ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซค์ วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
011147
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 458 หัวเรื่อง
จากกรณีตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ดร. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
คณะวุฒิสมาชิกอิสระ
เพื่อการปฏิรูปการเมือง
The Midnight University

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

ขณะนี้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ผลิตบทความทั้งหมดบนเว็ปในรูปของซีดีรอมเพื่อจำหน่าย สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณขาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

รายงานตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ตากใบ
จากกรณีกรือเซะถึงกรณีตากใบ : ไร้มนุษยธรรม ความชอบธรรมสิ้นสูญ
ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
วุฒิสมาชิกอิสระเพื่อการปฏิรูปการเมือง

หมายเหตุ : บทความเดิมชิ้นนี้ได้รับมาจาก "Sai Lung Wan"
กรุณาส่งข้อมูลมาให้เผยแพร่ บนเว็ปไซท์ของ ม.เที่ยงคืน จึงขอขอบคุณ ณ ที่นี้

จากบทความเดิม "ความจริงที่ตากใบ : ไร้มนุษยธรรม ความชอบธรรมสิ้นสูญ"
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 6 หน้ากระดาษ A4)

 


การสลายการชุมนุมและควบคุมตัวผู้ชุมนุมประท้วง ที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ทำให้มีประชาชนเสียชีวิต 85 คน โดยเฉพาะพบว่า มีถึง 78 คน เสียชีวิตบนรถบรรทุก ขณะขนส่งจาก อ.ตากใบ ไปค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี สังคมไทยตกอยู่ในอาการ "ช็อก" เกิดความคลางแคลงสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นที่ อ.ตากใบ กันแน่

หลังเกิดเหตุ คณะกรรมาธิการของวุฒิสภาจำนวน 3 คณะ ประกอบด้วย
คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ
และคณะกรรมาธิการสอบสวนและศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริต ได้เดินทางลงไปตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่ โดยส่วนตัว ผมพบ "ความจริงที่ตากใบ" ดังต่อไปนี้

1) กวาดจับโดยไตร่ตรองเตรียมการไว้ก่อน ฝ่ายเจ้าหน้าที่ทางการได้เตรียมการจะจับกุมแกนนำผู้ชุมนุมประมาณ 100 คน โดยได้ถ่ายภาพผู้ชุมนุมด้านใน ทั้งวีดีโอและภาพนิ่ง
เพื่อกำหนดตัวบุคคลที่ทางการต้องการจับกุมเอาไว้ก่อน ระหว่างการเจรจากับผู้ชุมนุมนั้น ก็ได้มีการเตรียมรถจีเอ็มซี จำนวน 4 คัน จากค่ายอิงคยุทธบริหารไปรอที่หน้าอำเภอตากใบ เพื่อเตรียมไว้ขนคนจำนวน 100 คน แต่ก่อนการสลายการชุมนุม

ตัวบุคคลที่ทางการต้องการจับกุมนั้นกระจายตัวไปฝูงชนที่เข้ามาร่วมชุมนุม เจ้าหน้าที่ของทางการจึงใช้วิธีปิดล้อม กวาดจับกุมไว้ทั้ง 1,300 คนเพื่อ "ตะแกงร่อน" เอาคน 100 คน ที่กำหนดตัวไว้เดิม แต่ในทางปฏิบัติ เมื่อกวาดจับกุมแล้วได้มีการให้ผู้ชุมนุมถอดเสื้อมัดมือไพล่ เกลือกกลิ้งไปตามพื้นดิน ทำให้ไม่สามารถเลือกจับกุมเฉพาะตัวคน 100 คน ที่ทางการเชื่อว่าเป็นแกนนำได้ จึงกวาดจับไปทั้งหมดประมาณ 1,300 คน

ข้อสังเกต นายกรัฐมนตรีได้แถลงว่า การสลายการชุมนุม ได้กระทำหลังจากพยายามเจรจากับผู้ชุมนุม แต่ด้วยเกรงว่าจะค่ำมืด เกิดการจลาจลลุกลาม เผาเมือง จึงตัดสินใจสลายการชุมนุม โดยถือปฏิบัติตามหลักวิชาการ และใช้ความละมุนละม่อม ถ้อยแถลงของนายกฯ จึงไม่ตรงกับข้อ
เท็จจริง

