ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
221147
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 478 หัวเรื่อง
ศิลปะแนวกิจกรรม ศิลปะเพื่อชุมชน
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

The Midnight University

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณขาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความทางด้านศิลปะ
ศิลปะแนวกิจกรรม : ศิลปะเพื่อชุมชนและสังคม
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

But is it Art?
The spirit of Art as Activism
จิตวิญญานของศิลปะ ในฐานะเกี่ยวพันกับกิจกรรมชุมชนและสังคม

หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ เรียบเรียงขึ้นเพื่อให้ผู้สนใจทางด้านศิลปะ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะแนวกิจกรรม (activist arts)
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 11 หน้ากระดาษ A4)

 

บทนำ : กระบวนการของความเปลี่ยนแปลง
Introduction : The Process of Change

ด้วยการที่เท้าข้างหนึ่งเหยียบอยู่กับโลกศิลปะ ส่วนเท้าอีกข้างหนึ่งเหยียบอยู่บนโลกของกิจกรรมทางการเมืองและการรวมตัวกันของชุมชน การผสมผสานอย่างน่าสังเกตที่ปรากฏขึ้นมาในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970s ได้ขยายตัวออกไปในทศวรรศที่ 1980s และกำลังก้าวเข้ามาส่วนมวลชนอย่างสำคัญมาก ซึ่งได้กลายเป็นสถาบันขึ้นมาในช่วงทศวรรษที่ 1990s

ลักษณะกิจกรรมทางวัฒนธรรมดังกล่าว กลายเป็นหัวข้อของการประชุมและบทความต่างๆจำนวนมาก นิทรรศการหลายๆครั้งของพิพิธภัณฑ์ศิลปะ และโครงการที่หลากหลายซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฐานของชุมชน มันได้ให้แรงกระตุ้นและเป็นหัวข้อสำหรับนิตยสารและองค์กรต่างๆ อีกทั้งยังน้อมนำไปสู่การคาดการณ์ในเชิงทฤษฎีและการวิพากษ์วิจารณ์ด้วย รวมทั้งได้ก่อให้เกิดคำถามต่างๆมากมายตามมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

มาถึงตรงนี้ โดยผ่านการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน และการวิเคราะห์วิจารณ์ด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งกลุ่มปฏิบัติการต่างๆที่น่าเชื่อถือและน่ายกย่องซึ่งปรากฏตัวขึ้นมา นับจากช่วงกลางปีทศวรรษ 1970s ถึงปัจจุบัน ความเรียงเรื่อง But is it Art? ได้นิยามถึงปัจจัยหรือตัวกำหนดที่สำคัญของรูปลักษณ์ที่ผสมผสานทางวัฒนธรรม(hybrid cutural form)อันนี้ และเผยให้เห็นว่าถึงอัตลักษณ์อันหลายหลากมากมีของมันดังกล่าว

การนำเอาเรื่องศิลปะแนวนี้มาเขียนขึ้นเป็นการเฉพาะ ดังที่ปรากฏต่อไป จะให้ภาพการสำรวจในเชิงลึกเกี่ยวกับศิลปะที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม(activist art) และเกี่ยวข้องกับบรรดาศิลปินทั้งหลายซึ่งผูกพันอยู่กับมัน บทนำนี้มิได้ตั้งใจให้เป็นประวัติศาสตร์โดยละเอียดของ activist art อันที่จริงเพียงมีเจตนาที่จะนำเสนอบริบทหนึ่ง โดยเฉพาะที่เข้าใกล้บรรดาศิลปินทั้งหลายที่ทำงานในแนวทางดังกล่าวนั่นเอง

ปฏิบัติการที่ทำการสำรวจในที่นี้ ได้ถูกทำให้เป็นตัวอย่างโดยการใช้นวัตกรรมของพื้นที่สาธารณะ เพื่อพูดถึงประเด็นต่างๆเกี่ยวกับนัยสำคัญทางวัฒนธรรมสังคมการเมือง(sociopolitical significance) และกระตุ้นสนับสนุนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนและสาธารณชน ในฐานะที่เป็นวิธีการที่จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ขณะที่ประเด็นสาธารณะต่างๆซึ่งมีลักษณะเฉพาะ มันผันแปรไป อาทิเช่น คนไร้ที่อยู่อาศัย วิกฤตการณ์เกี่ยวกับโรคเอดส์ ความรุนแรงที่มีต่อผู้หญิง สภาพแวดล้อมเป็นพิษ การแบ่งแยกทางเพศ(โดยเฉพาะอคติและการกีดกันเพศหญิง)(sexism) การแบ่งแยกและมีอคติเกี่ยวกับเรื่องของอายุ(ageism) การอพยพที่ผิดกฎหมาย เรื่องเชื้อชาติโดยเฉพาะแนวคิดชาตินิยม และลัทธิการรวมตัวกันทางการค้า(trade unionism) ฯลฯ ท่ามกลางเหตุการณ์ทางสังคมอื่นๆ บรรดาศิลปินทั้งหลายต่างก็มีส่วนร่วมปันและรับรู้เกี่ยวกับเรื่องทั้งหลายเหล่านี้คล้ายๆกัน ในยุทธศาสตร์ที่เป็นทางการและเจตนาต่างๆข้างต้น

