ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
020148
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 501 หัวเรื่อง
ชาติ เชื้อชาติ และการตั้งคำถาม
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ (อเมริกา)
ชลนภา อนุกูล (เยอรมันนี)

The Midnight 's article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความทางด้านรัฐศาสตร์
บทความจากคนไทยในต่างแดน ๒ เรื่อง

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ (สหรัฐอเมริกา)
ชลนภา อนุกูล (เยอรมันนี)

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ (กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐอเมริกา)
ชลนภา อนุกูล (
University of Saarland, Saarbrucken, Germany)


หมายเหตุ:
บทความชิ้นนี้ได้รับมาจากผู้เขียน ส่งมาให้ ม.เที่ยงคืนผ่านจดหมายอิเล็คทรอนิค
เป็นการรวบรวมงานเขียน ๒ เรื่อง ประกอบด้วย
๑. ชาติ เชื้อชาติ และดินแดน. ๒. คำถาม - กุญแจสู่สังคมความรู้

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 7 หน้ากระดาษ A4)


 

๑. ชาติ, เชื้อชาติ และดินแดน
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
นับตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เราต้องยอมรับความจริงว่าสถานการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ได้มาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุด เพราะได้เกิดการเข้าพบนายกรัฐมนตรีโดยนักวิชาการ 22 ราย, มีพระราชเสาวนีย์ในวันที่ 16 พฤศจิกายน, มีโครงการพับนกแห่งชาติ, เกิดการประกาศตั้งค่าหัวให้ผู้ก่อการร้าย,

ล่าสุด ลูกเสือชาวบ้านในสามจังหวัดภาคใต้เตรียมจัดการชุมนุมใหญ่ที่จังหวัดยะลา โดยคาดว่าจะมีผู้ร่วมชุมนุมหนึ่งแสนราย ในขณะที่รัฐบาลก็มีดำริจะออกกฎหมายพิเศษเพื่อต่อต้านผู้ก่อการร้ายโดยตรง

ถ้าเปรียบเทียบสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ในช่วงนี้ กับสถานการณ์ในช่วงหลังกรณีตากใบ ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ ความตายในกรณีตากใบกระตุ้นให้สาธารณะแสดงความเห็นในเรื่องภาคใต้อย่างเต็มที่ ขณะที่หลังกลางเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา รัฐกลับเป็นฝ่ายควบคุมญัตติสาธารณะเกี่ยวกับสามจังหวัดภาคใต้อย่างสมบูรณ์

หากคิดทบทวนให้ดี ความตายในกรณีตากใบเป็นชนวนให้เกิดเผชิญหน้าและขัดแย้งระหว่างคนหลายฝ่ายอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ, องค์กรประชาธิปไตย , วุฒิสมาชิก, ลูกเสือชาวบ้าน, ทหาร, กลุ่มสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ, หอการค้า, พระสงฆ์ , จุฬาราชมนตรี, ผู้ก่อความไม่สงบ, ประเทศเพื่อนบ้าน, สหประชาชาติ , cyber soldiers ตามเว็บบอร์ด ฯลฯ

แต่ถึงตอนนี้ ความขัดแย้งแนวราบระหว่างผู้คนอันหลากพวกหลายกลุ่มเหล่านี้ถูกแยกสลายให้หมดไป กลายเป็นความขัดแย้งเชิงเดี่ยวที่ทั้งหมดรวมศูนย์อยู่ที่รัฐและคนกลุ่มที่รัฐเรียกว่า "ผู้ก่อความไม่สงบ" โดยตรง

พูดในเชิงเปรียบเปรยแล้ว ตากใบนำไปสู่ "บทสนทนาสาธารณะ" เรื่องสามจังหวัดภาคใต้ แตกต่างจากสภาวะการณ์ในปัจจุบันนี้ ที่มีแต่ "รัฐ" ซึ่งผูกขาดนโยบายแก้ปัญหาภาคใต้อยู่เพียงฝ่ายเดียว

น่าสนใจว่าขณะที่นายกรัฐมนตรีประกาศว่า ท่านรับฟังความเห็นทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นพนักงานขับรถแท๊กซี่หรืออาจารย์มหาวิทยาลัย 22 ราย แต่ภายใต้กระบวนการรับฟังความเห็นนั้นเองที่เป็นต้นกำเนิดของ "ความเงียบ" ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

