้นแรกของ Kline เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า :

ข้าพเจ้าหยิบรถไฟคันใหญ่และวางมันลงข้างๆรถไฟคันที่เล็กกว่า และเรียกมันว่า"รถไฟพ่อ" และ"รถไฟ Dick" ทันใดนั้นเขาได้หยิบรถไฟที่ข้าพเจ้าเรียกว่า"Dick" และทำให้มันม้วนตัว(ไปสู่สถานี)… ข้าพเจ้าอธิบาย: "สถานีรถไฟก็คือแม่; Dick กำลังเข้าไปหาแม่ (อ้างใน Deleuze และ Guattari 45)

ถ้อยคำของ Kline ทำให้เด็กรู้สึกกลัว ซึ่งเป็นสาเหตุให้เขาวิ่งเข้าไปสู่ที่ส่วนตัวเพื่อหลบซ่อน. Kline ตอบสนองเรื่องนี้โดยการกล่าวว่า "มันมืดนะข้างในแม่. Dick อยู่ข้างในแม่ที่มืดมิด"(45). ไม่มีพฤติกรรมใดๆที่เด็กแสดงออกมา, Kline ได้ตีความในลักษณะออดิปัสแบบหนึ่ง. วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการนี้ต้องการที่จะสร้างพฤติกรรมแยกส่วน และไม่ปะติดปะต่อของคนไข้ให้มาเชื่อมกันสู่การสร้างอัตลักษณ์ที่เป็นปกติขึ้น (นั่นคือ ภาวะ ออดิปัส)

Deleuze และ Guattari มองวิธีการเช่นนี้ในฐานะที่เป็นรูปแบบหนึ่งของลัทธิก่อการร้าย(terrorism) ในแนวทางของวิธีการบำบัดดังกล่าว "ทั้งหมดของลูกโซ่ของจิตไร้สำนึกถูกทำให้เป็น…เส้นตรง, ลอยตัวจากรูปสัญญะที่มีอำนาจ(นั่นคือ ออดิปัส)"(54). อันที่จริง พวกเขายืนยันว่า อาการจิตเภทต่างๆซึ่งได้รับการบำบัดในหนทางนี้ บ่อยครั้งวกวน นอกเรื่อง และเข้าไปสู่ความคิดหมกมุ่น ซึ่งโชคไม่ดีที่ได้ถูกนำไปเกี่ยวข้องกับอาการจิตเภท

สำหรับ Deleuze และ Guattari, มันคือ "นักวิเคราะห์ และ "ตึกผู้ป่วยโรคจิต" ที่ทำให้ผู้มีอาการจิตเภทป่วย และผันเปลี่ยนให้เขาหรือเธอไปสู่ความเป็นคนที่มีความคิดหมกมุ่น เงียบเชียบ และไม่ยังผลใดๆในเชิงจิตวิทยา. ผู้มีอาการจิตเภทที่มีสุขภาพดี จะมีความสำนึก(ความไร้สำนึก)ที่มีผลดีอันหนึ่งที่จำเป็น กล่าวคือ เขาหรือเธอจะไม่เพ้อฝัน. Deleuze และ Guattari ยืนยันว่า เขาหรือเธอได้สร้างและผลิตความจริงขึ้นมาแทน

ผลิตผลของความจริงอันนี้ โดยพื้นฐานแล้วไม่ค่อยจะลงรอยเท่าใดนักกับแบบจำลองของฟรอยเดียนและลากองเนียนเกี่ยวกับจิตไร้สำนึก. สำหรับฟรอยด์และลากองมองจิตไร้สำนึกในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์, ซึ่งบรรจุด้วยเรื่องราวอันเพ้อฝัน และมีลักษณะเหมือนกับละคร เติมด้วยความสลับซับซ้อนในเชิงสัญญะและละครกรีกโบราณ

ดังนั้น สำหรับความปรารถนาของ Deleuze และ Guattari จึงถูกนำไปเกี่ยวโยงกับความขาด(lack -ความพร่อง) กล่าวคือ ความปรารถนาเป็นเรื่องของจินตนาการเพ้อฝัน ถูกทำให้เป็น"ตัวแทน" ถูกทำให้เป็น"ที่ปรารถนา" หรือ"ไม่มีอยู่". ความปรารถนาทั้งหมดถูกนำไปผูกกับสิ่งซึ่งกำลังขาดหรือพร่องอยู่ และต้องการได้รับการทดแทน. ด้วยเหตุดังนั้น "ความปรารถนา จึงหลีกทางให้กับการเป็นตัวแทนอันหนึ่ง" ของสิ่งซึ่งกำลังพร่องอยู่ - องคชาติ, ความคะนองแบบออดิปัส, อุดมคติเกี่ยวกับ"ฉัน", ฯลฯ (54)

คนที่มีอาการจิตเภทในอีกด้านหนึ่งนั้น สำหรับเขาหรือเธอ จิตไร้สำนึกมักเป็นสิ่งที่ให้ผลและไม่เคยเป็นเรื่องเพ้อฝัน ความปรารถนาในตัวของมันเองได้ผลิตความจริงและสร้างสรรค์โลกใหม่ขึ้นมา แต่สำหรับจิตไร้สำนึกแบบฟรอยเดียนค่อนข้างจะไม่ยังผลผลิตใดๆมากจนเกินไป และเป็นเรื่องของอีกโลกหนึ่ง ซึ่งล่อลวงชักนำผู้มีอาการจิตเภทเข้าไปสู่ความเป็นปกติ มันจึงไม่มีอะไรที่จะนำเสนอแก่ผู้มีอาการจิตเภท

ด้วยเหตุดังนั้น ผู้มีอาการจิตเภทจึงสกัดกั้น ถอดระหัส และจัดการกับการสนทนาในเชิงจิตวิเคราะห์ในลักษณะที่ต่างออกไป - แปรเปลี่ยนรูปสัญญะต่างๆไปสู่ความเป็นจริง และปฏิเสธที่จะถูกบำบัดด้วยวิธีการแบบออดิปัส อาการจิตเภททั้งหลาย"หนีห่างจากการใช้ระหัส เพราะรู้สึกสับสนกับระหัสต่างๆ และหลบเลี่ยงในทุกๆทาง… (พวกเขา) เป็นเหมือนเด็กกำพร้า (ไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ ไม่มีตัวฉัน)", เป็นผู้ที่ไม่เชื่อในพระเจ้า(ไม่มีความเชื่อต่างๆ), และเป็นพวกที่ร่อนเร่(ไม่มีสิ่งเคยชินจนเป็นนิสัย ไม่มีขอบเขตดินแดน)"(Seem xxi)

อาการจิตเภทของ Deleuze และ Guattari จะไม่ต้องติดกับดักหรือตกหลุมพรางอำนาจ และเครือข่ายเผด็จการของรูปสัญญะต่างๆที่ชุ่มโชกอยู่ในสังคม และในปฏิบัติการทางจิตวิเคราะห์ มันคือความสามารถของผู้ป่วยจิตเภทที่จะสกัดกั้น และถอดระหัสสิ่งที่ Deleuze และ Guattari ได้ไปเกี่ยวโยงกับลัทธิทุนนิยมร่วมสมัย

คล้ายๆกับอาการจิตเภท ลัทธิทุนนิยมสามารถแทรกตัวของมันเองเข้าไปในที่ใดก็ตาม และทุกๆที่ในฐานะผู้ถอดระหัสและผู้สะกัดกั้น. แม้ว่า…

สังคมทุนนิยมของพวกเรา จะแสดงออกถึงรสนิยมที่เด่นชัดอันหนึ่งออกมาสำหรับระหัสต่างๆทั้งหมด - ระหัสทั้งหลายที่มาจากต่างประเทศและแปลกๆ… รสนิยมอันนี้เป็นสิ่งที่อันตรายและผิดปกติ
ขณะเดียวกัน การถอดระหัสหมายถึง ความเข้าใจและการแปลความหมายระหัสอย่างหนึ่งอย่างไม่ต้องสงสัย มันยังหมายความถึงการทำลายระหัสด้วย ดังเช่น กำหนดให้มันเป็นเรื่องโบราณ คติชาวบ้าน หรือหน้าที่ที่ยังเหลือตกค้างอยู่ (245)

ลักษณะของทุนเป็นสิ่งที่เคลื่อนที่ได้ มีความยืดหยุ่น ซึ่งสามารถที่จะสอดแทรกตัวของมันเองเข้าไปสู่สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมได้ทุกแห่ง ในประเทศที่ต่างออกไปอย่างเช่น ญี่ปุ่น บราซิล ฝรั่งเศส และเคนย่า ลัทธิทุนนิยมสามารถได้รับประโยชน์เกี่ยวกับแบบแผนสัญลักษณ์ของท้องถิ่น(Harvey 1989) รูปแบบต่างๆซึ่งลัทธิทุนนิยมได้นำมาจากประเทศที่หลากหลายเหล่านี้ ได้สะท้อนแบบแผนเชิงสัญลักษณ์ที่เครื่องจักรทุนนิยมได้เสียบเข้าไป

ด้วยเหตุนี้ Deleuze และ Guattari จึงไม่เสนออัตลักษณ์เครื่องจักรทุนนิยมในฐานะที่เป็นแบบๆเดียวหรือลักษณะที่เป็นรูปแบบตามตัวโดดๆ - มันไม่มี"ฉัน", อีโก้, หรือเอกลักษณ์เฉพาะอันเดียว
มันทำงานในฐานะตัวทำลายรูปแบบแทน มันยังยับยั้งอุปสรรคกีดขวางทางภาษา วัฒนธรรม สัญลักษณ์ ที่ได้สร้างเขตแคว้นและข้อจำกัดในการแลกเปลี่ยนต่างๆ

ด้วยเหตุนี้ Deleuze และ Guattari จึงยืนยันว่า "อารยธรรมได้ถูกนิยามโดยการถอดระหัส และการปลดเปลื้องอาณาเขตที่จะมาเป็นข้อจำกัดเกี่ยวกับการไหลเลื่อนของผลผลิตทุนนิยม"(244)