ดังนั้น สิ่งที่ได้สร้างงานประเภท activist art ขึ้นมาส่วนใหญ่ มันจึงแยกต่างหากออกไปจากศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการเมือง หรือ political art ซึ่งมันไม่ใช่เนื้อหาของบทความชิ้นนี้ ทั้งนี้เพราะ มันมีวิธีการของตัวมันเอง เป็นศาสตร์ในเชิงรูปธรรม และมีเป้าหมายต่างๆของกิจกรรมที่แน่นอน

ส่วนใหญ่ของศิลปะในศตวรรษนี้ได้รับการสร้างขึ้น แพร่กระจายและได้รับการบริโภคภายใต้บริบทของโลกศิลปะ เป็นเรื่องของการแสดงออกส่วนตัว และการแสดงออกอันนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญซึ่งก่อให้เกิดการสร้างงานศิลปะทั้งหลายขึ้นมา และได้แบ่งแยกเนื้อหากันไปต่างๆนาๆ

จวบจนกระทั่งช่วงทศวรรษที่ 1960s, ลัทธิรูปแบบนิยม(formalism - หมายถึงผลงานศิลปะที่เน้นเฉพาะรูปทรง โดยไม่สนใจเนื้อหา เช่น งานจิตรกรรมที่มีแต่รูปทรงกลม หรือประติมากรรมรูปทรงอิสระ สุนทรียภาพของงานประเภทนี้ อยู่ที่การพิจารณารูปทรงแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องพิจารณาถึงเนื้อหา) หนึ่งในอาการที่ต้องทำให้พวกเราต้องอ้าปากค้างด้วยความประหลาดใจของ modernism - เป็นสิ่งซึ่งมีอิทธิพลอย่างสำคัญ

Formalism แสวงหาหนทางในการนิยามหรือให้คำจำกัดความศิลปะแต่ละชิ้นในเทอมต่างๆของอัตลักษณ์ของการให้นิยามตัวเอง(self-defining)ของมัน ซึ่งไม่เพียงเน้นถึงความบริสุทธิ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์แต่ละอย่างกับหลักการอื่นๆเท่านั้น แต่ยังเป็นการแบ่งแยกทางวัฒนธรรมจากพื้นที่อื่นๆของชีวิตด้วยในช่วงเริ่มต้นตอนปลายทศวรรษที่ 1960s อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้เริ่มก่อตัวขึ้นมาในโลกศิลปะ ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนผันไปใน"โลกของความเป็นจริง"

ความเป็นจริงทางวัฒนธรรมในเชิงผสมผสานที่สำรวจกันถึงนี้ ได้วิวัฒน์ขึ้นมาจากความผันแปรไปดังกล่าวข้างต้น มันถูกทำให้เกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมามากมายโดย"โลกของความเป็นจริง" เท่าๆกับที่มันได้ถูกสร้างขึ้นมาใน"โลกศิลปะ"

Activist art (ศิลปะแนวกิจกรรม)
Activist art เป็นตัวอย่างซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลอันหนึ่งของแรงกระตุ้นทางสุนทรียภาพ สังคมการเมืองและเทคโนโลยี ของอดีตที่ผ่านมาประมาณ 30 ปีที่แล้วหรือมากกว่านั้น ซึ่งพยายามที่จะท้าทาย สำรวจตรวจตรา หรือทำให้ขอบเขตพรมแดนและลำดับชั้นสูงต่ำตามขนบประเพณีทางศิลปะเลือนหายไป ดังที่มันได้นิยามวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นตัวแทนของพลังในสิ่งเหล่านั้น

รูปแบบทางวัฒนธรรมอันนี้ เป็นการบรรลุถึงจุดสุดยอดของการปลุกเร้าทางด้านประชาธิปไตย เพื่อที่จะส่งเสียงและทำให้ประเด็นทางสังคมสามารถมองเห็นได้ ทั้งเรื่องเกี่ยวกับการถูกลิดลอนสิทธิ์(give voice and visibility to the disenfranchised) และเพื่อเชื่อมโยงศิลปะกับผู้ดูอย่างกว้างขวาง มันได้ดีดตัวขึ้นมาจากสหภาพหรือการรวมตัวกันกับกิจกรรมทางการเมือง ด้วยแนวโน้มต่างๆทางสุนทรียประชาธิปไตย อันก่อกำเนิดขึ้นมาจาก Conceptual art ของปลายทศวรรษที่ 1960s และช่วงต้นของทศวรรษที่ 1970s

ก่อนที่ไปถึงรายละเอียดที่มีการพูดกันในเชิงลึก ขอให้เรามาสำรวจภาพกว้างทั่วๆไปสักเล็กน้อยว่า แผนการ ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีต่างๆซึ่งเป็นรูปธรรมดังกล่าว มันดำเนินการในแต่ละโครงการโดยเฉพาะอย่างไร? และพวกมันได้อาศัยฐานหนุนในเชิงปรัชญา หรือในเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับงานอย่างไร? ซึ่งการสำรวจนี้คงจะให้ประโยชน์ต่อเราพอสมควร