มองอย่างถี่ถ้วนแล้ว รัฐใช้อุบายหลายอย่างเพื่อกำจัดบทสนทนาสาธารณะเรื่องสามจังหวัดภาคใต้ เช่นพับนก, ตั้งกรรมการสมานฉันท์ , ให้ข่าวเกี่ยวกับเครือข่ายก่อการร้าย รวมทั้งอุบายอื่นๆ ที่สรุปโดยรวมแล้วก็คือการหันกลับไปหยิบยืมอาวุธทางถ้อยคำและความคิดที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพที่สุดของรัฐ นั่นก็คือความคิดเรื่องความเป็นชาติไทย

ชาติในความหมายปัจจุบันเป็นแนวคิดว่าด้วยการรวมกลุ่ม ซึ่งเกิดขึ้นในสังคมมนุษย์เมื่อไม่กี่คริสตศตวรรษที่ผ่านมา และย้อนหลังไล่ไปได้ไม่เกินร้อยปีกว่าๆ ในสังคมไทย จึงไม่ใช่การรวมกลุ่มที่เกิดขึ้นเองจากความจำเป็นตามธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ใช่การรวมกลุ่มที่สืบทอดเป็นเส้นตรงมาแต่อดีต แต่เป็นการรวมกลุ่มที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงในโลกสมัยใหม่เอง

ชาติมีองค์ประกอบพื้นฐานที่หลากหลาย หมายถึงชาติ, ศาสนา และพระมหากษัตริย์ก็ได้ และในบางช่วงเวลา ก็อาจประกอบด้วยรัฐธรรมนูญก็ได้อีก ชาติเป็นแนวคิดนามธรรม จึงจับต้องไม่ได้ แต่ฆ่าคนได้ สั่งคนให้ไปตายได้ และปรากฎตัวในรูปสิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมหลายชนิดในชีวิตประจำวัน เช่นเพลง, ธง, กีฬา, กองทัพ, สถาบันการศึกษา , เครื่องดื่มชูกำลัง, หนังโป๊ ฯลฯ

ด้วยเหตุดังนี้ โลกทรรศน์ที่สังคมไทยมีต่อกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ และวีซีดีน้องแน๊ท จึงทำงานบนตรรกะความเป็นชาติแบบเดียวกัน นั่นคือกรรมการสมานฉันท์เป็นตัวแทนของ "สถาบันการศึกษาแห่งชาติ" จึง "เป็นกลาง" จนทุกฝ่ายต้องรับฟัง ขณะที่น้องแน๊ทนั้นถ่ายหนังกับนักแสดงต่างชาติมากเกินไป จึงเป็นอันตรายต่อ "วัฒนธรรมแห่งชาติ" ของไทย

ธงชัย วินิจจะกูล เคยกล่าวไว้ในคำบรรยายสำคัญของเขา เรื่อง "เรื่องราวจากชายแดน : สิ่งแปลกปลอมต่อตรรกะทางภูมิศาสตร์ของประวัติศาสตร์แห่งชาติไทย" ว่าชาติไทยวางอยู่บนฐานคติว่าความรู้และตรรกะทางภูมิศาสตร์บางแบบ เป็น "ความจริง" อย่างไม่ต้องสงสัย และหากตั้งข้อสงสัยกับความรู้แบบนี้ ประวัติศาสตร์ก็จะถูกสงสัยท้าทายไปด้วย

ธงชัยเรียกความรู้ทางภูมิศาสตร์แบบนี้ว่า "ตรรกะทางภูมิศาสตร์ของประวัติศาสตร์ไทย" (The Geographical Logic of Thai National History) ซึ่งแม้จะไม่ใช่ตรรกะชุดเดียวที่กำหนดประวัติศาสตร์ แต่ก็มีตรรกะชุดอื่นไม่มากนักที่มีบทบาทในลักษณะแบบเดียวกัน เพราะฉะนั้น ความคิดเรื่องความเป็นชาติไทยจึงมีทำงานภายใต้การคิดถึงชาติโดยกรอบคิดเรื่องอาณาเขตดินแดน