2) กระทำการขนย้ายเยี่ยงสัตว์ การขนผู้ชุมนุมที่ถูกควบคุมตัวไว้โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ จาก อ.ตากใบ ไปค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตร ใช้รถทหารจำนวน 25 คัน และรถตำรวจกับรถเช่าอีกจำนวนหนึ่ง ขนผู้ชุมนุมประมาณ 1,300 คน โดยยัดแน่น
อัดกันอยู่ในรถ

มีการจับประชาชนที่ถูกมัดมือไพล่หลัง ร่างกายอ่อนเพลียจากถูกปะทะในระหว่างสลายการชุมนุมและอยู่ระหว่างถือศีลอด โยนส่งขึ้นไปบนรถบังคับให้นอนคว่ำหน้าบนพื้นรถ ขณะที่มือยังถูกมัดไพล่หลัง มีการวางประชาชนนอนซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ 4-5 ชั้น โดยใช้เวลาเดินทางนานถึง 5-6 ชั่วโมง โดยต้องถูกมัดมือไพล่หลัง นอนคว่ำหน้า ทับกันไปอย่างนั้นตลอดเวลาเดินทาง

คนที่นอนคว่ำหน้าอยู่แถวล่างสุด (ถูกคนทับอยู่ 3-4 ชั้น) เมื่อใกล้ตาย ขาดอากาศหายใจ กล้ามเนื้อถูกกดทับทำลาย ร้องขอความช่วยเหลือ ก็ถูกทหารที่ควบคุมไปกับรถขึ้นไปเหยียบด้านบน
และใช้พานท้ายปืนตี พร้อมกับพูดว่า "จะได้ให้พวกมึงรู้ว่า นรกมีจริง"

ข้อสังเกต การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ทางการเป็นการกระทำที่ไร้ซึ่งมนุษยธรรมปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมอย่างไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ไม่เคารพสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ใช้วิธีทารุณกรรม ขนย้ายผู้ชุมนุมโดยไม่ตระหนักว่า ประชาชนผู้ชุมนุมเป็นมนุษย์
ไม่ใช่สัตว์

3) รู้ว่ามีคนตาย แต่ไม่ป้องกันการตายเพิ่ม รถบรรทุกคนคันแรก เดินทางไปถึงค่ายอิงคยุทธบริหาร เวลาประมาณ 18.00-19.00 น. พบว่ามีคนตายอยู่ชั้นล่างสุด 1 คน เมื่อได้สอบถามนายทหารผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ระดับแม่ทัพจนถึงระดับปฏิบัติการ ไม่มีผู้ใดแจ้งเตือนรถคันหลังๆ ว่าการขนคนโดยมัดมือไพล่หลังให้นอนคว่ำซ้อนทับกันเป็นชั้นๆเป็นเหตุให้มีคนตาย จะได้แก้ไขเสียตั้งแต่ต้นทางและกลางทาง เพราะรถขนคนค่อยๆ ทยอยกันเดินทางมา บางคันเข้ามาถึงตี 2 ตี 3

ข้อสังเกต การทราบว่าวิธีปฏิบัติดังกล่าวทำให้คนตาย แต่กลับไม่พยายามแจ้งเพื่อป้องกันแก้ไข
ในขณะที่ยังมีเวลากระทำได้ทันท่วงที เท่ากับการปล่อยปละละเลยจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จึงควรถูกกล่าวหาว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนาจงใจ ในรถขนคนคันหลังๆ จึงมีผู้เสียชีวิตมากขึ้น โดยคันที่เสียชีวิตมากที่สุด

มีคนตายถึง 23 คน ซึ่งคนตายส่วนใหญ่เป็นคนที่ถูกมัดมือไพล่หลัง บังคับให้นอนคว่ำ ถูกทับอยู่ชั้นล่างสุดของแต่ละคัน

4) สภาพผู้บาดเจ็บในโรงพยาบาล สภาพร่างกาย ถูกกดทับจนกล้ามเนื้อถูกทำลาย บวมเขียว เซลล์กล้ามเนื้อที่ถูกทำลายเข้ากระแสเลือด ส่งผลให้ไตวาย บางรายอาการสาหัส ต้องฟอกเลือดในโรงพยาบาลที่สงขลา บางรายมีร่องรอยบาดแผล ถูกยิงที่ขา ที่หน้าท้อง ที่แก้มทะลุปาก ลิ้นขาด
ที่บริเวณลำตัวอื่นๆ บางรายถูกซ้อม ถูกเตะเข้าที่เบ้าตา แขนขาหัก ฯลฯ

