ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
271147
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 481 หัวเรื่อง
วิจารณ์หนังสือ วิเคราะห์ประเด็นทางกฎหมายจากนิทานพื้นบ้าน
นัทมน คงเจริญ
สาขานิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณขาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

วิเคราะห์กฎหมายจากนิทานพื้นบ้าน
วิจารณ์หนังสือ Thai Folktales & Law ของ Alexander Shytov
นัทมน คงเจริญ
สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เคยได้รับการตีพิมพ์แล้ว
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับต้นฉบับมาจาก ผศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล เผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์สังคมไทย
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 3 หน้ากระดาษ A4)

 

หลายท่านคงเคยได้ยินนิทานเรื่องนางสิบสอง และเรื่องพระรภ-เมรี แต่เรื่องทั้งสองนี้มีคติธรรมอะไรซ่อนอยู่ หรือจะเป็นเรื่องนิทานก่อนนอนที่เอาไว้เล่าสนุกเท่านั้น

ท่านเคยได้ยินนิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับนายพรานคนหนึ่งที่มีภริยาสองคนหรือไม่ ภริยาทั้งสองอยู่กันคนละบ้าน หากโชคดีนายพรานก็จะมีของติดมือกลับบ้าน บางครั้งโชคไม่ดีก็จะไม่ได้อะไรกลับมา ในบ้านของภริยาคนแรกบางครั้งข้าวปลาอาหารได้ปรุงขึ้นมาอย่างแห้งๆ ในขณะที่บ้านภริยาคนที่สองจะมีอาหารกินที่สดใหม่เสมอ ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีของกลับบ้านหรือไม่ก็ตาม นายพรานต้องการสืบดูว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

วันหนึ่งเขาล่าสัตว์ได้มากและนำกลับบ้านมา ภริยาคนแรกก็จะทำการเก็บรักษาเนื้อนั้นไว้อย่างดี ในขณะที่ภริยาคนที่สองก็จะแบ่งเนื้อที่ได้นั้นให้แก่เพื่อนบ้านด้วย ดังนั้นวันใดที่นายพรานไม่สามารถหาอาหารได้ เพื่อนบ้านก็จะนำอาหารมาแบ่งปันให้แก่ภริยาคนที่สอง ดังนั้นในบ้านของภรรยาคนที่สองจึงมีของที่สดใหม่ไว้ทำอาหารเสมอ

การตีความนิทานเรื่องนี้เข้ากับเรื่องวิถีชีวิตของคน ซึ่งคงไม่ใช่การส่งเสริมให้มีภริยาสองคนเป็นแน่ แต่เป็นการมองถึงเรื่องของการแบ่งปันซึ่งเป็นคติธรรมที่ดี ที่เพื่อนบ้านจะมีความเอื้ออาทรต่อกัน หากเราแบ่งปันให้เขา เขาก็ย่อมแบ่งปันให้เราตอบแทน และคงไม่ใช่เฉพาะนิทานพื้นบ้านของไทยเท่านั้น แต่คงเป็นเช่นนี้ในที่ต่างๆ ทั่วโลกที่มีคติธรรมแทรกอยู่ในเรื่องเล่าพื้นบ้าน

การแปลความหมายของนิทานพื้นบ้านเข้ากับแนวคิดทางกฎหมาย นายพรานเปรียบเป็นผู้พิพากษาเพื่อตัดสินคุณภาพของอาหารในแต่ละมื้อที่แตกต่างกันของทั้งสองบ้าน ภริยาคนแรกเปรียบเหมือนกับผู้อยู่ในสถานะที่เหนือกว่า ที่สนใจอยู่แต่เรื่องของตนเอง กับการมองเรื่องการแบ่งปันที่ภริยาคนที่สองเปรียบได้กับผู้ที่มีสถานะด้อยกว่า อยู่อย่างพึ่งพิงเป็นสังคมรวมหมู่ อย่างเช่นพื้นฐานของไทยเป็นระบบแบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน แต่ระบบกฎหมายไทยหลังจากการปฏิรูปกฎหมายโดยรับเอาแนวคิดของตะวันตกเข้ามา ได้ละเลยบทบาทของแนวคิดของสังคมโดยรวมออกไป

นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ หากแต่ผู้วิจารณ์ได้หยิบขึ้นมาเป็นตัวอย่างคร่าวๆ ไม่ลึกซึ้งเท่ากับผู้เขียน Alexander Shytov ได้อธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง Thai Folktales & Law

