ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
301147
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 485 หัวเรื่อง
บทวิจารณ์ กวีนิพนธ์ฟิลิปปินส์
นัทธนัย ประสานนาม
นิสิตปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
The Midnight 's Poetry

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณขาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทวิจารณ์วรรณกรรมหลังอาณานิคม
กวีนิพนธ์ฟิลิปปินส์กับพันธกิจต่อสังคม
นัทธนัย ประสานนาม
นิสิตปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หมายเหตุ : บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาการเขียนบทวิจารณ์วรรณคดี
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2546

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 38 หน้ากระดาษ A4)

 


บทนำ
วรรณคดีศึกษาในประเทศไทยได้เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง วิชาวรรณคดีที่เปิดสอนในระดับมหาวิทยาลัยนั้น ระยะแรกจะเป็นวรรณคดีจากโลกตะวันตก เป็นต้นว่า วรรณคดีอังกฤษ วรรณคดีฝรั่งเศสและวรรณคดีเยอรมัน ส่วนวรรณคดีตะวันออกที่เปิดสอนส่วนใหญ่จะเป็นวรรณคดีบาลีและสันสกฤต ซึ่งมีความสัมพันธ์กับวรรณคดีไทย เป็นที่น่าสังเกตว่า วรรณคดีของประเทศเพื่อนบ้านกลับได้รับความสนใจมาเมื่อไม่นานมานี้ และยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังมากเท่าวรรณคดีตะวันตก

องค์ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศไทย จึงอาจนับว่าอยู่ในระยะเริ่มแรกเท่านั้น สังเกตจากงานวิจัยที่เพิ่งปรากฏในช่วงทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา และงานวิจัยส่วนใหญ่ยังคงเน้นหนักที่วรรณคดีลาวและพม่าในด้านที่สัมพันธ์กับวรรณคดีท้องถิ่นของไทย งานวิจัยเกี่ยวกับวรรณกรรมปัจจุบันของเขมรและลาวมีอยู่จำนวนหนึ่ง ส่วนประเทศอื่นๆนั้นปรากฏไม่มากนัก

บทความนี้มีความมุ่งหมายที่จะแนะนำให้คนไทยมีโอกาสได้รู้จักวรรณคดีฟิลิปปินส์ โดยเน้นเฉพาะกวีนิพนธ์ เพื่อแสดงให้เห็นว่ากวีนิพนธ์ฟิลิปปินส์นั้นถูกสร้างขึ้นในบริบทของสังคมที่แสวงหาความเป็นชาติในอุดมคติ สะท้อนความขมขื่นของประชาชนที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของประเทศเจ้าอาณานิคม ซึ่งผลจากการเป็นประเทศอาณานิคมของฟิลิปปินส์ยังปรากฏอยู่ในโครงสร้างสังคม และความคิดนึกของผู้คนถึงปัจจุบัน ที่สำคัญที่สุดคือต้องการแสดงให้เห็นพันธกิจของกวีนิพนธ์ฟิลิปปินส์ที่มีต่อสังคมอย่างเด่นชัด

สังเขปภูมิหลังกวีนิพนธ์ฟิลิปปินส์
ก่อนที่จะกล่าวถึงกวีนิพนธ์ฟิลิปปินส์ ใคร่ขอแนะนำภูมิหลังของกวีนิพนธ์โดยสังเขปเพื่อประโยชน์ในการทำความเข้าใจภาพรวมของการสร้างสรรค์วรรณคดีฟิลิปปินส์ได้ดียิ่งขึ้น วรรณคดีฟิลิปปินส์อาจแบ่งตามยุคสมัยของประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์ ตามความเห็นของนักวิชาการได้เป็น 4 ยุค ดังนี้

1. สมัยก่อนฟิลิปปินส์ตกเป็นประเทศอาณานิคม
2. สมัยฟิลิปปินส์เป็นประเทศอาณานิคมของสเปน (ค.ศ.1565-1897)
3. สมัยเป็นประเทศอาณานิคมของสหรัฐอเมริกา (ค.ศ.1898-1945)
4. สมัยได้รับเอกราชจนถึงปัจจุบัน (1)

เมื่อพิจารณาเฉพาะกวีนิพนธ์จะพบว่า วรรณคดีฟิลิปปินส์ในยุคเริ่มแรกก่อนที่จะเป็นอาณา-นิคมนั้นมีการสร้างและเสพวรรณคดีมุขปาฐะ (oral literature) เป็นหลัก ด้วยเหตุที่ว่าสังคมดั้งเดิมในฟิลิปปินส์นั้น เป็นแหล่งรวมของชนเผ่าต่างๆมากมาย เช่น เผ่าบอนตอค (Bontoks) อิลองกอต (Ilongots) และคาลิงกัส (Kalingas) ชนเผ่าเหล่านี้มีชนเผ่ามาเลย์เป็นบรรพบุรุษ และได้ทิ้งร่องรอยของวัฒนธรรมอิสลามไว้ในฟิลิปปินส์มาถึงทุกวันนี้ (2)

ในสังคมแบบชนเผ่ามีการเสพบทกวีและลำนำเพลง กวีนิพนธ์ที่สำคัญในยุคนี้คือมหากาพย์พื้นบ้าน (Folk Epic) มีลักษณะเป็นคำร้อยกรองโดยผูกเรื่องขึ้นจากเรื่องเล่าหรือตำนาน มหากาพย์พื้นบ้านที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือเรื่องลัมอัง (Lam-ang) เล่าโดยชนเผ่าอิโลกาโน (Ilogano) เรื่องฮัดฮัด (Hudhud) ของชนเผ่าอิฟฟูกัว (Ifugao) เรื่องอิบาลอน (Ibalon) หรือ ฮันดิออง (Handiong) เล่าโดยชนเผ่าบิโคล (Bikol) (3)

เมื่อสเปนเข้าปกครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์ใน ค.ศ.1565 วรรณกรรมมุขปาฐะจำนวนมากถูกห้ามเผยแพร่และถูกทำลาย ทำให้การสร้างสรรค์วรรณกรรมฟิลิปปินส์หยุดชะงักไป จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ชนพื้นเมืองจำนวนหนึ่งที่ชาวสเปนให้การศึกษาจนรู้ภาษาสเปนแตกฉาน เรียกว่าพวก ลาดิโน (Ladinos) ได้เขียนกวีนิพนธ์ขึ้นเป็นภาษาสเปนและภาษาตากาล็อก (Tagalog) (4)

เนื้อหาหลักเป็นเรื่องศาสนาและการสั่งสอนศีลธรรม(5) นอกจากนั้นยังมีกวีนิพนธ์ที่เขียนขึ้นใหม่อีกรูปแบบหนึ่ง โดยมุ่งหมายจะให้แพร่หลายแทนมหากาพย์ดั้งเดิมที่ถูกทำลาย เรียกว่าปาสิญอน (Pasi?n) ปาสิญอนเป็นกวีนิพนธ์ที่พรรณนาเกี่ยวกับชีวิตและการถูกตรึงไม้กางเขนของพระเยซู และเรื่องราวเกี่ยวกับนักบุญต่างๆในคัมภีร์ไบเบิล เนื้อหาไม่ได้มุ่งเน้นที่ความปิติในแง่ของปัญญาแต่จะเน้นความเมตตา ความเสียสละ การสร้างสรรค์กวีนิพนธ์แบบปาสิญอนนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ศาสนจักร ส่วนใหญ่แต่งขึ้นเพื่อใช้เป็นเพลงสวดในศาสนพิธี (6)

ในราวคริสต์วรรษที่ 18 มีการเขียนกวีนิพนธ์ที่เรียกว่า ออวิท (Awit) และ คอร์ริโด (Corrido) เขียนเป็นภาษาตากาล็อกมากที่สุด รองลงมาคือภาษาอิลคาโน (Ilcanos) เป็นเรื่องราวการผจญภัยของเจ้าหญิงและเจ้าชาย หรือของหญิงสูงศักดิ์ที่ได้แต่งงานกับกษัตริย์ท่านคยุคหรือกัปตันเรือ โครงเรื่องคล้ายนิทานอย่างเรื่องซินเดอเรลลา อาลาดิน และอาลีบาบา บางเรื่องกล่าวถึงหญิงที่ไม่มีทั้งความรักและการแต่งงาน แต่มีชีวิตที่ปีติสุขอย่างนักบุญในที่สุดก็บวชเป็นนักบวชสตรีในศาสนาคริสต์

ทั้งนี้ในการเขียนออวิทและคอร์ริโด ผู้เขียนจะพยายามสอดแทรกสีสันท้องถิ่น (local color) ลงไปในเรื่อง ที่น่าสนใจก็คือมีบางเรื่องที่เล่าถึงวีรบุรุษชาวพื้นเมือง ที่ต่อสู้บนหลังควายแทนที่จะเป็นม้าของชาวยุโรป และมีบางเรื่องกล่าวถึงอาณาจักรที่ถูกปกครองโดยปีศาจร้ายซึ่งอาจหมายถึง สเปนที่เข้ามาปกครองฟิลิปปินส์ (7)

ยุคต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงที่กระแสชาตินิยมเริ่มก่อตัวขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะครึ่งหลังของศตวรรษ ปัญญาชนที่ได้รับการศึกษาจากประเทศในยุโรปเริ่มรวมตัวต่อต้านรัฐบาลสเปนทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีการจัดอภิปรายในที่สาธารณะถึงความไม่เป็นธรรมของรัฐบาลสเปน

วีรบุรุษที่มีบทบาทสำคัญในการปลดแอกฟิลิปปินส์ออกจากกการเป็นอาณานิคมของสเปนคือ โฮเซ่ ริซาล (Jose Rizal) ที่ได้ประพันธ์วรรณกรรมเสียดสีโจมตีการกดขี่ข่มเหงชาวฟิลิปปินส์ของชาวสเปน งานเขียนของเขาเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ชาวพื้นเมืองก่อการปฏิวัติต่อสเปนขึ้น (8)

กวีนิพนธ์ของ โฮเซ่ ริซาล มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักชาติ เขียนขึ้นจากภาวการณ์ที่ได้ประสบและความสะเทือนอารมณ์ ริซาลถูกจับกุมและตัดสินประหารชีวิตด้วยข้อกล่าวหาก่อกบฏใน ค.ศ.1896 ก่อนที่เขาจะถูกประหารเขาแต่งกวีนิพนธ์ชื่อ คำอำลาครั้งสุดท้ายของข้าพเจ้า (My Last Farewell) ด้วยถ้อยคำที่ไพเราะจับใจเพื่อนร่วมชาติอย่างลึกซึ้ง มรณกรรมของริซาลได้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความรักชาติลงในจิตใจของชาวฟิลิปปินส์ทุกคน

ต่อมาจึงได้มีผู้สืบสานปณิธานของเขา อานเดรส โบนิฟาซิโอ (Andres Bonifacio) ได้ก่อตั้งองค์การลับต่อต้านชาวสเปน เขาได้เขียนบทกวีปลุกใจเป็นภาษาตากาล็อกเป็นจำนวนมาก ขณะที่ชาวฟิลิปปินส์กำลังเรียกร้องเอกราชอยู่นี้เอง สเปนได้ทำสงครามกับสหรัฐอเมริกา และส่งผลให้ฟิลิปปินส์ตกเป็นอาณานิคมของสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา (9)

กวีนิพนธ์ในยุคที่สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าอาณานิคมในช่วง 20 ปีแรกจะใช้ภาษาสเปนและ ตากาล็อกเป็นหลัก โดยยึดแบบแผนและแนวคิดของกลุ่มปัญญาชน เพื่อเผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับความรักชาติซึ่งสัมพันธ์กับลัทธิชาตินิยม (Nationalism) มากขึ้นตามลำดับ มีการเขียนวรรณกรรมที่มีรูปแบบคล้ายออวิทแบบดั้งเดิม และการปรับกวีนิพนธ์เป็นบทเพลงขับร้องเพื่อปลุกใจ