อย่างไรก็ดี ดินแดนไม่ได้เป็นฐานคิดเพียงอย่างเดียวของความเป็นชาติไทย เพราะฐานคติที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า "ดินแดน" ก็คือการยอมรับว่าชาติไทยเป็นของคนเชื้อชาติไทยอย่างไม่มีทางเป็นอื่นไปได้ ถึงขั้นที่หากคิดถึงชาติโดยออกไปจากกรอบอ้างอิงเรื่องเชื้อชาติแบบนี้ ความเป็นชาติไทยก็จะถูกสั่นคลอนและท้าทายอย่างรุนแรง

ทั้งหมดนี้ทำให้ความเป็น "เชื้อชาติ" เป็นปัญหาใหญ่ของชาติไทยตลอดเวลา จนกล่าวได้ว่าชีวิตประจำวันของคนไทยนั้น ส้องเสพ และพัวพันกับวาทกรรมความเป็นเชื้อชาติไทยไปทั้งหมด ทำให้คาราบาวแดงขายได้ เพราะพูดถึงปัญหาสำคัญของสังคมไทยเรื่องความเป็น "คนไทยหรือเปล่า" ของคนทั่วไป

แน่นอนว่าสังคมไทยไม่มีประวัติเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เหมือนหลายสังคม จึงไม่ได้เป็นสังคมที่คลั่งเชื้อชาติ จนถึงแก่ฆ่าคนที่ผิดแปลกทางเชื้อชาติได้ เชื้อชาติที่ "ไม่ไทย" จึงไม่ใช่สิ่งที่ต้องถูกกำหราบปราบปรามให้หมดสิ้นไป หากมีแต่เชื้อชาติที่เป็นภัยคุกคามดินแดนเท่านั้น ที่ถูกถือว่าเป็นอันตรายร้ายแรง

ถึงจุดนี้ ความเป็นชาติไทยจึงทำงานอยู่บนตรรกะที่สำคัญสองชนิด ตรรกะแรกคือตรรกะทางภูมิศาสตร์แห่งชาติ และตรรกะที่สองคือตรรกะเรื่องความเป็นเชื้อชาติแห่งชาติไทย นำไปสู่การคิดถึงชาติไทยในแบบแผนซึ่งเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งมีลักษณะทางเชื้อชาติอย่างชัดแจ้ง (ethno geographical territorial space) ไม่ใช่ชาติซึ่งปราศจากลักษณะทางเชื้อชาติในแบบหลายสังคม

ในตรรกะแบบนี้ ความผิดแปลกทางเชื้อชาติและดินแดนเป็นเรื่องอันตราย จนอาจทำให้ถูกฆ่าได้อย่างโหดร้าย ตัวอย่างเช่นการฆ่าและทำร้ายศพในวันที่ 6 ตุลา 2519 รวมทั้งความตายของคนเชื้อสายมลายูที่ตากใบ ซึ่งทั้งหมดนี้ตายโดยถูกถือว่า "ไม่ไทย" และเป็นตัวแทนของคนต่างเชื้อชาติที่หมายคุกคามดินแดนไทย

อย่าลืมว่าเนื้อหาส่วนแรกของเพลงชาติไทยนั้นประกาศไว้อย่างชัดเจนว่า "ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อ ชาติเชื้อไทย" ขณะที่เนื้อหาท่อนอื่นก็เชิดชูความสำคัญของการรบพุ่ง ถึงขั้นเรียกร้องให้คนเชื้อชาติไทยทั้งมวลนั้น "สละเลือดเป็นชาติพลี" ในกรณีที่เผชิญกับศัตรูผู้คิดร้ายคุกคามอาณาเขตและดินแดนทางภูมิศาสตร์ของไทย อนึ่ง น่าสนใจว่าไม่มีท่อนไหนในเพลงชาติที่พูดถึงคำสำคัญอื่นๆ เช่น เสรีภาพ, ความเท่าเทียม, และสิทธิ แม้แต่นิดเดียว

กลับไปที่กรณีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกที นับตั้งแต่เกิดเหตุรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วงต้นปี และเกิดการเสียชีวิตของพลเรือนในกรณีตากใบ ความขัดแย้งระหว่างคนทุกฝ่ายก็ขยายตัวอย่างกว้างขวาง โดยที่เมื่อรัฐล้มเหลวในการจรรโลงสภาวะสันติต่อไปได้ ความขัดแย้งก็กลายเป็นความตื่นตระหนกอันเกิดจากความไม่รู้ว่าจะอธิบายเหตุการณ์ทั้งหมดว่าอย่างไรดี