Activist art ทั้งในด้านรูปแบบและวิธีการต่างๆ เป็นกระบวนการ - มากกว่าจะเป็นตัววัตถุ - หรือความสนใจในผลิตผล ปกติแล้วมันเกิดขึ้นมาในพื้นที่สาธารณะมากกว่าภายในบริบทหรือที่ทางต่างๆของโลกศิลปะ(เช่น ตามหอศิลป์ หรือพิพิธภัณฑ์ศิลปะ) ในเชิงปฏิบัติที่เป็นจริง บ่อยครั้ง มันหยิบเอารูปลักษณ์ของการแสดง(performance)ต่างๆมาใช้ หรือกิจกรรมต่างๆที่วางอยู่บนพื้นฐานการนำเสนอ, เหตุการณ์ต่างๆทางสื่อ(media events), นิทรรศการ(exhibitions), และการติดตั้งศิลปะ(installations) มาเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการ
(หมายเหตุ : installation - เป็นงานศิลปะแบบติดตั้ง ซึ่งจำลองขึ้นมา โดยมีพื้นที่ที่ผู้ชมสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ [สนามเด็กเล่น ถือเป็น installation อย่างหนึ่ง ซึ่งเด็กๆเข้าไปมีส่วนร่วม])

จำนวนมากของงานศิลปกรรมประเภทนี้ได้ใช้เทคนิคต่างๆของสื่อแบบกระแสหลัก อย่างเช่น การใช้ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ โปสเตอร์ การโฆษณาตามรถไฟใต้ดินหรือรถโดยสาร, และใบแทรกตามหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อส่งข่าวสาร ซึ่งล้มล้างเจตนาหรือความตั้งใจธรรมดาของรูปแบบต่างๆในเชิงพาณิชย์ที่เคยทำกันมาทั้งหมด สำหรับการใช้ประโยชน์อันหลากหลายของสื่อ ถือเป็นยุทธศาสตร์หลักอันหนึ่งของ activist art ซึ่งนับว่าเป็นตัวกลางอย่างสำคัญยิ่ง ที่ศิลปินในแนวทางนี้นำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง

งานวิจัยเบื้องต้น, กิจกรรมต่างๆขององค์กร, และการทำความเข้าใจหรือการกำหนดทิศทางเกี่ยวกับบรรดาผู้มีส่วนร่วม บ่อยครั้งเป็นหัวใจสำคัญของวิธีการร่วมมือของปฏิบัติซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จ วิธีการต่างๆเหล่านี้ บ่อยทีเดียวอาศัยหรือพึ่งพาความเชี่ยวชาญจากโลกภายนอกวงการศิลปะ ในฐานะที่เป็นหนทางของการเกาะเกี่ยว การมีส่วนร่วมของผู้ดูหรือชุมชน และแพร่กระจายสารอันหนึ่งไปสู่สาธารณชน

ระดับที่แผนการหรือยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นทางการเหล่านี้ อาทิเช่น - ความร่วมมือท่ามกลางบรรดาศิลปิน, การมีส่วนร่วมของสาธารณชน, และการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารในการนำส่งข่าวสาร - ทำให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาอย่างประสบผลสำเร็จ และมารับใช้เป้าหมายต่างๆของกิจกรรมความเคลื่อนไหวของงาน ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่งในการสร้างผลกระทบของงานชิ้นนั้นๆ

ไม่ว่ารูปแบบดังกล่าวของกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ จะมั่นคงถาวรหรือเป็นเพียงแค่ชั่วคราวก็ตาม กระบวนการเกี่ยวกับการสร้างสรรค์เหล่านี้ นับว่าเป็นสิ่งซึ่งสำคัญเท่าๆกันกับการแสดงออกมาให้เห็นทางสายตาหรือทางรูปธรรมเลยทีเดียว กล่าวให้ง่ายก็คือ ศิลปะประเภทนี้เน้นที่กระบวนการทำ ไม่น้อยไปกว่าผลผลิตที่ปรากฏเป็นรูปร่างขึ้น

ปฏิบัติการต่างๆเกี่ยวกับกิจกรรมทางวัฒนธรรม โดยแบบฉบับแล้วมีลักษณะของความร่วมมือกันทำ สำหรับศิลปินที่ทำงานในแนวทางนี้ที่น่าสนใจ มีอยู่หลายคนด้วยกัน อาทิเช่น Suzanne Lacy, Mierle Laderman Ukeles, และ Peggy Diggs และยังมีผลงานศิลปะซึ่งเกี่ยวพันกับความพยายามในการร่วมมือของศิลปินสองคนหรือมากกว่านั้น

ถึงแม้ว่า the Guerrilla Girls และในเวลาเดียวกัน Gran Fury ชอบที่จะสร้างผลงาน และคงไม่ระบุชื่ออะไรเอาไว้ แต่อีกสี่กลุ่ม(โครงการ) - Group Material, The American Festival Project, WAC, และ the Artist and Homeless Collaborative - กลับมีการเลือกสรรสำหรับชื่อกลุ่มของตน ทั้งนี้เพื่อต้องการท้าทายต่อความนึกคิดของโลกศิลปะ เกี่ยวกับแหล่งต้นตอที่มาหรืออาชีพส่วนตัว, การแสดงออกส่วนตัว, และลัทธิของศิลปินซึ่งเป็นผู้สร้างงาน

บรรดาศิลปินจำนวนมากผู้ซึ่งทำงานในลักษณะร่วมมือกันในแนวนี้ บางครั้งก็ไปๆมาๆ บางทีก็รวมกลุ่มกันได้มากบ้างน้อยบ้าง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นตลอดเวลา และบางครั้งก็มีความขัดแย้งกัน อย่างเช่น การเมืองต่างๆภายใน และความต้องการของสมาชิกบางคนที่จะดำเนินไปตามอาชีพของแต่ละคน ซึ่งสามารถเป็นปัจจัยต่างๆในการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของกลุ่มได้