ในช่วงนี้เริ่มมีการเขียนกวีนิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก กวีที่เด่นก็จะเขียนงานด้วยถ้อยคำหรูหราเพื่อแสดงอารมณ์อ่อนไหวเท่านั้น ส่งผลให้ซาลวาดอ พี. โลเปซ (Salvador P. Lopez) เขียนความเรียงและเสนอข้อคิดในหนังสือ Literature and Society (ค.ศ.1940) ว่ากวีและนักเขียน แทนที่จะแสดงความสามารถทางศิลปะของตนในงานเขียน ควรจะมีเป้าหมายในการเขียนที่จะยกระดับความคิดและฐานะของคนในสังคม ตลอดจนปกป้องพิทักษ์เสรีภาพ

ความคิดของโลเปซส่งอิทธิพลถึงการก่อตั้ง "สันนิบาตนักเขียนฟิลิปปินส์" (The Philippine Writers League) ซึ่งเน้นหนักด้านศิลปวรรณกรรมเพื่อชีวิตและการสะท้อนปัญหาสังคมในวรรณกรรม ระหว่างนั้นมีความพยายามสร้างวรรณกรรมแห่งชาติทั้งด้วยภาษาตากาล็อก ภาษาสเปนและภาษาอังกฤษ จนกระทั่ง ค.ศ.1940 ที่ญี่ปุ่นก่อสงคราม ทิศทางของวรรณกรรมส่วนใหญ่จึงหันไปสะท้อนความทุกข์ยากแล้งเข็ญของผู้คน อันเป็นผลพวงจากสงคราม(10)

ภายหลังได้รับเอกราช ในปี ค.ศ. 1946 การสร้างสรรค์กวีนิพนธ์ภาษาอังกฤษของฟิลิปปินส์เริ่มขยายตัวมากขึ้น เพราะมีปัญญาชนหลายคนสำเร็จการศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นยุคแห่งการตื่นตัว (Period of Awareness) ของการสร้างสรรค์วรรณกรรมภาษาอังกฤษ

จนกระทั่งถึงทศวรรษ 1960 ภาควิชาวรรณคดีแห่งมหาวิทยาลัยซิลิมานได้ริเริ่มโครงการฝึกเชิงปฏิบัติด้านการประพันธ์ นักเขียนที่ได้รับรางวัลจำนวนมากเป็นศิษย์เก่าของโครงการนี้(11) ต่อมาในทศวรรษ 1970 กวีนิพนธ์ที่สะท้อนความคิดชาตินิยมและการแสดงพันธกิจต่อสังคมกลับมาอีกครั้งหนึ่ง เพราะความเคลื่อนไหวทางการเมืองในกลางทศวรรษ 1960 และการประกาศใช้กฎอัยการศึก ในช่วงนี้กวีได้พยายามประสานความคิดที่สะท้อนสังคมให้อยู่ในกรอบของวรรณศิลป์ที่เหมาะสม

ส่วนกวีนิพนธ์ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันจะเน้นหนักที่เรื่องการใช้ภาษา ในฐานะสื่อนำเสนอความคิดที่เป็นจริงในตัวเอง แต่ยังมีลักษณะของการเลียนแบบอยู่ และข้อถกเถียงที่สำคัญที่สุดก็คือ กวีนิพนธ์ฟิลิปปินส์ควรเขียนด้วยภาษาใด และเป็นหน้าที่ของเหล่ากวีที่จะเป็นคนตัดสิน(12)

พันธกิจต่อสังคมของกวีฟิลิปปินส์ : มโนทัศน์และปณิธานที่สื่อผ่านกวีนิพนธ์
จากสังเขปภูมิหลังกวีนิพนธ์ฟิลิปินส์จะสังเกตเห็นว่า แนวเนื้อหาของกวีนิพนธ์มีเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์และความเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นตัวกำหนด เพราะฟิลิปปินส์เป็นประเทศอาณา-นิคมทั้งของสเปนและอเมริกา รวมระยะเวลาแล้วนานหลายร้อยปี

ในสังคมฟิลิปินส์ซึ่งเป็นบริบทของการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์ย่อมมีการปะทะสังสันทน์กันระหว่างวัฒนธรรมอันหลากหลาย ทั้งของประเทศเจ้าอาณานิคมและของชาวฟิลิปปินส์เองที่มาจากพื้นฐานเผ่าพันธุ์ที่แตกต่างกันตามกลุ่มเกาะ จึงไม่น่าประหลาดใจที่มีเนื้อหาของกวีนิพนธ์กลุ่มหนึ่งที่ตั้งคำถามกับความเป็นชาติของชาวฟิลิปปินส์เอง เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพให้แก่ประเทศหลังจากได้รับเอกราช มีบางส่วนที่พยายามลบล้างความเจ็บปวดที่เจ้าอาณานิคมได้ทิ้งเอาไว้เบื้องหลัง รวมทั้งงานของกวีรุ่นใหม่ที่ยังไม่มีชื่อเสียงก็มีไม่น้อย ที่แสดงความรักชาติอย่างตรงไปตรงมา ลักษณะเช่นนี้แสดงให้เห็นความมุ่งมั่นของกวีฟิลิปปินส์ ที่แสดงตนเป็นแนวหน้าในการสถาปนาความเป็นชาติให้มั่นคงสืบไป กวีนิพนธ์ที่คัดมาเป็นตัวอย่างมีดังนี้

INK
Ink
bottled in glass prison
meaningless in itself
black and mute without a language
silent but strongly urged
to speak.

Ink
chance-impressed on white
inarticulate unintelligible chaotic
welcome on the bareness of white
but still foreign
excommunicate.

But ink
pen-lifted pen-impressed
on black white paper
Will-ordered
Interprets intensifies clarifies
expresses
Life. (13)

กวีนิพนธ์บทนี้เป็นผลงานของกิลเลอร์โม กาสติลโล (Guillermo Castillo) กวีกล่าวถึง "หมึก" ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของอุปกรณ์การเขียนว่า หมึกที่ถูกจองจำอยู่ในขวดแก้วนั้นไร้ค่าและความหมายในตัวเอง มีเพียงสีดำที่ไม่อาจเปล่งถ้อยคำภาษาใดๆได้ หมึกเงียบงำแต่ก็ถูกเร่งเร้าให้กล่าวออกมา หมึกสีดำเมื่อไปปรากฏบนพื้นที่สีขาวก็ยังไม่อาจสื่อสารได้เช่นกัน แต่หากหมึกนั้นอยู่ในปากกาแล้วจรดลงบนกระดาษ หมึกนั้นจะสำแดงความหมายของชีวิตให้กระจ่างได้ในที่สุด

ความหมายของกวีนิพนธ์บทนี้เสมือนการเชิญชวนผู้คนให้หันมาสร้างงานเขียน หรืออาจจะเป็นสิ่งที่กวีประเมินฐานะของตนและผลงานว่าเป็นเครื่องสื่อผ่านชีวิต การนำกวีนิพนธ์ไปผูกโยงกับหน้าที่ของการเสนอชีวิตนี้ แม้จะไม่ได้แสดงความเป็น "ศิลปะเพื่อชีวิต" ที่เด่นชัดแต่ก็แสดงให้เห็นว่า กาสติลโลมองว่า กวีนิพนธ์มิได้ดำรงอยู่เพื่อตัวเองแต่มีพันธกิจต่อสังคมในแง่ของการตีแผ่ความเป็นจริงของชีวิตให้ปรากฏชัด ตัวอย่างแรกที่คัดมานี้เป็นการปูพื้นฐานไปสู่การนำเสนอกวีนิพนธ์โดยมีพันธกิจต่อสังคมของกวีฟิลิปปินส์คนอื่นต่อไป

For Edwin Thumboo and All of Us Who Suffer Through English in Asia

A travesty, they say,
a tapestry, we contend,
as we worm verses

into languaged
silk.

Or silt,
they say, these coccoons
are empty anyway--

Cotton, they add,
Cotton
is the cloth of the people.

Silk is as good as silt to
them,
butterflies a luxury
because inedible,

except in extreme cases
because hunger

gives them
strange appetites.

Poetry is as silk is
just as novels are, for that matter,
as pretty flowers
on a table.

When empty, the flowers fade
into other meanings:
"Poet,
can verses in your language
feed me?"

Can your verses
coccoon
my fear? Can it
shut off
the howling
of my children,

their hungry mouths
wide as mothwings,
the wick
of my lamp gone dry?

"Poet,
can verses in my language
feed me?"

Can they build
a coccoon
large enough
to weave
my anger?
Or
will your verses
remain
food for the few
who love tapestries
who love silk
who love butterflies
and flowers

on their tables?(14)

"For Edwin Thumboo and All of Us Who Suffer Through English in Asia" เป็นงานเขียนของ อัลเฟรโด นาวาร์โร ซาลังกา (Alfredo Navarro Salanga) นอกจากรูปแบบที่ชวนให้สะดุดใจแล้ว เนื้อหาของกวีนิพนธ์บทนี้ยังเป็นการตั้งคำถามต่อบทบาทของกวีและกวีนิพนธ์ ที่พึงมีต่อสังคม เริ่มจากชื่อของกวีนิพนธ์นี้ที่เขียนขึ้นเพื่อมอบแก่ เอดิน ธัมบู (Edin Thumboo) กวีผู้มีชื่อเสียงของประเทศสิงคโปร์ รวมทั้งมอบให้ทุกคนที่เป็นทุกข์กับการใช้ภาษาอังกฤษทั่วทั้งเอเชีย

ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในที่นี้ย่อมหมายถึงประเทศที่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ที่ในที่สุดต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ สิ่งที่ซาลังกาสื่อผ่านกวีนิพนธ์ของเขาเป็นคำถามที่ถกเถียงกันในวงวรรณกรรมของฟิลิปปินส์มาจนถึงทุกวันนี้ว่า กวีนิพนธ์ฟิลิปปินส์ที่แท้จริงนั้นควรเขียนด้วยภาษาท้องถิ่นหรือภาษาอังกฤษ กิริโล เอฟ. โบติสตา (Cirilo F. Bautista) ได้กล่าวถึงปัญหานี้ว่า

Presently, it appears that there are two groups of poets in the country: those committed to social writing and those who write poetry for poetry's sake. The first group believes that to articulate the needs for social reforms, and to expose the ills of the country, it is necessary to employ a language understood by the largest segment of society. They argue that since they are writing for the common people, they must communicate with them in the people's own language, in this case, Tagalog. … This group has contributed much to the acceptance of Pilipino as a valid medium of the literary art, whereas before scholars frowned on it and considered it somewhat inferior to English or Spanish.(15)

โบติสตากล่าวว่ากวีนิพนธ์สมัยใหม่ของฟิลิปปินส์อาจจำแนกได้เป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือกวีที่สร้างงานโดยมีพันธกิจต่อสังคมและอีกกลุ่มหนึ่งคือกวีที่เขียนกวีนิพนธ์เพื่อความงามของตัวกวีนิพนธ์เอง กวีกลุ่มแรกมองว่างานเขียนที่จะสัมผัสถึงเหล่าประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของงานนั้น จะต้องเขียนด้วยภาษาที่ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจได้ ในที่นี้คือภาษาตากาล็อก กวีกลุ่มนี้มีบทบาทในการนำภาษาท้องถิ่นของฟิลิปปินส์ กลับมาเป็นสื่อในการถ่ายทอดงานเขียนอีกครั้งหนึ่ง ในขณะที่กวีกลุ่มที่สองนิยมเขียนด้วยภาษาอังกฤษ เรื่องราวที่เขียนจะได้รับอิทธิพลจากแนวคิดจินตนิยม (Romanticism) และสัจนิยม (Realism) เนื้อหาที่เขียนเกี่ยวกับสังคมมีอยู่บ้างแต่ไม่โดดเด่นเท่า กลุ่มแรก(16)

เนื้อหาของกวีนิพนธ์บทนี้กล่าวถึงคุณค่าของกวีนิพนธ์ในการรับรู้ของประชาชนทั่วไป การตั้งคำถามที่น่าสนใจตัวบทคือ "Poet, can verses in your language feed me?" คำถามนี้เป็นเสมือน คำถามจากประชาชนว่า ร้อยกรองที่เขียนด้วยภาษาของกวี ซึ่งในที่นี้อาจหมายถึงภาษาอังกฤษอันเป็นมรดกของการตกเป็นอาณานิคมนั้น สามารถทำให้พวกเขาอิ่มท้องได้หรือไม่