อันนี้อาจดูเหมือนว่า Deleuze และ Guattari กำลังสร้างความเคลื่อนไหวอันหนึ่งที่คล้ายคลึงกับ Jameson โดยการยืนยันว่า อาการจิตเภทมีลักษณะคล้ายคลึงและเกี่ยวโยงกับตรรกะของยุคสมัยทุนนิยมตอนปลาย. กระนั้นก็ตาม Deleuze และ Guattari ยืนยันว่า "การพิจารณาทุนต่างๆที่ไหลเลื่อนและอาการจิตเภทที่เลื่อนไหลในลักษณะทำนองเดียวกัน ภายใต้แนวทางทั่วๆไปของการถอดระหัส อันนี้อาจจะเป็นเรื่องที่ผิดพลาดอย่างฉกรรจ์อันหนึ่ง"(244)

ลัทธิทุนนิยมได้สร้างคนป่วยจิตเภทในหนทางเดียวกันกับที่ ลักส์แชมพู หรือรถยนต์ฟอร์ด "แต่บรรดาผู้ป่วยที่มีอาการจิตเภททั้งหลายไม่ใช่สิ่งที่เหมาะจะนำเอาสินค้าเหล่านี้มาขาย" อันที่จริง ผู้ป่วยที่มีอาการจิตเภทได้ถูกล็อคตัวหรือกักกันให้อยู่ในสถานการณ์ต่างๆ และเปลี่ยนไปสู่การดูแลในทางคลินิคที่รัดกุม. ถ้าเผื่อว่าอาการจิตเภทคือตัวอย่างอธิบายวัฒนธรรมของลัทธิทุนนิยมจริงๆอย่างนั้น ทำไมผู้ป่วยจิตเภทจึงไม่ถูกยกย่องในฐานะที่เป็นวีรบุรุษหรือวีรสตรีในสังคมทุนนิยมร่วมสมัย ?

Deleuze และ Guattari สรุปว่า:

อาการจิตเภทเป็นข้อจำกัดภายนอกของลัทธิทุนนิยมในตัวของมันเอง หรือเป็นบทสรุปเกี่ยวกับแนวโน้มที่ลึกที่สุดของมัน ลัทธิทุนนิยมมีบทบาทหน้าที่เพียงบนเงื่อนไขที่ว่า มันได้ไปขัดขวางแนวโน้มอันนี้ หรือมันได้รุกกลับหรือเข้าแทนที่ข้อจำกัดดังกล่าว…ด้วยเหตุดังนั้น อาการจิตเภทจึงไม่ใช่อัตลักษณ์ของลัทธิทุนนิยม แต่เป็นไปในลักษณะตรงข้าม, ในความแตกต่าง, ในลักษณะที่หลากหลายเบี่ยงเบน, และในความตายของมัน. (246)

ขณะที่ลัทธิทุนนิยมได้ถอดระหัสและทำการปลดปล่อยดินแดนต่างๆ มันก็ได้มาถึงข้อจำกัดอันหนึ่งซึ่งจุดนั้นมันจะต้องสร้างดินแดนใหม่ขึ้นมาในลักษณะเทียมๆ โดยการเพิ่มเติมขยายกลไกต่างๆของรัฐ และสกัดกั้นระบอบการปกครองแบบขุนนางและการปกครองเชิงสัญลักษณ์. อาการจิตเภทไม่เคยมาถึงข้อจำกัดอันนั้น. เขาหรือเธอต่อต้านการสร้างดินแดนขึ้นมาใหม่ดังกล่าว เท่าๆกันกับที่เขาหรือเธอต่อต้านเขตแดนเชิงสัญลักษณ์และการกดขี่เผด็จการของการบำบัดทางจิตในแบบออดิปัส

ดังนั้น Deleuze และ Guattari จึงไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปหรือเหตุผลของ Jameson ที่ว่า อาการจิตเภทได้เสริมเพิ่มพลังและสนับสนุนความเป็นใหญ่ของลัทธิทุนนิยม. Deleuze และ Guattari มองว่าอาการจิตเภทในฐานะที่เป็นเทพแห่งการทำลายของลัทธิทุนนิยมแทน. สำหรับพวกเขา(Deleuze และ Guattari) ผู้ป่วยจิตเภทคือพวกสุดขั้ว นักปฏิวัติ และผู้พเนจรร่อนเร่ไป ซึ่งต่อต้านรูปแบบทั้งหมดเกี่ยวกับพลังอำนาจที่มาบีบคั้นและกดขี่

พวกเขาเชื่อว่า ขบวนการทางการเมืองแบบถอนรากถอนโคนควรจะ "เรียนรู้จากความผิดปกติทางจิตว่า จะกำจัดแอกออดิปัสและผลต่างๆของพลังอำนาจอย่างไร เพื่อที่จะน้อมนำเอาการเมืองแบบสุดขั้วเกี่ยวกับความปรารถนาที่จะเป็นอิสระจากความเชื่อทั้งหมดอันหนึ่งเข้ามา" (Seem xxi)

ความรู้สึกต่างๆเกี่ยวกับอาการจิตเภท สามารถเข้าแทนที่เป้าหมายในเชิงอุดมคติและทางการเมืองแบบดื้อดึงและดันทุรัง ได้ด้วยรูปแบบที่สุดขั้วอันหนึ่งของความปรารถนาที่มีผลิตผล. ผลิตผลความปรารถนาอันนี้จักนำจิตไร้สำนึกไปสู่ความจริง และจะคลี่คลายโลกที่สุดขั้วของมัน - ทำให้เกิดศักยภาพที่เป็นไปได้

ความปรารถนาที่มีผลิตผลไม่ต้องการตัวตนที่รู้ว่ามีอยู่ และรวมถึง"กลุ่มความผิดปกติทางจิต" ที่ถูกชักจูงโดยการสร้างสรรค์ทางศิลปะหลังสมัยใหม่ที่สุดขั้ว และขบวนการต่างๆทางการเมือง. ผลิตผลความปรารถนาไม่ต้องการถูกจำกัดด้วยอาการจิตเภททางคลินิคด้วย. ผลิตผลความปรารถนายังแสดงให้เห็นว่า ศักยภาพเกี่ยวกับอาการจิตเภทในทุกๆคน ต่อต้านพลังอำนาจของรูปสัญญะที่กดขี่และการสร้างดินแดนขึ้นมาใหม่ของทุนนิยม

Deleuze และ Guattari มองอาการจิตเภทในฐานะที่เป็นส่วนซึ่งเป็นแกนกลางอันหนึ่งของการเมืองหลังสมัยใหม่ในลักษณะล้มล้าง ด้วยศักยภาพในแบบสุดขั้วที่จะทำให้ลัทธิทุนนิยมตกต่ำลงมา. ทัศนะของ Jameson อาจจะไม่แตกต่างออกไปมากนัก สำหรับเขา วัฒนธรรมหลังสมัยใหม่ที่มีอาการแบบจิตเภท ได้ทำสำเนา ผลิตซ้ำ และเสริมเพิ่มพลังตรรกะของลัทธิทุนนิยม(Jameson 125)

- เราสามารถที่จะแยกสลายหรือละลายความขัดแย้ง ซึ่งตรงข้ามกันระหว่างลัทธิสมัยใหม่กับลัทธิหลังสมัยใหม่ และเน้นความรู้สึกทางการเมืองที่แตกต่างกันโดยพื้นฐานของทั้งสองกลุ่มนี้ได้อย่างไร?
- มันเป็นความขัดแย้งกันอันหนึ่งซึ่งนำเราไปสู่ การตั้งคำถามเกี่ยวกับแนวคิดทางด้านจิตวิเคราะห์และลัทธิทุนนิยมว่า มันต่อต้านและเสริมเพิ่มพลังกันและกันอย่างไร?
- สิ่งสำคัญที่สุด มันเป็นความขัดแย้งกันอันหนึ่ง ซึ่งได้ให้ข้อมูลแก่ปฏิกริยาและการต่อต้านต่อวัฒนธรรมทุนนิยมบริโภคของเราอย่างไร?

2. การทำให้เกิดอัตลักษณ์ และวัฒนธรรมทางสายตาของทุนนิยมตอนปลาย
Identification and Late Capitalist Visual Culture
โดยหวังเพื่อความเข้าใจที่กระจ่างชัดบางอย่างในการแก้ปัญหา หรือละลายความขัดแย้งนี้ เท่าที่จะเป็นไปได้ ข้าพเจ้าจะหันมาสู่งานความคิดของ Jacques Lacan, Roland Barthes, และ Jean Laplanche. ข้าพเจ้าใช้แนวคิดของ Lacan (ลากอง) เพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญที่ว่า ภาพต่างๆมันแสดงบทบาทในกระบวนการเกี่ยวกับการสร้างอีโก้ และการทำให้เกิดอัตลักษณ์ขึ้นมาอย่างไร

ส่วนผลงานของ Barthes จะช่วยขยายการวิเคราะห์ออกไปสู่วัฒนธรรมทุนนิยม เขาได้อธิบายว่า ภาพสื่อต่างๆแสดงออกในลักษณะกระจกเงาของลากองเนียนอย่างไร ซึ่งได้ก่อให้เกิดการสร้างอัตลักษณ์จนกลายเป็นน้ำหนักในเชิงอุดมคติ และผลงานของ Laplanche ได้มาเพิ่มเติมมิติเพื่อเสริมความเข้าใจตามที่ต้องการเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะทฤษฎีของ Laplanche เกี่ยวกับเรื่องของเวลา นับเป็นเครื่องมืออันหนึ่ง เพื่อทำความเข้าใจการก่อตัวขึ้นมาของวัฒนธรรมทางสายตาร่วมสมัย และผลกระทบของมันที่มีต่อการทำให้เกิดอัตลักษณ์

แนวความคิดของลากองเกี่ยวกับขั้นตอนกระจกเงา ได้อรรถาธิบายถึงกระบวนการจิตเภท (ยังไม่มีบุคลิกที่แน่นอน) ของทารกที่ยังไม่เข้าใจเหตุผลต่างๆ ในการก่อเกิดความรู้สึกครั้งแรกเกี่ยวกับการมีอัตลักษณ์ที่เป็นหน่วยหนึ่งขึ้นมาได้อย่างไร เรื่องดังกล่าวลากองยืนยันว่า ประสบการณ์อันนี้เกี่ยวกับการสร้างอัตลักษณ์ขึ้นมา "ได้น้อมนำเราไปสู่การคัดค้านปรัชญาต่างๆโดยตรงนับจาก the Cogito"
(คำว่า Cogito นี้มาจากคำพูดของ Descartes ว่า Cogito, ergo sum = I think, therefore I am - อันนี้คือหลักการที่ได้สถาปนาการมีอยู่ของตัวเรา เนื่องมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า เราคิดได้และการรู้ตัวนั่นเอง)