ในอีกก้าวหนึ่งซึ่งพ้นไปจากเรื่องของอาชีพปัจเจก การร่วมมือกันทั้งห้า ซึ่งประกอบด้วย Avalos, Hock, Sisco, และผู้ร่วมงานของพวกเขาใน San Diego; the Guerrilla Girls; Gran Fury; Group Material; และ WAC ได้ใช้ประโยชน์เกี่ยวกับวิธีการทางเทคโนโลยี ซึ่งค่อนข้างจะไม่มีลักษณะที่เป็นส่วนตัวในฐานะที่เป็นรูปทรงซึ่งผลิตซ้ำขึ้นมาได้ อันเป็นผลมาจากการใช้เทคนิคต่างๆทางด้านสื่อ และการสื่อสารมวลชนเข้ามาปฏิบัติการ

Marshall Mcluhan อาจจะไม่ถูกต้องนักมากว่า 25 ปีแล้ว เมื่อเขาสังเกตว่า "ขณะที่เทคโนโลยีใหม่ๆได้เข้ามามีบทบาท ผู้คนถูกทำให้เชื่อมั่นน้อยลงๆเกี่ยวกับความสำคัญในการแสดงออกส่วนตัว" สำหรับการทำงานกันเป็นทีม ได้รับช่วงความพยายามส่วนตัวอันนี้

เมื่อบรรดาศิลปินแนว activist ขยายขอบเขตวิธีการร่วมมือของพวกเขาเกี่ยวกับการทำงานไปสู่ผู้ชมหรือชุมชน กระบวนการดังกล่าวจะมีการนำเอารูปแบบของกิจกรรมในลักษณะการทำงานร่วมกันมาใช้ นั่นคือ การมีส่วนร่วมของสาธารณชน การมีส่วนร่วมของสาธารณชนอันนี้จะเป็นตัวเร่งปฏิกริยาที่สำคัญอันหนึ่ง มันคือแผนการหรือยุทธศาสตร์อันหนึ่งที่ไปกระตุ้นศักยภาพของทั้งปัจเจกชนและชุมชน และใช้รูปแบบต่างๆมากมายเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

โครงการของบรรดาศิลปิน activist บ่อยครั้งได้ถูกนำไปผูกพันอย่างใกล้ชิดกับปัจเจกชนและองค์กรต่างๆในชุมชนในประเด็นสาธารณะหลายหลาก อย่างเช่น ศิลปินบางกลุ่ม เลือกที่จะเกี่ยวพันกับบรรดาตัวแทนรัฐบาลท้องถิ่น องค์กรต่างๆของชุมชน กลุ่มกิจกรรมอื่นๆ สหภาพแรงงาน องค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายทางด้านสิ่งแวดล้อม โบสถ์หรือวัด ฯลฯ

ผลของความผูกพันดังกล่าว ซึ่งบรรดาศิลปินหรือผู้มีอาชีพทางด้านศิลปะทั้งหลาย และแม้กระทั่งศิลปิน activist เอง ที่เข้าไปพัวพันอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น ได้ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ และได้ไปขยายฐานผู้ดูและฐานที่ให้การสนับสนุนต่อพวกเขากว้างขวางออกไป และในเชิงอุดมคติ วิธีการเช่นนี้ ได้ช่วยสนับสนุนให้โครงการนั้นๆมีผลกระทบต่อชุมชนเป้าหมายในระยะยาวด้วย

ในผลงานต่างๆที่กล่าวถึงอาณาเขต หรือปริมณฑลแห่งหนึ่งแห่งใดโดยเฉพาะ - อย่างเช่น กลุ่มจรจัดหญิงที่ไร้ที่อยู่อาศัย, นักเรียนมัธยมปลาย, ผู้หญิงแก่, สมาชิกสหภาพต่างๆ, การส่งเสริมสุขภาพของบรรดาคนงาน, บรรดาเหยื่อของความรุนแรงทางเพศ - เหล่านี้เป็นชุมชนที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งสามารถจะมีส่วนร่วมอยู่ในกิจกรรมต่างๆอันหลากหลายกับบรรดาศิลปินได้ โดยผ่านวิธีการหลายหลาก เช่น การสนทนา, ประวัติศาสตร์ที่เล่ากันมาปากต่อปาก, การแสดง, หรือเหตุการณ์ในลักษณะที่เป็นการแสดง(performative events), และการออกแบบในลักษณะที่เป็นการร่วมมือกันเกี่ยวกับการจัดทำโปสเตอร์เพื่อการรณรงค์, แผ่นป้ายขนาดใหญ่, และรูปแบบต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ผู้มีส่วนร่วมทั้งหลายอาจทำงานศิลปะต่างๆที่ค่อนข้างเป็นไปในลักษณะขนบประเพณีบางอย่างได้ เช่นดังในกรณีของโครงการที่เรียกว่า the Artist and Homeless Collaborative projects เป็นต้น

ดังนั้นการมีส่วนร่วม บ่อยครั้ง จึงเป็นการกระทำอันหนึ่งของการแสดงออกของตัวตนหรือการเป็นตัวแทนของตัวตนโดยชุมชนเอง ปัจเจกบุคคลทั้งหลายได้ถูกมอบอำนาจให้ โดยผ่านการแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ดังกล่าว เช่นดังที่พวกเขาได้มาซึ่งเสียงๆหนึ่ง, พวกเขาสร้างภาพที่สามารถมองเห็นได้และการรับรู้อันหนึ่งขึ้นมา ซึ่งพวกเขาถือเป็นส่วนหนึ่งของทั้งหมดที่ใหญ่กว่า