นอกจากนั้นยังมีคำถามอื่นอีกว่า ร้อยกรองจะช่วยปกป้องพวกเขาจากความกลัว ช่วยทำให้เสียงร่ำร้องของเด็กๆผู้หิวโหยหยุดได้หรือไม่ คำถามดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า กวีตระหนักถึงพันธกิจของตนเองที่มีต่อสังคม เพราะเท่ากับว่าพวกเขามีหน้าที่ในการตอบคำถามเหล่านี้

นอกจากนั้น ยังมีน้ำเสียงแห่งความขมขื่นระคนอยู่ในคำถามที่ใกล้เคียงกันอีกว่า "Poet, can verses in my language feed me?" คำถามที่ตั้งขึ้นในกวีนิพนธ์บทนี้จึงช่วยตอบปัญหาที่ถกเถียงกันในหมู่ผู้สร้างวรรณกรรมของฟิลิปปินส์ได้ว่า ไม่ว่าวรรณกรรมจะเขียนด้วยภาษาใดก็ตาม แต่วรรณกรรมเหล่านั้นถูกพันผูกด้วยพันธกิจหนึ่งเดียวกัน นั่นคือการดับความทุกข์ยากของประชาชน แม้ว่าการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์ไม่อาจตอบสนองความต้องการทางกายภาพอย่างการทำให้อิ่มท้อง แต่กวีนิพนธ์สามารถตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจได้

การที่ประชาชนเรียกร้องให้กวีช่วยปกป้องเขาให้พ้นจากความหวาดกลัวนั้น อาจเป็นสิ่งที่กวีนิพนธ์ให้ได้ "the wick of my lamp" ไส้ตะเกียงอาจหมายถึงชีวิต หรือจุดกำเนิดแห่งความหวังความปรารถนา ด้วยพลังจากกวีนิพนธ์ไส้ตะเกียงจะชุ่มด้วยน้ำมัน พร้อมที่จะจุดติดดวงไฟสาดฉายให้ความสว่างไสวได้ กล่าวในที่นี้ก็คือ กวีนิพนธ์ไม่ใช่อาหารหรือเครื่องกำบังทางกาย แต่ให้ผลทางใจ ทำให้เกิดความอิ่มใจและสร้างความรู้สึกมั่นคงได้ ท่ามกลางความหิวโหยและความทุกข์ทรมาน และสำคัญที่สุดคือการให้ความหวังกำลังใจแก่ประชาชนผู้ไม่มีทางสู้ เพราะพวกเขาเป็นแค่คนที่รักศิลปะแห่งการทอผ้า รักผ้าไหม รักผีเสื้อและดอกไม้ "love tapestries, who love silk, who love butterflies and flowers on their tables" จึงเป็นหน้าที่ของกวีที่ต้องต่อสู้ด้วยปลายปากกาเพื่อเขาเหล่านั้น ปณิธานของกวีในเรื่องนี้นับว่าสอดคล้องกับกวีนิพนธ์ที่ชื่อ "Ink" ของกาสติลโลด้วย

ในแง่กลวิธีทางวรรณศิลป์ สิ่งที่ชวนให้สะดุดใจคือรูปแบบการจัดเรียงข้อความของกวีนิพนธ์บทนี้ ซึ่งมีความแปลกไปจากลักษณะของภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และแตกต่างไปจากกวีนิพนธ์บทอื่นๆ ลักษณะของรูปแบบการจัดวางที่แปลกแตกต่างไปจากเดิมนี้นับเป็นเอกลักษณ์ของกวีนิพนธ์สมัยใหม่ รูปแบบต่างๆนับเป็นกลวิธีทางวรรณศิลป์อย่างหนึ่ง เพื่อสร้างความเคลือบคลุมและเร้าให้ ผู้อ่านพยายามถอดรหัสความหมายและตีความออกมา(17) ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าแนวการเขียนโดยใช้ รูปแบบเช่นนี้ อาจเป็นอิทธิพลมาจากความคิดรูปแบบนิยม (Formalism) และความคิดของกลุ่ม นักวิจารณ์แนวใหม่ (New Critics) ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์ฟิลิปปินส์ในช่วงปี ค.ศ.1950 เป็นต้นมา(18)

ตัวอย่างกวีนิพนธ์ที่กล่าวถึงข้างต้นน่าจะพอแสดงให้เห็นพื้นฐานความคิดในการสร้างงานของกวีฟิลิปปินส์ที่ไม่อาจละทิ้งพันธกิจของกวีที่มีต่อสังคม เมื่อกล่าวถึงพันธกิจดังกล่าวย่อมไม่อาจละเลยที่จะกล่าวถึง งานของ โฮเซ่ ริซาล ในฐานะ "ต้นธาร" ของกวีนิพนธ์เพื่อชีวิตของฟิลิปปินส์ได้

ริซาลเป็นวีรบุรุษปัญญาชนนักชาตินิยม อุดมการณ์ของเขาได้กลายเป็นแม่บททางความคิด ดังจะเห็นว่าในวงการศึกษาและการอภิปรายปัญหาของชาติ อุดมการณ์ของริซาลจะได้รับการวิเคราะห์ อ้างอิง และนำมาใช้เป็นบรรทัดฐานของความคิด จึงอาจกล่าวได้ว่า อุดมการณ์ของริซาลได้กลายเป็นอุดมการณ์ของชาติไปโดยปริยาย เพราะชาวฟิลิปปินส์ได้เลือกเขาไว้เป็นแบบอย่าง(19)

ริซาลเขียนหนังสือไว้เป็นจำนวนมาก งานส่วนใหญ่ของเขาถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับใช้อุดมการณ์ที่ต้องการปลดปล่อยชาติออกจากการเป็นอาณานิคม เมื่อสเปนกล่าวอ้างเหตุผลว่า ชาวฟิลิปปินส์เป็นพวกไร้อารยธรรม จึงสมควรที่สเปนจะสร้างความเจริญให้

ริซาลไม่เชื่อคำกล่าวอ้างนั้น เขาได้หาทางออกด้วยวิถีของปัญญาชนคือ การค้นคว้าเอกสารทางประวัติศาสตร์ เพื่อล้มล้างวาทกรรมของประเทศเจ้าอาณานิคม แล้วเขาก็ได้พบว่านักประวัติศาสตร์สมัยก่อน ได้ให้ภาพชาวฟิลิปปินส์แตกต่างจากภาพอันต่ำต้อยที่สเปนยัดเยียดให้ ความล้าหลังของประเทศฟิลิปินส์ แท้จริงเป็นผลพวงจากการจัดระเบียบการปกครองที่ขาดประสิทธิภาพของสเปน ไม่ได้เป็นเพราะชาวฟิลิปปินส์ดังที่สเปนอ้าง(20)

นอกจากงานค้นคว้าแล้ว ผลงานวรรณกรรมของริซาลก็เป็นเครื่องมือเผยแพร่ความคิดชาตินิยมของเขาเช่นกัน ผลงานที่โดดเด่นคือนวนิยายเรื่องอย่ามาแตะต้องตัวฉัน (Noli Me Tangere) ซึ่งแสดงให้เห็นข้อผิดพลาดในการปกครองของสเปน และพฤติกรรมหน้าไหว้หลังหลอกของพวกพระ ในเวลาเดียวกันก็ได้ให้แง่คิดแก่ชาวฟิลิปปินส์ในการแก้ไขข้อบกพร่องของตน เนื้อเรื่องทั้งหมดเป็นต้นเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของขบวนการชาตินิยมฟิลิปปินส์อย่างกว้างขวาง(21)

นวนิยายอีกเล่มหนึ่งของเขาที่เสนอแนวความคิดทางการเมืองที่เข้มข้นชัดเจนคือเรื่อง การก่อกบฏ (El Filibusterismo) เขาย้ำถึงสิทธิส่วนบุคคลว่าเป็นสิ่งมีค่ายิ่ง อิสรภาพที่จะได้รับนั้นต้องเป็นผลของการต่อสู้ และอิสรภาพไม่อาจเกิดขึ้นได้ถ้าพากันท้อแท้และนิ่งเฉย(22) ส่วนผลงานด้าน กวีนิพนธ์ ส่วนใหญ่เขียนในช่วงที่เขาได้กลายเป็นนักโทษทางการเมือง กวีนิพนธ์ของเขามีวรรณศิลป์ที่พราวพราย โดยมิได้มีเพียงสารที่ทรงพลังแต่ถ่ายเดียว

TO THE FILIPINO YOUTH

Raise your unruffled brow
On this day, Filipino Youth!
Resplendent shines
your courage rich,
handsome hope of my Motherland!

Fly, grand genius
And infuse them with noble sentiment
that vigorously rushes,
more rapid than the wind,
its virgin mind to the glorious goal.

Descend to the arena
with the pleasant light of arts and sciences,
and unbind, Youth,
the heavy chain
that fetters your poetic genius.

See that in the bright zone
where lived the shadow, the Spaniard
with pious and learned hand,
offers the son of this native land
resplendent crown.

You who ascend
On wing of your rich fantasy,
seeking for Olympus in the clouds
tenderest poetry,
sweeter than nectar and ambrosia :

You of the celestial accent,
melodous rival of the nightingale,
who with varied melodies
dissipate the mortal's bitter pain
in the night serene;

You who animate the hard rock
with the impulse of your mind,
and with prepotent hand makes eternal
the pure memory
of the refulgent genius;
…
Run! For the sacred flame
of the genius awaits to be crowned with laurels,
spreading fame
with trumpet proclaiming
o'er the wide sphere the mortal's name.

Day, oh happy day,
Philippine genteel, for your soil!
Bless the Almighty,
who with loving desire
sends you fortune and consolation.(23)

"TO THE FILIPINO YOUTH" เป็นการเรียกร้องให้เยาวชนชาวฟิลิปปินส์หันมาสนใจความเป็นไปของชาติ เพราะเหล่าเยาวชนเป็นความหวังอันงดงามแห่งมาตุภูมิ "handsome hope of my Motherland!" คือเป็นความหวังของชาวฟิลิปปินส์ทั้งมวล หากการต่อสู้เพื่ออิสรภาพไม่บรรลุผลในรุ่นของพ่อแม่ เยาวชนจะเป็นผู้รับทอดภารกิจดังกล่าวและสานต่อจนสำเร็จในที่สุด

ริซาลยังกระตุ้นให้เยาวชนเพ่งลึกลงไปในตัวเอง แล้วสำแดงอัจฉริยภาพของตนออกมา หรืออีกนัยหนึ่งคือต้องการให้เยาวชนตระหนักในหน้าที่ของตนเองคือ การศึกษาหาความรู้ ที่จะทำให้รู้เท่าทันการเอารัดเอาเปรียบของประเทศเจ้าอาณานิคม อาวุธที่ริซาลต้องการให้เยาวชนจับให้มั่นก็คือ "ปากกา" เช่นเดียวกับเขา เพราะเขาเชื่อมั่นในความยุติธรรมถูกต้อง และนิยมวิถีแบบอหิงสาคือหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง "Descend to the arena with the pleasant light of arts and sciences, and unbind, Youth, the heavy chain that fetters your poetic genius."