วงการวิชาการทางกฎหมายของไทยมักจะเป็นการวิเคราะห์วิจารณ์ตัวบทกฎหมายในเชิงนิติอักษรศาสตร์ และการเรียบเรียงแนวคำตัดสินขององค์กรทางกฎหมายในเรื่องนั้นๆ เพื่อเป็นแนวทางการใช้กฎหมาย โดยที่นักวิชาการทางสังคมศาสตร์อื่นๆ เช่น นักมานุษยวิทยาและนักสังคมวิทยาก็ผลิตงานของตนเองในเชิงวิเคราะห์วิจารณ์การใช้กฎหมาย ทั้งสองวงการนี้มักอยู่ในอาณาจักรของตนเองด้วยความเข้าใจว่าเป็นคนละวงกัน ทำให้การใช้การมองกฎหมายของไทยจำกัดตัวเองอยู่ในกรอบดังกล่าว

Thai Folktales & Law เป็นหนังสือที่เขียนโดยนักกฎหมายและใช้แนวคิดทางกฎหมายจากสำนักความคิดต่างๆ อันมีรากฐานทางนิติศาสตร์เป็นหลักในการวิเคราะห์ โดยผู้เขียนตั้งใจจะให้เป็นหนังสือที่ท้าทายผู้อยู่ในวงการกฎหมายว่า จะนำมาอ่านและใช้แนวคิดวิเคราะห์ดังกล่าวเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบังคับใช้กฎหมายต่อไป

แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายย่อมเป็นเรื่องที่กระทบต่อทุกคน ไม่เฉพาะนักกฎหมายเท่านั้น บุคคลทั่วไปก็สามารถอ่าน และคิดตามผู้เขียนได้อย่างมีอรรถรส เพราะเรื่องต่างๆ รอบตัวเราเองก็มีแนวคิดของการดำรงชีวิตแวดล้อมเราอยู่ทั้งสิ้น บางทีหนังสือเล่มนี้อาจจะตอบข้อสงสัยของเราเองว่า การที่คนนั้นคนนี้กระทำบางสิ่งลงไป อาจมีฐานคิดมาจากเรื่องราวของนิทานพื้นบ้านที่ปกคลุมวิถีชีวิตของสังคมที่เราอยู่ก็เป็นได้

ในหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาประกอบอยู่ 3 ส่วน เริ่มจากการอธิบายถึงแนวความคิดทางทฤษฎีกฎหมายจากห้าสำนักคิด เปิดโลกการอธิบายที่สนับสนุนการใช้หลักธรรมที่แฝงอยู่ในนิทานพื้นบ้าน ผ่านกรอบคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติ ที่นับว่าเป็นสำนักคิดที่ให้คุณค่าแก่หลักความเชื่อต่างๆ ของสังคมในการใช้กฎหมาย ทฤษฎีจิตวิทยานิยมที่เน้นการมองจากฐานของสิ่งที่เกิดขึ้นจากพื้นถิ่น สำนักกฎหมายประวัติศาสตร์และนักมานุษยวิทยากฎหมาย สำนักสังคมวิทยากฎหมาย ซึ่งเป็นแนวความคิดในการนำภาวะแวดล้อมทางสังคมที่ปรากฎอยู่มาเป็นส่วนประกอบในการอธิบายถึงตัวกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายนั้นได้ ซึ่งนิทานพื้นบ้านก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญในการฉายภาพฐานคิด และหลักธรรมที่ปรากฏตัวอยู่ในสังคม

ส่วนสำนักสุดท้ายที่สำคัญและเป็นแนวคิดหลักที่ครอบคลุมการใช้กฎหมาย โดยเฉพาะวงการกฎหมายของไทยคือสำนักกฎหมายบ้านเมืองหรือปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย แทบจะเรียกได้ว่าเป็นคู่ตรงข้ามกับการนำแนวคิด ความเชื่อ คติธรรมของนิทานพื้นบ้านมาใช้อธิบายปรากฎการณ์ทางกฎหมายเลยก็ว่าได้

ส่วนที่สองของหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเป็นส่วนที่มีเนื้อหามากที่สุด ผู้เขียนได้หยิบเอานิทานพื้นบ้านทั้งหมด 26 เรื่อง ที่สะท้อนคติธรรมของไทยในด้านต่างๆ เช่น ความรัก การให้อภัย การลงโทษ ความเสมอภาค ความยุติธรรม การแบ่งปันและต่างตอบแทน ความเพียรพยายามทำความดี โทษของการมีอำนาจ และการหลอกลวง โดยในการนำเสนอของผู้เขียนได้วางโครงในการเล่าเรื่องราวไว้ 3 ขั้นตอนด้วยกัน