สถานการณ์เหล่านี้คือสถานการณ์ที่ผิดปกติอย่างยิ่งยวด จึงเป็นสถานการณ์ที่เปิดโอกาสให้ความเห็นและทรรศนะทุกแบบเผยตัวออกมาได้อย่างเต็มที่ ทำให้มีการพูดถึงการแบ่งแยกดินแดนมากขึ้น รวมทั้งมีการพูดถึงการแทรกแซงโดยฝ่ายอเมริกามากขึ้น และแน่นอนว่ามีการเล่าลือข่าวสารและพงศาวดารฉบับกระซิบไปต่างๆ นานา

มองในแง่นี้ สถานการณ์ในช่วงหลังตากใบเป็นต้นมา ทำให้สังคมการเมืองไทยแทบจะตกอยู่ในสภาวะฉุกเฉิน (state of emergency) ซึ่งรัฐไม่อาจแสดงอำนาจปกครองอย่างสมบูรณ์ได้ต่อไป

อย่างไรก็ดี ด้วยการประกาศอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรกว่ากลุ่มก่อการร้ายคือฝ่ายที่อยู่เบื้องหลังความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ ความขัดแย้งในสังคมระหว่างคนหลากกลุ่มหลายฝ่ายอันเนื่องมาจากปัญหาภาคใต้ก็หมดไป กลายเป็นความขัดแย้งเชิงเดี่ยวที่รวมศูนย์อยู่ที่ชาติไทยกับอิสลามหัวรุนแรงข้ามพรมแดน

จริงอยู่ว่ามุสลิมก่อการร้ายนั้นอันตราย แต่ความรุนแรงในภาคใต้มีลักษณะเฉพาะที่น่าจะเป็นอิสระจากการก่อการร้ายในความหมายสากลอยู่มาก ด้วยเหตุผลอย่างน้อยสี่ข้อ

ข้อแรก ความรุนแรงเกิดขึ้นในพื้นที่ซึ่งไม่มีประวัติศาสตร์ของความขัดแย้งทางศาสนาที่รุนแรงอย่างเห็นได้ชัดแบบโลกตะวันตก

ข้อสอง ความรุนแรงเกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งเต็มไปด้วยองค์ประกอบทางสังคมที่ส่งผลให้ผู้คนไม่ได้แบ่งแยกฝักฝ่ายตามความแตกต่างทางศาสนาอย่างตายตัว แต่อาจแบ่งแยกด้วยเหตุผลอื่น และรวมกลุ่มโดยเหตุผลอื่นได้ด้วย เช่น ความยากจน ชาติพันธุ์ ความเป็นละแวก ฯลฯ

ข้อสาม การเผชิญหน้ากับรัฐไม่ได้ปรากฎแต่ในรูปของวินาศกรรมและเข่นฆ่า หากในหลายกรณียังแสดงออกในรูปของการชุมนุมและรวมกลุ่มในลักษณะต่างๆ จึงมีผู้คนที่เกี่ยวข้องโดยกว้างขวางและเปิดเผยเกินกว่ากลุ่มก่อการร้ายข้ามพรมแดนไม่กี่ราย

ข้อสี่ เป็นไปได้มากที่กลุ่มก่อการร้ายจะได้รับความสนับสนุนข้ามพรมแดนจากเครือข่ายก่อการร้ายสากล แต่คุณลักษณะทางชาติพันธุ์ของเครือข่ายก่อการร้ายสากล ก็เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวในสามจังหวัดภาคใต้อยู่มาก จนต่อให้แม้จะมีความเคลื่อนไหวของผู้ก่อการร้ายในความหมายสากล คนกลุ่มนี้ก็มีอิทธิพลได้แต่คนในแวดวงจำกัดเท่านั้น

แน่นอนว่าการก่อการร้ายเป็นอันตราย เพราะมุ่งทำลายระเบียบของสังคมโดยไม่สนใจว่าใครคือ "เหยื่อ" ของการก่อการร้ายนั้น รัฐจึงมีหน้าที่พื้นฐานในการต่อต้านการกระทำนี้ แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องตระหนักว่าการก่อการร้ายไม่เคยมีประสิทธิผลถึงขั้นผลักดันให้มวลชนต้านรัฐอย่างกว้างขวาง อันเป็นปรากฎการณ์สำคัญของสามจังหวัดภาคใต้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