ข้อสังเกต ผู้บาดเจ็บให้ข้อมูลตรงกันกับผู้ชุมนุมที่ถูกคุมขังอื่นๆ ว่า ถูกจับนอนซ้อนทับกัน 4-5 ชั้น ส่วนมากที่อาการหนักจะเป็นคนที่ถูกทับอยู่ชั้นล่างๆ และในการสลายการชุมนุมนั้น เจ้าหน้าที่ยิงตรงในแนวระนาบและยิงขึ้นฟ้า ไม่ได้ยิงขึ้นฟ้าอย่างเดียวเหมือนที่นายกรัฐมนตรีพูด

นอกจากนี้ ขณะที่มีการขนคนมาที่ค่ายอิงคยุทธบริหารนั้น มีแพทย์อยู่ในค่ายเพียง 1 คน กับพยาบาลประมาณ 8-10 คน เท่านั้น ทั้งๆ ที่ต้องดูแลผู้ชุมนุมที่อ่อนเพลียและอยู่ในสภาพบาดเจ็บกว่า 1,300 คน

5) สภาพที่กักขัง และคนถูกกักขัง เมื่อเปรียบเทียบค่ายอิงคยุทธฯ ค่ายเสนาณรงค์ และโรงพยาบาลปัตตานีแล้ว พบว่า ค่ายอิงคยุทธฯ มีปัญหามากที่สุด โดยจนถึงขณะที่ไปตรวจเยี่ยม (3
วันหลังเกิดเหตุ) ประชาชนก็ยังไม่ได้อาบน้ำ ไม่ได้ชำระล้างทำความสะอาดร่างกาย ไม่มีเครื่องใช้ไม้สอย สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ผ้านุ่ง ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ

ผู้ชุมนุมส่วนหนึ่ง เมื่อถูกจับกุมแล้ว ถูกเจ้าหน้าที่บางส่วนบังคับเอากระเป๋าสตางค์ นาฬิกา โทรศัพท์ติดตามตัว ของมีค่า บัตรเอทีเอ็ม บัตรประจำตัวประชาชนไป หากระบบการทำงานสะเปะสะปะอย่างนี้ คงจะไม่ได้คืน

ในบรรดาผู้ถูกกักขังนั้น มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีอยู่ไม่น้อย (เกือบ 10%) ขังรวมอยู่กับผู้ใหญ่
บางคนเป็นนักเรียน เรียนอยู่โรงเรียนแสงทอง โรงเรียนจริยธรรมศึกษา ผู้ถูกกักขังที่ได้พบ พูดภาษาไทยได้ดี หลายคนจบชั้น ป.6 บางคนจบอนุปริญญาหรือกำลังเรียนอยู่ก็มี ถามว่ารู้จัก ส.ว.ทองใบ ทองเปาด์ ไหม ก็รู้จักดี มิหนำซ้ำยังถามกลับมาว่า ระยะนี้ไม่ค่อยเห็นรายการของผู้เขียนออกทีวี.

ข้อสังเกต ข้อเท็จจริงผิดจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ อธิบายต่อสังคมว่า คนพวกนี้ไม่พูดภาษาไทย พูดอาหรับ

6) ต้องมีการกล่าวโทษ การดำเนินการจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 85 คน โดยเป็นการเสียชีวิตระหว่างการขนย้ายถึง 78 คน เป็นความเสียหายร้ายแรง ประชาชนถูกทำให้เสียชีวิตในระหว่างที่อยู่ในการควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่รัฐ ยิ่งมัดมือไพล่หลัง บังคับให้นอนคว่ำหน้า ประชาชนยิ่งดูแลตนเองได้ยาก เจ้าหน้าที่รัฐยิ่งต้องรับผิดชอบดูแลให้ความปลอดภัย แต่กรณีกลับมีการละเลย ปฏิบัติอย่างทารุณ ควรถูกกล่าวโทษอย่างน้อยฐานกระทำการโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้ถึงแก่ความตาย โดยเฉพาะเป็นการตายหมู่