แนวคิดของ Descartes เกี่ยวกับตัวตน มีพื้นฐานอยู่ในการพิสูจน์ตัวตน เกี่ยวกับ Cogito, ซึ่งทึกทักว่า อีโก้ มีอยู่ก่อนแล้ว ไม่ต้องการการก่อตัวทางกระบวนการใดๆ มันดำรงอยู่ก่อนโลกเสียอีก และกระทั่งไปไกลถึงขนาด วางตัวตนในฐานะเงื่อนไขก่อนการวิเคราะห์ถึงการมีอยู่ของโลก. ผลงานของลากองได้หักล้างทัศนะอันนี้โดยการแสดงให้เห็นว่า ทารกที่อายุยังไม่ครบขวบปี ได้ถูกบีบคั้นเข้าไปสู่โลกของโครงสร้างต่างๆทางสังคม และสัญญะที่มีอยู่เรียบร้อยแล้ว

การเกิดใหม่จักต้องได้รับการยัดเยียดเข้าไปสู่แบบแผนโดยผ่านภาษา และจะสามารถบรรลุถึงอีโก้ได้ก็แต่เพียงในความสัมพันธ์กับแบบแผนอันนี้เท่านั้น ดังที่ Jameson บอกแก่เราก่อนหน้าว่า มันไม่มี"ตัวตน", "อีโก้", "ฉัน", หรือ"ตัวฉัน" โดยปราศจากภาษา

บางทีก้าวย่างในเชิงสัญญะแรกสุดที่กระโดดลงบนถนน เพื่อการสร้างอีโก้ขึ้นมาก็คือ การตระหนักรู้เกี่ยวกับการสะท้อนตัวตนของคนๆนั้น กล่าวคือ "ฉัน-อุดมคติ"(ideal-I). ลากองได้อธิบายถึงกระบวนการเกี่ยวกับการที่ทารกซึ่งตระหนักรู้ตัวตนของตนเองในกระจกเงา. ก่อนมาถึงจุดของการทำให้เกิดอัตลักษณ์ เด็กไม่มีแนวคิดเรื่องตัวตนในฐานะที่เป็นปัจเจกที่ผูกติดกายกับจิต. ถ้าทารกถูกนำเสนอในกระจกเงา ทารกก็จะไม่รู้ว่าเป็นตัวเอง และจะให้ความสนใจเพียงเล็กน้อยเท่านั้นกับภาพที่สะท้อนอยู่บนกระจกเงานั้น

แต่การเปลี่ยนแปลงอันนี้จะเกิดขึ้น บางทีก็เริ่มต้นขึ้นหลังจากที่ทารกมีอายุ 6 เดือนแล้ว ตอนที่อัตลักษณ์เกิดขึ้นมา การเกิดอัตลักษณ์คือความเปลี่ยนแปลงอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นกับตัวตน เมื่อทารกยึดครองภาพๆหนึ่ง หรือภาพมโนคติ(imago)เอาไว้. เมื่อเด็กทารกตระหนักรู้ภาพของตัวเอง "ฉัน" (the "I"). "ฉัน"จะถูกทำให้ตกตะกอนลงในรูปดั้งเดิม(primordial form) ซึ่งลากองว่าเป็น "ฉันในอุดมคติ"("Ideal I")

ในหนทางนี้ การสร้างตัวของอีโก้เริ่มต้นขึ้นด้วยการเป็นตัวแทนที่บิดเบือนอันหนึ่ง(misrepresentation) - ทารกที่อายุยังไม่ถึงขวบปี จะรู้สึกสับสนเกี่ยวกับตัวเองในภาพสะท้อนของตนเอง. ภาพสะท้อนดังกล่าวเป็น"ภาพลวงตา"(mirage)ซึ่งเป็นตัวแทนของ "สิ่งภายนอก ซึ่ง…ภาพของเด็กทารก แน่นอน เป็นส่วนประกอบมากกว่าที่จะเป็นส่วนทั้งหมด(more constituent than constitute)" กล่าวคือ ภาพของเด็กทารก เป็นเพียงส่วนประกอบโดดๆอันหนึ่ง(a single component)ของความเป็นภาวะของเด็กทารก(child's being) ซึ่งพูดอีกอย่างก็คือ "ตัวแทนเด็กทารกในฐานะความเป็นทั้งหมด"

อัตลักษณ์ของภาพอันนั้น "ขัดแย้งกับขบวนการบางอย่างที่สับสน ที่ตัวตนรู้สึกเป็นตัวเขาซึ่งมีชีวิตเคลื่อนไหวได้". ลักษณะสมมาตรที่แน่นอนและสอดคล้องของภาพที่ปรากฎกับตา ซึ่งมารับใช้ในฐานะที่เป็นภาพตัวแทน(ที่ผิดพลาด)[(mis)representation]ของเด็กทารกอันนี้ ไม่ใช่ความผิดปกติต่างๆตามธรรมชาติของผู้ป่วยจิตเภทเกี่ยวกับอาการ"hommelette" (หมายถึง การไม่มีความรู้สึกเกี่ยวกับตัวตน)

อย่างไรก็ตาม พลังอำนาจของตัวแทนที่ผิดพลาดนี้เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ และทำเครื่องหมายหรือสถาปนาความสัมพันธ์อันหนึ่งระหว่าง "องค์ระบบชีวิต"กับ"ความจริงของมัน"ขึ้นมา ด้วยเหตุดังนั้น ขั้นตอนกระจกเงานี้ เด็กทารกที่อายุยังไม่ถึงขวบได้ตระหนักเป็นครั้งแรกว่า เขาคือวัตถุหนึ่งในท่ามกลางวัตถุที่มากมายซึ่งแวดล้อมเขาอยู่. ณ จุดนี้ สามารถเปรียบเทียบวิธีการที่ภาพมโนคติ(imago)เกี่ยวกับร่างกายของตนเอง ไปสัมพันธ์กับภาพอื่นๆของโลกภายนอกได้

โดยปกติแล้ว ทารกมีความสุขอย่างล้นเหลือกับภาพมโนคติใหม่ของตนเอง -บ่อยครั้งจะยิ้มและหัวเราะกับภาพสะท้อนอันนั้น แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงไป เมื่อธรรมชาติที่สรรค์สร้างขึ้นมาเกี่ยวกับภาพมโนคติ กลับกลายมาเป็นสิ่งเด่นชัดสำหรับทารก ทารกจะเริ่มต้นตระหนักว่า "ฉัน-อุดมคติ"(ideal-I) ซึ่งค่อนข้างเป็นที่ปลื้มปิติกับอัตลักษณ์ ตามข้อเท็จจริงแล้ว มันไม่ลงรอยนักกับองค์ประกอบทั้งหมดที่สลับซับซ้อนเท่าใดนัก

ผลลัพธ์ที่ตามมา สำหรับอัตลักษณ์ที่ก่อตัวขึ้นมาของภาพมโนคติเกี่ยวกับสำเนาดังกล่าว และละครเกี่ยวกับความริษยาที่มีมาแต่ดั้งเดิม จะทำให้ทารกจะรู้สึกแปลกแยกจาก"ฉัน-อุดมคติ" และเริ่มที่จะมองดูภาพนั้นในฐานะที่เป็นอีกคนหนึ่ง และในฐานะความเป็นอัตตะหรือตัวตนที่มาแข่งขัน

ความรักที่มีสำหรับ"ฉัน-อุดมคติ"ได้หลีกทางให้กับความอิจฉาริษยา และความกลัวเกี่ยวกับการแข่งขัน. อันนี้คือจุดที่มนุษย์เรียนรู้ครั้งแรกเกี่ยวกับความปรารถนาของคนอื่น ซึ่งในกรณีนี้คือ ภาพมโนคติที่เป็นอุดมคติของร่างกายตนเอง

โดยการเชื่อมโยงความปรารถนากับภาวะความเป็นอื่นหรือแตกต่าง, ทารกได้เคลื่อนไปพ้นจากขั้นตอนกระจกเงา เพื่อเข้าสู่โลกของ"สถานการณ์ต่างๆที่ประณีตซับซ้อนทางสังคม ซึ่งบีบบังคับให้ทารกประนีประนอมอีโก้ของตนเองกับความปรานถาของคนอื่น (นั่นคือ สิ่งซึ่งขาดอยู่หรือพร่อง), และข้อจำกัดทางภาษา สังคม และสัญลักษณ์

อันนี้คือสิ่งที่ลากองอธิบายถึงการสร้างตัวของอีโก้ และการเกิดขึ้นตามมาของอัตลักษณ์และความแปลกแยกกับตัวแทน(ที่ผิดพลาด)อุดมคติ. เรื่องราวดังกล่าวมีประโยชน์ในบริบทปัจจุบัน ด้วยเหตุผลสองประการคือ

ประการแรก, มันให้รายละเอียดว่า ผู้ป่วยจิตเภทรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับภาพมโนคติ(imago) และได้พัฒนาอีโก้อันหนึ่งขึ้นมา
ประการที่สอง, แนวความคิดเกี่ยวกับขั้นตอนกระจกเงาได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง โดยบรรดานักวิจารณ์สื่อ เพื่ออธิบายถึงภาพที่ทรงพลังซึ่งมีอยู่ในระบอบลัทธิทุนนิยมบริโภค

ภาพสะท้อนกระจกเงาที่ลากองอธิบาย เกิดขึ้นเมื่อตอนที่ผู้หญิงคนหนึ่งจ้องมองภาพอุดมคติในนิตยสารแฟชั่นฉบับหนึ่ง หรือเมื่อตอนที่วัยรุ่นถมึงตามองไปยังโปสเตอร์ดาราเพลงร็อค หรือตอนที่ชายหนุ่มบนถนนเพ่งมองไปที่หนุ่ม Marbolo บนป้ายโฆษณาข้างถนน ตัวอย่างต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งซึ่งพบได้ทั่วไปทุกหนแห่งในสังคมที่ชุ่มโชกไปด้วยสื่ออย่างทุกวันนี้