กล่าวให้ถึงที่สุดแล้ว ต้นตอของความรุนแรงในภาคใต้ไม่ได้อยู่ที่การแทรกตัวของกลุ่มก่อการร้าย แต่อยู่ที่ความล้มเหลวในการสร้างชาติที่เป็นอิสระจากการผูกขาดทางชาติพันธุ์


๒. คำถาม - กุญแจสู่สังคมความรู้
ชลนภา อนุกูล
ความเห็นนั้นต่างจากความรู้ในข้อที่ว่า แม้คนโง่เขลาก็อาจแสดงความเห็นได้ แต่ความรู้นั้นคือรู้ว่าจะต้องรู้เรื่องอะไรบ้างเพื่อจะสังเคราะห์เป็นความเห็นออกมา ข้อนี้เองจึงทำให้การตั้งคำถามมีความสำคัญมาก คำถามที่ดีนั้นต้องตั้งให้ถูกกับบุคคล ถูกกับสถานที่ ถูกกับกาล จึงจะได้ความเห็นที่เป็นความรู้ขึ้นมา

ยกตัวอย่างกรณีปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ สื่อมวลชนควรจะตั้งคำถามกับตนเองก่อนว่า ควรจะไปสัมภาษณ์ถามใครบ้าง จึงจะเรียกว่าได้ความเห็นที่เป็นภาพรวมของสังคม หรือได้รับมุมมองข้อเสนอแนะอย่างรอบด้าน การสัมภาษณ์บุคคลทั้งในและนอกพื้นที่ ดังเช่น นักคิด นักเขียน กวี ศิลปิน ผู้นำทางศาสนา เกษตรกร คนหาเช้ากินค่ำ แม่ค้าในตลาด ย่อมได้คำตอบแตกต่างจากข้าราชการของรัฐ นักการเมือง ทหาร และตำรวจ อย่างแน่นอน ยิ่งในสถานการณ์สงคราม กองทัพยิ่งเป็นแหล่งสุดท้ายที่ควรจะเข้าไปสอบถามความคิดเห็นด้วยซ้ำไป

หรือลองจินตนาการดูว่า หากเราได้มีโอกาสเข้าไปสัมภาษณ์ หรือพบปะพูดคุยกับบุคคลสำคัญของโลก ดังเช่น บิลล์ เกต, จอร์จ บุช, แกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์, วลาดิเมียร์ ปูติน, พระสันตปาปา, ทะไลลามะ, สมเด็จพระสังฆราช, บิน ลาเดน ฯลฯ เราจะเตรียมคำถามอะไรไว้บ้าง จึงจะทำให้การสัมภาษณ์หรือการพบปะพูดคุยนี้เป็นประโยชน์ขึ้นมา

คำถามนั้นสำคัญยิ่งกว่าคำตอบ เพราะทุกคำถามย่อมมีคำตอบ แต่หากตั้งคำถามไม่เหมาะสม ก็ไม่อาจจะได้คำตอบที่นำไปสู่ความรู้หรือปัญญาใหม่ได้ แม้พระพุทธเจ้าก็ยังทรงปฏิเสธที่จะตอบคำถามบางคำถาม เพราะไม่เห็นประโยชน์ ไม่นำไปสู่ปัญญา ไม่นำไปสู่สัจจะความจริง

สิ่งที่ยืนยันได้ดีถึงความสำคัญของคำถามก็คือ คาถาหัวใจนักปราชญ์ สุ จิ ปุ ลิ - ฟัง คิด ถาม เขียน เราจะมองเห็นการเคลื่อนไหลของความรู้ โดยผ่านการเรียนรู้ทั้งการฟัง การอ่าน การสังเกต (สุตตะ) พิจารณาไตร่ตรอง (จิตตะ) ตั้งคำถามกับความรู้เพื่อสังเคราะห์เป็นความรู้ใหม่ (ปุจฉา) และถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น (ลิขิต)

และจะเห็นได้ว่า หากปราศจากการตั้งคำถามแล้ว การสังเคราะห์ความรู้ใหม่ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ และหากตั้งคำถามสะเปะสะปะ เป็นคำถามที่ไม่เป็นประโยชน์ ก็ไม่อาจนำไปสู่คำตอบที่เป็นความรู้หรือนำไปสู่คำถามเพื่อเข้าใกล้ความรู้ความจริงยิ่งขึ้น การตั้งคำถามจึงสำคัญมากโดยเหตุนี้ เพราะต้องใช้สติปัญญามาก