เช่นเดียวกับตัวอย่างของกวีนิพนธ์ที่แสดงให้เห็นอีก 2 บทก่อนหน้านี้ กวีฟิลิปปินส์เชื่อมั่นว่า กวีนิพนธ์มีพลังมากพอที่จะผลักดันให้สังคมเกิดความเปลี่ยนแปลงไปสู่สภาพที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ เป็นพันธกิจของกวีที่มีต่อสังคมและพยายามที่จะส่งทอดไปถึงคนรุ่นหลังด้วย

ริซาลใช้ความเปรียบแสดงให้เห็นความบริสุทธิ์งดงาม และความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ที่เหล่าเยาวชนจะสร้างสรรค์ขึ้นมา เขาบอกให้เยาวชนโบยบินไปด้วยปีกแห่งความคิดฝัน มองหายอดเขาโอลิมพัสในหมู่เมฆ บทกวีจะอ่อนหวานที่สุด หวานยิ่งกว่าน้ำทิพย์และอาหารทิพย์ "You who ascend on wing of your rich fantasy, seeking for Olympus in the clouds tenderest poetry,sweeter than nectar and ambrosia …"

การผนวกเอาเขาโอลิมพัสในเทพปกรณัมของกรีกมาเปรียบเทียบนี้ ขับเน้นให้เห็นพลังของกวีนิพนธ์ สัมผัสแห่งความเป็นทิพย์จากจิตใจที่จะส่งผ่านปลายปากกา ถอดถ่ายเป็นตัวอักษรที่ปลุกชาวฟิลิปปินส์ให้ฟื้นตื่นจากการหลับไหลอยู่ภายใต้อำนาจของ สเปน ยิ่งไปกว่านั้น กวีนิพนธ์ที่มีท่วงทำนองหลากหลาย มีความกังวานใสเทียบได้กับเสียงร้องของนกไนติงเกล อันเป็นผลงานของเหล่าเยาวชนจะช่วยทำลายความเจ็บปวดขมขื่นของเหล่าประชาชนด้วย "You of the celestial accent, melodous rival of the nightingale, who with varied melodies dissipate the mortal's bitter pain in the night serene…"

ริซาลแสดงให้เห็นว่า เขาฝากความหวังในการกู้ชาติไว้แก่เยาวชนอย่างชัดเจนในตอนที่เขากล่าวว่า "Run! For the sacred flame of the genius awaits to be crowned with laurels, spreading fame with trumpet proclaiming o'er the wide sphere the mortal's name" ทรัมเป็ตอันเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้เป่าในวาระหรือพิธีการสำคัญ ในที่นี้สิ่งสำคัญที่เฝ้ารอการประกาศอย่างเป็นทางการคือการประกาศอิสรภาพ เยาชนจะเป็นผู้เป่าทรัมเป็ตนี้ต่อหน้าชาวฟิลิปปินส์ทั้งหลาย และด้วยศรัทธาอันแรงกล้าที่ริซาลมีต่อพระเป็นเจ้า เขาจึงขอให้พระองค์ทรงอวยพรให้แก่เยาวชนของเขาให้สานต่อปณิธานของเขาและชาวฟิลิปปินส์ให้สัมฤทธิ์ผลในตอนท้าย "Bless the Almighty, who with loving desire sends you fortune and consolation."

กลวิธีทางวรรณศิลป์อีกประการหนึ่งที่น่าสนใจในกวีนิพนธ์บทนี้ คือลักษณะที่กวีพยายามจะโต้ตอบกับผู้อ่าน โดยใช้สรรพนามบุรุษที่ 2 และการใช้ประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำกริยา เป็นประโยคที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Imperative" กลวิธีทางวรรณศิลป์ลักษณะนี้นับเป็นกลวิธีทางวาทศิลป์ (rhetorical device) ด้วย ให้ความรู้สึกเหมือนว่ากวีกำลังกล่าวสุนทรพจน์ต่อผู้อ่าน

แม้ว่าริซาลจะต่อสู้เพื่ออิสรภาพโดยหลีกเลี่ยงความรุนแรงมาโดยตลอด แต่ในที่สุดเขาก็ถูกจับกุมและประหารชีวิต เมื่อเขาถูกสั่งเนรเทศไปยังเมืองดาปิตัน (Dapitan) เขายังคงติดต่อกับเหล่าปัญญาชนในยุโรป เขาได้รับคำแนะนำให้สมัครเป็นแพทย์อาสาให้แก่กองทัพสเปน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง "ผู้ปกครอง" กับ "พลเมือง" และเพื่อจะได้หลุดพ้นจากข้อกล่าวหาว่าพยายามก่อการกบฏ

บลังโก (Blanco) ข้าหลวงใหญ่ของสเปนรับปากว่าจะสนับสนุนเขา แต่การณ์กลับกลายว่าข้าหลวงบลังโกได้ออกหมายจับเขาข้อหาก่อการกบฏที่คาติปูนัน และได้ถูกตัดสินประหารชีวิต ข้อหาบ่อนทำลายความมั่นคงของประเทศ ริซาลถูกนำตัวไปยิงเป้าที่ทุ่งบากัมบายันต่อหน้าสาธารณชน เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1896(24) สิ่งสุดท้ายที่เขาทำคือการเขียนกวีนิพนธ์บทนี้

My Last Thoughts

Land I adore, farewell! Thou land of the southern sun's
choosing!
Pearl of the Orient seas! Our forfeit Garden of Eden!
Joy us I yield up for thee my sad life, and were if far
brighter,
Young, rose strewn, for thee and thy happiness still would
I give it.
Far afield, in the din and rush of maddening battle,
Others had laid down their lives, nor wavered nor pauses
in the giving;
What matters way or place-the cypress, the lily, the laurel,
Gibbet or open field, the sword or inglorious torture,
When 'tis the hearth and the country that call for the life's
immolation?
Dawn's faint lights bar the east, she smiles through the cowl
of the darkness,
Just as I die. Hast thou need of purple to garnish her
Pathway?
Here is my blood on the hour! Pour it out, and the sun in
his rising
Mayhap will touch it with gold will lend it the sheen of
his glory.
Dreams of my childhood and youth and dreams of my
young manhood.
What were they all but to see, thou gem of the Orient Ocean!
Tearless thine eyes so deep, unbent, unmarred thy sweet
forehead.
…
If in the deep, rich grass that covers my rest in thy bosom,
Some day thou seest uprising a lowly, tremulous blossom,
Lay there thy lips, tis my soul : may I feel on my forehead
descending,
Deep in the chilly tomb, the soft, warm breath of thy kisses.
Let the calm light of the moon fall around me, and dawn's
fleeting splendor :
Let the winds murmur and sigh, on my cross let some bird
tell its message ;
Loosed from the rain by the brazen sun, let clouds of soft
vapor
Bear to the skies as they mount again, the chant of my spirit.
There may some friendly heart lament my parting untimely.

And if at eventide a soul for my peaceful reposing,
Pray for those who go down to death through unspeakable
torments ;
Pray for those who remain to suffer such torture in prison;
Pray for the bitter grief of our mothers, our widows, our orphans;
Oh, pray too far thyself, on the way to thy final redemption.
…
I shall be air in thy streets, and I shall be space in thy meadows.
I shall be vibrant speech in thine ears, shall be fragrance and color,
Light and shade, and loved song forever repeating my message.

Idolized fatherland, thou crown and deep of my sorrows,
Lovely Philippine isle, once again adieu! I am leaving
All with thee-my friends my love. Where I go are no tyrants:
There one dies not for the cause of his faith, there God is the ruler.

Farewell, father and mother and brother, dear friends of the
fireside!
Thankful ye should be for me, that rest at the end of the long day-Farewell sweet, from the stranger's land, my joy and my comrade!
Farewell, dear ones, farewell! To die is to rest from our labors.
-Recited by Congressman Henry H. Cooper
in U.S. Congress.
from An Eagle Flight.(25)

กวีนิพนธ์บทนี้ถูกพบในที่สวดมนต์ของคุกหลังจากที่ริซาลถูกประหารแล้ว ต้นฉบับมีความสมบูรณ์เรียบร้อย แสดงว่าได้ขัดเกลาไว้อย่างดี ไม่มีแม้แต่ตัวเดียวหรือวลีเดียวที่ขีด ฆ่า ขูด ลบ ที่สำคัญที่สุดก็คือ บทกวีชิ้นสุดท้ายของริซาลมีความสำคัญยิ่ง สามารถสร้างบรรยากาศสนับสนุนจน รัฐสภาอเมริกันในเวลาต่อมา ได้มีมติให้ออกพระราชบัญญัติตั้งสมัชชาฟิลิปปินส์ หลังจากได้มีการ โต้แย้งในรัฐสภาไม่เห็นด้วย ที่จะให้ชาวฟิลิปปินส์เข้ามีส่วนร่วมในการปกครอง เพราะมีอคติด้าน เชื้อชาติว่าชาวฟิลิปปินส์ขาดสติปัญญา ความรู้ความสามารถ เมื่อมีผู้นำกวีนิพนธ์บทนี้มาอ่านท่ามกลางที่ประชุม ความลุ่มลึกทางปัญญาและความงดงามในศิลปะการประพันธ์ ที่บรรจุภายใน กวีนิพนธ์ได้พิสูจน์ปัญญา ความสามารถของชาวฟิลิปปินส์ว่ามีอย่างพร้อมมูล ยังผลให้ที่ประชุมซาบซึ้ง เห็นอกเห็นใจ ช่วยลบล้างอคติเดิมได้หมดสิ้น(26)

เนื้อหาของ "My Last Thoughts" เป็นเสมือน "พินัยกรรม" ที่ริซาลได้ทิ้งไว้ให้แก่คนรุ่นหลัง เขาพรรณนาถึงความรักความผูกพันอันลึกซื้งที่มีต่อประเทศฟิลิปปินส์ รวมทั้งอุดมการณ์และปณิธานอันยิ่งใหญ่ที่มิได้แตกดับไปพร้อมกับร่างกายของเขา สำหรับริซาลแล้ว ประเทศฟิลิปปินส์เป็นไข่มุกแห่งทะเลตะวันออกเป็นเสมือนสวนเอเดนในสรวงสวรรค์ "Pearl of the Orient seas! Our forfeit Garden of Eden" คำว่า "forfeit" อันหมายถึงสิ่งที่สูญเสียไปนั้น อาจหมายถึงการที่ฟิลิปปินส์ต้องตกเป็นอาณานิคมของสเปน

กวีนิพนธ์วรรคนี้ชวนให้ประหวัดถึงวรรณกรรมเรื่อง Paradise Lost ของ จอห์น มิลตัน (John Milton) กวีกลุ่มพิวริตันในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ของอังกฤษ(27) เป็นเรื่องของอาดัมกับอีฟที่ถูกขับออกจากสวนเอเดนเพราะขัดต่อบัญชาของพระเจ้า ทั้งนี้ เมื่อกล่าวถึง"สวรรค์ล่ม" ของมิลตันแล้วก็ขอเพิ่มเติมด้วยว่า มีงานอีกเรื่องหนึ่งของเขาที่แต่งขึ้นภายหลัง คือเรื่อง Paradise Regained การได้สวนเอเดนกลับคืนมานี้ เป็นหน้าที่ของชาวฟิลิปปินส์ที่ต้องสานต่อปณิธานของริซาล

ริซาลยังกล่าวต่อไปในคำอำลาของเขา ถึงผู้คนที่จากบ้านไปสู่สนามรบเพื่อปกป้องประเทศ และการเสียสละของตัวเขาจะนำความสุขมาสู่คนที่อยู่ข้างหลังได้ "Far afield, in the din and rush of maddening battle, others had laid down their lives, nor wavered nor pauses in the giving…" ที่น่าสนใจก็คือ ริซาลไม่ได้มองว่าความตายของเขาเป็นการไปสู่ความดำมืด เยียบเย็นอันน่าสะพรึงกลัว เพราะเขาได้กล่าวถึงความสว่างรองเรืองที่มาทำลายความมืดมิด รวมทั้งลมหายใจอันอบอุ่นของชาวฟิลิปปินส์ที่จะจุมพิตร่างของเขา ให้ร่างของเขาต้องแสงกระจ่างแห่งดวงจันทร์และความงามตระการของแสงอาทิตย์ในยามรุ่งราง

"Dawn's faint lights bar the east, she smiles through the cowl of the darkness… the soft, warm breath of thy kisses. Let the calm light of the moon fall around me, and dawn's fleeting splendor…"

ทั้งยังมีการใช้จินตภาพเกี่ยวกับธรรมชาติอีกเป็นจำนวนมาก เช่น นก ฝน ท้องฟ้า เมฆ ฯลฯ สร้างความรุ่มรวยให้แก่กวีนิพนธ์และภาพอันงดงามในใจผู้อ่านได้อย่างดี

วิธีการนำเสนอในกวีนิพนธ์ของริซาลยังมีลักษณะของ "en rapport" อยู่ สังเกตได้จากการ ขึ้นต้นประโยคด้วยคำกริยา และการปรากฏของสรรพนามบุรุษที่ 2 สิ่งที่เขายังฝากฝังเอาไว้ให้คนรุ่นหลังอีกคือ ให้พวกเขาภาวนาเพื่อคนที่ต้องตายอย่างทรมาน คนที่ถูกกังขังจองจำ เพื่อแม่ เพื่อหญิงหม้าย และเหล่าเด็กกำพร้า รวมทั้งตัวของชาวฟิลิปปินส์เอง

"…Pray for those who remain to suffer such torture in prison; Pray for the bitter grief of our mothers, our widows, our orphans; Oh, pray too far thyself, on the way to thy final redemption."