Roland Barthes มีประสบการณ์เกี่ยวกับความพึงพอใจของขั้นตอนกระจกเงาของลากองเนียน เมื่อเขาได้เข้าไปชมภาพยนตร์ : "ในโรงภาพยนตร์ แม้ว่าที่นั่งของผมจะอยู่ไกลก็ตาม แต่ผมก็รู้สึกว่าจมูกแนบอยู่กับกระจกเงาเลยทีเดียว แนบชิดกับภาพของคนอื่น ภาพของตัวละครซึ่งผมรู้สึกว่าตัวเองเป็นอันหนึ่งเดียวกันกับเขาอย่างหลงใหล (Barthes 348). ความเรียงสั้นๆของ Barthes, "Leaving the Movie Theater", ได้แสดงภาพที่ว่า วัฒนธรรมทางสายตา(visual culture)ได้ล่อลวงและดึงดูดใจผู้ชม มันผลิตความพึงพอใจขึ้นมา และมันกำลังสื่อสารและส่งผ่านอุดมคติอย่างไร

ผมถูกทำให้ตรึงอยู่กับภาพตัวแทนอันนั้น(ในภาพยนตร์). เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ คล้ายกับคนดูภาพยนตร์คนอื่นๆ ผมกำลังจินตนาการถึง ถูกทำให้ตราตรึงกับวาทกรรมอุดมคติ… ตามความเป็นจริง ลักษณะอุดมคตินั้นเป็นละครภาพเก่าๆเกี่ยวกับยุคสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์เกี่ยวกับสังคมหนึ่ง(348)

บรรดาผู้ชมทั้งหลาย รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับละครภาพต่างๆอย่างหลงใหล ซึ่งได้ให้นิยามความหมายอันเป็นเนื้อหาเชิงอุดมคติเกี่ยวกับยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์. Barthes ได้เชื่อมความพึงพอใจเกี่ยวกับการก่อกำเนิดอัตลักษณ์แบบลากองเนียนเข้ากับคำสอนที่ซึมซาบในเชิงอุดมคติ คล้ายๆกันกับการเกิดขึ้นของอัตลักษณ์แบบลากองเนียน ประสบการการณ์เกี่ยวกับภาพยนตร์ ได้ผลิตการตระหนักรู้ที่ผิดพลาดอันหนึ่งขึ้นมา

การมองดูเรื่องราว, "ตราตรึง"อยู่กับจอภาพยนตร์, เขาหรือเธอเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวเองในภาพละครที่หอบไว้ในเชิงอุดมคติ. ในความหมายนี้ กระบวนการที่แท้จริงเกี่ยวกับการก่อตัวของอีโก้ จะเสริมเพิ่มพลังให้กับตรรกะเกี่ยวกับสังคมทุนนิยม

Barthes บอกเป็นนัยว่า ความเข้าใจภาพละครอันนั้นของสังคมหนึ่ง จะทำให้แบบฉบับทั้งหลายของการก่อตัวขึ้นมาของตัวตน(ในเชิงอุดมคติ) เป็นไปได้ชัดเจนขึ้นภายในสังคมนั้น
คำถามในที่นี้คือว่า อะไรคือภาพละครของสังคมทุนนิยมตอนปลายนี้? ลองพลิกผ่านหน้าหนังสือนิตยสาร อย่างเช่น Vogue หรือ Elle ดู เราจะเผชิญหน้ากับความหลากหลายของภาพประกอบในนิตยสาร ซึ่งแตกต่างกันไปอย่างสุดขั้วเลยทีเดียว :

นางแบบบางคนดูเหมือนกับพวกเด็กๆ บ้างก็ดูอย่างกับผู้ชาย บ้างก็เหมือนคนจรจัด บางคนก็มีรอยสัก บางคนก็สวมใส่ชุดที่งามสง่าดังกับกำลังไปงานปาร์ตีราตรี บางคนก็เดินทอดน่องด้วยกางเกงยีนส์ขาดๆ
ใกล้เข้าไปในแม็กกาซีน หรือขยับรีโมท์ทีวีเอาไว้ในมือ เราจะเผชิญกับภาพที่ดูขัดแย้งในทำนองเดียวกัน. บรรดาผู้ดูทั้งหลายได้รับการกระตุ้นให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับตำรวจหรือผู้ร้าย นักเล่นกระดานโต้คลื่น นักธุกิจ เจ้าชาย ยาจกเข็ญใจ ศรีภรรยาที่ชอบดูแลบ้าน และบรรดานักกีฬาทั้งหลาย ซึ่งที่กล่าวมานี้ยังเป็นตัวอย่างที่น้อยมาก

อันที่จริง ใน MTV ตัวละครเหล่านี้ทั้งหมดอาจปรากฏตัวเพียงแค่ชั่วเวลาเพียงสองนาทีเท่านั้น. หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ ป้ายโฆษณา และวิดีโอเกมส์ต่างๆยังให้ภาพที่น่าตื่นตลึงพวกนี้เป็นขบวนแถวด้วย. ไม่เพียงสื่อแต่ละชนิดจะบรรจุภาพตัวละครที่หลากหลายเหล่านี้เอาไว้เท่านั้น ทว่าตัวตนในยุคทุนนิยมตอนปลาย พวกเราอาจเผชิญภาพสื่อต่างๆเหล่านี้ทั้งหมดเพียงในวันเดียวเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องยุ่งยากที่จะแยกอุดมคติเฉพาะอุดมคติอันใดอันหนึ่ง ออกจากภาพละครของลัทธิทุนนิยมตอนปลาย. สิ่งที่น่าสังเกตไม่ใช่เนื้อหาของภาพต่างๆ แต่มันคือประสิทธิผลและความรวดเร็วซึ่งพวกมันได้ถูกหมุนเวียนและบริโภคนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อส่งเสริมลัทธิทุนนิยมบริโภค ภาพต่างๆจะต้องมีเนื้อหาบางอย่างเพื่อสร้างสรรค์ความเป็นไปได้ สำหรับการก่อเกิดอัตลักษณ์ในขั้นตอนกระจกเงาขึ้นมา

ตัวแทนที่ทำให้ก่อเกิดอัตลักษณ์อันนี้ขึ้นมา คือ บรรดานางแบบ, นายแบบ, นักกีฬา, หรือนักแสดงต่างๆ - ที่ได้กระตุ้นการซื้อสินค้าที่ถูกนำเสนอ. เพื่อที่จะทำให้การโฆษณาในนิตยสาร GQ ประสบความสำเร็จ มันจักต้องปลุกเร้าการก่อตัวของอีโก้อันหนึ่งขึ้นมา ซึ่งทำให้สินค้านั้นเป็นอัตลักษณ์ของผู้ดู. การก่อตัวของอีโก้ที่บอบบางนี้ จะต้องยืนหยัดให้นานเพียงพอสำหรับคนอ่านนิตยสาร GQ เพื่อจะซื้อสินค้า

มันคือข้อผูกมัดอันนี้โดยผ่านเงื่อนไขของเวลา โดยอิงอาศัยการก่อตัวของอีโก้แบบลากองเนียน ซึ่งถูกเรียกร้องและเป็นที่ต้องการสำหรับโฆษณาต่างๆ เพื่อจะประสบผลสำเร็จในการล่อลวงผู้คนทั้งหลายเข้าสู่การซื้อสินค้าต่างๆ. ลักษณะอาการจิตเภทจะสร้างสิ่งที่น่ากลัวให้กับผู้ซื้อสินค้า เพราะเขาหรือเธอไม่มีอะไรเลย. แต่ทว่า ถ้าเผื่ออาการจิตเภทคืออาการของผู้ซื้อที่หวาดกลัวคนหนึ่ง ทำไมความสำนึกแบบจิตเภทจึงถูกนำไปเชื่อมโยงกับลัทธิทุนนิยมบริโภคได้?

คำถามนี้บีบให้พวกเราต้องพิจารณาถึงความสัมพันธ์กันระหว่าง "ลักษณะที่ไม่ถาวร"กับ"เรื่องของอัตลักษณ์" ผลงานเมื่อไม่นานมานี้ของ Jean Laplanche ได้สำรวจถึงเรื่องราวดังกล่าว ซึ่งได้นำเสนอทฤษฎีทางด้านจิตวิเคราะห์เกี่ยวกับลักษณะที่ไม่ถาวรข้างต้น โดยการดำเนินตามความคิดของฟรอยด์, Laplanche ได้เชื่อมโยงประสบการณ์เกี่ยวกับเวลากับเรื่องของจังหวะ

โดยผ่านความเปลี่ยนแปลงในความน่าตื่นเต้นและความเคลื่อนไหวระหว่าง "ความพึงพอใจ" และ "ความไม่พึงพอใจ" ซึ่งเราทั้งหลายได้พัฒนาประสบการณ์ของเราเกี่ยวกับเวลา. Laplanche ได้อ้างฟรอยด์ว่า "บางที(ประสบการณ์เกี่ยวกับเวลา)มันคือเรื่องของจังหวะ ความต่อเนื่องเป็นคราวๆของความเปลี่ยนแปลง การขึ้นๆลงๆในเชิงปริมาณเกี่ยวกับการกระตุ้น"(165)

ในทัศนะของข้าพเจ้า จังหวะอันนั้นของลัทธิทุนนิยมบริโภค ได้ถูกนิยามโดยภาพผลุบๆโผล่ๆ(flickering images)(Burgin 10-11)ของสื่อมวลชน. ดังที่คำว่า"ผลุบๆโผล่ๆ"นำเสนอ, ในสังคมทุนนิยมตอนปลาย จังหวะอันนั้นที่ประกอบสร้างลักษณะชั่วคราวไม่ถาวรขึ้นมา มันรวดเร็วมากๆ. คำถามคือว่า จังหวะที่มีลักษณะเฉพาะในเชิงประวัติศาสตร์อันนี้ ได้มีอิทธิพลต่อการก่อตัวและการสลายตัวของอัตลักษณ์ต่างๆอย่างไร?