แม้ในทางวิชาการเอง ปัญหาทุกปัญหา การวิจัยทุกประเภท จะถูกตั้งคำถามกำกับไว้เสมอว่าจะค้นคว้าวิจัยด้วยเหตุผลอะไร การตั้งคำถามเกี่ยวกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของความรู้จึงมีความสำคัญมากด้วยเหตุนี้

นีล โพสต์แมน อาจารย์ทางด้านนิเวศน์วิทยาสื่อ ได้ตั้งข้อสังเกตไว้อย่างน่าสนใจว่า ระบบการศึกษาร่วมสมัยมุ่งผลิตนักเรียนที่ตอบคำถามเสียยิ่งกว่านักเรียนที่ตั้งคำถาม นักเรียนถูกฝึกให้ตอบคำถามของครูผ่านการสอบการเก็บคะแนน แต่มิได้ถูกฝึกให้ตั้งคำถามกับครูเลย เราจึงไม่มีนักเรียนที่ตั้งคำถามกับวิชาประวัติศาสตร์เลยว่า ประวัติศาสตร์ที่เราเรียนเป็นของใคร ใครเป็นคนเขียน เชื่อถือได้เพียงใด ฯลฯ

ตัวอย่างรูปธรรมเรื่องนี้ก็คือ อาจารย์สาขาวิศวกรรมศาสตร์อย่างด็อกเตอร์วรภัทร ภู่เจริญ ออกข้อสอบ ให้นักศึกษาเขียนข้อสอบพร้อมเฉลยเอง ก็มีคนสอบตกกว่าค่อนห้อง เพราะตั้งคำถามไม่เป็น ส่วนใหญ่ตั้งคำถามง่าย ๆ และตอบง่าย ๆ ไม่บ่งถึงความรู้ และไม่แสดงสติปัญญา

มนุษย์ที่ถูกผลิตออกมาจากโรงงานการศึกษาสำเร็จรูปแบบกระป๋องเหล่านี้ จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับพลเมืองของโลกอนาคต ที่อัลดัส ฮักซ์เลย์ เขียนไว้ใน โลกใหม่อันอาจอง - Brave New World คือ ปราศจากความหวาดกลัวที่หนังสือบางเล่มจะถูกห้ามพิมพ์เผยแพร่ เพราะไม่มีความจำเป็นเลย เนื่องจากผู้คนแทบจะเลิกอ่านหนังสือกันแล้ว ปราศจากความหวาดกลัวที่จะถูกปิดบังข้อมูลข่าวสารโดยผู้มีอำนาจ เพราะผู้มีอำนาจได้ป้อนข้อมูลข่าวสารจำนวนมากอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา ปราศจากความทุกข์ร้อนเพราะได้รับข่าวสารรายการบันเทิงตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงโดยไม่รู้ตัวว่ากำลังหัวเราะให้กับเรื่องอะไร และปราศจากความหวาดกลัวหรือขัดแย้งต่อผู้มีอำนาจ เพราะได้เป็นมิตรเชื่องเชื่อและสยบยอมต่อผู้มีอำนาจอย่างสิ้นเชิง

สังคมไทยกำลังตั้งคำถาม ว่าด้วยการนำสังคมให้พ้นจากความเห็นอันเลวไปสู่ความรู้ดีงาม นอกเหนือจากการตั้งคำถามที่เหมาะสมแล้ว การวิพากษ์เชิงคุณค่ายังมีบทบาทสำคัญยิ่ง เพราะจะทำให้แยกแยะคุณภาพของคำถามคำตอบตลอดจนความเห็นได้ เมื่อแยกแยะได้ กลั่นกรองได้ ก็รู้ว่าสิ่งใดเป็นแก้วเพชรสิ่งใดเป็นกรวดทราย สมควรนำไปเจียรนัยเป็นมุกมณีประดับมหาพิชัยมงกุฏแห่งปัญญาญานได้ การวิพากษ์เชิงคุณค่า แท้จริงแล้วก็คือการตั้งคำถามเชิงคุณค่าต่อสิ่งต่างๆ
หากมีการฝึกฝนการตั้งคำถามสร้างสรรค์อันนำไปสู่ปัญญาใหม่ ฝึกฝนการวิพากษ์คุณค่าของคำถามและคำตอบ เราก็จะรอดพ้นจากการเป็นเหยื่อของเผด็จการทางความรู้ รอดพ้นจากการเป็นเหยื่อทางความเห็นของคอลัมนิสต์ หรือพิธีกรดำเนินรายการโทรทัศน์ รอดพ้นจากการเป็นสาวกทางความรู้ความเห็นของผู้ที่ตั้งอยู่ในความเคารพรัก และแม้กระทั่งสัจจะสมบูรณ์ของเรา