กลุ่มคนทั้งหลายที่เขากล่าวถึงคือคนที่ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ภายใต้อิทธิพลของสเปน คนที่ต่อต้านก็จะถูกจับกุม คนที่ไร้ทางสู้ก็ได้แต่ก้มหน้ายอมรับชะตากรรม

ช่วงปลายของกวีนิพนธ์เป็นจุดสร้างอารมณ์สะเทือนใจที่โดดเด่นมากที่สุด ริซาลกล่าวว่าความตายของเขาไม่ได้หมายความว่าเขาจะทอดทิ้งเหล่าประชาชน เพราะเขาจะเป็นอากาศในท้องถนน พื้นที่กว้างในท้องทุ่ง ถ้อยคำกระจ่างในโสตประสาท กลิ่นหอม สีสัน เป็นแสงและเงา เป็นเพลงรักที่จะคอยย้ำเตือนถ้อยคำอันเป็นปณิธานของเขาตลอดไป

"I shall be air in thy streets, and I shall be space in thy meadows. I shall be vibrant speech in thine ears, shall be fragrance and color, Light and shade, and loved song forever repeating my message"

เป็นที่น่าสังเกตว่าสิ่งที่ ริซาลปรารถนาจะเป็นหลังจากสิ้นชีวิตไปแล้วนั้นเป็นสิ่งที่จะกระทบ "ผัสสะ" ของมนุษย์ได้หลายทาง ทั้งรูป กลิ่น เสียงและสัมผัส นั่นหมายความว่าในทุกเวลา ทุกสถานการณ์เขาจะไม่ทอดทิ้งประชาชน แม้ร่างกายของเขาจะดับสลายไป แต่สิ่งที่จะอยู่เคียงข้างประชาชนเสมอไปคืออุดมการณ์และปณิธานของเขาที่ได้ประกาศให้ทุกคนทราบโดยทั่วกัน

ในส่วนที่เป็นการกล่าวคำอำลา ริซาลกล่าวว่า เขาจะได้ไปอยู่ในดินแดนที่ไม่มีผู้ปกครองที่อำมหิต ไม่มีผู้ใดต้องตายเพราะความศรัทธาของเขา ที่แห่งนั้นจะมีพระเจ้าเป็นผู้ปกครอง "Where I go are no tyrants: There one dies not for the cause of his faith, there God is the ruler." ท่อนที่คัดมานี้ ผู้ปกครองและความตายที่ริซาลอ้างถึงนั้น หมายถึงสเปนและความตายของเขาเอง ซึ่งตอนนี้เริ่มเป็นการโจมตีสเปนและมีน้ำเสียงปลุกเร้าอยู่ในที

เมื่อเขากล่าวอำลา พ่อ แม่ พี่ น้อง และเพื่อนชาว ฟิลิปปินส์ที่รักทุกคนแล้ว ริซาลยังกล่าวว่า "Farewell sweet, from the stranger's land, my joy and my comrade!" ดินแดนของคนแปลกหน้าที่ริซาลกล่าวถึงคือประเทศฟิลิปปินส์ คำนี้เป็นการแฝงนัย (irony) เพราะแท้จริงแล้วฟิลิปปินส์เป็นมาตุภูมิที่หล่อเลี้ยงชีวิตของเขามา คนสเปนที่มาครอบครองแผ่นดินนี้เป็นคนแปลกหน้าที่ทำให้เจ้าของบ้านรู้สึกแปลกแยกแม้แต่ในบ้านของตนเอง ริซาลกล่าวตั้งแต่ต้นว่า แผ่นดินนี้เป็นของเขา สังเกตจากการใช้คำว่า "my" ในตอนท้ายที่กล่าวว่า เป็นดินแดนของคนแปลกหน้าจึงแย้งกันกับความหมายที่แท้จริงที่เขาต้องการจะสื่อ จึงเป็นการแฝงนัย

ด้วยถ้อยคำภาษาและกลวิธีทางวรรณศิลป์อันบริบูรณ์พร้อมในกวีนิพนธ์บทนี้เอง ที่ทำให้ อุดมการณ์ของริซาลไม่เสื่อมสูญไป แต่ได้รับการสานต่อจนประเทศฟิลิปปินส์ได้เป็นไทอย่างในทุก วันนี้ ทั้งยังแสดงให้เห็นแบบอย่างของคนที่ทำทุกอย่างเพื่อชาติด้วยความรักอย่างลึกซึ้ง ยอมแลกได้แม้กระทั่งชีวิตของตนเองซึ่งหาได้ยากยิ่งในสังคมปัจจุบัน

ความรักชาติซึ่งเป็นมรดกตกทอดของริซาลได้ส่งผ่านมาถึงกวีรุ่นหลัง ซึ่งยังผูกตัวเองเข้ากับพันธกิจต่อสังคม ดังเช่นงานของ อาร์. ซูลูเอตา ดา กอสตา (R. Zulueta da Costa) กวีฟิลิปปินส์ร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่ง ในกวีนิพนธ์ที่ชื่อว่า "Like The Molave" ที่ได้รับรางวัล The Commonwealth Award for Literature โดยสันนิบาตนักเขียนฟิลิปปินส์ และสโมสรหนังสือฟิลิปปินส์ มีความตอนหนึ่งว่า

Like The Molave

Not yet, Rizal, not yet. Sleep not in Peace:
There are a thousand water to be spanned;
There are a thousand mountain to be crossed;
There are a thousand crosses to be borne.
Our shoulders are not strong; our sinews are
Grown flaccid with dependence, smug with ease
Under another's wing.
Rest not in peace;
Not yet, Rizal, not yet. The land has need
Of young blood-and, what younger than your own,
Forever spilled in the great name of freedom,
The free?
Not you alone, Rizal.
…
Not yet Rizal, not yet.
The glory hour will come
Out of silent dreaming,
From the seven-thousandfold silence,
We shall emerge, saying: WE ARE FILIPPINOS,
And no longer be ashamed.(28)

กวีนิพนธ์บทนี้เขียนขึ้นราวปลายทศวรรษ 1930 และมีความสำคัญในฐานะจุดเสื่อมของกระแสกวีนิพนธ์แนวพาฝัน เป็นช่วงเวลาที่บรรดากวีต้องพยายามปรับลักษณะพาฝันเสียใหม่ให้ สอดคล้องกับสถานการณ์ของยุคสมัย(29) ซึ่งเป็นเวลาที่ประเทศฟิลิปปินส์ยังคงเป็นอาณานิคมของสหรัฐอเมริกา

คราวนี้ ดา กอสตา ในฐานะชนรุ่นหลังผู้สืบทอดปณิธานของริซาล เป็นผู้กล่าวแก่ริซาล ด้วยน้ำเสียงราวกับจะร่ำร้องให้ริซาลฟื้นขึ้นมาเพื่อชาติอีกครั้ง ดา กอสตา กล่าวว่ายังไม่ถึงเวลาที่ ริซาลจะได้หลับอย่างเป็นสุข เพราะงานของเขายังไม่สำเร็จลุล่วง ยังมีอุปสรรคอีกมากมายที่รอชาว ฟิลิปปินส์ฝ่าข้ามไป ดังตอนหนึ่งที่กล่าวว่า

"Our shoulders are not strong; our sinews are grown flaccid with dependence, smug with ease under another's wing." บ่าของชาวฟิลิปปินส์ยังไม่แข็งแรงพอ กำลังก็ยังเกิดอย่างเบาบางและไม่เป็นอิสระภายใต้ปีกของผู้อื่น ในตอนนี้น่าจะหมายถึงการที่ประเทศสหรัฐอเมริกายังคงปกครองประเทศฟิลิปปินส์อยู่ แม้ว่าพ้นจากการปกครองอันโหดร้ายของสเปนแล้วก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ดา กอสตา ยังคงมีความหวังดังความตอนหนึ่งว่า คงจะมีสักวันหนึ่งที่ความรุ่งโรจน์จะผุดขึ้นจากความเงียบงันหลับไหลของชาวฟิลิปปินส์จากทั้ง 7,000 เกาะ และในที่สุดพวกเขาก็จะกล้ายืดอกพูดได้อย่างเต็มปากว่า พวกเขาเป็นชาวฟิลิปปินส์โดยไม่ต้องรู้สึกอับอาย "The glory hour will come out of silent dreaming, from the seven-thousandfold silence, we shall emerge, saying: WE ARE FILIPPINOS, And no longer be ashamed"

ด้วยเหตุที่ว่า ฟิลิปปินส์ตกอยู่ภายใต้อำนาจของชาติตะวันตกหลายร้อยปี จึงมีปัญหาในการสร้างอัตลักษณ์ของชาติ วันนั้นจะมาถึงก็ต่อเมื่อเงาของความเป็นอาณานิคม จะถูกถอดรื้อออกไปทั้งในทางปฏิบัติและในทางความคิด

นอกจาก ดา กอสตา แล้วยังมีตัวอย่างของกวีรุ่นใหม่ซึ่งยังไม่มีชื่อเสียงมากนัก เป็นผลงานของกลุ่มคนเล็กๆที่ปรากฏอยู่ในอินเทอร์เนต แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ท่ามกลางกวีนิพนธ์รักซึ่งเป็นการสร้างงานเพื่อตอบสนองความรู้สึกพื้นฐานของมนุษย์ กวีนิพนธ์ของคนรุ่นใหม่ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็น "หน้าใหม่" ของวงการกวีฟิลิปปินส์ กลับผูกตัวเองเข้ากับพันธกิจทางสังคมดังที่กวีรุ่นก่อนได้ถือปฏิบัติสืบกันมา สะท้อนให้เห็นว่าพันธกิจต่อสังคมของกวีฟิลิปปินส์อาจถูกสถาปนาให้เป็นหลักในกระบวนการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์ไปแล้ว

Fair Hope of My Motherland

From heaven's light gleams the luster,
Born you are, oh youth, shining
To see the face of your country wailing.
For you to bear, oh young riser,
A mother's love to plightful martyrdom,
To die and to rest for ardent freedom
Where wealth and riches can't be mightier.

Grow, oh brave children of this land adored,
Nurtured you are from father's and mother's palms,
Whistling homely tunes, singing church's psalms,
And to walk a life with education soared.
Hating the wrong and living the right,
To love knowledge and all it's light,
And to prove that the pen is mightier than the sword.

Now, oh youth, face the eastern sun,
See its glory and, oh, how it glows!
To earth its rays eternally flows,
Without her how can creatures run?
Same here with the Motherland,
How can she run without your powerful hand
That cheers her soul until life is done?
…
Hear not the illusions' call, oh humble flower,
Face you must the tests of reality
And learn its pain without passivity,
With no fear nor tears, not to retreat nor to cower!
For reveries and fantasies are for the child,
Like their petals so frail and mild,
…
Raise you spirit, oh fair hope of my Motherland,
Light there is in this land we weep over,
One you are all and you all must gather
To glory you lift Filipinas with your mighty hand!
Hail to you, oh sons and daughters of my sorrows'
sorrow,
Light, hope, sight, and soul you are of this nation's
tomorrow,
And hail to You, oh my Country, only it is a vision and,
ah, how grand!(30)

"Fair Hope of My Motherland" ผลงานของ โรมัน กันดิโด เฌซุลกา (Roman Candido Gesulga) เป็นเสมือนเสียงสะท้อนจาก"TO THE FILIPINO YOUTH" ของริซาล กวีนิพนธ์บทนี้เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงการกำเนิดของเหล่าลูกหลานชาวฟิลิปปินส์ โดยสร้างจินตภาพที่สว่างเรืองรองให้แย้งกับเสียงร้องคร่ำครวญของแผ่นดิน "From heaven's light gleams the luster, born you are, oh youth, shining to see the face of your country wailing."

ส่วนที่เป็นเสียงสะท้อนจากงานของ ริซาลอย่างเห็นได้ชัดคือบทที่ 2 ที่ให้เหล่าเด็กๆที่กล้าหาญเติบโตขึ้นมาเพื่อแผ่นดินอันเป็นที่รัก มุ่งหน้าศึกษาหาความรู้ มีจิตใจที่แน่วแน่แยกแยะความถูกผิด ให้รักที่จะเรียนรู้เพราะสิ่งนั้นเป็นแสงสว่าง ทั้งนี้เพื่อพิสูจน์ว่าปากกามีอำนาจกว่าคมดาบ "…walk a life with education soared. Hating the wrong and living the right, to love knowledge and all it's light, and to prove that the pen is mightier than the sword."