Laplanche ได้เชื่อมโยงลักษณะที่ไม่ถาวรและการก่อเกิดอัตลักษณ์เข้ากับแนวคิดเกี่ยวกับ "การลดทอนการตีความ" และ "การตีความใหม่"(de-translation and re-translation). กระบวนการเกี่ยวกับการลดทอนการตีความได้ถูกอธิบายคุณลักษณะโดย "การแบ่งแยกความต่อเนื่องของรูปสัญญะ", ซึ่งเป็นสาเหตุให้ปัจเจกแต่ละคนตั้งคำถามถึงอัตลักษณ์ที่มีอยู่ของเขาหรือเธอ(171)

นักจิตวิเคราะห์จะกระตุ้นการลดทอนการตีความในผู้ผ่านวิธีการทางจิตวิเคราะห์ เพื่อว่าเขาหรือเธอจะได้สามารถพัฒนาทางเลือกอันหนึ่งขึ้นได้ และพวกเขาหวังถึงอัตลักษณ์ที่ไม่ต้องถูกกดข่มเอาไว้. กระบวนการนี้ทำงานได้เพราะ "ปัจเจกชนมีแนวโน้มมากอยู่แล้วที่จะประกอบสร้างเอกลักษณ์ใหม่อันหนึ่งขึ้นมา" เพื่อตีความใหม่(re-translate) เพื่อหล่อหลอมภาพที่มีลักษณะสังเคราะห์ใหม่อันหนึ่งเกี่ยวกับตัวเขาเองและอนาคตของเขาขึ้น"(171). มันคือความโน้มเอียงอันนี้ที่จะ"ประกอบสร้างเอกลักษณ์ใหม่ขึ้นมา" ที่ยินยอมให้ปัจเจกชนเสนออัตลักษณ์อันหนึ่งไปสู่อนาคต

ดังนั้น ประสบการณ์เกี่ยวกับเวลา ซึ่งถูกนิยามโดย Laplanche จึงเป็นเรื่องของจังหวะ ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยผ่านชีพจรที่ต่อเนื่องของ"การลดทอนการตีความ"และ"การตีความใหม่อีกครั้ง"(de-translation and re-translation). "การลดทอนการตีความ"ต้องอาศัย"ความไม่ต่อเนื่อง" ซึ่งมันจะผลิตการตีความใหม่อีกครั้งขึ้นมา. ด้วยเหตุนี้ ในกรณีต่างๆของ Laplanche จังหวะของเวลาจึงถูกทำเครื่องหมายโดยชีพจรที่เต้นอย่างไม่หยุดยั้งของ "การลดทอนการตีความ" และ "การตีความใหม่อีกครั้ง" ตลอดเวลา

การตีความใหม่(re-translation)ได้ผลิตข้อผูกมัดในลักษณะชั่วคราวอันหนึ่ง และการลดทอนการตีความ(de-translation)ยินยอมให้เกิดข้อผูกมัดในอย่างเดียวกันนั้น เพื่อที่จะได้ถูกแก้ไขปรับปรุงหรือเข้าแทนที่
ความสัมพันธ์ทั้งสองนี้ โดยสาระแล้ว ได้พิสูจน์ถึงการทำงานของลัทธิทุนนิยมบริโภค. มันยอมให้ปัจเจกชนรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับโฆษณาชิ้นหนึ่ง(การตีความใหม่อีกครั้ง), และฉายอัตลักษณ์อันหนึ่งเข้าไปสู่อนาคตที่ต้องการให้มีการซื้อสินค้า
ในเวลาเดียวกัน โฆษณาอื่นๆจะกระหน่ำผู้ดู "การแบ่งแยกความต่อเนื่องของรูปสัญญะ(de-translation - การลดทอนการตีความ)", และสร้างความเป็นไปได้เกี่ยวกับการก่อตัวของอัตลักษณ์ที่สดใหม่ต่างๆขึ้นมา(re-translation - การตีความใหม่)

ในกรณีต่างๆของลากองเนียน ลัทธิทุนนิยมบริโภคต้องการให้ตัวตนทั้งหลายทำซ้ำละครของทารก เกี่ยวกับการก่อเกิดอัตลักษณ์ในขั้นตอนกระจกเงาอย่างต่อเนื่อง
อย่างรวดเร็ว ตัวตนทั้งหลายเหล่านี้จะต้องสั่นรัวหรือเกิดความลังเลใจระหว่างความสำนึกแบบจิตเภท และการสร้างตัวของอีโก้ในเชิงอุดมคติ
แนวความคิดของ Laplanche เกี่ยวกับการตีความ ได้เพิ่มเติมมิติที่มีลักษณะชั่วคราวเข้ามาให้กับการวิเคราะห์นี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า "จังหวะ"ที่ถูกนิยามโดยสื่อในยุคทุนนิยม มันฟื้นฟูกระบวนการเกี่ยวกับ"การก่อตัวของอัตลักษณ์"และ"การสลายอัตลักษณ์"อย่างต่อเนื่องอย่างไร

งานของ Laplanche น้อมนำข้าพเจ้าสู่ข้อสรุปหนึ่งที่ Laplanche ไม่เคยสรุปด้วยตัวเขาเองอย่างนี้. ข้าพเจ้าเข้าใจว่า อัตราเร่งที่เพิ่มขึ้นซึ่งภาพต่างๆที่ได้รับการแพร่กระจายและบริโภคในลัทธิทุนนิยมตอนปลาย มีความจำเป็นที่มาเสริมเพิ่มเติมความสอดคล้องกันอันหนึ่ง ในอัตราที่ปัจเจกชนทั้งหลายยึดครองอัตลักษณ์และสลัดอัตลักษณ์ของตนทิ้งไป ทั้งนี้เพราะโฆษณาต่างๆ จะเชื่อมอัตลักษณ์เข้ากับความต้องการในการซื้อสินค้าต่างๆนั่นเอง อัตราเร่งของวัฒนธรรมทางสายตาอันนี้ ได้ส่งเสริมการบริโภคที่มากเกินความจำเป็น(hyper-consumption) ซึ่งสัมพันธ์กับลัทธิทุนนิยมตอนปลาย

ในแง่มุมที่ต่างออกไป ลัทธิทุนนิยมต้องการอาการจิตเภท(บุคลิกแตกแยก) แต่มันก็ต้องการอีโก้ต่างๆด้วย ความขัดแย้งนี้ถูกละลายโดยผ่านอัตราเร่งของจังหวะที่มีลักษณะชั่วคราว ของวัฒนธรรมทางสายตาในลัทธิทุนนิยมตอนปลาย. แบบฉบับเกี่ยวกับอัตราเร่งอันนี้ กระตุ้นอีโก้ที่อ่อนแอให้ได้รับการสร้างขึ้นมาอย่างง่ายๆ และเลือนหายไปอย่างง่ายดายเช่นกัน

โดยสาระสำคัญของคนที่มีอาการจิตเภท สามารถที่จะมีการสร้างตัวของอีโก้ได้อย่างรวดเร็ว และซื้อเสื้อผ้าใหม่เพื่อที่จะอภินันทนาการให้กับอัตลักษณ์ใหม่ของเขาหรือเธอ. อัตลักษณ์อันนี้จะถูกทิ้งไปได้อย่างทันท่วงทีเท่าๆกันกับการเปลี่ยนสไตล์ และภาพสื่อที่มีลักษณะตรงข้ามจะโจมตีจิตวิญญานของปัจเจกชนอยู่เรื่อยๆ. บุคคลนั้นจะกลายกลับไปมีอาการจิตเภทใหม่อีกครั้ง เพื่อเตรียมตัวสำหรับการก่อเกิดอัตลักษณ์ในแบบลากองเนียนขึ้นมาอีกรอบ และรอคอยแค็ทาล็อคสินค้าเล่มใหม่ที่จะมาถึง

"ฉัน-อุดมคติ"ต่างๆที่สื่อยุคทุนนิยมนำเสนอ บางทีมันอาจจะสลับซับซ้อนน้อยกว่าภาพมโนคติตอนวัยทารกเกี่ยวกับภาพสะท้อนตัวตนของเด็ก. โดยไม่ต้องกล่าว อีโก้นั้นจะผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้บริโภคเพื่อไปซื้อสินค้าชิ้นใหม่อีกชิ้นหนึ่ง อัตราเร่งของกระบวนการเกี่ยวกับ"การลดทอนการตีความ" และ "การตีความใหม่"(de-translation and re-translation)มีความจำเป็นต่อการช็อพพิ่งครั้งใหม่ๆ. ผู้บริโภคจะต้องสามารถซื้อได้ ก่อนที่อัตลักษณ์อันเปราะบางนั้นจะถูกแทนที่โดยอีกอัตลักษณ์หนึ่ง

สังคมทุนนิยมตอนปลาย ทำให้เราได้เห็นการปรากฏตัวขึ้นมาของเทคนิคในการซื้อสินค้าได้ในทันที ซึ่งมีอยู่มากมายหลายวิธี เช่น การยอมรับเครดิตคาร์ดกันไปทั่วโลก, การช็อพพิ่งผ่านแค็ทาล็อคสินค้า, พาณิชย์ข้อมูล, ระบบเครือข่ายที่ทำให้ซื้อสินค้าได้โดยอยู่ที่บ้าน, และการเกิดขึ้นมาของการทำธุรกิจผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวเอาไว้แล้วตั้งแต่ต้นของบทความ การช็อพพิ่งผ่านคอมพิวเตอร์ทำให้การซื้อขายเป็นไปอย่างดาย เพียงแค่ดับเบิลคลิกบนภาพของสินค้าที่ต้องการเท่านั้น ตัวอย่างอันนี้ การสร้างตัวของอัตลักษณ์ต้องการเวลาเพียงแค่ 10 วินาทีเท่านั้น ในการทำให้เกิดผลสำเร็จด้วยการซื้อ

เมื่อกระบวนการเกี่ยวกับการก่อเกิดอัตลักษณ์มันรวดเร็วปานนี้ มันจึงละม้ายคล้ายคลึงกันมากกับการไร้ความสามารถในการสร้างอัตลักษณ์ ซึ่งเป็นคุณลักษณ์ของอาการจิตเภท

ในความคล้ายคลึงกันระหว่าง "การก่อเกิดอัตลักษณ์ที่แรงกล้ารวดเร็ว"กับ"อาการจิตเภท" ได้รับการอธิบายให้ชัดเจนขึ้นโดย Deleuze และ Guattari คือ อาการจิตเภทเป็น"ข้อจำกัดที่แท้จริงของลัทธิทุนนิยม"(35) ถ้าหากว่าเราเข้าใจคำว่า"ข้อจำกัด"(limit)ในความหมายทางคณิตศาสตร์ของมัน เราจะพบว่า อัตราเร่งของวัฒนธรรมทางสายตา ที่พุ่งเป้าที่จะผลิตตัวตนหนึ่งขึ้นมาเพื่อเข้าถึงหรือเป็นเช่นนั้น แต่มันไม่มาถึงหรือไม่เป็นเช่นนั้น นั่นคือสภาวะของอาการจิตเพศที่แท้จริง