ก็ในเมื่อปัญญาญานในตัวของเราเอง เรายังอาจหาญท้าทายได้ด้วยความรักและนับถือ สาอะไรกับอวิชชาภายนอกที่มากวักมือเชื้อเชิญในรูปของพระคัมภีร์ พระราชดำรัส ปาฐกถา การพัฒนา ทฤษฎีทางวิชาการ ความเห็นของผู้ชำนาญการ ฯลฯ

รัตนบุรุษอย่างเจ้าชายสิทธัตถะ ศาสตราจารย์ที่ยืนอยู่ทั้งฝั่งวิชาการและการเมืองอย่างไอน์สไตน์ นักเศรษฐศาสตร์และนักมนุษยนิยมอย่างชูมาร์กเกอร์ ทนายความและนักต่อสู้เรียกร้องเอกราชด้วยอหิงสธรรมอย่างคานธี ผู้คนเหล่านี้ล้วนก้าวข้ามเขตแดนแห่งความรู้เก่าไปสู่ความรู้ใหม่ของมนุษยชาติก็ด้วยปุจฉาธรรมนั่นเอง

 


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

H
รวมบทความวิชาการ ๒ ชิ้น จากคนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในต่างแดน ซึ่งห่วงใยสถานการณ์บ้านเมือง ส่งมาให้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเผยแพร่ ผ่านจดหมายอิเล็คทรอนิค

นีล โพสต์แมน อาจารย์ทางด้านนิเวศน์วิทยาสื่อ ได้ตั้งข้อสังเกตไว้อย่างน่าสนใจว่า ระบบการศึกษาร่วมสมัยมุ่งผลิตนักเรียนที่ตอบคำถามเสียยิ่งกว่านักเรียนที่ตั้งคำถาม นักเรียนถูกฝึกให้ตอบคำถามของครูผ่านการสอบการเก็บคะแนน แต่มิได้ถูกฝึกให้ตั้งคำถามกับครูเลย เราจึงไม่มีนักเรียนที่ตั้งคำถามกับวิชาประวัติศาสตร์เลยว่า ประวัติศาสตร์ที่เราเรียนเป็นของใคร ใครเป็นคนเขียน เชื่อถือได้เพียงใด ฯลฯ

แน่นอนว่าสังคมไทยไม่มีประวัติเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เหมือนหลายสังคม จึงไม่ได้เป็นสังคมที่คลั่งเชื้อชาติ จนถึงแก่ฆ่าคนที่ผิดแปลกทางเชื้อชาติได้ เชื้อชาติที่ "ไม่ไทย" จึงไม่ใช่สิ่งที่ต้องถูกกำหราบปราบปรามให้หมดสิ้นไป หากมีแต่เชื้อชาติที่เป็นภัยคุกคามดินแดนเท่านั้น ที่ถูกถือว่าเป็นอันตรายร้ายแรง ถึงจุดนี้ ความเป็นชาติไทยจึงทำงานอยู่บนตรรกะที่สำคัญสองชนิด ตรรกะแรกคือตรรกะทางภูมิศาสตร์แห่งชาติ และตรรกะที่สองคือตรรกะเรื่องความเป็นเชื้อชาติแห่งชาติไทย นำไปสู่การคิดถึงชาติไทยในแบบแผนซึ่งเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งมีลักษณะทางเชื้อชาติอย่างชัดแจ้ง (ethno geographical territorial space) ไม่ใช่ชาติซึ่งปราศจากลักษณะทางเชื้อชาติในแบบหลายสังคม ในตรรกะแบบนี้ ความผิดแปลกทางเชื้อชาติและดินแดนเป็นเรื่องอันตราย จนอาจทำให้ถูกฆ่าได้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 500 เรื่อง หนากว่า 6000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งตั๋วแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