ความมุ่งหมายที่จะให้เหล่าเยาวชนหันมาจับปากกาต่างอาวุธนี้ สอดคล้องกับที่ริซาลกล่าวเอาไว้ว่า ให้เยาวชนแสวงหาอัจฉริยภาพทางวรรณศิลป์ของตนเอง ด้วยเชื่อมั่นว่าวิธีการหลีกเลี่ยงความรุนแรง จะนำมาซึ่งความยุติธรรมได้เช่นกัน

เฌซุลกา พยายามปลุกเร้าเหล่าเยาวชนด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่นในกวีนิพนธ์ และเช่นเดียวกับกวีนิพนธ์บทอื่นๆที่คัดมาเป็นตัวอย่าง งานของเขาก็มีลักษณะของการตอบโต้ระหว่างกวีกับผู้อ่าน ด้วยการใช้ประโยคขึ้นต้นด้วยคำกริยาและคำที่แสดงสภาพบุรุษที่ 2 กวีใช้ความเปรียบที่น่าสนใจโดยกล่าวว่า ให้มองแสงอาทิตย์ที่สาดส่องมายังพื้นโลกตราบนานเท่านาน ถ้าไร้ซึ่งแสงอาทิตย์แล้วสิ่งมีชีวิตจะดำรงอยู่ได้อย่างไร เช่นเดียวกับประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นมาตุภูมิจะดำรงอยู่ได้อย่างไร หากไร้มือที่เข้มแข็งของเหล่าเยาวชนที่จะคอยค้ำจุนวิญญาณของชาติเอาไว้ "…Same here with the Motherland, how can she run without your powerful hand that cheers her soul until life is done?"

กวียังกล่าวต่อไปอีกว่า สิ่งที่เขาพูดนี้มิใช่เสียงเพรียกจากภาพลวงตา ให้เยาวชนมุ่งเผชิญหน้ากับความจริง เรียนรู้ความเจ็บปวดโดยไม่หวั่นกลัวหรือผละหนีไป กวีเปรียบเยาวชนเป็นดอกไม้ที่ถ่อมตน "humble flower" แสดงให้เห็นว่า แม้จะปลุกเร้าให้เกิดความฮึกเหิม แต่กวียังคงตระหนักถึง ความไม่แข็งกร้าวอันเป็นคุณลักษณ์อย่างหนึ่งในวิถีแบบตะวันออก ทั้งยังใช้ความเปรียบชุดเดียวกันกับเด็กๆหรือคนรุ่นต่อไปที่จะเกิดตามมาว่า เป็นกลีบเลี้ยงที่นุ่มนวลและแบบบาง "…for the child, like their petals so frail and mild…" จึงเป็นหน้าที่ของเยาวชนในวันนี้ที่จะต้องปกป้องผู้คนที่อ่อนแอ กว่าต่อไป เพราะพวกเขาเป็นอนาคตของประเทศชาติ "you are of this nation's tomorrow…"

ผลงานของกวีหน้าใหม่ที่คัดมาเป็นตัวอย่าง นอกจากของเฌซุลกาแล้ว ยังมีของการ์โล เซเลทาเรีย (Carlo Seletaria) กวีนิพนธ์บทนี้น่าสนใจตรงที่ กวีพยายามนิยามลักษณะที่แท้จริงของชาว ฟิลิปปินส์ หรืออีกนัยหนึ่งเป็นลักษณะที่มีอยู่อุดมคติของกวีเอง เพราะกวีกล่าวถึงตนเองเป็นสำคัญว่าเป็นชาวฟิลิปปินส์ที่แท้โดยสายเลือดและจิตใจ มีเกียรติและศักดิ์ศรีเป็นศิลปะ ทั้งยังมีปณิธานที่จะถ่ายทอด สิ่งเหล่านี้ไปถึงคนรุ่นหลังให้รู้ถึงคุณค่าด้วย ดังเนื้อความในกวีนิพนธ์

The True Filipino

I am a true Filipino, by blood and heart,
Honor and respect, these are my Arts
I help my fellow man, to learn true values,
Tell them to change, for the greater good.
I come from the pearl, of the exotic east,
From the nation of Malays, to say the least
I have from my ancestors, Spanish and Chinese,
The blood of the Filipino, from the land and seas
With all the beauty of my world, you could say I am proud,
…
Through the land adored, beloved and fought,
Against tyrant's might, freedom was sought
Thy banner and honor, I shall guard,
Valor and glory, could be the reward
I shall lead my nation, through excellence,
Virtue and valor, maintaining innocence
Alike good people, I speak veracity,
My love for country, held with sincerity
I have from my elders, knowledge and wisdom,
From the legacy of warriors, glory and freedom
Rizal and Bonifacio, true heroes of the people,
Heroism and sacrifice, acts like a ripple
Liberty and freedom, I'll fight to keep,
Hardwork and determination, success I'll reap
My land and people, held at the colonizer's plate,
Conquerors and tyrants, injustice so great!
I'll fight not only for my nation, but others as well,
To free the colonized people, from their mental cell
…
For honor of my people, I'll show the world,
That the Filipino's Identity, deserves respect to behold.(31)

เซเลทาเรียกล่าวถึงชาติกำเนิดของเขา ในฐานะตัวแทนของชาวฟิลิปปินส์ทุกคนว่าเขามาจากไข่มุกของดินแดนตะวันออกอันไกลโพ้น โดยมีเชื้อสายมาเลย์ มีบรรพบุรุษเป็นทั้งชาวจีนและชาว สเปน สายเลือดของชาวฟิลิปปินส์จากผืนดินและผืนน้ำอันสวยงาม ทำให้เอ่ยถึงชาติกำเนิดของตนเองได้อย่างเต็มภาคภูมิ กวีมีปณิธานอันแน่วแน่ที่จะต่อสู้กับอำนาจของผู้ปกครองที่ไร้ซึ่งความยุติธรรมและจะแสวงหาเสรีภาพ สิ่งที่เขาจะได้รับตอบแทนคือความกล้าหาญและเกียรติยศ เขาจะนำประเทศไปสู่ความรุ่งโรจน์ และสิ่งที่เขากล่าวทั้งหมดนี้เป็นความสัตย์ซื่อจากหัวใจ "My love for country, held with sincerity"

ประเด็นที่ควรแก่การพิจารณาในกวีนิพนธ์บทนี้คือส่วนที่กล่าวถึงบรรพบุรุษและวีรบุรุษคนสำคัญของเขาได้แก่ริซาลและโบนิฟาซิโอ "From the legacy of warriors, glory and freedom, Rizal and Bonifacio, true heroes of the people, Heroism and sacrifice, acts like a ripple" ความเสียสละของวีรบุรุษทั้งสองยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เพื่อนร่วมชาติ โดยเฉพาะกวีมาจนถึงปัจจุบัน ประวัติศาสตร์ที่เต็มไปด้วยการต่อสู้อันยาวนานของฟิลิปปินส์มีส่วนหล่อหลอมให้จิตสำนึกของคนในชาติเปี่ยมไปด้วยพลังและศรัทธาในความรักชาติอันแรงกล้า

แรงบันดาลใจที่เซเลทาเรียได้รับจากวีรบุรุษของเขา ทำให้เขาตั้งปณิธานในอันที่จะธำรงรักษาเสรีภาพและความเท่าเทียมเอาไว้ ทั้งยังมุ่งหมายที่จะต่อสู้เพื่อชาติอื่นที่ตกเป็นทาสอาณานิคมของชาติตะวันตกด้วย โดยจะพยายามปลดปล่อยพวกเขาในระดับของจิตสำนึกเลยทีเดียว "I'll fight not only for my nation, but others as well,to free the colonized people, from their mental cell…"

และเพื่อเกียรติแห่งประชาชนของเขาเขาจะขอแสดงให้โลกเห็นว่า อัตลักษณ์แห่งความเป็น ฟิลิปปินส์นั้นเป็นสิ่งที่ควรแก่การยอมรับ "For honor of my people, I'll show the world, that the Filipino's Identity, deserves respect to behold." ข้อความในตอนท้ายของกวีนิพนธ์นี้เป็นวาทกรรมสำคัญที่สุดที่กวีต้องการสื่อมาถึงผู้อ่าน โน้มนำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกดุจเดียวกับกวี แม้ว่าจะไม่มีกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่น่าสนใจ แต่น้ำเสียงในกวีนิพนธ์บทนี้ แสดงให้เห็นความมุ่งมั่นและอุดมการณ์ของกวีในฐานะคนรุ่นใหม่ที่มีความรักชาติไม่น้อยไปกว่าบรรพบุรุษของเขา แสดงให้เห็นการสืบทอดขนบทางความคิดในกวีนิพนธ์ฟิลิปปินส์ในลักษณะหนึ่ง

นอกจากกวีนิพนธ์ที่ปลุกใจให้รักชาติซึ่งเป็นพันธกิจหนึ่งของกวีที่มีต่อสังคมแล้ว ยังมี กวีนิพนธ์ที่มุ่งฉายให้เห็นสภาพที่แท้จริงของชีวิตชาวฟิลิปปินส์ตามแนวทางของ "ศิลปะเพื่อชีวิต" ซึ่งเป็นภาพที่แตกต่างจากความงดงามในอุดมคติ ดังที่ริซาลและกวีคนอื่นๆได้วาดเอาไว้ แต่อย่างน้อยก็แสดงให้เห็นพันธกิจของกวีที่มีต่อสังคมในแง่ที่ต้องการแสดงให้เห็น"ภาพจริง"อันดำมืดหม่นสลัว ความทุกข์ทรมานที่ยังคงคุกคามชีวิตประชาชนของเขาอยู่ทุกวัน รวมทั้งความอยุติธรรมที่กวีเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วย

MY COUNTRY'S NO PARADISE,
MR. JACOBSON

It's not preposterous to say that we found
paradise in your country.
-a tourist
Don't Mr. Jacobson,
Don't say you've found
Paradise in my country,
Because behind the scent of women
That put leis' round your neck,
The stinking smell of estuaries
Suffocate the people of Tondo;
Because behind the carpets and the chandeliers
That brought you to your comfortable room
There is merciless demolition
That haunt the people of Paranaque;
Because behind the banquets
That made you full,
Famine attacks Lupao;
Because behind the rondollas
That have brought you to the heavens
War kills the People of Sipalay ;
Because behind all the magazines
That have show you beautiful destinations,
The lash of the lack of books
Imprison the school children;
Because behind the choir of boys and girls
That has made you clap your heart out,
There is evil in foreign customers
That scar the children of Ermita ;
Because behind the expensive tablets
That made your fever go away,
There is epidemic of the common illness
That kills the children of my country;
Because behind the white beach
That made you tan,
There is the burden of the military bases
That deprive my country of freedom.
So don't Mr. Jacobson,
Don't call my country paradise
Until the root of injustice is gone.(32)

กลวิธีทางวรรณศิลป์ที่น่าสนใจใน "MY COUNTRY'S NO PARADISE,MR. JACOBSON" อยู่ที่ใช้โครงสร้างคู่ขนาน (Parallelism) ด้วยวิธีการเปรียบต่าง (Contrast) ระหว่างความสุขสบายหรูหราที่นักท่องเที่ยวจากซีกโลกตะวันตกได้รับ กับความแล้งเข็ญทุกข์ยากที่ชาวฟิลิปปินส์ในฐานะ "เจ้าของบ้าน" ต้องก้มหน้ายอมรับโดยดุษณี

ชื่อจาคอบสัน (Jacobson) น่าจะเป็นตัวแทนของชาวตะวันตกทั้งหมดที่เข้ามาเยือนประเทศฟิลิปปินส์ด้วยหวังจะเสพธรรมชาติที่สวยงาม ท้องทะเลสีครามและความสะดวกสบายในโรงแรมอันหรูหราโอ่โถง แต่กวีได้โต้กลับคำกล่าวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในต้นบทไปว่า สภาพที่แท้จริงของประเทศนั้นมิได้เป็นสรวงสวรรค์อย่างที่ชาวตะวันตกมองอย่างฉาบฉวย

"ภาพจริง" ซึ่งเป็น "ภาพต่าง" นั้นไม่ปรากฏในการรับรู้ของจาคอบสัน เพราะทุกภาพถูกซ่อนอยู่เบื้องหลังความหรูหรางดงามต่างๆ สังเกตจากบุพบท "behind" ที่กวีจงใจใส่ไว้ในทุกภาพที่นำมาเทียบเคียงกัน เป็นต้นว่า เบื้องหลังโคมไฟระย้าและผืนมพรมอันงดงามที่ทอดพาเหล่านักท่องเที่ยวไปสู่ห้องอันสะดวกสบายคือการทำลายล้างอย่างไร้เมตตาในปารานาก "behind the carpets and the chandeliers that brought you to your comfortable room ,there is merciless demolition that haunt the people of Paranaque."