เริ่มจากการเล่าเนื้อหาของนิทานพื้นบ้าน ซึ่งผู้เขียนได้รวบรวมจากแหล่งต่างๆ ที่อาจมีเกร็ดรายละเอียดแตกต่างกัน แต่หัวใจของคติธรรมในเรื่องนั้นยังคงชัดเจน ขั้นตอนที่สองเป็นการตีความ แปลความหมายของนิทานพื้นบ้านนั้นว่าจะมีการแทรกคติธรรมในเรื่องการสั่งสอนคนในสังคม หรือสะท้อนความคิดความเชื่อของสังคมไทย และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการปรับคติธรรมเหล่านั้นเข้ากับการใช้กฎหมาย ซึ่งมีสภาพของปัญหาสังคมในปัจจุบันไม่แตกต่างไปจากเนื้อเรื่องของนิทานพื้นบ้านที่เป็นเรื่องเล่าต่อๆ กันมาของสังคมไทยเลย ทุกเรื่องราวยังคงปรับใช้ได้ในวิถีชีวิตประจำวันได้

ส่วนที่สามของหนังสือนี้ ผู้เขียนได้วิเคราะห์ถึงการใช้หลักธรรม คติธรรมที่ปรากฏอยู่ในนิทานพื้นบ้านนำมาใช้กับกฎหมายไทย ซึ่งเป็นการท้าทายนักกฎหมายไทยที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างความอ่อนแอของหลักนิติธรรมในระบบกฎหมายไทย และความเข้มแข็งของหลักธรรม คติธรรมที่ปรากฏอยู่ในนิทานพื้นบ้าน

นอกจากนี้ หนังสือเล่มนี้ยังเป็นกระจกสะท้อนความคิดความเชื่อของสังคมไทยตั้งแต่โบราณ อันน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจของผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องฐานคิดของสังคมไทยให้ถึงแก่น แต่มีข้อจำกัดทางภาษาที่มีไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้ หนังสือเล่มนี้จะพาท่านท่องโลกทางความคิดของสังคมไทย ผ่านมิติในด้านความคิดความเชื่อในเรื่องต่างๆ อย่างสนุกสนานทีเดียว

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

H
ภาพประกอบดัดแปลง บทความเรื่อง "วิจารณ์หนังสือ Thai Folktales & Law เขียนโดย Alexander Shytov"วิจารณ์โดย นัทมน คงเจริญ สาขานิติศาสตร์ มช.

ท่านเคยได้ยินนิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับนายพรานคนหนึ่งที่มีภริยาสองคนหรือไม่ ภริยาทั้งสองอยู่กันคนละบ้าน หากโชคดีนายพรานก็จะมีของติดมือกลับบ้าน บางครั้งโชคไม่ดีก็จะไม่ได้อะไรกลับมา ในบ้านของภริยาคนแรกบางครั้งข้าวปลาอาหารได้ปรุงขึ้นมาอย่างแห้งๆ ในขณะที่บ้านภริยาคนที่สองจะมีอาหารกินที่สดใหม่เสมอ ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีของกลับบ้านหรือไม่ก็ตาม นายพรานต้องการสืบดูว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

ในหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาประกอบอยู่ 3 ส่วน เริ่มจากการอธิบายถึงแนวความคิดทางทฤษฎีกฎหมายจากห้าสำนักคิด เปิดโลกการอธิบายที่สนับสนุนการใช้หลักธรรมที่แฝงอยู่ในนิทานพื้นบ้าน ผ่านกรอบคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติ ที่นับว่าเป็นสำนักคิดที่ให้คุณค่าแก่หลักความเชื่อต่างๆ ของสังคมในการใช้กฎหมาย ทฤษฎีจิตวิทยานิยมที่เน้นการมองจากฐานของสิ่งที่เกิดขึ้นจากพื้นถิ่น สำนักกฎหมายประวัติศาสตร์และนักมานุษยวิทยากฎหมาย สำนักสังคมวิทยากฎหมาย ซึ่งเป็นแนวความคิดในการนำภาวะแวดล้อมทางสังคมที่ปรากฎอยู่มาเป็นส่วนประกอบในการอธิบายถึงตัวกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายนั้นได้ ซึ่งนิทานพื้นบ้านก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญในการฉายภาพฐานคิด และหลักธรรมที่ปรากฏตัวอยู่ในสังคม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งตั๋วแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์