ซ้ำร้าย ยังอาจมีเจตนาทำให้คนตาย เพราะเมื่อทราบว่ามีคนตาย และทราบเหตุที่ทำให้เกิดการตาย เพราะขนคนซ้อนทับกัน 4-5 ชั้น แล้วก็ยังไม่มีการสั่งการแก้ไขป้องกันในรถคันหลังๆ ทำให้มีคนตายเพิ่มจำนวนมาก รวมทั้งอคติของเจ้าหน้าที่ที่แสดงออกผ่านการกระทำต่อประชาชน ก็มีผลต่อการสูญเสียด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ ทางการรายงานว่า มีการค้นพบอาวุธปืนเอ็ม-16 ปืนอาก้า ระเบิดสังหาร มีด ซึ่ง
อ้างว่าถูกค้นพบนอกตัวผู้ชุมนุม อยู่ในน้ำบ้าง อยู่ข้างนอกบ้าง แต่ไม่มีการพิสูจน์ว่าอาวุธดังกล่าวใช้งานได้หรือไม่ เพราะเมื่อเกิดเหตุปะทะระหว่างการสลายการชุมนุม หากผู้ชุมนุมครอบครองอาวุธและพร้อมใช้งานจริง แต่เหตุใดผู้ชุมนุมไม่ใช้อาวุธเหล่านั้นทำร้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอาจทำให้เกิดการสูญเสียมากกว่านี้

ความชอบธรรมในการบริหารประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หากจะพิจารณาความชอบธรรมของบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งบริหารสูงสุดของประเทศ
ผมมีความเห็นดังต่อไปนี้

(1) พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ได้ส่งสัญญาณให้ใช้ความรุนแรงในหลายโอกาส
หลายนโยบายของการแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นสงครามยาเสพติดที่มีการฆ่าตัดตอนกว่า 2,800 ศพ
ส่วนหนึ่งก็ด้วยการชี้แจงและมอบหมายนโยบาย ที่ชี้นำให้เกิดการใช้ความรุนแรงของนายกรัฐมนตรี

ยิ่งกรณีปัญหาภาคใต้นี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังได้ปฏิเสธแนวทางสันติวิธีของรองนายกฯ จาตุรนต์ ฉายแสง แต่ใช้นโยบายแข็งกร้าว ชี้นำความรุนแรงว่า "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน"

"บ้ามาก็บ้าไป" "จะปราบให้สิ้นซาก" "at any cost at any price"
"มันเหมือนอาการคนใกล้ตาย ต้องรุนแรงหน่อย"ฯลฯ

รัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีอย่างเข้มแข็ง แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ใช้อำนาจไปอย่างแข็งกร้าว กระทั่งว่า ปัจจุบัน ทักษิณ ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความรุนแรงแล้ว ถึงขนาดสื่อมวลชนใช้ขนานนามว่า "ทักษิณทมิฬ"

(2) การดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าว การประชาสัมพันธ์ของรัฐที่ชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในภาคใต้เกิดจากโจร ผู้ไม่หวังดี พวกมุสลิมหัวรุนแรง พวกโจรกระจอก พวกวัยรุ่นติดยา และมาลงท้ายที่พวกแบ่งแยกดินแดน ได้สร้างความเกลียดชัง หวาดระแวงระหว่างคนไทยด้วยกันเอง ดังจะเห็นได้จากการแสดงความเห็นของประชาชนในรายการวิทยุโทรทัศน์ และอินเตอร์เนต ถึงกับยุยงให้ใช้กำลังปราบปรามให้ตายมากกว่านี้ด้วยอารมณ์ความรู้สึกเกลียดชัง ความร้าวฉานและความรู้สึกได้กินลึกจนยากจะเยียวยาได้ เพราะปัจจุบันได้แบ่งแยกพวกเป็น "พวกเรา" และ "พวกมัน" แล้ว