เบื้องหลังอาหารมื้อใหญ่ที่ทำให้อิ่มเต็ม ความหิวโหยกำลังทำร้ายผู้คนในลูเปา "behind the banquets that made you full, famine attacks Lupao."

เบื้องหลังนิตยสารที่ให้เห็นเป้าหมายชีวิตอันสวยสดงดงาม ความขาดแคลนหนังสือจองจำให้เด็กในโรงเรียนติดอยู่กับความเขลา "behind all the magazines that have show you beautiful destinations, the lash of the lack of books imprison the school children…"

ตัวอย่างภาพที่แสดงให้เห็นข้างต้นเป็นภาพต่างที่แสดงความไม่เท่าเทียมกันระหว่าง "แขกผู้มาเยือน" กับ "เจ้าของบ้าน" กวีอาจโจมตีกระแสทุนนิยมและบริโภคนิยมที่บรรดาชาวต่างชาติเหล่านี้นำติดตัวมาด้วย การเปิดโปงให้เห็นชีวิตต่างชนชั้นที่มีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงและความอยุติธรรมในสังคม เป็นสิ่งที่กวีส่วนใหญ่ยังคงให้ความสนใจ ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าปัญหาที่ชาวตะวันตกได้สร้างแก่ชาวฟิลิปปินส์มิได้มีเพียงปัญหาโดยอ้อมเท่านั้น ทว่ายังมีการทำร้ายโดยตรงอย่างภาพที่กวีแสดงให้เห็นว่า

เบื้องหลังเด็กหญิงและชาย ที่ขับร้องเพลงประสานเสียงไพเราะเสียจนนักท่องเที่ยวปรบมือให้อย่างชื่นชมนั้น มีลูกค้าชาวต่างชาติหลายคนที่สร้างบาดแผลให้แก่เด็กๆในเออร์มิตา "behind the choir of boys and girls that has made you clap your heart out, there is evil in foreign customers that scar the children of Ermita"

และที่สำคัญที่สุดคือเบื้องหลังหาดทรายสีขาวที่ชาวตะวันตกเหล่านี้มานอนอาบแดด มีฐานทัพที่กีดกันประเทศฟิลิปปินส์จากอิสรภาพ "behind the white beach that made you tan, there is the burden of the military bases that deprive my country of freedom" ฐานทัพที่ว่านี้เป็นของสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้ชาวฟิลิปินส์รู้สึกว่าชาติของตนยังไม่พ้นจากการเป็นอาณานิคม และที่แห่งนี้จะไม่มีทางเป็นสวรรค์ไปได้ จนกว่ารากแห่งความอยุติธรรมจะถูกรื้อถอนออกไป "the root of injustice is gone" รากของความอยุติธรรมในที่นี้หมายถึงประเทศเจ้าอาณานิคม ที่เข้ามาครอบครองฟิลิปปินส์เป็นเวลาหลายร้อยปี และได้บีบคั้นเจ้าของบ้านอย่างไร้เมตตาเสมอมา

การปะทะกันระหว่างกระแสของชาวตะวันตกกับอัตลักษณ์ของชาติ ซึ่งชาวฟิลิปปินส์เองยังคงตั้งคำถามและแสวงหาสะท้อนออกมาอย่างชัดเจนใน "The Secret Language" ของ มาเรีย ลูอิซา บี. อากิลาร์-คาริโน (Maria Luisa B. Aguilar-Carino) กวีนิพนธ์บทนี้สะท้อนภาวะคับข้องของชาว ฟิลิปปินส์ ที่ต้องปฏิบัติตนตามค่านิยมที่ชาวตะวันตกได้สถาปนาไว้เป็นเวลานานมากแล้ว สังเกตจากการใช้คำว่า "your" อันเป็นคำแสดงความเป็นเจ้าของของบุรุษที่ 2 กับทุกสิ่งที่ปฏิบัติ แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงในกวีนิพนธ์บทนี้ ไม่มีสิ่งใดที่เป็นของตัวเองอย่างแท้จริงเลย

The Secret Language

I have learned your speech,
Fair stranger; for you
I have oiled my hair
And coiled it tight
Into a braid as thick
And beautiful as the serpent
In your story of Eden.

For you, I have covered
My breasts and hidden,
Among the folds of my surrendered
Inheritance, the beads
I have worn since girlhood.
...
Now, I am Christina.
I am told I can make lace
Fine enough to lay upon the altar
Of a cathedral in Europe.
But this is a place
That I will never see.

I cook for tourists at an inn;
They praise my lemon pie
And my English, which they say
Is faultless. I smile
And look past the window,
Imagining father's and grandfather's cattle
Grazing by the smoke trees.
But it is evening, and these
Are ghosts.

In the night,
When I am alone at last,
I lie uncorseted
Upon the iron bed,
Composing my lost beads
Over my chest, dreaming back
Each flecked and opalescent
Color, crooning the names,
Along with mine:
Binaay, Binaay.(33)

สิ่งแรกที่เธอถูกกำหนดให้หยิบยืมจากชาติตะวันตกคือภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ซึ่งแท้จริงแล้วเธอไม่คุ้นเคย "I have learned your speech,fair stranger…" การจัดแต่งทรงผมม้วนขดเป็นวงหนาและสวยงามราวกับงูในเรื่องเล่าเกี่ยวกับสวนสวรรค์เอเดน "the serpent in your story of Eden" ความเปรียบตรงนี้ควรพิจารณาอย่างยิ่ง

กวีเปรียบทรงผมกับงูซึ่งเป็นตัวแทนของความชั่วร้ายหรืออวิชชา เพราะเป็นตัวการที่ยุยงอีฟให้กินผลไม้ต้องห้ามจนถูกพระเจ้าขับออกจากสวนเอเดน ความเปรียบนี้อาจทำให้ประหวัดไปถึงภาพด้านลบของชาวพื้นเมืองที่ประเทศเจ้าอาณานิคมได้ยัดเยียดให้ ความชั่วร้าย ความมืดบอด โง่เขลายังคงก้องสะท้อนอยู่ในความทรงจำของชาวฟิลิปปินส์อย่างขมขื่น

นอกจากนั้นยังมีการแต่งกายที่เธอแต่งอย่างมิดชิด และสวมสร้อยลูกปัดที่สวมมาตั้งแต่ยังเด็ก สิ่งเหล่านี้เป็น "surrendered inheritance" คือเป็นการสืบทอดมรดกอย่างยอมจำนน ถ้อยคำเหล่านี้แสดงให้เห็นความขมขื่นที่ต้องเป็นประเทศอาณานิคมได้เป็นอย่างดี

เธอได้รับคำชมว่าทำผ้าลูกไม้ได้สวยงาม พอที่จะนำไปประดับบนแท่นบูชาของมหาวิหารในทวีปยุโรป แต่เธอไม่เคยเห็นที่แห่งนั้นมาก่อน "Now, I am Christina.I am told I can make lace fine enough to lay upon the altar Of a cathedral in Europe. But this is a place that I will never see." จุดนี้เป็นอีกจุดหนึ่งที่แสดงให้ห็นความแปลกแยก ระหว่างความเป็นฟิลิปปินส์และวัฒนธรรมตะวันตก เธอทำครัวให้แก่นักท่องเที่ยวในโรมแรม เธอได้รับคำชมว่าพูดภาษาอังกฤษได้อย่างไม่ติดขัด พลันเธอยิ้มและเหม่อมองออกไปนอกหน้าต่างแล้วนึกถึงฟาร์มของพ่อและปู่ในยามเย็น สิ่งที่เธอมองเห็นหรือคิดคำนึงอยู่นั้น เธอกลับสรุปว่ามันเป็นผีที่มาหลอกหลอน "But it is evening, and these are ghosts."

ข้อความเหล่านี้แสดงให้เห็นการหวนหาอดีต ที่เธอไม่ต้องมารับใช้และปรุงแต่งตัวเองให้เป็นไปตามวิถีที่ชาวตะวันตกเป็นผู้กำหนดขึ้น ที่เธอสรุปว่า ภาพในอดีตเป็นผีมาหลอกหลอน ตรงนี้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับนัยยะที่อาจตีความได้เป็น 2 ประการ ประการแรก, เป็นการแสดงความคิดความเชื่อแบบดั้งเดิมของชนพื้นเมืองในฟิลิปปินส์ ซึ่งกลายเป็นข้อด้อยที่ชาติตะวันตกหยิบยกขึ้นมากล่าวอ้างว่า ชาวฟิลิปปินส์ไร้ปัญญาเพื่ออ้างสิทธิ์ถือครองประเทศอาณานิคม. ประการที่สอง, กวีอาจต้องการแสดงให้เห็นว่า ภาพความทรงจำในวันวาน ที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวฟิลิปปินส์อย่างแท้จริงนั้น แทบจะเรียกได้ว่าตายไปจากความรู้สึกของชนในชาติ ด้วยอิทธิพลของชาติตะวันตกที่ไหลลามเข้ามาเซาะกร่อนวิถีแห่งความฟิลิปปินส์ จนเสื่อมสลายไปอย่างน่าเจ็บปวด

"ภาษาลับ" ของเธอได้แสดงตัวในตอนท้ายของกวีนิพนธ์ เมื่อกลับมายังที่พักเธอปลดเครื่องแต่งกายออก แล้วนึกถึงความรู้สึกเก่าๆ ร้องเพลงในลำคอเป็นชื่อของเธอเองคือบินาย "…along with min: Binaay, Binaay." ชื่อคริสติน่าเป็นชื่อที่นักท่องเที่ยวใช้เรียกเธอ จะสังเกตเห็นว่าตั้งแต่ต้น บินายไม่ได้กล่าวว่าสิ่งใดเป็นของเธอเลย เพราะทุกอย่างถูกประกอบสร้างจากอิทธิพลตะวันตกในประเทศของเธอและเป็นการสืบทอดอย่างยอมจำนน ภาษาลับที่เป็นชื่อของกวีนิพนธ์ น่าจะหมายถึงชื่อในภาษาพื้นเมืองของเธอ ซึ่งจะถูกกล่าวออกมาอย่างมีความสุขก็ต่อเมื่ออยู่ในพื้นที่ภายในหรือพื้นที่ส่วนตัว (Domestic sphere) เท่านั้น เพราะพื้นที่ภายนอกที่เธอต้องพบปะผู้คน (Public sphere) ล้วนถูกครอบงำโดยชาติตะวันตกทั้งสิ้น

เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เธอมิอาจแสดงความภาคภูมิในใจอัตลักษณ์ของตนเองได้ แม้แต่ชื่อซึ่งเป็นสิ่งแทนตัวยังถูกลบกลบกลืน จากบินายกลายเป็นคริสติน่าให้สอดรับกับวิถีชีวิตหรือความคุ้นเคยของนักท่องเที่ยว แสดงให้เห็นกระบวนการทำให้ชีวิตของคนในประเทศอาณานิคมกลายเป็นตะวันตก (Westernised) เสียงจากงานของอากิลาร์- คาริโน เป็นเสียงแห่งความทุกข์ขมขื่นของชาวฟิลิปปินส์ที่ยังคงกังขากับตัวตนของตนเอง แม้ว่าประเทศของเธอจะประกาศอิสรภาพอย่างเป็นทางการมานานแล้ว แต่ "บาดแผล" แห่งการถูกกดขี่ การถูกครอบงำยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้

บทสรุป
จากที่กล่าวมาทั้งหมดน่าจะพอแสดงให้เห็นว่า กวีนิพนธ์ฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากประวัติศาสตร์ที่เต็มไปด้วยการต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพของชาติจากประเทศเจ้าอาณานิคม เครื่องมือสำคัญในการเรียกร้องให้เกิดพลังประชาชนก็คือกวีนิพนธ์ ดังที่ โฮเซ่ ริซาล และ อานเดรส โบนิฟาซิโอ วีรบุรุษคนสำคัญของฟิลิปปินส์ได้ทำจนสำเร็จมาแล้ว