ด้วยเหตุนี้ ลักษณะส่วนตัวจึงได้กลายเป็นประเด็นทางการเมือง และความเปลี่ยนแปลง แม้ว่าแรกเริ่มเดิมที มันจะเป็นเพียงเรื่องของชุมชนหรือสำนึกสาธารณะเท่านั้น แต่มันได้กลับกลายเป็นความเป็นไปได้ขึ้นมา โดยการมีส่วนร่วมกับ activist art ดังที่ Jeff Kelly เสนอว่า มันสามารถเป็น "กระบวนการการสนทนาพูดคุย ที่เปลี่ยนแปลงหรือแปรผันทั้งผู้ซึ่งมีส่วนร่วมและตัวศิลปินได้"

ข้าพเจ้าเลือกที่จะกล่าวถึงศิลปินทั้งหลายในแนวนี้ บนพื้นฐานของความยึดมั่นที่เหนียวแน่นมั่นคง ซื่อสัตย์ และมีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับงานทางด้านนี้อยู่เสมอ กับการที่พวกเขาได้ใช้แผนการณ์หรือยุทธศาสตร์ต่างๆอันเป็นรูปธรรม เช่นเดียวกับความสนใจของพวกเขา และในช่วงเวลานั้นที่มีความสัมพันธ์ที่ไม่ได้แยกออกจากโลกศิลปะ ถ้าหากว่าปัจจัยทางด้านเวลาและพื้นที่ไม่ได้มาเป็นตัวบงการความยาวของบทความ แน่นอน ศิลปินคนอื่นๆก็สามารถที่จะมีส่วนร่วมกับเพื่อนฝูงในที่นี้ได้เช่นกัน

แต่อย่างไรก็ตาม บรรดาศิลปินที่สนทนากันในที่นี้ เป็นแบบอย่างอันน่ายกย่องของปฏิบัติการทางวัฒนธรรมอันงอกงาม ซึ่งได้ลากดึงปัจจัยพื้นฐานต่างๆของวัฒนธรรมประชาชนและการเมือง, เทคโนโลยีและการสื่อสารมวลชน, และในงานศิลปะต่างๆอย่างเช่น Conceptualism และ Postmodernism จากทศวรรษที่ 1960s จนมาถึงช่วงปัจจุบัน

สำหรับรรดาศิลปินเหล่านี้ด้วยเช่นกัน พวกเขากำลังขยายขอบเขตในเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับพรมแดนต่างๆและผู้ชมของศิลปะให้กว้างขวางออกไป และให้นิยามใหม่ถึงบทบาทของศิลปิน ในกระบวนการดังกล่าว ดูเหมือนว่าพวกเขาได้เสนอว่า คำตอบที่เหมาะสมต่อคำถามที่ได้รับการกำหนดขึ้นมา โดยชื่อบทความในเชิงเหน็บแนมว่า But Is It Art? คือ; "But does it matter?

รากเหง้าศิลปะแนวกิจกรรมต่างๆในช่วงทศวรรษที่ 1960s
Activist Roots in the 1960s

รูปแบบใหม่อันหนึ่งของ"การเมือง"กำลังปรากฎตัวขึ้นมา ในวิถีทางต่างๆซึ่งเรายังไม่ได้สังเกตเห็น ห้องรับแขกหรือห้องนั่งเล่นได้กลายเป็นคูหาเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมผ่านทางโทรทัศน์ในการเดินขบวนเพื่ออิสรภาพ เดินขบวนเกี่ยวกับสงคราม การปฏิวัติ การต่อต้านมลภาวะเป็นพิษ และเหตุการณ์อื่นๆในทุกสิ่งทุกอย่างที่เปลี่ยนแปลง

คนรุ่นหนึ่งซึ่งเติบโตขึ้นมาในทศวรรษแห่งความลงรอยกันทางสังคม และสงครามเย็น - ที่ได้รับการสืบทอดความกลัวเกี่ยวกับ"ความเป็นอื่น"(the Other) ที่สุกงอมขึ้นมาในช่วง 1960s นอกเหนือไปจากความเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิมนุษยชน สงครามเวียดนาม ความเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาที่ขยายตัวขึ้น และการเผชิญหน้าทางวัฒนธรรมที่ปรากฏตัวขึ้นมา เหล่านี้ได้กลายมาเป็นการตั้งคำถามอันหนึ่งเกี่ยวกับอำนาจ, คุณค่าต่างๆ, และสถาบันทั้งหลายเกี่ยวกับ"การสถาปนา"ขึ้นมา

การพยากรณ์ของ McLuhan ที่ว่า การแพร่ขยายเกี่ยวกับเทคโนโลยีอีเล็คทรอนิค จะเพิ่มเติมการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม เป็นเรื่องที่กำลังจะได้รับการพิสูจน์หรือทดสอบ

การต่อต้านสงคราม, การมีเสรีภาพในการพูด, และการเคลื่อนไหวทางด้านสิ่งแวดล้อมได้ถือกำเนิดขึ้นมา รวมไปถึงความเคลื่อนไหวต่างๆ ทางด้านเพศ, เชื้อชาติ, และการเป็นอิสระของชนกลุ่มน้อย เมื่อการไม่มีสิทธิ์มีเสียง ได้เรียกร้องให้คนฟังหรือได้ยินมากขึ้น