ในแง่มุมนี้ Jameson เป็นฝ่ายถูกในความเกี่ยวพันนั้น ลัทธิหลังสมัยใหม่และอาการจิตเภทมันทำหน้าที่เสริมกัน แทนที่จะต่อต้านกันกับลัทธิทุนนิยมบริโภค. กระนั้นก็ตาม Deleuze และ Guattari ได้รีบชี้แจงอย่างรวดเร็วว่า ถ้าหากว่าอาการจิตเภทเลื่อนไหลไปและไปละเมิดข้อจำกัด การก่อเกิดอัตลักษณ์ของอีโก้จะเป็นไปไม่ได้เลยทั้งหมด ในภาพฉากนี้ การกระตุ้นให้ซื้อจะถูกขจัดทิ้งไปอย่างแน่นอน และลัทธิทุนนิยมจะเป็นไปไม่ได้

โดยไม่คำนึงถึงเสน่ห์ดึงดูดใจของลักษณะอาการจิตเภทในเชิงปฏิวัติของ Deleuze และ Guattari, เป็นปัญหาน่าสงสัยว่า ภาพที่ตรงข้ามกับลัทธิทุนนิยมมันเป็นอย่างไร? ลักษณะอาการจิตเภทในเชิงคลินิคคือความเป็นอยู่ที่ทุกข์ทรมานน่าสังเวช และการดำรงอยู่ของตัวตน. แม้ว่าพวกเขาจะไม่สนับสนุนเรื่องของการบริโภคที่มากจนเกินไปของลัทธิทุนนิยมตอนปลาย แต่พวกเขาแทบจะไม่สามารถไม่เรียกมันว่าเป็นการปฏิวัติได้เลย

แน่นอน Deleuze และ Guattari ไม่ได้เสนอว่า จริงๆแล้ว พวกเราควรดิ้นรนต่อสู้กับการกลายเป็นคนที่มีอาการจิตเภท. มากไปกว่านั้น พวกเขารู้สึกว่า พวกเราสามารถเรียนรู้ได้จากความสามารถของลักษณะอาการจิตเภท เพื่อหนีไปจากรูปสัญญะต่างๆที่มีลักษณะเผด็จการแบบฟาสซิสม์และเต็มไปด้วยการกดขี่

แต่คำถามในที่นี้คือว่า เราสามารถที่จะเรียนรู้จากความสามารถของลักษณะอาการจิตเภทได้อย่างไร เพื่อที่จะลดทอนการตีความ(de-translate)เทคโนโลยีต่างๆของการก่อเกิดอัตลักษณ์ที่มากดขี่ และยังคงรักษาไว้ซึ่งสภาพจิตที่เป็นปกติได้

Deleuze และ Guattari คิดว่า อาการจิตเภทสามารถที่จะสอนเราได้ ให้ต้านทานต่อความเชื่อมโยงในเชิงจิตวิเคราะห์เกี่ยวกับความปรารถนาและความพร่อง. ในความเชื่อมโยงสัมพันธ์อันนี้ Deleuze และ Guattari ยืนยันว่า จะป้องกันความปรารถนาจากการกลายเป็น อำนาจผลผลิตอย่างขาดเสียไม่ได้. สำหรับนักเขียนทั้งสองคนนี้, "ความปรารถนาไม่ได้ขาดสิ่งใดๆ; มันไม่ได้พร่องในวัตถุประสงค์ของมัน"(26) อันที่จริง, "วัตถุประสงค์ของความปรารถนาเป็นความจริงในตัวของมันเอง และเกี่ยวกับตัวของมันเอง(27)

คำยืนยันเหล่านี้มีลักษณะประติทรรศน์หรือขัดแย้งกับความรู้สึกทั่วๆไป เพราะพวกเขาวิพากษ์วิจารณ์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ที่ใช้ภาษาในเชิงเทคนิคของตัวมันเอง. ภายในบริบทของภาษาในเชิงจิตวิเคราะห์ ความคิดที่ว่า ความปรารถนาผลิตความจริงขึ้นมานั้น เป็นสิ่งที่น่าหัวเราะและไร้สาระอย่างยิ่ง

ถ้าเผื่อว่าลักษณะจิตเภทในเชิงคลินิค กระทำารราวกับว่าความปรารถนาได้ผลิตความจริงขึ้นมาสำหรับบรรดานักจิตวิเคราะห์ หากเป็นเช่นนั้นจริง ก็เพียงเพราะว่า เขาหรือเธอได้ถูกทำให้โดดเดี่ยว หรือแยกตัวออกมาอย่างสมบูรณ์จากความจริงในลักษณะจอมปลอมเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม แนวความคิดเกี่ยวกับจิตไร้สำนึกที่มีประสิทธิผลของ Deleuze และ Guattari นับว่ามีค่า ถ้าเผื่อว่าใครคนหนึ่งไปอยู่ข้างนอกความตีบตันของทฤษฎีทฤษฎีจิตวิเคราะห์. ในสังคมร่วมสมัย มีผู้แสดงต่างๆในทางการเมือง ซึ่งได้ทำให้ทัศนะเกี่ยวกับอาการจิตเภทแบบสุดขั้วของ Deleuze และ Guattari เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา คำถามคือว่า ใครคือผู้ป่วยจิตเภทเหล่านี้? หรือดังที่ Deleuze ได้ตั้งคำถามในที่อื่นๆว่า, "ใครคือผู้ร่อนเร่ของเราในทุกวันนี้, ใครคือคนแบบ Nietzcheans ที่แท้จริงในหมู่พวกเรา?" (Deleuze 20)

มีคนอยู่ 3 กลุ่มด้วยกัน ผมเชื่อว่าอย่างนั้น ที่ปฏิบัติกับความปรารถนาซึ่งถูกแยกห่างจากแนวความคิดเกี่ยวกับการได้มาและความพร่อง นั่นคือ

1. บรรดานักกิจกรรมและนักทฤษฎี Queer ร่วมสมัย
2. Slackers (หมายถึงคนหนุ่มสาวที่ไม่สนใจอนาคตหรือจุดหมาย ดำรงอยู่ในวัฒนธรรมย่อย) และ
3. บรรดาศิลปินหลังสมัยใหม่
(คำว่า Queer หมายถึง ชาวเลสเบียน, ชาวเกย์, ไบเซ็กซ์ชวล และกะเทย / relating to lesbians, gay man, bisexuals or transgendered people.)

ข้าพเจ้าสรุปโดยการประเมินผลจากขบวนการเคลื่อนไหวเหล่านี้โดยเฉพาะ และการเมืองแบบจิตเภท(หรือบุคลิกแตกแยก)โดยทั่วๆไป

3. การต่อต้านอาการจิตเภททุนนิยมแบบสุดขั้ว
A Radical Anti-Capitalist Schizophrenia?
ในท่ามกลางนักทฤษฎี Queer, แนวความคิดของ Judith Butler เกี่ยวกับการเมืองในภาคปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องที่เข้ากันได้ดีกับ ความคิดในเรื่องผลผลิตของความปรารถนาของ Deleuze และ Guattari. เธอจำแนกว่า "การเมืองแบบ Queer เป็นสภาวะอันหนึ่ง ซึ่งโดยสาระแล้ว ใช้ความปรารถนาในฐานะที่เป็นพลังที่มีประสิทธิผลยิ่ง. Butler อ้างถึงการเมืองของพวก queer ต่างๆ เช่น

ขนบประเพณีเกี่ยวกับการสวมใส่ชุดเพศตรงข้าม, งานบอลล์ของพวก drag (หมายถึง - พวกรักร่วมเพศที่แต่งชุดเพศตรงข้าม เช่น ชายแต่งเป็นหญิง), คนที่ลงมาเดินบนท้องถนน, ท่าทีที่แสดงออกอย่างผู้ชายของพวกทอม… die-ins by ACT UP, Kiss-ins by Queer Nation; การแสดงของพวก drag เพื่อช่วยเหลือสำหรับคนป่วยโรคเอดส์ … การบรรจบกันของงานละคร กับนักกิจกรรมเคลื่อนไหวด้วยละคร; การแสดงทางเพศของเลสเบียนในลักษณะสุดๆ และภาพต่างๆที่ต่อต้านการกีดกันทางเพศของพวกเลสเบียน; ยุทธิวิธีการขัดขวางเกี่ยวกับการอภิปรายสาธารณะ โดยบรรดาเลสเบียนและนักกิจกรรมชาวเกย์ โดยสนับสนุนการดึงความสนใจของสาธารณชน และแสดงความเจ็บแค้นต่อความล้มเหลวของรัฐบาล ที่ให้ทุนเพื่อช่วยเหลือเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคเอดส์ ในงานด้านวิจัย และการขยายเวลาออกไป (233) (เหล่านี้เป็นการเคลื่อนไหวในทางการเมืองของพวก queer)
(Queer Nation - an activist organization, very loosely organized. Founded by Michaelangelo Signorile, Queer Nation tends to attract young liberal radicals, and tends to chant things like "We're Here, We're Queer, Get Used To It!")