(3) พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังเสริมสร้างกำลังให้กับผู้ต้องการแบ่งแยกดินแดนโดยไม่ตั้งใจ เพราะข้อมูลทุกฝ่ายประเมินตรงกันว่า แนวคิดเรื่องแบ่งแยกดินแดนในประเทศไทยยังคงมีอยู่ แต่เป็นแนวคิดของคนจำนวนน้อย และน้อยลงเรื่อยๆ แต่เมื่อนโยบายของรัฐบาลนี้ใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจ จับ อุ้ม ฆ่า
และใช้ความรุนแรงต่อเนื่อง จากกรณีกรือเซะถึงกรณีตากใบ ทำให้ขบวนการแบ่งแยกดินแดนได้รับความเห็นใจ และมีคนถูกผลักให้เข้าร่วมมากขึ้น

(4) ความรุนแรงที่เกิดจากการบริหารประเทศในช่วง 3 ปีเศษ ที่ผ่านมา กลายเป็นช่วง
"เกือบ 4 ปี เกือบ 4 พันศพ" ทั้งสงครามยาเสพติด 2,800 ศพ ความรุนแรงในภาคใต้อีกเกือบ 1 พันศพ ซ้ำยังไม่มีทีท่าว่าความรุนแรงจะลดลง การดำเนินนโยบายที่บกพร่องดังกล่าว อาจนำมาซึ่งขบวนการก่อการร้ายสากล ภาคใต้จะระอุ ปะทุเป็นไฟ และเกรงว่ากองกำลังของประเทศมหาอำนาจ ก็จะอาศัยเป็นช่องเข้าดำเนินการในประเทศของเรา

(5) การดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด ทำให้เกิดความรุนแรงและคนตายมากมายถึงเพียงนี้ นำมาซึ่งความเสื่อมเสียชื่อเสียงของประเทศไทยในเวทีโลก ถูกมองว่าคนไทย ประเทศไทย เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน

ประเทศไทยยังต้องอยู่ต่อไป สันติประชาธรรมของไทยจะต้องคงอยู่
ประเทศไทยยังมีคนที่รับผิดชอบต่อไปได้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ท่านหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศต่อไปแล้วครับ


ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
คณะวุฒิอิสระเพื่อการปฏิรูปการเมือง

โดย : ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (202.183.138.86) เมื่อ : 1/11/2004 - 01:09 AM
ขอขอบคุณ "Sai Lung Wan" [email protected] ที่กรุณาส่งข้อมูลนี้มาให้เผยแพร่ บนเว็ปไซท์ของ ม.เที่ยงคืน

 

 

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 459

กรณีภาคใต้ของไทยในหนังสือพิมพ์
The Times ของอังกฤษ
จดหมายจากสวีเดน

ข่าวกรณีภาคใต้ของไทยในหนังสือพิมพ์ The Times ของอังกฤษ 28 ตุลาคม 2547 ซึ่งหาอ่านได้ในสต็อกโฮม ได้ลงข่าวเกี่ยวกับการตายหมู่ 78 ศพไว้เต็มหน้า 3 ของหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าว ข่าวกล่าวว่า ทักษิณถูกประณามจากเรื่องนี้ทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากบรรดาประเทศมุสลิม

สำหรับอิหร่านเรียกโศกนาฏกรรมครั้งนี้ว่า การตายที่ไม่อาจยอมรับได้ และเรียกร้องให้มีการสอบสวนอย่างเต็มที่ ส่วนนายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวว่า เหตุการณ์ความรุนแรงที่ภาคใต้ของไทย ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนรามาดอน เป็นเรื่องที่ทำให้ชนชาวมุสลิมทั่วโลกไม่มีความสุข ทุกข์ใจมาก และจะก่อให้เกิดความโกรธแค้นเป็นทวีคูณ

นอกจากนี้ ภาพข่าวการตายหมู่ ยังได้รับการเปิดเผยบนเว็ปไซท์ของสำหนักข่าว Al jazeera ด้วย รวมถึงภาพข่าวบนหน้าจอทีวีเผยแพร่ไปทั่วโลก ซึ่งได้แสดงให้เห็นภาพเหยื่อที่ตายอย่างทุกข์ทรมาน บางคนกระดูกหัก และคอหัก ซึ่งตรงข้ามกับข่าวคราวที่ทักษิณบอก และรายงานข่าวทั่วๆไปในประเทศไทย