จำนวนมากของการต่อต้านและไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง ได้ยึดครองรูปแบบของ activism เบื้องหลังฉากของการรวมตัวกันได้ถูกนำขึ้นมาถกเถียง โดยการแสดงออกของสาธารณชนในรูปลักษณ์ของการประท้วง คัดค้าน การเดินขบวนต่างๆ และวิธีการที่สร้างสรรค์อื่นๆอีกมากมาย อย่างเช่น การแสดงของ guerrilla theater และเหตุการณ์ต่างๆทางด้านสื่อ โดยเฉพาะที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อให้เกิดอาณาบริเวณที่นักกิจกรรมในยุคหลังๆ Abbie Hoffman อธิบายว่าเป็นเรื่องบน"ท้องถนน"(the street):

สำหรับชนชั้นกลางอเมริกัน ท้องถนนเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญอย่างสุดๆอันหนึ่ง เพราะว่าประสบการณ์ในการปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมทั้งหมดของคุณ ที่ถูกเทียมลากไปโดยรอบ มันพยายามที่จะเก็บคุณเอาไว้นอกถนน… ความคิดอันนั้นต้องการจะเก็บทุกๆคนให้อยู่ในบ้านหรืออาคาร ดังนั้น เมื่อคุณได้ท้าทายพลังอำนาจต่างๆซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คุณได้ค้นพบว่า ตัวของคุณเองนั้นอยู่บนขอบถนนของความเมินเฉย พิศวง: "ฉันควรจะเล่นบทบาทที่ปลอดภัย และรั้งรออยู่บนทางเดิน หรือฉันควรที่จะลงไปยังท้องถนนดีล่ะ ?"

และคนๆหนึ่งที่สัมผัสกับพื้นถนนเป็นคนแรก คนๆนั้นจะเป็นผู้นำ

คนที่กำลังเสี่ยงมากที่สุด ซึ่งจะมีผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ข้าพเจ้าไม่ใช่เพียงพูดถึงท้องถนนในฐานะที่เป็นท้องถนนในเชิงกายภาพจริงๆเท่านั้น… ท้องถนนที่กล่าวนี้ ยังเป็นสิ่งที่เราใช้เรียกเวลา"Prime Time"(หรือชั่วโมงสำคัญที่สุด)ด้วย เนื่องมาจากกระแสความนิยมในการชมรายการทางโทรทัศน์ที่มีต่อมวลชน นั่นเอง

นักกิจกรรมหรือบรรดา activsts ทั้งหลายในช่วงปลายทศวรรษ 1960s
ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของขบวนการเคลื่อนไหวในเรื่องสิทธิมนุษยชนก่อนหน้านั้น ซึ่งทศวรรษดังกล่าว สื่อประเภทข่าวสารได้ถูกนำมาเชื่อมต่อเพื่อประโยชน์ของพวกเขา มันเป็นที่ชัดเจนว่า หนังสือพิมพ์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโทรทัศน์ ไม่เพียงถ่ายทอดข่าวสารและภาพเท่านั้น แต่มันยังเริ่มนำเอาการโต้เถียงสาธารณะเข้ามาด้วย และมันมีอิทธิพลอย่างสูงต่อความคิดเห็นของสาธารณชน

มันไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอันใด ที่ผู้นำทางด้านสิทธิมนุษยชนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็นบนเวทีและเผชิญหน้ากับสื่อ ดังที่นักวิจารณ์ภาพถ่าย Vicki Goldberg เสนอว่า "สิทธิมนุษยชนได้พิสูจน์ว่า ขอบเขตการรายงานของสื่อคือชะแลงงัดหรือไม้คานอันหนึ่ง ซึ่งสามารถขยับเขยื้อนเคลื่อนโลกของเราใบนี้ได้"

ในทศวรรษที่ 1960s และช่วงต้นของ 1970s กลุ่มการเมืองและกลุ่มต่อต้านทางวัฒนธรรมจำนวนหนึ่ง ต่างร่วมมือกันในรูปแบบอันหนึ่งของกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์อย่างสูง มันคือการแสดงออกที่รู้และเข้าใจในสื่อ ซึ่งได้กระทำการและสะท้อนถ่ายถึงปฏิบัติการต่างๆบางอย่างในท่ามกลางพวกเขา อันประกอบด้วยองค์กรเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม Greenpeace และพวกยิปปี้ (Yippies [Youth International Party) สมาคมคนหนุ่มสาวนานาชาติ]) นำโดย Abbie Hoffman

ถึงแม้ว่ากลุ่มต่างๆเหล่านี้จะไม่มีการเชื่อมต่อกับโลกศิลปะ และไม่จำต้องพิสูจน์ตัวเองในฐานะศิลปิน แต่การใช้ประโยชน์ในทางการสร้างสรรค์ของพวกเขาเกี่ยวกับภาพต่างๆซึ่งติดตั้งในลักษณะที่เป็นสาธารณะและเหตุการณ์ต่างๆที่เป็นการแสดง ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อเรียกร้องความสนใจจากสื่อ อันนี้นำหน้ามาก่อนกิจกรรมของวิธีการในทำนองเดียวกันโดยบรรดาศิลปิน activist ทั้งหลาย