ตัวอย่างต่างๆเหล่านี้ทำให้เห็นว่า พรมแดนระหว่างศิลปการแสดงและการเมืองถูกทำให้เลือนลางหรือพร่ามัว พรมแดนอันนี้ได้ถูกกัดเซาะลง ดังนั้น การแบ่งแยกระหว่างความปรารถนาและความจริงจึงสึกกร่อนตามไปด้วย. Kiss-ins และการแสดงแบบสุดๆเกี่ยวกับเรื่องทางเพศของบรรดาเลสเบียน ได้ยกย่องอย่างชัดเจนถึงความรักในแบบอีโรติคของพวกโฮโมและความปรารถนา ว่ามันไม่ใช่เป็นเรื่องของความพร่อง

ตัวอย่างทั้งหลายเหล่านี้ ความปรารถนามิได้ถูกนิยามในฐานะที่เป็นความพร่องแต่อย่างใด เรากำลังเผชิญหน้ากับแนวความคิดในเชิงบวกเกี่ยวกับความปรารถนาขึ้นมาแทนที่ นั่นคือ มันสามารถก่อเกิดเรื่องราวทางการเมืองแบบทำลายล้างที่มีประสิทธิผล มันคือผลผลิตของความปรารถนา และไม่ใช่"การเมืองเรื่องอัตลักษณ์" นั่นคือสาระสำคัญต่อการเมืองในลักษณะทำลายล้างดังที่ Butler อธิบาย

ปฏิบัติการทางการเมืองของ Queer เป็นไปได้มาก ที่น่าจะใช้ประโยชน์อย่างได้ผลมากที่สุดเกี่ยวกับแนวคิดของ Deleuze และ Guattari ในเรื่องอาการจิตเภทแบบสุดขั้ว ยิ่งไปกว่านั้น เรื่องราวเกี่ยวกับทุนนิยมตอนปลาย ก็ได้จัดการแบ่งแยกความปรารถนาและความพร่องออกจากกัน หนึ่งในตัวอย่างอันนี้ก็คือ "ปรากฏการณ์ของ Slacker (Slacker -หมายถึงคนหนุ่มสาวที่ไม่สนใจอะไร ดำรงชีวิตอยู่ในวัฒนธรรมย่อย และไม่มีจุดมุ่งหมายใดๆ บางครั้งหมายถึงพวกหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร)

ความเข้าใจในสื่อเหล่านี้ ซึ่งบรรดาคนหนุ่มสาวที่บริโภควัฒนธรรมทางสายตา มีเพิ่มมากขึ้นในยุคทุนนิยมตอนปลาย ซึ่งมันยังไม่ได้พัฒนาการก่อตัวขึ้นมาต่างๆของอีโก้ อันเป็นผลลัพธ์จากการช็อพพิ่งของผู้บริโภค. ดูเหมือนว่าแสงและเสียงจากโทรทัศน์ มีมากพอที่จะทำให้ความปรารถนาของพวกเขาเต็มอิ่มจนแปล้เลยทีเดียว ผลผลิตที่แท้จริงต่างๆกลายเป็นสิ่งซึ่งมากเกินพอ - สื่อต่างๆในตัวของมันเองคือเป้าหมายปลายสุดของการบริโภค

การปฏิเสธที่จะบริโภคนี้ ได้ปลดชนวนความพยายามต่างๆของสื่อในกระแสทุน ที่เร่งเร้ากระบวนการเกี่ยวกับการก่อตัวของอัตลักษณ์/การสลายตัว และการสะสมทุนออก. แม้ว่าการปฏิวัติจะเป็นเรื่องยาก แต่การปฏิเสธของพวก Slacker ต่อเรื่องของอัตลักษณ์ อาจจะทำให้การก่อตัวของชุมชนเป็นไปได้ง่ายขึ้น ซึ่งได้รับการแสดงออกนอกเหนือไปจากตรรกะเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินค้า" (Durkee 1995)

หัวข้อเกี่ยวกับอาการทางด้านจิตเภทท้ายสุดนี้ ข้าพเจ้าจะพูดถึงเป็นเรื่องของศิลปินหลังสมัยใหม่. ตามที่ Martha Rosler กล่าวไว้ว่า บรรดาศิลปินเหล่านี้ได้ผลิตผลงานที่เรียกว่า "Quotational work" (ผลงานเกี่ยวกับการคัดลอก) นั่นคือเป็นการหยิบยืมวัสดุมาจากแหล่งที่มาอันหลากหลาย บ่อยครั้งมีพื้นฐานอยู่บนภาพโฆษณาต่างๆจากวัฒนธรรมป๊อปปิวล่าร์ที่มีอิทธิพลอยู่(Rosler 73)

ซุปกระป๋องของศิลปิน Warhol, ภาพการ์ตูนของศิลปิน Liechtenstein, ผลงาน ready-mades (เป็นผลงานที่ทำขึ้นมาจากวัสดุสำเร็จรูปในอุตสาหกรรม)ของ Duchamp, และงานที่ทำเป็นรูป Michael Jackson ของ Koons คือตัวอย่างทั้งหมดในรูปแบบนี้ เกี่ยวกับผลงานที่คัดลอกหรือหยิบยืมเอามาใช้. ผลงานต่างๆเหล่านั้น สามารถสร้างความสำนึกในแบบจิตเภทขึ้นมาได้อย่างมีศักยภาพสำหรับบรรดาผู้ดูงานศิลปะ โดยการแยกภาพโฆษณาจากผลผลิตของการบริโภค โดยการเปลี่ยนแปลงภาพสื่อต่างๆสู่ความโดดเดี่ยว, การไม่มีความเชื่อมโยง, เนื้อหาภาพที่ไม่ต่อเนื่อง, "บรรดาศิลปินเหล่านี้ได้สร้างความยุ่งยากมากขึ้นในการสร้างอัตลักษณ์"(Jameson 119) (ดูภาพประกอบท้ายบทความ)

ผลงานศิลปะเหล่านั้นได้เพิ่มเติมแนวโน้มอาการจิตเภทต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในลัทธิทุนนิยมที่ขยายตัวขึ้น, มันคุกคามและละเมิดต่อสิ่งซึ่ง Deleuze และ Guattari เรียกว่าลักษณะจิตเภทที่เป็นข้อจำกัดของลัทธิทุนนิยม"(246) ถ้าเผื่อว่าข้อจำกัดอันนี้ได้ถูกล่วงละเมิด การโฆษณาก็จะไม่สามารถมีบทบาทหน้าที่ในฐานะที่เป็นกระจกเงาของลากองเนียนได้อีกต่อไป เพราะว่ามันจะถูกบริโภคในฐานะที่เป็นงานศิลปะขึ้นมาแทน และผลผลิตการบริโภคจะถูกลืมเลือนไปโดยสิ้นเชิง

ท้ายสุด คำถามของ Jameson ที่ยังคงอยู่ นั่นคือ ขบวนการต่างๆทางสังคมเกี่ยวกับเรื่องจิตเภท สามารถที่จะมีผลในการต่อต้านตรรกะของลัทธิทุนนิยมตอนปลายได้หรือไม่? ขบวนการทางการเมืองและวัฒนธรรม 3 กลุ่มข้างต้น ของบรรดานักกิจกรรมเคลื่อนไหวอย่าง queer, slacker, และบรรดาศิลปินหลังสมัยใหม่ เสนอว่า ท่าทีเกี่ยวกับอาการจิตเภท สามารถมีผลในบางระดับเกี่ยวกับการต่อต้าน กระนั้นก็ตาม ตัวอย่างในลักษณะแบบเดียวกันเหล่านี้ ได้เน้นถึงข้อจำกัดต่างๆของปฏิบัติการทางการเมืองเรื่องจิตเภทด้วย

ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของ queer ประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจทีเดียว ต่อการล้มล้างและท้าทายบรรทัดฐานของพวกนิยมการมีความรักกับเพศตรงข้าม(heterosexist) ซึ่งพวกนี้ค่อนข้างมีอคติต่อบรรทัดฐานอื่นๆที่ต่างออกไป แต่อย่างไรก็ตาม การทำงานและสัมฤทธิผลที่มากกว่านี้จะต้องได้รับการปฏิบัติ เพื่อทำให้ขบวนการดังกล่าว มีอะไรมากกว่าการทำในสิ่งตรงข้าม ด้วยการล้มล้างทำลาย และการช็อคผู้คนเท่านั้น

อะไรคือวิสัยทัศน์ทางการเมืองในเชิงบวกที่พวกเรามีสำหรับโลก ที่ซึ่งผู้ชายสองคนกำลังจูบกันในที่สาธารณะและจะไม่ทำให้ผู้คนตื่นตระหนกอีกต่อไป? การขาดเสียซึ่งวิสัยทัศน์ทางการเมืองในเชิงบวกมีหลักฐานที่ชัดเจนกว่าในวัฒนธรรมของ Slacker. แม้ว่าบรรดาคนหนุ่มสาวเหล่านี้จะไม่ค่อยเป็นคนเอาจริงเอาจัง แต่ความไม่เอาจริงเอาจัง อาจสร้างตัวอย่างต่างๆของความสัมพันธ์ทางสังคม ที่ไม่ถูกทำให้เป็นสินค้าขึ้นมาได้อย่างไม่รู้จบสิ้น

อันนี้อาจไม่สามารถสร้างจินตภาพแบบจำลองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ท้าทายขึ้นมา ในลักษณะที่ต่อด้านโครงสร้างต่างๆทางเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง"(Durkee 1995) คนหนุ่มสาวเหล่านี้อาจไม่สนับสนุนลัทธิทุนนิยม แต่พวกเขาก็ไม่ได้ลุกขึ้นมาท้าทายมันแต่อย่างใดด้วยเช่นกัน

ผลิตผลทางศิลปะหลังสมัยใหม่ เผชิญหน้ากับปัญหาในทำนองเดียวกันนี้. Rosler รู้สึกสงสัยเกี่ยวกับ"วิสัยทัศน์ทางเลือก ซึ่งได้ถูกเสนอโดยผลงานเหล่านั้น… พวกเราไม่ไดถูกเตรียมพื้นที่ภายในงานพวกนั้น เพื่อทำความเข้าใจว่า สิ่งต่างๆอาจเป็นสิ่งที่แตกต่างได้อย่างไร"(Rosler 72). ความคิดเกี่ยวกับความแตกต่าง ความคิดเกี่ยวกับสังคมที่ดีกว่าไม่มีอยู่ หรือยังไม่พัฒนาเต็มที่ในตัวอย่างทั้งหลายเหล่านี้ เกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวต่างๆทางการเมืองและวัฒนธรรมของอาการจิตเภท

ขอย้อนกลับไปยังการวิเคราะห์ของ Laplanche, เราสามารถกล่าวได้ว่า อาการจิตเภทในลักษณะปฏิวัติเป็นสิ่งที่แสดงถึงทักษะที่มีผลต่อ "การลดทอนการแปลความหมาย"(de-translation). อันนี้เป็นสิ่งจำเป็นในสังคมซึ่งถูกครอบงำโดยบรรทัดฐานที่ยึดถือความรักต่างเพศเป็สรณะ, ยึดถือเชื้อชาตินิยม, พวกคิดแบบอาณานิคม, และพวกกีดกันทางเพศ