สำหรับความรุนแรงครั้งนี้ ผู้นำมุสลิมทางภาคใต้ได้ให้คำมั่นสัญญาว่า ต่อไปนี้คนที่ทำกับเราจะนอนตาไม่หลับ และเมืองหลวงของพวกเขาจะลุกเป็นไฟ ทรัพย์สินที่ปล้นไปจากชนมุสลิมจะถูกทำลายอย่างย่อยยับ ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากบาปที่คนเหล่านี้ทำกับชนชาวมุสลิม

ในหน้าข่าวดังกล่าวยังระบุว่า นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2004 เป็นต้นมา ชาวมุสลิมที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา ของไทยได้ถูกฆ่าตายไปแล้วกว่า 400 ศพ และในพื้นที่ดังกล่าวมีกองกำลังติดอาวุธไม่น้อยกว่า 8 กลุ่ม กองกำลังเหล่านี้เรียกร้องที่จะปลดปล่อยดินแดนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และส่วนใหญ่มีฐานปฏิบัติงานอยู่ที่ปัตตานี

(…ทั้งหมดนี้คือ ความโง่เขลาของผู้นำไทย ที่คิดและกระทำในสิ่งที่จะเป็นการเปิดช่องทาง ซึ่งจะนำภัยร้ายแรงมาสู่ประชาชนไทยอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ หากไม่มีการลงโทษกับผู้กระทำความผิดที่รุนแรงอย่างจริงจัง…)

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 440 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

H
ภาพประกอบบทความ และข้อสังเกตบางประการ เรื่อง"จากกรณีกรือเซะถึงกรณีตากใบ" เขียนโดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง คณะวุฒิสมาชิกอิสระเพื่อการปฏิรูปการเมือง

สภาพร่างกาย ถูกกดทับจนกล้ามเนื้อถูกทำลาย บวมเขียว เซลล์กล้ามเนื้อที่ถูกทำลายเข้ากระแสเลือด ส่งผลให้ไตวาย บางรายอาการสาหัส ต้องฟอกเลือดในโรงพยาบาลที่สงขลา บางรายมีร่องรอยบาดแผล ถูกยิงที่ขา ที่หน้าท้อง ที่แก้มทะลุปาก ลิ้นขาด
ที่บริเวณลำตัวอื่นๆ บางรายถูกซ้อม ถูกเตะเข้าที่เบ้าตา แขนขาหัก ฯลฯ และในการสลายการชุมนุมนั้น เจ้าหน้าที่ยิงตรงในแนวระนาบและยิงขึ้นฟ้า

ฝ่ายเจ้าหน้าที่ทางการได้เตรียมการจะจับกุมแกนนำผู้ชุมนุมประมาณ 100 คน โดยได้ถ่ายภาพผู้ชุมนุมด้านใน ทั้งวีดีโอและภาพนิ่ง เพื่อกำหนดตัวบุคคลที่ทางการต้องการจับกุมเอาไว้ก่อน ระหว่างการเจรจากับผู้ชุมนุมนั้น ก็ได้มีการเตรียมรถจีเอ็มซี จำนวน 4 คัน จากค่ายอิงคยุทธบริหารไปรอที่หน้าอำเภอตากใบ เพื่อเตรียมไว้ขนคนจำนวน 100 คน แต่ก่อนการสลายการชุมนุม ตัวบุคคลที่ทางการต้องการจับกุมนั้นกระจายตัวไปฝูงชนที่เข้ามาร่วมชุมนุม เจ้าหน้าที่ของทางการจึงใช้วิธีปิดล้อม กวาดจับกุมไว้ทั้ง 1,300 คนเพื่อ "ตะแกงร่อน" เอาคน 100 คน ที่กำหนดตัวไว้เดิม แต่ในทางปฏิบัติ เมื่อกวาดจับกุมแล้วได้มีการให้ผู้ชุมนุมถอดเสื้อมัดมือไพล่ เกลือกกลิ้งไปตามพื้นดิน ทำให้ไม่สามารถเลือกจับกุมเฉพาะตัวคน 100 คน ที่ทางการเชื่อว่าเป็นแกนนำได้

ภาพประกอบนี้ได้มีการแก้ไขจากภาพ 000011119-aa7429 เพื่อความ
เหมาะสมทางด้านคุณภาพเชิงศิลปะ