Hoffman ได้บุกเบิกกิจกรรมอันหนึ่งทางด้านยุทธวิธีเกี่ยวกับสื่อขึ้นมา ซึ่งได้ถูกให้ข้อมูลโดยวิสัยทัศน์ของ McLuhan เกี่ยวกับพลังอำนาจของ"สื่อสารมวลชน" โดยในช่วงทศวรรษที่ 1980s การเปลี่ยนแปลงยักย้ายและการจัดการทางด้านสื่อ กลายเป็นรูปลักษณ์แกนกลางอันหนึ่งของ activism ทั้งของพวกฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา

ประสบการณ์เกี่ยวกับสื่อ
Experiencing the Media

การจัดการเกี่ยวกับสื่อ - การใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการสื่อสาร และการใช้ภาพที่มองเห็นได้ซึ่งออกแบบขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับสื่อเพื่อการบริโภค - ได้กลายมาเป็นสิ่งที่แพร่หลายในช่วงทศวรรษที่ 1980s และยังคงได้รับการสำรวจตรวจตราอยู่อย่างต่อเนื่องในทศวรรษที่ 1990s ดังที่บรรดา activists ทั้งหลายได้เรียนรู้จากวิธีการอันเชี่ยวชาญของ Madison Avenue, บริษัทอเมริกา, และทำเนียบขาว

"ขอบเขตที่ activism นั้นกระทำ กลายเป็นสิ่งซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับการสร้างสรรค์เกี่ยวกับภาพลักษณ์ที่อ่านได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ", Brian Wallis เขียนว่า "สไตล์ใหม่อันนี้เกี่ยวกับเรื่องการเมือง ซึ่งอาจได้รับการเรียกว่า "กิจกรรมทางวัฒนธรรม"(cultural activism) ซึ่งเขาได้นิยามว่าเป็น"การใช้ประโยชน์เกี่ยวกับวิธีการทางวัฒนธรรม ที่พยายามจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม"

ถึงแม้ว่า ส่วนใหญ่ของบรรดาศิลปินที่สาธยายถึงในบทความชิ้นนี้ จะรวมเอาโครงการ American Festival Project เข้าไปด้วย, แต่ Diggs, Ukeles, Lacy, Carole Conde และ Karl Beveridge, และ the Artist and Homeless Collaborative, ก็เป็นที่น่าจับตามอง กิจกรรมของศิลปินและโครงการเหล่านี้ ได้ให้ผู้คนในระดับรากหญ้าเข้ามามีส่วนร่วม โดยการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับสื่อในฐานะที่เป็นพาหะอันหนึ่งที่เกี่ยวพันกับสาธารณชน

บรรดาศิลปินและโครงการเหล่านี้ได้ท้าทาย และใช้การศึกษา เทคนิคต่างๆของสื่อสารมวลชน เพื่อเสริมส่งการนำเสนอข่าวสารข้อมูลต่างๆของพวกตน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่ตอนต้น บรรดาศิลปิน activist artists จำลองหรือเลียนแบบรูปแบบต่างๆของขนบประเพณีเกี่ยวกับการโฆษณาในเชิงพาณิชย์ และการสื่อข่าวเพื่อส่งทอดข้อมูลข่าวสาร นำเสนอสาระในเชิง activist ซึ่งไม่ได้คาดหวังที่จะเผชิญหน้ากับพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ อันที่จริง พวกเขาใช้พื้นที่ติดตั้งในทางพาณิชย์ที่เป็นสาธารณะ เพื่อประกันหรือรับรองผลงานของพวกเขาว่าจะถึงผู้ดูอย่างกว้างขวาง และหลากหลาย

ทั้งนี้โดยการใช้ภาพลักษณ์ต่างๆและข้อความที่ตรงไปตรงมาและมีพลัง บ่อยครั้ง มีการเล่นกับภาษาที่ผกผัน มีมุขตลก ข้อความที่มีนัยในเชิงเสียดสี(understatement) หรือการตั้งคำถาม และไม่บ่อยนักมีลักษณะของการสอนกันตรงๆ หรือมีลักษณะปลุกเร้า เพื่อสื่อสารไปถึงผู้ดู โดยบรรดาศิลปินทั้งหลายเหล่านี้ได้กระตุ้นสาธารณชน "ให้มีส่วนร่วมโดยผ่านการตีความ" ต่างๆ

ศิลปินบางคน และบางกลุ่ม, รวมทั้ง Diggs, Group Material, the Artist and Homeless Collaborative, และ Conde และ Beceridge, ได้รวมเอาปัจจัยต่างๆเกี่ยวกับกิจกรรมของพวกรากหญ้า(grassroots)กับเทคนิคต่างๆทางด้านสื่อเข้าไว้ด้วยกัน ในกรณีดังกล่าว รูปแบบและเนื้อหาของโปสเตอร์ แผ่นป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ หรือการเล่าเรื่องด้วยภาพถ่าย อาจได้รับการก่อรูปขึ้นมาโดยประชาชนซึ่งมีสิทธิ์ในการมีส่วนร่วม และในเวลาเดียวกันนั้น มันก็ได้รับการตั้งเป้าหมายเอาไว้สำหรับผู้ดูในวงกว้างจำนวนมากด้วยเช่นกัน

ในปี 1976 ศิลปิน San Diego สองคนได้ดำเนินการเกี่ยวกับโครงการที่เรียกว่า first cross-disciplinary project อันเป็นหนึ่งในโครงการต่างๆของพวกเขา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อวิพากษ์วิจารณ์และรื้อถอนนโยบายสาธารณะ ในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวพันกับระบบชลประทานและระบบสิ่งแวดล้อมอื่นๆในสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศ

ชิ้นงานของพวกเขา ประกอบด้วย จิตรกรรมบนผนัง แผ่นป้ายขนาดใหญ่ การแสดงทางโทรทัศน์ และวิทยุ โปสเตอร์ และงานศิลปะแบบ graffiti (ผลงานที่ใช้วิธีการพ่นหรือสเปรย์ภาพขึ้นมา) ซึ่งได้ตั้งคำถามถึงนโยบายต่างๆทางด้านชลประทาน เกี่ยวกับการปันส่วนในเรื่องการใช้น้ำของแคลิฟอร์เนียทางตอนเหนือ

ช่วง 3 สัปดาห์ในเดือนพฤษภาคม 1977, ศิลปิน Los Angeles คนหนึ่งได้ร่วมมือกับองค์กรต่างๆมากมาย และปัจเจกชนหลายคน เพื่อที่จะรวบรวมสรรค์สร้างงานศิลปะอันหลากหลายกว้างขวางชุดหนึ่ง และเหตุการณ์ต่างๆที่ไม่ใช่ศิลปะ(nonart events)ขึ้นมาอย่างระมัดระวัง ซึ่งประกอบด้วย การประชุมของฝูงชน, การแสดงต่างๆ, การสนทนา, การแสดงที่เป็นการปกป้องตนเอง, อาหารมื้อเที่ยง, และการใช้ความเงียบ อันนำมาซึ่งความสนใจของสาธารณชน โดยเฉพาะประเด็นที่ซ่อนเร้นกันทั่วๆไปเกี่ยวกับเรื่องการข่มขืน

ในปี 1978 ได้มีกิจกรรมหนึ่งซึ่งเป็นการเชิญชวนศิลปินมาพำนักอยู่ในแผนกกรมอนามัยของเมืองนิวยอร์ค โดยไม่มีการจ่ายเงินเดือน (unsalaries artist-in-residence of New York City's Department of Sanitation) ซึ่งศิลปินได้มาสอนให้มีการเต้นรำ และการแสดงทางด้านการร่ายรำเป็นเวลาหนึ่งปี และเธอได้ไปจับมือกับคนที่ทำงานด้านการอนามัยในแต่ละเมืองจำนวนกว่า 8,500 คน

อันนี้ได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อให้อำนาจบรรดาคนทำงาน และนำมาซึ่งความสนใจของสาธารณชน เพื่อเสริมส่งความสำคัญเกี่ยวกับงานดูแลรักษาทางด้านสุขภาพ ส่วนสำหรับพิธีการจับมือ (handshake ritual) อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ใหญ่กว่านั้น ต้องใช้ระยะเวลาถึง 6 ปีทีเดียว

จะเห็นได้ว่า ศิลปะแนวกิจกรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นเรื่องการนำเอาวัฒนธรรมมารับใช้ประเด็นสาธารณะต่างๆ ทั้งทางสังคมและการเมือง ซึ่งได้เริ่มทำกันมานานแล้วโดยศิลปินหลายคนและหลากหลายกลุ่ม โดยการเข้าไปร่วมมือกับชุมชนและสังคม ทั้งในรูปโครงการและกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนให้ชุมชนมีสิทธิ์มีเสียง และเกิดการเปลี่ยนแปลงชุมชนและสังคมไปในทางที่ดีขึ้น

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

H
ภาพประกอบดัดแปลง บทความเรื่อง "ศิลปะแนวกิจกรรม - ศิลปะเพื่อชุมชนและสังคม" เรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปฏิบัติการที่ทำการสำรวจเกี่ยวกับศิลปะแนวกิจกรรม(activist art)ในที่นี้ ได้ถูกทำให้เป็นตัวอย่างโดยการใช้นวัตกรรมของพื้นที่สาธารณะ เพื่อพูดถึงประเด็นต่างๆเกี่ยวกับนัยสำคัญทางวัฒนธรรมสังคมการเมือง(sociopolitical significance) และกระตุ้นสนับสนุนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนและสาธารณชน ในฐานะที่เป็นวิธีการที่จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

โครงการของบรรดาศิลปิน activist บ่อยครั้งได้ถูกนำไปผูกพันอย่างใกล้ชิดกับปัจเจกชนและองค์กรต่างๆในชุมชนในประเด็นสาธารณะหลายหลาก อย่างเช่น ศิลปินบางกลุ่ม เลือกที่จะเกี่ยวพันกับ องค์กรต่างๆของชุมชน กลุ่มกิจกรรมอื่นๆ สหภาพแรงงาน องค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายทางด้านสิ่งแวดล้อม โบสถ์หรือวัด ฯลฯ ผลของความผูกพันดังกล่าว ซึ่งบรรดาศิลปินหรือผู้มีอาชีพทางด้านศิลปะทั้งหลาย และแม้กระทั่งศิลปิน activist เอง ที่เข้าไปพัวพันอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น ได้ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ และได้ไปขยายฐานผู้ดูและฐานที่ให้การสนับสนุนต่อพวกเขากว้างขวางออกไป และในเชิงอุดมคติ วิธีการเช่นนี้ ได้ช่วยสนับสนุนให้โครงการนั้นๆมีผลกระทบต่อชุมชนเป้าหมายในระยะยาวด้วย

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งตั๋วแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์