ดังที่ข้าพเจ้าได้ให้เหตุผลมาแล้ว ปฏิบัติการทางด้านจิตเภทเกี่ยวกับการลดทอนการตีความ อาจเป็นบางสิ่งบางอย่างที่มีประสิทธิภาพต่อการต้านทาน ความยืดหยุ่น และการก่อตัวเร็วขึ้นของวิธีการสะสมทุน. กระนั้นก็ตาม สำหรับ Laplanche, การลดทอนการตีความได้ถูกดำเนินรอยตามโดย "แนวโน้มอันหนึ่งที่จะจัดการความเป็นเอกภาพขึ้นมาใหม่อีกครั้ง"(179) อันนี้เป็นไปได้สำหรับขบวนการเคลื่อนไหวทางจิตเภท

แต่อย่างไรก็ตาม เอกภาพใหม่ๆสามารถพิสูจน์ได้ในฐานะที่เป็นยุทธวิธีในทางการเมือง และเป็นประโยชน์ในทางสังคม. Laplanche จินตนาการว่า "การสังเคราะห์ใหม่เกี่ยวกับการตีความ… นั่นคือแทบจะไม่มีลักษณะบ่งชี้, ไม่ค่อยจะควบคุม, และแทบจะไม่ได้เป็นบางส่วน"(171). ในเทอมต่างๆทางการเมือง การตีความใหม่นี้ ได้กระตุ้นปลุกเร้าทัศนะอันหนึ่งของสังคมขึ้นมา ซึ่งครอบคลุมมาก. มันยังเข้ามาแทนที่การปฏิเสธอาการจิตเภทที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วย โดยการบ่งชี้ถึงการก่อตัวของเอกลักษณ์ต่างๆ ที่ตรงข้ามกับสิ่งเหล่านั้นที่นำเสนอโดยสื่อในกระแสทุน

ข้าพเจ้าไม่ได้กำลังเสนอว่า การลดทอนการตีความ(de-translation)ของผู้ป่วยจิตเภท และอัตลักษณ์ที่ผลิตขึ้นมาโดยการตีความใหม่อีกครั้ง(re-translation) เป็นสิ่งที่เหนือกว่าในทางการเมือง. อันที่จริง ข้าพเจ้ากระตุ้นและสนับสนุนคนที่มีลักษณะสุดขั้ว ให้สำรวจถึงความเป็นไปได้ต่างๆทางการเมือง เกี่ยวกับท่าทีการลดทอนการตีความ และท่าทีการตีความใหม่อีกครั้งแทน

การโฆษณาได้ใช้ยุทธวิธีทั้งสองนี้ได้อย่างสัมฤทธิผลในการทำให้เกิด การก่อตัว / การสลายตัว ทางด้านอัตลักษณ์ และโดยการแผ่ขยายออกไปถึงลัทธิทุนนิยมบริโภค. ไม่มีเหตุผลใดที่กลุ่มคนซึ่งมีลักษณะแบบสุดขั้วจะไม่สามารถใช้วิธีการเดียวกันนี้ เพื่อท้าทายลัทธิทุนนิยม และพัฒนาอัตลักษณ์ร่วมที่เป็นทางเลือกขึ้นมา

ผู้คนร่วมสมัยได้โฟกัสลงไปบนทฤษฎีทางสังคมเชิงวิพากษ์และรื้อสร้าง(critical and deconstructive social theory) ซึ่งได้ให้รากฐานที่อุดมสมบูรณ์ต่อการตีความใหม่ร่วมกันในเชิงบวก. ความเกรงกลัวเกี่ยวกับเอกภาพ แม้ว่าจะเป็นที่เข้าใจได้ แต่ก็สามารถที่จะมาเป็นข้อจำกัดสำหรับขบวนการทางการเมืองต่างๆแบบสุดขั้วได้

เอกภาพที่สร้างขึ้นมาโดยการตีความใหม่ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องของการกดขี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเผื่อว่าขบวนการทั้งหลายเหล่านี้เกี่ยวกับเอกภาพ จะถูกทำให้สับสนเป็นครั้งคราว และถูกจัดการเชิงโครงสร้างใหม่โดยการระบาดของอาการจิตเภท

การเมืองร่วมสมัยที่ประสบความสำเร็จ มีเสาหลักอยู่ในการนิยามการไหลเลื่อนอย่างมีจังหวะ ระหว่าง "แรงดลใจทางจิตเภท" กับ "แรงดลใจการทำให้เกิดอัตลักษณ์". ด้วยความหวังอันเต็มเปี่ยมที่ว่า จังหวะต่างๆที่เป็นทางเลือกสามารถที่จะท้าทาย หรืออย่างน้อยที่สุด สามารถที่จะทำหน้าที่ลัดวงจรจังหวะการเร่งเร้าของลัทธิทุนนิยมตอนปลายได้นั่นเอง

 

Special thanks to Victor Burgin, Gabe Brahm, and Lorraine Kahn.

บรรณานุกรมอ้างอิง : Sources

Barthes, R. "Leaving the Movie Theater," The Rustle of Language, Berkeley and Los Angeles, University of California, 1989.
Baudrillard, J. Simulations, Semiotext(e), Columbia University, 1983.
Burgin, V., "Barthes' Discretion", paper given at After Roland Barthes: An International Conference, French Institute for Culture and Technology, University of Pennsylvania, 15-17 April, 1994.
Butler, J. Bodies that Matter: On the Discursive Limits of " Sex", New York and London, Routledge, 1993.
Deleuze, G., "Nomad Thought." trans. J Wallace. Semiotext(e), Nietzsche's Return, vol. 3, no. 1 (1978), pp. 12-20.
Deleuze, G., and Guattari, F. Anti-Oedipus: Capitalism and Schizophrenia, Minneapolis, University of Minnesota Press, 1983.
Durkee, P. "Slackspace: The Politics of Waste," Prosthetic Territories: Politics and Hypertechnology. Boulder, Westview Press, 1995.
Eco, U. Travels in Hyperreality, Harcourt Brace Jovanovich, New York, 1983.
Haraway, D. "The Promises of Monsters: A Regenerative Politics for Inappropriate/d Others," in Cultural Studies,New York and London, Routledge, 1992.
Harvey, D. The Condition of Postmodernity: An Inquiry into the Origins of Social Change. Oxford, Blackwell Press, 1989.
Jameson, F., "Postmodernism and Consumer Society", in The Anti-Aesthetic: Essays on Postmodern Culture, ed. Hal Foster, Washington, Bay Press, 1983.
___ "Postmodernism or the Cultural Logic of Late Capitalism", New Left Review, 146:53-92, 1984.
Kroker, A., Cook, D., The Postmodern Scene: Excremental Culture and Hyper-Aesthetics, Saint Martin's Press, New York, 1986.
Lacan, J., "The Mirror Stage as Formative of the Function of the I as Revealed in Psychoanalytic Experience", in Ecrits: A Selection, New York, Norton, 1977.
Laplanche, J., "Psychoanalysis, Time and Translation", in John Fletcher and Martin Stanton, (eds.), Jean Laplanche: Seduction, Translation, Drives, London, Institute of Contemporary Arts, 1992.
Latour, B. We Have Never Been Modern, Cambridge, Harvard University Press, 1993.
Lyotard, J. The Postmodern Condition: A Report on Knowledge. Minneapolis, The University of Minnesota Press,1984.
Rabinow, P. "Meta-modern Milieux: Real Chimera," unpublished manuscript, 1992.
Rosler, M. "Notes on Quotes," Wedge, no. 2, Fall 1982.

Seem, M. Introduction. Anti-Oedipus: Capitalism and Schizophrenia. By Deleuze and Guattari, Minneapolis,University of Minnesota Press, 1983.

 

ภาพประกอบ 1. ภาพประกอบ 2.

ภาพประกอบ 3. ภาพประกอบ 4.

ภาพประกอบ 1. ผลงานของ Roy Liechtenstein
ภาพประกอบ 2. ผลงานของ Marcel Duchamp

ภาพประกอบ 3. ผลงานของ Andy Warhol
ภาพประกอบ 4.. ผลงานของ Jeff Koons

 

 


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 500 เรื่อง หนากว่า 6000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

H
บทความวิชาการเรื่อง "ลัทธิทุนนิยมและอาการจิตเภท"(Capitalism and Schizophrenia) โดย Jonah Peretti, สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง

ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของ queer ประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจทีเดียว ต่อการล้มล้างและท้าทายบรรทัดฐานของพวกนิยมการมีความรักกับเพศตรงข้าม(heterosexist) ซึ่งพวกนี้ค่อนข้างมีอคติต่อบรรทัดฐานอื่นๆที่ต่างออกไป แต่อย่างไรก็ตาม การทำงานและสัมฤทธิผลที่มากกว่านี้จะต้องได้รับการปฏิบัติ เพื่อทำให้ขบวนการดังกล่าว มีอะไรมากกว่าการทำในสิ่งตรงข้าม ด้วยการล้มล้างทำลาย

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 500 เรื่อง หนากว่า 6000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งตั๋วแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

ลักษณะของทุนเป็นสิ่งที่เคลื่อนที่ได้ มีความยืดหยุ่น ซึ่งสามารถที่จะสอดแทรกตัวของมันเองเข้าไปสู่สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมได้ทุกแห่ง ในประเทศที่ต่างออกไปอย่างเช่น ญี่ปุ่น บราซิล ฝรั่งเศส และเคนย่า ลัทธิทุนนิยมสามารถได้รับประโยชน์เกี่ยวกับแบบแผนสัญลักษณ์ของท้องถิ่น(Harvey 1989) รูปแบบต่างๆซึ่งลัทธิทุนนิยมได้นำมาจากประเทศที่หลากหลายเหล่านี้ ได้สะท้อนแบบแผนเชิงสัญลักษณ์ที่เครื่องจักรทุนนิยมได้เสียบเข้าไป ด้วยเหตุนี้ Deleuze และ Guattari จึงไม่เสนออัตลักษณ์เครื่องจักรทุนนิยมในฐานะที่เป็นแบบๆเดียวหรือลักษณะที่เป็นรูปแบบตามตัวโดดๆ - มันไม่มี"ฉัน", อีโก้, หรือเอกลักษณ์เฉพาะอันเดียว มันทำงานในฐานะตัวทำลายรูปแบบแทน (250148)

ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ
เจ้าของพื้นที่ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