เป็นที่น่าสังเกตว่า มโนทัศน์ เกี่ยวกับการใช้ "ปากกา" เป็นเสมือน "อาวุธ" ของกวีฟิลิปปินส์นั้นถูกปลูกฝังและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นและยังคงเป็นสิ่งที่ก้องสะท้อนอยู่ในวัฒนธรรมวรรณศิลป์ของฟิลิปปินส์จวบจนถึงทุกวันนี้ ทั้งนี้มีแนวโน้มว่าจะเป็นเช่นนี้ต่อไปในวันข้างหน้า เพราะกวีมีความพยายามที่จะส่งมอบความคิดดังกล่าวให้แก่เยาวชนคนรุ่นหลังด้วย

สิ่งที่สะท้อนออกมาจากกวีนิพนธ์ฟิลิปปินส์ที่คัดมาเป็นตัวอย่างประกอบด้วย การแสดงตัวของกวีในฐานะผู้ชี้นำสังคม ปณิธานและศรัทธาอันแรงกล้าของกวีที่เป็นตัวแทนของชาวฟิลิปปินส์ ในอันที่จะปลดเปลื้องพันธนาการของเจ้าอาณานิคมออกจากประเทศของตน เนื้อหาของกวีนิพนธ์ ส่วนใหญ่จึงเน้นไปที่การปลุกใจให้รักชาติ

ทว่ายังมีกวีนิพนธ์อีกกลุ่มหนึ่งที่มุ่งเสนอภาพความทุกข์ทรมานของประชาชน ตามแนวทางของ "ศิลปะเพื่อชีวิต" ความทุกข์ที่นำเสนอนั้นมีทั้งทางร่างกาย เช่น ปัญหาความยากจนหรือการถูกกดขี่ทำร้ายโดยชาติตะวันตก ส่วนทางด้านจิตใจคือความสับสนในอัตลักษณ์ของตนเอง ระหว่างความเป็นฟิลิปปินส์ที่แท้จริง กับวัฒนธรรมที่ชาติตะวันตกได้ทิ้งเอาไว้เป็นมรดก

ความคิดทั้งหมดที่นำเสนอออกมานั้นจึงน่าจะเป็นตัวแทนที่แสดงให้เห็นพันธกิจของ กวีนิพนธ์ฟิลิปปินส์ที่มีต่อสังคมอย่างเด่นชัด โดยมีกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่น่าสนใจคือการโน้มน้าวผู้อ่าน ให้เกิดความรู้สึกคล้อยตามอันจะนำไปสู่พลังประชาชนดังที่กวีมุ่งหมาย

อนึ่ง มีนักวิชาการได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับกระบวนการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์ฟิลิปปินส์ไว้อย่างน่าสนใจว่า

…ก็อาจเป็นไปได้ที่งานเขียนจะกลายเป็นงานโฆษณาชวนเชื่อ แต่นักเขียนที่รับผิดชอบย่อมตระหนักดีถึงพันธะที่เขามีต่อศิลปะและต่อสังคม เขาสามารถสะท้อนให้เห็นได้ว่า ข้อเรียกร้องด้านศิลปะและความต้องการของสังคมใช่ว่าจะประสานเข้าด้วยกันไม่ได้เสียทีเดียว ด้วยพลังความสามารถทั้งหมดที่มีอยู่ นักเขียนสามารถผสานความต้องการด้านศิลปะและสังคมรวมเข้าด้วยกันได้อย่างสมดุลแนบเนียน และสร้างงานเขียนที่มิใช่เพียงศิลปโวหารเพื่อกระตุ้นปลุกเร้าชั่วขณะที่เหตุการณ์เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ยังจะต้องเป็นสัจธรรมที่ยืนยงไปอีก ชั่วกาลนาน(34)

การที่กวีพันผูกตนเองเข้ากับพันธกิจต่อสังคมนั้น เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นแล้วว่าความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคมเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่จริง และมีความสำคัญถึงขนาดที่เป็นตัวกำหนดทิศทางของสังคม "อำนาจ" ของวรรณกรรมจึงเป็นสิ่งที่ไม่มีผู้ใดปฏิเสธได้

อย่างไรก็ตาม การศึกษาในครั้งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการพิจารณาวรรณกรรมฟิลิปปินส์โดยการคัดตัวบทจากแหล่งข้อมูลเท่าที่พอหาได้ในประเทศไทย ความน่าสนใจของวรรณกรรมฟิลิปปินส์ยังมีอยู่อีกมาก หากใช้ทฤษฎีวรรณคดีอื่นๆเข้ามาพิจารณา โดยเฉพาะกระบวนทัศน์ของแนวคิดหลังอาณานิคม (Post-colonialism) ซึ่งน่าจะทำให้การศึกษาวรรณกรรมของประเทศเพื่อนบ้านงอกงามต่อไป

รายการอ้างอิง

(1) สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย, ประวัติวรรณกรรมฟิลิปปินส์(กรุงเทพมหานคร : เจริญวิทย์การพิมพ์ ,2528), หน้า 1.

(2) ภาษาตากาล็อกคือภาษาประจำชาติของฟิลิปปินส์

(3) สีดา สอนศรี, คู่มือประเทศฟิลิปปินส์ (กรุงเทพมหานคร : โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค, 2545), หน้า 34-35.

(4) สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย, ประวัติวรรณกรรมฟิลิปปินส์, หน้า 5-6.

(5) เรื่องเดียวกัน, หน้า 8.

(6) Teofilo del Castillo y Tuazon and Buenaventura S. Medina, Jr., Philippine Literature from Ancient Times to the Present (Quezon City : DEL CASTILLO and SONS,1966), pp. 74-76.

(7) Ibid., pp. 122-125.

(8) สีดา สอนศรี, คู่มือประเทศฟิลิปปินส์, หน้า 41-42.

(9) สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย, ประวัติวรรณกรรมฟิลิปปินส์, หน้า 17-18.

(10) เรื่องเดียวกัน, หน้า 25-26.

(11) เรื่องเดียวกัน, หน้า 33-34.

(12) G?mino H. Abad, "One Hundred Years of Filipino Poetry : An Overview," in World Literature Today, 74:2 (Spring 2000), p.330.

(13) Teofilo del Castillo y Tuazon and Buenaventura S. Medina, Jr., Philippine Literature from Ancient Times to the Present, pp.388-389.

(14) Alfrredo Navarro Salanga, For Edwin Thumboo and All of Us Who Suffer Through English in Asia [online] Available from : http://www3.cerritos.edu/vasiddao/text%20
links/philippine%20poetry%20links/for_edwin_thumboo_and_all_of_us_.htm [2003, December 27].

(15) Cirilo F. Bautista, PHILIPPINE POETRY IN ENGLISH TODAY [online] Available from : http://www.angelfire.com/il/friendsinternational/cfb/ESSpoetry.html [2004, January 9].

(16) Ibid.

(17) ดูรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบของกวีนิพนธ์สมัยใหม่เพิ่มเติมได้ใน Tony Curtis, How to Study Modern Poetry (New York : Palgrave,1990), pp.1-28.

(18) G?mino H. Abad , Mapping Our Poetic Terrain : Filipino Poetry in English From 1905 to the Present [online] Available from : http://www.geocities.com/icasocot/abad_ mapping.html [2004, January 19].

(19) สุพรรณี กาญจนัษฐิติ, "โฮเซ่ ริซาล : ปัญญาชนนักชาตินิยมฟิลิปปินส์," ใน อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 5 ฉบับที่1(2525),หน้า 48.

(20) เรื่องเดียวกัน, หน้า 63.

(21) เรื่องเดียวกัน, หน้า 56.

(22) เรื่องเดียวกัน, หน้า 60.

(23) Teofilo del Castillo y Tuazon and Buenaventura S. Medina, Jr., Philippine Literature from Ancient times to the Present, pp.153-154.

(24)สุพรรณี กาญจนัษฐิติ, "โฮเซ่ ริซาล : ปัญญาชนนักชาตินิยมฟิลิปปินส์," หน้า 67.

(25) Teofilo del Castillo y Tuazon and Buenaventura S. Medina, Jr., Philippine Literature from Ancient times to the Present, pp.157-159.

(26) สุพรรณี กาญจนัษฐิติ, "โฮเซ่ ริซาล : ปัญญาชนนักชาตินิยมฟิลิปปินส์," หน้า 67-68.

(27) เสริมจิตร สิงหเสนีและธัญญรัตน์ ปาณะกุล, ความรู้เบื้องต้นในเรื่องวรรณคดีอังกฤษและอเมริกัน , พิมพ์ครั้งที่ 9 (กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาภาษาอังกฤษและภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2544), หน้า 45-46.

(28) Teofilo del Castillo y Tuazon and Buenaventura S. Medina, Jr., Philippine Literature from Ancient Times to the Present, pp.384-385.

(29) G?mino H. Abad, "One Hundred Years of Filipino Poetry : An Overview," p.328.

(30) Roman Candido Gesulga, Fair Hope Of My Motherland [online] Available from : http://www.geocities.com/Tpkyo/Temple/9845/poet.htm [December,10 2003].

(31)Carlo Seletaria ,The True Filipino [online] Available from : http://www.geocities.com/Tpkyo/Temple/9845/poet.htm [December,10 2003].

(32) Romelo P.Baquiran, Jr. and co., ed. ASEANO : An Anthology of Poems from Southeast Asia (Manila : ASEAN committee on Culture and Information,1995), pp.147-148.

(33) Maria Luisa B. Aguilar-Carino, The Secret Language [online] Available from : http://www3.cerritos.edu/vasiddao/text%20links/philippine%20poetry%20links/secret_ language.htm [December, 27 2003].

(34) Thelma B. Kintanar, An Introduction to Philippine Literature (นครปฐม : คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2527), อ้างถึงใน สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย, ประวัติวรรณกรรมฟิลิปปินส์, หน้า 44-45.

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

H
ภาพประกอบ บทวิจารณ์เรื่อง "กวีนิพนธ์ฟิลิปปินส์กับพันธกิจต่อสังคม" เขียนโดย
นัทธนัย ประสานนาม นิสิตปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

"ภาพจริง" ซึ่งเป็น "ภาพต่าง" นั้นไม่ปรากฏในการรับรู้ของจาคอบสัน เพราะทุกภาพถูกซ่อนอยู่เบื้องหลังความหรูหรางดงามต่างๆ สังเกตจากบุพบท "behind" ที่กวีจงใจใส่ไว้ในทุกภาพที่นำมาเทียบเคียงกัน เป็นต้นว่า เบื้องหลังโคมไฟระย้าและผืนพรมอันงดงามที่ทอดพาเหล่านักท่องเที่ยวไปสู่ห้องอันสะดวกสบาย คือการทำลายล้างอย่างไร้เมตตาในปารานาก

"ภาษาลับ" ของเธอได้แสดงตัวในตอนท้ายของกวีนิพนธ์ เมื่อกลับมายังที่พักเธอปลดเครื่องแต่งกายออก แล้วนึกถึงความรู้สึกเก่าๆ ร้องเพลงในลำคอเป็นชื่อของเธอเองคือบินาย "…along with min: Binaay, Binaay." ชื่อคริสติน่าเป็นชื่อที่นักท่องเที่ยวใช้เรียกเธอ จะสังเกตเห็นว่าตั้งแต่ต้น บินายไม่ได้กล่าวว่าสิ่งใดเป็นของเธอเลย เพราะทุกอย่างถูกประกอบสร้างจากอิทธิพลตะวันตกในประเทศของเธอและเป็นการสืบทอดอย่างยอมจำนน ภาษาลับที่เป็นชื่อของกวีนิพนธ์ น่าจะหมายถึงชื่อในภาษาพื้นเมืองของเธอ ซึ่งจะถูกกล่าวออกมาอย่างมีความสุขก็ต่อเมื่ออยู่ในพื้นที่ภายในหรือพื้นที่ส่วนตัว (Domestic sphere) เท่านั้น เพราะพื้นที่ภายนอกที่เธอต้องพบปะผู้คน (Public sphere) ล้วนถูกครอบงำโดยชาติตะวันตกทั้งสิ้น

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งตั๋วแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์